Mosque review นำเสนอมัสยิดจากทุกทั่วมุมโลก ภาพสวยๆ เอกลักษณ์ของอิสลาม

✡️คนไทยมักจะไม่เรียกชาวยิว จะเรียกว่าชาวอิสราเอล ชาวยิวมักจะเรียกตนเองว่ามาจากเมืองต่างๆ เทอาวีฟ เยรูซาเล็ม จะขนานนามคนไ...
06/11/2023

✡️คนไทยมักจะไม่เรียกชาวยิว จะเรียกว่าชาวอิสราเอล ชาวยิวมักจะเรียกตนเองว่ามาจากเมืองต่างๆ เทอาวีฟ เยรูซาเล็ม จะขนานนามคนไทยว่า มายเฟรนด์ บางคนไม่ค่อยชอบให้ทักทายภาษาฮิบรู

🛗ชาวยิวที่ตั้งรกรากถาวรในประเทศไทยส่วนใหญ่ มากกว่า 1,000 คน อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณถนนข้าวสาร ประชาคมชาวยิวที่มีขนาดเล็กกว่าและมีธรรมศาลายิว อยู่ในจังหวัดภูเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ และเกาะสมุย

🕎ในช่วงวันหยุดของชาวยิว จำนวนชาวยิวในบริเวณดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นมากเป็นหลายพันคน เนื่องจากมีชาวยิวเดินทางเข้ามาในช่วงวันหยุด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิสราเอลและสหรัฐ ตามการขอจัดตั้งธรรมศาลายิวสองแห่งขึ้นในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ในปีเดียวกับที่สมาคมชาวยิวแห่งประเทศไทยได้รับการก่อตั้งขึ้น และเป็นสมาชิกชาบัด

🔯ยิวเคร่งศาสนา วันสะบาโต วันฮานุคคาห์ แล้วนอกจากจะห้ามกินหมูแล้ว ยังมีพวกอูฐ ปลาดุก นกแร้ง นกอื่น ๆ พวกแมลง นกเค้าแมว ค้างคาว กระจงผา ฯลฯ นี่ห้ามกินเลยครับ มีเยอะมากๆ ที่ยิวห้ามกิน เพราะถือเป็นสัตว์ที่มีมลทิน สกปรกตามบันทึกในพระคัมภีร์โตราห์

🪬จากการสังเกตและสอบถามชาวยิวได้มาเที่ยวในไทย มักจะไม่ค่อยชอบกับสถานที่ที่มีชาวอาหรับ จะไปตั้งฐานบ้านเรือนอันถาวร มีกิจการประกอบการ ตั้งแต่ธุรกิจทัวร์จนถึงร้านอาหาร แล้วคนไทยก็จะบ่นว่าเศรษฐกิจไม่ดีบ้าง แต่จริงๆแล้ว ต่างชาติน่าคุ้มเองมากกว่า

🏛️เกาะใหญ่ๆฝั่งอ่าวไทย บางโซนเหมือนไม่ได้อยู่ที่ไทยเพราะชื่อร้าน ป้ายร้าน ป้ายรถแห่ จะเป็นภาษาฮิบรูเหมือนรัฐหนึ่งของเขา บางตัวจะทำตัวกร่างทำเป็นมาเฟีย แต่คนไทยก็ยังเป็นแลนด์ออฟสไมล์..

🕌มัสยิด Omar bin Al-Khattab ในอัลเญาฟ..   เป็นมัสยิดทางโบราณคดีที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรอา...
17/10/2023

🕌มัสยิด Omar bin Al-Khattab ในอัลเญาฟ..

เป็นมัสยิดทางโบราณคดีที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรอาหรับ ถือเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคอัล-เญาฟ และในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียโดยทั่วไป ความสำคัญของมัสยิดคือ สืบย้อนไปถึงการวางแผนเนื่องจากเป็นการแสดงถึงความต่อเนื่องของรูปแบบการวางแผนของมัสยิดแห่งแรกๆ ชวนให้นึกถึง การวางแผนมัสยิดของศาสนทูตขอพระเจ้าอวยพรเขาและประทานความสงบสุขแก่เขาในเมืองในระยะเริ่มแรกดังที่ ความสำคัญของมัสยิดแห่งนี้เน้นตรงที่มัสยิดแห่งนี้เป็นมัสยิดทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งซึ่งมีรูปแบบไม่เปลี่ยนแปลง มัสยิดแห่งนี้เป็นของคอลีฟะห์ โอมาร์ บิน อัลค็อทตับ ขอพระเจ้าพอพระทัยท่านด้วย ว่ากันว่า เขาสร้างมันขึ้นในปี ฮ.ศ. 16 ขณะที่เขากำลังมุ่งหน้าไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับกุญแจสู่กรุงเยรูซาเล็ม มัสยิดโอมาร์ บิน อัลค็อตฏอบ ตั้งอยู่ที่ ใจกลางเมืองเก่า Dumat al-Jandal ติดกับย่าน Daraa จากทางใต้ซึ่งเป็นของภูมิภาค Al-Jawf ทางตอนเหนือของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สุเหร่าอันโด่งดังของมัสยิดตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ มุมและเบี่ยงเบนไปจากระดับกำแพง Qibla หอคอยสุเหร่าสร้างด้วยหิน ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านข้างยาว 3 เมตร และแคบเข้าด้านในเมื่อยกขึ้นจนจุดนั้นเป็นรูปครึ่งกรวยและสูง 12.7 เมตร หอคอยสุเหร่ามีหน้าต่างแต่ละชั้น มัสยิด เพิ่งได้รับการบูรณะเมื่อเร็วๆ นี้

รูปภาพเหล่านี้บันทึกหมู่บ้านเล็กๆ ของชาวปาเลสไตน์ชื่อ “นัจด์” ประชากรมีไม่เกิน 350 คน และนายกเทศมนตรีคือ ฮัจญ์ มูฮัมหมัด...
16/10/2023

รูปภาพเหล่านี้บันทึกหมู่บ้านเล็กๆ ของชาวปาเลสไตน์ชื่อ “นัจด์” ประชากรมีไม่เกิน 350 คน และนายกเทศมนตรีคือ ฮัจญ์ มูฮัมหมัด อาห์หมัด มาห์มูด จัสเซอร์ ผู้คนในหมู่บ้านเป็นคนเรียบง่ายที่ดำรงชีวิตด้วยการทำฟาร์มและเลี้ยงปศุสัตว์ ไม่มีโรงเรียน ดังนั้นนักเรียนจึงเดินไปที่หมู่บ้าน Semsem เพื่อเรียนรู้ในโรงเรียน เพื่อนบ้านของพวกเขา: หมู่บ้าน Najd ถูกทิ้งร้างเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 เพื่อให้กลายเป็นทุ่งนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานที่จะสร้างขึ้นบนซากปรักหักพังซึ่งก็คือ "Sderot ” ซึ่งคุณได้ยินบ่อยมากเกี่ยวกับวันนี้

อ้างโดยนักวิจัย ฟาดี อัสลา

จุดเริ่มต้นของการทำประตูกะบะฮ์โดยฝีมือช่างคนไทยเมื่อปี พ.ศ. 2519 (43 ปีที่แล้ว) คณะราชวงศ์ประเทศซาอุดิอาระเบียเยือนประเท...
21/08/2023

