Khit ma dee Community สำหรับ พนักงานบริษัท
ที่ "คิดมาดี" บ้าง ไม่ดีบ้าง🤣🫣
BY Splendid The Creative Expertise

For work 082,457-6345

19/11/2024
07/11/2024

🧑🏻‍💻 แอปตัวช่วยชาวออฟฟิศ มีไว้งานเสร็จไวกว่าเดิม

💬 คัดมาให้แล้วกับแอปตัวช่วยชาวออฟฟิศที่จะประหยัดเวลาการทำงานของพวกเราสุด ๆ มีทั้งแอปสแกนเอกสาร แปลงไฟล์ ทำรูปติดบัตร แอปฮีลใจในวันที่งานหนักก็มี โหลดติดเครื่องไว้ได้ใช้แน่!

#ชอบโปร #แอปชาวออฟฟิศ

28/10/2024
28/10/2024

สร้างทีมให้เก่งขึ้น เริ่มได้ด้วยการ ‘มอบหมายงาน’ กับ 5 เทคนิค Delegating Work ให้ทีมพัฒนาทักษะผ่านการทำงาน
การมอบหมายงาน (Delegation) คือทักษะสำคัญของหัวหน้า แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุดสำหรับบางคนเช่นกัน
จากการศึกษาของ Gallup พบว่า CEO ที่ทำการมอบหมายงาน กระจายได้ดี จะช่วยสร้างรายได้ได้เพิ่มขึ้นถึง 33% เพราะคนเหล่านี้รู้ดีว่าแค่ตัวเขาคนเดียวไม่สามารถทุกอย่างให้สำเร็จเพียงลำพังได้ และการมอบหมายงานก็จะช่วยให้ทีมเก่งขึ้น และ CEO ก็จะมีเวลาเพิ่มขึ้นในการไปทำงานที่จะช่วยเพิ่มความมั่งคั้งให้องค์กรได้
ซึ่งเรื่องนี้ฟังดูง่ายก็แค่แจกจ่ายงานให้คนในทีมตามหน้าที่เอง แต่คนเป็นหัวหน้าหลายครั้งก็ตัดสินใจทำสิ่งนี้ได้ยากด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ
🤔 คิดว่าทำเองไวกว่า ต้องไปอธิบายงานทั้งหมดให้ทีมฟัง
🤔 รู้สึกผิดที่ไปสั่งงานทีมเพิ่ม กลัวทีมเหนื่อย
🤔 ไม่มั่นใจว่าคนที่มอบหมายงานให้จะทำงานให้สำเร็จได้
ในมุมของหัวหน้า การมอบหมายงาน คือทักษะสำคัญมาก ๆ เพราะการที่เรากระจุกงานไว้ที่ตัวเอง นอกจากจะทำให้เราพลาดโอกาสในการมองงานภาพกว้างแล้ว ทีมเองก็ยังพลาดโอกาสในการเรียนรู้ และเติบโตด้วย
เว็บไซต์ Harvard Business School Online ได้แนะนำเทคนิคในการมอบหมายงานสำหรับเหล่าหัวหน้า เมเนเจอร์เอาไว้ ซึ่งเราขอสรุปมาเป็น 5 ข้อใหญ่ ๆ ที่จะทำให้เราเข้าใจการมอบหมายงานไม่ใช่แค่ ‘สั่งงาน’ และจบไป แต่มันมีกระบวนการที่มากกว่านั้น
✍️ 1. รู้ก่อนว่าจะมอบหมายงานอะไร
ไม่ใช่ทุกงานที่จะมอบหมายให้ได้ ดูก่อนว่าแต่ละงานที่มีอยู่ตอนนี้มีงานที่เหมาะกับความสามารถของคนในทีมตอนนี้ที่เขาจะสามารถทำได้ดี หรือมีงานไหนที่รู้สึกว่าอยากให้ทีมได้พัฒนาจากการทำโปรเจกต์ใหม่ ๆ ก็สามารถให้ทำได้ หลักการเลือกอาจจะเป็นการเลือกงานที่ตรงกับเป้าหมายของทีม ตรงกับความสนใจหรือความสามารถที่เราจ้างเขามา เป็นต้น
✍️ 2. กำหนดผลลัพธ์ของการมอบหมายงานนี้ให้เคลียร์
การโยนงานให้คนอื่นทำไม่ใช่การมอบหมายงาน งานที่ให้ทีมทำต้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กร ในฐานะหัวหน้าต้องอธิบายให้ละเอียดว่าต้องการงานแบบไหน ความคาดหวังของเราต่องานชิ้นนี้เป็นอย่างไร งานที่ดีในแบบของเราหน้าตาเป็นแบบไหน และงานนี้จะมีการวัดผลอย่างไร ในระยะเวลาเท่าไหร่
✍️ 3. เตรียมการให้พร้อมกับงานที่จะให้ทีมทำ
ต้องเข้าใจก่อนว่าบางครั้งงานที่เรามอบหมายให้ก็อาจจะใหม่กับทีม หรือทีมก็อาจจะประเมินงานได้ไม่แม่นเท่าเราในบางเรื่อง ดังนั้นการช่วยตระเตรียมสิ่งที่จะทำให้งานสำเร็จ ก็ช่วยลดข้อผิดพลาดระหว่างทางได้ การให้ทีมทำงานที่ดูจะเป็นไปได้ยากที่จะสำเร็จ ทำให้หงุดหงิดทั้งเราทั้งทีม และสุดท้ายงานก็อาจจะเด้งกลับมาที่เราอีก เสียเวลาทั้งคู่ ดังนั้น
✍️ 4. ให้งานแล้ว อย่าลืมติดตามผลระหว่างทาง
สั่งแล้วสั่งเลย ไม่ใช่ความหมายของการมอบหมายงาน เราในฐานะลีดเดอร์หรือหัวหน้าก็ต้องคอยสื่อสารกับทีมอยู่เรื่อย ๆ ด้วย และเปิดช่องทางให้ทีมสามารถปรึกษาเราได้ระหว่างทาง เราต้องมีวิธีการติดตามความคืบหน้าแบบที่ไม่ใช่การลงไป micro management
✍️ 5. งานจบแล้วไม่จบเลย Feedback ทีมด้วย
หลายครั้งเรามอบหมายงานเสร็จอาจจะตอบกลับไปแค่ว่า “โอเค ขอบคุณมาก” แต่ในทุกการมอบหมายงานเราควรจะต้อง Feedback คนทำงานด้วย ทั้งในเชิงคำชมและคำติ หากงานที่ทำไม่สำเร็จก็ไต้องกล้าที่จะบอกทีมตรง ๆ ว่าควรปรับปรุงอย่างไร ไม่ดีตรงไหน หรือถ้าทีมทำได้ดีก็ต้องชมในสิ่งที่เขาทำได้ดี ให้เครดิตงานนี้กับทีมงานด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเทคนิคส่วนหนึ่งของการใช้ทักษะการมอบหมายงานเท่านั้น เชื่อว่าหลายคนน่าจะมีเทคนิคหรือวิธีการดี ๆ ในการแจกจ่ายงานทีมแน่นอน มาแชร์กันได้!
อย่างที่บอกว่าเรื่องนี้สำหรับบางคนก็ยากจริง ๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องมายืนในฐานะหัวหน้ามือใหม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าก็เป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะทำให้เราโตขึ้น ถอยออกมาจากการทำงานยิบย่อย และมอบหมายให้ทีมได้จัดการต่อ เพื่อพัฒนาทักษะของทีมให้เก่งขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
#มอบหมายงาน #เทคนิค

22/10/2024

ลีดเดอร์ต้องทำตัวเองให้เป็น ‘Full-Time Learner’ เริ่มต้นด้วย Mindsets 2 ข้อ ช่วยพัฒนาความเป็นผู้นำในทุกวัน
“Best Leaders Are Full-Time Learners”
เป็นประโยคเปิดบทความหนึ่งของ Forbes ที่บอกว่าคนที่จะเป็นที่สุดของลีดเดอร์นั้น คือคนที่พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา แบบ Full-Time เลยก็ว่าได้
เชื่อว่าคนที่เป็นลีดเดอร์ หรือหัวหน้าหลายคนน่าจะเคยพบกับสถานการณ์เหล่านี้
👉 ทีมคาดหวังว่าหัวหน้าจะสามารถตอบคำถามได้ในทุกข้อสงสัย
👉 ทีมคาดหวังว่าจะได้เติบโต และเรียนรู้จากหัวหน้าที่เก่ง และมีความเป็นผู้นำ
ซึ่งไม่ผิด เพราะในบทบาทของหัวหน้าที่ทีมมอง ก็คือคนที่จะสามารถมอบความรู้ใหม่ ๆ ทักษะใหม่ ๆ มุมมองใหม่ ๆ ให้กับทีมได้ ช่วยให้ทีมเป็นคนที่เก่งขึ้น ไปถึงเป้าหมายได้ไวขึ้น ได้เรียนรู้ผ่านตัวของลีดเดอร์เองด้วย
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องแน่นอนที่คนที่เป็นผู้นำจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะคุณคือคนบริหารที่จะต้องเห็นเทรนด์ก่อนใคร และสามารถนำทีมไปสู่ความสำเร็จด้วยกันได้ อย่างที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า “เมื่อคุณหยุดเรียนรู้ เมื่อนั้นแปลว่าคุณกำลังจะตาย” นั่นเอง
แล้วการเรียนรู้ที่ว่านั้นหมายถึงการอ่านหนังสือเยอะ ๆ ไปเข้าคอร์สเรียนหนัก ๆ แบบนั้นไหม…มันก็ไม่ใช่ทั้งหมด
ในบทความหนึ่งของ maxwell leadership ได้พูดถึง 2 แนวคิดสำหรับการพัฒนาความเป็นผู้นำในแต่ละวัน ซึ่งเป็นการปลูกฝัง Mindset เริ่มต้นให้กับคนเป็นลีดเดอร์เอง โดยแนวคิดเหล่านี้จะช่วยให้ลีดเดอร์กลายเป็นคนที่เรียนรู้ได้ในทุก ๆ วัน
⭐ 1. “EVERYONE HAS SOMETHING TO TEACH ME.”
ในบทความนี้บอกว่าเราไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ได้ จนกว่าเราจะยอมรับว่าเราไม่รู้ทุกอย่าง เราต้องกล้าที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ แม้ว่าสิ่งนั้นจะหมายถึงการเรียนรู้จากทีม หรือลูกน้องของคุณเองก็ตาม เขาบอกว่าหากเราไม่ยอมรับในเรื่องนี้ และมองว่าคนเหล่านี้จะมาเก่งกว่าเราได้ยังไง
แปลว่าในเส้นทางความสำเร็จของคุณนั้นมีแค่คุณเพียงคนเดียว ไม่ได้รู้สึกว่าต้องมีคนอื่นในสมการนี้
ดังนั้นการจะเป็นลีดเดอร์ที่เก่งพอจะสอนคนอื่นได้ ก็ต้องเป็นลีดเดอร์ที่พร้อมจะให้ผู้อื่นสอนเราด้วยเช่นเดียวกัน
⭐ 2. “EVERY DAY I HAVE SOMETHING TO LEARN.”
ยิ่งเราประสบความสำเร็จมาก ความคิดของการเรียนรู้สิ่งใหม่ ก็จะเริ่มกลายเป็นเรื่องท้าทายที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ
Phil B. Crosby ผู้เขียนหนังสือ Quality Is Free กล่าวว่า เมื่อคนถึงจุดที่รู้สึกถึง Comfort Zone ของตัวเอง สบายใจกับจุดที่อยู่แล้ว พวกเขาอาจจะยังก้าวหน้าในองค์กร อาจจะยังขยันและกระตือรือร้น และอาจจะยังทำงานหนักทั้งวันทั้งคืน แต่พวกเขาจะหยุด และไม่เรียนรู้อะไรอีกเลย
ดังนั้นให้คิดเสมอว่าในทุกวันมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นมาให้เราเรียนรู้ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว เทรนด์ และอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียน มุมมอง และข้อคิดที่ช่วยให้เรากลายเป็นลีดเดอร์ที่ดีขึ้นได้ในทุกวัน
ถ้าให้คะแนนความเป็น Full-Time Learner ของตัวเองตอนนี้ เต็ม 10 คะแนน คุณจะให้ตัวเองกี่คะแนนดี?
#ลีดเดอร์ #ความเป็นผู้นำ

17/10/2024

อธิบายคำว่า PoD กับ USP ศัพท์การตลาด ที่ต้องเข้าใจ เพื่อสร้างแบรนด์ ให้เป็นตัวเอง - MarketThink

“อยากขายดี สินค้าต้องแตกต่าง”
คำบอกเล่าที่หลาย ๆ คนเคยได้ยินว่า ถ้าอยากให้สินค้าขายดี หรือธุรกิจประสบความสำเร็จ อย่างแรกคือ สินค้าต้องแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ

ในทฤษฎีการตลาด การสร้างความแตกต่างให้สินค้าหรือธุรกิจ มีด้วยกัน 2 ทฤษฎี คือ
- PoD ย่อมาจาก Point of Difference
- USP ย่อมาจาก Unique Selling Proposition หรือ Unique Selling Point

แล้วทั้ง 2 ทฤษฎีที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้แบรนด์ ต่างกันในมุมไหนบ้าง ?

- เริ่มกันที่ PoD หรือ Point of Difference

PoD เป็นทฤษฎีที่บอกว่า การที่แบรนด์จะโดดเด่นกว่าคู่แข่งได้ ต้องมีความแตกต่าง
แต่ก่อนที่แบรนด์จะแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็ต้องมาคู่กับ PoP (Point of Parity) หรือจุดที่เหมือนกับคู่แข่งด้วย

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น iPhone ของ Apple

PoP หรือจุดที่ iPhone เหมือนกับแบรนด์อื่น ๆ
คือ มีฟีเชอร์พื้นฐานเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น โทรเข้า-ออกได้, เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้, มีแอปพลิเคชันรองรับหลากหลาย และมีกล้องที่ใช้งานได้ดี

แต่เมื่อมีเพียง PoP อาจยังทำให้ iPhone โดดเด่นกว่าแบรนด์สมาร์ตโฟนอื่น ๆ ไม่เพียงพอ

ดังนั้นจึงต้องมี PoD หรือจุดที่ทำให้ iPhone แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ มาเสริม

เช่น
- ภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image) ที่ดูพรีเมียม ทันสมัย ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของผู้ใช้งานให้ดูดี
- การมี Ecosystem อย่าง AirDrop, AirPods, iPad ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานและเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้แบบง่าย ๆ

จากตัวอย่างนี้ของ iPhone จะเห็นได้ว่า แบรนด์หนึ่งแบรนด์ หรือสินค้าหนึ่งชิ้น ไม่จำเป็นต้องมี PoD หรือจุดที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ เพียงแค่จุดเดียว

และจุดที่แตกต่างก็ไม่จำเป็นต้องแตกต่างที่ตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวเช่นกัน
แต่การสร้างความแตกต่าง หรือ PoD ให้กับแบรนด์และสินค้าสามารถมีได้หลายข้อ และมีได้หลากหลาย ได้แก่

1. แตกต่างด้วยตัวสินค้า (Product Differentiate)

