ทำนองหลัก เพลงสาลิกาแก้ว
เพลงสาลิกาแก้ว ประเภทหน้าทับสองไม้ ใช้บรรเลงขับกล่อมและบรรเลงประกอบการแสดงโขนละครทั่วไป
ท่านสามารถรับชมเพื่อปรับความเร็วได้ทาง Youtube ตาม Link ด้านล่าง
https://youtu.be/28o1AkNC-58
*** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนตรีที่ผ่านการเรียนเพลงดังกล่าวมาแล้วได้ทบทวน ผู้จัดทำยังเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรเรียนกับครูผู้ชำนาญการ ***
ผู้บรรเลงฆ้องวงใหญ่ : ปกป้อง ขำประเสริฐ
ฉิ่งและกลอง : เรียบเรียงในโปรแกรม FL Studio 20
Camera : Panasonic Lumix Gh4 with LUMIX G X VARIO 12-35mm / F2.8 II ASPH. / POWER O.I.S
ทำนองหลัก เพลงต่อยรูป เถา
เพลงต่อยรูป เถา เป็นเพลงประเภทปรบไก่ มี 3 ท่อน ท่อน 1 และท่อน 2 ยาว 4 จังหวะ ท่อน 3 ยาว 6 จังหวะ เป็นเพลงไทยที่นิยมบรรเลงกันโดยทั่วไปทั้งเครื่องสายและปี่พาทย์
ครูมนตรี ตราโมทและครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้กล่าวถึงประวัติของเพลงนี้ไว้ในหนังสื่อชื่อ "ฟังและเข้าใจเพลงไทย" ว่า
" เพลงต่อยรูป ๒ ชั้น เป็นของเก่า ครูเพ็งเป็นผู้แต่งขึ้นเป็น ๓ ชั้น และเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๘ นายมนตรี ตราโมท ได้ตัดแต่งชั้นเดียวขึ้น เพื่อให้ครบเป็นเถา บทร้องของเดิมมีแต่เพียง ๓ ชั้น ขึ้นต้นว่า “แว่วแว่วอยู่ข้างในจะใคร่รู้ ฯ ล ฯ” ยังค้นไม่พบว่าอยู่ในเรื่องอะไร เพราะฉะนั้น เมื่อได้ทำให้เป็นเพลงเถาขึ้น จึงได้คัดกลอนจากเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหลงรูปนางละเวง มาใช้เป็นบทร้องให้ครบเถา "
นอกจากการบรรเลงรวมวงแล้ว เพลงต่อยรูปยังมีผู้นิยมประพัน
ทำนองหลัก เพลงมอญดูดาว
เพลงมอญดูดาวเป็นเพลงไทยสำเนียงมอญยอดนิยมอีกเพลงหนึ่งที่ถูกนำมาบรรเลงในวาระต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง ทั้งการบรรเลงขับกล่อมและการบรรเลงประกอบการแสดง โดยเพลงมอญดูดาวนี้เป็นเพลงหลักในการแสดง "รำพลายชุมพล" ซึ่งมีเนื้อร้องว่า
" แล้วจัดแจงแต่งกายพลายชุมพล แปลงตนเป็นมอญใหม่ดูคมสัน
นุ่งผ้าตาหมากรุกของรามัญ ใส่เสื้อลงยันต์ย้อมว่านยา
คอผูกผ้าประเจียดของอาจารย์ โอมอ่านเสกผงผัดหน้า
คาดตะกรุดโทนทองของบิดา โพกผ้าสีทับทิมริมขลิบทอง
ถือหอกสัตตะโลหะชนะชัย เหมือนสมิงมอญใหม่ดูไวว่อง
ขุนแผนขี่สีหมอกออกลำพอง ชุมพลขึ้นกะเลียวผยองนำโยธา"
ซึ่งการแสดงชุดดังกล่าวบรรจุรวมอยู่ในการแสดงละครเสภาเรื่องขุนข้างขุนแผนตอนพระไวยแตกทัพ สำหรับบทขับร้องดังกล่าวครูมนตรี ตราโมทเป็นผู้ปรับปรุงจากบทของเดิม ออกแสดงครั้ง
ทำนองหลัก เพลงแสนสุดสวาท สามชั้น
เพลงแสนสุดสวาทสามชั้น เป็นเพลงประเภทปรบไก่ มีสองท่อน ท่อนแรกยาว 6 จังหวะ ท่อนที่สอง ยาว 4 จังหวะ
ครูมนตรี ตราโมทและครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้กล่าวถึงประวัติของเพลงนี้ไว้ในหนังสื่อชื่อ "ฟังและเข้าใจเพลงไทย" ว่า
" เพลงแสนสุดสวาทนี้ หลวงเสนาะดุริยางค์ (ทองดี ทองพิรุฬห์) เป็นผู้แต่งขึ้นถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ โดยใช้ทำนอง ๒ ชั้นเพลงเดียวกับเพลงเทพรัญจวน หากแต่เอาทำนองท่อน ๒ ตอนต้นเข้ามารวมเป็นท่อนต้นเสีย ๒ จังหวะ ท่อน ๒ จึงกลับหลังเป็นหน้า ส่วนทำนองร้อง ๒ ชั้นและชั้นเดียว ซึ่งนำมาร้องเป็นเพลงเถา นายจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำทำนองขึ้น "
ท่านสามารถรับชมเพื่อปรับความเร็วได้ทาง Youtube ตาม Link ด้านล่าง
https://youtu.be/D7fzTatnWZM
*** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนต
เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงพญาโศก สามชั้น ทางครูสมภพ ขำประเสริฐ
"เพลงสมภพ"
โครงการบันทึกฐานข้อมูลเพลงไทย
ผลงานของครูสมภพ ขำประเสริฐ
ในวาระ ๑๐๐ ปี ชาตกาล
พุทธศักราช ๒๕๖๘
----------------------------------------------
ครูพิชิต กิจวาส (อดีตข้าราชการครูดนตรีไทย โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน จังหวัดชัยภูมิ) เป็นบุตรชายของคุณครูประยูร กิจวาส ผู้ก่อตั้งวงปี่พาทย์ศิลปแสงทอง ทั้งครูประยูรและครูพิชิตเป็นศิษย์ของครูสมภพ ขำประเสริฐ ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม ไปมาหาสู่กันจนวาระสุดท้ายของชีวิตครูสมภพ
ครูพิชิตได้กรุณาเดินทางมาบันทึกเสียงเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงพญาโศก สามชั้น ที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูสมพงษ์ ภู่สร ลูกศิษย์อีกท่านหนึ่งของครูสมภพ ขำประเสริฐ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในสายสืบทอดวิชาปี่พาทย์ของครูสมภพอย่างชัดเจน แม้จะสิ้นครูสมภพแล้ว ลูกศิษย์ในสำนักก็ยังรักใครและช่วยเหลือกั
ทำนองหลัก เพลงคลื่นกระทบฝั่ง สองชั้น
เพลงคลื่นกระทบฝั่ง เป็นเพลงประเภทสองไม้ มีสองท่อน เป็นเพลงลำดับแรกในเพลงตับวิวาห์พระสมุทร
สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติเพลงเกร็ดและละครร้อง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้กล่าวถึงเพลงคลื่นกระทบฝั่งว่า
"เพลงคลื่นกระทบฝั่งอัตราสองชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มี 2 ท่อน ปรากฎอยู่ในเรื่องเพลงฉิ่งโบราณ ซึ่งกระกอบด้วยเพลงฟองน้ำ เพลงฝั่งน้ำ และเพลงคลื่นกระทบฝั่ง ..... นอกจากนี้ยังปรากฎอยู่ในเพลงเรื่องจิ้งจกทอง"
ปัจจุบันเพลงคลื่นกระทบฝั่งยังใช้บรรเลงโดยทั่วไปในฐานะเพลงสองชั้นยอดนิยมอีกเพลงหนึ่ง ซึ่งใช้บรรเลงรับร้องในงานขับกล่อม รวมถึงใช้บรรเลงประกอบการแสดงต่าง ๆ เช่น โขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนนางลอย เป็นต้น
ท่านสามารถรับชมเพื่อปรับความเร็วได้ทาง Youtube ตาม Link ด้านล่าง
https://youtu.be/KXmy0xQPw_s
*** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุป
ทำนองหลัก เพลงกล่อมนารี เถา
เพลงกล่อมนารี เถา เป็นเพลงเถายอดนิยมอีกเพลงหนึ่งที่นักดนตรีไทยมักจะหยิบมาบรรเลงบ่อยครั้ง ยิ่งถ้างานไหนไม่ได้มาจากวงเดียวกัน ไม่ได้ซ้อมมาด้วยกัน ข้อสรุปก็มักจะมาจบที่เพลงกล่อมนารี เพราะว่านักดนตรีไทยต้องเล่นเพลงนี้ได้ทุกคนครับ
เพลงกล่อมนารีเป็นเพลงที่กำกับด้วยหน้าทับปรบไก่ เป็นเพลงท่อนเดียว เวลาบรรเลงเล่นอัตราละสองรอบ จึงมีผู้ประพันธ์หลายท่านได้ประพันธ์ทาวเปลี่ยนสำหรับเพลงนี้ เพื่อไม่ให้ต้องบรรเลงทำนองเดิมซ้ำกันสองรอบครับ
ครูมนตรี ตราโมทและครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้เล่าถึงเพลงกล่อมนารีในหนังสือฟังและเข้าใจเพลงไทยว่า
"เพลงกล่อมนารีชั้นเดียวเป็นเพลงโบราณอยู่ในเรื่องสีนวล สำหรับทำนอง ๒ ชั้น นายมนตรี ตราโมท จำมาจากนางเคลือบ ต้นเสียงหุ้นกระบอกของ ม.ร.ว. เถาะ พยัคฆเสนา และได้แต่งขึ้นเป
ทำนองหลัก เพลงทยอยเขมร สามชั้น
เพลงทยอยเขมร สองชั้น ของเดิมบรรเลงรวมอยู่ในเพลงเรื่องทยอย
ครูมนตรี ตราโมทและครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้กล่าวถึงประวัติของเพลงนี้ไว้ในหนังสื่อชื่อ "ฟังและเข้าใจเพลงไทย" ว่า
" เพลงทยอยเขมร อัตรา ๒ ชั้น เป็นเพลงไทยที่มีมาแต่โบราณ บรรเลงรวมอยู่ในเพลงเรื่องทยอย ในบางโอกาสก็แยกออกมาใช้เป็นเพลงร้องประกอบการแสดงโขนละคอน เพลงทยอยเขมร ๒ ชั้นนี้ มีทำนองและสำเนียงแสดงถึงอารมณ์โศกสลด เพราะฉะนั้น ทั้งในการบรรเลงดนตรีและขับรอ้งประกอบการแสดงโขนละคอน จึงใช้ในเวลาที่เป็นการแสดงอาการโศกเศร้ารำพึงรำพันในขณะเดินทาง และยังใช้กันมาจนปัจจุบันนี้
เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ ครูแตง ผู้มีฝีมือในทางเป่าปี่ผู้หนึ่ง จนได้สมญาว่า ครูแตงปี่ ได้นำเองเพลงทยอยเขมร ๒ ชั้นนั้น มาแต่งขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น การแต่งขยายขึ้นมาเป็น
เพลงพม่าเห่ สองชั้น
ทางเปลี่ยน ครูสมภพ ขำประเสริฐ
นำเสนอทำนองหลักในรูปแบบดนตรีร่วมสมัย เรียบเรียงเสียงประสานด้วยคอมพิวเตอร์มิวสิคโดย ปกป้อง ขำประเสริฐ
ทำนองหลัก เพลงลาวดำเนินทราย สองชั้น
เพลงลาวดำเนินทราย เป็นเพลงสำเนียงลาวประเภทสองไม้ มีสองท่อน
ครูมนตรี ตราโมทและครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้กล่าวถึงประวัติของเพลงนี้ไว้ในหนังสื่อชื่อ "ฟังและเข้าใจเพลงไทย" ว่า
" เพลงลาวดำเนินทราย ๒ ชั้นนี้ เป็นเพลงของจ่าเผ่นผยองยิ่ง (โคม) ได้คิดขึ้นโดยเฉพาะแต่ทางร้อง ซึ่งเรียกกันว่าทางสักวา ต่อมาพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ได้คิดทางดนตรีขึ้นไว้สำหรับขับร้องในวงเครื่องสายปี่ชวา ทำนองของเพลงแสดงถึงกิริยาอาการของคู่รัก ซึ่งกำลังตัดพ้อต่อว่าซึ่งกันและกัน "
ท่านสามารถรับชมเพื่อปรับความเร็วได้ทาง Youtube ตาม Link ด้านล่าง
https://youtu.be/OeVECsoXaWc
*** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนตรีที่ผ่านการเรียนเพลงดังกล่าวมาแล้วได้ทบทวน ผู้จัดทำยังเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรเรียนกับครูผู้ชำนาญกา