BLANK PAPER new type of publishing company สำนักพิมพ์ที่มุ่งมั่นผลิตผลงานสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา สร้างความเป็นพลเมืองนักออกแบบ
(1)

ใครตามหาอยากได้หนังสือ  #อยู่เมืองดัดจริต  #ชีวิตต้องป๊อป  สามารถ IB มาสอบถามหรือไปซื้อได้ที่ https://www.kaidee.com/pro...
17/01/2021

ใครตามหาอยากได้หนังสือ #อยู่เมืองดัดจริต #ชีวิตต้องป๊อป สามารถ IB มาสอบถาม

หรือไปซื้อได้ที่ https://www.kaidee.com/product-360366391?utm_campaign=my-listing&utm_medium=Share&utm_source=CLIPBOARD&utm_term=generalist

หนังสืออื่นๆ อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป หนังสือที่รวมผลงานคัดสรรจากเพจ อยู่เมืองดัดจริต ชีวิต

04/07/2018

Damien Hirst โคตรพ่อแห่งวงการศิลปะสมัยใหม่ ก็กระทำการอันฮือฮาต่อวงการศิลปะ โดยประกาศผ่าน IG ของตัวเองว่า เขาจะยกภาพงานของเขาที่จัดแสดงที่ Serpentine Galleries ซืึ่งชื่อว่า “Andromeda” ให้กับคนที่บรรยายภาพที่เขาใส่แต่กางเกงในบ๊อกเซอร์สีชมพูยี่ห้อ Calvin Klein ได้ถูกใจที่สุด

เขาให้เวลาคนเข้ามาบรรยายภาพ 1 อาทิตย์ นี่ก็ใกล้หมดเวลาแล้ว

อยากรู้มากว่า ใครจะได้ภาพของเขาไป

10/12/2017

สุขสันต์วันรัฐธรรมนูญ

นี่คือผลงานของศิลปินชาวอินโดนีเซีย fx harsono ชื่อว่า "voice without voice/sign ทำขึ้นเมื่อปี 1993 ปัจจุบันเป็นสมบัติของ fukuoka asian art museum

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงภาษามือ ที่รวมกันแล้วอ่านได้ว่า 'd-e-m-o-k-r-a-s-i. ซึ่งแปลว่า ประชาธิปไตยในภาษาอินโด

ให้สังเกตว่า ภาษามือที่ใช้แทนตัวอักษรแต่ละคำนั้น ตัว e ตัว a และ ตัว s จะแสดงออกถึงสัญลักษณ์ของการเรียกร้องของประชาชนเวลาที่ออกมาประท้วง (กำมือ บีบนิ้ว ชูกำปั้น) อย่างชัดเจน

และภาพสุดท้ายคือ ตัวอักษร i เป็นรูปมือที่ถูกมัดด้วยเชื่อกมีเพียงนิ้วก้อยที่ยื่นออกมา

ภาพนี้มีพลัง และบอกทุกอย่างในตัวมันเองถึง เสียงที่ไม่สามารถส่งออกมาได้ของประชาชน

สุขสันต์วันรัฐธรรมนูญ อีกปี

30/10/2017

BLANK PAPER's cover photo

02/10/2017

ศิลปินญี่ปุ่น Tatsumi Orimoto เพิ่งจัดการแสดงที่เรียกว่า แฟลชม็อบ โดยนำขนมปังฝรั่งเศส บาเก็ต ผูกมัดรวมกับใบหน้าของคน แล้วเดินไปตามถนนย่านศูนย์การค้าในเมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของการแสดงงานศิลปะในแบบ แฟลชม็อบ ของศิลปินวัย 71 ปีคนนี้ แต่น่าจะเป็นครั้งที่สองร้อยกว่าแล้ว

Orimoto เป็นคนที่หมกมุ่นกับขนมปังบาเก็ตอย่างมาก โดยนำมาใช้ในงานศิลปะเพื่อสะท้อนความรู้สึกของเขาที่มี่ต่อถ้อยคำที่เขาได้อ่านจากพระคัมภีร์ไบเบิลว่า "ขนมปังหมายถึงเรือนร่าง" จึงจุดประกายให้กลายเป็นงานแสดงที่ชื่อว่า "คนขนมปัง" โดยเขาเริ่มทำงานแนวนี้มาตั้งแต่ยุค 1991

"คนขนมปัง" เคยถูกนำไปแสดงทั่วโลกตั้งแต่ตุรกี เนปาล เยอรมนี ลอนดอน ตอนไปแสดงที่อเมริกา เคยโดนพวกคนไร้บ้านในนิวยอร์กไล่ตะเพิด และโดนโยนออกจากร้านอาหารเมื่อไปแสดงโดยทำเป็นยืนรอเข้าคิวในร้านที่มอสโกว

โดนมาขนาดนี้ ก็ใช่ว่าจะหยุดเขาได้

เมื่อไหร่ที่คุณเห็นคนเอาขนมปังยาวสองฟุตอย่างน้อย 6 อันมาหุ้มมัดบังหน้าตา โปรดรู้เถอะว่า นั่นล่ะ "คนขนมปัง" งานศิลปะของ Orimoto มาเยือนคุณแล้ว

