“ทำอย่างไร ? การสื่อสารออนไลน์จึงมีบทบาทในการขับเคลื่อนทางสังคม”
🔔 ประมวลภาพสัมมนาประจำปี MEDIA ALERT “ทำอย่างไร ? การสื่อสารออนไลน์จึงมีบทบาทในการขับเคลื่อนทางสังคม” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา
.
💭จัดขึ้นเพื่อรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะจากวิทยากรทุกท่านต่อผลการศึกษาการสื่อสารทางออนไลน์ของสังคมไทยตลอดปี 2566 โดย Media Alert กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย)
📝ซึ่งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในวันนี้ ไปใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ และเพื่อให้การสื่อสารออนไลน์ มีบทบาทสำคัญในการสร้างพลเมืองเพื่อร่วมขับเคลื่อนทางสังคม
#MediaAlert #สะท้อนสื่อสะท้อนสังคม
#กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ #สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแ
ทำอย่างไร ? การสื่อสารออนไลน์จึงมีบทบาทในการขับเคลื่อนทางสังคม
🔔 Media Alert โดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ Wisesight ประเทศไทย วิเคราะห์การสื่อสารออนไลน์ของสังคมไทยในปี 2566 โดยใช้เครื่องมือ ZocialEye สำรวจใน 5 แพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ Facebook, X, Instagram, YouTube และ TikTok
.
🗓️ พบ ปี 2566 โลกออนไลน์ให้ความสนใจในประเด็นทางการเมืองมากถึง 9 ใน 10 อันดับ เพราะมีเหตุการณ์สำคัญ คือ การเลือกตั้งทั่วไป และ การจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้ง และข้อค้นพบที่น่าสนใจอีกมากมาย ในสรุปผลการศึกษา “ทำอย่างไร ? การสื่อสารออนไลน์จึงมีบทบาทในการขับเคลื่อนทางสังคม”
.
#MediaAlert #สะท้อนสื่อสะท้อนสังคม
#กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ #สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
‘ภารกิจสำคัญของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คือ ส่งเสริมและสนับสนุน ตลอดจนการสร้างการมีส่วนร่วมของสังคม ให้มีการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเชื่อมร้อยภาคีเครือข่าย และกลไกตรวจสอบข่าวปลอมจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยเห็นควรให้มีการดำเนินโครงการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาคีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม’
ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
.
ประมวลภาพเสวนาวิชาการ และแถลงความร่วมมือเพื่อบูรณาการ และเสริมพลังการทำงานของเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริง
(Thai Fact - Checking Network) ในวันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา
.
#MediaAlert #สะท้อนสื่อสะท้อนสังคม
#กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ #สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแ
การสื่อสารออนไลน์ของสังคมไทยในปี 65
📣 ประเด็นไหนคือสิ่งที่สังคมไทยสนใจสื่อสารในโลกออนไลน์มากที่สุด?
.
🔔 Media Alert ร่วมกับ Wisesight ประเทศไทย สำรวจการสื่อสารออนไลน์ ตลอดปี 2565 พบ “คดีแตงโม นิดา” เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจและมีการสื่อสาร ด้วยยอดเอนเกจเมนต์สูงสุด ในขณะที่กลุ่มเนื้อหาที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในโลกออนไลน์ คือกลุ่ม “อาชญากรรม และอุบัติเหตุ”
.
#MediaAlert #สะท้อนสื่อสะท้อนสังคม
#กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ #สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
สังคมได้อะไร จากข่าวโทรทัศน์
🔔 Media Alert โดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดผลการศึกษา "การสำรวจข่าวช่วงเย็น-ค่ำทีวีดิจิทัลของไทย ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม-กันยายน ปี 2565" โดย เลือกศึกษาจากรายการข่าวที่ออกอากาศช่วงเย็น-ค่ำ ทางทีวีดิจิทัลจำนวน 14 ช่อง
.
📌 พบสัดส่วนกลุ่มเนื้อหาข่าวและประเด็นข่าวเร้าอารมณ์ กระตุ้นความสนใจ ร้อยละ 72.66 และประเด็นสาธารณะ ร้อยละ 27.34
.
#MediaAlert #สะท้อนสื่อสะท้อนสังคม
#กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ #สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
วิเคราะห์การสื่อสารออนไลน์ ในกรณีคดีผู้กำกับโจ้
"วิเคราะห์การสื่อสารออนไลน์ ในกรณีคดีผู้กำกับโจ้"
.
วันที่ 8 มิถุนายน 2565 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง จะแถลงคำพิพากษา “คดีอดีตผกก.โจ้กับลูกน้องใช้ถุงดำคลุมศีรษะผู้ต้องหาคดียาเสพติดจนเสียชีวิต” ต้นมีนาคม 2565 มีข่าวอดีตผกก.โจ้คัดค้านการให้คนนอกเข้าฟังการพิจารณาคดี ด้วยเหตุผลเป็นเพียงคดีทำร้ายร่างกาย ช่วงกลางเดือนจึงเกิดแคมเปญทาง change.org “การพิจารณาคดีนัดสุดท้าย #โจ้ถุงดำ ต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย ร่วมค้านพิจารณาคดีแบบปิดลับ” สะท้อนว่าสังคมยังคงให้ความสนใจในคดีนี้
.
รศ. พ.ต.ท. ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย มหาวิทยาลัยรังสิต วิเคราะห์ผลการศึกษาความคิดเห็น ความรู้สึก ของสังคมทางออนไลน์ต่อข่าว “คลิปตำรวจซ้อมผู้ต้องหา : กรณีศึกษาผู้กำกับโจ้” ของ Media Alert พร้อมข้อเสนอแนะต่
"วิกฤตการสื่อสารของสังคม กรณีคลัสเตอร์ทองหล่อชนวนระบาดโควิด-19"
"จากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของข้อมูลข่าวสาร และการแพร่ระบาดของ Omicron โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ทั่วโลกกำลังจับตาอยู่ในขณะนี้"
.
รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานการณ์ภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน ที่ให้ความเห็นต่อผลการศึกษาของ Media Alert* โดยวิเคราะห์ประเด็นการสื่อสารที่สำคัญจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา
.
มาร่วมกันสะท้อนบทเรียนจากการแพร่ระบาดที่เคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นปี เพื่อตั้งรับกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นใหม่ และการสื่อสารในสภาวะวิกฤติที่มีประสิทธิภาพจากทุกภาคส่วน
.
*ผลการศึกษาเรื่อง “Trends and Tweets: ความสนใจ ความคิดเห็นและอารมณ์ในโลกออนไลน์” ซึ่งมีการศึกษาการแสดงความเห็นจากข้อความทางทวิตเตอร์ ในประเด็น “วิกฤตการสื่อสาร
การนำเสนอและการโปรโมท “ฉากเลิฟซีน” ในละครโทรทัศน์ไทย
📌#MA_Focus🔍
ต่อเนื่องจากผลการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์และความรุนแรงทางเพศในละครโทรทัศน์ ของ Media Alert
ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ แห่งสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยด้านวัฒนธรรมและนวัตกรรมของสื่อ/อุตสาหกรรมสื่อในภูมิภาคเอเชีย วิเคราะห์ “การนำเสนอและการโปรโมท “ฉากเลิฟซีน” ในละครโทรทัศน์ไทย” 📺
“ถ้าจะเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ต้องมีการเปลี่ยนแปลง “ฉากรักแรง” ในละครโทรทัศน์ไทย”
📌🛎#MA_Focus 🔍
ช่วง MA Focus พบกับ ดร. ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ แห่งสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยด้านวัฒนธรรมและนวัตกรรมของสื่อ/อุตสาหกรรมสื่อในภูมิภาคเอเชีย แสดงความเห็นต่อผลการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์และความรุนแรงทางเพศในละครโทรทัศน์ ของ Media Alert ว่า “ถ้าจะเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ต้องมีการเปลี่ยนแปลง “ฉากรักแรง” ในละครโทรทัศน์ไทย” 📺
ข้อเสนอแนะต่อการผลิต ละครโทรทัศน์ ที่มี plot “ตบ..จูบ..กระทำรุนแรง แล้วก็..รักกัน”
🛎📌#MA_Focus🔍
.
ดร.รัชดา ไชยคุปต์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิสตรี มอบข้อเสนอแนะต่อการผลิต ละครโทรทัศน์ ที่มี plot “ตบ..จูบ..กระทำรุนแรง แล้วก็..รักกัน” ควรปรับการนำเสนอให้เข้ากับ บริบทของยุคสมัย 📄
บทบาทของละคร และการสอดแทรกวิธีคิดอย่างมีเหตุผล (Critical Thinking)
#MA_Focus 🛎🔍
📌มาฟัง ดร.รัชดา ไชยคุปต์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอแง่คิด/คำแนะนำถึงบทบาทของละคร และการสอดแทรกวิธีคิดอย่างมีเหตุผล (Critical Thinking) ต่อเนื่องจากผลการศึกษา เรื่อง ความสัมพันธ์และความรุนแรงทางเพศในละครโทรทัศน์ ของ Media Alert ที่มีข้อเสนอแนะต่อผู้ผลิตละคร/ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม
.
เช่น ให้หลีกเลี่ยงการผลิตซ้ำเนื้อหาทางเพศที่เป็นการย้ำทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อความรุนแรงทางเพศ หลีกเลี่ยงการเพิ่ม ขยาย เวลาและวิธีการนำเสนอ รวมทั้งการตอกย้ำ การเสนอซ้ำ สอดแทรกแง่คิดเชิงชี้แนะ เกี่ยวกับสาเหตุ ผลลัพธ์ และการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางเพศ การสร้างเสริมสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศในเนื้อเรื่อง
.
.
📝อ่านรายงานผลการศึกษา เรื่อง ความสัมพันธ์และความรุนแรงทางเพศในละครโทรทัศน์ ของ Media Alert ได
“วันทอง 2021” กับการส่งเสริมสิทธิสตรี”