Melik Kids Club คลับของเด็กชอบวิทย์

Melik Kids Club คลับของเด็กชอบวิทย์ MelikKidsClub® คลับของเด็กชอบวิทย์ เมื่อสัมผัสจะเกิดการเรียนรู้ ทำทุกวันจะเก่งและชำนาญเห็นผลปรากฎ100%

09/06/2023

นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบคลื่นสมองที่อาจเป็นสัญญาณไปสู่ภาวะใกล้ตายจากสมองของผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต
ภาวะใกล้ตาย (near-death experience) ที่ถูกพูดถึงในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกที่ตนกำลังเคลื่อนตัวลงไปในอุโมงค์ที่ปลายทางมีแสงสว่างจ้า การหวนนึกถึงความทรงจำในอดีตที่ผ่านมา หรือแม้กระทั่งการได้ยินหรือมองเห็นญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ล้วนมีที่มาจากผู้คนต่างวัฒนธรรมที่เชื่อกันว่าได้มีโอกาสเผชิญกับความตายมาก่อนแล้วทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าประสบการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงภาพหลอนที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยฟื้นตัวในโรงพยาบาลเท่านั้น
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ มีกลุ่มนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan Medical School) นำโดยฮิโม บอร์ฮิจิน (Jimo Borjigin) และคณะ ได้ศึกษาคลื่นสมองของกลุ่มผู้ป่วยตัวอย่างทั้งหมดสี่คนที่กำลังจะเสียชีวิตผ่านการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หรืออีอีจี (Electroencephalography, EEG) โดยคลื่นที่ออกมาจะเกิดจากการทำงานร่วมกันของเซลล์สมองจำนวนมาก และคลื่นแต่ละชนิดจะมีความถี่ที่แตกต่างกัน
จากการศึกษาที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าในบรรดาคลื่นสมองทั้งหมดนี้ คลื่นสมองแกมมาซึ่งเป็นคลื่นความถี่สูงเป็นหนึ่งในลักษณะเด่นของการมีสติหรือความรู้สึกตัว (hallmark of consciousness) และยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดขั้นสูงและการเรียกคืนความจำ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นหากเกิดคลื่นนี้ในส่วนของสมองที่เรียกสั้นๆว่าทีพีโอจังก์ชัน (Temporo-pariero-occipital junction, TPO) ซึ่งอยู่บริเวณด้านข้างศีรษะทั้งสองด้าน
ผลการทดลองปรากฏว่า ในบรรดาผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิตทั้ง 4 คนนั้น มี 2 คนที่แสดงสัญญาณของคลื่นแกมมาบริเวณทีพีโอจังก์ชัน โดยหลังจากที่ถอดอุปกรณ์พยุงชีพออก คลื่นแกมมานี้ก็พุ่งสูงขึ้นอย่างฉับพลันอยู่ในช่วงเวลาแค่ไม่กี่นาที ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้ว่าคนกลุ่มนี้มองเห็นอะไรก่อนที่กำลังจะตาย แต่ทางคุณบอร์ฮิจินได้กล่าวว่า "หากพวกเขารอดชีวิต ผู้ป่วยทั้งสองคนนี้อาจจะมีเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังก็เป็นได้"
แซม พาร์เนีย (Sam Parnia) จาก NYU Langone Health กล่าวว่า การพุ่งสูงขึ้นอย่างฉับพลันของคลื่นแกมมาอาจจะเกิดขึ้นได้ขณะที่กำลังเสียชีวิต เนื่องจากระดับออกซิเจนที่ลดลง ทำให้ระบบเบรกตามธรรมชาติของสมองที่ทำงานเหมือนกับเบรคเกอร์ไฟฟ้าในบ้านหยุดทำงาน จึงเกิดเหมือนกับไฟกระชากไปชั่วขณะ
การค้นพบในครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญไปสู่การรับรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต
📌 อ่านต่อ www.thaipbs.or.th/news/content/328030
--------------------------
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ

Creative Science Project Ideas ✨✨✨Online Learning...🌈“ตอน :: เมลิคคิดส์..ทดลองวิทย์.. ::  #เสกโคลนเป็นของแข็งจากแป้งข้าว...
18/04/2023

