The dialoque เดอะ ไดอลอค จาก DSJ สู่ Sinaran สู่การกำเนิด The dialoque

24/10/2021
17/01/2020

The PEN

ทักษะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่เป็นคนระเรื่องกับความรู้เรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นอาณาบริเวณที่มีความหลากหลายทางวัฒธรรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธ ทักษะการสื่อสารระหว่างจึงเป็นเรื่องสำคัญ และความรู้เรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงเป็นคนละเรื่องกับทักษะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

Kristina Preiksaityte ผู้เชี่ยวชายเรื่องการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมชาวลิธัวเนียซึ่งเธอทำงานกับองค์กร Nonviolence peace force ที่ได้ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี เดินสายร่วมเวิร์กช๊อปกับนักศึกษาและผู้สนใจเรื่องการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมว่า การอ่อนด้อยในทักษะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมก่อให้เกิดสภาพอย่างน้อยสามประการคือ ปัญหาด้านความปลอดภัย มีข้อจำกัดในการเข้าถึงผู้คนและเกิดสภาพความไม่สมดุลทางอำนาจ

Kristina บอกว่าได้มีการพัฒนาเครื่องวัดทักษะการอยู่ร่วมกันระหว่างวัฒนธรรม Intercultural Development Inventory (IDI) ที่เป็นแบบสอบถามสำหรับวัดระดับทักษะนี้ที่แบ่งเป็น 5 ระดับ ซึ่งจากการพัฒนาเครื่องมือนี้และเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมาพบว่า จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้ทดสอบมี 3% ที่อยู่ในระดับ Denial คือกลุ่มคนที่ปฏิเสธวัฒนธรรมอื่นๆ 16% อยู่ในระดับ Polarization คือกลุ่มคนที่แบ่งขั้วอย่างชัดเจนระหว่างวัฒนธรรมของตนเองกับวัฒนธรรมอื่น และมักจะมีทัศนะแบบวัฒนธรรมของตนเองดีกว่าของคนอื่น จำนวน 65% อยู่ในระดับ Minimisation คือกลุ่มคนที่สามารถอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมอื่นๆ มีจุดร่วม เปิดกว้างและมองไม่เห็นความแตกต่างภายใน สามารถแชร์สิ่งเดียวกันได้ ซึ่ง 3 ระดับแรกนี้จัดเป็น Monoculture Mindset

ระดับที่ 4 Acceptance คือระดับที่คนสามารถเปิดรับวัฒนธรรมอื่น ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม เห็นว่าความแตกต่างทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่ดีขึ้น อยากรู้อยากเห็นและศึกษาสิ่งใหม่มี 14% และอันดับที่ 5 คือ Adaptation คือ คนที่สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่น เมื่อมีความขัดแย้งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนความคิดและวิธีปฏิบัติของตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ มีเพียง 1% เท่านั้น สองระดับนี้เป็น Intercultural Mindset

Kristina บอกว่าที่ผ่านกลุ่มเป้าหมายการทดสอบวัดผลนี้เป็นกลุ่มด้านธุรกิจ เธอกำลังริเริ่มใช้เครื่องมือนี้ในพื้นที่ขัดแย้งโดยเริ่มที่เมียนมาร์และฟิลิปปินส์

น่าสนใจว่าหากนำเครื่องมือ IDI มาทดสอบวัดผลทักษะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมกับเจ้าหน้าที่หรือคนทำงานในฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้ที่มีกว่า 60,000 คน ผลจะออกมาเป็นเช่นไร

14/05/2019

By Reeya

การเดินทางของซากาต ปี2
"การเก็บรายละเอียดเล็กๆ จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่"

Assalamualaikumค่ะ อาจารย์

การเดินทางของซากาตปีนี้ น่ารักและอบอุ่นเป็นพิเศษ ยามีเพื่อนร่วมเดินทาง และเพื่อนที่อาสาเข้ามาช่วยมากพอควร

เป็นเรื่องเหลือเชื่อและเกินคาดมาก ยาไม่คิดว่า "งานเขียน" ธรรมดาๆจะทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆและนำมาซึ่งการเปลี่ยน
แปลงอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย

ด้วยความสัจจริง ความคาดหวังเดียวของยาในการเขียนหนังสือครั้งนี้เพียงเพื่อต้องการสื่อสาร "ภาพชีวิต" ของผู้คนที่ยาได้เห็น ภาพชีวิตที่อยู่ในซอกหลืบของสังคม ภาพที่เคยถูกมองข้าม ยาเพียงต้องการสื่อสารกับทุกคนว่า

"มีใครบางคนกำลังหิว นั่งอยู่ตรงนี้ และพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ"

"มีใครบางคนกำลังเจ็บ นอนอยู่ตรงนี้ และพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ"

ก็เพียงเท่านั้น.............................
ทุกครั้งที่ยาจรดปากกาเพื่อเล่าเรื่องราวที่ได้พบเจอมา ยาจะคิดถึงคำของอาจารย์

"สิ่งหนึ่งที่จะผลักดัน ให้คนมีมโนสำนึกที่ดี สิ่งหนึ่งที่จะผลักดัน ให้คนก้าวไปสู่ด้านดีได้ คือการใช้วาทะที่สวยงาม และสูงส่ง"

ยาไม่อาจทำงานเขียนของยาให้สูงส่งได้ แต่ยาคิดว่ายาสามารถสร้างสรรค์ "งานเขียน" ของยาให้ "สวยงาม" ให้เป็น"งานศิลปะ" ได้