เช่น ไดร์เป่าผม Dyson ที่นอกจากแตกต่างจากคู่แข่งด้วยดิไซน์เรียบหรูแล้ว ยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีอย่าง Dyson Supersonic ช่วยให้ผมนุ่มลื่น และลดผมชี้ฟู

2. แตกต่างด้านการบริการ (Service Differentiate)

เช่น Starbucks ที่นอกจากจะเป็นร้านกาแฟแล้ว ยังโดดเด่นเรื่องการบริการ ทั้งความใส่ใจของพนักงาน ไปจนถึงการสร้างบรรยากาศร้านให้เป็นเหมือนแหล่งนัดพบและนั่งพูดคุยสำหรับลูกค้า

3. แตกต่างด้านภาพลักษณ์ (Brand Image Differentiate)

เช่น แบรนด์หรู ที่ถึงแม้จะมีสินค้าเหมือนกับแบรนด์อื่น ๆ ในตลาด แต่ที่แตกต่างคือ ส่วนใหญ่แล้วจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ผู้ใช้งาน

4. แตกต่างด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution Differentiate)

เช่น Shopee แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่มีช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นด้วย บริการส่งด่วน (Express Delivery) ที่สินค้าจะถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว ภายใน 5 ชั่วโมง

5. แตกต่างด้านบุคลากร (Personal Differentiate)

เช่น Apple ที่มีการเทรนพนักงานให้สามารถตอบคำถามและให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังมี Genius Bar ที่ช่วยแก้ปัญหาทางเทคนิคต่าง ๆ และให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าด้วย

- ส่วน USP หรือ Unique Selling Proposition หรือที่บางคนก็เรียกว่า Unique Selling Point

ถ้าแปลตรง ๆ จะมีความหมายว่า “จุดขายเฉพาะ”
เป็นเครื่องมือการตลาดที่ช่วยสร้างความแตกต่าง ให้แบรนด์โดดเด่น ไม่เหมือนคู่แข่ง และทำให้แบรนด์สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งจุดขายเฉพาะที่ว่านี้ ต้องเป็นสิ่งที่คู่แข่ง “ไม่สามารถเลียนแบบได้” และ “มีเพียงข้อเดียว” ก็เพียงพอแล้ว

โดยแบรนด์สามารถหา USP ได้ ผ่านการตอบคำถามสำคัญ 3 ข้อ ได้แก่
- ลูกค้าต้องการอะไร ?
- สิ่งที่แบรนด์ของเรา ให้ลูกค้าได้คืออะไร ?
- สิ่งที่แบรนด์ของคู่แข่ง ให้ลูกค้าได้คืออะไร ?

เมื่อลิสต์คำตอบออกมา แล้วพบว่า สิ่งไหนที่แบรนด์ของเราสามารถให้ลูกค้าได้ ตรงกับความต้องการของลูกค้า และแบรนด์อื่นให้ลูกค้าไม่ได้

สิ่งนั้นคือ Winning Zone หรือตำแหน่งที่แบรนด์ของเราได้เปรียบ ซึ่งก็คือ USP หรือจุดขายเฉพาะของแบรนด์เรานั่นเอง

ยกตัวอย่าง USP ของแบรนด์ดัง เช่น

- M&M's ที่มาพร้อมกับสโลแกน “It melts in your mouth, not in your hands”
หรือแปลง่าย ๆ ว่า ช็อกโกแลต M&M's ละลายในปาก ไม่ละลายในมือ ซึ่งเป็นจุดขายเฉพาะ หรือ USP ที่แบรนด์ช็อกโกแลตอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้

- AVIS แบรนด์บริการเช่ารถ ที่มาพร้อมกับสโลแกน “We're number two. We try harder” ซึ่งเป็นสโลแกนที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1962

ซึ่งสโลแกนนี้มีความหมายว่า ถึงแม้ AVIS จะเป็นรองในตลาดเช่ารถยนต์ แต่ก็ทุ่มเทให้กับการบริการที่มากกว่าคู่แข่ง เช่น เปิดบริการเช้ากว่า ซึ่งจุดนี้เองที่เป็น USP ทำให้แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่ง

จากทั้ง 2 แบรนด์นี้ จะเห็นได้ว่า M&M's หรือ AVIS ไม่ได้มี USP ที่หลากหลาย

แต่มีเพียงแค่ข้อเดียว และทำการสื่อสารจุดเด่นหรือจุดแตกต่างนั้น ๆ ให้ออกมาอย่างชัดเจน ก็ทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงความแตกต่าง และทำให้แบรนด์โดดเด่นกว่าแบรนด์อื่น ๆ ได้แล้ว

มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า PoD และ USP ต่างก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 กลยุทธ์ ก็มีจุดที่แตกต่างกัน

ถ้าให้สรุปความแตกต่างของ PoD และ USP สั้น ๆ คือ

- PoD เป็นสิ่งที่แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่งได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ตัวสินค้า การบริการ หรือภาพลักษณ์
แต่ข้อแตกต่างในลักษณะนี้ อาจเป็นข้อแตกต่างที่แบรนด์คู่แข่งเลียนแบบได้ง่าย

- USP เป็นจุดขายเฉพาะที่แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่ง และต้องเป็นจุดขายที่เลียนแบบได้ยาก

เพราะฉะนั้น ด้วยความที่เลียนแบบได้ยาก แบรนด์จึงมี USP เพียงข้อเดียว แต่อาศัยการสื่อสารให้ลูกค้ารับรู้ก็เพียงพอแล้ว

#สร้างความต่าง


___________________

อ้างอิง:
-https://www.vantagecircle.com/en/blog/differentiation-strategy/
-https://www.marketing91.com/brand-differentiation/
-https://incorpuk.com/blog/unique-selling-proposition/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Unique_selling_proposition
-https://www.vantagecircle.com/en/blog/differentiation-strategy/

ต้องลองงงล่ะ🤣
16/10/2024

ต้องลองงงล่ะ🤣

⏳ วิธีแก้ปัญหาคนทำงานช้า
และเคล็ดลับพัฒนาให้ทำงานไวขึ้น
เคยรู้สึกไหมว่าในทีมมีคนที่ทำงานช้ากว่าคนอื่น หรือแม้จะให้เวลามากแค่ไหน งานก็ยังไม่เสร็จตามที่คาดหวัง ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานเกินไปอาจกระทบต่อการทำงานของทั้งทีมได้ แปดบรรทัดครึ่งเลยอยากชวนดูปัจจัยที่ส่งผลให้คนทำงานช้าและมาคิดหาทางออกกัน
#ปัจจัยที่ส่งผลให้ทำงานช้า
🕳️ 1. ความไม่ชัดเจนของเนื้องาน
ทำให้สับสนไม่แน่ใจว่าควรทำอะไรก่อนหลัง เสียเวลาไปกับการหาคำตอบหรือคาดเดาสิ่งที่ต้องทำ และทำให้ไม่กล้าตัดสินใจ
🕳️ 2. กระบวนการทำงานที่ซับซ้อน
บางครั้งหัวหน้าก็วางกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนหรือซ้ำซ้อนเกินความจำเป็น คนในทีมเลยเสียเวลาทำรายละเอียดที่ไม่สลักสำคัญอะไร
🕳️ 3. การขาดทักษะความสามารถบางอย่าง
อาจมาจากการฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ ดังนั้น ลองลิสต์ออกมาว่าควรเพิ่มการพัฒนาทักษะไหน เพื่อช่วยให้ทำงานไวขึ้น
🕳️ 4. ไม่มีแรงจูงใจหรือไม่รู้สึกมีส่วนร่วม
เมื่อขาดแรงจูงใจและไม่รู้สึกผูกพันกับงานก็จะขาดความกระตือรือร้นเพราะไม่เห็นคุณค่าในงานที่ทำ การเข้าใจว่าอะไรเป็นแรงจูงใจให้แต่ละคนเลยสำคัญ
#เคล็ดลับพัฒนาคนให้ทำงานไวขึ้น
✍🏻 1. อย่าเพิ่มงานให้คนที่ทำงานเร็วกว่าอย่างเดียว
เพราะคนที่ทำงานช้าจะไม่ได้พัฒนา และคนที่ทำงานเร็วจะรู้สึกเหนื่อยล้าจากงานที่มากเกินไป
✍🏻 2. อธิบายความคาดหวังที่มีต่องานต่าง ๆ
อธิบายว่าควรใช้เวลาแค่ไหนในการทำงานแต่ละชิ้น เทียบกับเวลาที่ใช้ไปจริง ๆ
✍🏻 3. มอบหมายให้ทำงานที่ชอบมากขึ้น
พูดคุยกับเกี่ยวกับลักษณะของงานที่ชอบหรือถนัด และลองมอบหมายงานที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้น
✍🏻 4. ทำงานร่วมกันใกล้ชิดและดูว่าติดขัดตรงไหน
ลองหาเวลามาทำงานร่วมกัน แล้วดูเขาทำงานไปทีละขั้น เพื่อดูว่าติดขัดตรงไหนถึงส่งผลให้ช้า
แม้การพัฒนาความ productive ของคนทำงานช้าเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความอดทนและความพยายาม แต่นั่นก็คุ้มค่าสำหรับการผลักดันให้คนในทีมใช้ศักยภาพตัวเองได้เต็มที่ขึ้น
#แปดบรรทัดครึ่ง