สำหรับประวัติของศิลปินวัยชราคนนี้ ช่วงทศวรรษ 70 เขาเคยเป็นผู้ช่วยให้ นัม จุง ไพค์ ศิลปินเกาหลี ผู้บุกเบิกงานศิลปะสื่อผสมโดยใช้วิดิโอ แบบที่เราเรียกกันว่า วิดิโอ อาร์ต รวมทั้งเคยเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหว ฟลักซุส ที่ต่อต้านแนวทางการทำงานศิลปะเดิมๆ โดยมีคนดังๆ ที่เรารู้จักกันดีคือ โยโกะ โอโนะ โจเซฟ บอยด์ รวมทั้ง นัม จุง ไพค์ อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย

15/09/2017

ขณะที่เมืองจีนมี อ้าย เว่ย เ่ว่ย ศิลปินที่นิยมใช้วัตถุสิ่งของหน้าตาเหมือนกันจำนวนมหาศาล มาจัดวางเป็นผลงานศิลปะ เพื่อสะท้อนถึงความคิดของเขาต่อนโยบายต่างๆ

ฟากตะวันตก ก็มีศิลปินชาวฝรั่งเศสชื่อ JR ที่เป็นทั้งช่างภาพและนักประติมากรรม เขาแสดงออกถึงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่าง ผ่านภาพของเขาที่ถูกขยายใหญ่ขนาดมหึมา นำไปติดไว้ตามที่ต่างๆ เพื่อวิพากษ์นโยบายของรัฐต่างๆ ที่ส่งผลต่อผู้คน

ล่าสุด เขาจัดทำประติมากรรมภาพถ่าย เป็นรูปเด็กชายอายุ 1 ขวบ ความสูง 70 ฟุต ติดตั้งไว้ที่รั้วชายแดนเขตเม็กซิโกกับแคลิฟอร์เนีย

เด็กชายกำลังชะโงกหน้าข้ามรั้วที่กั้นเขาไว้ เพื่อมองดูพื้นที่ของเมืองแคลิฟอร์เนีย ดินแดนที่มีอนาคตสดใสกว่า

เด็กคนนี้ชื่อว่า Kikito เป็นตัวแทนของพลเมืองกว่าแปดแสนคน นักฝันที่หนีข้ามเข้ามาในอเมริกา โดยไม่รู้ชะตากรรมข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ มีนโยบายเข้มงวด กีดกันชาวต่างชาติที่จะเข้ามาอาศัยในอเมริกา

ประติมากรรมชิ้นนี จะตั้งอยู่เป็นเวลาหนึ่งเดือน เพื่อประท้วง ทรัมป์ ถึงความรู้สึกเจ็บปวดอย่างเงียบๆ

15/09/2017

ระหว่างที่ผู้นำประเทศต่างๆ กำลังเดินชมสินค้าในงานจัดแสดงอาวุธที่กรุงลอนดอน (รวมทั้งผู้นำไทยด้วย)

ถัดไปไม่ไกลจากอาคารแสดงอาวุธ ก็มีการจัดแสดงงานศิลปะที่ใช้ชื่อว่า Art The Arms Fairs เพื่อต่อต้านเหล่าผู้ค้าอาวุธทั้งหลาย รวมทั้งรัฐบาลอังกฤษ ที่มือหนึ่งก็ทำตัวแอ็คทีฟ ให้เงินสนับสนุนการทำงานเพื่อสันติภาพ แต่อีกมือ ก็สนับสนุนการขายอาวุธให้กับประเทศที่ก่อสงคราม เช่น เยเมน

ในงานมีการแสดงผลงานศิลปะ 145 ชิ้น มีชิ้นเดียวในงานนิทรรศการนี้ถูกจัดแบบมีองค์ประกอบล้อมรอบ คืองานของ Banksy ชิ้นนี้ที่ชื่อว่า civilian drone strike

ผลงานทุกชิ้นจะถูกประมูลขายในงาน เพื่อนำไปเป็นทุนให้กับองค์กรที่ทำการรณรงค์ต่อต้านการค้าอาวุธ Campaign Against Arms Trade (CAAT)

แน่นอน งานของ banksy ก็ถูกนำออกประมูลด้วยเช่นกัน โดยราคาตั้งต้น คือ 10 ปอนด์ รายได้จากการขายงานชิ้นนี้จะถูกแบ่งเป็นสองส่วน ครึ่งหนึ่งให้องค์กรที่ทำการรณรงค์เพื่อต่อต้านการค้าอาวุธ อีกครึ่งให้กับ Reprieve องค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านการใช้เครื่องมือโดรน และการละเมิดสิทธิมนุษย์ชน

วันนี้ เป็นวันสุดท้ายของการแสดงนิทรรศการสินค้าศิลปะอาวุธ บินไปดูไม่ทัน ดูผ่านทางนี้ได้ในรูปของ Virtual Tour

https://artthearmsfair.com/virtual-tour

28/05/2017

ตอนนี้ ถ้าใครไปเดินเล่นในนิวยอร์ก ผ่านตึกร๊อกกี้เฟลเลอร์ ในบริเวณนิวยอร์กพลาซา ก็จะเห็นประติมากรรมแวววาวที่ทำด้วยวัสดุแบบเดียวกับลูกโป่งปาร์ตี้ เป็นรูปนักเต้นเบลเลต์หญิงกำลังนั่งอยู่บนเบาะเตี้ยๆ และก้มลงมองดูผู้คนที่เดินผ่านไปมา รวมทั้งคนที่กำลังถ่ายรูปเธออยู่

