19/12/2024
ขอบคุณพี่เน็กที่มาร่วมทริปกับพวกหนู แล้วก็สรุปสาระเน้นๆ เกี่ยวกับ EV Station PluZ ให้ทุกคนค่า👍👍👍
EV Station PluZ เปลี่ยนทีมพัฒนาแอพใหม่ คือเรื่องจริงครับ 💯
ผู้ให้ข้อมูลคือ พี่สิง หรือพี่เสื้อลาย ตำแหน่งคือผู้บริหารของ EV Station+ สถานีชาร์จที่หลายๆ ท่านรัก ❤️ 🤭
และมีคำตอบจากทีมขยายเครือข่ายร่วมเสริมข้อมูลด้วย
ผมลิสคำถามคาใจทุกคนไปถามให้แล้ว และได้คำตอบดังนี้ ในเวอร์ชั่นสรุปรวบ
1. ทำไมต้องย้ายแอพ?
- ย้ายแอพเหมือนย้ายบ้าน สาเหตุที่ย้ายคือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวแอพให้ดีขึ้น เสถียรขึ้น ใช้ง่ายมากขึ้น และเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ของ OR ได้ดีขึ้น
- หากเปรียบเป็นบ้าน แอพเก่าเหมือนบ้านไม้ที่เริ่มผุ ใกล้พังเต็มที่ อัดฟีเจอร์ใหม่ๆ ไม่ไหวแล้ว
- ส่วนแอพใหม่ เป็นบ้านพร้อมที่ดินขนาดใหญ่ พร้อมรองรับการเติบโตได้อีกมาก
——————
2. ทำไมมีแต่ตู้ชาร์จ DC ปล่อยไฟแค่ 200A ?
- เพราะย้อนกลับไปเมื่อราว 2 ปีก่อน เป้าหมายการเริ่มต้นทำสถานีชาร์จคือ เน้นขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศในรัศมี 100-150 กม. ต้องมีสถานีชาร์จก่อน
- ในวันที่เริ่มโครงการ “ราคาตู้ชาร์จ DC” ไม่เหมือนกับวันนี้
โดยราคาตู้ชาร์จ DC 200A วันนั้น เกือบจะถูกกว่า DC 300A ครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
- อีกทั้งจากวันนั้นถึงวันนี้ รถที่อยู่ในท้องตลาดเยอะๆ ก็ยังเป็นรถที่ใช้สถาปัตยกรรม 400V และรับไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 kW
- สำหรับการตัดสินใจลงตู้ 200A ปูพรมทั่วประเทศนั้น คือทิศทางที่ ”ดีที่สุดแล้ว ณ วันนั้น“
(อันนี้ผมขยายความเอง)
ผมพยายามขอราคาเป๊ะๆ แต่เค้าไม่ยอมบอก 🤣 เพราะงั้นผมจะสมมุติว่า ตั้งงบทำโครงการไว้ 100 ล้านบาท โจทย์คือต้องขยายทั่วประเทศ
- สมมุติว่า ถ้าราคาตู้ 200A คือตู้ละ 1,000,000 ก็จะลงได้ 100 ตู้ กระจายทั่วประเทศแน่นอน
- ส่วนตู้ 300A ตู้ละ 1,500,000 ก็จะลงได้ 66 ตู้ ทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
- แต่ปัจจุบัน ราคาตู้ชาร์จ DC ถูกลงกว่าเมื่อ 2 ปีก่อนเยอะมากกกกกกกกกก ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางได้
- ส่วนนี้ผมเข้าใจ EV Station+ เลยนะว่าทำไม
- เพราะจุดประสงค์หลักคือ เน้นขยายให้โครงข่ายครอบคลุมก่อนเน้นแรงนั้นเอง แต่มันก็แรงพอสำหรับรถในตลาดส่วนใหญ่แล้ว ที่หลักๆ มี BYD, NETA, AION, MG ซึ่งแต่ละรุ่นก็รับไฟสูงสุดราว 50-80 kW ซึ่ง 200A ก็เพียงพอแล้ว
- ส่วนรถที่มีสเปคสูงกว่านี้ รับไฟได้แรงกว่านี้ น่าจะถูกใจสถานีใหม่ที่เป็นรูปแบบ Charging Hub
——————
3. ทำไมติด Low Priority เยอะจัง?
- เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเหตุเกิดจากผู้ให้บริการโครงข่ายไฟฟ้ายังให้ความสำคัญกับสถานีชาร์จน้อยกว่าบ้านที่อยู่อาศัย
- ฝั่งผู้ให้บริการไฟฟ้ายังอยู่บนหลักคิดว่า “การแบ่งไฟฟ้าให้สถานีชาร์จ ที่ใช้ไฟเทียบเท่าบ้านเรือนราวๆ 20 หลัง ต่อการชาร์จ 1 คัน“ เป็นเรื่องสำคัญรองกว่าการจ่ายไฟฟ้ากับบ้าน
- แต่ ณ ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า ไฟฟ้าในประเทศไทย ”เหลือเยอะ“ พิสูจน์ได้จากการถามทุกคนว่า ”เคยเห็นเหตุการณ์กรุงเทพไฟดับทั้งเมืองแบบ Blackout กี่ครั้ง?“
- ด้วยเหตุนี้ ทาง EV Station+ ไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่อง Low Priority แต่กำลังประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อทำให้การชาร์จ EV นั้นรวดเร็ว ไม่ติดปัญหาไฟมาน้อยบ่อยๆ แต่ก็ยอมรับว่ายังมีขั้นตอนอีกมาก
- ทางทีม EV Station+ แอบแซวๆ ว่า “นี่ผมช่วยขายไฟให้ตั้งเยอะ แล้วผมไม่ใช่ลูกป๊าหรอ 🤣”
——————
4. ทำไมจุดชาร์จแต่ละปั้มไม่เหมือนกัน เดี๋ยวอยู่หน้าปั้มบ้าง เดี๋ยวหลังปั้มบ้าง บางที่วางหน้า 7-11, หน้าห้องน้ำ แต่บางที่เอาไปซ่อนไว้ถึงขั้นต้องมีป้ายบอกทางไปตู้ชาร์จในปั้ม?
- เพราะความต้องการแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยด้วย
- หลักๆ แล้วตู้ชาร์จของ EV Station+ จะมีหลักการตั้งคือ เมื่อขับรถเข้าปั้มแล้วต้องกวาดสายตาเจอตู้ได้ง่ายๆ (อ้นนี้ผมว่าหลายที่ก็หายากนะ 55555)
- โดยส่วนมาก มักจะอยู่หน้าสำนักงานของสถานีบริการน้ำมัน หรือไม่ไกลจากร้านสะดวกซื้อ อันนี้คือจุดสังเกตุหลักเลย
- และส่วนใหญ่จะไม่ตั้งขวางหน้าพื้นที่สำหรับให้เช่าร้านค้าสักเท่าไหร่
5. Strategy ต่อไปเป็นยังไง?
- ทางพี่สิงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ด้วยแอปฯ ใหม่ของเรา ทำให้มองเห็นข้อมูลผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น มองเห็นทราฟฟิกแต่ละสถานีได้อย่างละเอียด ส่งผลทำให้สามารถวางแผนขยายโครงข่ายได้ง่ายขี้น
- ลำดับถัดไป จะเริ่มตั้ง EV Station Hub ซึ่งเป็นสถานีชาร์จที่ใช้ตู้ 300A เป็นจำนวนราวๆ 3 ตู้ 6 ช่องชาร์จ/สถานี หรือมากกว่านั้น พร้อมหลังคากันแดดกันฝน
- เพราะเอาจริงๆ ทุกคอมเม้นและฟีดแบคต่างๆ ทีมงานเค้ารับทราบทั้งหมด ยืนยันว่าอ่านคอมเม้นในเพจ และตามกลุ่มต่างๆ เยอะมากๆ
- ทางเค้าเองก็จะปรับปรุงให้สอดรับกับความต้องการของผู้ใช้งานให้เหมาะสมที่สุด
โดยการตั้ง Hub จะประเมินจากปริมาณผู้ใช้งานในย่านนั้นๆ
- โดยจากข้อมูลพบว่า ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลซะส่วนใหญ่ นอกนั้นจะเป็นหัวเมืองหลักๆ ทั้งสิ้น อาทิ ภูเก็ต, ชลบุรี, เชียงใหม่, หาดใหญ่, ขอนแก่น และจังหวัดใหญ่ๆ ที่มีคนอยู่มากๆ มักจะมีปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าเยอะตามไปด้วย
สรุปรวบ EV Station+ มีเป้าหมายขยายโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากำลังสูง (Fast Charging Station) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศก่อน
จากนั้นจึงจะเริ่มเน้นประสิทธิภาพในแต่ละจุดเป็นพิเศษผ่านรูปแบบของ EV charging hub เพื่อรับปริมาณรถ EV ที่มากขึ้น และมีสเปคการชาร์จที่เร็วขึ้นในทุกๆ วัน ซึ่งโครงการนี้เริ่มแล้วในหลายๆ สถานี
ต้องขอขอบคุณกิจกรรมดีๆ จาก EV Girls ที่ทำให้เราได้มาพบปะพูดคุยเนื้อหาสาระดีๆ แบบนี้ด้วยครับ
ปล.โพสนี้ ทีม EV Station+ จะเข้ามาอ่านทุกคอมเม้นครับ สามารถใส่ข้อเสนอแนะในแอพใหม่ได้เลย ผมมีฟีดแบคไปบ้างแล้วว่าควรเพิ่มอะไรเข้าไปอีก แล้วทุกคนคิดว่าควรเพิ่มอะไร?
ส่วนในแก้วนั้นคือน้ำชาอัดแก๊สครับ 🫢
บทความโดย EV_BoyZ 🤣