ถ้าแทนการเหยียบย่ำ ตราหน้า ตีตรา ด่าทอกันด้วยอคติ ด้วยการเข้าอกเข้าใจ (Empathy) หรือรับฟังโดยไม่ตัดสิน…โลกใบนี้จะน่าอยู่ขึ้นไหม?
ความเข้าอกเข้าใจเป็นส่วนสำคัญในการลดแรงกระแทกจากความขัดแย้ง ปูทางให้กับความหลากหลาย และสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวกที่ ‘ลดการตีตรา’ ต่างๆ ในทางสังคม แต่ความเข้าอกเข้าใจที่ผิด จะนำไปสู่ผลเสียทั้งต่อเราเองและสังคมโดยรวม เราจึงต้องให้ความสำคัญกับความหมายที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Empathy
Mutual รวบรวมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Empathy มีข้อไหนบ้างที่เราเข้าใจแบบผิดๆ มาโดยตลอด?
1️⃣ ความเข้าอกเข้าใจถ้าไม่มีมาตั้งแต่เกิด = ยาก ฝึกไม่ได้
2️⃣ ความเข้าอกเข้าใจแปลว่าเห็นด้วย
3️⃣ Empathy แปลว่าผู้ให้ (ฝ่ายเดียว)
4️⃣ ความเข้าอกเข้าใจคือจุดอ่อนของการทำงาน
5️⃣ ความเข้าอกเข้าใจใช้เอาเปรียบคนอื่นได้
อ่าน Empathy Fact Check ความเข
Empathy คือการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่นเกี่ยวข้องกับ “การเข้าใจมุมมอง” ใครที่คิดว่าเรื่องการเข้าใจคนอื่นเป็นเรื่องยาก อาจจะลองปรับมุมมองสักหน่อย เพราะสิ่งนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของคนโลกสวย นักจิตวิทยา นักรณรงค์ นักสังคม แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถทำได้ เพราะปลายทางของผลลัพธ์หลังจากการเกิดสิ่งที่เรียกว่า Empathy ไม่ใช่ความสุขแบบแฮปปี้ (Happy) แต่มันทำให้ทั้งเรา และสังคมเฮลตี้ (Healthy) ต่างหาก
#Mutual #FindingCommonGroundInSociety #เรามีพื้นที่ตรงกลางร่วมกัน🫂🤝💓 #สุขภาพจิตไม่ใช่แค่เรื่องชนชั้นกลาง #สุขภาพจิตเป็นเรื่องของทุกคน #ลดตีตราแสวงหาความเข้าใจ #NoStigmaButEmpathy #ใจร้าย
ถ้าเรามี Empathy สังคมจะ Healthy ขึ้นแน่นอน
นิยามคำว่า Empathy คือการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่นเกี่ยวข้องกับ “การเข้าใจมุมมอง” หรือความเข้าใจในตัวผู้อื่น ด้วยการใช้ความคิดและเหตุผล หรือด้วยจินตนาการถึงเงื่อนไขหรือสภาพจิตใจของผู้อื่น โดยไม่จำเป็นต้องประสบกับความรู้สึกเหล่านั้นเองจริงๆ
ซึ่งคำนี้มักตีคู่มาพร้อมกับ “ความเห็นอกเห็นใจ” หรือ Sympathy เช่นความรู้สึกเศร้าเสียใจ รู้สึกสงสาร เมื่อเห็นอีกฝ่ายเจอกับเรื่องไม่ดี มันคือกระบวนการที่เราเข้าไปมีอารมณ์ร่วม เอาความรู้สึกของเราไปจับราวกับว่านี่เป็นเรื่องของเรา
ใครที่คิดว่าเรื่องการเข้าใจคนอื่นเป็นเรื่องยาก อาจจะลองปรับมุมมองสักหน่อย เพราะสิ่งนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของคนโลกสวย นักจิตวิทยา นักรณรงค์ นักสังคม แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถทำได้ เพราะปลายทางของผลลัพธ์หลังจากการเกิดสิ่งที
“คนใจร้ายคือคนที่ไม่เห็นใจ ไม่คิดที่จะเข้าใจ และไม่คิดว่าตัวเองกำลังพ่นคำที่ไม่ดีออกไป”
“เขาไม่ได้คำนึงว่าคนที่อ่าน หรือคนที่รักคนที่ถูกว่าร้ายอยู่มีหัวใจเหมือนกัน ไม่ใช่พระอิฐพระปูน”
เมื่อพูดถึงความใจร้าย (Unkind) คนส่วนมากมักจะนึกถึงพฤติกรรมเชิงลบที่เห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย การทำลายข้าวของของผู้อื่น หรือการด่าทอด้วยถ้อยคำรุนแรงซึ่งหน้า
แต่ความใจร้ายมันไร้รูปแบบ จุดประสงค์หลักคือ ‘ทำให้อีกฝ่ายทุกข์ใจ’ ทั้งแบบที่รู้ตัว หรือไม่รู้ตัว
หากที่ผ่านมาเป็นคนใจร้ายทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่อยากทำให้โลกใบนี้ของใครสักคนมีคนใจร้ายน้อยลง เราจำเป็นต้องฝึกตัวเองให้มีสติรู้ตัวมากขึ้น คิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา และทบทวนว่าความคิดแบบไหนของตัวเองที่ ‘บ้ง’ จนทำร้ายคนอื่น
อ่าน ไม่เจ็บอ
“ถ้าไม่สามารถขับเคลื่อนหรือช่วยเหลืออะไรสังคมได้ อย่างน้อยคุณต้องเข้าใจและไม่สร้างภาพจำที่ผิดให้กับสังคม”
ในวันที่วายไทยเป็นคลื่นลูกใหม่ระดับซอฟท์พาวเวอร์ การฟังเสียงจากภาคประชาสังคมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะตัวผู้ผลิตเองต้องอยากทำผลงานที่คนชื่นชอบ บอกต่อ และเป็นกระแสในทางที่ดี
ต๋อง-ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา นักแสดงและเจ้าของตำแหน่งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนละครและซีรีส์ มองว่าซีรีส์วายไทยตอนนี้อยู่ในจุดที่พยายามทำความเข้าใจเสียงสังคมให้ได้มากที่สุด ทั้งประเด็นคุณภาพของผลงาน อัตลักษณ์ของกลุ่มเพศหลากหลาย (LGBTQIA+) ที่มีมากกว่าเกย์และเลสเบี้ยน และประเด็นทางสังคมที่กำลังอยู่ในกระแส เพื่อผลิตผลงานที่เป็นที่ชื่นชอบ ชื่นชมของคนดู เพราะถ้าไม่มีคนดู ผู้ผลิตไปต่อไม่ได้
ฉะนั้นวายไทยทุกวัน
“ไม่ต้องหวนคิดถึงอดีต ไม่พะวงกับอนาคตมากเกินไป อยู่กับสิ่งตรงหน้า”
รู้จักการจัดดอกไม้แบบ 'โคริงกะ' จากประเทศญี่ปุ่น ที่ทีม Stray Hana ต้องการส่งต่อกับผู้ร่วมเวิร์กชอป คือการค้นพบความงามของตัวเองในแบบ Universe in a Vase
อ่านต่อได้ที่ https://www.facebook.com/share/p/15kGX6Qx3x/
#MutualFinding #จัดดอกไม้ #โคริงกะ #การอยู่กับตัวเอง #ไม่ต้องหวนคิดถึงอดีต #ไม่พะวงกับอนาคต
เข้าใจประสบการณ์และความรู้สึกของการต้องเป็นผู้ที่ถูกผลักออกจากกระแสหลักของสังคมผ่าน ‘FACE THE VOICE OF US’ ภาพยนตร์สารคดีแบบจัดวาง โดย Eyedropper Fill
รับชมพร้อมกันในงาน FACE THE VOICE : มองด้วยตา ฟังด้วยใจ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง งานที่จะชวนคุณมาฟัง มาสบตา มาดูหนัง เรื่องราวที่ไม่เคยบอกใครและไม่ค่อยมีคนถามของคน 9 กลุ่มประชากรเฉพาะ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เน้นให้ข้อมูลแต่เน้นสร้างประสบการณ์แบบเขาเหล่านั้น
วันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 - 20.00 น. มิวเซียมสยาม (Museum Siam)
#FACETHEVOICE
FACE THE VOICE OF US
5 คน 5 เก้าอี้ 5 ความแตกต่าง
เก้าอี้ที่สวยแต่ผุพังจากการโดนใช้งานอย่างโชกโชน แต่ก็กลับมาเปล่งประกายได้จากการซ่อมแซม
เก้าอี้ไม้เก่าประจำบ้าน มีพนักพิงนั่งทีไรก็สบาย แต่เพราะดีไซน์ที่เก่าไม่เข้าสมัย ทำให้ใครๆ ก็มองข้าม
เก้าอี้สีแดง โดดเด่น สดใส แต่เปราะบาง และพังลงได้ตลอดเวลาถ้าแบกรับน้ำหนักมากเกินไป
เก้าอี้ป้ายรถเมล์ที่อยู่ริมทาง ถูกใช้เป็นที่นั่งรอชั่วคราวสำหรับบางคน แต่เป็นที่พักพิงข้ามคืนให้กับใครหลายๆ คน และสุดท้าย พรมที่อยู่ท่ามกลางเก้าอี้ มีความแตกต่างกว่าคนอื่น และเพราะความแตกต่างเช่นนี้จึงมักถูกมองว่า ‘แปลก’
สัมผัสประสบการณ์และความรู้สึกของการต้องเป็นผู้ที่ถูกผลักออกจากกระแสหลักของสังคมผ่าน ‘FACE THE VOICE OF US’ ภาพยนตร์สารคดีแบบจัดวาง โดย Eyedropper Fill
รับชมพร้อมกันในงาน FACE THE VOICE : มองด้วยตา ฟังด้วย
การเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบใหญ่ใช้ชีวิตในสังคมได้ต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง พ่อแม่จึงเป็นด่านแรกที่จะพัฒนาด้านต่างๆ ของลูกให้มุ่งไปข้างหน้าอย่างถูกทิศถูกทาง แต่คำว่า ‘ถูกทาง’ จริงๆ แล้วหมายความว่าอะไร?
.
Mutual จึงไปพูดคุยกับ รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร อดีตผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตผู้ดำเนินรายการ ‘รักลูกให้ถูกทาง’ ว่าตลอดการจัดรายการที่ผ่านมากว่า 33 ปี คำว่า ‘ถูกทาง’ หมายความว่าอะไร เรื่องสุขภาพใจอยู่ในทางที่ถูกด้วยหรือเปล่า
.
ในมุมมองของรศ.ดร.สายฤดี ‘การเลี้ยงลูกให้ถูกทาง’ คือ การเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสมทั้งกายและใจ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการเรียนรู้และการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับลูก เพราะเรื่องทุกเรื่องในรั้วบ้าน แม้กระทั่งการพนันหรือเหล
รักลูกให้ถูกทาง ตอนพิเศษ : คุยกับลูกเรื่องหมูเด้ง
คำว่า ‘หมูเด้ง’ เมื่อมีคนพูดถึงอาจไม่ใช่ชื่ออาหารอีกต่อไป แต่เป็นลูกฮิปโปแคระเพศเมียตัวเล็กน่ารักประจำสวนสัตว์เขาเขียวที่โด่งดังไปทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าใครต่อใครก็พูดถึง แถมเป็นขวัญใจของคนทุกเพศทุกวัยอีกด้วย
เมื่อเรื่องของหมูเด้งอยู่รอบตัว เราจะคุยเรื่องนี้กับลูกได้อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด?
ตัดต่อ : ธันยพร เกษรสิทธิ์
#Mutual #FindingCommonGroundInSociety #เรามีพื้นที่ตรงกลางร่วมกัน🫂🤝💓 #หมูเด้ง #รักลูกให้ถูกทาง
อายุแค่นี้เอง เรื่องเครียดเรื่องเล็ก…จริงหรือเปล่า?
.
ความเครียดเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก และสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นกัน แต่ความเครียดของเด็กกลับถูกลดทอนความสำคัญให้กลายเป็นเรื่องเล็ก จนในปี 2565 องค์การยูนิเซฟประเทศไทย (UNICEF Thailand) สรุปได้ว่าสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่นคือหนึ่งในประเด็นด้านสุขภาพที่ถูกละเลยมากที่สุด เป็นการละเลยต่อรากฐานและอนาคตของสังคมของโลก
.
ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตตนเอง (Mental Health Check In) ของกรมสุขภาพจิต ในปี 2566 ยังพบอีกว่าเยาวชนกว่า 18% มีความเครียดและหมดไฟในการเรียน ในขณะที่ 28% เสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะซึมเศร้า
.
แพทย์หญิงดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ หรือ หมอป้อ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต บอกว่า การเข้าใจเด็กแต่ละช
สำรวจงานหนังสือ67 : 4 เล่มชุบชูใจจนสำนักพิมพ์แนะนำให้อ่าน
📖เริ่มจากวันนี้ฉันจะไม่โทษตัวเอง
📖Sunwish ขอให้ตะวันไม่ลับลา
📖อิคิไก
📖ฉันจะผลิบานในฤดูกาลของตัวเอง
Mutual สำรวจ #งานหนังสือ67 ที่จัดที่ศูนย์สิริกิติ์ ในหมวดหนังสือชุบชูใจ หรือเสริมสร้างพัฒนาตัวเองด้านจิตใจ ที่สำนักพิมพ์แต่ละบูทอยากนำเสนอ+ป้ายยาแก่นักอ่านได้ลองอ่าน จนสรุปมา 4 เล่ม ทั้งเล่มที่พูดถึงการให้อภัยตัวเอง การยอมรับความหลากหลาย และปรัญชาที่นำมาปรับใช้กับชีวิต
อยากรู้ว่ามีแต่ละเล่มมีเรื่องราวยังไงบ้างกดดูคลิปได้เลย
ตัดต่อ : มยุรา ยะทา
#Mutual #สุขภาพจิตไม่ใช่แค่เรื่องชนชั้นกลาง #สุขภาพจิตเป็นเรื่องของทุกคน #ลดตีตราแสวงหาความเข้าใจ #NoStigmaButEmpathy