16/10/2024

อยากทำ แต่ก็ยังไม่ได้ทำ ลองเทคนิคทบทวนเป้าหมาย ไม่ให้หายจากไป แก้ด้วย Self - Relationship - Work จากรายการ THE ORGANICE
🥹 โค้งสุดท้าย! อีกไม่ถึง 3 เดือนก็จะหมดปี 2024 แล้ว
👉 เป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นไงบ้าง
👉 มีเรื่องอะไรที่อยากทำ แต่ยังไม่ได้ทำ หรือยังทำไม่เสร็จไหม
👉 แล้วเตรียมวางแผน 'อนาคต' ปีถัดไปอย่างไร
ได้เวลามาจัดการตัวเองอย่างไรในช่วงโค้งสุดท้ายของปี เราควรจะนึกถึงเรื่องอะไรบ้าง โดยเริ่มต้นจากการสำรวจตัวเอง 3 เรื่อง!
🎯 1. Self (เรื่องของตัวเราเอง)
1.1 ทบทวนเป้าหมาย Goal
สิ่งสำคัญของการทบทวนตัวเองคือ ‘เป้าหมาย’ ตัวเราเองตอนต้นปีมีเป้าหมาย (Goal) อะไรบ้าง โดยวิธีการง่าย ๆ สามารถใช้หลักการ SMART ของ Peter Drucker ได้
👉 Specific (มีความชัดเจน)
เช่น สมมุติว่าเราตั้งเป้าหมายเมื่อตอนต้นปี ด้านสุขภาพต้องดีขึ้น เราต้องมี Specific คือสุขภาพจะดีได้ ต้องวัดผลจากน้ำหนัก และชั่วโมงการนอน หรืออาจจะชัดเจนไปอีกขั้นตั้งเป้าเลยว่าเราจะน้ำหนักลง 2 กิโลต่อเดือน
👉 Measurable (การวัดผลได้)
เช่น ในด้าน Measurable จากตัวอย่างด้านบน เราจะวัดได้จาก ค่า BMI, หรือค่า Body Fat
👉 Achievable (สามารถทำได้จริง)
เช่น จากเดิมที่เราตั้งไว้ว่าน้ำหนักลง 2 กิโลต่อเดือน ต้องกลับมาดูว่าเวลาผ่านมาเกือบ 9 เดือนแล้ว เราน้ำหนักลงได้ตามเป้าหรือไม่ เพราะเราต้องทำได้จริง
👉 Relevant (มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่เราให้ความสำคัญ)
เช่น หากเราบอกจะสุขภาพดี เราต้องดูว่ากิจวัตรประจำวันมันมีความเกี่ยวเนื่องกับการทำให้เราสุขภาพดีอย่างไรได้บ้าง ไม่ใช่ว่าอยากสุขภาพดี แล้วกิจกรรมไม่สอดคล้องกัน
👉 Time-Bound (มีกรอบเวลาชัดเจน)
เช่น มีการวัดกรอบเวลาอยู่เรื่อย ๆ เพื่อไปให้ถึงจุดที่เป็นเป้าหมายของเรา
💯 เคล็ดลับ 💯
เป้าหมายที่ตั้งแนะนำว่าควรจดใส่สมุดสักเล่ม เพราะถ้าเราตั้งเป้าหมายลอย ๆ โอกาสสำเร็จจะยาก เพราะทั้งหมดนี้เราทำไปเพื่อสำรวจ ว่าเป้าหมายช่วงต้นปีมีความคืบหน้าอย่างไร มีปัจจัยอะไรที่เปลี่ยนแปลงไป
1.2 ทบทวนคุณค่าที่เราให้ความสำคัญในช่วงนี้เป็นพิเศษ (Value) ซึ่งมี Checklist ให้ 3 เรื่อง คือ
👉 อะไรคือเรื่องที่เราทำได้ดี (Strengths)
👉 อะไรคือเรื่องที่เราอยากทำ (Purposes)
👉 อะไรคือเรื่องที่เราต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น (Challenges)
ทั้ง 2 เรื่องใหญ่นี้คือการทบทวนเป้าหมายของตัวเอง และทบทวนคุณค่าที่เราให้ความสำคัญนั่นเอง
🎯 2. Relationship (เรื่องของคนรอบตัว)
คืออีกหนึ่งวงที่สำคัญ โดยจะมี 2 เรื่องใหญ่ ๆ ดังนี้
2.1 ทบทวนคุณภาพของ Relationship
👉 คนในครอบครัว
ความสำคัญของคนในครอบครัวมักมีผลต่อการใช้ชีวิตของเรา บางครั้งเราอาจจะไม่ได้คุยกับที่บ้านบ่อยเท่าแต่ก่อน หรือครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ป่วย ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลต่อชีวิตเราค่อนข้างมาก ดังนั้นลองทบทวนคุณภาพให้ดี เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เมื่อเรามีไม่ทุกข์ใจ และสุขในครอบครัว คุณภาพชีวิตของเราก็จะดีตามไปด้วย
👉 คนสนิท / คนรัก
ความสำคัญของ คนสนิท / คนรัก มักมีผลต่อความมั่นคงทางใจ ให้นึกภาพเพื่อนสนิทของเรา หรือแฟนของเรา เราเคยมี Conversation อะไรกับเขาบ้าง เคยไหมเวลาเราทะเลาะกับแฟน แล้วไปบ่นกับเพื่อนสนิท นี่แหละคือหนึ่งในความมั่นคงทางใจ เพราะคนใกล้ตัวกลุ่มนี้ หากเรามีความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน จิตใจของเราจะเบิกบานขึ้น เมื่อจิตใจเรามั่นคง อะไรต่าง ๆ ในชีวิตเราก็ดีตามเช่นกัน
👉 เพื่อนร่วมงาน / Partner / ลูกค้า
ความสำคัญของเพื่อนร่วมงาน / Partner / ลูกค้า มีผลกับการทำงาน เหตุเพราะกลุ่มนี้จะเน้นความสัมพันธ์ด้านการทำงานโดยเฉพาะ ถ้าเพื่อร่วมงานดี, พาสเนอร์ดี, ลูกค้าน่ารัก มันจะส่งให้เราสนุกกับการทำงาน แฮปปี้กับการทำงานมากขึ้นนั่นเอง
2.2 ทบทวนกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีร่วมกัน
ลองทบทวนว่าทั้ง 3 กลุ่มที่ว่ามาข้างบน เราได้ทำกิจกรรมที่มีคุณภาพกับเขาบ้างไหม
👉 คุณภาพ
คุณมีกิจกรรมกับครอบครัวบ้างไหม, ได้นัดกินข้าวกับเพื่อนไหม คุณจำวันเกิดแฟนได้ไหม หรือเคยส่งของขวัญให้กับลูกค้าหรือพาสเนอร์ในวันสำคัญบ้างไหม
👉 ปริมาณ
คือความสม่ำเสมอ มีการพูดคุยสม่ำเสมอไหม, คุณมีเวลาให้คนแต่ละกลุ่มเพียงพอไหม
👉 ความคาดหวัง
ความคาดหวังเกิดขึ้นได้จากทั้งตัวเราคาดหวังอีกฝ่าย และอีกฝ่ายคาดหวังจากเรา ซึ่งเกิดจากความใส่ใจ เช่น เพื่อร่วมงานหวังว่าจะเข้าใจเพื่อสนับสนุนร่วมกัน หรือความคาดหวังที่เกิดจากครอบครัว คุณได้ทำตามความคาดหวังเหล่านั้นหรือไม่
👉 เป้าหมาย
Relationship สามารถสร้างเป้าหมายได้ เช่น คนในครอบครัวมีเป้าหมายถึงความมั่นคงของคุณ หรือคนรักก็มีเป้าหมายในการมีครอบครัวร่วมกัน ความสัมพันธ์คืบหน้าอย่างไร หรือแม้กระทั่งเป้าหมายกับเพื่อนร่วมงาน เรามีเป้าหมายที่จะไปสู่องค์กรอย่างไร
Point สำคัญของข้อ 2 นี้คือการทบทวนเรื่องความสัมพันธ์รอบตัว (Relationship) นั่นเอง
🎯 3. Work (เรื่องของงาน)
วงสุดท้ายนี้คือเรื่องของ Work คือการทบทวนเรื่องของการทำงาน ซึ่งจะมี 2 เรื่อง
3.1 ทบทวนความคืบหน้า + ตัวชี้วัดที่มีร่วมกันกับทีมงาน โดยแบ่งเป็น 3 เป้าหมายใหญ่ ๆ
👉 เป้าหมายบริษัท = อาจจะเป็นเป้าหมายเชิงรายรับ เป็นเรื่องสำคัญของบริษัท
👉 เป้าหมายทีม = เรามีส่วนร่วมกับเป้าหมายในทีมอย่างไร
👉 เป้าหมายของตัวเอง = สำคัญมาก ๆ คือตั้งแต่ก้าวเข้ามาในบริษัท เป้าหมายตัวเองต้องชัดเป็นอันดับแรก
ลองคำนวณเป้าหมายตัวเอง แล้วเขียนมันออกมา ว่าตอนนี้เราทำอะไรสำเร็จแล้วบ้าง แล้วอะไรที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อทบทวนงานที่เราทำมาเกือบจะ 1 ปีเต็ม
3.2 ทำรายการงานของปี 2024
คืองานต่าง ๆ ที่ได้ทำ ในช่วงเดือนต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 3 เรื่อง
👉 What I Like เราชอบอะไรในงานนี้
👉 What I Learn งานนี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง
👉 What I Leave Behind งานนี้ที่ทำฉันจะไม่ทำเรื่องนี้อีก
เทคนิคสำคัญคือเราลอง List งานในแต่ละปีออกมา หรือลองเขียนออกมาว่า ทุกงานตลอดปีนี้ เราชอบงานนี้เพราะอะไร งานนี้ให้ Value อะไรกับเรา หรืองานนี้เราเรียนรู้อะไรบ้าง อีกส่วนที่ควรทำด้วยคือแล้วงานอะไรที่เป็นข้อผิดพลาดฉันจะไม่ทำแบบนี้อีก เพื่อให้เห็นภาพว่าในปีนี้เป็นอย่างไร ในปีหน้าเราจะให้ดีกว่าเดิม หรือเห็นภาพว่าปีหน้ามีอะไรที่เป็นทักษะใหม่ ๆ ของเรา ในการก้าวไปสู่โปรเจกต์ใหม่ ๆ ต่อไป
สุดท้ายนี้อยากให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำ เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการ List เขียนมันออกมา ซึ่งเทคนิคที่ทำด้วยกันได้คือ Brain Dump และ Prioritization ซึ่งทุกคนสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
อ่าน Brain Dump เพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1063101765820646&set=a.549292623868232
อ่าน Prioritization เพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/photo?fbid=1065921332205356&set=a.549292623868232
🤩 ช่วงขายของที่จะเป็นประโยชน์กับทุกคน
แอบมาบอกว่าสำหรับใครที่กำลังหา ‘สมุดจด’ ในรูปแบบ Planner ที่จะเป็นสมุดคู่ใจเพื่อหยิบมาเขียนทบทวนตัวเอง และยังสามารถทำ Brain Dump + Prioritization แบบสำเร็จรูปไม่ต้องนั่งตีตารางเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาง CREATIVE TALK เองก็ได้จริงจัง และใส่ใจกับการทำสิ่งที่เรียกว่า…
“The Organice Planner by CREATIVE TALK” โดยเป็นการ Collab กันระหว่าง CREATIVE TALK และ ZEQUENZ เพราะเรารู้ว่าการจัดการเวลาในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราจะนำเครื่องมือช่วยจัดลำดับความสำคัญ และลับคมความคิด ให้ทุกคนได้กระตุ้นสมอง
Planner ที่จะมาช่วยคุณจัดการความคิดและกระตุกไอเดียสร้างสรรค์ได้ในทุก ๆ วัน ที่มีจำกัดเพียงแค่ 500 เล่มเท่านั้น!!
[ สมุดเล่มนี้ทำอะไรได้บ้าง? ]
📖 ลับคมความคิด ผ่าน Creative Exercise 12 รูปแบบ เลือกทำเดือนละครั้ง
📖 About Yourself คุณรู้จักตัวเองดีแค่ไหน? รู้จักตัวเอง เพื่อทบทวนความคิดอยู่เสมอ
📖 ติดตามอารมณ์ บันทึกอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ด้วยการกำหนดสีแทนอารมณ์
📖 จัดระเบียบงาน เริ่มต้นด้วยการดึงทุกสิ่งที่อยู่ในสมองของเราออกมาวางไว้ด้านนอก
📖 จัดการงานได้มีประสิทธิภาพ ด้วย Brain Dump, Prioritize, Monthly Planner และ Weekly Planner และพื้นที่จดไดอารี่บันทึกเรื่องราวประจำวัน
📖 สมุดแพลนเนอร์ แบบไม่ระบุวันที่ ผลิตจากกระดาษคุณภาพดีปราศจากสิ่งปนเปื้อนหรือสารเคมี
📖 เปิดกางได้ 360 องศา สันโค้งมน ยืดหยุ่น ตามแบบฉบับ ZEQUENZ
📖 มาพร้อม Magnetic Bookmark สำหรับคั่นหน้ากระดาษ มีให้เลือก 2 สี คือ สีขาว (White) หรือ สีชมพู (Magenta)
เปิดให้ทุกคนจับจองกันแล้ว! จำนวนจำกัดเพียง 500 เล่มเท่านั้น
✱ ราคาเล่มละ 750 บาท (ค่าจัดส่งแบบ EMS เริ่มต้นที่ 50 บาท) ✱
สั่งซื้อได้ทาง Facebook inbox : m.me/zequenz
เรา CREATIVE TALK และ ZEQUENZ เชื่อว่า Planner เล่มนี้จะช่วยเปลี่ยนชีวิต ความคิด และการจัดการ ทำให้คุณรู้สึกดีได้ในทุกวัน
✍🏻 เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ
🎨 ภาพประกอบ: ชนสรณ เวชสิทธิ์
#ทบทวน #เป้าหมาย

15/10/2024

🎧📚 มัดรวม 20 พอดแคสต์ที่ควรฟังก่อนสิ้นปี ฟังง่าย ถูกใจวัยทำงาน!

💭 ไหน ๆ ก็จะสิ้นปีแล้ว วันนี้แอดขอมามัดรวมพอดแคสต์ให้ทุปคนไปตะลุยฟังจนหมดปีกันหน่อยแล้วกัน บอกเลยว่าถ้าฟังครบคือได้อัปสกิลกันรัว ๆ เลย เพราะแต่ละแนวที่แอดคัดมาคือครบจบทุกแบบที่วัยทำงานชอบ ยังไงไปเลือกฟังกันได้นะ

#ชอบโปร #พอดแคสต์ #วัยทำงาน

11/10/2024

🤖🤩 คัดมาให้แล้ว! เครื่องมือ AI วัยทำงาน ติดเครื่องไว้ได้ใช้แน่!

💬 ยุคนี้โลกเราก้าวกระโดดไปไกลมาก แล้วยิ่งเทคโนโลยีอย่าง AI ก็ล้ำขึ้นไปอีกขึ้น วันนี้แอดคัดมาให้แล้ว ‘เครื่องมือ AI วัยทำงาน’ ตัวช่วยมนุษย์ออฟฟิศยุคใหม่ ทางลัดให้ทำงานเสร็จไวขึ้น ไปโหลดมาใช้กัน!

📌 iOS/Android

#ชอบโปร #ชอบโปรแชร์ทริค #เครื่องมือAI

10/10/2024

ยังว่างๆอยู่นะจ๊ะ 😁😁😁

10/10/2024

คนตื่นธรรม

10/10/2024

อัปสกิลออกแบบ สอนทำภาพ Vector ✒️
ด้วย Adobe Illustrator ลงมือทำตามได้เลย
"คู่มือสอนวาดและขายออนไลน์"
ทำภาพ Vector ด้วย Adobe Illustrator
📕 https://shope.ee/9eu9iAqtIS
📅 เรียนฟรีทำ icon Vector
https://www.skilllane.com/courses/icon-for-beginers-by-pimmy

#คอร์สเรียน
#การตลาดออนไลน์ #กราฟิก #กราฟิกดีไซน์

21/06/2024

ที่อยู่

Bangkok

เบอร์โทรศัพท์

+66824576345

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Khit ma deeผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Khit ma dee:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์