ThailandHaze เกาะติดสถานการณ์มลพิษทางอากาศของป?

08/04/2023

นโยบายของประชาชน เพื่อประชาชน?! พูดคุยในมิติการมีนโยบายที่ดูแล ป้องกัน และเยียวยาพื้นที่ประสบภัย pm 2.5 ในเชียงใหม่และภาคเหนือ โดย ผศ.ดร.อรอร ภู่เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , คุณหนุ่ย-ชนกนันทน์ นันตะวัน จาก สม-ดุล เชียงใหม่ หนึ่งในผู้ที่ขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ที่ติดตามสถานการณ์ฝุ่น pm 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง และ คุณชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ องค์กรอิสระที่ทำงานเพื่ออากาศบริสุทธิ์ของคนเชียงใหม่มาหลายปี

01/04/2023

ภาพนักเตะเชียงรายยูไนเต็ด ลงฝึกซ้อมท่ามกลางฝุ่นควัน หลังจังหวัดเชียงรายเกิดวิกฤตฝุ่นควันเกินค่ามาตราฐานมาแล้วนานกว่า 6 วัน
โดยเกมกับการท่าเรือ ในวันที่ 4 เมษายนนี้ จะลงแข่งขันกันตามปกติ ไม่มีการเลื่อนการแข่งขันออกไป

#ไฟป่า #ฝุ่นควัน #เชียงราย #ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน #เชียงรายยูไนเต็ด

01/04/2023

ไฟป่าภูชี้ฟ้า จ.เชียงราย ทิ้งร่องรอยความเสียหายจากการเผาไหม้กินพื้นที่เป็นวงกว้าง ต้นไม้ถูกไฟไหม้เสียห.....

01/04/2023
01/04/2023
01/04/2023
01/04/2023
01/04/2023

ข่าวที่คุณวางใจ โดยสำนักข่าวไทยพีบีเอส ติดตามข่าวและสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศได้ที่นี่

01/04/2023
(1/4/66)..ชาวบ้านปงไคร้พร้อมด้วยญาติ จัดเตรียมสถานที่ภายในวัดปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็...
01/04/2023

(1/4/66)..ชาวบ้านปงไคร้พร้อมด้วยญาติ จัดเตรียมสถานที่ภายในวัดปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดงานศพ นายวิชัย ธิมาคำ ชาวบ้านที่เสียชีวิตขณะเข้าช่วยดับไฟป่า ขณะไฟกำลังลุกไหม้พื้นที่ป่า และลุกลามเข้าใกล้หมู่บ้าน
ภาพ/ข่าว...ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ
#ชาวบ้านปงไคร้ #ไฟป่า #เสียชีวิต

31/03/2023

ฝุ่นพิษ PM2.5 อันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ความคืบหน้าในการแก้ปัญหาถึงไหน และควรแก้ปัญหาอย่างไรให้ยั่งยืน ขอบพระคุณ #มูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มากครับ ที่ช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของฝุ่นพิษ

จุดความร้อนวานนี้ ไทยสูงปรี๊ด...!! ถึง 5.5 พันจุด สูงสุดในรอบปี 5 ที่ผ่านมา 🛰 GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี...
28/03/2023

จุดความร้อนวานนี้ ไทยสูงปรี๊ด...!! ถึง 5.5 พันจุด สูงสุดในรอบปี 5 ที่ผ่านมา
🛰 GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 26 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อนมากที่สุด 5,572 จุด สูงสุดในรอบปี 5 จากการเก็บสถิติที่ผ่านมา ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างพม่ายังครองแชมป์สูงสุงถึง 10,563 จุด ตามด้วย สปป.ลาว 9,652 บาท, กัมพูชา 1,342 จุด, เวียดนาม 870 จุด และ มาเลเชีย 22 จุด
🏜 สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 2,982 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,785 จุด , พื้นที่เกษตร 376 จุด, พื้นที่ชุมชนอื่นๆ 207 จุด , พื้นที่เขต สปก. 202 จุด , และพื้นที่ริมทางหลวง 20 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือ #น่าน 638 จุด #แม่ฮ่องสอน 558 จุด และ #อุตรดิตถ์ 430 จุด
✅ สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
🔹 อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้ GISTDA ยังคงติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่
📲 ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fire.gistda.or.th หรือ ติดตามข้อมูลจาก https://fire.gistda.or.th/dashboard.html และควรติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"
#จิสด้า #ไฟป่า #หมอกควัน #คุณภาพชีวิต #วิเคราะห์ข้อมูล #มลพิษทางอากาศ #จุดความร้อน #คุณภาพอากาศ #ค่าฝุ่นละออง #ฝุ่นพิษวิกฤติชาติ #รู้สู้ภัยพิบัติ

🔥 จุดความร้อนวานนี้ ไทยสูงปรี๊ด...!! ถึง 5.5 พันจุด สูงสุดในรอบปี 5 ที่ผ่านมา
🛰 GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 26 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อนมากที่สุด 5,572 จุด สูงสุดในรอบปี 5 จากการเก็บสถิติที่ผ่านมา ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างพม่ายังครองแชมป์สูงสุงถึง 10,563 จุด ตามด้วย สปป.ลาว 9,652 บาท, กัมพูชา 1,342 จุด, เวียดนาม 870 จุด และ มาเลเชีย 22 จุด

🏜 สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 2,982 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,785 จุด , พื้นที่เกษตร 376 จุด, พื้นที่ชุมชนอื่นๆ 207 จุด , พื้นที่เขต สปก. 202 จุด , และพื้นที่ริมทางหลวง 20 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือ #น่าน 638 จุด #แม่ฮ่องสอน 558 จุด และ #อุตรดิตถ์ 430 จุด

✅ สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

🔹 อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้ GISTDA ยังคงติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่

📲 ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fire.gistda.or.th หรือ ติดตามข้อมูลจาก https://fire.gistda.or.th/dashboard.html และควรติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"

#จิสด้า #ไฟป่า #หมอกควัน #คุณภาพชีวิต #วิเคราะห์ข้อมูล #มลพิษทางอากาศ #จุดความร้อน #คุณภาพอากาศ #ค่าฝุ่นละออง #ฝุ่นพิษวิกฤติชาติ #รู้สู้ภัยพิบัติ

 ียงราย เช้านี้ (28 มี.ค. 66) เวลา 05.00 น. เป็นครั้งแรกฝุ่น PM2.5 ที่ตัวอำเภอเมืองเชียงราย เฉลี่ยทะลุ 400 ไมโครกรัมต่อล...
28/03/2023

ียงราย เช้านี้ (28 มี.ค. 66) เวลา 05.00 น. เป็นครั้งแรกฝุ่น PM2.5 ที่ตัวอำเภอเมืองเชียงราย เฉลี่ยทะลุ 400 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่ฝุ่น PM2.5 ณ อ.แม่สาย ยังทำสถิติเกิน 500 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรต่อเนื่องเกิน 3 วัน
่สาย #แม่สาย #แม่สายเชียงราย ียงราย #ฝุ่นPM25 #ฝุ่นภาคเหนือ

ทางออกของ “วิกฤตโลกรวน” โจทย์สุดหินที่ใช้ “ความยั่งยืน” ในการแก้ปัญหา 🌎แค่เราตื่นขึ้นมาในแต่ละวันนอกจากการเตรียมอาบน้ำแต...
27/03/2023

ทางออกของ “วิกฤตโลกรวน” โจทย์สุดหินที่ใช้ “ความยั่งยืน” ในการแก้ปัญหา 🌎
แค่เราตื่นขึ้นมาในแต่ละวันนอกจากการเตรียมอาบน้ำแต่งตัวเพื่อไปทำงาน สิ่งที่มักทำประจำในช่วงนี้ก็คือ “การเช็กค่ามลพิษทางอากาศ (AQI)” ถึงแม้จะเป็นคนที่มีสุขภาพปกติดีก็อยากที่จะเตรียมตัวสวมแมสก์กรองฝุ่นดีๆ ก่อนออกจากบ้าน เพราะกว่าจะถึงที่ทำงานก็เหมือนผ่านสมรภูมิรบที่มีแต่ฝุ่นควัน
ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า แค่เรื่องนี้เรื่องเดียวก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนมากแล้ว แต่อย่าลืมว่าปัญหามลพิษทางอากาศไม่ใช่วิกฤตเดียวที่เราต้องตระหนักถึง แต่ยังมีวิกฤตสิ่งแวดล้อมหรือภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องรับมือ จนกลายเป็นวิกฤตโลกรวนที่รอไม่ได้อีกต่อไป สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ไกลตัวทุกคนเลย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องของ ‘ความยั่งยืน หรือ Sustainability’
เพื่อให้โลกและเราได้ไปต่อ..วันนี้! จัดเต็มทุกประเด็นที่คุณไม่ควรพลาดมาไว้ในทั้ง 2 Episodes แล้ว ดังนี้
🎧 ฟังเรื่องราวแบบเต็มๆ ได้ที่
EP5 : https://soundcloud.com/niathailand/the-echonomy-ep5
🎧 ฟังเรื่องราวแบบเต็มๆ ได้ที่
EP6 : https://soundcloud.com/niathailand/the-echonomy-ep6
ติดตามคอนเทนต์ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และสตาร์ทอัพที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่
https://www.nia.or.th/article/blog.html
#เชื่อมไทยสู่โลกแห่งนวัตกรรม #ความยั่งยืน #สิ่งแวดล้อม #ซู่ชิง

27/03/2023

สภาพอากาศทางภาคเหนือวิกฤตหนัก โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวานนี้(26 มี.ค.)ค่า PM2.5 พุ่งสูงเกิน 500 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เนื่องจากในพื้นที่ยังมีการเผาป่า ประกอบกับควันไฟป่าจากประเทศเพื่อนบ้านถูกลมพัดเข้ามา
#ไฟป่า #แม่สาย #ฝุ่นควัน #เชียงราย #ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

27/03/2023

ฝุ่นควันไฟป่าหลายจังหวัดภาคเหนือ ยังส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนไฟป่าลุกลามหลายจุด และ เกิดเหตุชาวบ้านหมดสติระหว่างดับไฟป่า
#ไฟป่า #ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

27/03/2023
หมอกควันเมียนมาหนักพอกัน15.00 น. สภาพท้องฟ้าในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควันหนา ทัศนวิสัยแย่ ไม่...
27/03/2023

หมอกควันเมียนมาหนักพอกัน
15.00 น. สภาพท้องฟ้าในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควันหนา ทัศนวิสัยแย่ ไม่ต่างจากอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ประเทศไทยที่อยู่ติดกัน
ภาพ/ข่าว...ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ
#ท่าขี้เหล็ก #เมียนมา

หมอกควันเมียนมาหนักพอกัน

15.00 น. สภาพท้องฟ้าในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควันหนา ทัศนวิสัยแย่ ไม่ต่างจากอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ประเทศไทยที่อยู่ติดกัน
ภาพ/ข่าว...ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ
#ท่าขี้เหล็ก #เมียนมา

อ.แม่สาย จ.เชียงราย ระดมฉีดน้ำทั้งเมือง ฝุ่น PM2.5 ยังพุ่งสูง ภาคประชาชน รวมตัวหน้าอำเภอ ยื่นขอประกาศเขตภัยพิบัติ แก้ฝุ่...
27/03/2023

อ.แม่สาย จ.เชียงราย ระดมฉีดน้ำทั้งเมือง ฝุ่น PM2.5 ยังพุ่งสูง ภาคประชาชน รวมตัวหน้าอำเภอ ยื่นขอประกาศเขตภัยพิบัติ แก้ฝุ่นข้ามแดน ระบุสาเหตุการเผาขยายปลูกข้าวโพด
#ไฟป่า #แม่สาย #ฝุ่นควัน #เชียงราย #ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ่สาย

22/03/2023

Live - เวทีเสวนาปัญหาฝุ่นPM2.5 ฝุ่นข้ามแดน
สภาวการณ์ในปัจจุบันประชาชนทางภาคเหนือของไทยต้องหายใจภายใต้มลพิษฝุ่นควัน PM2.5 ทุกปีมาเป็นระยะเวลานาน และเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างมาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย, เทศบาลตำบลแม่สาย ร่วมกับ สภาลมหายใจภาคเหนือ และ สภาลมหายใจเชียงราย กำหนดจัดกิจกรรมเสวนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา PM 2.5
วันที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 14:00 - 15:30

เสวนา "ปัญหา PM 2.5 ข้ามแดน" สภาวการณ์ในปัจจุบันประชาชนทางภาคเหนือของไทยต้องหายใจภายใต้มลพิษฝุ่นควัน PM2.5 ทุกปีมาเป็นระ...
22/03/2023

เสวนา "ปัญหา PM 2.5 ข้ามแดน" สภาวการณ์ในปัจจุบันประชาชนทางภาคเหนือของไทยต้องหายใจภายใต้มลพิษฝุ่นควัน PM2.5 ทุกปีมาเป็นระยะเวลานาน และเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างมาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย, เทศบาลตำบลแม่สาย ร่วมกับ สภาลมหายใจภาคเหนือ และ สภาลมหายใจเชียงราย กำหนดจัดกิจกรรมเสวนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา PM 2.5
วันที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 14:00 - 15:30 น.
โดย ท่านสามารถเข้าร่วมรับฟังการเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ เพื่อรับรู้ข้อมูลที่สำคัญและมีประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน!

บ่ายนี้!! เสวนา "ปัญหา PM 2.5 ข้ามแดน" สภาวการณ์ในปัจจุบันประชาชนทางภาคเหนือของไทยต้องหายใจภายใต้มลพิษฝุ่นควัน PM2.5 ทุกปีมาเป็นระยะเวลานาน และเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างมาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย, เทศบาลตำบลแม่สาย ร่วมกับ สภาลมหายใจภาคเหนือ และ สภาลมหายใจเชียงราย กำหนดจัดกิจกรรมเสวนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา PM 2.5

วันที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 14:00 - 15:30 น.

โดย ท่านสามารถเข้าร่วมรับฟังการเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ เพื่อรับรู้ข้อมูลที่สำคัญและมีประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน!

สรุปข้อเสนอที่สำคัญ จากเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างกรอบตัวชี้วัด กำหนดกรอบตัวชี้วัดมาตรฐาน และแนวทางการดำเนินงานสิ...
21/03/2023

สรุปข้อเสนอที่สำคัญ จากเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างกรอบตัวชี้วัด กำหนดกรอบตัวชี้วัดมาตรฐาน และแนวทางการดำเนินงานสิทธิในอากาศสะอาดและการจัดการมลภาวะทางอากาศที่เป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 66
📍สถานการณ์ ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันไฟป่า
1. นโยบายของรัฐและราชการในการห้ามเผา 100% โดยการกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาเด็ดขาด ส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร เกิดการเร่งชิงเผาที่ไม่ได้เผาตามหลักวิชาการและขาดการวางแผนที่ดี มีการลักลอบเผาในพื้นที่เกษตร พื้นที่ป่า พื้นที่ทำกิน ก่อนช่วงเวลาห้ามเผา ในเวลาพร้อมกัน จนเกิดจุดเผาไหม้จำนวนมากกระจายในพื้นที่ เกิดฝุ่นควัน มลพิษสะสมเป็นจำนวนมาก
2. มาตรการในการจัดการควบคุมไฟและเชื้อเพลิง ในระบบ FireD ในการตัดสินใจใช้ไฟจำเป็น การจัดการเชื้อเพลิง มีระเบียบ กติกาและเงื่อนไข ขั้นตอนที่ต้องมีการลงทะเบียนเพื่อขอจัดการเชื้อเพลิง มีข้อจำกัดทั้งในเรื่องอำนาจในการอนุมัติอนุญาตการจัดการไฟที่อำนาจการตัดสินใจเป็นของอำเภอ จังหวัด ในการขออนุญาติประชาชนไม่มีสิทธิขอโดยตรง
3. กลไกการตัดสินใจรวมศูนย์ที่จังหวัด การจัดการไฟไม่สอดคล้องกับการจัดการไฟในวิถีชีวิต ภูมิปัญญาดั้งเดิม เช่น การจัดการเชื้อเพลิงในไร่หมุนเวียน มีการเลี่ยงการเผาเพื่อหลบ Hotspot และไม่มีการกระจายอำนาจในการจัดการในระดับชุมชน
4. แผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยการถ่ายโอนภารกิจในการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น มุ่งเน้นเฉพาะการควบคุมไฟป่า แต่ยังไม่ครอบคลุมในเรื่องอำนาจในการบริหารจัดการไฟป่าในพื้นที่ ขณะเดียวกันการจัดทำแผนขาดการบูรณาการร่วมกับชุมชน ไม่มีสิทธิในการบริหารจัดการป่าของชุมชน ทำให้ไม่มีความสามารถในการจัดทำแผนที่ยั่งยืน ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณตามระเบียบราชการได้ และไม่มีอำนาจในการขออนุญาตการใช้ไฟในพื้นที่ป่า
5. การมอบให้อำเภอเป็นผู้อนุมัติมีอำนาจตัดสินใจเรื่องการใช้ไฟในพื้นที่ พบว่าต่างคนต่างบริหารเชื้อเพลิงในพื้นที่ของตนเอง ในพื้นที่ของอำเภอแม่แจ่ม อำเภออมก๋อย สะเมิง กัลยานิวัฒนา ซึ่งมีชุมชนอยู่ในพื้นที่ป่าจำนวนมากต่างมีความพร้อมในการจัดการเชื้อเพลิงในช่วงเวลาเดียวกัน คือเดือนมีนาคมเหมือนกัน ทำให้เกิดปัญหาจากการใช้ไฟพร้อมกันซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาฝุ่นควันสะสมจำนวนมาก
6. การบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่อนุรักษ์โดยการชิงเผาของส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นการร่วมกันไม่ได้มีงบประมาณในการจัดการ เพราะเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างชาวบ้านในชุมชนกับเจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าทำให้ไม่สามารถทำได้เต็มกำลัง และใช้กำลังเจ้าหน้าที่เป็นหลัก
7. อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เข้าไปปฏิบัติการยังมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้ต้องมีการระดมกำลังอาสาสมัครจากทางชุมชนที่เป็นประชาชน อสม.ในหมู่บ้าน เข้าร่วมในภารกิจดับไฟ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของอาสาสมัครที่เข้าไปร่วมภารกิจป้องกันไฟป่าในแต่ละพื้นที่
8. องค์ความรู้ในการบริหารจัดการไฟ สังคมยอมรับเพียงชุดความรู้ด้านการป้องกันไม่ให้เกิดไฟโดยเด็ดขาด (zero burning) แต่องค์ความรู้ในเรื่องการชิงเผา มาตรการลดเชื้อเพลิงโดยการชิงเผา (early burning) และการเผาโดยกำหนด (prescribe burning) เพื่อลดความรุนแรงของไฟป่า ที่นำมาใช้ในระบบการจัดการเชื้อเพลิงสังคมไม่มั่นใจ ยังไม่ได้รับการยอมรับและมีการต่อต้านเรื่องการชิงเผา เนื่องจากขาดการสื่อสารกับทำความเข้าใจในทางสาธารณะ ขณะเดียวกันการชิงเผาในชุมชนบางแห่งขาดหลักการทางวิชาการในการควบคุมบริหารจัดการไฟให้เกิดความเหมาะสมและขาดการวางแผนที่ดี ทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมไฟ
📍ข้อเสนอ
1. ให้อำนาจท้องถิ่นในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงและการจัดการไฟป่า การถ่ายโอนภารกิจ รับรองการแก้ไขปัญหา สามารถตัดสินใจในการจัดการ โดยมีงบประมาณมาให้พร้อมในการแก้ปัญหา เพื่อสามารถจัดการได้รวดเร็วขึ้น
2. ทบทวนวิธีการในการใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญหาไฟป่า การออกระเบียบการอุดหนุนให้ท้องถิ่นให้สามารถดำเนินการในการจัดการไฟป่าได้โดยตรง โดยเฉพาะในเรื่องการใช้งบประมาณ ตั้งงบประมาณสนับสนุนเบิกจ่ายได้ ตามระเบียบกฎหมายให้เกิดความคล่องตัว
3. จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาไฟป่าฝุ่นควันระดับตำบล มีกลไกร่วม นำเสนอแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในแบบบูรณาการ
4. พิจารณาการบริหารจัดการในระบบ FireD ลดข้อจำกัดในการจัดการ ปรับให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ในการจัดการเชื้อเพลิง
5. แก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดมลพิษในทุกแหล่ง พิจารณาเหตุการณ์เกิดฝุ่นควันที่มาจากป่า พื้นที่เกษตร กิจกรรมในเมืองและอุตสาหกรรม
6. การอนุมัติอนุญาตหลักเกณฑ์การแก้ไขปัญหาในท้องถิ่น ดูองค์ประกอบของพื้นที่ในเขตการปกครอง เพื่อให้เกิดควบคุมดูแลกำกับที่เหมาะสม กำหนดหลักเกณฑ์ร่วมในการใช้ไฟ ควบคุมการใช้ไฟ และเกิดการออกแบบในพื้นที่
7. มีองค์ความรู้และชุดความรู้ประกอบการตัดสินใจบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การรวบรวมองค์ความรู้ในเรื่องการจัดป่า การจัดการไฟในป่าที่เพียงพอ
8. การจัดการไฟป่าต้องคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ควบคู่กัน โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง ส่งเสริมอาชีพรายได้คนบนที่สูงเพื่อป้องกันลดการเกิดไฟป่าหมอกควัน ทำให้ชุมชนมีรายได้จาก คาร์บอนเครดิต ในการดูแลป่า เพื่อเป็นการลดการเผา
9. สร้างสังคมให้เกิดความมั่นใจในเรื่องการชิงเผา มีวิธีการในการสื่อสารและสร้างความมั่นใจกับสังคม
10. การทำแผนงานบูรณาการจัดการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (แผนบูรณาการในระดับท้องถิ่น-แผนบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงาน) เน้นการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการทำงานกับหน่วยงานข้ามกระทรวงมหาดไทย สาธารณสุข กำหนดเป้าหมายร่วม มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน แสดงถึงต้นทาง กลางทางและปลายทาง ตั้งแต่ การอนุรักษ์ป่า การสร้างความชื้น การลาดตระเวน การสร้างความร่วมมือ และการทำแผนเผชิญเหตุ
11. การบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่มีการจัดการโดยผสมผสานภูมิปัญญาวิถีชีวิตวัฒนธรรมกับความรู้สมัยใหม่และเทคโนโลยี
12. คำนึงถึงความปลอดภัยของอาสาสมัครที่เข้าร่วมปฏิบัติการในพื้นที่ที่เข้าไปจัดการไฟป่าในพื้นที่ ควรมีการแบ่งระดับความเสี่ยง หากเป็นภารกิจที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสูงให้ใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เข้าไปปฎิบัติภารกิจ
13. ถอดบทเรียนการทำงานการจัดการในพื้นที่ (พื้นที่เสี่ยง/พื้นที่ไข่แดง) เพื่อให้เกิดการดูแล และสร้างข้อตกลงร่วมกัน พร้อมกำหนดภารกิจและความรับผิดชอบ มีเจ้าภาพในการจัดการตลอดทั้งปี
14. กำหนดตัวชี้วัดร่วมของส่วนกลาง โดยให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการกำหนด KPI เพื่อวัดความสำเร็จในการจัดการไฟป่าฝุ่นควันของหน่วยงานต่าง ๆ นอกเหนือจากการวัดค่าเฉลี่ยฝุ่นรายปีในแต่ละจังหวัด
📍 สิ่งที่สำคัญคือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นในการจัดการเชื้อเพลิง ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมโดยให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมวางแผนในการรักษาพื้นที่ ทั้งแผนการป้องกันไม่ให้เกิดไฟในพื้นที่อนุรักษ์ร่วมและแผนพื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิง ต้องระบุให้ชัดเจนและกำหนดพื้นที่ร่วมกัน ในขณะเดียวกันในการทำแผนบูรณาการต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้ามกระทรวง เช่น มหาดไทย สาธารณสุข มหาวิทยาลัย หลายภาคส่วนมาเป็นหน่วยงานที่บูรณาการ ต้องมีลักษณะร่วม มีเป้าหมายร่วม และมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถแสดงถึงต้นทาง กลางทางและปลายทาง มีเป้าหมายตัวชี้วัดในแผนบูรณาการที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ(เรื่องสิ่งแวดล้อม)ที่สำคัญต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานเพื่อบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด
เรียบเรียงโดย
สิรินุช วงษ์สกุล
กองเลขานุการ สภาพลเมืองเชียงใหม่

📢 สรุปข้อเสนอที่สำคัญ จากเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างกรอบตัวชี้วัด กำหนดกรอบตัวชี้วัดมาตรฐาน และแนวทางการดำเนินงานสิทธิในอากาศสะอาดและการจัดการมลภาวะทางอากาศที่เป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 66

📍สถานการณ์ ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันไฟป่า

1. นโยบายของรัฐและราชการในการห้ามเผา 100% โดยการกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาเด็ดขาด ส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตร เกิดการเร่งชิงเผาที่ไม่ได้เผาตามหลักวิชาการและขาดการวางแผนที่ดี มีการลักลอบเผาในพื้นที่เกษตร พื้นที่ป่า พื้นที่ทำกิน ก่อนช่วงเวลาห้ามเผา ในเวลาพร้อมกัน จนเกิดจุดเผาไหม้จำนวนมากกระจายในพื้นที่ เกิดฝุ่นควัน มลพิษสะสมเป็นจำนวนมาก

2. มาตรการในการจัดการควบคุมไฟและเชื้อเพลิง ในระบบ FireD ในการตัดสินใจใช้ไฟจำเป็น การจัดการเชื้อเพลิง มีระเบียบ กติกาและเงื่อนไข ขั้นตอนที่ต้องมีการลงทะเบียนเพื่อขอจัดการเชื้อเพลิง มีข้อจำกัดทั้งในเรื่องอำนาจในการอนุมัติอนุญาตการจัดการไฟที่อำนาจการตัดสินใจเป็นของอำเภอ จังหวัด ในการขออนุญาติประชาชนไม่มีสิทธิขอโดยตรง

3. กลไกการตัดสินใจรวมศูนย์ที่จังหวัด การจัดการไฟไม่สอดคล้องกับการจัดการไฟในวิถีชีวิต ภูมิปัญญาดั้งเดิม เช่น การจัดการเชื้อเพลิงในไร่หมุนเวียน มีการเลี่ยงการเผาเพื่อหลบ Hotspot และไม่มีการกระจายอำนาจในการจัดการในระดับชุมชน

4. แผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยการถ่ายโอนภารกิจในการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น มุ่งเน้นเฉพาะการควบคุมไฟป่า แต่ยังไม่ครอบคลุมในเรื่องอำนาจในการบริหารจัดการไฟป่าในพื้นที่ ขณะเดียวกันการจัดทำแผนขาดการบูรณาการร่วมกับชุมชน ไม่มีสิทธิในการบริหารจัดการป่าของชุมชน ทำให้ไม่มีความสามารถในการจัดทำแผนที่ยั่งยืน ไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณตามระเบียบราชการได้ และไม่มีอำนาจในการขออนุญาตการใช้ไฟในพื้นที่ป่า

5. การมอบให้อำเภอเป็นผู้อนุมัติมีอำนาจตัดสินใจเรื่องการใช้ไฟในพื้นที่ พบว่าต่างคนต่างบริหารเชื้อเพลิงในพื้นที่ของตนเอง ในพื้นที่ของอำเภอแม่แจ่ม อำเภออมก๋อย สะเมิง กัลยานิวัฒนา ซึ่งมีชุมชนอยู่ในพื้นที่ป่าจำนวนมากต่างมีความพร้อมในการจัดการเชื้อเพลิงในช่วงเวลาเดียวกัน คือเดือนมีนาคมเหมือนกัน ทำให้เกิดปัญหาจากการใช้ไฟพร้อมกันซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาฝุ่นควันสะสมจำนวนมาก

6. การบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่อนุรักษ์โดยการชิงเผาของส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นการร่วมกันไม่ได้มีงบประมาณในการจัดการ เพราะเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างชาวบ้านในชุมชนกับเจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าทำให้ไม่สามารถทำได้เต็มกำลัง และใช้กำลังเจ้าหน้าที่เป็นหลัก

7. อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เข้าไปปฏิบัติการยังมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้ต้องมีการระดมกำลังอาสาสมัครจากทางชุมชนที่เป็นประชาชน อสม.ในหมู่บ้าน เข้าร่วมในภารกิจดับไฟ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของอาสาสมัครที่เข้าไปร่วมภารกิจป้องกันไฟป่าในแต่ละพื้นที่

8. องค์ความรู้ในการบริหารจัดการไฟ สังคมยอมรับเพียงชุดความรู้ด้านการป้องกันไม่ให้เกิดไฟโดยเด็ดขาด (zero burning) แต่องค์ความรู้ในเรื่องการชิงเผา มาตรการลดเชื้อเพลิงโดยการชิงเผา (early burning) และการเผาโดยกำหนด (prescribe burning) เพื่อลดความรุนแรงของไฟป่า ที่นำมาใช้ในระบบการจัดการเชื้อเพลิงสังคมไม่มั่นใจ ยังไม่ได้รับการยอมรับและมีการต่อต้านเรื่องการชิงเผา เนื่องจากขาดการสื่อสารกับทำความเข้าใจในทางสาธารณะ ขณะเดียวกันการชิงเผาในชุมชนบางแห่งขาดหลักการทางวิชาการในการควบคุมบริหารจัดการไฟให้เกิดความเหมาะสมและขาดการวางแผนที่ดี ทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมไฟ

📍ข้อเสนอ
1. ให้อำนาจท้องถิ่นในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงและการจัดการไฟป่า การถ่ายโอนภารกิจ รับรองการแก้ไขปัญหา สามารถตัดสินใจในการจัดการ โดยมีงบประมาณมาให้พร้อมในการแก้ปัญหา เพื่อสามารถจัดการได้รวดเร็วขึ้น

2. ทบทวนวิธีการในการใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญหาไฟป่า การออกระเบียบการอุดหนุนให้ท้องถิ่นให้สามารถดำเนินการในการจัดการไฟป่าได้โดยตรง โดยเฉพาะในเรื่องการใช้งบประมาณ ตั้งงบประมาณสนับสนุนเบิกจ่ายได้ ตามระเบียบกฎหมายให้เกิดความคล่องตัว

3. จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาไฟป่าฝุ่นควันระดับตำบล มีกลไกร่วม นำเสนอแผนการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในแบบบูรณาการ

4. พิจารณาการบริหารจัดการในระบบ FireD ลดข้อจำกัดในการจัดการ ปรับให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ในการจัดการเชื้อเพลิง

5. แก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดมลพิษในทุกแหล่ง พิจารณาเหตุการณ์เกิดฝุ่นควันที่มาจากป่า พื้นที่เกษตร กิจกรรมในเมืองและอุตสาหกรรม

6. การอนุมัติอนุญาตหลักเกณฑ์การแก้ไขปัญหาในท้องถิ่น ดูองค์ประกอบของพื้นที่ในเขตการปกครอง เพื่อให้เกิดควบคุมดูแลกำกับที่เหมาะสม กำหนดหลักเกณฑ์ร่วมในการใช้ไฟ ควบคุมการใช้ไฟ และเกิดการออกแบบในพื้นที่

7. มีองค์ความรู้และชุดความรู้ประกอบการตัดสินใจบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การรวบรวมองค์ความรู้ในเรื่องการจัดป่า การจัดการไฟในป่าที่เพียงพอ

8. การจัดการไฟป่าต้องคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ควบคู่กัน โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง ส่งเสริมอาชีพรายได้คนบนที่สูงเพื่อป้องกันลดการเกิดไฟป่าหมอกควัน ทำให้ชุมชนมีรายได้จาก คาร์บอนเครดิต ในการดูแลป่า เพื่อเป็นการลดการเผา

9. สร้างสังคมให้เกิดความมั่นใจในเรื่องการชิงเผา มีวิธีการในการสื่อสารและสร้างความมั่นใจกับสังคม

10. การทำแผนงานบูรณาการจัดการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (แผนบูรณาการในระดับท้องถิ่น-แผนบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงาน) เน้นการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการทำงานกับหน่วยงานข้ามกระทรวงมหาดไทย สาธารณสุข กำหนดเป้าหมายร่วม มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน แสดงถึงต้นทาง กลางทางและปลายทาง ตั้งแต่ การอนุรักษ์ป่า การสร้างความชื้น การลาดตระเวน การสร้างความร่วมมือ และการทำแผนเผชิญเหตุ

11. การบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่มีการจัดการโดยผสมผสานภูมิปัญญาวิถีชีวิตวัฒนธรรมกับความรู้สมัยใหม่และเทคโนโลยี

12. คำนึงถึงความปลอดภัยของอาสาสมัครที่เข้าร่วมปฏิบัติการในพื้นที่ที่เข้าไปจัดการไฟป่าในพื้นที่ ควรมีการแบ่งระดับความเสี่ยง หากเป็นภารกิจที่มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสูงให้ใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เข้าไปปฎิบัติภารกิจ

13. ถอดบทเรียนการทำงานการจัดการในพื้นที่ (พื้นที่เสี่ยง/พื้นที่ไข่แดง) เพื่อให้เกิดการดูแล และสร้างข้อตกลงร่วมกัน พร้อมกำหนดภารกิจและความรับผิดชอบ มีเจ้าภาพในการจัดการตลอดทั้งปี

14. กำหนดตัวชี้วัดร่วมของส่วนกลาง โดยให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการกำหนด KPI เพื่อวัดความสำเร็จในการจัดการไฟป่าฝุ่นควันของหน่วยงานต่าง ๆ นอกเหนือจากการวัดค่าเฉลี่ยฝุ่นรายปีในแต่ละจังหวัด

📍 สิ่งที่สำคัญคือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นในการจัดการเชื้อเพลิง ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมโดยให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมวางแผนในการรักษาพื้นที่ ทั้งแผนการป้องกันไม่ให้เกิดไฟในพื้นที่อนุรักษ์ร่วมและแผนพื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิง ต้องระบุให้ชัดเจนและกำหนดพื้นที่ร่วมกัน ในขณะเดียวกันในการทำแผนบูรณาการต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้ามกระทรวง เช่น มหาดไทย สาธารณสุข มหาวิทยาลัย หลายภาคส่วนมาเป็นหน่วยงานที่บูรณาการ ต้องมีลักษณะร่วม มีเป้าหมายร่วม และมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถแสดงถึงต้นทาง กลางทางและปลายทาง มีเป้าหมายตัวชี้วัดในแผนบูรณาการที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ(เรื่องสิ่งแวดล้อม)ที่สำคัญต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานเพื่อบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด

เรียบเรียงโดย
สิรินุช วงษ์สกุล
กองเลขานุการ สภาพลเมืองเชียงใหม่

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กรีนพีซ ประเทศไทย มูลนิธิบูรณะนิเวศ สภาลมหายใจเชียงใหม่/ภาคเหนือ และนักกิจกรรมทางสังคม ร่วมเป...
22/03/2022

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กรีนพีซ ประเทศไทย มูลนิธิบูรณะนิเวศ สภาลมหายใจเชียงใหม่/ภาคเหนือ และนักกิจกรรมทางสังคม ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องร้องคดีฝุ่น PM2.5

เชียงใหม่ของจริงต้องอย่างนี้เช้าวันนี้..อากาศดีถึงดีมากรายงานคุณภาพอากาศรายชั่วโมงเวลา 09.00น. วันนี้CMU CCDC พบสถานีสีฟ...
26/04/2020

เชียงใหม่ของจริงต้องอย่างนี้
เช้าวันนี้..อากาศดีถึงดีมาก

รายงานคุณภาพอากาศรายชั่วโมง
เวลา 09.00น. วันนี้

CMU CCDC พบสถานีสีฟ้า (อากาศดีมาก) 53 สถานี | สถานีสีเขียว (อากาศดี) 4 สถานี

📖สามารถดูข้อมูลแบบรายชั่วโมง เพิ่มเติมได้ที่ https://www.cmuccdc.org/hourly/1

#สภาลมหายใจเชียงใหม่

เช้าวันนี้..อากาศดีถึงดีมาก

รายงานคุณภาพอากาศรายชั่วโมง
เวลา 09.00น. วันนี้

CMU CCDC พบสถานีสีฟ้า (อากาศดีมาก) 53 สถานี | สถานีสีเขียว (อากาศดี) 4 สถานี

📖สามารถดูข้อมูลแบบรายชั่วโมง เพิ่มเติมได้ที่ https://www.cmuccdc.org/hourly/1

#สภาลมหายใจเชียงใหม่

อยากให้เชียงใหม่เป็นอย่างนี้นาน ๆๆๆๆๆ
26/04/2020

อยากให้เชียงใหม่เป็นอย่างนี้นาน ๆๆๆๆๆ

กูด มอร์นิ่งงงงงง....เชียงใหม่ ^^/

12/04/2020
12/04/2020

ณัฐชลภัณ หอมแก้ว พูดคุยกับ ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาป้องกันและจัดการภัยพิบ.....

05/04/2020

ที่อยู่

Bang Rak

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ThailandHazeผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

ประเภท

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ

  • Hexagon Labs

    Hexagon Labs

    ชั้น 19 ห้อง 426 อาคารสาทรนคร ทาวเวอร์ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร, Bangkok

Bang Rak บริษัท สื่ออื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