และการสร้างสรรค์งานศิลปะทุกชนิด เข้าใจว่า หัวใจสำคัญประการหนึ่งคือ

"การเก็บรายละเอียด"

ฉะนั้นแล้ว

การเก็บรายละเอียดจึงเกิดขึ้นตั้งแต่
" วินาทีแรกที่เราจับมือสลามกัน "

วินาทีต่อไปคือ การมองดูทุกอย่างอย่างช้าๆเป็นต้นว่า

"เเววตา รอยยิ้ม น้ำเสียง เส้นผม ผิวหนัง เล็บ ผนังบ้าน พื้นบ้าน รองเท้า จานข้าว แก้วน้ำ ทุกอย่างล้วนมีรายละเอียดให้เก็บทั้งสิ้น"

ยาคิดว่าสิ่งเหล่านี้ จะเล่าอะไรได้มากกว่าคำบอกเล่าจากปากของเขา

เพราะบางที ความรู้สึกต่ำต้อยในโชคชะตาทำให้เขาเขินอายที่จะเล่าอะไรให้ใครฟัง

ฉะนั้นการนั่งมองใครนานๆอย่างตั้งใจ จะได้อะไรมากกว่าที่คิด

และยาไม่สู้จะแน่ใจนักว่าสิ่งที่ยาคิดมันจะถูกหรือเปล่า

สิ่งหนึ่งที่จะไม่ปรากฏและจะไม่อนุญาตให้อยู่ในงานเขียนของยา คือ "ตัวเลข" เพราะโดยส่วนตัว ยารู้สึกว่าการมี "ตัวเลข"ในงานเขียนจะทำให้งานเขียนกระด้าง และตัดทอนความสวยงามให้ลดลงมากพอควร

ยาขอบคุณอาจารย์ และทุกท่านที่ให้ เกียรติอ่านงานเขียนของยา

และหากทุกท่านรู้สึกเหมือนได้ร่วมเดินทางไปกับยา และหลั่งน้ำตาทุกครั้งที่ได้อ่าน นั้นหมายความว่ายาบรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ "งานศิลปะชิ้นนั้น"แล้ว.................💖💖💖💖................
หลังงานเขียนถูกเผยแพร่ไม่นานมีเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นมากมาย เป็นต้นว่า

💖การมาของครอบครัวนักธุรกิจ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ท่านให้เกียรติมาเยี่ยมทันที หลังอ่านงานเขียนนั้นจบ

💖การเข้ามาทักทายของน้องที่ทำงานด้านสาธารณสุข ซึ่งอยู่ห่างไกลถึงกรุงเทพฯ เธอเอ่ยปากอยากเดินทางร่วมอย่างตื่นเต้นและกระตือรือร้น

💖คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายหลายท่าน พี่ส่งข้อความให้กำลังใจในการทำงานและการเขียนหนังสือ

💖และที่แปลกใจที่สุด ข้อความจากแดนไกล จากเมืองเพิร์ธ ประเทศ ออสเตรเลีย ท่านให้เกียรติติดตาม และอ่านงานเขียนของยา ท่านคือคนหนึ่งที่ส่งซากาตมารวมสร้างบ้านให้ยาย เมื่อปีก่อนและหากยาเข้าใจไม่ผิดท่านเป็นอีกคนหนึ่งที่สนับสนุนโครงการ "ปันใจใส่ปิ่นโต" ด้วย

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะทุกท่าน

ในโอกาสนี้ ขอใช้ช่องทางนี้ สรุปการจ่ายซะกาตในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน

👨‍👩‍👦‍👦ส่วนที่ 1/อยู่ในความรับผิดชอบของยาเอง สัปดาห์ที่ 1 จ่ายซากาต = 29.600 บาท

💓จ่ายให้ผู้ป่วยพิการและเป็นผู้ป่วยติดเตียง 7 คน = 5,500 บาท

💓จ่ายให้ครอบครัวยากจน 17 ครอบครัว = 12,700 บาท

💓จ่ายให้คนชราและยากจน 15 คน = 7,000 บาท

💓จ่ายให้เด็กกำพร้าและยากจน 7 คน= 3,900 บาท

💓จ่ายให้หญิงหม้าย 1 คน = 500 บาท

👨‍👨‍👦‍👦ส่วนที่2 กองทุนเด็กกำพร้าบ้านไอกูเล็ง อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เงินบริจาคที่เข้ามาในปัจจุบัน = 18,872 ซึ่งแบ่งเป็น 2 บัญชี คือ

> ธนาคารอิสลาม = 14,722 บาท
> ธนาคารกรุงไทย (ในรายที่ไม่สะดวกโอนเข้าธนาคารอิสลาม) = 4,150 บาท

แบ่งจ่ายให้เด็กกำพร้าจำนวน 10 ครอบครัว

💓ครอบครัวที่มีลูกมากว่า 5 คน / 1 ครอบครัว = 1000 บาท

💓ครอบครัวที่มีลูก 2-3 คน / 8 ครอบครัว = 4,000 บาท

💓ครอบครัว ด.ช.ไซฟู ซึ่งเป็นครอบครัว จากเรื่องเล่าตอน.........เสียงตะโกนที่ไม่มีใครได้ยิน = 13,872 บาท