ประติมากรรมชิ้นนี้ เป็นผลงานของศิลปินดัง Jeff Koons คนที่สามารถทำให้หมาลูกโป่งยักษ์กลายเป็นงานศิลปะระดับโลก ถูกประมูลไปด้วยราคาแพงลิบลิ่ว

Jeff Koons เป็นศิลปินที่มีความฝักใฝ่ในการทำงานศิลปะโดยเขามีแนวคิดเดียวกับ ซิกมัน ฟรอยด์ คือเชื่อว่าแรงขับในการสร้างสิ่งต่างๆ ของมนุษย์นั้นมาจากเรื่องเซ็กส์ โดย Koon ใช้ "ความเป็นพลาสติก" เพื่อสื่อมัน

แต่สิ่งที่คนตั้งคำถามหลังจากเห็นนักบัลเลต์หญิงยักษ์ สูง 45 ฟุต ซึ่งเป็นการแสดงงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์เครื่องสำอางค์ดัง เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือการทำงานด้านเด็กหาย ก็คือ

เหตุใดประติมากรรมชิ้นนี้ ช่างสอดคล้องกับตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ ผลงานของ Oksana Zhnikrup (1931-1993) ช่างปั้นหญิงชาวยูเครน ที่คนทั่วโลกคงรู้จักเธอน้อยมั่กกก

17/05/2017

Citizen Designer
....

เล่นสำนวนกับภาพ (Visual Pun) คือการทำให้ภาพๆ หนึ่งมีความหมายตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป โดยใช้องค์ประกอบในภาพนั้น

ภาพ Visual Pun ที่มักถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่าง คือ โปสเตอร์ของนักออกแบบกราฟฟิกชาวอิสราเอล Dan Reisinger ที่ชื่อว่า Let My People Go

ภาพชุดนี้ออกแบบมาเนื่องในเหตุการณ์ สงคราม 6 วัน เมื่ออิสราเอลโจมตีอียิปต์ จอร์แดน และซีเรียทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ 5 -10 มิถุนายน ปี 2510 และจบลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล

ดีไซนเนอร์ตั้งใจสื่อสารถึงชาวยิวที่อยู่ในสหภาพโซเวียต (เวลานั้น) ซึ่งไม่สามารถอพยพไปยังอิสราเอลได้ จึงใช้สัญลักษณ์ ค้อน เคียว แทนตัวอักษร G ที่ยังอ่านได้ว่า Go

นอกจากนั้น คำว่า Let My People Go ยังเป็นคำที่พระเจ้ามีบัญชาให้โมเสสไปบอกกับฟาโรห์แห่งอียิปต์ ในไบเบิล หมวดอพยพว่า...

“จงไปเฝ้าฟาโรห์ และบอกเขาว่า ‘พระเยโฮวาห์ตรัสดังนี้ว่า “จงปล่อยประชากรของเราเพื่อพวกเขาจะได้ไปปรนนิบัติเรา"

Reisinger เป็นดีไซนเนอร์ที่นำเอา Visual Pun มาเล่นในงานหลายชิ้น

โปสเตอร์อีกชุดที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักกันดี คือ โปสเตอร์โฆษณาให้สายการบิน EL AL ของอิสราเอล ที่ออกแบบโดยใช้สัญลักษณ์ของเมืองนั้นมาผสมผสานเข้ากับตัวอักษร ซึ่งดูเหมือนเส้นทางการบินไปในตัว ทำให้คนที่ดูเข้าใจได้ทันทีว่านี่คือสายการบินที่ไปยังเมืองใด

การสื่อภาพ ผ่าน Visual Pun จึงสามารถให้ผลสองทางแก่คนดูคือ ขำ และ ขื่น ไปพร้อมกัน

22/04/2017

"เราเห็นอะไร เวลาเราอ่าน"

คือหนังสือที่บันทึกวิธีคิดที่นำไปสู่การออกแบบปกหนังสือของกราฟฟิกดีไซนเนอร์ Peter Mendelsund ผู้มีผลงานจากการออกแบบปกหนังสือชื่อดังจำนวนมาก และเป็นนักอ่านที่เอาจริงเอาจังกับการอ่าน

ยกตัวอย่าง
เขาพูดถึงบทเปิดเรื่องของ To the Lighthouse กับ Moby-Dick ว่าสร้างความสับสนให้คนอ่านอย่างมาก เพราะเราจะไม่รู้อะไรเลย จากข้อมูลที่ได้จากการบรรยายและการจินตนาการให้เกิดเป็นภาพ แต่นี่แหละคือวิถีของหนังสือที่เป็นเรื่องแต่ง ทุกเล่มล้วนเปิดเรื่องด้วยความสงสัยและกลบเกลื่อน

เวลาเราเปิดอ่านหนังสือครั้งแรก เราจึงเหมือนกำลังก้าวข้ามธรณีประตู คือเราไม่ได้อยู่ทั้งในโลกนี้ (โลกที่เรากำลังถือหนังสือเล่มที่กำลังอ่าน) และก็ไม่ได้อยู่ในโลกนั้น (พื้นที่ลอยๆ ที่ถ้อยคำต่างๆ พากันชี้ไป)

สิ่งที่เขาเล่าถือเป็นการขยายความจุดเริ่มต้นของคำที่เราชอบได้ยินกันบ่อยๆ ว่า "หนังสือพาเราไปที่ต่างๆ โดยที่เรายังไม่ได้ลุกไปไหน

การบันทึกถึงเรื่องการอ่านของเขา ทำให้เรา"เห็น" ไปถึงวิธีคิดเรื่องการออกแบบปกหนังสือไปด้วยเลยว่ามันต้องใช้มากกว่าคำว่า "แรงบันดาลใจ" อย่างไรบ้าง

(คลิกดูงานของเขาที่ mendelsund.blogspot.com อาจทำให้ร้อง เอ๊ะ...ทำไมปกหลายเล่มคุ้นๆ)

18/02/2017

เมื่อตอนที่ จูเลียน บาร์นส์ ขึ้นรับรางวัล Man Booker ในฐานะผู้แต่งหนังสือ 'The Sense of an Ending" (แปลเป็นไทยในชื่อ ณ ที่สิ้นสุดของบางสิ่ง)

เขาเอ่ยชื่อดีไซนเนอร์คู่ใจที่ออกแบบปกหนังสือให้กับเขามาตลอดว่าเป็นคนที่อยู่เบื้องหลังผลักดันให้เขาก้าวขึ้นสู่บัลลังก์นักเขียนชื่อดังระดับโลก ยังไม่เคยมีนักเขียนคนใดเอ่ยชื่อนักออกแบบปกหนังสือเมื่อขึ้นรับรางวัลออกมา "ดังๆ" เช่นนี้

เธอผู้ได้รับเกียรตินั้นคือ ซูซาน ดีน (Suzanne Dean) และยังเคยได้ติดโผนักออกแบบปกคนเดียวในบรรดา 100 คนที่มีอิทธิพลต่อวงการค้าหนังสือ

แน่นอนว่าใครที่ตัดสินหนังสือจากปก ย่อมถูกตั้งคำถามว่า "เป็นนักอ่านจริงหรือเปล่า?" แต่นักเขียนที่ละเลยไม่ให้ความสนใจกับปกหนังสือของงานตัวเองก็จะถูกมองว่า "อ่อนต่อโลก" เช่นกัน

ซูซาน ดีน เป็นนักออกแบบปกหนังสือที่ทำงานกับสำนักพิมพ์เพนกวินมานานถึงยี่สิบปี ก่อนจะมารับหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ให้กับแรนดอมเฮ้าส์และวินเทจ

เธอตั้งโจทย์ในการออกแบบว่า "ต้องทำให้คนที่เดินในร้านหนังสือสะดุด หยุด เดินย้อนกลับมาใหม่ และหยิบขึ้นมาพลิกดูให้ได้ในเวลาเพียงสองสามวินาที"

ซูซาน ดีนบอกว่าเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่เราจะมีปฏิกริยา "รักแรกพบ" (หรือ "อี๋ยย แรกพบ?") เมื่อเห็นปกหนังสือโดยยังไม่รู้เนื้อใน ซึ่งนี่คือหน้าที่ของนักออกแบบที่ต้องเรียกความสนใจจากนักอ่านไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตามให้ได้ด้วยกระดาษหน้าเดียว

และแน่นอน เรื่องที่สาหัสสำหรับนักออกแบบปกคือ เจอความเห็นประเภทแนะนำว่าอย่าพลาดหนังสือเล่มนี้ โดยใส่วงเล็บว่า "จงมองข้ามปกไป"

ถ้าดูผลงานการออกแบบปกหนังสือของ ซูซาน ดีนแล้ว

เธอทำให้เรามั่นใจขึ้นมากว่า สมควรซื้อเก็บไว้ทุกเล่ม

12/02/2017

ลองพิมพ์ชื่อนี้ลงไปใน Google
"Christoph Niemann นักวาดภาพ"

ผลลัพธ์ที่ได้คือคำตอบว่าทำไมจึงควรไปหาสารคดีเรื่อง Abstract The Art of Design ที่เพิ่งปล่อยทาง Netflix มาดูกัน

คริสตอฟ เนมานน์ เป็นนักวาดภาพประกอบชื่อดังที่ นิตยสาร เดอะนิวยอร์กเกอร์ ผูกปิ่นโตด้วยมานาน และเขายังเป็นเจ้าของแอคเคานท์ IG ที่ทำภาพ "วาดเล่นๆ" โดยประกอบจากข้าวของต่างๆ มาทำให้เป็นภาพและอัพโชว์อย่างสม่ำเสมอ

(อันที่ดังมากๆ อ้ะ เช่น คนกำลังถ่ายรูปโดยมีขวดหมึก เป็นกล้อง, คนกำลังรับลูกเบสบอล โดยลูกเบสบอลคือดคือลูกกีวี หรือรูปม้ากำลังวิ่งโดยใช้กล้วยสองใบเป็นสะโพกม้า)

แถมยังทำ app สนุกๆ ที่ชื่อ CHOMP ซึ่งเป็นการให้เราถ่ายภาพหน้าเราลงไปเป็นส่วนหนึ่งของภาพประกอบ และกลายเป็นหนังสือขึ้นมาได้

ชีวิตการงานของเนมานน์ เป็นการทำงานแบบคนเดียวบนโต๊ะ เขาตั้งกฎตัวเองว่าต้องนั่งทำงานเก้าโมงเช้าถึงหกโมงเย็น อาจมีบางเวลาที่ออกไปยืดเส้นยืดสายดูเมือง ชมมิวเซียม เพื่อหาไอเดียบ้าง แต่เวลาส่วนใหญ่คือนั่งอยู่ในห้องทำงานกับ เลโก ที่เขาใช้เป็นเครื่องมือประกอบความคิดของเขาก่อนวาดออกมาเป็นภาพ

และด้วยเหตุนี้ เขาจึงเชื่อแบบเดียวกับที่ ชัค โคลส ช่างภาพชื่อดังบันลือโลก เชื่อในเรื่องของการทำงานศิลปะแบบที่มีโจทย์ว่า มันไม่ได้เกิดจากการตระเวณไปโน่นมานี่ แต่มันคือการบังคับให้ตัวเองนั่งที่โต๊ะ แล้วคิดให้ออก ตอบโจทย์ที่ได้รับมาให้ได้ โดยเฉพาะกับงานที่มีเส้นตาย

นอกจากเรื่องของคริสตอฟ เนมานน์ ที่ดูสนุกแล้ว (มีตอนหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงการเถียงกันระหว่างโปรดิวเซอร์กับตัวคริสตอฟเอง คือโปรดิวเซอร์มองว่าจะมานั่งถ่ายท่าทางการทำงานที่โต๊ะอย่างเดียวไมไ่ด้หรอก คนเบื่อตาย ขอไปถ่ายตอนแปรงฟันบ้าง ซึ่งเป็นข้อเสนอที่สร้างความอีดอัดใจให้เนมานน์มาก ลองไปดูว่าเขาแก้ปัญหายังไง)

อีกตอนที่น่าดูมากๆ คือ เรื่องของสถาปนิกชื่อชาวเดนมาร์ก เจ้าของบริษัท BIG Group ที่ชื่อว่า Bjarke Ingels

เขาคนนี้เป็นต้นแบบของการทำตึก คอนโดที่มีต้นไม้เป็นองค์ประกอบ และเราก็เห็นสถาปนิกไทยเอามาใช้กันในเมือง เกลื่อนตา

เขาเก่งมาก และด้วยชื่อเสียงที่ได้มาในเวลาอันรวดเร็วกับแนวคิดการใช้วัสดุที่ต่างไปจากคนอื่น ทำให้มีทั้ง ก้อนหินและดอกไม้ โยนใส่เขาเต็มๆ วิธีแก้ปัญหาของเขา คือ ก็ไม่ต้องไปฟัง ก้มหน้าทำงานต่อไป (รับทรัพย์ไปเรื่อยๆ :D)

ขอแนะนำมากๆ สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงทำงานศิลปะ ดีไซน์

และอีกเรื่องที่พลาดไม่ได้ คือ การตามติดชีวิตการทำงานของ "ตัวแม่ แห่งเพนตาแกรม" ดีไซนเนอร์หญิง พอลลา แชร์ คนที่ใช้การจัดวางตัวอักษรให้ออกมาเป็นกราฟฟิก

07/01/2017

Tony Futura เป็นศิลปินแนวเหนือจริงยุคดิจิทัล ชอบหยอกล้อกับความเป็นป๊อบ และวัตถุนิยม และทำออกมาให้ "ขำๆ"
ใครชอบงานทำนองนี้ ไปกด follow IG ได้ที่
ผลงานหลายภาพดูแล้ว อาจปลุกพลังทางเพศขึ้นมาได้นะ...ระวังกันหน่อย

13/10/2016

ถามกันมามาก ว่าอยากได้ อยู่เมืองดัดจริต หนังสือที่ได้รับรางวัล จะหาซื้อได้ที่ไหน

ตามนี้เลย บูธ เคล็ดไทย P02 ในงานมหกรรมหนังสือ #เสนอหน้า

13/10/2016

อยู่เมืองดัดจริต ได้รับรางวัล การออกแบบปกดีเด่น และการจัดรูปเล่มดีเด่น
ไปชมนิทรรศการหนังสือที่ได้รับคัดเลือกในงานมหกรรมหนังสือ #เสนอหน้า ที่ศูนย์สิริกิติ์

28/09/2016
The Girls Who Spun Gold

ภาพถ่ายชุดนี้ คงจะเขย่าอารมณ์คุณไม่น้อย โดยเฉพาะหากคุณเชื่อว่า เรื่องเพศ นั้นไม่ใช่เรื่องที่ควรมาพูดคุยในที่สาธารณะ

ความคิดที่ว่า เรื่องเพศ เป็นเรื่องส่วนตัวนี้แหละ เป็นที่มาของภาพนี้ ซึ่งถ่ายโดย Nydia Blas ศิลปินที่ใช้ชีวิตอยู่ในนิวยอร์ก เธอถนัดทางด้านการใช้ภาพ เพื่อบอกเล่าเรื่องบางอย่าง

ภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการที่ชื่อว่า The Girls who Spun Gold เป็นการจัดแสดงภาพถ่ายของกลุ่มวัยรุ่นหญิงผิวสี ที่มารวมตัวกันในชื่อ Girl Empowerment Group ซึ่งเป็นกลุ่มที่ Nydia Blas ตั้งขึ้นเพื่อให้สมาชิกได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ฝึกทักษะ และการเผชิญปัญหาชีวิตทางเพศ ซึ่งไม่มีในตำราเรียน

