Saving the envi-รอบรู้ รักษ์โลก

Saving the envi-รอบรู้ รักษ์โลก Environmental Microbiology

เราจะสามารถจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้อย่างไร🤔🤔ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคลิปด้านล่างนี้ค...
03/05/2021

เราจะสามารถจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้อย่างไร🤔🤔
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคลิปด้านล่างนี้ค่ะ ไปดูกันเลย 👇👇👇

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=4owht4CXdnM&t=52s

ผู้โพสต์ : น.ส.พิมพ์ประภา หงษ์เวียงจันทร์ 60050804

ความรู้ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน.เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (Green City) เริ่ม...

🧊 ช่วงนี้เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน แต่อากาศก็ยังร้อนเหมือนเดิมเลย มีใครติดน้ำแข็งกันบ้างคะ รู้หรือไม่ว่า...น้ำแข็งที่ช่วยทำให้เ...
29/04/2021

🧊 ช่วงนี้เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน แต่อากาศก็ยังร้อนเหมือนเดิมเลย มีใครติดน้ำแข็งกันบ้างคะ รู้หรือไม่ว่า...น้ำแข็งที่ช่วยทำให้เราคลายร้ออนและทำให้เราสดชื่นเนี่ย ก็ยังมีอันตรายอยู่นะ ซึ่งสาเหตุหลักๆเลยก็มาจากเจ้าจุลินทรีย์ตัวน้อยนั่นเองงง💧

ผู้โพสต์ : นางสาวนภัสสร สมมุติ 60050783

29/04/2021

🙏🏼 วันนี้!!ทางเพจของพวกเรา มีวิดิโอจะนำเสนอ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมให้ทุกคนได้ดูกันค่ะ🦠 ซึ่งทุกคนทราบกันอยู่แล้ววใช่ไหมคะว่า สิ่งแวดล้อมของเรานั้นมีจุลินทรีย์มากมายหลายชนิดเลยยย แต่การที่สิ่งแวดล้อมของเราจะดีหรือไม่ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ต่างๆ จะมีชนิดไหน และอยู่ในแหล่งไหนบ้าง ไปดูในคลิปกันได้เลยค่ะ 🥳✨💗👇🏻(2)

ผู้โพสต์และทีมงานจัดทำ :
1.นางสาว กัญญาวีร์ มีสัณฐาน 60050735
2.นางสาว นภัสสร สมมุติ 60050783
3.นางสาว เบญจวรรณ จั่นพา 60050789
4.นางสาว ประภาภิรัตน์ มิลี 60050793
5.นางสาว พิมพ์ประภา หงษ์เวียงจันทร์ 60050804

29/04/2021

🙏🏼 วันนี้!!ทางเพจของพวกเรา มีวิดิโอจะนำเสนอ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมให้ทุกคนได้ดูกันค่ะ🦠 ซึ่งทุกคนทราบกันอยู่แล้ววใช่ไหมคะว่า สิ่งแวดล้อมของเรานั้นมีจุลินทรีย์มากมายหลายชนิดเลยยย แต่การที่สิ่งแวดล้อมของเราจะดีหรือไม่ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ต่างๆ จะมีชนิดไหน และอยู่ในแหล่งไหนบ้าง ไปดูในคลิปกันได้เลยค่ะ 🥳✨💗👇🏻

ผู้โพสต์และทีมงานจัดทำ :
1.นางสาว กัญญาวีร์ มีสัณฐาน 60050735
2.นางสาว นภัสสร สมมุติ 60050783
3.นางสาว เบญจวรรณ จั่นพา 60050789
4.นางสาว ประภาภิรัตน์ มิลี 60050793
5.นางสาว พิมพ์ประภา หงษ์เวียงจันทร์ 60050804

🔬ภาพสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กภายใต้กล้องจุลทรรศน์  เมื่อถ่ายทำเป็นวิดีโอแล้วก็น่าสนใจเหมือนกันนะ!——————————Cr. https://youtu.b...
28/04/2021

🔬ภาพสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เมื่อถ่ายทำเป็นวิดีโอแล้วก็น่าสนใจเหมือนกันนะ!
——————————
Cr. https://youtu.be/ZyXrtODhJEA

Posted by: ประภาภิรัตน์ 60050793

Have a good day♥️

This year’s Nikon Small World Motion Photomicrography Competition has given us a fascinating glimpse into the realm of the extremely tiny. Watch a flea givin...

🤔 ถ้าได้ยินคำว่า จุลินทรีย์ คนมักจะนึกว่าเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคก่อนเป็นลำดับแรก แต่เพื่อนๆรู้ไหมว่า จุลินทรีย์ บางชนิด...
23/04/2021

🤔 ถ้าได้ยินคำว่า จุลินทรีย์ คนมักจะนึกว่าเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคก่อนเป็นลำดับแรก แต่เพื่อนๆรู้ไหมว่า จุลินทรีย์ บางชนิดก็มีประโยชน์นะ!🥺
ในระบบนิเวศ แบคทีเรียและฟังไจบางชนิดสามารถช่วยย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ รีไซเคิลของเสียในธรรมชาติ หรือแม้แต่ช่วยสร้างสารอาหารหรือดูดซึมสารที่จำเป็นต่อการเจริญของพืชได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีไวรัสบางชนิดที่ช่วยให้หญ้าสามารถต้านทานความร้อนได้
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ยังมีอีกมากมายหลายด้าน เช่น ด้านการแพทย์ อาหารและยา ความข้องเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ เทคโนโลยีและอนาคต 👨🏻‍🔬🧫
•—————————————•
Hey🤔, Did you know that microorganisms such as fungi, viruses and bacteria are not just a pathogen?, they have benefit for human too. In environment, Fungi and bacteria some species can recycle waste, decompose dead animal and plant matter etc. Furthermore some viruses can help grasses to resistant the heat.
In addition to environmental benefits, they have other benefits too such as medical benefits, food benefits, technology and the future, and health benefits.
•—————————————•
Be healthy ♥️😷

Cr. : https://sciencing.com/five-beneficial-effects-microorganisms-10010404.html

Posted by : ประภาภิรัตน์ มิลี 60050793

Though some bacteria, viruses and fungi can be harmful or dangerous, these microorganisms are used to help develop medicines, digest food and keep soil healthy.

👂🏻โรคไข้หูดับ เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis ซึ่งพบในเนื้อหมูดิบ🐷 เชื้อนี้สามารถติด...
05/04/2021

👂🏻โรคไข้หูดับ เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis ซึ่งพบในเนื้อหมูดิบ🐷 เชื้อนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสกับพาหะโดยที่ตัวเรามีบาดแผล และการกินอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ หลัว3-5 วัน จะทำให้เกิดอาการในกลุ่ม Toxic Shock Syndrome (TSS) คือ มีไข้ หนาวสั่น อาเจียน ปวดศีรษะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ประสาทหูอักเสบหรือเสื่อม จนสูญเสียการได้ยิน และถึงขั้นเสียชีวิตได้ 😱
ในประเทศไทยมีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หูดับพอสมควร โดยพบว่ามักมีการแพร่ระบาดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมในการรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
ถึงแม้ว่าการรับประทานอาหารดิบจะเป็นที่นิยมในบางประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นอันตรายหรือไม่มีการตรวจพบจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร ดังนั้นทางที่ดีควรรับประทานอาหารปรุงสุกเพื่อสุขอนามัยที่ดีและลดความเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาพกันนะคะ 💪🏻
•—————————————•
Streptococcus suis is a bacterium that important pathogens of pigs. It's a zoonotic disease and causes of sepsis, toxic shock syndrome such as fever , vomiting or headache etc. , meningitis, hearing loss and death
So raw food can make you sick. Be sure foods are properly cooked.
•—————————————•
Be healthy ♥️😷

Cr. : https://youtu.be/FEBQwD5Uh7U
https://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_67.php
http://nih.dmsc.moph.go.th/login/showimgpic.php?id=23

Posted by : ประภาภิรัตน์ มิลี 60050793

โรคไข้หูดับ เกิดจากการชิดเชื้อแบคทีเรียสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (STREPTOCOCCUS SUIS) จากการกินหมูดิบและการสัมผัสหมูดับผ...