จุดเริ่มต้นของการทำประตูกะบะฮ์
โดยฝีมือช่างคนไทย

เมื่อปี พ.ศ. 2519 (43 ปีที่แล้ว) คณะราชวงศ์ประเทศซาอุดิอาระเบียเยือนประเทศไทย โดยมี เจ้าชายอามีร มายิด ผู้ว่าการนครมักกะห์ในขณะนั้น เช็คอับดุลเลาะห์ บินตุรกี เป็นเลขา เช็คอะหมัด อิบรอฮีม บะดุร (ผู้รับผิดชอบทำประตูกะบะห์) และมีฮัจยีอับดุลเลาะห์ นาคนาวา เป็นล่ามถ่ายทอดภาษา

น้องชายของเช็คอะหมัด อิบรอฮีม บะดุร (ผู้รับผิดชอบประตูกะอ์บะห์) ชื่อ ดร.ฟาอีส อิบรอฮีม บะดุร ขณะนั้นเป็นผู้ว่าการท่าเรือยิดดะห์ ได้ติดต่อไม้มะค่าโมงจากประเทศไทยเพื่อเอาไปทำประตูกะอ์บะห์ด้วย

ฮัจยีอับดุลเลาะห์ นาคนาวา จึงจัดทีมงานไป ดังนี้

ช่างไม้ ได้แก่
1.ฮัจยีอีซา กาสุหลง (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
2.ฮัจยีฮูเซ็น และอิ่ม (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
3.ฮัจยีสุไลมาน ซันหวัง เสียชีวิตในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา สิริอายุ 95 ปี

ช่างทอง ได้แก่
1.ฮัจยีอาลี มูลทรัพย์ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
2.ฮัจยีฮุไซนี อารีพงษ์ ปัจจุบันอยู่ที่ มัสยิดกุฎีช่อฟ้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3.ฮัจยีกอเซ็ม ชนะชัย

ครอบครัวของท่านได้จัดละหมาดญะนาซะฮ์ให้กับท่าน ในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562 เวลาหลังละหมาดวันศุกร์ ณ มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม (บ้านป่า) ซอยพัฒนาการ 20 แยก 7 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน และพวกของท่าน ขอพระองค์ทรงรับพวกท่านเป็นส่วนหนึ่งของชาวสวรรค์ อามีน

รวมภาพประกอบที่ถือว่าหายากมากที่สุดในช่วงการทำงานของท่าน และภาพในช่วงบั้นปลายที่ลูกหลานได้เอื้อเฟื้อภาพส่งมา ในขณะที่ท่านนอนพักผ่อนในวัยอันชรา

สงครามมุอ์ตะฮฺเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 8 (ตรงกับค.ศ.629) ที่บริเวณ “มุอ์ตะฮฺ” ในแผ่นดินชาม นี่คือ 1 ในสงครามที่หนักหน่วงที่สุดข...
19/08/2023

สงครามมุอ์ตะฮฺเกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. 8 (ตรงกับค.ศ.629) ที่บริเวณ “มุอ์ตะฮฺ” ในแผ่นดินชาม นี่คือ 1 ในสงครามที่หนักหน่วงที่สุดของประชาชาติอิสลามในยุคของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีรายงานบันทึกว่า ท่านคอลิด บินวะลีด ต่อสู้ในสงครามครั้งนี้จนกระทั่งดาบหักไปถึง 9 เล่ม

มันปะทุขึ้นเนื่องจากอัลหาริษ บินอุมัยรฺ ฑูตของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถูกสังหารโดยชุเราะหฺบีล บินอัมรฺ ผู้นำแห่งฆ็อซซานซึ่งสวามิภักดิ์ต่อจักรวรรดิโรมันไบแซนไทน์ ท่านนบีโกรธมากและได้ออกคำสั่งจัดทัพขนาดใหญ่จำนวน 3,000 นายทันที ท่านนบีไม่เคยจัดทัพขนาดใหญ่เท่านี้มาก่อนเลยนอกจากในสงครามค็อนดัก (หรือ อัลอะหฺซาบ) เท่านั้น

ท่านนบีได้แต่งตั้งให้ซัยดฺ บินหาริษะฮฺ เป็นแม่ทัพใหญ่ และสั่งเสียว่า “หากซัยดฺถูกฆ่า (แม่ทัพคน) ต่อไปคือญะอฺฟัร (บิน อบีฏอลิบ) และถัดจากนั้นคือ อับดุลลอฮฺ บินเราะวาหะฮฺ”

เมื่อกองทัพเดินทางถึง “มะอาน” พื้นที่หนึ่งในแผ่นดินชาม ม้าเร็วก็ได้นำข่าวมารายงานว่า เฮราคลิอุสได้นำกองทัพขนาด 100,000 นายเดินทางมาถึงแล้ว และยังได้รับการสมทบกำลังอีก 100,000 นายจากเผ่าอาหรับต่าง ๆ ที่สวามิภักดิ์ต่อจักรวรรดิโรมันด้วย รวมจำนวนกองทัพฝ่ายโรมันทั้งสิ้น 200,000 นาย ในขณะที่ฝ่ายมุสลิมมีเพียง 3,000 นายเท่านั้น (ต่างกันเกือบ 70 เท่า) ลองจินตนาการดูสิว่า เรามีจำนวนน้อยมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับพวกเขา

แล้วกองทัพของทั้ง 2 ฝ่ายก็มาเจอกันที่บริเวณมุอ์ตะฮฺ กองทัพขนาดเล็กจำนวน 3,000 นาย ประจันหน้ากับกองทัพขนาดมหึมาจำนวน 200,000 นาย กองทัพที่เล็กมากนี้จะต่อสู้กับกองทหารขนาดใหญ่ของพันธมิตรโรมันได้อย่างไร หากไม่ใช่ด้วยความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ

ซัยดฺ บินหาริษะอฺ แม่ทัพใหญ่ฝ่ายอิสลามเริ่มจู่โจมเข้าใส่ศัตรูอย่างห้าวหาญ ท่านต่อสู้กระทั่งปลายหอกของศัตรูเข้าแทงบนร่างกายของท่านเหมือนห่าฝน และเสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ

ญะอฺฟัร บิน อบีฏอลิบ ขึ้นมาบัญชาการแทน ท่านเข้าโจมตีศัตรูอย่างไม่หยุดยั้ง ท่านต่อสู้กระทั่งมือขวาขาดสะบั้น ท่านใช้มือซ้ายถือธงรบเอาไว้ กระทั่งมือข้างนั้นก็ถูกตัดขาดไปด้วย ญะอฺฟัรพยายามใช้ไหล่ทั้ง 2 ข้างพยุงธงอิสลามเอาไว้ และสุดท้ายท่านก็ถูกฆ่าตาย ท่านนบีบอกว่า อัลลอฮฺจะทรงประทานปีก 2 ข้างให้กับญะอฺฟัรในสวรรค์ เป็นของขวัญให้กับมือทั้ง 2 ข้างที่สูญเสียไปในสงครามครั้งนี้

ท่านอิบนุอุมัรรายงานว่า มีรอยแผลจากการฟันและแทงกว่า 50 แผลอยู่บนหลังของญะอฺฟัร ในอีกรายงานหนึ่งระบุประมาณ 90 แผล

เมื่อญะอฺฟัรเสียชีวิต อับดุลลอฮฺ บินเราะวาหะฮฺ ก็ได้รับไม้ต่อชูธงอิสลามขึ้นโบกสะบัด ท่านควบม้าฝ่าเข้าไปในแถวรบของศัตรู กวัดแกว่งดาบ และต่อสู้ กระทั่งกลายเป็นชะฮีด สิ้นชีวิตตามสหาย 2 ท่านที่ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว

ในช่วงเวลาที่กองทัพมุสลิมไร้แม่ทัพนำการรบนี้เอง ราชสีย์ก็ได้หยิบธงรบขึ้นโบกสะบัดอีกครั้ง เขาคือ คอลิด บินวะลีด ดาบของอัลลอฮฺที่ถูกชักออกมาจากฝัก แม่ทัพคนใหม่ของฝ่ายอิสลาม

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ก่อนที่ข่าวคราวจากสนามรบจะมาถึงเมืองมะดีนะฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้รายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสนามรบให้กับผู้คนในเมืองมะดีนะฮฺ ท่านพูดพร้อมน้ำตาว่า “ซัยดฺได้ถือธงเอาไว้ แล้วเขาก็ถูกฆ่าตาย ญะอฺฟัรรับช่วงต่อและถูกฆ่าตายด้วยเช่นกัน จากนั้นก็เป็นอิบนุเราะวาหะฮฺและเขาก็ถูกฆ่าตายตามไปด้วย แล้วดาบเล่มหนึ่งในบรรดาดาบทั้งหลายของอัลลอฮฺ (หมายถึง ท่านคอลิด บินวะลีด) ก็ได้ชูธงขึ้น และอัลลอฮฺจะทรงประทานชัยชนะให้กับพวกเขา”

ความจริงแล้ว ต่อให้มีความกล้าหาญชาญชัยแค่ไหน ความเป็นไปได้ที่จะชนะแทบเป็น 0 หรือเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ กองกำลังเพียงหยิบมือเดียวจะเอาชนะกองทัพขนาดมหึมาที่ใหญ่กว่าเกือบ 70 เท่าได้อย่างไรกัน แต่ในตอนนี้เองที่ท่านคอลิด บินวะลีด ได้สำแดงความสามารถในการรบของท่านออกมาให้ทุกคนได้ประจักษ์

ท่านคอลิดใช้กลยุทธ์การเคลื่อนทัพอย่างชำนาญ ท่านสับเปลี่ยนทหารในแนวหน้าไปไว้ด้านหลัง และเคลื่อนพลจากแนวหลังมาไว้ด้านหน้า ท่านสั่งการให้ทหารปีกซ้ายและขวาสลับตำแหน่งกัน ท่านหลอกฝ่ายศัตรูจนหลงเชื่อว่าฝ่ายมุสลิมมีกองหนุนมาเสริมทัพ ทั้งที่จริงแล้วท่านเพียงแค่สลับตำแหน่งทหารในแนวต่าง ๆ เท่านั้น ทหารโรมันที่ได้เห็นใบหน้าใหม่ ๆ ของฝ่ายมุสลิมก็ตกใจ พวกเขาแทบไม่เชื่อสายตาของตัวเอง แล้วความหวาดกลัวก็ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นในใจของพวกเขา

ในขณะที่กำลังสู้รบกันนั้น ท่านคอลิดค่อย ๆ ถอยกองทัพมาทางด้านหลังโดยยังคงรักษารูปแบบของกองทัพเอาไว้ ปรากฏว่ากองทัพโรมันไบแซนไทน์ที่มีขนาดใหญ่กว่าไม่ยอมไล่ล่าตามมา พวกเขากลัวว่าจะเป็นกับดักของฝ่ายมุสลิม

ด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ ผ่านความชาญฉลาดของคอลิด บินวะลีด ทหารมุสลิมหลายพันนายจึงปลอดภัยจากเงื้อมมือของกองทัพโรมันในสมรภูมิมุอ์ตะฮฺครั้งนี้มาได้ เมื่อพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียด ปรากฏว่ากองทัพมุสลิมสูญเสียทหารไปเพียงไม่กี่คนเท่านั้น (ประมาณ 12 คน) ในขณะที่กองทัพโรมันเสียทหารไปเป็นจำนวนมาก (ประมาณ 3,000 กว่าคน) อัลลอฮุอักบัร!!

อ้างอิงโดย :1. อัรเราะฮีกุล มัคตูม โดย เชคเศาะฟียุรเราะหฺมาน อัลมุบาร็อกฟูรีย์
เรียบเรียงโดย : Theustaz.com

เส้นทางของท่านรอซูลของอัลลอฮฺเป็นเส้นทางการเดินทางโบราณสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างมักกะฮฺ และอัล-มาดินะฮฺ ตั้งแต่ยุคของท่...
18/08/2023

เส้นทางของท่านรอซูลของอัลลอฮฺเป็นเส้นทางการเดินทางโบราณสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างมักกะฮฺ และอัล-มาดินะฮฺ ตั้งแต่ยุคของท่านนบี อับรอฮีม อาลัยฮิสสาลาม จวบจนถึงยุคสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลอลอฮุอาลัยฮิวาสัลลัม ความยาวของถนนสายนี้และจากเมดินะฮฺถึงมักกะฮฺ : 225 สองร้อยยี่สิบห้าไมล์ และนักภูมิศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่าหนึ่งไมล์เท่ากับ 1,609 เมตร ดังนั้นระยะทางคือ: 225 x 1,609 = 362,025 เมตร โดยประมาณ 362 กิโลเมตร

กูโบร์ของท่านอิบรอฮีมเป็นบุตรชายของท่านนบีมูฮัมหมัด (صلى الله عليه وسلم)
17/08/2023

กูโบร์ของท่านอิบรอฮีมเป็นบุตรชายของท่านนบีมูฮัมหมัด (صلى الله عليه وسلم)

12/06/2023

#เคสเร่งด่วน กุโบรมัสยิดอันวาริซซุนนะห์ของเรา
เหลือพื้นที่เพียง 5 มัยยิตสุดท้ายเท่านั้นที่จะสามารถฝังได้
เพจสวรรค์ในบ้านจึงขอเปิดรับบริจาคอย่าง #เร่งด่วน
เพื่อปรังปรุงพัฒนา และซื้อดินถมกุโบร เพียงท่านละ 20 บาท
เพื่อให้ได้ยอดประมาณ 2.3 ล้านบาทในการดำเนินงานในครั้งนี้
การบริจาคนี้จะเป็นผลบุญญารียะห์ที่จะไหลรินสู่ท่านตลอดไป
#20บาทที่ใช้กินเปลี่ยนเป็นดินเพื่อชาวกุโบร
ธนาคารอิสลาม หมายเลขบัญชี 588-1-16714-7
ชื่อบัญชี มัสยิด อันวาริซซุนนะห์ (MASJID ANWARISS)
ณ.มัสยิด อันวาริซซุนนะห์ 11 ซอยสุภาพงษ์ 1 แยก 9
แขวง หนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพ10250
ติดต่อสอบถาม 095-536-5060
คุณ อกี๊ล หวังประโยชน์

มัสยิดยุมอะฮฺ ซึ่งเป็นสถานที่แรกสำหรับการละหมาดวันศุกร์หลังจากการอพยพของท่านนบีมูฮัมหมัด และตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ขอ...
23/04/2023

มัสยิดยุมอะฮฺ
ซึ่งเป็นสถานที่แรกสำหรับการละหมาดวันศุกร์หลังจากการอพยพของท่านนบีมูฮัมหมัด และตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมาดีนะฮฺ ระหว่างมัสยิดของท่านศาสดาและมัสยิดกูบาอ์

- พื้นที่ของมันคือ 700 ตร.ม
- รองรับ 650 ท่าน
- โดมขนาดใหญ่ที่เขียน Surah Al-Jum'ah
-4 โดมเล็ก

มัสยิดอับดุลเลาะห์ บิน อับบาส รอฎียัลลอฮูอันฮู และเป็นหนึ่งในมัสยิดที่สำคัญที่สุด อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ในเขตปกครอง...
22/04/2023

มัสยิดอับดุลเลาะห์ บิน อับบาส รอฎียัลลอฮูอันฮู และเป็นหนึ่งในมัสยิดที่สำคัญที่สุด
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ในเขตปกครอง ตออีฟ และสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 592 แต่ได้รับ ความสนใจอย่างมากตลอดยุคและการซ่อมแซมอาคารครั้งสุดท้ายคือในปี ค.ศ. 1381

เมื่อรัฐบาลซาอุดีอาระเบียเพิ่มพื้นที่ไปทางทิศตะวันตกมากขึ้นกว่าเท่าตัวได้สร้างหอคอยสุเหร่าขึ้นใหม่และเพิ่มประตูที่ตั้งอยู่ในใจกลางของจังหวัด และถือเป็นศูนย์กลางที่มั่นคงของมัน นอกจากนี้ ยังมีการจัดค่ำคืนและการบรรยายทางศาสนาหลายครั้ง แม้ว่ามัสยิดแห่งนี้จะมีชื่อเสียง แต่มัสยิดอับดุลลาห์ บิน อับบาส ขอพระเจ้าทรงพอพระทัยพวกเขามาหลายร้อยปีแล้ว มัสยิดอับดุลลาห์ บิน อับบาส รอฎียัลลอฮูอันฮู คนแรกและคนจริงอยู่ในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สถานที่นี้ เนื่องจากปัจจุบันตั้งอยู่ที่อัล-มูธานา เชิงเขาจาบัล อัลมัดฮูนจากทิศตะวันออก

อับดุลลอฮ์ ซุฮดี รอฮิมาฮุลลอฮฺนักคัดลายมือในมัสยิดอัลฮารอม ชื่อเสียงของนักประดิษฐ์ตัวอักษร อับดุลลอฮ์ ซุฮดี ย้อนไปถึงลาย...
21/04/2023

อับดุลลอฮ์ ซุฮดี รอฮิมาฮุลลอฮฺ
นักคัดลายมือในมัสยิดอัลฮารอม

ชื่อเสียงของนักประดิษฐ์ตัวอักษร อับดุลลอฮ์ ซุฮดี ย้อนไปถึงลายเส้นอมตะของเขาที่เขาเขียนบนผนังของมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองแห่ง ซึ่งบ่งบอกถึงความอัจฉริยะของเขาในศิลปะการเขียนพู่กันภาษาอาหรับ

เขาได้รับเลือกจากสุลต่านแห่งออตโตมัน Abd al-Majid I ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญในการเขียนอักษร Thuluth และทำงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักประดิษฐ์ตัวอักษรที่มอบความไว้วางใจให้เขาได้รับเกียรติในการเขียนลายเส้น มัสยิดของท่านศาสดาโดยปราศจากนักประดิษฐ์ตัวอักษรที่ยิ่งใหญ่ซึ่งมีอยู่มากมายในเมืองหลวงของหัวหน้าศาสนาอิสลาม เมืองอิสตันบูล

แม้ว่าเขาจะอายุน้อยก็ตาม อายุ และเขาได้รับจัดสรรเงินเดือนเจ็ดพันเจ็ดร้อย piasters ออตโตมันตลอดชีวิตในขณะที่เขาสั่งให้เขาไปเมดินาในปี 1270 AH / 1854 AD Abdullah Al-Zuhdi ยังคงฝึกฝนงานของเขาในเมืองประมาณ 10 ปี เกือบปีกว่าที่งานจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้น เขาจึงเขียนกลุ่มโองการอัลกุรอาน สุนัตพยากรณ์ และบทกวีที่กล่าวสรรเสริญท่านร่อซูลุลลอฮฺ

ศิลปินผู้สร้างแรงบันดาลใจและอัจฉริยภาพของเขาได้รับการกล่าวถึงในหนังสือ “The Art of Calligraphy”: ในแง่ของความยาว เราพบว่า Abdullah Zuhdi นักประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นเจ้าของผลงานการเขียนพู่กันจำนวนมากที่สุดของ Thuluth ดังนั้นจึงไม่มีนักประดิษฐ์ตัวอักษรคนอื่นในสมัยของเขาและจนถึงทุกวันนี้เกินกว่านี้เนื่องจากความยาวของเทปเขียนที่เขาเขียนนั้นเกินกว่าที่สามอย่างเห็นได้ชัด 2,000 เมตรโดย 240 เมตรอยู่ในรูปของเส้นสามเส้นเหนือกำแพงกิบลัตและ 140 เมตรอยู่ที่คอโดม

มัสยิด Al-Fasih หรือ มัสยิด Uhud ในเมดินา เป็นหนึ่งในมัสยิดแห่งการเผยพระวจนะซึ่งท่านนบีขอคำอธิษฐานและสันติสุขจงมีแด่ท่าน...
19/04/2023

มัสยิด Al-Fasih หรือ มัสยิด Uhud
ในเมดินา เป็นหนึ่งในมัสยิดแห่งการเผยพระวจนะซึ่งท่านนบีขอคำอธิษฐานและสันติสุขจงมีแด่ท่าน อยู่ทางขวา ของคนที่ไปหาคนที่ มิห์ราสอยู่ใต้ถ้ำ และคำบรรยายระบุว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุซัลลัม ละหมาดในสถานที่ของมัสยิดแห่งนี้ ดังที่อิบนุ ชัยบะฮฺ บรรยายเกี่ยวกับรายงานจากท่าน ราฟีอฺ บิน คอดิจ ว่าท่านนบีมูฮัมหมัดศ็อลลัลลอฮุซัลลัม ละหมาดในมัสยิดเล็กๆ ที่อยู่ใน Uhud ใน Shaab al-Jarar ทางขวามือของคุณ ติดกับภูเขา Al-Matari, Al-Samhoudi, Abd Al-Qader Al-Hanbali, Ahmad Al-Abbasi และคนอื่นๆ รายงาน ที่ท่านนบี ขอความสันติจงมีแด่ท่านนบีได้ละหมาดตอนเที่ยงและตอนบ่ายในสถานที่ของมัสยิดหลังการสู้รบสิ้นสุดลงในวันอูฮุด ชาวมุสลิมนั่งละหมาดอยู่ข้างหลังท่าน

ผู้เขียนอักษรอัลกุรอาน..อุสมาน  ฏอฮา   หลายคนคิดว่าอัลกุรอานได้ทำการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์แบบสมัยใหม่แต่จริงๆแล้วอัลกุรอา...
19/04/2023

ผู้เขียนอักษรอัลกุรอาน..
อุสมาน ฏอฮา

หลายคนคิดว่าอัลกุรอานได้ทำการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์แบบสมัยใหม่แต่จริงๆแล้วอัลกุรอานถูกเขียนไว้ด้วยลายมือของชายคนหนึ่งที่มีนามว่า อุสมาน ฏอฮา เป็นชาวซีเรียที่เขียนมาเป็นเวลาหลายสิบปี ทุกครั้งที่เขียนอัลกุรอานท่านจะมีน้ำละหมาดตลอดเวลา

คุณสังเกตไหมว่าอักษรอัลกุรอานหลายฉบับออกโดย King Fahd Complex สำหรับการพิมพ์อัลกุรอานซึ่งเป็นฉบับที่อ่านง่ายกว่าและถ้อยคำของพวกเขาไพเราะกว่าฉบับอื่นๆ เพราะเหตุนี้ ความต้องการของชาวมุสลิมในการได้รับคัมภีร์ของอัลลอฮฺเล่มนี้จึงเพิ่มขึ้นและความต้องการในการอ่านคัมภีร์นี้ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันในช่วงเดือนรอมฎอน ขณะที่ผู้คน หันมาศรัทธามากขึ้นในเดือนรอมฎอนนี้ ความลับของความตั้งใจของชาวมุสลิมที่จะอ่านคัมภีร์ของอัลลอฮฺเล่มนี้ ย้อนกลับไปที่นักเขียนอักษรวิจิตรผู้ยิ่งใหญ่ที่ใช้ชีวิตรับใช้คัมภีร์ของอัลลอฮฺ

อุสมาน ฏอฮา และตอบแทนการอุทิศตนเพื่อรับใช้อัลกุรอานอันสูงส่งผ่าน สิ่งที่เขามอบให้นั้น อัลลอฮฺทรงมีพระปรีชาสามารถและเชี่ยวชาญการเขียนค็อฏตัวอักษรในภาพวาดออตโตมันอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและได้รับพระราชทานยศเป็นคณบดีด้านการเขียนพู่กันของอักษร กุรอาน ประวัติของผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรเมื่อดู มีเครื่องหมายแสดงความแตกต่างที่สำคัญมากมายที่เป็นพื้นฐานสำหรับการก่อตัวของความรู้ หุ้นทางวัฒนธรรมและศิลปะของเขาในการวาดภาพการประดิษฐ์ตัวอักษรออตโตมัน

เนื่องจากอสมาน ฏอฺฮา เป็นนักเรียนที่อยู่ในมือของนักประดิษฐ์ตัวอักษรที่ดีที่สุดและผู้เชี่ยวชาญด้านการประดิษฐ์ตัวอักษร และเขาได้รับอนุญาตจากพวกเขา ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งไม่ได้แข่งขันกับเขาเพื่อชิงตำแหน่ง และจนถึงวันนี้ ยังไม่มีใครย้ายเขาออกจากตำแหน่งในฐานะนักประดิษฐ์ตัวอักษรที่เก่งที่สุดที่รู้จักในประวัติศาสตร์ และเขาคือ ฮามิด อัล-อามิดี ผู้ซึ่งมอบอำนาจให้ Othman Taha สำหรับการประดิษฐ์ตัวอักษรที่ดี..

อุสมาน ฏอฮา คือใคร? อุสมาน ฏอฮา เกิดในชนบทของเมือง Aleppo ในปี 1934 บิดาของเขาคือ Sheikh Abdu Hussein Taha อิหม่ามและคอฏีบของมัสยิดและนักเขียนชีคของประเทศ เขารับหลักการคัดลายมือจากบิดาของเขาซึ่งเป็น เขียนสคริปต์ได้คล่อง เขาเรียนชั้นประถม มัธยมต้น และมัธยมปลายในเมืองอเลปโปที่วิทยาลัยโคสราวีชาเรีย ในเมืองอเลปโป ประเทศซีเรีย ได้แก่ มูฮัมหมัด อาลี อัล-เมาลาวี มูฮัมหมัด อัล-คาติบ ฮุสเซน ฮอสนี อัล-ตุรกี Abdul-Jawad Al-Khatt และสุดท้ายคือ Ibrahim Al-Rifai นักประดิษฐ์อักษรของเมืองอเลปโป .. เขาเพิ่งได้รับสัญชาติซาอุดิอาระเบีย

มากอมของท่านนบีอิบราฮิม อาลัยฮิสสาลาม ได้รับการบันทึกด้วยภาพที่หายาก ท่านนบีอิบรอฮีม อาลัยฮิสสาลาม ได้ยืนอยู่ขณะสร้างกะอ...
10/04/2023

มากอมของท่านนบีอิบราฮิม อาลัยฮิสสาลาม ได้รับการบันทึกด้วยภาพที่หายาก ท่านนบีอิบรอฮีม อาลัยฮิสสาลาม ได้ยืนอยู่ขณะสร้างกะอ์บะฮ์เมื่ออาคารถูกยกขึ้นและมีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสและตรงกลางรอยเท้าซึ่งเป็นรูปวงรี 2 รู สีของมันแตกต่างกันระหว่างสีขาว สีดำ และสีเหลือง และกว้างยาวและสูงเท่ากับ 50 ซม.

มัสยิดฮัสซันอัลซานีย์ โมร็อกโก  เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งของเมืองคาซาบลังก้า ประเทศโมร็อกโก และเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่...
08/04/2023

มัสยิดฮัสซันอัลซานีย์ โมร็อกโก
เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งของเมืองคาซาบลังก้า ประเทศโมร็อกโก และเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นมัสยิดแห่งที่สองในแอฟริกา และเป็นแห่งที่ 13 ของโลก หอคอยสุเหร่าของที่นี่มีลักษณะแบบ Andalusian สูง 210 เมตร ( 689 ฟุต) และเป็นอาคารทางศาสนาที่สูงเป็นอันดับสองในด้านวิทยาศาสตร์
การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1987 และเสร็จสิ้นในคืนวันประสูติของท่านศาสดาในวันที่ 11 รอบีอุลเอาวัล ฮิจเราะห์ 1414 / 30 สิงหาคม 1993 ในรัชสมัยของกษัตริย์ฮัสซันที่ 2 แห่งโมร็อกโก
หอสวดมนต์มีพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้มาสักการะได้ 25,000 คน นอกเหนือจากผู้มาสักการะ 80,000 คนในลาน มัสยิดมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ​​รวมถึงหลังคาอัตโนมัติ (เปิดและปิดอัตโนมัติ) และลำแสงเลเซอร์ที่มีระยะ 30 กม. ในทิศทางของ Makkah Al-Mukarramah
มัสยิดที่สวยที่สุดในโลก
มัสยิดที่สวยที่สุดในโมร็อกโก

มัสยิด บัยอะฮฺ ประเทศซาอุดีอาระเบียBay'ah Mosque, Saudi Arabia
07/04/2023

มัสยิด บัยอะฮฺ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
Bay'ah Mosque, Saudi Arabia

04/04/2023

สวัสดีทุกคน! 🌟 คุณสามารถสนับสนุนฉันด้วยการส่งดาวที่จะช่วยให้ฉันสร้างรายได้เพื่อสร้างเนื้อหาที่คุณชื่นชอบต่อไป

คุณสามารถส่งดาวให้ฉันได้ทุกเมื่อที่เห็นไอคอนดาว!

01/04/2023

รอมฎอน 2023 ละหมาดตารอเวี๊ยะฮ์ ไทม์ไลน์แสควร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

มัสยิดอัตเตาบะฮฺ ในเมืองตะบูก กับเหตุการณ์ที่มาพร้อมกับการต่อสู้ของตะบูก เมื่อท่านร่อซู้ล ขอความสันติจงมีแด่ท่าน ตัดสินใ...
26/03/2023

มัสยิดอัตเตาบะฮฺ ในเมืองตะบูก กับเหตุการณ์ที่มาพร้อมกับการต่อสู้ของตะบูก เมื่อท่านร่อซู้ล ขอความสันติจงมีแด่ท่าน ตัดสินใจไปในปีฮิจเราะห์ศักราชที่ 9 เพื่อพบปะกับกองทัพ

ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้พำนักอยู่ที่ตะบูกเป็นเวลา 20 วัน และทำการละหมาดร่วมกับกลุ่มสหายของเขา ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามมัสยิดแห่งร่อซูล อย่างไรก็ตาม

นักวิจัยบางคนตั้งชื่อมันว่ามัสยิดแห่งการกลับใจ ซึ่งสัมพันธ์กับ Surah Al-Tawbah ซึ่งถูกเปิดเผยหลังจากการต่อสู้ที่ Tabuk ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน เขากล่าวว่า: มัสยิดแห่งการกลับใจเป็นหนึ่งในมัสยิด มันถูกสร้างโดยคอลีฟะห์ โอมาร์ บิน อับดุลลาซิซ ผู้ชี้นำที่ถูกต้องในปี ฮ.ศ. 98 และเป็นกำแพงที่ล้อมรอบด้วยสถานที่บางแห่ง และหลังจากนั้นก็สร้างใหม่อีกหลายครั้ง

มัสยิดอัลเราะห์มานในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยซัดดัม ฮุสเซนในปี ค.ศ. 1999 เพื่อให้กลายเป็นมัสยิดที...
24/03/2023

มัสยิดอัลเราะห์มานในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก
มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยซัดดัม ฮุสเซนในปี ค.ศ. 1999 เพื่อให้กลายเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในอิรัก แต่ถูกหยุดลงเนื่องจากสงครามอิรักครั้งล่าสุดในปี 2003 และหลังจากการล่มสลายก็ถูกละเลยและการก่อสร้างก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้

มัสยิดของท่านอูมัร บิน ค็อฏฏอบ รอฎียัลลอฮุอันฮู เป็นมัสยิดทางโบราณคดีที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือของคาบสม...
23/03/2023

มัสยิดของท่านอูมัร บิน ค็อฏฏอบ รอฎียัลลอฮุอันฮู เป็นมัสยิดทางโบราณคดีที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือของคาบสมุทรอาหรับ ถือเป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่สำคัญในภูมิภาคอัลเยาวฟ์ และใน ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย โดยทั่วไป สร้างขึ้นในเมืองในช่วงแรกและความสำคัญของมัสยิดแห่งนี้ยังโดดเด่นเนื่องจากเป็นมัสยิดโบราณที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งซึ่งรูปแบบไม่ได้เปลี่ยนแปลงอยู่ตรงกลางของเมือง

มัสยิดในประเทศไทยมีหลักฐานที่แสดงว่า ประเทศไทยหรือสยามได้มีการติดต่อกับประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามตั้งแต่ส...
19/03/2023

มัสยิดในประเทศไทย

มีหลักฐานที่แสดงว่า ประเทศไทยหรือสยามได้มีการติดต่อกับประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในเวลานั้นชาวพื้นเมืองภาคใต้ได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานของงานศิลปะ หรือสถาปัตยกรรม ในประเทศสยาม ที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมอิสลาม

ต่อมาสมัยอยุธยามีการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรเปอร์เซียอย่างต่อเนื่อง จึงมีชาวเปอร์เซียเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เพื่อทำการค้าและรับราชการในกรุงศรีอยุธยา

โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ “ซอฟาวียะฮ์” ที่ทรงอิทธิพลและเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าในระดับนานาชาติ พระองค์ทรงให้การสนับสนุนขุนนางเปอร์เซีย ในการปฏิบัติราชการที่เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก

เมื่อย้ายราชธานีมาที่กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีกรุงเทพฯ เป็นนครหลวง ซึ่งเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาค ที่ดึงดูดมุสลิม จากหลายเชื้อชาติ ให้เดินทางเข้ามาในแต่ละช่วงเวลา ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ทางราชการได้เปิดโอกาสให้มุสลิมกลุ่มต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนในการพัฒนาประเทศ

โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีมุสลิมตั้งถิ่นฐานอยู่หลายชุมชน เช่น ชุมชนนักรบ ที่มัสยิดบ้านครัว ชุมชนช่างฝีมือที่มัสยิดจักรพงษ์ ชุมชนช่างทองที่มัสยิดตึกดิน ชุมชนเกษตรกรรมที่มัสยิดทรายกองดิน ในขณะที่ทางภาคเหนือมีมุสลิมเชื้อสายปากีสถาน อินเดีย และจีน เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนทางภาคใต้นั้น เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายูที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม

ในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ มุสลิมในประเทศไทย หรือที่ชาวไทยเรียกว่า แขก นั้น อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของพระยาจุฬาราชมนตรี

โดยผ่านทางอิหม่ามหรือผู้นำของแต่ละชุมชนซึ่งมีมัสยิดเป็นศาสนสถานที่สำคัญ ทางราชการให้สิทธิชุมชนมุสลิมดำเนินกิจกรรมตามหลักคำสอน และความเชื่อ ของศาสนาอิสลาม

ในระยะแรก ชาวไทยมุสลิมมักรวมตัวกันในแต่ละกลุ่มชนชาติของตน เพื่อความสะดวกในการประกอบศาสนกิจตามหลักคำสอนของศาสนา โดยรวมตัวกันละหมาดในบ้านหลังใดหลังหนึ่ง

เมื่อชุมชนมีความมั่นคงมากขึ้นก็จะสร้างมัสยิดสำหรับละหมาดร่วมกัน และเป็นศูนย์กลางของชุมชนในด้านต่างๆ เช่น ที่ประชุมของหมู่บ้าน สอนศาสนา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งงานบุญที่จัดขึ้น ในโอกาสต่างๆ ด้วย มัสยิดจึงเป็นศูนย์กลางของชุมชนมุสลิมในประเทศไทย ที่อยู่ร่วมกับชาวพื้นเมือง ที่นับถือศาสนาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

โดยทั่วไปชาวไทยรู้จักมัสยิดในนามของ กุฎี สุเหร่า อิหม่ามบารา และ บาแล โดยเฉพาะคำว่า “กุฎี” ที่เรียกตามมุสลิมท้องถิ่น และมุสลิมนิกายชีอะฮ์เชื้อสายเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มขุนนางที่มีบทบาทสำคัญในราชสำนักสยาม เกี่ยวกับการดูแลด้านการค้า รวมถึงการกำกับดูแลมุสลิมเชื้อสายต่างๆ ทั้งในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว มีการสร้างมัสยิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔๓ มีความว่า
“พวกแขกมะหะหมัด ซึ่งในประเทศอินเดียเรียกกันว่า พวกแขกมัวร์นั้น ก็คงจะมาตั้งทำมาค้าขายในเมืองสงขลาอย่างพวกจีนเหมือนกัน ถ้าพวกแขกมะหะหมัดได้มาที่สงขลาแล้ว ในขั้นแรกก็คงจะขอสร้างวัดและสร้างสุเหร่าขึ้นก่อน”

มุสลิมในชุมชนต่างๆ ได้ร่วมกิจกรรมและติดต่อช่วยเหลือกันตามแนวคิด “อิควะฮ์” หรือ “ความเป็นพี่น้องในหมู่ผู้ร่วมศรัทธา หรือประชาชาติอิสลาม” ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน การสร้างมัสยิดในประเทศไทยจึงเป็นศูนย์กลาง ของเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีดังกล่าว โดยมีบทบาทในการเป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนาและสังคม เช่นเดียวกับมัสยิดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.)และมัสยิดตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก แต่ไม่ได้แยกประเภทตามขนาด ของการใช้งาน ดังเช่นมัสยิดในต่างประเทศ โดยทั่วไปมักรวมเอากิจกรรมในระดับต่างๆ ไว้ในมัสยิดชุมชน ตามลักษณะของกิจกรรมที่เกิดขึ้น ในแต่ละช่วงเวลา ได้แก่

• กิจกรรมประจำวัน เช่น การละหมาด ๕ เวลา การสอนศาสนา การประชุม
• กิจกรรมในรอบปี เช่น การละหมาดในวันอีดิลฟิตริ์ วันอีดิลอัฎฮา
• กิจกรรมในรอบชีวิต เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ

ลักษณะการใช้งานมัสยิดจะมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น เช่น ในการละหมาดประจำวัน อาจใช้พื้นที่บางส่วน ของโถงละหมาด แต่ในวันศุกร์มีผู้ละหมาดเพิ่มขึ้น อาจใช้พื้นที่เต็มโถงละหมาด และอาจขยายออกมาบริเวณโถงอเนกประสงค์ หรือระเบียงโดยรอบ รวมทั้งการละหมาดในโอกาสสำคัญ เช่น ในวันอีดิลฟิตริ์ อาจขยายการใช้งานออกมาสู่ลานอเนกประสงค์ ภายนอกมัสยิด

ภาพประกอบ มัสยิดกมาลุ้ลอิสลาม เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ ในอดีต

ละหมาดวันศุกร์แรกในอิสลาม.   มัสยิดวันศุกร์ตั้งอยู่ในบ้านของชนเผ่าบานีสาเลม จากค็อชร็อต และในวันศุกร์แรกหลังจากการย้ายถิ...
18/03/2023

ละหมาดวันศุกร์แรกในอิสลาม.

มัสยิดวันศุกร์ตั้งอยู่ในบ้านของชนเผ่าบานีสาเลม จากค็อชร็อต และในวันศุกร์แรกหลังจากการย้ายถิ่นฐาน ท่านนบีมุฮัมมัดศ็อลลอฮุอาลัยฮิวาสัลลัม เมื่อเขาไปถึงกูบาอ์ ผู้อพยพ เขาอยู่ที่นั่นเป็นเวลาหลายวันแล้วเขาก็ออกจากมันในเช้าวันศุกร์มุ่งหน้าไปยังเมืองมาดีนะห์
ดังนั้นการละหมาดวันศุกร์จึงมาถึงในสถานที่นี้และเป็นที่อาศัยของบานีสาเลมบินเอาฟจากชนเผ่าอันศอร มัสยิดคือ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมาดีนะห์ บนลำธารวาดีล์รานูนา ทางเหนือของมัสยิดกูบาอ์ ห่างจากมัสยิดประมาณ 900 เมตร และห่างจากมัสยิดท่านนบีประมาณ 2,300 เมตร

ขอต้อนรับแฟนตัวยงคนใหม่ของฉัน! 💎الحمدلله สุภัชสร น้ําดอกมะลิ, Na Sopa, นา ครัว ฮาลาล, B**g Mud, Dada Tana, Abdulloh Hama...
17/03/2023

ขอต้อนรับแฟนตัวยงคนใหม่ของฉัน! 💎
الحمدلله
สุภัชสร น้ําดอกมะลิ, Na Sopa, นา ครัว ฮาลาล, B**g Mud, Dada Tana, Abdulloh Hama, Junaidy Alibni, Nadear Yanghad, Ameeruding Changhoh, Laila Arlavee, Assanee Semman, Duangjai Adam, Reddy Daeng Shokle, Chebuerahem Doloh, อับดุล กอเดร์, Subidah Buasri, Naruephat Arjhan, قدرة مدادم, Miswaree Tayek

กูโบร์ของอิบราฮิม  บุตรชายของท่านรอซูลลุลอฮฺ ศ็อลลอลฮฺอาลัยฮิวาสัลลัม  มีบุตรกับมารียะห์ อัลกิบตียะห์ รอฎียัลลอฮุอันฮา เ...
17/03/2023

กูโบร์ของอิบราฮิม บุตรชายของท่านรอซูลลุลอฮฺ ศ็อลลอลฮฺอาลัยฮิวาสัลลัม มีบุตรกับมารียะห์ อัลกิบตียะห์ รอฎียัลลอฮุอันฮา เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 10 อายุ 1 ขวบ กับ 10 เดือน ได้ฝั่งที่กุโบร์ บากิอ์

ชาวอียิปต์ผู้ถ่ายภาพกะบะห์และฮัจญ์รูปแรกเมื่อ 133 ปีที่แล้ว มูฮัมหมัด ซาดิก เยือนซาอุดีอาระเบียในปี 2423 และออกมาพร้อมกั...
17/03/2023

ชาวอียิปต์ผู้ถ่ายภาพกะบะห์และฮัจญ์รูปแรกเมื่อ 133 ปีที่แล้ว
มูฮัมหมัด ซาดิก เยือนซาอุดีอาระเบียในปี 2423 และออกมาพร้อมกับภาพที่พวกเขาขายทอดตลาดในราคาหลายล้านเหรียญ
ในห้องสมุด King Abdul Aziz ในริยาด มีเอกสารสำคัญหายากที่มีแผนที่ ต้นฉบับ และภาพถ่ายเก่ากว่า 6,000 รูปของซาอุดีอาระเบีย Admiralty Staff of Harb Muhammad Sadeq Bey ถ่ายภาพเอกสารเก่าที่สุด
ชื่อที่พบบ่อยที่สุดของภาพแรกของซาอุดีอาระเบียคือ มูฮัมหมัด ซาดิก เบย์ ซึ่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2445 ขณะอายุได้ 70 ปี เขาศึกษาวิศวกรรมการทหารและการถ่ายภาพในปารีส และได้รับประกาศนียบัตรจากคณะหนึ่ง จากนั้นเข้าร่วมกองทัพอียิปต์ จากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักร 3 ครั้งระหว่าง พ.ศ. 2403-2423 และทรงถ่ายภาพต่างๆ ไว้ในนั้น อีกทั้งทรงวาดแผนที่และลายลักษณ์อักษรเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์
Muhammad Sadiq Bey เขียนหนังสือ 4 เล่มเกี่ยวกับการเดินทางของเขา หนังสือที่สำคัญที่สุดคือ "Mashaal Al-Mahmal" จำนวน 60 หน้า และพิมพ์ในปี 1867 และอีกครั้งในปี 1881 ที่ Wadi El-Nil Press ในกรุงไคโร
มูฮัมหมัด ซาดิก พบก็คือ บางคน "เป็นภาพพาโนรามาของมัสยิดใหญ่แห่งเมกกะจากยอดเขา Abi Qubeis เช่นเดียวกับจากภายในลานของกะอ์บะฮ์ และภาพของเมดินาจากนอกกำแพงจาก ด้านข้างของประตูซามีย์ ซึ่งเขาถ่ายจากยอดหอคอยและบรรยากาศอื่นๆ ของสภาพอากาศที่อบอุ่น”
ภาพถ่ายกลุ่มแรกของเขาซึ่งมีทั้งหมด 12 ภาพ ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประชุมสมาคมนักภูมิศาสตร์นานาชาติครั้งที่สามในปี พ.ศ. 2424 ที่เมืองเวนิส
มีข้อมูลสำคัญที่ฉันพบและไม่ได้กล่าวถึง ยกเว้นในภาษาเยอรมัน และหลังจากแปลแล้ว วิลเฮล์ม ไรส์ นักธรณีวิทยาและนักสำรวจชาวเยอรมัน (เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2451) ได้รับรูปภาพในแท็บเล็ตดั้งเดิมจากเขาเมื่อเขาพบ เขาในปี พ.ศ. 2426 ระหว่างการเดินทางของทั้งสองในตูนิเซีย และพวกเขาเป็นหนึ่งใน 18 ภาพที่ Reiß รวมไว้ในคอลเล็กชันของเขา จากนั้น การกล่าวถึงภาพถ่ายใดๆ ก็หายไป จนกระทั่งมีการประกาศว่ามีคนซื้อภาพเหล่านี้ในราคา 2 ล้าน 900,000 ดอลลาร์ใน 2532 ในการประมูลสาธารณะ

มัสยิดใหญ่อัลจับบาร์ (مسجد الجامع الجبار) Masjid Al-Jabbar    เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ในเมืองบันดุง จังหวัดชวาตะวันตก ประเท...
16/03/2023

มัสยิดใหญ่อัลจับบาร์ (مسجد الجامع الجبار) Masjid Al-Jabbar

เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ในเมืองบันดุง จังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อมัสยิดลอยน้ำ ใช้งบประมาณของรัฐประมาณ 1 ล้านล้านจากงบประมาณของภูมิภาค การก่อสร้างมัสยิดแห่งนี้เริ่มขึ้นในปี 2560 บนทะเลสาบเทียมและแล้วเสร็จในปี 2020

มัสยิดแห่งนี้ริเริ่มโดย Ridwan Kamil อันเป็นผลจากค่าใช้จ่ายที่สูงถึง 1 ล้านล้าน ด้านในอาคาร
การวางศิลาก้อนแรกสำหรับมัสยิดแห่งนี้ดำเนินการเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2017 เนื่องจากความหนาแน่นของพื้นที่อยู่อาศัย รัฐบาลจังหวัดชวาตะวันตกจึงริเริ่มสร้างมัสยิดที่ใหญ่กว่ามัสยิดใหญ่แห่งบันดุง จากนั้น แนวคิดในการสร้างมัสยิดได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลอินโดนีเซีย

มัสยิดสวนพลู กรุงเทพมหานคร    มัสยิดสวนพลูตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย หากเดินทางมาจะอยู่ ซอยเทอดไท 11 ถนนเทอ...
15/03/2023

มัสยิดสวนพลู กรุงเทพมหานคร
มัสยิดสวนพลูตั้งอยู่ริมทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย หากเดินทางมาจะอยู่ ซอยเทอดไท 11 ถนนเทอดไท ฝั่งตรงข้ามสำนักงานเขตธนบุรี สาเหตุที่มีชื่อว่า สวนพลู เนื่องจากในอดีตพื้นที่บริเวณนี้กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นสวนที่ปลูกต้นพลู เพื่อบริโภคและส่งขาย จนกระทั้งถึงยุคที่มีคำสั่งห้ามคนไทยกินหมาก ทำให้การปลูกพลูต้องเลิกไป
มุสลิมในบริเวณมัสยิดสวนพลู ประกอบด้วยมุสลิมเชื้อชาติไทยแต่ดั่งเดิม และเชื้อสายมลายูจากอยุธยา ซึ่งคงอพยพมาตั้งแต่สมัยกรุงแตก เชื้อสายมลายูที่ถูกกวาดต้อนมาจากอาณาจักรปัตตานี และมุสลิมจากอินเดียเข้ามาตั้งถิ่นฐานในชุมชนนี้ด้วยเช่นกัน

มัสยิดอินโดนีเซีย กรุงเทพมหานครเมื่อ 100 ปีกว่ามานี้มุสลิมชาวยวาหรือชวาชนชาติชนชาติเชื้อสายจากประเทศอินโดนิเซียได้ย้ายภู...
14/03/2023

มัสยิดอินโดนีเซีย กรุงเทพมหานคร
เมื่อ 100 ปีกว่ามานี้มุสลิมชาวยวาหรือชวาชนชาติชนชาติเชื้อสายจากประเทศอินโดนิเซียได้ย้ายภูมิลำเนาเดิมบางส่วนมาอาศัยพักพิงในประเทศไทยรุ่นแรกรวมกลุ่มพักอาศัยที่บริเวณตรอกโรงน้ำแข็งอำเภอบางรักกรุงเทพมหานครรุ่นสองมารวมกลุ่มตั้งรกรากที่ซอยโปโลเกลียดปทุมวันกรุงเทมหานคร(ตำบลปทุมวันตอนริมคลองเตย)
กระจายอาศัยอยู่ตามแหล่งชุมชนซอยรางน้ำบ่อนไก่สะพานหัวช้างสะพานไม้ห้างคอนแวนต์ซึ่งแต่ละครอบครัวมีอาชีพค้าขายทำสวนขับรถเป็นต้นแต่จากแรงศรัทธาต่อเอกองค์ อัลเลาะห์ (ซ.บ.) โดยอีหม่าม อัลมัรฮูมฮัจยีซาและห์ ได้แบ่งที่ดินเช่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามแปลหมายเลข 19 ก. เนื้อที่ทางทิศเหนือ 10.65 เมตรทิศใต้ 10.30 เมตรทิศตะวันออก 13.20 เมตรและทิศตะวันตก 13.20 เมตรรวมที่ดิน 49 ตารางวาด้วยความร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินและงานก่อสร้างมัสยิดเป็นอาคารไม้สองชั้นเมื่อปีพ.ศ. 2492
อีหม่ามฮัจยีอาลี บินนรุและคณะกรรมการ ทำเรื่องโอนสิทธิ์เลขที่ทะเบียนบ้านต่อสำนักงานส่วนทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และหน่วยงานราชการต่างๆรวมทั้งนำเรื่องขอตั้งชื่อกับสถานทูตอินโดนีเซียโดย ฯพณฯ พูดอนุมัติตั้งชื่อมัสยิดอินโดนิเซียตามความเป็นจริงเพื่อชาติเดียวกัน(ตามทะเบียนเลขที่ 85 ของกรมศาสนา) จากการใช้งานทางศาสนกิจหรือสาธารณะชุมชนมีสภาพชำรุดสุดโทรมและมีการซ่อมแซมมาหลายครั้งให้คงสภาพใช้งานได้ตามสภาพประกอบกับพื้นที่มีความจำกัดนอกจากใช้ทำละหมาดชั้นล่าง จัดเป็นโรงเรียนสอนศาสนาและที่เก็บเครื่องใช้ต่างๆอีกทั้งบริเวณโดยรอบใกล้เคียงมัสยิด จะมีชาวต่างชาตินักท่องเที่ยวนักธุรกิจเข้ามาใช้ทำศาสนกิจเป็นจำนวนมาก
Masjid indonesia

มัสยิด Nord Kamal เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเมือง Norilsk ประเทศรัสเซีย มันถูกระบุไว้ใน Guinness Book of Records ว่าเป็นม...
14/03/2023

มัสยิด Nord Kamal เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเมือง Norilsk ประเทศรัสเซีย มันถูกระบุไว้ใน Guinness Book of Records ว่าเป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ทางเหนือที่สุดในโลก มันถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจ Mukhtad Bekmeyev ชาวตาตาร์พื้นเมืองของ Norilsk ซึ่งตั้งชื่อตามพ่อของเขา Nuritdin และแม่ Gaynikamal ออกแบบโดยสถาปนิกท้องถิ่น Josef Muire

ที่อยู่

84รามคำแหง 60 แขวงพลับพลา วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
Bangkok
10310

เบอร์โทรศัพท์

+66988989071

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Mosque reviewผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Mosque review:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


ครีเอเตอร์ดิจิทัล อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด