24/01/2025
Editor's Note 🇹🇭
ในโอกาสที่ประเทศไทยโดยนางสาวแพทองธารชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการลงนามความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : ) ระหว่างไทย กับ “เอฟตา” หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations : )
สำนักข่าว ขอนำเสนอบทความเรื่อง :
🚩“ความตกลงการค้าเสรีไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป : เปิดประตูสู่โอกาสใหม่”
เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2568 เวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น สมาพันธรัฐสวิส นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงนามความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ระหว่างไทย กับ “เอฟตา” หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations : EFTA) พร้อมกับ นายกี ปาร์เมอแล็ง รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ นางสาว ซิซีลี เมียร์เซ็ท รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมนอร์เวย์ นางโดมินิค แฮชเลอร์) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศลิกเตนสไตน์ และนายมาร์ติน เอยอบสัน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไอซ์แลนด์ โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยและ นาเคิร์ท เจเกอร์)เลขาธิการเอฟตา ร่วมเป็นสักขีพยาน ที่ House of Switzerland เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส ซึ่ง FTAไทย-เอฟตา ถือเป็น FTA ฉบับแรกของไทยกับยุโรป
นายพิชัย กล่าวว่า " วันนี้นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นสักขีพยานและมีผู้แทนจากสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ มาร่วมลงตาม FTA กับไทย เรื่องนี้จะปรากฏไปทั่วโลก เราอยู่ในงาน World Economic Forum (WEF) จะเป็นการทำให้เห็นว่าประเทศไทยกลับเข้ามาสู่แผนที่โลกแล้ว
ทำให้เราขยายโอกาสสู่ FTA กับอียู ยูเออี และประเทศต่างๆในอนาคต จะแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีมาตรฐานที่ดีขึ้น การได้เซ็น FTA กับประเทศที่มีมาตรฐานที่ดี จะช่วยยกระดับมาตรฐานของเรา ไทยจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ทั้งด้านภาพพจน์ การลงทุนและการค้า
ประเทศไทยเราจะกำลังเป็นแหล่งลงทุนของประเทศต่างๆที่จะไหลเข้ามา ปีที่แล้วเรามีการลงทุนเข้ามามากกว่า 1 ล้านล้านบาท และปีนี้จะไหลเข้ามามากขึ้นเป็นนิมิตหมายที่ดี คาดว่าเราจะได้ประโยชน์อีกหลายพันล้านบาท และอนาคตการลงทุนที่เกิดขึ้นเชื่อว่าจะมีอีกเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท เพราะ FTA ฉบับนี้จะนำสู่การเจรจา FTA กับอียู และมีหลายประเทศหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น ไทยต้องเร่งให้มี FTA มากขึ้น ให้มากกว่าหรือเท่ากับเวียดนาม เพื่อแข่งขันกับเวียดนามได้ FTA จะเป็นแต้มต่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษีและแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ซึ่งมีหลายประเทศ สนใจเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมใหม่ เช่น PCB Data Center หรือ AI และสำหรับผู้ประกอบการไทยเป็นเรื่องที่ดีที่เราต้องปรับตัวให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นขายของไปทั่วโลก เป็นสิ่งที่เราต้องทำอยู่แล้วและเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ"
ความตกลงการค้าเสรีไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (FTA ไทย-EFTA) นับเป็นก้าวสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ ความตกลงฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายหลักในการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ทำให้สินค้าและบริการของทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าถึงตลาดกันได้ง่ายขึ้น ส่งผลดีต่อทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวม
ในช่วง 11 เดือนของปี 2567 (มกราคม – พฤศจิกายน) ไทยและ EFTA มีมูลค่าการค้ารวม 11,467.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 2.05 ของการค้าทั้งหมดของไทยกับโลก) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 24.94 โดยไทยส่งออกไปยัง EFTA 4,121.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้าจาก EFTA 7,345.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) อัญมณีและเครื่องประดับ (2) นาฬิกาและส่วนประกอบ (3) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (4) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และ (5) เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และสินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) เครื่องเพชรพลอยอัญมณี เงินแท่งและทองคำ (2) นาฬิกาและส่วนประกอบ (3) เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค (4) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และ (5) ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์
🚩ความสำคัญของ FTA ไทย-EFTA
* ลดอุปสรรคทางการค้า: ภาษีศุลกากรและข้อกำหนดทางเทคนิคต่างๆ ที่เคยเป็นอุปสรรคในการค้าจะถูกยกเลิกหรือลดลงอย่างมาก ทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันในตลาดยุโรปได้ดีขึ้น
* เพิ่มโอกาสทางการค้า: ผู้ประกอบการไทยจะมีโอกาสเข้าถึงตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและมีมาตรฐานการผลิตที่สูง เช่น สินค้าเกษตร อาหารแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรม
* ส่งเสริมการลงทุน: ความตกลงนี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนจากทั้งสองฝ่ายเข้ามาลงทุนในประเทศของกันและกัน ส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและ know-how
* ความร่วมมือในด้านอื่นๆ: นอกจากด้านการค้าแล้ว FTA ยังส่งเสริมความร่วมมือในด้านอื่นๆ เช่น การลงทุน การบริการ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอื่นๆ
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
* ภาคการส่งออก: สินค้าส่งออกของไทยหลายประเภท เช่น อาหารทะเล ผลไม้ และสินค้าอุตสาหกรรม จะได้รับอานิสงส์จากการลดภาษีศุลกากร ทำให้สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นๆ ได้ดีขึ้น
* ภาคการลงทุน: การลงทุนจากต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศสมาชิก EFTA จะเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อการสร้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
* ผู้บริโภค: ผู้บริโภคชาวไทยจะมีสินค้าและบริการจากยุโรปให้เลือกมากขึ้นในราคาที่ถูกลง
* การพัฒนาเศรษฐกิจ: FTA จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
แม้ว่า FTA ไทย-EFTA จะนำมาซึ่งโอกาสมากมาย แต่ก็ยังมีความท้าทายที่ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญ เช่น การปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานสินค้าและบริการของยุโรป การแข่งขันกับคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ และการหาช่องทางในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการไทย เชื่อว่าจะสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้และได้รับประโยชน์สูงสุดจากความตกลงนี้
ความตกลงการค้าเสรีไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป นับเป็นก้าวสำคัญในการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทย ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาและเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดยุโรปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลควรให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก FTA นี้ได้อย่างเต็มที่
การเจรจา FTA ถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยในปี 2568 นายพิชัยฯ ได้สั่งการให้เร่งรัดการเจรจา FTA อีกหลายฉบับ อาทิ FTA ไทย-สหภาพยุโรป (EU) / ไทย-เกาหลีใต้ / ไทย-ภูฏาน / ไทย – สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) / อาเซียน – แคนาดา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ และการส่งออกของไทย รวมถึงให้เร่งจัดทำความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การเจรจา FTA ในอนาคตกับประเทศคู่ค้าศักยภาพ ได้แก่ ไทย-สหราชอาณาจักร / ไทย-ยูเรเซีย (Eurasian Economic Union: EAEU) ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ (1) รัสเซีย (2) เบลารุส (3) คาซัคสถาน 4) อาร์เมเนีย และ (5) คีร์กีซสถาน รวมทั้งเดินหน้ายกระดับ FTA ที่ไทยมีอยู่แล้ว อาทิ ความตกลง FTA ไทย - เปรู / ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA) / FTA อาเซียน-จีน/ FTA อาเซียน-อินเดีย/ FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ ให้ความตกลงมีความทันสมัย สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน ตอบโจทย์การอำนวยความสะดวกทางการค้าของผู้ประกอบการ
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1163437
https://tpso.go.th/news/2501-0000000008