หลังจากได้ทำงานร่วมกันจนคุ้นเคย Blas จึงอยากจะสะท้อนถึงวิธีคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศที่วัยรุ่นหญิงเผชิญผ่านภาพถ่าย

คนที่มาเป็นนางแบบจะมีส่วนร่วมในการนำเสนอผ่านท่าทาง สีหน้าหรือการแสดงออก ว่าต้องการสื่ออะไร ซึ่งมาจากประสบการณ์ของแต่ละคน
นิทรรศการนี้จัดแสดงที่ Handwerker Gallery โดย Blas จำลองห้องนอนของเธอขึ้นมา แล้วนำมาภาพถ่ายของสมาชิกในกลุ่มมาแขวนไว้บนผนัง
สำหรับชื่อนิทรรศการ The Girls who Spun Gold ศิลปินนำมาจากหนังสือนิทานของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน ทีชื่อเดียวกัน ซึ่งดัดแปลงมาจากนิทานกริมม์ เป็นเรื่องราวของหญิงสาวที่ถูกเลือกให้เป็นภรรยาของราชาผู้ปกครองแผ่นดิน เพราะความสามารถเดียวของเธอคือ การปั่นทอง

ไปดูภาพถ่ายเต็มๆ ที่นี่ http://nydiablas.com/photography/

พลังของภาพ อาจทำให้เราอยากมานั่งคุยกันถึงเรื่องเพศในแบบที่คุณอยากจะเล่าบ้าง..ก็เป็นได้

ที่มา 3c4teen

18/09/2016

ในส่วนของหนังสือนั้น #ทำหนังสือเล่มแรกก็ได้รางวัลแระ

อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป ได้รับรางวัลดีเด่น ทั้งประเภทออกแบบปก และการจัดรูปเล่ม จากการจัดของ 100abcd

สนพทจะไม่พิมพ์ซ้ำ หากใครยังไม่มี ก็รีบๆ ไปหาไวๆ นะ

08/08/2016

Entries for 100 Annual Book and Cover Design ประจำปี 2559 ทุกคลิ๊กของคุณมีสิทธ์ลุ้นรับของที่ระลึกจาก 100ABCD

10/07/2016

ปิศาจในภาพวาดกับนักเขียนขี้เมา :

มีใครเคยดื่ม "สุราปิศาจ" ที่ชื่อว่า Absinthe (แอ๊บแซ๊งธ์) ไหม

วันนี้มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสุราตัวนี้มาฝาก

อย่างแรก

ภาพวาดที่เห็นนี้ชื่อ "นักดื่มแอ๊บแซ๊งฑ์" Absinthe Drinker วาดขึ้นเมื่อปี 1903 โดยศิลปินชาวเชค ชื่อว่า Viktor Oliva

โอลิว่า เป็นศิลปินแนวอาร์ต นูโว และถือเป็นกราฟิกดีไซน์รุ่นแรกๆ ของโลก จากผลงานการออกแบบโปสเตอร์ ให้ร้านค้าต่างๆ

โอลิวาชื่นชอบ "เหล้าปิศาจ" ซึ่งมีสีเขียวอำพันตัวนี้มาก และเค้ามักไปนั่งดื่มในร้านกาแฟที่ชื่อว่า Café Slavia ซึ่งอยู่ในกรุงปราก ประเทศบ้านเกิดเขา

เขาติดใจในน้ำสีเขียวนี้ จนมองเห็นรูปทรงงดงามของเรือนร่างหญิงสาวผ่านแก้วใส จนทำให้กลายเป็นภาพนี้ ซึ่งปัจจุบัน ก็ยังแขวนอยู่ในร้านอาหารแห่งนี้ซึ่งเปิดมาตั้งแต่ปี 1884

อย่างที่สอง
เหล้าที่ชื่อว่า แอ๊บแซ๊งธ์ นี้ว่ากันว่าเป็นเหล้าที่มีฤทธิ์แรงมาก จนครั้งหนึ่งเคยถูกให้เป็น "เหล้าต้องห้าม" ไม่ให้มีการขาย

ศิลปินดังๆ ที่ติดใจในเหล้าตัวนี้ คนหนึ่งก็คือ แวนโก๊ะห์ ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง ถึงกับมีการเดากันว่าฤทธิ์ของเหล้าตัวนี้แหละที่ทำให้เขาตัดหูตัวเองเพื่อมอบแก่โสเภณี

ส่วนนักเขียนที่หลงใหลในเหล้าตัวนี้ จนคิดค้นสูตรเครื่องดื่มที่ลือชื่อว่า Death In the Afternoon ก็คือ ปาป้าเฮมมิงเวย์

คนที่เป็นแฟนคลับปาป้า อาจจะคิดว่า เอ๊ะ เวลาพูดถึงเฮมมิงเวย์ ก็ต้องเอ่ยถึงเครื่องดื่ม โมจิโต้คิวบา สิ เพราะเขาไปใช้ชีวิตที่นั่นนานมาก

แต่ก่อนจะไปถึงคิวบา เฮมมิงเวย์ คิดค้นสูตรเครื่องดื่มโดยเหยาะ แอ๊บแซ๊งธ์ ผสมกับแชมเปญ และตั้งชื่อว่า "ตายตอนบ่าย" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับงานเขียนสารคดีที่ว่าด้วยประเพณีการแข่งขันสู้กับวัวกระทิงของสเปน ซึ่งเขาเขียนเมื่อปี 1932

เรื่อง เหล้า ศิลปะ และขี้เมา เกี่ยวกับเครื่องดื่มที่ชื่อว่า "เหล้าปิศาจ" จึงเป็นเช่นนี้แล

หากใครอยากได้สูตร "เหล้าปิศาจ" เชิญที่นี่เลย http://lets-drink.blogspot.com/2012/02/absinthe.html

30/04/2016

การเมืองกับเรื่องของการออกแบบ
-----------------------------------------

Ekene Ijeoma นักอออกแบบชาวอเมริกันเชื้อสายไนจีเรีย ใช้ความรู้ในการเป็นโปรแกรมเมอร์ นำเอาข้อมูลและกระบวนการตัดสินใจทางคณิตศาสตร์มาออกแบบให้เกิดเป็น The Refugee Project แผนภูมิที่แสดงให้เราเห็นภาพของผู้อพยพทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 1975 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3.5 ล้านคน มาจนถึงปี 2013 ที่มีคนอพยพทั่วโลกประมาณ 13 ล้านคน

แค่ปี 2013 ปีเดียว จำนวนคนที่ต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยมีถึง 2.5 ล้านคน

เฉลี่ยแล้ว ทุก 3 วินาทีมีคน 1 คนที่ถูกกดดันให้หนีออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของตนและกลายเป็นผู้ลี้ภัย

Ijeoma นักออกแบบในวัย 31 ปี มองว่าทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่สื่ออย่างภาพถ่ายเท่านั้นที่ยึดครองคำพูดที่ว่า ภาพ 1 ภาพแทนคำพูดนับพัน

เขาเห็นว่าข้อมูลที่ถูกนำมาจัดวางเรียงโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อสะท้อนให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ทำให้โลกได้ตระหนักถึงความรู้สึกของผู้ลี้ภัยได้เช่นกัน

คลิกเข้าไปดูในเวบไซต์ http://www.therefugeeproject.org/ ไล่เรียงแต่ละปี แต่ละประเทศดูว่าเมื่อเห็นข้อมูลที่เก็บโดย UNHCR แล้ว มีคำถามอะไรเกิดขึ้นในใจบ้างไหม

05/03/2016

เรายังอยู่ในเมืองดัดจริต กันนะ

เปลียนสแตนด์ค่าาาา!

แดง-เหลือง VS ชมพู
บุ๊คโมบี้พร้อม 3 4~ 🙅🏼💃🏻

#งานบอลประเพณีจุฬาธรรมศาสตร์ครั้งที่71

26/02/2016

นิทรรศการ " Faith & the Devil" เป็นผลงานของ Lesly Dill ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้ถ้อยคำของกวีจำนวนมากมาย (Dickinson, Dante, Kafa, Milton, Neruda, Sleigh, Kner, Harwell,Donne,Espriu) มาปะติดปะต่อ และจัดวางเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อตั้งคำถามถึงปรัชญา คำถามที่ยากจะหาคำตอบได้อย่างชัดเจนถึงการมีอยู่ของ "ปิศาจ" และ "ศรัทธา" บนโลก
ผลงานในภาพนี้ มีชื่อว่า Big Gal Faith and Lucifer เป็นรูปทรงผู้หญิงสูง 8 ฟุต ทั้งทรงผมและชุดของเธอ ถูกตบแต่งด้วยถ้อยคำที่ว่าด้วย ความโหดร้าย รุนแรง ตัณหา การให้อภัย เงาสะท้อน และการอยู่เหนือโลก

29/01/2016

หนังสือ "อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป" ไม่ใช่นวนิยาย ไม่ใช่เรื่องสั้น ไม่ใช่วรรณกรรม และไม่ใช่สารคดี รวมทั้งไม่ใช่หนังสือ How to ด้วย

แต่ "อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป" คือหนังสือรวมผลงานศิลปะของศิลปินที่ทำหน้าที่ของตน คือ ใช้ศิลปะเป็นสื่อเพื่อแสดงความเห็นต่อทุกสิ่งที่เกิดรอบตัวในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2554-2557

เพราะเป็นการมองย้อนหลัง หนังสือจึงจัดวางเหตุการณ์จาก ปี 2557 - 2554 โดยตั้งใจ ไม่ใช่ผิด หรือพลาด

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือ "อ่านจากภาพ" และเป็น "ภาพ" ที่เกิดจากการตีความ เป็นมุมมองของคนๆ หนึ่งที่มีต่อสังคมไทยและสังคมโลก

ศิลปะและชีวิต จึงเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน

สนใจสั่งซื้อหนังสือ สอบถามได้ที่กล่องข้อความ

27/01/2016

ใครอยู่เชียงใหม่ แวะไปคุยกับเจ้าของผลงาน อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป ได้ วันเสาร์นี้ ตอนเย็นๆ

หนังสือเล่มนี้ออกมาได้สักพักใหญ่แล้วนะครับ รวมผลงานศิลปะของเจ้าของเพจ "อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป" ที่ใช้ศิลปะเป็นสื่อเพื่อแสดงความเห็นต่อทุกสิ่งที่เกิดรอบตัวในช่วงปี พ.ศ. 2554-2557, แนะนำให้หยิบหามาอ่านเรื่องราวรอบตัวจาก 'ภาพศิลปะ" เหล่านี้ หากสนใจแต่ยังไม่แน่ใจนักว่าหนังสือเล่มนี้คืออะไร วันเสาร์ที่ 30 มกราคมนี้ ชวนมาพบกับ คุณประกิต กอบกิจวัฒนา เจ้าของผลงาน ที่บุ๊ครีพับลิก ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไปครับ!

19/01/2016
From Jean-Paul Sartre to Teresa Teng: Cantonese Contemporary Art in the 1980s (English subtitles)

สารคดีเรื่องนี้พูดถึงอิทธิพลของหนังสือ นิตยสาร และวัฒนธรรมป๊อป ที่มีต่อศิลปินในแถบตอนใต้ของจีน ยุค 1980

น่าดูมากๆ มีซับอังกฤษ ดูง่าย

Written, directed and produced by Asia Art Archive, this documentary explores the impact of books, magazines and popular culture on the development of experi...

03/01/2016

หนังสือ "อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป"

หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป

หรือสั่งซื้อที่ http://readery.co/9786169242406

13/12/2015

ใครๆ ก็อ่านได้
#อยู่เมืองดัดจริต

06/12/2015

culture jamming

บนท้องถนนในกรุงปารีสในช่วงที่มีการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 หรือที่รู้จักกันในชื่อ COP21 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน และจะจัดไปจนถึง 11 ธันวาคม 2558 มีแอดโฆษณาถึง 600 ชิ้นติดตามป้ายรถเมล์ทั่วกรุงปารีส จากศิลปินจำนวน 82 คน ที่เข้าร่วมโครงการ Brandalism

ป้ายโฆษณาเหล่านี้ทำขึ้นเพื่อเสียดสีและกระตุ้นเตือนให้ผู้คนเห็นว่าการประชุมเพื่อเจรจาตกลงระหว่างนานาประเทศที่เห็นพ้องต้องกันในการกำหนดเป้าหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส นั้น ...มันตลกสิ้นดี เพราะบริษัทที่สนับสนุนให้เกิดการประชุมครั้งนี้มีส่วนทำให้ "โลกร้อนขึ้น" ทั้งนั้น เช่น สายการบิน Air France

โครงการ Brandalism จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อ "ป่วน" การประชุมครั้งนี้ และวิธีการเช่นนี้คือหนึงในการแสดงออกของ culture jamming ที่ใช้ศิลปะมาก่อกวน แบบ สันติวิธี นั่นคือ ต้องทำในเวลารวดเร็ว ไม่มีการเผยตัวตนของคนที่ป่วน ระยะเวลาของการป่วนไม่นาน แต่ต้องให้เกิดเป็นข่าว

06/12/2015

Alexey Kondakov ศิลปินชาวยูเครนกำลังโด่งดังเป็นที่ฮือฮาในอินเตอร์เน็ต เพราะไม่ว่าคุณจะเปิดเข้าไปในเวบไซต์ไหนที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับศิลปะ ความงาม ก็จะเห็นชื่อและงานของเขาอยู่แทบทุกเวบ

ความเท่ของงานที่ศิลปินหนุ่มแห่งเมียงเคียฟ สรรค์สร้างขึ้นคือ การนำเอาวัตถุสองอย่างซึ่งไม่มีทางจะอยู่ร่วมกันได้ในชีวิตประจำวัน มาใส่ไว้ในที่แห่งเดียวกัน กลายเป็นภาพที่ทำให้เกิดรอยยิ้ม เกิดการครุ่นคิดถึงสิ่งที่มองเห็น

Alexey Kondakov ใช้เทคนิค โฟโตชอป นำเอาภาพของเทพเจ้า นางฟ้า และภาพของผู้คนที่ถูกวาดในงานระดับคลาสสิก มาวางประกอบกับภาพถ่ายที่เขาถ่ายจากสถานที่จริง

เมื่อจัดวางโดยคำนึงถึงองค์ประกอบของท่าทาง สีหน้า อากัปกริยาของภาพคลาสสิก ก็ทำให้เห็นอารมณ์ขันของศิลปินคนนี้

28/11/2015

หนังสือของเรา ออกจำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน ผ่านมา 3 เดือน ยังติดอันดับในร้านหนังสือออนไลน์อยู่นะ ....ใครยังไม่มี ลองคลิกดูตัวอย่างได้ ที่นี

http://readery.co/9786169242406

Non-Fiction Best Sellers ⚑ 11/21/2015
ดู 20 อันดับ → http://readery.co/bestsellers/non-fiction

➊ ปรัชญาสาธารณะ
➋ ความลับ 5 ข้อที่คุณต้องค้นให้พบก่อนตาย
➌ 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง
➍ ฟูโกต์: ความรู้ฉบับพกพา
➎ Vice Versa

➏ ร้านหนังสือรอบโลก
➐ Digital Future
➑ ปัญญาอิตาลี
➒ On People ว่าด้วยประชาชน
➓ อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป

ที่อยู่

Bangkok
10120

เบอร์โทรศัพท์

+66894562925

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ BLANK PAPERผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง BLANK PAPER:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


ผู้จััดพิมพ์เผยแพร่ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด