Affluent Times เศรษฐกิจ-ธุรกิจ-ลงทุน-ไลฟ์สไตล์
ให้ทุกเรื่องเป็นโอกาส สร้างความมั่งคั่งให้คุณ กับ Affluent Times

สาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต หรือ MTL กล่าวว่า ปี 2565 นี้ธุรกิจประกันชีวิตยังเจอปัจจัยเส...
31/01/2022

สาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต หรือ MTL กล่าวว่า ปี 2565 นี้ธุรกิจประกันชีวิตยังเจอปัจจัยเสี่ยง และความท้าทายในหลายด้าน แต่ยังตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะมีเบี้ยประกันภัยรับใหม่โตกว่า 10% อัตราใกล้เคียงกับปี 2564 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้กลยุทธ์หลักจะมุ่งขยายฐานผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง (Health & CI) และแบบประกันชีวิตควบการลงทุน (Investment Portion เช่น Unit Link ฯลฯ) ซึ่งปี 2564 ที่ผ่านมาทางบริษัทฯ มีสัดส่วน Health&CI ที่ 31% และมีสัดส่วนการขายประกันฯ แบบคุ้มครองชีวิตและ แบบลงทุนกว่า 77%
อย่างไรก็ตามในส่วนของกำไรบริษัทจากปี 2564 ที่อยู่ราว 7,000 ล้านบาท ยังตั้งเป้าหมายกว่าปี 2565 นี้จะขยายตัวมากกว่าเดิมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจเมืองไทยจะขยายธุรกิจผ่าน 4 บริษัทภายใต้ บริษัท เมืองไทย กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด ได้แก่
- ธุรกิจประกันชีวิตผ่าน MTL
- บริษัท เมืองไทย โบรกเกอร์ จำกัด ภายใต้แบรนด์ Gettgo ที่จะเป็นนายหน้าขายทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
- Fuchsia Venture Capital ที่จะลงทุนในธุรกิจด้านอื่นๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจประกันฯ เช่น การลงทุนใน Food tech, Health tech ฯลฯ
- aigen หรือ บริษัท ไอเจ็น จำกัด ที่จะให้บริการโซลูชั่นต่างๆ ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) มาใช้
นอกจากนี้ยังเดินหน้าขยายธุรกิจประกันชีวิตในอาเซียนผ่านการร่วมทุนกับบริษัทในท้องถิ่น เช่น กัมพูชา, เมียนมา, สปป.ลาว , เวียนนาม โดยเริ่มต้นเข้าไปขยายธุรกิจในกัมพูชาตั้งแต่ปี 2558 และขยายในหลายประเทศมาถึงปัจจุบัน

(และศึกษาโอกาสจะขยายในประเทศอื่นๆ เพราะเกณฑ์ของ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดกว้างให้แล้ว)
สุดท้ายนี้ในสถานการณ์โควิด-19 และความไม่แน่นอนทางบริษัทฯ ยังมีความเพียงพอของเงินกองทุนอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งโดยสะท้อนจากอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนสูงกว่า 300% ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งสูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่ 120%
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

หลายคนอาจเคยได้ยินว่า ราคาก๋วยเตี๋ยววันนี้แพงกว่าสมัยก่อนหลายเท่า เพราะ “เงินเฟ้อ” เพิ่มขึ้นทุกปี แต่อะไรคือเงินเฟ้อ และ...
31/01/2022

หลายคนอาจเคยได้ยินว่า ราคาก๋วยเตี๋ยววันนี้แพงกว่าสมัยก่อนหลายเท่า เพราะ “เงินเฟ้อ” เพิ่มขึ้นทุกปี แต่อะไรคือเงินเฟ้อ และเรื่องนี้มาเกี่ยวข้องกับชีวิตเราได้อย่างไร ?
#เงินเฟ้อคืออะไร?
เงินเฟ้อ (Inflation) คือ การวัดว่าราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเท่าไรเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งโดยทั่วไป ‘อัตราเงินเฟ้อ’ ที่เราเห็นตามข่าวจะเปรียบเทียบจาก ราคาของวันนี้และราคาเมื่อ 1 ปีก่อนหน้า เช่น กรณีที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% จากราคาข้าวปีที่แล้วอยู่ที่ 100 บาทต่อถุงวันนี้จะอยู่ที่ 103 บาทเป็นต้น (ข้อมูลจากธปท.)
และเป็นปกติที่เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ประเทศไทยโดยเฉลี่ยแล้วอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ราว 1-2%
แต่ถ้าพูดถึง ‘ตัวแปร’ สำคัญของเงินเฟ้อ มี 3 อย่าง
ผู้ขาย ผู้ซื้อ และเงินในระบบเศรษฐกิจ เช่น
- เงินเฟ้อกับผู้ขาย หากเกิดปัจจัยที่กระทบต่อต้นทุนในการผลิตให้เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้น เช่น ราคาน้ำมันสูงขึ้นค่าขนส่งเพิ่ม เกิดโรคระบาดในสัตว์ของไม่พอขาย ฯลฯ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ก็ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
- เงินเฟ้อกับผู้ซื้อ เช่นเมื่อคนต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (Demand-Pull Inflation) แต่สินค้าและบริการจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็ทำให้ราคาดีดตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
และผลจากฝั่งผู้ขาย และผู้ซื้อก็ทำให้ส่งผลต่อเงินในระบบเศรษฐกิจด้วย
#เงินเฟ้อเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?
เงินเฟ้อเกี่ยวข้องกับปากท้องของเราโดยตรง ไม่ว่าจะในฐานะผู้ซื้อ เช่น ซื้ออาหาร หรือเป็นผู้ขาย ที่เป็นคนขายสินค้าต่างๆ
แต่รู้หรือไม่ว่า เงินเฟ้อไม่ได้เป็นเรื่องด้านลบเสมอไป เพราะหากเกิด ‘สภาวะเงินเฟ้ออ่อน (Soft on Inflation)’ จะดีต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศ เพราะเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นเล็กน้อย ผู้ประกอบการก็จะได้กำไรมากขึ้น และจะลงทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากเห็นผลตอบแทน การจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้น
และเมื่อคนได้รับค่าจ้าง ก็จะนำเงินหมุนกลับมาใช้จ่ายสินค้า ดังนั้น เงินเฟ้ออ่อนๆ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีกว่า
ทว่าหากเกิด ‘สภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation)’ สินค้าจะแพงขึ้นมาก ค่าของเงินจะลดลง ทำให้คนซื้อของได้น้อยลง ผู้ประกอบการขาดรายได้ ไม่มีการลงทุนเพิ่ม ไปจนถึงการ lay-off พนักงานออกในที่สุด (ย่อมกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจ)
#ถ้าเงินไม่เฟ้อแต่ฝืดจะกระทบอย่างไร
สภาวะตรงข้ามกับเงินเฟ้อ ก็คือ‘เงินฝืด (Deflation)’ ซึ่งเกิดจากการที่คนเก็บเงินไว้กับตัวเอง ไม่ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้า ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องลดราคาลง ทำให้ได้กำไรลดลง จนถึงขั้นขาดทุน และจะลดการลงทุน ไปจนถึงเลิกกิจการ
เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นในช่วงหลังสงคราม ที่ระบบเศรษฐกิจถูกทำลาย สินค้าขาดแคลน (โดนระเบิดและโดนเผาหมด) ข้าวยากหมากแพง และปัญหาโจรขโมยชุกชุม (ตกงาน ไม่มีตลาดงาน) ผู้คนจึงเลือกถือเงินไว้กับตัว (เช่น ฝังโอ่งฝังไหไว้ใต้ดิน) มากกว่าจะลงทุนหรือซื้อสินค้า เมื่อขาดทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ก็จะทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจลดลงตามไปด้วย
#เงินเฟ้อกับระบบเศรษฐกิจ
ปัจจุบันทั่วโลกหันมาใช้นโยบายการดูแลเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น ‘รัฐ’ จะมีบทบาทหลักเป็นผู้วิเคราะห์ วางแผน กำกับแนวทาง หรือแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของระบบเศรษฐกิจในประเทศนั้น ๆ ว่าจะเป็นไปในทิศทางอย่างไร
ในส่วนของไทย จะมี 2 หน่วยงานที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ
1. กระทรวงพาณิชย์ จะดูแลเรื่องราคาสินค้าและบริการ ทั้งกรณีไม่ให้คนตั้งราคาสูงเกินไป หรือตรึงราคาในวันที่ของขาดตลาด (ระยะสั้น)
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลด้านนโยบายการเงิน ผ่าน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ไทยเกิดปัญหาเงินเฟ้ออย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เช่น กรณี ‘เนื้อหมูแพง’ แม้ส่วนหนึ่งจะเกิดจากโรคระบาด (ที่รัฐปิดข่าว) แต่ราคาอาหารสดอื่นๆ กลับแพงขึ้นเช่นกัน
ทว่าทางออกของรัฐ อย่างที่เห็นตามข่าวสาร คือ การแนะนำให้ทานอาหารสดอย่างอื่นแทน หรือจัดมหกรรมลดราคาหมูในบางจุด (ประชาชาติธุรกิจรายงานว่า 667 จุดทั่วประเทศ) แม้ว่าจะมีการตรึงราคาเนื้อหมูเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่กลับยังไม่เห็นการแก้ปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม
สุดท้ายปัญหาเนื้อหมูแพง และเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะคนที่เจอปัญหารายได้ลดลงจากสถานการณ์ โควิด-19
และกรณีเงินเฟ้อ ที่แม้ตัวเลขจะไม่สูงขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ แต่ชีวิตคนไทย และคนส่วนใหญ่ที่เจอผลกระทบอาจเป็นบทพิสูจน์ถึงความสามารถในการบริหารงานของรัฐบาลนี้ได้อย่างชัดเจน
ที่มา
-https://www.bot.or.th/App/FinancialLiteracy/ExchangeRate/01_01_contentdownload_inflation.pdf
-https://www.investopedia.com/ask/answers/040715/were-there-any-periods-major-deflation-us-history.asp -deflation-in-the-19th-century
-https://www.bis.org/publ/work186.pdf
- https://www.prachachat.net/economy/news-833208
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

กระแสรักษ์โลกเกิดขึ้นมาหลายปี โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมา นโยบายรัฐและภาคธุรกิจทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจประเด็นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ไ...
29/01/2022

กระแสรักษ์โลกเกิดขึ้นมาหลายปี โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมา นโยบายรัฐและภาคธุรกิจทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจประเด็นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เว้นแม้แต่ 'Jeff Bezos' มหาเศรษฐีคนดังของสหรัฐ​ ที่ออกมาพูดเรื่องนี้ด้วย
"เมื่อคุณไปบนอวกาศ และมองลงมาเห็นว่าโลกมันเปราะบางแค่ไหน แล้วคุณจะอยากดูแลรักษามันมากขึ้น"
แน่นอนว่า Jeff กล่าวหลังจากทริปท่องอวกาศของ Blue Origin บริษัทของเขาเองที่กำลังทำเรื่องการท่องอวกาศเชิงพาณิชย์...
ชมคลิปเกี่ยวกับ Jeff ได้ที่นี่
https://www.youtube.com/watch?v=we2eKdcCvQQ
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook : https://bit.ly/2VcGqai
YouTube : https://bit.ly/3qMWCMZ

(28 ม.ค. 65) กลางเดือนม.ค. ปีนี้กระแสร้อนที่หลายคนจับตามองคือ การเก็บคริปโตฯ​ ที่หลายคนมองว่าไม่เหมาะสม เช่น ภาษีหัก ณ ท...
28/01/2022

(28 ม.ค. 65) กลางเดือนม.ค. ปีนี้กระแสร้อนที่หลายคนจับตามองคือ การเก็บคริปโตฯ​ ที่หลายคนมองว่าไม่เหมาะสม เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% หรือคิดภาษีตามกำไรในแต่ละครั้งโดยไม่หักส่วนขาดทุน ฯลฯ
ล่าสุดกรมสรรพากร ออกมาแถลงข่าวสรุปแนวทางการเก็บภาษีคริปโตฯ​ แล้ว หลังการหารือกับหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ, ภาคเอกชน, ก.ล.ต., ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัล ฯลฯ
แต่รายละเอียดข้อสรุปใหม่ต่างจากกฎหมายที่ออกมาเมื่อปี 2562 อย่างไร
Affluent Times สรุปไว้ในภาพเดียวแล้ว
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า  สถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้ม...
28/01/2022

ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า สถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าปี 2564 โดยมีแรงหนุนจากการส่งออกและการทยอยฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐยังเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
แม้เศรษฐกิจภาพรวมจะยังเผชิญความไม่แน่นอนหลายประการ จากการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน รวมถึงการปรับขึ้นของเงินเฟ้อ ภายใต้ทิศทางเศรษฐกิจและปัจจัยความท้าทายดังกล่าว ธนาคารกสิกรไทยได้ประกาศเป้าหมายทางการเงินปี 2565 ดังนี้
- การเติบโตของเงินให้สินเชื่อ (Loan Growth) ที่ 6-8% แบ่งเป็น สินเชื่อลูกค้าบุคคลคาดว่าจะเติบโต 9-11% สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีคาดว่าจะเติบโต 4-6% และสินเชื่อบรรษัทธุรกิจคาดว่าจะเติบโต 1-3%
- ผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) ที่ 3.15-3.30% สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย
- เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ คาดว่าจะอยู่ที่ 3.7-4.0% เนื่องจากโควิด 19 กระทบต่อคุณภาพหนี้
ทั้งนี้ในส่วนของรายได้คาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิจะคงที่ ส่วนหนึ่งเพราะฐานสูงในปี 2564 ที่ผ่านมา ขณะที่ Credit Cost คาดว่าจะอยู่ในระดับไม่เกิน 160 bps โดยธนาคารยังคงใช้หลักความระมัดระวังและนโยบายทางการเงินที่รอบคอบในการพิจารณาสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ขณะเดียวกันตั้งเป้าพัฒนาบริการในทุกด้าน เช่นการชำระเงิน การปล่อยสินเชื่อ ธุรกิจประกันภัยในกลุ่มลูกค้าใหม่ รวมถึงธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลยิ่งขึ้น ผ่านจัดตั้ง บริษัท คิวบิกซ์ ดิจิทัล แอสเสท จำกัด (Kubix) เพื่อให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ในตลาดแรกผ่านบล็อกเชน
นอกจากนี้ยังมุ่งเจาะตลาดและขยายการเติบโตทางธุรกิจในประเทศภูมิภาค AEC+3 ผ่านการขยายสินเชื่อให้กับลูกค้าธุรกิจ โดยตั้งเป้าหมายภายในปี 2566 จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ของธุรกิจในต่างประเทศเป็น 5% ของรายได้ธนาคาร
สุดท้ายนี้ธนาคารฯ ยังเดินหน้าโครงการ Transformation ทั้ง 8 โครงการอย่างต่อเนื่อง เช่น การร่วมกับพันธมิตรสร้าง Ecosystem ในทุกช่องทาง, Intelligent Lending, การบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ และแนวทางการป้องกันในเชิงรุก ฯลฯ
อย่างไรก็ตามจากกระแสความยั่งยืนที่เกิดขึ้น ธนาคารปรับกลยุทธ์ให้ภารกิจตามความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) ด้วย
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

ปีที่ผ่านมาการระบาดโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด ยิ่งทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัว มีทั้งบริษัทที่ปิดกิจการ และจดตั้งบริษัทใหม่ แต่...
28/01/2022

ปีที่ผ่านมาการระบาดโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด ยิ่งทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัว มีทั้งบริษัทที่ปิดกิจการ และจดตั้งบริษัทใหม่
แต่ถ้าย้อนดู 10 ปีที่ผ่านมา (2554-2564) ภาคธุรกิจไทยจดตั้งบริษัทฯ - เลิกกิจการไปมากแค่ไหน?
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

ช่วงที่เกิดการระบาดโควิด-19 อย่างรุนแรง ในไทยก็เกิดประกันโควิด-19 มาหลากหลายรูปแบบซึ่งถือว่าเป็นแบบประกันที่ใหม่ และออกม...
27/01/2022

ช่วงที่เกิดการระบาดโควิด-19 อย่างรุนแรง ในไทยก็เกิดประกันโควิด-19 มาหลากหลายรูปแบบซึ่งถือว่าเป็นแบบประกันที่ใหม่ และออกมาเร็วกว่าประเทศอื่นๆ
ในปี 2563-2564 ที่ผ่านมาไทยมีกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 กว่า 44 ล้านกรมธรรม์
ทว่าหลายคนอาจจะเห็นข่าวคราว การสั่ง ‘หยุดรับประกันฯ’​ ไปจนถึงการ ‘เลิกบริษัท’
ล่าสุดยังมีข่าวกรณี บมจ. อาคเนย์ประกันภัย บริษัทในเครือเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่มีมติเลิกธุรกิจประกันวินาศภัย
ทว่าหน่วยงานผู้กำกับอย่าง คปภ. ที่ออกมาบอกว่า “เรื่องยังอยู่ระหว่างดำเนินการ”
สรุปแล้วมีกี่บริษัทฯ ที่เจอพิษโควิด-19 จนถูกถอนใบอนุญาต หรือเลือกจะยุติกิจการประกันของตนลง
1. ปัจจุบันมี 2 บริษัทที่ถูกคลังสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย (ทำธุรกิจไม่ได้เสมือนปิดกิจการ) ได้แก่
- บมจ. เอเชียประกันภัย 1950 (คำสั่งเมื่อ 15 ต.ค. 64)
- บมจ. เดอะ วันประกันภัย (คำสั่งเมื่อ 13 ธ.ค. 64)
ซึ่งทั้งลูกค้า ผู้เอาประกันภัย สินทรัพย์ของทั้ง 2 บริษัทฯ จะถูกส่งต่อไปที่ กองทุนประกันวินาศภัยไทย เป็นผู้ชำระบัญชี เช่น จะคืนเบี้ยส่วนที่เหลือ, จ่ายเคลมค่าสินไหมทดแทนให้ลูกค้า ฯลฯ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องกองทุนประกันวินาศภัย ที่รับช่วงต่อดูแลบริษัทฯ ที่ถูกถอนใบอนุญาตที่นี่
https://www.tgia.org/The-One-Help.pdf
สาเหตุที่ กระทรวงการคลัง ต้องสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ก็เพราะมองว่า สภาพคล่องของทั้ง 2 บริษัทมีไม่เพียงพอในการจ่ายค่าสินไหม และฯลฯ ให้แก่ประชาชน
ในช่วงแรกจึงสั่ง หยุดรับประกัน เพื่อให้บริษัทแก้ปัญหาเช่น หาเงินทุนเพิ่ม ฯลฯ
2. กรณีบมจ. อาคเนย์ประกันภัย เป็นบริษัทที่อยู่ใน เครือไทย โฮลดิ้งส์ (TGH) บริษัทในเครือเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี
เมื่อ 26 ม.ค. 65 บริษัทฯ ประกาศมติที่ประชุมว่า ‘จะเลิกทำธุรกิจประกันวินาศภัย’ ของบมจ.อาคเนย์ประกันภัย อย่างสมัครใจโดยจะคืนใบอนุญาตกรทำธุรกิจประกันวินาศภัยให้คปภ.
คืนเดียวกันนั้นคปภ. (คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ออกข่าวมาว่า แม้อาคเนย์จะมีมติเลิกทำธุรกิจ และจะคืนใบอนุญาตฯ แต่ยังไม่มีผลในทันที กรมธรรมของลูกค้า และคู่ค้ายังทำธุรกิจตามปกติ
และช่วงเที่ยง 27 ม.ค.65 อาคเนย์ฯ ก็ออกมาชี้แจงในทำนองเดียวกับคปภ. โดยระบุว่า ในวันที่ 28 ม.ค. 65 จะยื่นเสนอเรื่องการยุติธุรกิจฯ และคืนใบอนุญาตฯ ให้แก่ที่ประชุมคปภ.
3. กรณีการ “ฟ้องร้องคปภ.” จากการออกประกาศเกณฑ์เกี่ยวกับประกันฯ โควิด-19
ช่วงที่ผ่านมา คปภ. มีการออกประกาศเกี่ยวกับประกันโควิด-19 หลายครั้ง เช่น
- สั่งห้ามบริษัทประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 (คำสั่งนายทะเบียน 38/2564)
- มาตรการเสริมสภาพคล่องให้บริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทนโควิด-19
ทว่าจาก ข้อมูลจากประชาชาติธุรกิจ ระบุว่า เมื่อ 10 ม.ค. 64 บมจ.อาคเนย์ประกันภัย และบมจ. ไทยประกันภัย ซึ่งอยู่ในเครือเจ้าสัวเจริญ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง (คดีหมายเลขดำ 44/2565) โดยยื่นฟ้อง นายสุทธิพล ทวีชัยกาล เลขาธิการ คปภ. กรณีพิพาทที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้มีการขอศาลปกครองมีคำพิพากษา 2 ประเด็น 1) ให้เพิกถอนคำสั่งนายทะเบียน 38/2564 ที่ห้ามยกเลิกกรมธรรม์โควิด-19 และให้มีผลย้อนหลัง 2) ขอให้ศาลสั่งทุเลาการบังคับใช้ คำสั่งนายทะเบียน 38/2564 เป็นการขั่วคราว
เบื้องต้นทางเลขาธิการ คปภ. ระบุว่า ศาลสอบถามว่า การฟ้องอยู่ในระยะเวลาทางกฎหมายคือภายใน 90 วันหรือไม่ ซึ่งคปภ.ชี้ว่าออกคำสั่งเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 64
แต่ทางผู้ฟ้องอย่างอาคเนยฯ และไทยประกันฯ​ ระบุว่า จากคำสั่งนายทะเบียน 38/2564 คปภ. ต้องลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน ซึ่งลงเมื่อ 12 ต.ค. 64
ล่าสุดวันนี้มีบทความออกมาจากคปภ. (สายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ.) โดยระบุตัวอย่างการใช้กฎหมายการยกเลิกกรมธรรม์ประกันฯ ในต่างประเทศ ได้แก่
- บริษัทประกันภัยจะบอกเลิกได้ ต้องมีกฎหมายระบุไว้ชัดเจน อย่าง การบอกเลิกสัญญาประกันภัยด้วยเงื่อนไขทั่วไป แต่ต้องเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีส่วนผิด เช่น ฟินแลนด์ เยอรมัน ฯลฯ หากผู้เอาประกันให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่จ่ายเบี้ย เป็นต้น
ซึ่งตัวอย่างประเทศที่ มีการยกเลิกสัญญาด้วยสาเหตุอื่นๆ เช่น
- อาร์เจนตินา คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (ลูกค้าหรือบริษัทประกัน) อาจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ต้องระบุสาเหตุ แต่หากบริษัทประกันจะยกเลิก ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ซึ่งหากบริษัทฯ​จะยกเลิกเพราะความเสี่ยงที่สูงขึ้นต้องแจ้งภายใน 7 วัน
- ฝรั่งเศส ในกรณีที่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นระหว่างสัญญา บริษัทประกันฯ มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือเสนอเบี้ยประกันภัยใหม่ได้ เมื่อแจ้งตอนสิ้นสุดสัญญาหรือการต่ออายุสัญญา ดังนั้นบริษัทฯ จะเพิ่มเบี้ยหรอืไม่ทำสัญญาต่อก็ได้
อย่างไรก็ตามในส่วนของไทยกฎหมายประกันภัยไม่ได้บัญญัติเรื่องการบอกเลิกไว้ ในบทความของคปภ. อ้างว่าต้องยึดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ แทน
สุดท้ายนี้กรณีประกันโควิด-19 ทั้งบริษัทประกันฯ ลูกค้า และคปภ. จะเป็นอย่างไร ยังต้องติดตามกันต่อไป
ที่มา
- https://www.prachachat.net/finance/news-842550
- https://www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/92192
- https://www.oic.or.th/th/consumer/news/releases/92464
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

หลังจากเมื่อวานนี้หลัง บมจ.เครือไทย โฮลดิ้งส์ มีมติยกเลิกธุรกิจประกันวินาศภัย (บมจ.อาคเนย์ประกันภัย) และบางส่วนเข้าใจผิด...
27/01/2022

หลังจากเมื่อวานนี้หลัง บมจ.เครือไทย โฮลดิ้งส์ มีมติยกเลิกธุรกิจประกันวินาศภัย (บมจ.อาคเนย์ประกันภัย) และบางส่วนเข้าใจผิดว่า บมจ. อาคเนย์ประกันภัย จะหยุดรับประกันภัย หรือปิดบริษัทในทันที
แต่ที่จริงแล้วแม้ว่า อาคเนย์ประกันภัยฯ​จะมีมติเลิกธุรกิจประกัยวินาศภัย แต่ยังอยู่ระหว่างการ “ยื่นเรื่องเพื่อคืนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเท่านั้น”
ทำให้ด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกข่าวในช่วงสี่ทุ่มเมื่อวานนี้ (26 ม.ค. 65) ว่า
“บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการ ย้ำทุกกรมธรรม์ยังได้รับความคุ้มครอง”
ล่าสุด ทาง บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่า ปัจจุบันบริษัทฯ ยังดำเนินธุรกิจและให้บริการ รวมถึงความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยตามปกติ โดยมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะจ่ายค่าสินไหมให้กับลูกค้าและคู่ค้าทุกราย (ภายใต้เงินกองทุนฯ 170%)
ทั้งนี้มติที่ประชุมในวันก่อน คือ การดำเนินการใช้สิทธิขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยสมัครใจ และส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียน (คปภ.) ซึ่งมองว่าเป็นทางออกที่ผลกระทบต่อลูกค้า และผู้เกี่ยวข้องของบริษัทฯ ให้ได้รับเงินคืนทุกราย
“การตัดสินใจครั้งนี้ น่าจะเป็นการหาทางออกที่ดีที่สุด คือการยอมเลิกกิจการเพื่อให้ทุกคนได้เงินคืน”
อย่างไรก็ตามขั้นตอนขณะนี้ คือ การเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคปภ. ในวันที่ 28 ม.ค. 2565 นี้
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

เมื่อวานนี้กระทรวงการคลัง แบงก์ชาติ และก.ล.ต. ประกาศร่างเกณฑ์ใหม่เพื่อกำกับกรณี การใช้สินทรัพย์ดิจิทัล (รวมถึงคริปโตฯ) ใ...
26/01/2022

เมื่อวานนี้กระทรวงการคลัง แบงก์ชาติ และก.ล.ต. ประกาศร่างเกณฑ์ใหม่เพื่อกำกับกรณี การใช้สินทรัพย์ดิจิทัล (รวมถึงคริปโตฯ) ในการชำระค่าสินค้าและบริการ ใจความหลักๆ คือ ห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น ศูนย์ซื้อขายคริปโตฯ​ ในการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้จ่ายคริปโตฯ แทนเงิน ฯลฯ
แต่ร่างประกาศฯ นี้ยังไม่ใช่ ‘ฉบับสมบูรณ์’ เพราะทางการก็เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์
https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=776
ถึงวันที่ 8 ก.พ. 2565 นี้
แต่รายละเอียดก่อนที่เราจะไปให้ความคิดเห็นกับก.ล.ต. ร่างนี้ฯ เป็นอย่างไร
Affluent Times สรุปมาเป็นภาพไว้แล้ว
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลัง (กค.) หารือร่วม...
25/01/2022

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลัง (กค.) หารือร่วมกันในกรณีการกำกับดูแลและควบคุมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้หากมีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น คริปโตเคอเรนซี่แทน ‘เงิน’ ในวงกว้างอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวม เช่น
- ความเสี่ยงจากการสูญเสียมูลค่าที่เกิดจากความผันผวนของราคา
- ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล
- การถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 หน่วยงานมองว่า ในมิติการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลยังทำได้ตามปกติ (ในปัจจุบันซึ่งมีใบอนุญาตในไทยอยู่ 5 ประเภท)
ดังนั้นจึงออกร่างเกณฑ์การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล การดำเนินการเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมให้เกิดการใช้ ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ในการใช้จ่ายแทนค่าสินค้าและบริการ โดยมี 6 ข้อหลัก เช่น
1. ไม่โฆษณาเชิญชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมให้บริการแก่ร้านค้าที่รับสินทรัพย์ดิจิทัล
2. ไม่ทำระบบ หรือเครื่องมือ ที่ช่วยให้ร้านค้า รับชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลได้
3. ไม่ให้บริการ Wallet แก่ร้านค้าเพื่อรับชำระด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลได้
4. เมื่อผู้ซื้อขาย ‘ขายสินทรัพย์ดิจิทัล’ ต้องโอนเงินบาทเข้าบัญชีผู้ซื้อขายเท่านั้น
5. ไม่ให้บริการโอน สินทรัพย์ดิจิทัล จากบัญชีผู้ซื้อขายไปให้บัญชีบุคคลอื่นเพื่อ จ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการ
6. ไม่ดำเนินการลักษณะอื่นที่นอกเหนือจาก 1-5 เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมให้เกิดการใช้ สินทรัพย์ดิจิทัลในการชำระค่าสินค้าและบริการ
จากร่างฯ การกำกับดูแลนี้จะเปิดเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อสาธารณะ (Public Hearing) ตั้งแต่วันนี้ ถึง 8 ก.พ. 2565 และหลังการปรับแก้ร่างฯ ภายหลังการ Hearing เสร็จสิ้นรวมถึงเมื่อมีการประกาศใช้เกณฑ์การกำกับดูแลใหม่นี้ ส่วนผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัลต้องปรับตัวตามเกณฑ์ใหม่ภายใน 15 วัน
อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ใหม่นี้ ยังไม่รวมถึงกรณีผู้ประกอบการภาคธุรกิจที่เปิดรับคริปโตเคอเรนซี่จากลูกค้าในการชำระค่าสินค้าและบริการ หรือกรณีผู้ประกอบการที่ใช้ Token เพื่อการใช้จ่ายในเครือข่ายของตน เช่น ร้านกาแฟ ร้านชาบู JFincoin ฯลฯ แต่ในอนาคตอาจมีการออกกฎเพื่อกำกับดูแลในระยะต่อไป
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

‘คริปโตเคอเรนซี่’ ถือเป็นเรื่องใหม่ที่หลายคนสนใจ เพราะช่วงปีที่ผ่านมาราคา Bitcoin ทะยานสูงขึ้นต่อเนื่อง ทว่าในมิติการเก็...
25/01/2022

‘คริปโตเคอเรนซี่’ ถือเป็นเรื่องใหม่ที่หลายคนสนใจ เพราะช่วงปีที่ผ่านมาราคา Bitcoin ทะยานสูงขึ้นต่อเนื่อง ทว่าในมิติการเก็งกำไรคริปโตฯ ยังมีราคาขาลงที่รุนแรงเช่นกัน
ล่าสุด Bitcoin ราคาร่วงลงกว่า 30% (กลับมาเพิ่มขึ้นบางส่วนแล้ว)
ดังนั้นในด้านการลงทุน เป็นเรื่องธรรมดาที่นักลงทุนต้องดูเรื่องความผันผวน และความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
แต่หากเราจะใช้ คริปโตฯ ในการจ่ายค่าสินค้า อาหาร บริการ ฯลฯ (เป็น Means of Payment) ย่อมต้องมีธนาคารกลาง และกฎหมายของแต่ละประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
Affluent Times ชวนอ่านข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าในตอนนี้แต่ละประเทศมองคริปโตฯ ในการใช้เป็น Mean of Payment อย่างไร และแต่ละประเทศกำลังปรับตัวรับกับ คริปโตฯ อย่างไรบ้าง?
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

ถ้าถามถึง Youtuber ชื่อดังของไทย หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อแก๊ง “เสือร้องไห้” จากช่อง tigercrychannel อยู่เสมอ ไม่ว่าจะในวงกา...
25/01/2022

ถ้าถามถึง Youtuber ชื่อดังของไทย หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อแก๊ง “เสือร้องไห้” จากช่อง tigercrychannel อยู่เสมอ
ไม่ว่าจะในวงการอาหาร โฆษณา ไปจนถึงเกม และคอนเทนต์รูปแบบต่างๆ ที่ทำให้คนดูยิ้มได้
ตอนนี้เลยมีผู้ติดตามมากถึง 2.25 ล้านคน (เฉพาะช่องนี้ ยังมีช่องอื่นๆ แยกอีก)
แต่จากจุดกำเนิดของ เสือร้องไห้ ด้วยวงเพื่อน 4 คนอย่าง ‘โค้ดดี้ – เอ็ดดี้ – คัตโตะ – แนตตี้’
สู่โมเดลธุรกิจที่ปั้นให้บริษัทมีรายได้หลักร้อยล้านบาท เกิดขึ้นได้อย่างไร​?
#ต้นกำเนิดเสือร้องไห้
ช่อง ‘เสือร้องไห้’ ถือกำเนิดขึ้นจากกลุ่มเพื่อน 4 คน คือ
1. โค้ดดี้ - อรรถพล โพธิ์หาญรัตนกุล
หลังจบปริญญาโท ทำงานในวงการโทรทัศน์และมาเปิด Agency โฆษณาของตัวเอง และเริ่มทำเสือร้องไห้
2. เอ็ดดี้ - จุมภฏ จรรยหาญ
อดีตมาร์เก็ตติ้งบริษัท Thaifly และอดีตมือกลองวง Jetset’er
3. คัตโตะ - อารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล
นักร้องนำวงลิปตา
4. แนตตี้ - จิรุตถ์ ตันติวรอังกูร
อดีตมือกีตาร์วง No One Else และเป็นนักดนตรีให้อีกหลายวง
ทั้ง 4 คนเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ตอนเรียนหนังสือ และชอบเล่นเกมเหมือนๆ กัน
แต่พอโตขึ้นต่างคนก็ต่างทำงาน และเมื่อกลับมาเจอกันก็เริ่มจาก ‘ถ่ายวิดีโอเล่นๆ’ และเมื่อมีคนสนับสนุน ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ (โค้ดดี้เปิดบริษัทของตัวเอง) จนกลายเป็น ‘เสือร้องไห้’
จากคลิปแรกๆ ของเสือร้องไห้ที่ดังเปรี้ยงเมื่อ 10 ปีก่อน (พ.ศ. 2555)
มาจนถึงวันนี้ เสือร้องไห้มีผู้ติดตามในช่องกว่า 2.25 ล้านคน
#จากช่องลงคลิปตามใจสู่ช่องพากิน
ในยุคแรกเสือร้องไห้ ทำคอนเทนต์ยังไม่มีหมวดหมู่ชัดเจน แต่จะเน้นเรื่องสนุกๆ ตามที่ทั้ง 4 เสือและกระแสในตอนนั้น อย่างคลิปดังในช่วงแรก เมื่อ 10 ปีก่อน (27 สิงหาคม 2555) ในชื่อคลิป
‘PSY - GANGNAM STYLE PARODY - กำนันสไตล์ (เสือร้องไห้)’ ซึ่งคัตโตะเต้นเลียนแบบ PSY และมียอดชมกว่า 40 ล้านครั้ง
หรือคลิปอื่นๆ เช่น
“รวมฮิตกระบวนท่าถือมือถือ”
“คุณคือสายไหนในวงไพ่”
ฯลฯ
ต่อมาเสือร้องไห้เริ่มทำคอนเทนท์เกี่ยวกับอาหาร ในชื่อ ‘เสือร้องหิว’ เช่น คลิป เสือร้องหิว มาม่าต้มยำกุ้งคาโบนาร่า และ “Cooking Mama” ที่คุณแม่ของโค๊ดดี้และคัตโตะมาสอนเทคนิคการทำอาหารเมนูต่างๆ ด้วยตัวเอง
แต่ช่วงที่เริ่มทำคอนเทนท์พากินตามร้านอาหารอย่างจริงจัง ก็เห็นจะเป็นคลิป “ตะลุยร้านมิชลิน 9 ร้านในวันเดียว !!!!” โพสต์เมื่อ 30 ธ.ค. 2560 มียอดผู้ชมกว่า 4.1 ล้านครั้ง สูงที่สุดในปี 2560 เป็นสัญญาณว่าเสือร้องไห้มาถูกทางแล้ว
จนปัจจุบันคอนเทนท์พากินตามร้านอาหารกลายเป็นคอนเทนท์หลัก ของช่องเสือร้องไห้ ที่มี Sponsor มากมายยอดชมก็สูงหลักล้าน เช่น
คลิป “ซูชิเทพกิน 4 คน ครึ่งแสน !!!” ที่มียอดผู้เข้าชมถึง 10 ล้านครั้ง สูงเป็นอันดับสองของช่องเสือร้องไห้ รองจากคลิปมิวสิควิดีโอล้อเลียนเพลง Gangnam Style - PSY
มาถึงตอนนี้หลายคนคงสงสัยว่า เสือร้องไห้ ที่มีผู้ติดตามกว่า 2 ล้านคน ในมุมธุรกิจมีคนทำงานอยู่กี่คน โดยเมื่อปี 2563 ในคลิป Q&A ทั้ง 4 เสือเล่าว่ามีทีมงานอยู่ 20 คน ในคลิปต่างๆ
แล้วทีมงานเสือร้องไห้ ทำรายได้ให้บริษัทอะไร?
#เสือร้องไห้และGood Deal Entertainment
เสือร้องไห้ เป็นหนึ่งช่อง Youtube ของ บริษัท Good Deal Entertainment จำกัด (Good deal) ที่มีช่อง Youtube และรายการที่ยอดนิยมอีกมากมาย เช่น
- ล้างตู้เย็น ที่มี เบน ชลาทิศเป็นพิธีกร
- นอนบ้านเพื่อน ที่มี ตู่ ภพธร, ทอม Room 39 และ ว่าน ธนกฤต มาเป็น Host
และ ฯลฯ
กว่าจะเป็นช่องเสือร้องไห้ และ ทุกช่อง Youtube ในวันนี้ ก็มาจากแผนธุรกิจ และวางระบบบริษัทไว้แล้ว เพราะ บริษัท Good Deal Entertainment จำกัด จดตั้งบริษัทตั้งแต่ 24 ก.พ. 2555 ก่อนคลิปเสือร้องไห้ตัวแรกจะออกมา (Parody- PSY)
โดย Good Deal นี้จดทะเบียนเป็นบริษัทธุรกิจด้านความบันเทิง ด้วยทุนจดทะเบียนถึง 5 ล้านบาท โดยกรรมการคือ แนตตี้ , ไฮโซกวง -พิเชษฐ์ เพิ่มทรัพย์หิรัญ และนายสมโภช สิงหอุดมชัย
ด้านรายได้เมื่อดูข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า จากปี 2557 ที่มีรายได้ราว 30 ล้านบาทต่อปี สู่จุดสูงสุดในปี 2562 มีรายได้รวมถึง 166.7 ล้านบาท ส่วนปี 2563 ที่ส่งงบล่าสุดก็ระบุว่า มูลค่าบริษัทอยู่ที่ 49.53 ล้านบาท
จาก Story ที่เติบโตนี้ก็ทำให้หลายคนอาจเห็นข่าวว่า เสือร้องไห้อยู่ในตลาดหุ้นไทย (SET) แล้ว
แต่เรื่องราวเป็นแบบไหน?
#จากเสือร้องไห้สู่SLMในตลาดหุ้นไทย
เมื่อทีม Affluent Times รวบรวมเรื่องราวของเสือร้องไห้ ก็พบข่าวจาก Stock2morrow และ Modernist เรื่องการปรับโครงสร้างของ Good Deal ที่ขยับธุรกิจมาอยู่ในบริษัท บมจ.เอส แอล เอ็ม คอร์ปอเรชั่น หรือ SLM ที่จะมีสิทธิบริหารจัดการและควบคุมดูแลสื่อออนไลน์ของ Good Deal แต่เพียงผู้เดียว นาน 33 เดือน (ดังนั้นช่องที่เราดูกันอยู่ก็ถือว่าเป็นของ SLM)
ขณะเดียวกัน โค้ดดี้ - อรรถพล โพธิ์หาญรัตนกุล ปัจจุบันก็เป็น CEO หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SLM แล้ว แต่เมื่อค้นข้อมูลนี้ใน SET ยังไม่มีข้อมูลเรื่องการส่งผ่านรายได้ระหว่าง Good deal - SLM อย่างชัดเจน
แม้ว่าข้อมูลดีล และรายละเอียดธุรกิจจะไม่ได้เปิดเผยอย่างชัดเจน
แต่ก็เห็นได้ชัดว่า ธุรกิจที่เกิดจาก ‘เสือร้องไห้’ เติบโตมาไกลแค่ไหน
ข้อมูลเพิ่มเติม : 4 เสือร้องไห้มีช่องหรือธุรกิจอะไรบ้าง?
- แนตตี้ มีช่องและเพจด้านเกม โดยใช้ชื่อว่า แนตตี้ เสือร้องไห้
- เอ็ดดี้ เพจ พี่เอ็ด7วิ และ Ed7Vi
ที่มา
https://www.gooddealentertainment.com/
https://www.youtube.com/channel/UCr7vfoOerACFbkVbFGKYL_Q
https://datawarehouse.dbd.go.th/fin/profitloss/5/0105555030052
https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0105555030052
https://datawarehouse.dbd.go.th/fin/balancesheet/5/0105555030052
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

ในช่วงที่ผ่านมา ได้เกิดเรื่องใหญ่ในวงการเกมขึ้น เมื่อ Microsoft ได้ปิดดีลเข้าซื้อ Activision Blizzard ด้วยจำนวนเงินกว่า ...
24/01/2022

ในช่วงที่ผ่านมา ได้เกิดเรื่องใหญ่ในวงการเกมขึ้น เมื่อ Microsoft ได้ปิดดีลเข้าซื้อ Activision Blizzard ด้วยจำนวนเงินกว่า 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 2.47 ล้านล้านบาท)
โดยที่ Microsoft จะกลายเป็นบริษัทเกมอันดับที่ 3 ของโลก (รองจาก Tencent และ Sony) พร้อมทั้งได้เกมทำเงินอันดับต้น ๆ การันตีด้วยจำนวนผู้เล่นแอคทีฟเกือบ 400 ล้านคนต่อเดือน อย่าง Warcraft, Diablo, Overwatch, Call of Duty และเกมมือถืออย่าง Candy Crush ทันที
ซึ่งดีลใหญ่ระดับโลกดังกล่าว ทำให้เกิดความระส่ำระสายแก่บริษัทอื่นๆ ในตลาดเกมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sony ที่หุ้นร่วงลงไปถึง 13% จนในภายหลังได้ออกมาเรียกร้อง ต่อ Microsoft ว่า ไม่อยากให้จำกัดเกมที่ซื้อกิจการมาไว้ผู้เดียว แต่ควรจะกระจายให้เล่นได้ทุกแพลตฟอร์ม
ดีลประวัติศาสตร์ดังกล่าวจึงเกิดคำถามตามมาว่า ตลาดเกมมีความน่าสนใจในการทุ่มเงินเพื่อลงทุนอย่างไร? เหตุใด Microsoft ถึงได้กล้าลงทุนขนาดนี้? หรือวงการเกมจะเป็น ‘สมรภูมิ’ แห่งใหม่ของยักษ์ใหญ๋ในธุรกิจเทคโนโลยี?
#ตลาดเกมใหญ่ขึ้นย่อมดึงดูดการลงทุน
ดีลดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดของวงการเกมในทุก ๆ ปี โดยในปี 2021 จากข้อมูลของ Box Office Mojo และ Newzoo พบว่า ในตลาดเกม (นับรวมเกมคอนโซล เกมพีซี และเกมมือถือ) มีมูลค่ารวมมากถึง 1.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 5.9 ล้านบาท)
ถือได้ว่าสูงกว่าตลาดภาพยนตร์ ที่มีมูลค่ารวม 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 6.9 แสนล้านบาท) ในปี 2021 กว่า 8-9 เท่า
และหากนับเฉพาะเกมคอนโซลที่มีมูลค่าสูงถึง 1.07 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท) และในระดับโลกมี 2 เจ้าใหญ่เท่านั้นที่ครองตลาดคือ (Microsoft ที่ผลิตเครื่องเล่นเกม Xbox) และ Sony (ผลิตเครื่องเล่นเกม PlayStation)
ดังนั้น ดีลของ Microsoft จึงเป็นการชิงส่วนแบ่งการตลาดจาก Sony ในรูปแบบหนึ่ง
ัมผัสใหม่แห่งการเล่นเกม
ในช่วงที่ผ่านมา กระแส Metaverse ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะวงการเกม ที่จะทำให้การเล่นเกมนั้นเข้าใกล้ ‘โลกเสมือนจริง” (Virtual Reality)’ ไปทุกขณะ ผู้เล่นจะรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอวตาร์มากขึ้น ฉากในเกมสมจริงมากขึ้น เหมือนเราใช้ชีวิตอยู่ในโลกแห่งเกมจริง ๆ
Michael Wolf ที่ปรึกษาด้านสื่อ กล่าวอย่างน่าสนใจว่า “วงการเกมจะขยายเข้าไปสู่ Metaverse มากขึ้น…. อะไรที่คุณทำได้ในโลกความจริง ในโลกแห่งเกมคุณก็สามารถทำได้ทั้งนั้น”
โดยผูกบุกเบิกที่จะนำเอา Metaverse มาผสานเข้ากับการเล่นเกม นั่นคือ Bobby Kotick ซีอีโอของบริษัท Activision ที่ Microsoft ไปซื้อกิจการมานั่นเอง
เขากล่าวถึงความจำเป็นในดีลนี้ว่า “การนำแพลตฟอร์มใหม่ๆ (Metaverse) มาใช้ (กับเกม) เป็นเรื่องยาก หากบริษัทนั้นไม่ใหญ่พอจะตอบโจทย์ตลาดเทคโนโลยีในปัจจุบัน” หรือก็คือ การพัฒนาของบริษัทและวงการเกม จำเป็นต้องร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยี จึงจะได้ประโยชน์ร่วมกันสองฝ่าย
ซึ่งตรงกับข้อสังเกตของ Kathryn Rudie Harrigan ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่กล่าวถึงผลประโยชน์ที่ Microsoft จะได้รับในเรื่อง Metaverse ว่า “ดีลนี้เป็นการแย่งชิงพื้นที่ของการผลิตซ้ำว่า Metaverse จะต้องมาจาก Meta เป็นเจ้าแรก” “แน่นอนตอนนี้เป็นทีของ Facebook (Meta)” “แต่การได้ Activision มา อย่างน้อยก็ทำให้ Microsoft มีโอกาสพลิกกับมายึดครอง (Metaverse) ได้”
#อนาคตวงการเกมจะเป็นอย่างไร
จากที่กล่าวมา ถือได้ว่าเป็นสมรภูมิที่ดุเดือดมากของวงการเกม ซึ่งจะเป็นนผลดีต่อผู้บริโภคในแง่ของการแข่งขันพัฒนาเกมเพื่อดึงดูดผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดกัน
แต่ประเด็นที่น่ากังวลก็คือ ท้ายที่สุดแล้ว Microsoft จะกลายเป็น ‘ผู้ผูกขาด’ วงการเกมหรือไม่? Sony ที่ถึงตอนนี้ยังเป็นอันดับ 1 ด้านเกมคอนโซลจากการขาย PlayStation อยู่ จะเกิดความสั่นคลอนจนตกบัลลังก์หรือไม่? หรือ Tencent บริษัทอันดับ 1 ของโลกในตลาดเกมจะออกมารับมืออย่างไร?
ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง
#วงการเกมในประเทศไทย
ทั้งนี้ เมื่อหันกลับมามองประเทศไทย แน่นอนว่า วงการเกมประเทศไทยก็เติบโตขึ้นตามกระแสโลกเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ตลาดเกมไทยโตขึ้นถึง 14-15% (จากการประเมินปี 2563-2564 ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า)
ข้อมูลจาก Statista คาดการณ์ว่าในปี 2021 วงการเกมไทยจะมีมูลค่า 516 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 17,200 ล้านบาท) จากจำนวนผู้เล่น 9.8 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อคนที่ 52.61 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1,750 บาท/คน/ปี)
และแพลตฟอร์มเกมที่คนไทยจ่ายเงินให้กับการเล่นเกมมากที่สุดคือโมบายเกม โดยเติมเงินในเกมมือถือเฉลี่ยมากถึง 60.07 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 2,000 บาท)
ซึ่งนับเป็นจุดหมายอันดีที่ผู้ทำธุรกิจนำเข้าเกมหรือเครื่องเล่นเกม รวมถึงธุรกิจฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ต่างๆ ที่สามารถจะทำกำไรจากจุดนี้ได้ในประเทศไทย
เพราะตราบใดที่ 'ผู้เล่น' ยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้น สินค้าและบริการในตลาดเกมก็ยังคงทำกำไรต่อไปได้
และสำคัญไปกว่านั้น 'ผู้เล่น' ไม่ว่าจะไทยหรือทั่วโลก ล้วนเป็นตัวแปรที่กำหนดความรุนแรงในสมรภูมิการแข่งขันของยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีในวงการเกมทั้งสิ้น
ที่มา
-https://www.ft.com/content/2d446160-08cb-489f-90c8-853b3d88780d
-https://www.wsj.com/articles/sony-expects-microsoft-to-keep-activision-games-multiplatform-11642665939
-https://variety.com/2022/film/box-office/global-box-office-2021-1235148732/
-https://www.ft.com/content/b96246ec-e70e-48b6-9a70-fb0800f79bd8
-https://edition.cnn.com/2022/01/19/tech/sony-shares-microsoft-activision-blizzard-deal-hnk-intl/index.html
-https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/142225
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

แม้ว่ากระแส ‘ย้ายประเทศกันเถอะ’ จะเกิดขึ้นในปี 2564 ที่ผ่านมา แต่ถ้าย้อนดูข้อมูลสถิติจะพบว่า คนไทยเดินทางไปทำงานต่างประเ...
24/01/2022

แม้ว่ากระแส ‘ย้ายประเทศกันเถอะ’ จะเกิดขึ้นในปี 2564 ที่ผ่านมา
แต่ถ้าย้อนดูข้อมูลสถิติจะพบว่า คนไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี และยังส่งเงินกลับมาที่ไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ปี 2564 ที่ผ่านมา มีคนไทยส่งรายได้จากการทำงานในต่างประเทศมาที่ไทยถึง 215,240 ล้านบาท และเห็นได้ชัดว่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (เฉพาะข้อมูลแรงงานที่ไปทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย)
แต่อะไรที่ทำให้คนไทย นิยมไปทำงานต่างประเทศ เบื้องต้น Affluent Times จึงรวบรวมข้อมูล 10 ประเทศที่คนไทยนิยมไปทำงาน และค่าแรงขั้นต่ำเมื่อย้ายประเทศมาให้ดูกัน
ที่มา
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
- https://countryeconomy.com/national-minimum-wage ณ ม.ค. 2565
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook: https://bit.ly/2VcGqai
YouTube: https://bit.ly/3qMWCMZ

หลายคนรู้จักเครือเซ็นทรัล ของตระกูลจิราธิวัฒน์ แต่ตระกูลนี้มีธุรกิจอะไรบ้าง? หาคำตอบได้ที่นี่ชมคลิปและข้อมูลเพิ่มเติมเกี...
22/01/2022

หลายคนรู้จักเครือเซ็นทรัล ของตระกูลจิราธิวัฒน์ แต่ตระกูลนี้มีธุรกิจอะไรบ้าง?
หาคำตอบได้ที่นี่
ชมคลิปและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตระกูลจิราธิวัฒน์ ได้ที่นี่
https://www.youtube.com/watch?v=e-YjIAOvbAk&t=1s
ติดตามบทความและ VDO ของ Affluent Times
Facebook : https://bit.ly/2VcGqai
YouTube : https://bit.ly/3qMWCMZ

ที่อยู่

Thai Sri Tower, Krungthonburi Road , Banglampoolang, Klongsan
Bangkok
10600

เบอร์โทรศัพท์

+66927085757

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Affluent Timesผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Affluent Times:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์