ผู้โพสต์ : นางสาว นภัสสร สมมุติ 60050783
04/04/2021

ผู้โพสต์ : นางสาว นภัสสร สมมุติ 60050783

POLLUTION: The Great Pacific Garbage Patch แพขยะขนาดยักษ์แห่งแปซิฟิก
แพขยะใหญ่แปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) หรือแพขยะตะวันออก (Eastern Garbage Patch) 1 ใน 5 แพขยะในมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก มันเป็นแพขยะ ที่เป็นการรวมตัวกันของขยะพลาสติกจำนวนมาก
มีการประมาณว่า 80% ของขยะในแพนั้นมาจากบนบก ส่วนอีก 20% มาจากเรือที่แล่นไปมาในมหาสุมทร กระแสน้ำจะใช้เวลาประมาณ 5 ปี ที่จะพัดเอาขยะเหล่านี้จากชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาเหนือ และใช้เวลา 1 ปีจากชายฝั่งตะวันออกของเอเชีย
จากการประเมินของนักวิทยาศาสตร์ว่า ภายในแพขยะแปซิฟิก มีเศษพลาสติกประมาณ 80,000 ตัน หรือมีน้ำหนักเทียบเท่าเครื่องบินเจ็ท 500 ลำ ในใจกลางของแพขยะมีความหนาแน่นของขยะสูงสุด ซึ่งถ้าหากนำขยะรอบนอกมาคำนวณ ขยะอาจจะมีน้ำหนักมากถึง 100,000 ตันเลยทีเดียว หรือมีชิ้นส่วนพลาสติกมากกว่า 1.8 ล้านล้านชิ้นลอยอยู่ในน้ำ
ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่า ขยะเหล่านี้สุดท้ายจะไปอยู่ในกระเพาะของสัตว์ทะเลหรือนก และทำให้สัตว์ต่าง ๆ ทุกข์ทรมาน และค่อย ๆ ตายลงไปอย่างช้าๆ
พลาสติกเหล่านี้มันจะแตกตัวออกมากลายเป็นชิ้นเล็กหรือเรียกว่า ไมโครพลาสติก (Micro Plastic) และก็จะวนอยู่ห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเราที่เป็นมนุษย์ได้อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารนั้น จะต้องได้รับไมโครพลาสติกจากอาหารที่เราทานเข้าไปอย่างแน่นอน
อ่านบทความไมโครพลาสติกของเราได้ที่ https://www.facebook.com/1523107561151019/posts/3484995194962236/?d=n

Source :

http://www.nextsteptv.com/%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b8%b0%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%9b%e0%b8%8b%e0%b8%b4%e0%b8%9f%e0%b8%b4%e0%b8%81/

https://ngthai.com/science/27897/garbage-patch/

https://www.forbes.com/sites/scottsnowden/2019/05/30/300-mile-swim-through-the-great-pacific-garbage-patch-will-collect-data-on-plastic-pollution/?sh=dd5b682489fe

เรียบเรียงโดย : Pichchakorn

เทคโนโลยีการผลิตโปรตีนจากจุลินทรีย์ 😲      เนื่องจากตอนนี้ !! ทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโปรตีนจาก...
31/03/2021

เทคโนโลยีการผลิตโปรตีนจากจุลินทรีย์ 😲

เนื่องจากตอนนี้ !! ทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโปรตีนจากจุลินทรีย์ หรือมัยคอโปรตีนได้สำเร็จ wowwww 💗 🙀
โดยมีคุณสมบัติเด่น ก็คืออออ
1.เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ผลิตโปรตีนปริมาณมาก
2.มีการสร้างเส้นใยที่มีลักษณะเหมาะสม
3.เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ปลอดภัย ไม่สร้างสารพิษ
โดยทีมวิจัยนำเส้นใยมัยคอโปรตีนที่ผลิตได้ไปตรวจวิเคราะห์เพื่อรับรองความปลอดภัยด้วย 🤍

ผู้โพสต์ : นางสาวนภัสสร สมมุติ 60050783 🌈

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ด้านล่างกันเลยนะคะ 💖
และอย่าลืม!!! ติดตามข่าวสารจากเพจของพวกเราด้วยน้าาา🙏🏼🙏🏼🙏🏼🙏🏼
แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/2054735

ในงานแถลงข่าวการจัดงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2564 (NAC2021) ทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. แถลง สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการ....

ตัวน้องงง 🦦เจ้าเฟอเรตเท้าดำ (Black Footed Ferret)ผู้โพสต์ : นางสาว นภัสสร สมมุติ 60050783
21/02/2021

ตัวน้องงง 🦦
เจ้าเฟอเรตเท้าดำ (Black Footed Ferret)

ผู้โพสต์ : นางสาว นภัสสร สมมุติ 60050783

ANIMAL: ครั้งแรก! นักวิทยาศาสตร์ทำการโคลนนิ่ง เฟอเรตเท้าดำ สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในสหรัฐฯ จากเซลล์สัตว์ที่ตายไปแล้วเมื่อ 30 ปีก่อน และถูกแช่แข็งไว้
เจ้าเฟอเรตเท้าดำ (Black Footed Ferret) ตัวนี้มีชื่อว่า Elizabeth Ann เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2020 และได้ถูกประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (18 กุมภาพันธ์ 2021)
โดยมันได้รับการดูแลโดย Fish and Wildlife Service ที่ศูนย์เพาะพันธุ์เฟอเรตเท้าดำใน Colorado ซึ่งเธอเป็นโคลนของเฟอเรตที่ตายเมื่อปี 1988 ที่มีชื่อว่า Willa และได้ถูกแช่แข็งไว้
การโคลนนิ่งสามารถนำไปสู่การนำสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลับมาได้ อาทิ นกพิราบพาสเซนเจอร์ อย่างไรก็ตามขณะนี้เทคโนโลยีนี้ใช้สำหรับการช่วยเหลือสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ อย่างม้าป่ามองโกเลีย ที่ถูกโคลนและเกิดที่ศูนย์ในเท็กซัสเมื่อปีที่ผ่านมา
เฟอเรตเท้าดำ เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อาศัยในอเมริกาเหนือ เผชิญภัยคุกคามแหล่งอาศัย รวมถึงการที่เหยื่อหลักของมันอย่าง แพรรีด็อก” (Prairie dog) หรือ “กระรอกดินถูกวางยาพิษ และถูกฆ่าอย่างมหาศาลเพื่อลดผบกระทบต่อพื้นที่ทำเกษตรกรรม
ก่อนหน้านี้มันถูกประกาศว่าสูญพันธุ์แล้วในปี 1979 แต่หลังจากนั้น 2 ปี เจ้าของฟาร์มใน Wyoming กลับได้พบกลุ่มเล็กๆของพวกมันในพื้นที่ของเขา และได้เริ่มโครงการเพาะพันธุ์จนสำเร็จ และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้แล้ว
Fish and Wildlife Service เผยว่าเฟอเรตเท้าดำทั้งหมดตอนนี้มาจากพ่อแม่พันธ์ุ 7 ตัว ซึ่งเป็นความจำกัดของความหลากหลายทางพันธุกรรม และอาจทำให้เกิดโรค หรือความผิดปกติในรุ่นลูกได้
การกำเนิดของ Elizabeth Ann เป็นความหวังในการสร้างความหลากหลายให้กับสายพันธุ์นี้เพื่ออนุรักษ์ให้อยู่กับโลกเราต่อไป
Source:
1. https://www.fws.gov/mountain-prairie/es/blackFootedFerretcloning.php

2. https://www.fws.gov/mountain-prairie/pressrel/2021/02182021-USFWS-and-Partners-Innovative-Genetic-Cloning-Research-Black-footed-Ferret-Conservation.php

3. https://edition.cnn.com/2021/02/19/us/elizabeth-ann-ferret-cloned-scli-intl-scn/index.html

4. https://www.nbcnews.com/news/animal-news/scientists-clone-first-u-s-endangered-species-n1258310

5. https://www.livescience.com/endangered-black-footed-ferret-cloned.html

6. https://twitter.com/USFWSMtnPrairie?ref_src=twsrc%5Etfw%7Ctwcamp%5Etweetembed%7Ctwterm%5E1362456141536526338%7Ctwgr%5E%7Ctwcon%5Es2_&ref_url=https%3A%2F%2Fwww.cnn.com%2F2021%2F02%2F19%2Fus%2Felizabeth-ann-ferret-cloned-scli-intl-scn%2Findex.html

7.https://nc.iucnredlist.org/redlist/amazing-species/mustela-nigripes/pdfs/original/mustela-nigripes.pdf
เรียบเรียง: ร่มธรรม ขำนุรักษ์

“แผ่นกรองอากาศสำหรับรถยนต์ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา”       รถทุกคันต้องมีแผ่นกรองอากาศ โดยในปัจจุบันพฤติกรร...
17/02/2021

“แผ่นกรองอากาศสำหรับรถยนต์ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา”

รถทุกคันต้องมีแผ่นกรองอากาศ โดยในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้ที่ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่ใส่ใจเรื่องของสุขภาพและสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ต้องเผชิญปัญหาฝุ่นและมลภาวะทางอากาศ เราต้องรู้จักป้องกันตนเองให้มากยิ่งขึ้น และเราจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร??🤔🤔🤔

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้คิดค้นงานวิจัย “แผ่นกรองอากาศ ” เป็นการพัฒนาแผ่นกรองอากาศในรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ โดยที่กระบวนการผลิตยังใกล้เคียงของเดิม ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของงานวิจัยนี้ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้เลยค่ะ 👇👇👇

ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
https://www.nstda.or.th/home/news_post/air-filter_anti-fungi-and-bacteria/?fbclid=IwAR2eOMpr7t_5PuiYB3syFtcXOu9wiBkzN6yYd78uDq28yTcjazUw2EOXesg

ผู้โพสต์ : น.ส.พิมพ์ประภา หงษ์เวียงจันทร์ 60050804

นาโนเทค สวทช. ชูเทคโนโลยีการเคลือบนาโน สู่การประยุกต์เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตอบความต้องการใช้งานใน....

16/02/2021

เชื้อ Covid-19 อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานแค่ไหน!!!??
คลิปนี้มีคำตอบค่า!!~~
Cr. Tiktok : Numnim_Nurse
ผู้โพสต์ : นางสาวกัญญาวีร์ มีสัณฐาน 60050735

"เครื่องบำบัด PM 2.5W และเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ🌫"    เข้าใจแล้ว ว่าทำไมพี่ป้างถึงได้ร้องเพลงภูมิแพ้กรุงเทพ 🤣ก็เพราะว่า ก...
15/02/2021

"เครื่องบำบัด PM 2.5W และเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ🌫"

เข้าใจแล้ว ว่าทำไมพี่ป้างถึงได้ร้องเพลงภูมิแพ้กรุงเทพ 🤣ก็เพราะว่า กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ได้ทำการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) พบว่าในเดือนที่ผ่านมาค่า PM 2.5 มีค่าเกินมาตรฐานยังไงล่ะ😫😱 ซึ่งปัญหามลพิษทางอากาศนี้นับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทยและมีสาเหตุมาจากหลายๆปัจจัย บวกกับสถานการณ์ COVID 19 ในปัจจุบันด้วยแล้ว แยกไม่ออกกันเลยค่ะว่าควรจะระมัดระวังเรื่องไหนก่อน
สถาบันนวัตกรรม ปตท. จึงได้พัฒนาเครื่องต้นแบบบำบัด PM 2.5 และเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ เพื่อฟอกอากาศเสียเป็นอากาศดี และช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับโลกอีกด้วย😲
เอาล่ะ!!! คิดว่าเจ้าเครื่องนี้ จะสามารถช่วยสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศเราได้มากน้อยแค่ไหนนะ สามารถศึกษารายละเอียดกันในลิงค์ด้านล่างและคอยติดตามกันนะคะ และพวกเราก็ขอให้ทุกคนระมัดระวังตัวเองไม่ว่าจะเรื่องฝุ่น PM 2.5 หรือ COVID 19 กันด้วยนะคะ 🍃

ที่มา : https://youtu.be/oxTl8as4fW8

ผู้โพสต์ : นางสาวนภัสสร สมมุติ 60050783 🌈

Have a nice day ✨
Saving the environment - รอบรู้ รักษ์โลก🌳

มลพิษทางอากาศ นับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย สะท้อนจากระดับมลพิษในฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก 2.5 .....

😧 มีนักวิจัยพบเชื้อคล้ายโควิด-19 ในค้างคาวไทย           นักวิจัยสิงคโปร์ระบุว่าจากการตรวจสอบค้างคาวในไทยพบไวรัส RacCS203...
15/02/2021

😧 มีนักวิจัยพบเชื้อคล้ายโควิด-19 ในค้างคาวไทย

นักวิจัยสิงคโปร์ระบุว่าจากการตรวจสอบค้างคาวในไทยพบไวรัส RacCS203 ที่มีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับ Sars-CoV-2 ถึง 91.5% ในขณะที่ทีมนักวิจัยจุฬาฯ ก็พบว่าฝูงดังกล่าวมีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับ Sars-CoV-2 ถึง 91.5% เช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนา RmYN02 ซึ่งพบจากค้างคาวในประเทศจีน โดยมีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียง Sars-CoV-2 ถึง 93.6%🧬

ในตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลใดที่สามารถชี้ชัดถึงต้นตอการระบาดและต้นกำเนิดที่แท้จริงของไวรัสได้ จึงเป็นข้อกังวลใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวัง😫😷
•—————————————•
Be healthy ♥️😷

Cr. : https://www.posttoday.com/world/645218

Posted by : ประภาภิรัตน์ มิลี 60050793

งานวิจัยใหม่เผยพบไวรัสใกล้เคียงไวรัสต้นตอโควิด-19 ในค้างคาวไทย

COVID-19 ยังไม่จบ เราอาจจะต้องอยู่กับมันไปอีก 7 ปี โดยประมาณ! 😱    รายงานจาก Bloomberg ที่รวบรวมฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉีด...
10/02/2021

COVID-19 ยังไม่จบ เราอาจจะต้องอยู่กับมันไปอีก 7 ปี โดยประมาณ! 😱
รายงานจาก Bloomberg ที่รวบรวมฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน COVID-19 ทั่วโลก ได้รายงานจำนวนการฉีดวัคซีนทั่วโลกอยู่ที่ 119 ล้านครั้ง ซึ่งจากตัวเลขที่คำนวณ ถ้าหากฉีดให้ได้ประมาณ 75% ของประชากร อาจนำไปสู่การยุติโรคระบาดนี้ได้ แต่กว่าจะฉีดครบ 2 โดสต่อคน จะต้องใช้เวลาอีกเป็นปี ในขณะที่บางประเทศประชากรยังไม่ได้รับวัคซีนเลย และแน่นอนว่าปัจจัยที่สำคัญคือเงิน ประเทศที่ร่ำรวยจะสามารถฉีดวัคซีนให้ถึง 75% ได้ก่อนประเทศที่ยากจน ดังนั้นอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าการระบาดนี้จะยุติลง
——————————————
It could take 7 years to end pandemic "COVID-19" ! 🤧
Vaccination rates aroud 75 percent of the population may be bring the pandemic to an end (2-dose per person requirement for the vaccine) but in other countries haven't received COVID vaccine yet.
There are many factors to received vaccine
such as money, with wealthier countries can received vaccine and reaching a target goal of 75 percent quicker than poorer countries. So it take several years for the COVID-19 panthemic to end.
——————————————
Be healthy.♥️😷

Cr. : https://www.slashgear.com/report-claims-it-could-take-seven-years-to-end-global-pandemic-07658437/

Posted by : ประภาภิรัตน์ มิลี 60050793

It may take as long as seven years to bring the global pandemic to an end, according to newly published calculations. That figure is based on current vaccination rates, with wealthier countries rea…

การออกแบบวิธีฆ่าแบคทีเรีย ด้วยพิษตัวต่อ           ในปัจจุบันมีความจำเป็นในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย. ศูนย์ควบคุม และป...
29/01/2021

การออกแบบวิธีฆ่าแบคทีเรีย ด้วยพิษตัวต่อ

ในปัจจุบันมีความจำเป็นในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย. ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าในแต่ละปีชาวอเมริกันเกือบ 3 ล้านคนติดเชื้อโรคที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 35,000 คน
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์เพเรลมัน แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า ออกแบบโมเลกุลสารต้านจุลินทรีย์ หรือ สารยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ อย่างแบคทีเรีย ที่มีประสิทธิภาพจากโปรตีนที่ได้จากพิษของตัวต่อ โดยการเปลี่ยนแปลงโปรตีนขนาดเล็กที่เรียกว่า mastoparan-L มีความเป็นพิษสูงจากตัวต่อสายพันธุ์เอเชียที่พบบ่อยอย่าง Vespula lewisii เป็นตัวต่อสีดำลายเหลืองในเกาหลี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะช่วยเพิ่มความสามารถของโมเลกุลในการฆ่าเซลล์แบคทีเรีย
การสร้างแบบจำลองขอวสัตว์ นักวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่ากลุ่มของโมเลกุลต้านจุลินทรีย์แบบใหม่นี้ สามารถป้องกันหนูจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น อีโคไล หรือ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus).

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1956759

ผู้โพสต์ : น.ส.เบญจวรรณ จั่นพา 60050789

ปัจจุบันมีความจำเป็นเร่งด่วน ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากแบคทีเรียหลายชนิดได้พัฒนาความต้า....

พบแบคทีเรียที่กินโลหะมีมานานกว่า 100 ปี 🙀🙀⚡️✨เมื่อพบว่าแบคทีเรียสามารถใช้แมงกานีสเป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้ จะมีประโยชน์อย่า...
26/01/2021

พบแบคทีเรียที่กินโลหะมีมานานกว่า 100 ปี 🙀🙀⚡️✨

เมื่อพบว่าแบคทีเรียสามารถใช้แมงกานีสเป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้ จะมีประโยชน์อย่างไรต่อสิ่งแวดล้อมกันนะ 🤔ปกติแล้วจุลินทรีย์ในธรรมชาติสามารถเผาผลาญวัสดุ แต่ดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้กับโลหะ แถมยังให้พลังงานที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์ได้อีกด้วย 😱 ซึ่งจริงๆ แล้วจากข้อมูลเหล่านี้เราจะสามารถศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยาดังกล่าวเพื่อพัฒนาต่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรได้บ้างนะ กดที่ลิงค์ด้านล่าง 👇🏻👇🏻👇🏻แล้วเข้าไปอ่านกันได้เลยค่ะ 🥰🦠🧪🧫

ผู้โพสต์ : นางสาวนภัสสร สมมุติ รหัสนักศึกษา 60050783 ☁️

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1894424

นักวิทยาศาสตร์รู้กันมานานแล้วว่าแบค-ทีเรียและเชื้อราสามารถออกซิไดซ์ คือทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน หร...

กระบวนการเอื้อต่อชีวิตจุลินทรีย์ใต้ธารน้ำแข็ง       จุลินทรีย์เหล่านี้จะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างต่อเนื่องผ่านยุคน้ำแข็ง ห...
24/01/2021

กระบวนการเอื้อต่อชีวิตจุลินทรีย์ใต้ธารน้ำแข็ง

จุลินทรีย์เหล่านี้จะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างต่อเนื่องผ่านยุคน้ำแข็ง หรือในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยได้อย่างไร

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอนตานา ในสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับกระบวนการที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์ที่อยู่ภายใต้แผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง นักวิจัยเผยว่าได้ตรวจสอบวิธีที่น้ำและจุลินทรีย์มีปฏิสัมพันธ์กับหินใต้ธารน้ำแข็ง พบว่า ด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมีที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้หินที่ประกอบด้วยซิลิกาที่อยู่ภายใต้ธารน้ำแข็งนั้น ถูกบดเป็นอนุภาคแร่เล็กๆ และเนื่องจากน้ำหนักของน้ำแข็งที่อยู่ด้านบน อนุภาคแร่ได้รวมตัวกับน้ำที่ละลายจากน้ำแข็ง จึงทำให้มีการปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออกมา ที่น่าสนใจคือ จุลินทรีย์ใต้ธารน้ำแข็งสามารถรวมก๊าซไฮโดรเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อสร้างสารอินทรีย์ที่เรียกว่ามวลชีวภาพ (Biomass) ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี คล้ายกับพืชสร้างมวลชีวภาพจากคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการสังเคราะห์แสง
ในพื้นที่โลก ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งประมาณ 10% ของมวลพื้นโลก ซึ่งในปัจจุบันและในอดีต กิจกรรมของจุลินทรีย์น่าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาพอากาศของโลก ดังนั้นการค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งพวกมันสามารถจัดการคาร์บอนได้แบบที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงแดด

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2007593

ผู้โพสต์ : น.ส.พิมพ์ประภา หงษ์เวียงจันทร์ 60050804

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอนตานา ในสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับกระบวนการที่สน...

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Saving the envi-รอบรู้ รักษ์โลกผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท