01/09/2023
รายชื่อพืช เห็ดรา และสัตว์ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทจากทั่วโลกที่ควรรู้
เรียบเรียงข้อมูลโดย Event Horizon Thailand
พืชที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเท่าที่มนุษย์ได้เคยรู้จัก และใช้ประโยชน์มาตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนถึงปัจจุบันมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
- กัญชา กัญชง (Cannabis) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids)
- ยาสูบ (To***co) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารแอลคาลอยด์อย่าง นิโคติน (ni****ne) และเบต้าคาร์โบลีน (beta-carboline)
- โคคา (Coca) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากการนำไปสกัดเป็นโคเคน (co***ne)
- ฝิ่น (O***m Poppy) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากการนำไปสกัดเป็น มอร์ฟีน (morphine) โคเดอีน (codeine) เธบาอีน (thebaine) ปาปาเวอรีน (papaverine) โนสคาปีน (noscapine) และนาร์ซีน (narceine) หรือบางแหล่งเรียกว่า นาล็อกโซน (naloxone)
- แซลเวีย หรือ ซัลเวีย (Salvia divinorum) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารแซลวิโนรินเอ (salvinorin A)
- คัต หรือ แคต (Khat) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารคาทีน (cathine) และสารคาทิโนน (cathinone)
- คาวา (Kava) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารคาวาแลคโตน (kavalactones)
- จันทน์เทศ (Nutmeg) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารไมริสทิซิน (myristicin)
- ไนท์เฉด (Nightshade) หรือ พืชวงศ์มะเขือ (Solanaceae) ที่มีสารไฮออสไซยามีน (hyoscyamine) อะโทรปีน (atropine) และสโคโปลามีน (Scopolamine) เช่น:
1. พืชสกุลลำโพง (Datura)
2. มะแว้งนก หรือ เบลลาดอนน่า (Deadly nightshade)
3. เฮนเบน (Henbane)
4. แมนเดรก (Mandrake)
5. พืชวงศ์มะเขืออื่นๆ (Other Solanaceae)
- กระบองเพชรออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psychoactive cacti 🌵🏜️) ที่มีสารเมสคาลีน (mescaline) เป็นส่วนใหญ่ เช่น:
1.เปโยเต้ หรือ พีโยเต (Pe**te)
2.กระบองเพชรสกุลโลโฟโฟรา (Other Lophophora)
3.กระบองเพชรคบเพลิงเปรู (Peruvian Torch cactus)
4.กระบองเพชรซาน เปโดร (San Pedro cactus) หรือเรียกอีกชื่อว่า วาชูมา (Huachuma)
5.กระบองเพชนสกุลอิชินอปซิสอื่นๆ (Other Echinopsis)
- พืชที่มีสารกระตุ้นอ่อนๆ (Mild stimulant plant 🍵☕️🧉) และพืชที่มีสารบีบหลอดเลือด (vasoconstrictor plant) พืชที่มีสารคาเฟอีน (caffeine) และสารธีโอโบรมีน (theobromine) เป็นส่วนใหญ่ เช่น:
1. กาแฟ (Coffee)
2. ชา (Tea) และยังมีสารธีอะนีน (theanine) อีกด้วย
3. กวารานา หรือ กัวราน่า (Guarana)
4. เยอบา มาเต (Yerba Mate)
5. โกโก้ (Cocoa) รวมถึงคาเคา (Cacao)
6. โคล่า หรือถั่วโคล่า (Kola nut)
- พืชชนิดอื่นๆ (Other plants 🌱🌿🍃)
1. มิโมซ่า โฮสทิลิส (Mimosa hostilis) หรือ มิโมซ่า เทนุยฟลอร่า (Mimosa Tenuiflora) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารดีเอ็มที (DMT) หรือ N,N-Dimethyltryptamine
2. ชาร์ครูนา (Chacruna) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารดีเอ็มที (DMT) หรือ N,N-Dimethyltryptamine และสารเอ็นเอ็มที (NMT) หรือ N-methyltryptamine
3. เซบิล (Cebil) และโยโป (Yopo): ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารดีเอ็มที (DMT) หรือ N,N-Dimethyltryptamine สารมีบูโฟเทนินัม (Mebufoteninum) หรือ 5-MeO-DMT และ สารบูโฟเทนิน (bufotenin) หรือ 5-HO-DMT
4. หมามุ่ย (Mucuna pruriens)
5. พืชกลุ่มมอร์นิ่งกลอรี่ หรือผักบุ้งฝรั่ง (Morning glory species) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮาวายเอียน เบบี้ วู๊ดโรส หรือใบระบาด (Hawaiian Baby Woodrose) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารแอลเอสเอ (LSA) หรือ Lysergic Acid Amide ซึ่งถูกเรียกอีกชื่อว่า "สารเออร์จิน (Ergine)"
6. อิโบกา (Iboga) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารอิโบเกน (ibogaine) สารนอร์อิโบเกน (noribogaine) สารอิโบกามีน (ibogamine) สารวออะแคนจีน (voacangine) และสารเมธอกซีโคโรนาริดีน (18-methoxycoronaridine)
7. หมาหวง หรือเอฟีดรา (Ephedra) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารเอฟิดรีน (ephedrine)
8. พืชให้เนื้อไม้สกุลอาเคเซีย (Acacia species)
9. ดาเมียน่า (Damiana)
10. คาเลีย แซคาเทชิชี (Calea Zacatechichi)
11. รากความฝันของแอฟริกา (Silene capensis)
12. วาเลอเลียน (Valerian)
13. ผลหมาก หรือ หมากสง (Areca nut) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารอะเรไคดีน (arecaidine) และอาเรโคลีน (arecoline)
14. กระท่อม (Kratom) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารไมทาไจนีน (mitragynine) สารไมทราฟิลลีน (mitraphylline) สารเซเว่นไฮดรอกซี่ไมทราไจนีน (7-hydroxymitragynine) สารรอบาซีน (raubasine) และสารโครีแนนไทน (corynantheidine)
15. ระย่อมน้อย (Rauvolfia serpentina) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารราววูลไซน์ (rauwolscine)
16. บัวอียิปต์ หรือบัวสีน้ำเงิน (Nymphaea caerulea) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารอะโปมอร์ฟีน (apomorphine) และสารนูซิเฟรีน (nuciferine)
17. โยฮิมบี (Yohimbe) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารโยฮิมไบน์ (yohimbine)
18. คันนา หรือ คานน่า (Kanna) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารเมสเซมบรีน (mesembrine) และสารไมเฟพริสโตน (mesembrenone)
19. ฮอร์นป๊อปปี้ (Glaucium flavum) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารกลูซีน (glaucine)
20. แคลิฟอร์เนีย ป๊อปปี้ (California poppies) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารโพรโทพีน (protopine) และสารแคลิฟอนินีน (californidine)
—————————————————
- เห็ดที่มีสารไซโลไซบิน หรือเห็ดขี้ควาย เรียกได้โดยทั่วไปว่า "เห็ดวิเศษ" (Psilocybin mushrooms/ Magic mushroom) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารไซโลไซบิน (psilocybin) สารไซโลซิน (psilocin) สารแอรูจินาสซิน (aeruginascin) สารเบโอซิสทิน (baeocystin) และสารนอร์เบโอซิสทิน (norbaeocystin)
- เห็ดอะมานิตา มัสคาเรีย (Amanita Muscaria) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารมัสซิมอล (muscimol) สารมัสคาลีน (muscarine) และกรดไอโบเทนิก (ibotenic acid)
- แกรพโทไลท์ร่างแห หรือ ไลเคนหลอนประสาท (Dictyonema huaorani) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารไซโลไซบิน (psilocybin) สารดีเอ็มที (DMT) หรือ N,N-Dimethyltryptamine และ สารมีบูโฟเทนินัม (Mebufoteninum) หรือ 5-MeO-DMT
- เห็ดคอลลีเบีย มาคูลาตา (Collybia maculata) ซึ่งยังไม่มีชื่อสามัญที่ชัดเจนในปัจจุบัน ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารคอลลีโบไลด์ (collybolide)
- เชื้อราเออร์กอต (Ergot) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากการนำไปสกัดเป็นสารเออร์โกทามีน (ergotamine) และใช้ในการนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตแอลเอสดี (L*D) หรือ lysergic acid diethylamide ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งปกติจะไม่พบสารชนิดนี้ในธรรมชาติ และปัจจุบันไม่ค่อยพบสารดังกล่าวด้วยการสกัดจากเชื้อราชนิดนี้ เนื่องจากมีความอันตรายสูง
—————————————————
- คางคกแม่น้ำโคโลราโด หรือคางคกทะเลทรายโซโนรัน (Colorado River toad/ Sonoran Desert toad ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bufo alvarius) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารมีบูโฟเทนินัม (Mebufoteninum) หรือ 5-MeO-DMT และสารบูโฟเทนิน (bufotenin) หรือ 5-HO-DMT
- คางคกเอเซียติก หรือคางคกเกาะชูซาน (Asiatic toad) และกบต้นไม้บางชนิด (tree frogs) อาทิเช่น กบต้นไม้ขาเรียวมาเนาส์ (Osteocephalus taurinus) Osteocephalus oophagus และ Osteocephalus langsdorfii ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากสารบูโฟเทนิน (bufotenin) หรือ 5-HO-DMT
- กบต้นไม้ที่อยู่ในสกุล Phyllomedusa โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กบต้นไม้สองสี ( P. bicolor) กบลิงยักษ์ (giant monkey frog) และกบใบไม้ยักษ์ (giant leaf frog) หรือกบต้นไม้ลิงขี้ผึ้ง (waxy-monkey tree frog) ใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากเปปไทด์กลุ่มโอปิออยด์ (opioid peptides) อาทิเช่น เดลทอร์ฟิน (deltorphin) เดลทอร์ฟินวัน (deltorphin I) เดลทอร์ฟินทู (deltorphin II) และเดอร์มอร์ฟิน (dermorphin)
- มดหลอนประสาทแห่งทะเลทรายแคลิฟอร์เนีย (Pogonomyrmex californicus) สารออกฤทธิ์กลุ่มโปรตีน เอนไซม์ ฮีสตามีน (histamines) และสารเคมีอื่นๆ หลายชนิด
- กลุ่มปลาหลอนประสาท (Hallucinogenic fish) ได้แก่ ปลาจ่าเอก (Abudefduf septemfasciatus) ปลาแรบบิทหางส้อม (Siganus argenteus) ปลาสลิดทะเลเหลืองทอง (Siganus corallinus) ปลาแรบบิท (Siganus luridus) ปลาสลิดหินอ่อน (Siganus rivulatus ชื่อสามัญไม่แน่ชัด) ปลาตีนผีน้อย (Siganus spinus ชื่อสามัญไม่แน่ชัด) ปลาซาร์ปา ซัลปา (Sarpa salpa) ปลาสีนวล (Kyphosus cinerascens) ปลาทองเหลือง (Kyphosus vaigiensis) ปลาอ้วนสีน้ำตาล (Kyphosus bigibbus) ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthurus triostegus) ปลาแพะขนุน หรือปลาแพะแถบเหลือง (Mulloidichthys flavolineatus) ปลาแพะครีบ (Upeneus taeniopterus) ปลากระบอกเทา (Mugil cephalus) ปลากระบอกกรามไว (Neomyxus leuciscus) และ ปลาเก๋าปะการัง (Epinephelus corallicola) โดยบางชื่ออาจจะยังไม่มีชื่อสามัญที่แน่ชัด ซึ่งปลากลุ่มดังกล่าวบางขนิดมีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดอาการหลอนประสาท หูแว่ว และเห็นภาพหลอน เพ้อขาดสติ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ คลื่นไส้ ฝันร้าย เวียนศรีษะ ทรงตัวลำบาก และอาการอื่นๆที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางถูกรบกวน หรือที่เรียกอาการโดยรวมนี้ว่า "Ichthyoallyeinotoxism"
- สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรที่มีสารอนุพันธ์ของ DMT ได้แก่
1. ฟองน้ำออเรีย (Smenospongia aurea) ที่มีสาร 5-Bromo-DMT
2. ฟองน้ำอิคิดนา (Smenospongia echina) ที่มีสาร 5,6-Dibromo-DMT
3. ฟองน้ำหลอนประสาท (Verongula rigida) ที่มีสาร 5-Bromo-DMT สาร 5,6-Dibromo-DMT และอื่นๆ
4. เพรียงทะเลวงแหวน หรือนกทะเลพ่นน้ำ (Eudistoma fragum ชื่อสามัญไม่แน่ชัด) ที่มีสาร 5-Bromo-DMT
5. แส้ทะเลเดือด หรือกัลปังหาสีม่วง (Paramuricea clavata ชื่อสามัญไม่แน่ชัด) ที่มีสารดีเอ็มที (DMT) หรือ N,N-Dimethyltryptamine และสารเอ็นเอ็มที (NMT) หรือ N-methyltryptamine
6.ปะการังอ่อนรูบร้า (Villogorgia rubra ชื่อสามัญไม่แน่ชัด) ที่มีสารเอ็นเอ็มที (NMT) หรือ N-methyltryptamine
อ้างอิง
Gupta, Achla; Gomes, Ivone; Bobeck, Erin N.; Fakira, Amanda K.; Massaro, Nicholas P.; Sharma, Indrajeet; Cavé, Adrien; Hamm, Heidi E.; Parello, Joseph; Devi, Lakshmi A. (24 May 2016). "Collybolide is a novel biased agonist of κ-opioid receptors with potent antipruritic activity". Proceedings of the National Academy of Sciences. 113 (21): 6041–6046.
Shulgin, Alexander (1997). TIHKAL: The Continuation. Transform Press. ISBN 9780963009692.
Morris H, Wallach J (26 March 2013). "Sea DMT". Vice Magazine. Retrieved 5 January 2019.
จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555. หน้า 468