Creative Science Project Ideas ✨✨✨
Online Learning...🌈
“ตอน :: เมลิคคิดส์..ทดลองวิทย์.. :: #เสกโคลนเป็นของแข็งจากแป้งข้าวโพด...”
………………………………………………………………………
น่าทึ่งมาก💯เสกโคลนเป็นของแข็งจากแป้งข้าวโพด ว่าด้วยเรื่องความหนืดและความดัน (viscosity and pressure)💦
อุปกรณ์ที่ใช้ (used equipment)
🔸แป้งข้าวโพด
🔸น้ำ
🔸สีผสมอาหาร1สี (Food coloring 1 color)
🔸ถ้วยผสม
🔸ช้อน
………………………………………………………………………
🌈ความรู้รอบตัว🌈
✅น้ำเปล่า หรือของเหลวที่มีลักษณะแบบนี้มีชื่อว่า Newtonian fluid (ของไหลแบบนิวโตเนียน)
✅ส่วนสิ่งที่ไม่ได้ไหลแบบนิวโตเนียน เรียกว่า Non-Newtonian fluid นอนนิวโตเนียน ค่ะ คือจะมีพฤติกรรมแปลกๆ ไม่ได้ไหลโจ๊กๆแบบน้ำเปล่า
✅Oobleck หรืออูเบล็ค มันไม่ใช่ของเหลวหรือของแข็งทั่วไป มันเปลี่ยนคุณสมบัติของมันตามแรงกดดัน
✅Oobleck หรืออูเบล็ค นั้นผสมเล่นเองง่าย แถมสนุก เพราะจะเป็นก้อนโคลนนิ่มๆ หรือเป็นก้อนแข็ง ก็แล้วแต่แรงที่มากระทำ ไม่ใช่ของเหลวทั่วไปเหมือนน้ำหรือแอลกอฮอล์ที่มีความหนืดคงที่ แต่ Oobleck เป็น non-Newtonian fluid เวลาถือไว้ในมือก็นิ่มเหลวเหมือนโคลน แต่ถ้ามีแรงกระแทกเข้าไปแรงๆ จะกลายเป็นของแข็งขึ้นมา ชื่อ Oobleck
✅ส่วนผสมของแป้งข้าวโพดกับน้ำจะสร้างของเหลวที่ทำหน้าที่เหมือนทรายดูดมากกว่าน้ำ ทำไมเวลาเราต่อยหรือบีบมันรู้สึกแข็ง? เพียงเพราะ Oobleck มีพฤติกรรมเหมือนของแข็งเมื่อใช้แรงเร็วหรือแรงกด นั่นเป็นเพราะแรงดันบังคับให้อนุภาคทั้งหมดของแป้งข้าวโพดมารวมกันและมีลักษณะเหมือนของแข็ง ในทางกลับกัน เมื่อคุณค่อยๆ เลื่อนนิ้วผ่านแป้งข้าวโพดและน้ำ มันทำหน้าที่เหมือนของเหลวเพราะแน่นอนว่าเราไม่ได้ใช้ความเร็วหรือการกดดันมันเลย มันเลยสามารถผ่านลงไปได้ สรุปแล้วทั้งหมดนี้เกี่ยวกับความหนืดและความดัน
………………………………………………………………………
🌈สรุปผลการทดลองเพื่อเรียนรู้ว่า🌈
✅ของเหลวบางอย่างคนๆไป ยิ่งคนนานก็ยิ่งหนืดน้อยลง เช่นโยเกิร์ต หรือโคลนเคมีที่ช่วยในการขุดเจาะ
✅บางอย่างออกแรงปุ้งเดียว หายหนืดเลย เช่นซอสมะเขือเทศ (ตบก้นขวดแรงๆ ปุ้งเดียว ออกมาเลย)
✅บางอย่างออกแรงเยอะหรือคนแล้วมันจะหนืดจนแทบจะเป็นของแข็งเลย เช่นแป้งข้าวโพดผสมน้ำแบบนี้ หรือไม่ก็ทรายดูด ดังนั้นเวลาเราเจอทรายดูด พอดิ้นแรงๆแล้วจะขยับไม่ออกค่ะ ทรายดูดจะล็อกตัวเราไว้เลย เวลาเจอทรายดูดจึงต้องเคลื่อนไหว ช้า.. ช้า..นะคะ
✅แป้งข้าวโพด ถ้าโดนแรงมากระทำ จะหนืด จนกระทั่งแข็งตัวได้เลย
✅สุดยอดมากๆ เมลิคชอบการทดลองนี้มาก ขอบคุณคุณครู👩‍🏫ที่จัดหากิจกรรมดีๆมาให้เด็กๆได้เรียนรู้ Amazing. Melik really enjoyed this experiment. Thank you teachers Lyrah Marey for providing good activities for children to learn.
•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
Creative Science ✨
ดูไอเดียย้อนหลัง 👇👇👇กดลิงค์ด้านล่างได้เลยนะคะ
https://www.facebook.com/melikkids/posts/1175280456291170
…………………………………………………………………….
#ถอดแบบความสำเร็จฟอร์คิดส์™ ™
”สร้างสมองผ่านนิ้วมือทั้งสิบ” เมื่อสัมผัสจะเกิดการเรียนรู้...ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงด้านชีวภาพ การเชื่อมต่อของ Neurons(เซลล์ประสาท)ชุดใหม่เกิดขึ้น ทุกเมื่อ ทำทุกวันไม่ว่าเรื่องอะไรคนๆนั้นจะเก่งและชำนาญในเรื่องนั้นๆอย่างแน่นอน 100%
…………………………………………………………………….
™ #คลับของเด็กชอบวิทย์ #การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่21 ับของเด็กชอบวิทย์™
#เมลิคคิดส์ทดลองวิทย์ #กิจกรรมสำหรับเด็ก
#แม่และเด็ก #เรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัว #เที่ยวพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) #วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

ดู ติดตาม และค้นพบเนื้อหาที่กำลังติดเทรนด์เพิ่มเติม

วิธีทําสไลม์ ง่ายๆ นุ่ม เนียน ยืด ด้วยกาวขุ่น ( How to make soft, smooth, stretchy slime )
13/04/2023

วิธีทําสไลม์ ง่ายๆ นุ่ม เนียน ยืด ด้วยกาวขุ่น ( How to make soft, smooth, stretchy slime )

วิธีทำสไลม์แบบง่าย ๆ พ่อจ๋าแม่จ๋าชวนลูกมา DIY กันเถอะส่วนผสมดังนี้1.กาวTOA 1ขวดเล็ก2.น้ำร้อน 2 ช้อน3.สบู่เหลวเช่นบ...

ที่อยู่

Bangkok
10400

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Melik Kids Club คลับของเด็กชอบวิทย์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Melik Kids Club คลับของเด็กชอบวิทย์:

แชร์