ITHINk ธรรมชาตินำทาง

13/03/2022

13 มีนาคม วันช้างไทย

เมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงชีวิตของช้างไทย การสถาปนาวันช้างไทยขึ้น จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาให้ความสำคัญกับช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น ผลจากการที่ประเทศไทยมีวันช้างไทยเกิดขึ้น นับเป็นการยกย่องให้เกียรติว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม รวมถึงในประวัติศาสตร์ที่ช้างมีความผูกพักกับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน

#วันช้างไทย #กรมอุทยานแห่งชาติ

"พลังของความเงียบ"เงียบเพื่อคิดเงียบเพื่อใช้ชีวิตเงียบเพื่อเรียนรู้
19/02/2022

"พลังของความเงียบ"

เงียบเพื่อคิด
เงียบเพื่อใช้ชีวิต
เงียบเพื่อเรียนรู้

19/02/2022
😥
14/01/2022

😥

ละทิ้ง .ความหมาย ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้บอกลา มันก็มีความหมายตายตัวของมัน ละทิ้งความเป็นตัวเอง เป็นใครก็ได้ที่ทุกคนอยา...
07/11/2021

ละทิ้ง .
ความหมาย ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้บอกลา

มันก็มีความหมายตายตัวของมัน
ละทิ้งความเป็นตัวเอง เป็นใครก็ได้ที่ทุกคนอยากให้เป็นโดยที่เราไม่ได้เต็มใจ และมันยังปฏิเสธไม่ได้ในตอนนี้

-ไปวังน้ำเขียวไม่ได้ ก็ไปสระเขียวหลังบ้าน- #ฟ้าหลังฝนย่อมแดดแรงเสมอ 🌤️
26/08/2021

-ไปวังน้ำเขียวไม่ได้ ก็ไปสระเขียวหลังบ้าน-

#ฟ้าหลังฝนย่อมแดดแรงเสมอ 🌤️

🏞️
22/08/2021

🏞️

การเดินทางทุกครั้ง มีจุดเริ่มต้น และจุดหมาย เสมอ

ไม่ว่าจะทางไปของสถานที่ต่างๆ
หรือทางไปของชีวิต

เราต้องมีจุดที่เรายืนอยู่ และจุดหมายที่เราคาดว่าจะไป
ฉันคือผู้เดินทางตลอด และยังคงเดินทางไม่จบไม่สิ้น
ฉันไม่รู้ว่าจุดหมายครั้งต่อไป ฉันจะไปที่ไหนต่อ

แต่ทุกครั้งที่ฉันหยุดอยู่กับที่ ฉันหยุดอยู่ที่บ้านของตัวเองเสมอ

อีก 4เดือนจะหมดปีแล้ว ไม่ได้ ...อะไรเลย 🥲ไม่ได้เป็นตัวเองหมดไฟไปแบบงงๆ ไม่มีแม้แต่แรงบันดาลใจ ทำได้แค่ พยายามประคองชีวิต...
22/08/2021

อีก 4เดือนจะหมดปีแล้ว ไม่ได้ ...อะไรเลย 🥲

ไม่ได้เป็นตัวเอง

หมดไฟไปแบบงงๆ

ไม่มีแม้แต่แรงบันดาลใจ

ทำได้แค่ พยายามประคองชีวิตให้รอดปลอดภัย ไปวันๆ

เพื่อรอการเดินทาง 🌱

"เสือที่น่ากลัวที่สุด คือเสือที่ไม่เหลืออยู่ในผืนป่า"วันเสือโคร่งโลก​ คือวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เกิดขึ้นเพื่อสร้างควา...
29/07/2021

"เสือที่น่ากลัวที่สุด คือเสือที่ไม่เหลืออยู่ในผืนป่า"

วันเสือโคร่งโลก​ คือวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์เสือโคร่ง วันดังกล่าวได้รับการกำหนดขึ้นจากการประชุมว่าด้วยเรื่องเสือโคร่งครั้งแรก ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ใน ค.ศ. 2010 โดยมีเป้าหมายคือส่งเสริมให้ทั้งโลกได้มีการปกป้องที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และเพื่อสร้างความตระหนักของประชาชน ตลอดจนการสนับสนุนสำหรับการอนุรักษ์เสือโคร่ง

🐅🌳💚


#วันเสือโคร่งโลก
#29กรกฎาคม

20/07/2021

-ไม่คาดหวัง ไม่ผิดหวัง-

🪴

18/07/2021

นี่หรือคือรัฐบาลไทย??

"รักษาอำนาจและผลประโยชน์มากกว่าความถูกต้องและชีวิตประชาชน"