และในโอกาสนี้ขอให้ทุกคนช่วยดูอาร์ ให้ของแม่น้องไซฟู รับรู้ว่าทุกคนกำลังรอให้เขากลับมารับเงินก้อนนี้ เข้าใจว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากไปมอบซากาตจำนวนหนึ่งให้เธอ เธอคงนำเงินก้อนนั้นไปเป็นต้นทุนในการเดินทางไปหารีสกีที่ประเทศมาเลเซียทันที เพื่อจะได้มีเงินใช้จ่ายในวันรายอที่จะถึง ดุอาร์ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมเดินทาง แล้วหวังว่าทุกท่านจะก็ยังคงร่วมเดินทางกับไปกับยา จนกว่ารอมฎอนจะสิ้นสุดลง

Salam
อารียา ดือเระ
13/5/62

09/05/2019

By Reeya

การเดินทางของซากาต ปี 2
"เสียงตะโกนที่ไม่มีใครได้ยิน"

Assalamualaikumคะ อาจารย์

2 วันก่อนรอมฎอน ยามีโอกาศได้เจอผู้หญิงคนหนึ่ง เธออาศัยอยู่กับลูกชายวัยกำลังโตอีก3 คน

ยาได้นั่งฟังเธอเล่าเรื่องราวชีวิต ได้นั่งมองหน้าของเธอ นั่งมองลึกลงไปในแววตาของเธอ และนั่งมอง....มือของเธอ

ด้วยวัยของเธอ...เธอควรเปล่งปลั่งและสดใสกว่านี้...เพราะเธอยังสาว

แต่ชะตากรรมที่เธอต้องเผชิญตั้งแต่เด็ก ทำให้ใบหน้าเธอไม่หลงเหลือความสดใสตามวัยอยู่เลย จำนวนริ้วรอยบนใบหน้า บ่งบอกถึงจำนวนปัญหาที่เธอเคยผ่านพ้นมา จำนวนแผลที่มือบ่งบอกว่าเธอต้องเคยทำงานอย่างตรากตรำพอควร

ได้ฟังเรื่องของเธอแล้ว "คอแห้ง" และรู้สีก "กลัว"

ยานึกถึงเวลาเรา "ฝันร้าย"

ฝันว่ากำลัง "หนี" อะไรบางอย่างและพยายามอย่างสุดชีวิตที่จะตะโกนออกมาให้ดังที่สุด เพื่อที่จะขอความช่วยเหลือจากใครสักคน แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครเลยที่จะได้ยินเสียงนั้น เพราะเสียงก้อง "ตะโกน" ที่พยายามตะเบ็งออกมานั้นกลับเป็นเพียงเสียงที่แผ่วเบาจนคล้ายดั่งเสียง
"กระซิบ"

เธอกับลูกๆ คือ ตัวละครในฝันร้ายนั้น

ย้อนไปเมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา

ด้วยความยากจน ทำให้เธอกับสามีตกลงกันว่า "เราต้องแยกย้ายกันไปทำงาน" เธอขอสามีไปกรีดยางที่มาเลเซีย โดยพาลูกคนเล็กไปด้วย ส่วนสามีนั้นก็อยู่กับลูกชาย 2 คนที่บ้าน ซึ่งในเวลานั้น คนโตกำลังเรียนชั้น ม.ต้น ในโรงเรียนรัฐและเป็นโรงเรียนประจำ ส่วนลูกคนรอง เรียนอยู่ชั้นป.2 ในโรงเรียนรัฐใกล้บ้าน

วันเวลาคืบคลานอย่างช้าๆ พร้อมๆกับชีวิตทุกคนในครอบครัวก็ดำเนินไปอย่างเนิบนาบและไร้ทิศทาง

วันหนึ่งในวันนั้น คือวันหยุดของลูกชายคนโต

"ผมเรียนอยู่โรงเรียนประจำ นานๆทีถึงจะได้กลับบ้านและวันนั้นเป็นวันแรกที่ผมถึงบ้าน ผมกับพ่อนั่งกินข้าวด้วยกัน มันคือมื้อสุดท้ายที่ได้นั่งกินข้าวกับพ่อ"

มื้อนั้นจึงเป็น "มื้อต้อนรับ" และ "มื้ออำลา"

หลังทานข้าวเสร็จ เด็กหนุ่มแยกตัวไปพักผ่อน ส่วนผู้เป็นพ่อก็ออกไปปีนต้นหมาก อย่างปกติ ก่อนไปเขาทิ้งเงิน 100 บาทไว้ที่ไหนสักแห่งโดยมิได้บอกลูก และมิได้กล่าวลาใดๆ

และเวลาก็เดินผ่านไปอย่างช้าๆ เนิบนาบเช่นเคย

ผ่าน 1 วินาที เป็น 1 นาที
ผ่าน 1 นาที เป็น 1 ชั่วโมง
ผ่าน 1 ชั่วโมง เป็น 1 วัน พ่อยังไม่กลับ เด็กๆเริ่มหิว
ผ่าน 1 วัน เป็น 2 วัน พ่อยังไม่กลับ เด็กๆหิวและเริ่มกลัว
ผ่าน 2 วัน เป็น 3 วัน ทุกคนเริ่มตามหาพ่อ

และแล้วในวันที่ 3 เด็กๆก็ยิ้มออก เพราะพวกเขาเจอเงินที่พ่อทิ้งไว้ 100 บาทก่อนไป พ่อเก็บมันไว้ในกระเป๋าเสื้อตัวโปรดของพ่อ ยังไม่ทันที่รอยยิ้มจะจางจากใบหน้า เสียงเคาะประตูก็ดังขึ้นพร้อม "ข่าวดี" ว่า " เจอพ่อแล้ว" แน่นอนคะ...เด็กๆรีบวิ่งไปหาพ่อทันทีด้วยความดีใจ แต่ในวินาทีเดียวกันพวกเขาก็เริ่มหวั่นใจว่า "เจอพ่อแล้ว แล้วทำไมไม่พาพ่อกลับมาเลย"

การวิ่งไปหาพ่อในครั้งนั้น มันคงเป็นการวิ่งที่ยาวนาน และไกลแสนไกล ทุกก้าวคงหนักอึ้งมากสำหรับเด็กๆทั้งสอง และแล้ว....วินาทีของการรับรู้ความจริงก็มาถึง

"พ่อนอนตายในแอ่งน้ำเล็กๆ ตัวพ่อเริ่มเหม็น ตาทั้งสองข้างเปื่อยหมดแล้ว ผิวเริ่มหลุดลุ่ย ตัวพ่อเหม็นมาก ผมเป็นคนอาบน้ำศพพ่อ อาบให้พ่อเป็นครั้งสุดท้าย"

"แฟนเป็นโรคลมชัก เขาคงชักตอนอยู่บนต้นไม้และตกลงในแอ่งน้ำ ศพเขาเหม็นมาก บางทีฉันก็รู้สึกผิด รู้สึกผิดมากจริงๆที่ทิ้งเขากับลูกไป ความจริงฉันไปก็ไม่ได้กรีดยางเพราะเป็นหน้าฝน ก็ต้องทนอยู่ไปเพราะไม่มีเงินกลับ ลูกคนเล็กคิดถึงพ่อมาก ลูกๆรักพ่อมาก "

เธอรู้สึกผิดจริงๆ เธอรู้สึกว่าการตัดสินไปในครั้งนั้นนอกจากไม่ได้อะไรเลยแล้ว เธอยังต้องสูญเสียทุกอย่าง ในคราวนั้นลูกๆมักถามเธอว่า

"แม่ไปทำไม"
"แม่ไปทำงานแล้วทำไมไม่ส่งเงินมา พวกเรา...หิว"

เป็นคำถามที่ตอบง่าย แต่ยากที่ลูกๆของเธอจะเข้าใจ และเธอหวังว่าสักวันลูกๆจะเข้าใจเธอ

ตลอดการบอกเล่า ในดวงตาของเธอมีน้ำตาไหลเป็นทางตลอดเวลา แม้เธอจะพยายามกลันไว้ แต่ไม่มีครั้งไหนเลยที่เธอทำได้

เพราะสายใยที่คนสองคนผูกกันยาวนานกว่า 16 ปี มันยังคงอยู่ แม้ตายจากกันมันก็จะยังอยู่....เธอคิดถึงคู่ชีวิตของเธอ

เพียงฟังยายังรู้สึกเหนื่อย..

และยาขอใช้ช่องทางนี้แจ้งว่า "เงินซากาตที่หลายท่านกรุณาส่งมานั้นได้ถูกแจกจ่ายตามประสงค์ของท่านทุกประการ

ครอบครัวเธอก็เป็นหนึ่งในจำนวนผู้ได้รับเช่นกันคะ

Wassalam
อารียา
9/5/62
นราธิวาส.....................💖💖💖💖💖...................

หมายเหตุ......

Assalamualaikum ค่ะทุกท่าน....

ดิฉันดีใจและซาบซึ้งน้ำใจของทุกท่าน
มาก ครอบครัวที่ทุกท่านกรุณาถามถึงอยู่อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาสค่ะ

และท่านที่ต้องการช่วยเหลือสามารถช่วยเหลือผ่าน บช.ธนาคารอิสลาม สาขานราธิวาสค่ะ

บัญชีเลขที่ 104-1-43218-6
กองทุนเพื่อเด็กกำพร้า บ้านไอกูเล็ง

กองทุนนี้จัดตั้งขึ้นโดยครอบครัว ครอบครัวหนึ่ง เป้าหมายหลักเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร ด้านการศึกษา แก่เด็กๆกำพร้าในหมู่บ้าน ตามกำลังที่ครอบครัวพึงมี ในขณะนี้มีเด็กกำพร้าในการดูแลมีจำนวน 20 คนจาก 14 ครอบครัว ซึ่งรวมถึงลูกชายทั้งสองของหญิงสาวในเรื่องนี้ด้วย บุคคลที่เป็นหัวเรือหลักในการตั้งกองทุนนี้คือ

คุณซาลีฮะห์ ดะเซง ผอ.โรงเรียนบ้านบราเอง ต.มะรือโบตก อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ค่ะ หมายเลขติดต่อ 081-0949311

คุณยีซะ หามะ หมายเลขติดต่อ
086-4864029

และนพ.ซัมซุดดีน หามะ
รอง ผอ.รพ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
ซึ่งท่านเป็นสมาชิกของครอบครัวนี้ด้วยเช่นกัน

บัญชีจะเปิดไว้3 คน = คุณมูฮัมหมัด/คุณซาลีฮะห์/ คุณยีซะ

แต่ชื่อที่จะโชว์หน้าจอจะเป็นชื่อ =คุณมูฮัมหมัด เพียงผู้เดียวค่ะ

ติดต่อท่านได้ค่ะ หากคุณต้องการช่วยเหลือเด็กๆทั้ง 20 ชีวิตนั้น

ดีใจที่ทุกท่านได้ยินเสียงตะโกนนั้นแล้ว

และหวังว่าทุกท่านจะร่วมเดินไปกับดิฉันจนสิ้นสุดรอมฎอนนี้ ยังมีเด็กๆ คนชรา ผู้ป่วยอีกมากจากหลายพื้นที่ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากท่าน

ขอบคุณที่ติดตามอ่านและกรุณาเผยแพร่

Jaszakalloh
อารียา ดือเระ

03/05/2019

Sinaran Online's cover photo

03/05/2019

Sinaran Online

03/05/2019

Sinaran Online

แท็กทีมว่าที่ สส.ชายแดนใต้ กับข้อเสนอ 13 CSOs
แม้ว่า กกต. ยังไม่ได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ และบรรยากาศการเมืองยังคงสับสนอลหม่านโดยเฉพาะกรณีพรรคอนาคตใหม่ที่โดนกระหน่ำไม่เว้นวัน แต่ สส. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการจับมือแท็กทีมกันแล้ว โดยมีมือประสานคือ สภาประชาสังคมชายแดนใต้และเครือข่ายร่วม 13 องค์กร

เครือข่ายภาคประชาสังคมชายแดนใต้ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องมาหลายปีแล้วเพื่อจะให้มีข้อเสนอหรือเสียงจากประชาชนในพื้นที่ให้ถึงมือฝ่ายผู้กำหนดนโยบายในระดับชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นข้อเสนอหรือเสียงของประชาชนต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งหรือที่พรรคพวกที่นี่เรียกกันว่า กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้

วันนี้ (3 พฤษภาคม 2562) ก็จะเป็นจิ๊กซออีกตัวหนึ่งที่เครือข่ายภาคประชาสังคม 13 องค์กรได้พยายามสร้างข้อเสนอที่เป็นรูปประธรรมและยื่นเสนอต่อว่าที่ สส. ชายแดนใต้ โดยยื่นเสนอให้กับทุกพรรค ทุกสังกัด เพราะเชื่อว่าเมื่อมีการประกาศผลอย่างเป็นทางการ สส. เหล่านี้จะเป็นกลไกสำคัญที่จะให้ข้อเสนอเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาหรือผ่านตาฝ่ายกำหนดนโยบายหรือฝ่ายบริหารได้

แม้ว่าว่าที่ สส. ทุกคนที่มาในวันนี้จะยื่นมือรับข้อเสนอและรับปากว่าจะนำพาและขับเคลื่อนต่อเพราะส่วนใหญ่ของว่าที่ สส. ในยุคนี้เคยเป็นคนทำงานภาคประชาสังคมมาก่อน มีเคมีเดียวกัน และมีอุดมการณ์ร่วม แต่ทุกคนก็รับรู้ว่างานนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและมีอุปสรรคใหญ่หลวงรออยู่ข้างหน้า ซึ่งอดีต สส. รุ่นพี่อย่างนายนัจมุดดิน อุมา ได้บรี๊ฟให้ฟังชนิดที่ความหวังในความสำเร็จแทบจะริบหรี่

อย่างไรก็ดี การรวมตัวในวันนี้ได้เกิดพลัง Synergy อย่างเหลือเชื่อเพราะเครือข่ายภาคประชาสังคมได้ประสานติดต่อกับว่าที่ สส. จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง 3 จังหวัดและ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ทั้ง สส. เขตและปาร์ตี้ลิสต์อย่างพร้อมเพรียงซึ่งนับจำนวนได้ถึง 15 คน เพื่อให้เกิดภาพความร่วมมือของว่าที่ สส. อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้ว่าหลายคนติดภารกิจไม่อาจจะมาร่วมได้แต่ก็นับได้ว่างานนี้เป็นฉันทามติร่วมของบรรดาว่าที่ สส. ชายแดนใต้ที่จะนำพาข้อเสนอของเครือข่ายภาคประชาสังคมชายแดนใต้สู่ชายคาของรัฐสภา

ภาพความร่วมมือของว่าที่ สส. ชายแดนใต้วันนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการประสานร่วมมือที่มาจากต่างพรรค ต่างกลุ่ม แต่อย่างไรก็ดีโมเดลความร่วมมือแบบนี้ของจริงได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อ ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ว่าที่ส.ส. สงขลาหนึ่งเดียวของพรรคภูมิใจไทยบอกเล่าในเวทีว่าว่าที่ สส. ในจังหวัดสงขลาทั้งหมด 8 คนจาก 3 พรรคการเมืองได้จับมือร่วมกันเดินหน้าวาระสงขลาที่ว่าที่ สส.ทำงานเพื่อประชาชนโดยงานแรกของพวกเขาคือฟ้องร้องบริษัทหนึ่งของมาเลเซียที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่คลองอู่ตะเภาที่สร้างความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม

วาระสงขลาได้เริ่มแล้ว วาระชายแดนใต้ก็ต้องเดินหน้าได้เช่นกันแถมยังมี backup เป็นเครือข่ายประชาสังคมที่ตอนนี้มีแล้ว 13 ...........
โดย Team SINARAN

03/05/2019

แท็กทีมว่าที่ สส.ชายแดนใต้ กับข้อเสนอ 13 CSOs
แม้ว่า กกต. ยังไม่ได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ และบรรยากาศการเมืองยังคงสับสนอลหม่านโดยเฉพาะกรณีพรรคอนาคตใหม่ที่โดนกระหน่ำไม่เว้นวัน แต่ สส. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการจับมือแท็กทีมกันแล้ว โดยมีมือประสานคือ สภาประชาสังคมชายแดนใต้และเครือข่ายร่วม 13 องค์กร

เครือข่ายภาคประชาสังคมชายแดนใต้ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องมาหลายปีแล้วเพื่อจะให้มีข้อเสนอหรือเสียงจากประชาชนในพื้นที่ให้ถึงมือฝ่ายผู้กำหนดนโยบายในระดับชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นข้อเสนอหรือเสียงของประชาชนต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งหรือที่พรรคพวกที่นี่เรียกกันว่า กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้

วันนี้ (3 พฤษภาคม 2562) ก็จะเป็นจิ๊กซออีกตัวหนึ่งที่เครือข่ายภาคประชาสังคม 13 องค์กรได้พยายามสร้างข้อเสนอที่เป็นรูปประธรรมและยื่นเสนอต่อว่าที่ สส. ชายแดนใต้ โดยยื่นเสนอให้กับทุกพรรค ทุกสังกัด เพราะเชื่อว่าเมื่อมีการประกาศผลอย่างเป็นทางการ สส. เหล่านี้จะเป็นกลไกสำคัญที่จะให้ข้อเสนอเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาหรือผ่านตาฝ่ายกำหนดนโยบายหรือฝ่ายบริหารได้

แม้ว่าว่าที่ สส. ทุกคนที่มาในวันนี้จะยื่นมือรับข้อเสนอและรับปากว่าจะนำพาและขับเคลื่อนต่อเพราะส่วนใหญ่ของว่าที่ สส. ในยุคนี้เคยเป็นคนทำงานภาคประชาสังคมมาก่อน มีเคมีเดียวกัน และมีอุดมการณ์ร่วม แต่ทุกคนก็รับรู้ว่างานนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและมีอุปสรรคใหญ่หลวงรออยู่ข้างหน้า ซึ่งอดีต สส. รุ่นพี่อย่างนายนัจมุดดิน อุมา ได้บรี๊ฟให้ฟังชนิดที่ความหวังในความสำเร็จแทบจะริบหรี่

อย่างไรก็ดี การรวมตัวในวันนี้ได้เกิดพลัง Synergy อย่างเหลือเชื่อเพราะเครือข่ายภาคประชาสังคมได้ประสานติดต่อกับว่าที่ สส. จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง 3 จังหวัดและ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ทั้ง สส. เขตและปาร์ตี้ลิสต์อย่างพร้อมเพรียงซึ่งนับจำนวนได้ถึง 15 คน เพื่อให้เกิดภาพความร่วมมือของว่าที่ สส. อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้ว่าหลายคนติดภารกิจไม่อาจจะมาร่วมได้แต่ก็นับได้ว่างานนี้เป็นฉันทามติร่วมของบรรดาว่าที่ สส. ชายแดนใต้ที่จะนำพาข้อเสนอของเครือข่ายภาคประชาสังคมชายแดนใต้สู่ชายคาของรัฐสภา

ภาพความร่วมมือของว่าที่ สส. ชายแดนใต้วันนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการประสานร่วมมือที่มาจากต่างพรรค ต่างกลุ่ม แต่อย่างไรก็ดีโมเดลความร่วมมือแบบนี้ของจริงได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อ ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ว่าที่ส.ส. สงขลาหนึ่งเดียวของพรรคภูมิใจไทยบอกเล่าในเวทีว่าว่าที่ สส. ในจังหวัดสงขลาทั้งหมด 8 คนจาก 3 พรรคการเมืองได้จับมือร่วมกันเดินหน้าวาระสงขลาที่ว่าที่ สส.ทำงานเพื่อประชาชนโดยงานแรกของพวกเขาคือฟ้องร้องบริษัทหนึ่งของมาเลเซียที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่คลองอู่ตะเภาที่สร้างความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม

วาระสงขลาได้เริ่มแล้ว วาระชายแดนใต้ก็ต้องเดินหน้าได้เช่นกันแถมยังมี backup เป็นเครือข่ายประชาสังคมที่ตอนนี้มีแล้ว 13 ...........
โดย Team SINARAN

24/12/2018
คณะพูดคุยสันติสุข จชต.ยืนยันพร้อมคุยกับทุกกลุ่มหลังมีคำสั่งสำนักนายก 327/2561 | Sinaran News Online

คณะพูดคุยสันติสุข จชต.ยืนยันพร้อมคุยกับทุกกลุ่มหลังมีคำสั่งสำนักนายก 327/2561

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขชายแดนใต้ประชุมนัดแรกหลังมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 327/2561 ชี้เปิดพื้นที่พูดคุยก.....

24/12/2018
คณะพูดคุยสันติสุข จชต.ยืนยันพร้อมคุยกับทุกกลุ่มหลังมีคำสั่งสำนักนายก 327/2561 | Sinaran News Online

https://sinaran.news/th/11516

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขชายแดนใต้ประชุมนัดแรกหลังมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 327/2561 ชี้เปิดพื้นที่พูดคุยก.....

20/09/2018
5 ชุมชนร่วมสะท้อนความสำคัญของการอบรมสื่อสร้างสรรค์ พร้อมได้ตระหนักรู้เท่าทันสื่อ | Sinaran News

5 ชุมชนร่วมสะท้อนความสำคัญของการอบรมสื่อสร้างสรรค์ พร้อมได้ตระหนักรู้เท่าทันสื่อ

เมื่อวันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา เครือข่ายสื่อชุมชนชายแดนใต้ ร่วมกับสาขาวิชานิเทศศาสตร์คณะวิทยากา...

13/09/2018
รัฐมนตรีสาธารณสุขบาห์เรนเปิด “ศูนย์สารสนเทศบาห์เรน” ณ สำนักงานวิทยาบริการ ม.อ.ปัตตานี | Sina

รัฐมนตรีสาธารณสุขบาห์เรนเปิด “ศูนย์สารสนเทศบาห์เรน” ณ สำนักงานวิทยาบริการ ม.อ.ปัตตานี

รัฐมนตรีสาธารณสุขบาห์เรน “เปิดศูนย์สารสนเทศบาห์เรน His Royal Highness Prince Khalifa Bin Salman Al Khalifa” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ย.....

11/09/2018
ประชาสังคมชายแดนใต้จัดกิจกรรม RISE for CLIMATE ชี้โลกร้อนเป็นปัญหาใหญ่ โชว์ from PATANI บนแผนที่โลก | Sinaran News O

ประชาสังคมชายแดนใต้จัดกิจกรรม RISE for CLIMATE ชี้โลกร้อนเป็นปัญหาใหญ่ โชว์ from PATANI บนแผนที่โลก

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาสังคมชายแดนใต้เพื่อจับตาโลกร้อน ได้ร่วมกลุ่มจัดกิจก....

20/07/2018
งานแกะสลักกระต่ายขูดมะพร้าวด้วยลวดลายมลายู ผลงานจากปาเระปัตตานีสู่สายตาชาวโลก | Sinaran News Onlin

งานแกะสลักกระต่ายขูดมะพร้าวด้วยลวดลายมลายู ผลงานจากปาเระปัตตานีสู่สายตาชาวโลก

การแกะสลักไม้ลวดลายมลายูแม้ในปัจจุบันยังมีให้เห็นแต่กลับเหลือน้อยจนต้องมีการอนุรักษ์ไว้ โดยผู้คนส่วน.....

20/07/2018
“นูรอัฟฎา บินอาแว” น.ร.อัครศาสน์วิทยาผู้พิชิตทุนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอ่านและเตรียม

“นูรอัฟฎา บินอาแว” น.ร.อัครศาสน์วิทยาผู้พิชิตทุนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอ่านและเตรียมพร้อมคือ เคล็ดลับความสำเร็จ

เปิดตัวนางสาวนูรอัฟฎา บินอาแว นักเรียนโรงเรียนอัครศาสน์วิทยา(มูลนิธิ) อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส เป็นผู้ได้รับทุนศ...

20/07/2018
ว่าวเบอร์อามัส ภูมิปัญญาวัฒนธรรมมลายูเพื่อการคำนวณเวลา ฤดูกาล พยากรณ์อากาศ | Sinaran News Online

ว่าวเบอร์อามัส ภูมิปัญญาวัฒนธรรมมลายูเพื่อการคำนวณเวลา ฤดูกาล พยากรณ์อากาศ

วัฒนธรรมมลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านวัตถุและด้านศิลปะที่แม้บางส่วนจะสูญหาย.....

20/07/2018
เสียงสะท้อนจากหนัง Gelora ดราม่าน้ำตาซึมกับบททดสอบและความศรัทธาเพื่อช่วยเด็กกำพร้า | Sinaran News Onli

เสียงสะท้อนจากหนัง Gelora ดราม่าน้ำตาซึมกับบททดสอบและความศรัทธาเพื่อช่วยเด็กกำพร้า

จากสถานการณ์เด็กกำพร้าในปัจจุบันได้มีจำนวนมากขึ้นอันเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ แต่น้อยคนน.....

05/07/2018
ชาวพุทธเพื่อสันติภาพประณามลอบวางระเบิดในสวนยาง เรียกร้องรัฐจัดการพูดคุย | Sinaran News Online

ชาวพุทธเพื่อสันติภาพประณามลอบวางระเบิดในสวนยาง เรียกร้องรัฐจัดการพูดคุย

เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพแถลงการณ์ ประณามการก่อเหตุอย่างโหดร้ายและไร้มนุษยธรรมกรณีลอบวางระเบิดชา.....

04/07/2018
วันรายอฮัจญ์นี้ มูลนิธิดารุลอินฟากฯ เชิญชวนบริจาคเงิน/เนื้อกุรบ่านให้เด็กกำพร้าและยาก

วันรายอฮัจญ์นี้ มูลนิธิดารุลอินฟากฯ เชิญชวนบริจาคเงิน/เนื้อกุรบ่านให้เด็กกำพร้าและยากจน

มูลนิธิดารุลอินฟาก เพื่อเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมมือกับ สมาคมส่งเสริมการตรวจสอ...

04/07/2018
พ.ว.ยะลา รุ่น 24 จัดฟุตบอลสานสัมพันธ์ศิษย์เก่าโรงเรียนพัฒนาวิทยา | Sinaran News Online

พ.ว.ยะลา รุ่น 24 จัดฟุตบอลสานสัมพันธ์ศิษย์เก่าโรงเรียนพัฒนาวิทยา

ศิษย์เก่าโรงเรียนพัฒนาวิทยา (พ.ว.) รุ่น 24 อ.เมือง จ.ยะลาจัดกิจกรรมพบปะศิษย์เก่าโรงเรียนพัฒนาวิทยา และแข่งขัน....

04/07/2018
รวมพลังเยาวชนลงมือธรรม Big cleaning ชายแดนใต้ ยกระดับมุสลิมจิตสาธารณะ | Sinaran News Online

รวมพลังเยาวชนลงมือธรรม Big cleaning ชายแดนใต้ ยกระดับมุสลิมจิตสาธารณะ

ระหว่างวันที่ 18 – 19 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา กลุ่มเยาวชนจากหลากหลายกว่า 10 องค์กรได้ร่วมกิจกรรม Big cleaning day ลงมือธรรม ใ....

04/07/2018
ลดละเลิก"เทศกาลหิมะตก ฮารีรายอ" ชาวนราร่วมใจ สร้างจิตสำนึกไม่ทิ้งขยะในแหล่งท่องเที่ยว | Si

ลดละเลิก"เทศกาลหิมะตก ฮารีรายอ" ชาวนราร่วมใจ สร้างจิตสำนึกไม่ทิ้งขยะในแหล่งท่องเที่ยว

ทุกครั้งในช่วงเทศกาลฮารีรายออีดิลฟิตรี สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจต่างๆในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ม....

04/07/2018
“แคมเปญสวมชุดมลายู” สีสันฮารีรายา อัตลักษณ์ที่คนมุสลิมชายแดนใต้อยากให้โลกรู้ | Sinaran News Online

“แคมเปญสวมชุดมลายู” สีสันฮารีรายา อัตลักษณ์ที่คนมุสลิมชายแดนใต้อยากให้โลกรู้

ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 500 คน ร่วมสวมใส่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชุดมลายูเข้าร่...

04/07/2018
สภาเด็กและเยาวชนตำบลสะนอจัดกิจกรรมสร้างสรรค์มอบของแก่คนยากจนและยากไร้ ในรอมฏอน | Sinaran News On

สภาเด็กและเยาวชนตำบลสะนอจัดกิจกรรมสร้างสรรค์มอบของแก่คนยากจนและยากไร้ ในรอมฏอน

เมื่อเด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือสังคม ซึ่งไม่ได้คิดและนิ่งนอนใจ อยู่เฉยๆ แต่เด็กและเยาวช...

04/07/2018
เปิดใจมูฮัมหมัดรุสดี เชคอารูณ รณรงค์สวมชุดมลายูวันฮารีรายอ ถ่ายรูปลงเฟสชิงรางวัลมากกว

เปิดใจมูฮัมหมัดรุสดี เชคอารูณ รณรงค์สวมชุดมลายูวันฮารีรายอ ถ่ายรูปลงเฟสชิงรางวัลมากกว่า 30 รางวัล

วัฒนธรรมของคนมลายูนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่การพูดคุยมลายูเท่านั้น แต่อัตลักษณ์ที่เป็นวัฒนธรรมอย่างเด่นช.....

04/07/2018
เปิดใจกลุ่มสภาแตออ กลุ่มเยาวชนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ระดมเสื้อผ้าบ

เปิดใจกลุ่มสภาแตออ กลุ่มเยาวชนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ระดมเสื้อผ้าบริจาค

สภาแตออเป็นกลุ่มเยาวชนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งของเยาวชนในโรงเรียนพัฒนาวิทยา ที่อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ท....

04/07/2018
"ชมรมนาบาตุลฮูดา" "ชมรมมิตรภาพที่เป็นหนึ่ง" ห่วงใยพี่น้องของฉัน บริจาคชุดรายอและทุนการศึ

"ชมรมนาบาตุลฮูดา" "ชมรมมิตรภาพที่เป็นหนึ่ง" ห่วงใยพี่น้องของฉัน บริจาคชุดรายอและทุนการศึกษา

ชมรมนาบาตุลฮูดา ร่วมกับชมรมมิตรภาพที่เป็นหนึ่ง จัดกิจกรรม ห่วงใยพี่น้องของฉัน ณ โรงเรียนอาลาวียะห์วิทยา ...

04/07/2018
กว่า 4,000 คน ร่วมละศีลอดในโครงการรอมฎอนสัมพันธ์ ณ โรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามมียะห์ | Sinaran News Onlin

กว่า 4,000 คน ร่วมละศีลอดในโครงการรอมฎอนสัมพันธ์ ณ โรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามมียะห์

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันที่ 12 เดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1439 ทางโรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห.....

20/06/2018

ลดละเลิก"เทศกาลหิมะตก ฮารีรายอ" ชาวนราร่วมใจ สร้างจิตสำนึกไม่ทิ้งขยะ
www.sinaran.news/th/11503
นายเนาว์ฟัล เมะมูลา ม.5/12 (UP) โรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์

20/06/2018

“แคมเปญสวมชุดมลายู” สีสันฮารีรายา อัตลักษณ์ที่คนมุสลิมชายแดนใต้อยากให้โลกรู้
www.sinaran.news/th/11502
นูรดีน ฮะซา โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

10/06/2018

เปิดใจมูฮัมหมัดรุสดี เชคอารูณ รณรงค์สวมชุดมลายูวันฮารีรายอ ถ่ายรูปลงเฟสชิงรางวัลมากกว่า 30 รางวัล
www.sinaran.news/th/11500
นายอันวา ยูโซ๊ะ นักข่าวเยาวชนโรงเรียนพัฒนาวิทยา

24/05/2018

มูลนิธิ YIY ชวนเยาวชนประกอบฝันสร้างสรรค์กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ ให้ทุนกลุ่มละ 30,000 บาท
www.sinaran.news/th/11486
นายอันวา ยูโซ๊ะ นักข่าวเยาวชนโรงเรียนพัฒนาวิทยา

16/05/2018

มูลนิธินูซันตาราจัดกิจกรรม KIDS CAMP สร้างรอยยิ้มเพื่อเด็กกำพร้าและยากจนกว่า 450 คน
นายนูรดีน ฮะซา นักข่าวเยาวชน โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
www.sinaran.news/th/11482

16/05/2018

ที่นี่ “ห้วยลึก” ชุมชนที่พูดภาษามลายูในจังหวัดพัทลุง
นางสาวสุรีนา คาร์เดร์ โรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา
www.sinaran.news/th/11479

ที่อยู่

The Dialoque
Ban Bo Thong
94000

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ The dialoqueผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์



คุณอาจจะชอบ