02/07/2021

เรื่องของ ชะนี ชะนี
เจ้าป่าแห่งการห้อยโหน
ถ้าพูดถึงชะนี คนส่วนใหญ่จะนึกถึงทุเรียน หรือคำที่คนบางกลุ่มนำมาใช่เรียกกัน จนกลายเป็นคำสแลง
ที่มาจากเสียงร้อง แต่ที่เราจะเล่าถึงคือ ชะนีที่เป็นเจ้าแห่งการห้อยโหน และมีเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์
“ ชะนี ” จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มเดียวกับลิงที่ไม่มีหาง มีขนาดตัวที่เล็ก อยู่ในวงศ์ Hylobatidae ไม่มีการสร้างรังสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว และว่องไวโดยวิธีการห้อยโหนเกือบตลอดเวลา โดยการแกว่งแขนทั้งสองข้าง โหนตัวจากกิ่งหนึ่งสู่อีกกิ่งหนึ่ง ขณะที่โหนนั้นแต่ละแขนที่แกว่งไปจะหดกลับมาอยู่ในระดับใต้หัวไหล่ก่อนที่จะยื่นแขนออกไปโหนอีกครั้งหนึ่ง
ชนิดของชะนีในโลก จำแนกออกเป็น 20 ชนิด มีการกระจายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และตอนใต้ของจีนตั้งแต่ อัสสัม (อินเดีย) พม่า ไทย ไปจนถึงอินโดจีน ยูนาน แหลมมาลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะเบอร์เนียว
ชะนีในประเทศไทย มี 4 ชนิด 2 สกุล ได้แก่
>> ชะนีมือขาว (Hylobates lar)
>> ชะนีมือดำ (Hylobates agilis)
>> ชะนีมงกุฎ (Hylobates pileatus)
>> ชะนีดำใหญ่ (Symphalangus syndactylus)
เราสามารถพบ “ ชะนี ” ได้ในถิ่นที่อยู่อาศัยหลายแบบ ทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเขาหินปูน รวมถึงป่าดิบเขา ของภูมิภาคเอเชีย ชะนีจะอาศัยอยู่ตามชั้นเรือนยอดของต้นไม้ในป่าใหญ่ และมีความสามารถหลบซ่อนตัวได้ดีในเรือนยอดของต้นไม้
ชะนีกินผลไม้เป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะ ผลไม้สุก ใบไม้ หน่อ ยอดอ่อน ดอกไม้ รวมทั้งพวกแมลง เป็นต้น
ชะนีจะดื่มน้ำโดยการใช้มือจุ่มลงไปในแอ่งน้ำตามคาคบไม้แล้วเลียกินจากมืออีกต่อหนึ่ง หรืออาจเลียตาม ใบหรือกิ่งไม้ที่มีหยดน้ำเกาะอยู่
นอกจากการกิน และหาอาหารแล้ว ชะนีจะพักผ่อน โดยวิธีนั่งและหลับนอนอยู่บนง่ามไม้บนต้นไม้ใหญ่อย่างอิสระและปลอดภัย การทำกิจกรรมของชะนีจะขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางนิเวศวิทยา เช่น อุณหภูมิ การตกของฝนปริมาณทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละเพศ และแต่ละช่วงอายุด้วย
ชะนีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสังคมแบบผัวเดียวเมียเดียว (monogamous) อีกทั้งพวกมันยังอยู่กันเป็น ครอบครัว ซึ่งโดยปกติแล้วครอบครัวหนึ่งจะมีจำนวนชะนีเฉลี่ยประมาณ 2-4 ตัว ต่อครอบครัว และอาจมีสมาชิกได้มากถึง 6 ตัว
ปัจจัยการคุกคามของชะนี
>> พื้นที่อยู่อาศัยถูกทำลาย และแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ
>> การล่าสัตว์
>> การลักลอบตัดไม้
>> ความตระหนักในด้านการอนุรักษ์ชะนี
ปัจจุบันชะนีเป็นสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกล่าและแหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นไม้ใหญ่เริ่มลดลง สถานภาพปัจจุบันของชะนีในไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือเทคนิคการประเมินประชากรชะนี และสถานภาพถิ่นอาศัย โดย สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, ดร.จันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ อาจารย์จากสาขาวิชาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ มหาวิยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
Photo : คมเดช บัวลอย (การประกวดภาพถ่าย “ สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ”)

27/06/2021

บางทีก็ต้องพับเก็บความฝัน
เอาไว้ในแฟ้มชีวิตจริง

23 พฤษภาคมของทุกๆปี คือ ‘วันเต่าโลก’ หรือ World Turtle Day จัดขึ้นโดยองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล America...
23/05/2021

23 พฤษภาคมของทุกๆปี คือ ‘วันเต่าโลก’ หรือ World Turtle Day
จัดขึ้นโดยองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล American Tortoise Rescue ในสหรัฐอเมริกา

เพื่อให้มนุษย์ได้มีโอกาสทำความเข้าใจ และเรียนรู้
รวมไปถึงตระหนักได้ถึงสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่ามีอายุยืนที่สุด
ว่าพวกมันสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
,,,

🐢💚

สวัสดีค่ะ 🙏🙏🙏จากที่ห่างหายไปนาน วันนี้เราจะหยิบนำเรื่องวัวแดงมาให้เพื่อนๆได้ทำความรู้จักกันค่ะ เจ้าวัวแดง เป็นวัวป่าชนิด...
19/05/2021

สวัสดีค่ะ 🙏🙏🙏
จากที่ห่างหายไปนาน วันนี้เราจะหยิบนำเรื่องวัวแดงมาให้เพื่อนๆได้ทำความรู้จักกันค่ะ

เจ้าวัวแดง เป็นวัวป่าชนิดหนึ่ง
โดยพฤติกรรมหลักๆเนี้ย ชอบหากินอยู่เป็นฝูงไม่ใหญ่ค่ะ
ราวๆ 20 ตัว หรือมากกว่านั้น ปกติพวกมันจะเริ่มออกหากินตั้งแต่ตอนพลบค่ำไปจนถึงเช้าตรู่
ส่วนกลางวันนอนหลบตามพุ่มไม้ทึบ
ชอบอยู่ตามป่าโปร่งหรือป่าทุ่งกว้างๆค่ะ
เฉลี่ยอายุของพวกมัน ค่อนข้างจะมีอายุยืนประมาณ 30 ปีเลยนะคะ (ถ้าไม่โดนเสือขย้ำก่อน)

**เพิ่มเติม สำหรับวัวแดง (Bos javanicus) จัดเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ (Endangered : EN) ตามรายงานการประเมินสถานภาพของ IUCN และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ซึ่งในส่วนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากองค์การ UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยความหลากหลายของชนิดพันธุ์ทั้งพืชป่าและสัตว์ป่า รวมทั้งยังมีสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งมีพื้นที่ 1.7 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายของสัตว์ป่าอย่างมาก ที่สำคัญ เช่น วัวแดง ควายป่า เสือโคร่ง (อ้างอิง :https://www.thaipost.net/main/detail)

เสือกระต่าย  🥰
13/05/2021

เสือกระต่าย 🥰

10/05/2021

'ทาก' ตัวแทนความสมบูรณ์ของผืนป่า ยิ่งมีทากมาก สัตว์ใหญ่ก็จะมากตาม
เมื่อหน้าฝนเข้ามาเยือนป่าก็กลับมาชุ่มฉ่ำอีกครั้ง และแน่นอนตามพื้นดิน ใบไม้ เราจะสัมผัสได้ถึงสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ออกมาไต่ยั้วเยี้ยเต็มไปหมด นั่นก็คือ...ทาก!!!
เวลาเหยื่อเข้ามาใกล้ พวกมันจะรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนและแสงที่เปลี่ยนไปจากเงาของเหยื่อที่พาดผ่าน หัวของทากจะส่ายไปมาเพื่อจับทิศทางของเหยื่อให้แน่ใจ แล้วใช้ปุ่มดูดเพื่อคืบคลานเข้าไปหาเหยื่ออย่างกระหายเลือด
เมื่อถึงตัวเหยื่อแล้วทากก็จะบรรจงเลือกตำแหน่งเหมาะๆ บริเวณผิวหนังบางๆ และมีเส้นเลือดอยู่มาก ทากจะค่อยๆ ใช้ขากรรไกรที่คมเหมือนมีดผ่าตัดกรีดผิวหนังอย่างเบามือ ปล่อยสาร และดูดเลือดจากเหยื่ออย่างหิวโหยจนกว่ามันจะอิ่ม
พวกมันมีลักษณะเด่น คือ ตัวดูดสองอันตรงหัวและท้าย ปากเป็นรูปสองแฉกหรือสามแฉกซึ่งสร้างรอยแผลแตกต่างกัน ปากสองแฉกจะสร้างแผลรูปตัว V ส่วนทากที่พบในป่าบ้านเราจะสร้างแผลคล้ายตัว Y พวกมันมีจำนวนปล้องที่เท่ากันคือ 34 ปล้อง หายใจทางผิวหนังและบนลำตัวมีร่องเล็กๆ เพื่อช่วยคงความชุ่มชื้นจากของเหลวที่ขับมา
#ทากมีประโยชน์อย่างไร? พวกมันทำหน้าที่ดึงเอามวลอาหารจากสัตว์ขนาดใหญ่กลับมาสู่สัตว์ขนาดเล็ก โดยการที่มันจะเป็นอาหารให้กับสัตว์ป่า
นอกจากนี้ทากยังเป็นสัตว์ชี้วัดถึงความสมบูรณ์ของผืนป่า ป่าไหนที่มีทากมากก็แสดงว่ายังมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่คงเหลืออยู่มากตามไปด้วย สำหรับระบบนิเวศแล้วทากคือส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง เช่นเดียวกับสัตว์ปรสิตอื่นๆ
ทำความรู้จักทากและเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากทาก ได้ที่บทความ 'เป็นหนึ่งเดียวกับผืนป่า ผ่านน้องทาก' https://bit.ly/33sZtxN
#มูลนิธิสืบนาคะเสถียร #สืบนาคะเสถียร #เกร็ดความรู้ #นิเวศวิทยา #ทาก #เดินป่าหน้าฝน

05/05/2021

สมันหรือเนื้อสมัน เป็นกวางสัญชาติไทยโดยแท้ และไม่สามารถพบเห็นที่อื่นได้
สมันในธรรมชาติตัวสุดท้ายถูกนายตำรวจคนหนึ่งยิงตายที่ จ.กาญจนบุรี เมื่อปี 2475 หลังจากนั้นจึงเหลือเพียงสมันในกรงเลี้ยง แต่การเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงก็ทำไม่สำเร็จ จึงไม่อาจเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีก ส่วนสมันตัวสุดท้ายที่อยู่ในกรงเลี้ยงก็ถูกชายขี้เมาตีตายที่วัดแห่งหนึ่งใน ต.มหาชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อปี 2481 เหตุการณ์ดังกล่าวจึงได้เดินทางมาสู่ยุคการสูญพันธุ์ของสมันไปตลอดกาล
แม้จะมีข่าวลือว่าพบสมันอีกในที่ต่าง ๆ แต่ก็พิสูจน์ไม่ได้ ส่วนซากที่สมบูรณ์ของสมันมีเพียงซากเดียวเท่านั้น ซึ่งถูกสต๊าฟไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (Muséum National d'Histoire Naturelle) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เพียง 150 ปี ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 19-20 นำมาซึ่งการสูญพันธุ์ของสมันที่ไม่อาจย้อนกลับไปได้
เมื่อช่วงราวศตวรรษที่ 19 บริเวณที่ราบภาคกลางของประเทศไทย มีสมันกระจายพันธุ์อยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แถบทุ่งรังสิต ทุ่งพญาไท พระโขนง สำโรง ในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ ใกล้เคียง ได้แก่ นทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรสาคร อยุธยา อ่างทอง และสุพรรณบุรี ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ทุ่งหญ้าและหนองน้ำเกือบทั้งหมด และเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมของสมัน
ในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยเริ่มทำการค้ากับต่างชาติ มีการส่งออกข้าวในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของสมันถูกบุกรุกและเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทางการเกษตร นอกจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยแล้ว สมันยังถูกล่าอย่างหนักเพื่อการค้าและบริโภค
ความโดดเด่นของสมันอยู่เขา มีรูปทรงแตกกิ่งแผ่กว้าง จนได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยงามที่สุดชนิดหนึ่งของโลก และนั่นจึงกลายเป็นที่ต้องการของนักสะสมและการค้ายาจีนในสมัยนั้น ส่วนสมันตัวเมียจะไม่มีเขาและมีลักษณะคล้ายละมั่งมาก
ก่อนหน้าที่สมันจะสูญพันธุ์ มีความพยายามจากชาวต่างชาติในการเพาะเลี้ยง แต่ก็ล้มเหลวในที่สุด
ปัจจุบันสมันยังมีชื่อเป็นสัตว์ป่าสงวนตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 เนื่องจากการคุ้มครองมีผลไปถึงซากด้วย แม้จะมีกฎหมายคุ้มครอง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่สามารถรักษาพวกเขาไว้ได้
ข้อมูลภาพ: สมันที่สวนสัตว์เบอร์ลิน ถ่ายเมื่อปี 1911
อ้างอิง: IUCN red list, Schomburgk's Deer https://bit.ly/3eh7lse
Amarin TV, เผยเบื้องหลังการล่า “สมัน” ณ ทุ่งรังสิต ก่อนจะ “สูญพันธุ์” ไปจากโลก https://bit.ly/3aYQOaq
ผู้จัดการออนไลน์, เนื้อสมัน สัตว์ป่าของกรุงเทพฯ มีอยู่แห่งเดียวในโลก! สูญพันธุ์เพราะสวยเกินเหตุ!! https://bit.ly/3eiQLbq
#มูลนิธิสืบนาคะเสถียร #สมัน

04/05/2021

กูปรี หรือโคไพร สัตว์ป่าที่สูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย ตามรายงานขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN
เดิมเราสามารถพบฝูงกูปรีได้ในพื้นที่แถบอีสานใต้ ตามบันทึกของ นพ. บุญส่ง เลขะกุล ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของไทย พบรอยกูปรีในแถบ เทือกเขาพนมดงรักชายแดนประเทศไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2488 และรายงานการพบที่ป่าดงอีจาน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา เมื่อปี 2492
ประมาณปี 2517 พบฝูงกูปรีย้ายเข้ามาหากิน บริเวณป่า ชายแดน จ.สุรินทร์ ในช่วงฤดูฝน และในปี 2518 กรมป่าไม้ ทราบข่าวที่ไม่มีการยืนยัน กล่าวถึงการพบกูปรีในป่าบริเวณชายแดน จ.ศรีสะเกษเป็นฝูงกูปรีจํานวน 20 ตัว
ในปี 2525 มีข่าวการพบฝูงกูปรีอีกครั้ง จํานวน 5 ตัว โดยการยืนยันของพรานท้องถิ่น บรรยายลักษณะรูปร่างได้ถูกต้อง ตรงกับลักษณะกูปรี โดยพบเห็นในบริเวณป่า “นาจราง” อ.ขุขันธ์ ชายแดน จ.ศรีสะเกษ
หลังจากนั้นไม่มีการบันทึกใดใดที่เกี่ยวกับการพบกูปรีในประเทศไทยอีกเลย จนกระทั่งมีข่าวการพบ ฝูงกูปรี ในปี 2549 ขณะที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ออกลาดตะเวนบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ใกล้รอยต่อประเทศกัมพูชา และ ส.ป.ป.ลาว ได้บังเอิญพบกับสัตว์ขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายกับกระทิง จำนวน 3 ตัว หากินอยู่ในทุ่งหญ้าโล่ง ลักษณะเขาแปลกกว่าเขาของกระทิง และมีตัวสูงใหญ่กว่า
แต่การรายงานดังกล่าวไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าเป็นกูปรีจริงหรือไม่ เนื่องจากลักษณะของกูปรีมีความคล้ายคลึงกับกระทิงและวัวแดง ซึ่งจากการสำรวจของ นพ.บุญส่ง พบว่าสัตว์ชนิดนี้มักอยู่ปนกับฝูงวัวแดง
ทั้งนี้ นอกจากกูปรีจะเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากป่าของไทยแล้ว ในรายงานของ IUCN ระบุอีกด้วยว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วในเวียดนาม ส่วนในกัมพูชาและลาวคาดว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว (Possibly Extinct) เช่นกัน
ซึ่งในปี 2491 เคยประมาณกันว่ามีกูปรีหลงเหลืออยู่ในโลกประมาณ 2,000 กว่าตัว และมากกว่า 800 ตัว อยู่ในกัมพูชา แต่ในช่วงสงครามเวียดนามที่ลุกลามไปทั่วอินโดจีน จนทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในกัมพูชา (ช่วงปี 2518-2522) กรูปรีและสัตว์ป่าอีกหลายชนิดถูกล่าอย่างหนัก เพื่อใช้เนื้อเป็นอาหารและขายเขาเป็นสินค้า รวมทั้งกับระเบิดยังได้สังหารกูปรีลงเป็นจำนวนมาก
กูปรีถือเป็นสัตว์ป่าที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับประเทศกัมพูชา เพราะถูกยกให้เป็นสัตว์ประจำชาติ และหากใครที่เป็นแฟนบอลศรีสะเกษ เอฟซี ก็พอจะคุ้นชื่อ “กูปรีอันตราย” ที่ใช้เรียกแทนทีมฟุตบอลของจังหวัดศรีสะเกษ
แม้ในช่วง 50 ปีที่ผ่าน จะมีข้อถกเถียงในวงการวิชาการถึงการมีอยู่ของกูปรี แต่จากการรายงานของ IUCN เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าสิ่งมีชีวิตดังกล่าวได้สูญพันธุ์ไปจากป่าไทย และคาดว่าจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ไปแล้ว
ภาพ: forums.nitroexpress.com
อ้างอิง: รายงานสถานะการสูญพันธ์ุของกูปรีในประเทศไทย, IUCN https://bit.ly/3gOFQrI
รศ.ดร.นริศ ภูมิภาคพันธ์, ศ.ดร.ยงยุทธ ไตรสุรัตน์, เอกสารวิชาการการพบ “กูปรี” ในป่าฝั่งประเทศไทย: การเพิ่มโอกาสในการอนุรักษสัตว์ป่าข้ามเขตแดน https://bit.ly/3gPHpG7
มหาชน, กูปรี..วัวป่าลึกลับที่สาบสูญ! https://bit.ly/3nAdV0a
ผู้จัดการออนไลน์, ตื่นเต้น! พบกูปรีเป็นๆ หลังไม่เจอนานร่วม 40 ปี https://bit.ly/3aLPsQn
#มูลนิธิสืบนาคะเสถียร #กูปรี

กั๊บแก ตั๊กแก ตุ๊กแก ต๊กโตแล้วแต่จะเรียกตามความชอบ แต่ใครชอบละ ?ตุ๊กแก เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง รักสงบ สันโดษ ออกหาก...
22/04/2021

กั๊บแก ตั๊กแก ตุ๊กแก ต๊กโต
แล้วแต่จะเรียกตามความชอบ

แต่ใครชอบละ ?

ตุ๊กแก เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง รักสงบ สันโดษ ออกหากินเฉพาะกลางคืน และจัดเป็นนักกำจัดแมลงสาบอันดับหนึ่งของบ้าน

'ถ้าคุณไม่พิศมัยในแมลงสาบ คุณก็เมตตาเจ้าลายด้วยเถอะ'

ความน่ากลัวของผิวหนัง และเสียงร้องที่ชวนขนลุกของมัน อาจทำให้คุณหัวใจสั่นเพราะหวาดกลัว
แต่มันเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ทำรายได้ดีมากๆเลยนะ แถมมีความเชื่อว่า บ้านไหนมีตุ๊กแก บ้านนั้นรวย!!

บางตำราบอกว่าเป็นยาแก้โรคตาลขโมย
บางตำราก็บอกว่าเป็นยาบำรุงร่างกาย
จริงแท้ไหมฉันก็ไม่เคยพิสูจน์ ..

แต่ว่าด้วยคืนก่อน ฉันฝันเห็นตุ๊กแกตัวใหญ่(เท่าคน)หลายสิบตัว เกาะที่พนังบ้าน

กลับกลายเป็นคำพยากรณ์ที่แสนวิเศษให้ใครหลายๆคนซะงั้น เพราะตุ๊กแกเป็นสัตว์สันโดษ จะอยู่ตัวเดียว
ตามหลักแล้ว ตุ๊กแกจะอยู่หลายๆตัวก็ต่อเมื่อ มันพึ่งจะมีครอบครัว

พ่อ แม่ ลูก และเมื่อลูกๆของมันโตเต็มที่ครบ1ปี ก็จะแยกย้าย ไปสร้างอาณาเขตของมัน และมีครอบครัวใหม่ต่อไป

หลักการเหล่านั้นทำให้ความฝันของฉันที่เห็นมันใหญ่โตนับสิบๆตัว เป็นเรื่องที่ประหลาดและวิเศษในเวลาเดียวกัน

สรุปแล้วใครชอบพวกมันบ้างละ ?

คำตอบฉบับฉัน ก็คือคนอย่างเราๆนี่แหละ จริงๆแล้ว เราอาจะชอบมันก็ได้นะ
แต่เพราะรูปลักษณ์ที่น่าเกลียดและเสียงที่น่ากลัวของมัน บดบังความชอบของเรา ...

"ประโยชน์ก็มี ความดีก็มาก ทำไมถึงกีดกันกันด้วย รูปลักษณ์ภายนอกนะ "

อย่าแซวผิวหนังหนู ~ไม่น่ารักหรอคะ ~ไม่ถูกใจหรอ ~ ตั๊กแก~Soon..
22/04/2021

อย่าแซวผิวหนังหนู ~

ไม่น่ารักหรอคะ ~ไม่ถูกใจหรอ ~ ตั๊กแก~

Soon..

22/04/2021

ดูแลโลก = ดูแลตัวเอง 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก Earth Day
22 เมษายน ของทุกปีคือ "วันคุ้มครองโลก" (Earth Day) ประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ UNEP เพื่อสนับสนุนการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักถึงธรรมชาติบนโลก โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี 1970 ปัจจุบันนี้มีหลายกิจกรรมที่ร่วมกันในวันนี้ทั่วโลกโดย Earth Day Network
ธีมของ Earth Day 2021 คือ Retore Our Earth ฟื้นฟูระบบนิเวศบนโลกของเรา โดยเน้นที่การผลักดันการลงมือทำเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมบนโลกของเรา และแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
โลกของเราเผชิญผลกระทบมากมายตลอดหลายปีที่ผ่านมาจากกิจกรรมต่างๆของเรา ที่ทำให้ธรรมชาติเสื่อมโทรม ถูกทำลาย รวมทั้งวิกฤตโลกร้อนที่เป็นภัยคุกคามใหญ่ของยุคเรา
ซึ่งเราสามารถช่วยทำให้โลกของเราดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์ รักษา และฟื้นฟูธรรมชาติ และระบบนิเวศด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้บ้านหลังเดียวของเรามีสุขภาพที่ดี และเพื่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
เนื่องในวันคุ้มครองโลก หรือวันของโลก Earth Day จึงขอเชิญชวนทุกท่านทำสิ่งดีดีเพื่อฟื้นฟูโลก เริ่มจากตัวเองไม่ว่าจะอยู่ในภาคส่วนใดก็ตาม เริ่มวันนี้ และทุกๆวันหลังจากนี้
เพราะการฟื้นฟูดูแลโลก เท่ากับการฟื้นฟูดูแลตัวเอง
และทุก ๆ วัน เป็นวันของโลก และเรามีโลกนี้ที่เป็นบ้านของเรา แค่เพียงใบเดียว
ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.earthday.org/earth-day-2021/

https://www.earthday.org/toolkit-earth-day-2021-restore-our-earth/
ร่มธรรม ขำนุรักษ์
environman

18/04/2021

ขุนไกรมีเรื่องเล่า...พี่น้องเลียงผาไม่ควรต้องมาตายเพราะความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้...

ด้วยความเชื่อที่ว่าเลียงผามีน้ำลายที่สมานกระดูกและสมานแผลได้ จึงมีการล่าเพื่อเอาน้ำมันเลียงผามาใช้รักษาแผลและสมานกระดูก ซึ่งความจริงแล้วไม่มีใครรู้เลยว่าเขาใส่อะไรลงไปผสมบ้าง เกือบทุกครั้งที่มีการล่าล้วนอ้างว่ามาจากความเชื่อของมนุษย์แทบทั้งสิ้น​

แม้บทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง​ตาม​พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562​ จะเพิ่มสูงขึ้น ยกตัวอย่าง มาตรา 17 ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวนโดยไม่ได้รับอนุญาต มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 92 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 22 ฐานพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ป่าสงวน โดยไม่ได้รับอนุญาต มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 89 จำคุก 3-15 ปี ปรับ 300,000 - 1,500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีบทกำหนดตาม พรบ.อื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย

แต่ถ้าทุกคนยังไม่มีจิตสำนึก ยังอ้างว่าเพื่อดำรงชีพ วันหนึ่งเผ่าพันธุ์ของขุนไกรที่พี่ๆกำลังช่วยกันอนุรักษ์คงหลงเหลือไว้เพียงภาพวาด ภาพถ่าย พร้อมคำบอกเล่า ขุนไกรไม่อยากให้ถึงวันนั้นเลย ขุนไกรและเพื่อนๆเลียงผาเป็นเพียงสัตว์ป่าตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในป่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ไม่ได้มีความพิเศษเหนือสิ่งอื่นใด สรรพคุณที่หลายคนกล่าวอ้างก็เป็นเพียงคำกล่าวอ้างเท่านั้น แต่ความจริงที่อยากบอกทุกคน คือ ขุนไกรและสัตว์ป่าอีกมากมายก็รักตัวกลัวตายเหมือนกับพี่ๆทุกคนเช่นกัน....

#ไม่ซื้อ​ #ไม่ล่า​ #ไม่หามาขาย​ #ไม่เป็นโรคร้าย​ #สัตว์ป่าไม่สูญพันธุ์​ #สายด่วน1362​ #กรมอุทยาน

สวัสดีเทศกาลสงกรานต์ แอดของให้ผู้ติดตามมีความสุขทุกคนเลยย และเราจะผ่านช่วงเวลาห่วยๆเหล่านี้ไปด้วยกัน 🙏สำหรับใครที่ไปเที่...
13/04/2021

สวัสดีเทศกาลสงกรานต์

แอดของให้ผู้ติดตามมีความสุขทุกคนเลยย และเราจะผ่านช่วงเวลาห่วยๆเหล่านี้ไปด้วยกัน 🙏

สำหรับใครที่ไปเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ขอให้รักษาความสะอาด และทำตามกฎของสถานที่ด้วยนะคะ

ห่วงใย

12/04/2021

วันนี้ถึงคิวของ “สัตว์เลื้อยคลาน” ในเมืองที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองกันแล้วค่ะทุกคน

สัตว์เลื้อยคลานสามารถปรับสภาพร่างกายได้หลายอย่าง จึงทำให้ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งได้อย่างดี
ผิวหนังของสัตว์เลื้อยคลาน ยังช่วยให้ตัวมันเองป้องกันการสูญเสียน้ำและการระเหยของน้ำได้ เพราะ มีความแห้ง แถมยังไม่มีต่อมเหงื่อและต่อมน้ำมันอยู่ใต้ชั้นของผิวหนัง
สิ่งที่สำคัญที่สุดของกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานคือ มีการปฏิสนธิของตัวอ่อนภายในเปลือกไข่ เป็นการปรับตัวตามสภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการดำรงชีวิตให้รอดพ้นจากแหล่งน้ำ
ต่อไปเรามาทำความรู้จักกับสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและยังสามารถพบเห็นได้ในเมือง ที่บางครั้งอาจจะไปโผล่ตามบ้าน ตามโรงเรียน มหาวิทยาลัย และสวนสาธารณะทั่วไป มาดูกันว่าจะใช่ชนิดที่เราเคยพบเห็นหรือเปล่า
เหี้ย Water Monitor (Varanus salvator) พบเห็นได้ทั่วไปตามริมตลิ่ง แม่น้ำ ลำคลอง หรือบึง เป็นสัตว์ในตระกูลตะกวด ลักษณะ คอยาว ปลายจมูกเรียว ลําตัวสีดําหรือน้ำตาลเข้ม หลังมีลายวงแหวนสีเหลืองขอบดำ เรียงเป็นแถวตามขวาง ตลอดความยาวลําตัว ตัวผู้มักมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ถึงเหี้ยจะเป็นสัตว์กินซาก และเป็นที่น่ากลัวของใครหลายคนแต่น้องเหี้ยของเราเป็นที่ฮอตฮิตมากตามมหาวิทยาลัยในเมือง จนเกิดกระแสแชร์ความน่ารักของมันอยู่ช่วงหนึ่ง ทั้งรูปเหี้ยกอดกัน และเหี้ยลอยในน้ำที่มีดอกไม้อยู่บนหัว
งูเหลือม Reticulated Python (Malayopython reticulatus) เป็นงูขนาดใหญ่มีความยาวตั้งแต่หัวถึงปลายหางประมาณ 1000เซนติเมตร ลำตัวใหญ่เป็น อันดับ 2 ของโลกรองจาก Anaconda ลำตัวสีน้ำตาลเทาถึงน้ำตาลเทาอมเหลืองมีลายข้าวหลามตัดบนหลัง ลำตัวมีลายจุดสีขาวประปรายหัวสีเหลืองมีเส้นสีดำกลางหัวลากจากปลายจมูกถึงคอ พบได้ตามต้นไม้พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณลุ่มน้ำจนถึงในป่าดิบชื้น ชอบถูกล่าไปทำเครื่องหนังและอาหาร
เต่านา Malayan Snail-eating Turtle (Malayemys macrocephala) เป็นเต่าน้ำจืดขนาดเล็ก ขอบกระดองเรียบสีครีม กระดองส่วนบนสีน้ำตาลอ่อน มีสันนูน 3 สันเห็นได้ชัดเจน หัวโตสีดำมีลายสีขาวเป็นเส้นใหญ่จากจมูกผ่านนัยน์ตาตอนบนและจากปากผ่านนัยน์ตาตอนล่าง มีลายเส้นสีขาวที่แก้มด้วย พบได้ตาม หนองน้ำ แม่น้ำ และลำคลองที่มีโคลนตม เนื่องจากเป็นเต่าที่พบ ทั่วไปตามท้องนา ที่มีน้ำ จึงเรียกกันว่า “เต่านา” ในเมืองพบได้บ่อยตามวัดที่ถูกจับมาขายให้ปล่อยเพื่อการทำบุญตามความเชื่อส่วนบุคคล
เต่าหับ Malayan Box Turtle (Cuora amboinensis) เป็นเต่าน้ำจืดขนาดเล็ก กระดองส่วนบนโค้งเป็นโดม สีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ กระดองส่วนล่างมีลักษณะเป็นบานพับ หน้าและคอสีเหลือง ด้านบนหัวสีดำ และมีแถบสีดำ 3 แถบ ด้านข้างของหน้า กระดองส่วนล่างและเกล็ดขอบกระดองส่วนล่างสีเหลือง มีจุดสีดำที่ขอบด้านนอกของแผ่นเกล็ดแต่ละแผ่น พบได้ตาม หนองน้ำ ทุ่งนา ลำคลอง แม่น้ำ
>>> พบเห็นสัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บ ถูกทิ้ง หรือพลัดหลง กรุณาติดต่อ คลินิกสัตว์ป่า ☎️โทรสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362

เม่น  พนักงานบำรุงป่ายามราตรี🦔เม่น...สัตว์ป่าที่จดจำได้ง่ายเพราะมีแท่งหนามเล็กใหญ่คลุมทั่วตัว สีขาวสลับกับสีดำบนหนามช่วย...
07/04/2021

เม่น พนักงานบำรุงป่ายามราตรี
🦔เม่น...สัตว์ป่าที่จดจำได้ง่ายเพราะมีแท่งหนามเล็กใหญ่คลุมทั่วตัว สีขาวสลับกับสีดำบนหนามช่วยพรางตัวในช่วงหากินเวลากลางคืน ส่วนกลางวันนอนในโพรงที่ขุดไว้ใต้ดินอากาศเย็นสบายและปลอดภัย จุดเด่นอีกที่คือ ฟันคู่หน้าขนาดใหญ่ แข็งแรงและคมราวกับสิ่วเจาะไม้ ทั้งนี้เพราะกระดูกฟันด้านนอกมีเคลือบฟันหนากว่าด้านในทำให้เมื่อขบกัดแล้วด้านในสึกหรอมากกว่า จึงมีรูปทรงเป็นสิ่ว ฟันคู่นี้จะงอกเพิ่มอยู่เสมอเพื่อทดแทนส่วนที่สึกหรอ จากการใช้ขุดสร้างโพรงดิน
🌰🥜🥕อาหารที่ใช้ดำรงชีพมักเป็นรากไม้ หัวพืชที่สะสมอาหารใต้ดิน ซึ่งเท่ากับช่วยควบคุมประชากรพืช ครั้นเดินขึ้นอยู่พื้นดิน จะกินผลไม้ที่ตกหล่นอันเป็นภารกิจช่วยแพร่กระจายเมล็ดไม้ นอกจากนี้ยังเก็บกินซากกระดูก เขาสัตว์ งาช้างป่าที่พบในป่า เพื่อนำแคลเซียมไปเสริมระบบฟันในการเผชิญหน้ากับสัตว์ผู้ล่า เม่นซึ่งขาสั้นวิ่งได้ไม่เร็ว จะใช้กลยุทธหยุดนิ่งเพื่อจู่โจมโดยการวิ่งแล้วหยุดกระทันหันพร้อมพองขน เพื่อให้ขนแหลมทิ่มหน้าคู่ต่อสู้ ซึ่งก็ใช้ได้ผลดี แต่จากการศึกษาซากอาหารที่เหลือในขี้เสือดาวพบว่ามีขนเม่นปะปนอยู่เสมอ ช่วยบอกหน่อยว่า ‘เสือดาวใช้วิธีใดจัดการเม่นที่มีเกราะหนามแหลม’
#มูลนิธิสืบนาคะเสถียร #สืบนาคะเสถียร #เกร็ดความรู้ #นิเวศน่ารู้ #เม่น
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10159505254200827&id=130907225826

เม่น พนักงานบำรุงป่ายามราตรี
เม่น...สัตว์ป่าที่จดจำได้ง่ายเพราะมีแท่งหนามเล็กใหญ่คลุมทั่วตัว สีขาวสลับกับสีดำบนหนามช่วยพรางตัวในช่วงหากินเวลากลางคืน ส่วนกลางวันนอนในโพรงที่ขุดไว้ใต้ดินอากาศเย็นสบายและปลอดภัย จุดเด่นอีกที่คือ ฟันคู่หน้าขนาดใหญ่ แข็งแรงและคมราวกับสิ่วเจาะไม้ ทั้งนี้เพราะกระดูกฟันด้านนอกมีเคลือบฟันหนากว่าด้านในทำให้เมื่อขบกัดแล้วด้านในสึกหรอมากกว่า จึงมีรูปทรงเป็นสิ่ว ฟันคู่นี้จะงอกเพิ่มอยู่เสมอเพื่อทดแทนส่วนที่สึกหรอ จากการใช้ขุดสร้างโพรงดิน
อาหารที่ใช้ดำรงชีพมักเป็นรากไม้ หัวพืชที่สะสมอาหารใต้ดิน ซึ่งเท่ากับช่วยควบคุมประชากรพืช ครั้นเดินขึ้นอยู่พื้นดิน จะกินผลไม้ที่ตกหล่นอันเป็นภารกิจช่วยแพร่กระจายเมล็ดไม้ นอกจากนี้ยังเก็บกินซากกระดูก เขาสัตว์ งาช้างป่าที่พบในป่า เพื่อนำแคลเซียมไปเสริมระบบฟันในการเผชิญหน้ากับสัตว์ผู้ล่า เม่นซึ่งขาสั้นวิ่งได้ไม่เร็ว จะใช้กลยุทธหยุดนิ่งเพื่อจู่โจมโดยการวิ่งแล้วหยุดกระทันหันพร้อมพองขน เพื่อให้ขนแหลมทิ่มหน้าคู่ต่อสู้ ซึ่งก็ใช้ได้ผลดี แต่จากการศึกษาซากอาหารที่เหลือในขี้เสือดาวพบว่ามีขนเม่นปะปนอยู่เสมอ ช่วยบอกหน่อยว่า ‘เสือดาวใช้วิธีใดจัดการเม่นที่มีเกราะหนามแหลม’
#มูลนิธิสืบนาคะเสถียร #สืบนาคะเสถียร #เกร็ดความรู้ #นิเวศน่ารู้ #เม่น

07/04/2021
06/04/2021

อย่างน้อย อาหารอร่อย
ก็ทำให้เรามีความสุขได้

30/03/2021

📣 #เชียงใหม่ไฟไหม้หนักมาก 🔥 มาร่วมด้วยช่วยกัน #บริจาคสิ่งของ ให้เจ้าหน้าที่ดับไฟป่า เพราะไฟไหม้กระจายไปหลายพื้นที่แล้ว และค่อนข้างหนักมาก ส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นมีไม่เพียงพอ . . ส่งของใช้ตามข้างล่างนี้กันมาได้เลย สิ่งของทุกชิ้นที่บริจาคมาจะถึงมือเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติทุกคนแน่นอน

🤗 สิ่งของที่รับบริจาค (อัปเดต 30/03/64)
- ไฟฉายคาดหัว
- ผ้าบัพ
- เป้น้ำ
- เครื่องดื่มเกลือแร่
- ถุงเท้าหนา
- รองเท้าเดินป่าพม่า ไซส์ 40-44

📍 สามารถจัดส่งของบริจาคได้ที่
คุณชิโนรส จันทร์ประทีป
(มอบให้อาสาไฟป่าเชียงใหม่)
สุขเกษมเรสซิเดนซ์
160/8 หมู่ 2 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
096-6901984

⭐ ข้อมูลจากเพจ อาสาไฟป่าเชียงใหม่ -ภาคประชาชน

#เซลเฮียร์ #เชียงใหม่ #ไฟป่าเชียงใหม่

27/03/2021
ชีวาตะเคียนทอง
21/03/2021

ชีวาตะเคียนทอง

ไม่นานมานี้มีโอกาสได้เห็นตะเคียนทองบนหน้าผาสูง ใบที่มีสีเขียวสดแปลกตา และลำต้นสูงเพรียว เปลือกหนาสีน้ำตาลอ่อน
"สูงสง่าอยู่ต้นเดียวเชียวนะเธอ" คำที่ฉันกล่าว

กลับมาถึงบ้านพักเลยหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นตะเคียนทอง แล้วเจอคำว่า 'ไม้ไม่ผลัดใบ'
นั่นแสดงให้เห็นว่า เธอจะมีใบที่เขียวสดตลอดปี

โชคดีจริงๆ เธอจะเป็นร่มเงาให้แก่ทุกสรรพสิ่ง และ เธอสามารถดูดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่มีวันพัก นอกจากเธอจะตาย

ความสามารถพิเศษ เป็นไม้เนื้อแข็ง ทนทาน ปลวกไม่แทะ มอดไม่เจาะ เหมาะแก่การทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนต่างๆ
"ก็เลยอายุสั้นสินะ"

"อ๋อ เจ้าแม่ตะเคียน"

ฉันนึกได้ว่ามีตำนานเจ้าแม่ตะเคียนที่ช่วยชีวิตเธอไว้อยู่
เป็นกลอุบายที่ช่วยชีวิตของเธอ โดยทางพุทธศาสนา เจ้าแม่ตะเคียนคือเทวดาที่บุญน้อย ถือว่าเป็นรุกขเทวามีวิมานเป็นต้นไม้ มันผู้ใดทำลายต้นตะเคียน มันผู้นั้นก็ได้ทำลายวิมานของเจ้าแม่ตะเคียนเช่นกัน จึงเกิดความเชื่อว่า เจ้าแม่จะโกรธแค้น และรังควานมันผู้นั้น ถ้ามาทำวิมานเจ้าแม่พัง

แบบนี้ผู้คนเลยศรัทธาและเชื่อมั่นในเจ้าแม่ตะเคียน (โดยเฉพาะในวันหวยใกล้ออก ฮาๆ )

สำหรับฉัน ฉันก็ไม่รู้ว่า เจ้าแม่ตะเคียนมีจริงไหม
แต่ฉันเริ่มจะศรัทธาแล้วละ เพราะ เขาช่วยต่อชีวิตให้ต้นไม้ที่ชื่อตะเคียนทองมาตลอด

ช่างเป็นความสัมพันธ์แปลกๆที่มีประโยชน์จริงๆเลย คุณว่าไหม

พงพนา ไพรวัน ที่กว้างใหญ่ แหล่งอาศัยสรรพสัตว์สุดสร้างสรรค์พงพนา ไพรวัน อารัญ ชัฏ เงียบสงัดทุกทางทุกราตรีมนุษย์เอ๋ยจงฟังเ...
21/03/2021

พงพนา ไพรวัน ที่กว้างใหญ่
แหล่งอาศัยสรรพสัตว์สุดสร้างสรรค์
พงพนา ไพรวัน อารัญ ชัฏ
เงียบสงัดทุกทางทุกราตรี

มนุษย์เอ๋ยจงฟังเจ้าทั้งหลาย
ท่านช่วยได้จงคิดดีจงคิดสร้าง
ป่าทุกที่ไม้ทุกต้นใบสวยงาม
ล้วนช่วยสร้างอากาศดีแสนชื่นใจ

รวมกันรักปกป้องและห่วงแหน
ช่วยดูแลร่วมรักษ์มิให้หาย
ถ้าป่าไม้อยู่คงมิตัวตาย
มนุษย์ทั้งหลายก็อยู่ได้อย่างสมฤดี

#วันป่าไม้โลก

19/03/2021
16/03/2021

ดูถูกความฝันคนอื่นได้ แต่อย่าทำลายความฝันเขาเลย

"คช กุญชร หัสดี ท่านหัตถีก็เรียกช้างกรินทร์ คชา สารต่างก็ช้างเท่าๆกัน"คำไวพจน์ที่แปลว่า ช้าง สวัสดีวันช้างไทย 13 มีนาคม ...
13/03/2021

"คช กุญชร หัสดี
ท่านหัตถีก็เรียกช้าง

กรินทร์ คชา สาร
ต่างก็ช้างเท่าๆกัน"

คำไวพจน์ที่แปลว่า ช้าง
สวัสดีวันช้างไทย 13 มีนาคม 2564 🙏

12/03/2021

ต้นไม้อยู่เฉยๆ ก็มีประโยชน์ ต่างจากคน ถ้าอยู่เฉยๆ ไม่อาจเกิดการพัฒนา ...

ประโยชน์ของต้นไม้ใหญ่ที่ทุกคนควรรู้-เป็นร่มไม้ร่มเงาให้ร่มรื่น-คายออกซิเจนบริสุทธิ์ตอนกลางวัน-ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์...
11/03/2021

ประโยชน์ของต้นไม้ใหญ่ที่ทุกคนควรรู้

-เป็นร่มไม้ร่มเงาให้ร่มรื่น
-คายออกซิเจนบริสุทธิ์ตอนกลางวัน
-ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจก
-ยิ่งต้นไม้ใหญ่รากยิ่งแข็งแรงช่วยยึดหน้าดินให้แข็งแรง
สามารถป้องกันดินถล่มได้
-เป็นแนวป้องกันการเกิดน้ำท่วม

และอีกมากมายย

ประโยชน์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด

ภาพสวยๆที่เขาใหญ่ โดย : Nonthapat Attharom

11/03/2021

"สิ่งที่ผมมักพูดอยู่เสมอก็คือ ป่าเราเก็บไว้เฉย ๆ ก็เป็นการอนุรักษ์ที่เราได้ประโยชน์ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องตัดมาใช้ ต้นไม้ให้อากาศ ให้น้ำ นี่เป็นการใช้ใช่ไหม ใช้โดยที่เราไม่ต้องไปตัดเอาส่วนของมันมาใช้” สืบ นาคะเสถียร (นิตยาสารสารคดี ฉบับ 65 หน้า 93, กรกฎาคม 2533)
ต้นไม้ 1 ต้นให้อะไรกับเราบ้าง...
ดักจับฝุ่น ควัน และมลพิษได้ถึง 1.4 กิโลกรัมต่อปี
อายุขัยของต้นไม้ 1 ต้น สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 1-1.7 ตันคาร์บอน
ต้นไม้ 1 ต้น ปล่อยก๊าซออกซิเจนได้ถึง 200,000-250,000 ลิตรต่อปี สามารถรองรับความต้องการก๊าซออกซิเจนของมนุษย์ได้ถึง 2 คนต่อปี
การคายน้ำของต้นไม้ ช่วยลดอุณหภูมิลงได้ถึง 3-5 องศา
เป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด
นี่เป็นเพียงประโยชน์ของต้นไม้ 1 ต้น
หากเป็นผืนป่าทั้งผืนอย่างผืนป่าตะวันตกให้อะไรกับเราบ้าง…
สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากที่สุด 23.4 ล้านตันต่อปี หรือสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่กรุงเทพฯ ปล่อยในหนึ่งปี (กรุงเทพฯ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 42 ล้านตันต่อปี)
ให้น้ำ 17,280 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ในขณะที่กรุงเทพฯ ใช้น้ำ 1,406.3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
การใช้ประโยชน์จากต้นไม้โดยที่ไม่ตัดหรือทำลาย นั้นเกิดประโยชน์สูงสุดไม่เพียงให้ประโยชน์แก่คนใดคนหนึ่ง แต่ต้นไม้ต้นหนึ่งให้ประโยชน์แก่สิ่งมีชีวิตอีกมากมาย
____________________
ช่องทางติดตามข่าวสาร
Youtube : https://www.youtube.com/user/Seub2010
Facebook : https://www.facebook.com/SeubNakhasathienFD
Twitter : https://twitter.com/seubfd
Instagram : https://www.instagram.com/seubfd/
ร่วมรักษาป่าใหญ่กับมูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้ที่ : https://bit.ly/3807mg7
#มูลนิธิสืบนาคะเสถียร #สืบนาคะเสถียร #หม่อมหลวงปริญญากรวรวรรณ #ช่างภาพสัตว์ป่า

โกรธทุกครั้งที่ได้ยินข่าวร้ายเกี่ยวกับพวกเขา ...
03/03/2021

โกรธทุกครั้งที่ได้ยินข่าวร้ายเกี่ยวกับพวกเขา ...

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ITHINkผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

ประเภท


สื่อ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด