ฤๅ - Lue History

ฤๅ - Lue History Talk 'True' History

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่เจ็ดในราชวงศ์จักรี ทรงยอมรับว่า ทุกราชวงศ์ย่อมต้องมีเสื่อม ไม่ว่ารา...
10/12/2024

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่เจ็ดในราชวงศ์จักรี ทรงยอมรับว่า ทุกราชวงศ์ย่อมต้องมีเสื่อม

ไม่ว่าราชวงศ์นั้นจะประเสริฐเพียงใด และการมีพระมหากษัตริย์ที่เลวร้ายในราชวงศ์นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะหลีกเลี่ยงได้

และพระองค์เห็นว่า วิธีการต่างๆในการได้มาซึ่งพระมหากษัตริย์ล้วนแต่มีความเสี่ยงที่จะได้พระมหากษัตริย์ที่เลวร้าย

แต่การมีสถาบันหรือองค์กรบางอย่างที่สามารถควบคุมพระมหากษัตริย์ได้อย่างในกรณีของอังกฤษ ซึ่งโดยรวมๆก็ใช้ได้ดี แต่บางครั้ง ก็ใช้ไม่ได้ อย่างเช่นในกรณีของพระเจ้าชาร์ลสที่หนึ่งของอังกฤษ

ดังนั้น วิธีการที่จะป้องกันไม่ให้พระมหากษัตริย์ที่เลวร้ายใช้พระราชอำนาจตามอำเภอใจจนสร้างความเสียหายต่อบ้านเมือง คือ

การตั้งองค์กรหรือสถาบันขึ้นมาควบคุมการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เหมือนอย่างที่รัฐสภาของอังกฤษทำหน้าที่ดังกล่าวนี้

พระองค์จึงทรงกล่าวไว้ใน “Democracy in Siam” ที่เป็นพระราชบันทึกที่มีไปยังคณะองคมนตรีว่า

พระองค์ทรงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะจัดตั้งสถาบันบางสถาบันเพื่อทำหน้าที่จำกัดการทำอะไรตามอำเภอใจหรือการกระทำที่ไม่ฉลาดของพระมหากษัตริย์ และพระองค์ได้ทรงกล่าวไว้ในวงเล็บไว้ด้วยว่า แต่คงไม่มีใครต้องการจะจำกัดการกระทำที่ดีของพระมหากษัตริย์

“I most earnestly desire to organize some institution which will serve to restrain any arbitrary or unwise actions of the King in Siam. (I presume that nobody will want to restrain his good actions?)”

ผู้เขียนเห็นว่า พระราชดำริที่จะจัดตั้งสถาบันที่มาควบคุมพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นี้ หากเริ่มต้นในรัชสมัยของพระองค์ ก็เท่ากับว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงริเริ่มที่จะให้มีสถาบันที่มาควบคุมการใช้พระราชอำนาจของพระองค์เอง

ซึ่งวิธีคิดดังกล่าวนี้เข้าข่ายการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลตามทฤษฎีทางสังคมศาสตร์สมัยใหม่ที่เรียกว่า “Rational Choice Theory”

ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือ Rational Choice Theory (RCT) คืออะไร ?

RCT เป็นทฤษฎีที่มีสมมุติฐานว่า คนเรามีเหตุผล และจะใช้เหตุผลในการหาวิธีการที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ วิธีการที่ดีที่สุดที่ว่านี้หมายถึง วิธีการที่ทำให้เราสามารถบรรลุสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ลงทุนน้อย ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

RCT มีองค์ประกอบสามประการ นั่นคือ

หนึ่ง ผู้กระทำจะต้องมีเป้าหมายหรือความปรารถนาอะไรบางอย่าง

สอง วิธีการที่ดีที่สุด โดยสัมพันธ์กับความเชื่อและข้อมูลข่าวสารที่ผู้กระทำมี

สาม ตัวความเชื่อและข้อมูลจะต้องเป็นความเชื่อและข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดเท่าที่ตัวผู้กระทำจะมีได้

จากข้างต้น แบบแผนของการกระทำภายใต้ RCT คือ การที่คนแต่ละคน “เลือกทำ” หรือ “เลือกวิธีการ” ที่ทำให้ตนได้รับประโยชน์สูงสุด
โดยมีต้นทุนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับทางเลือกที่เป็นไปได้อื่นๆ

ผู้เขียนจะลองสมมุติตัวอย่างขึ้นมาว่า มีชายคนหนึ่งมีรถอยู่คันหนึ่ง
และเขาต้องการขับรถไปไหนมาไหนโดยไม่ต้องการให้เกิดอุบัติเหตุขับรถไปชนคนเสียชีวิต จนเขาอาจจะเสียทั้งรถและทั้งชีวิตของเขา หรือไม่ก็เขาก็จะไม่สามารถขับรถได้อีกตลอดชีวิต

และเขาเองก็รู้ตัวว่า บางทีเขาอาจจะเผลอเร่งคันเร่งขับแข่งกับรถคันอื่นจะด้วยอารมณ์อะไรก็ตาม

ดังนั้น เมื่อเขาได้ข้อมูลมาว่า มีช่างยนต์ที่สามารถจะล็อกความเร็วของรถได้ เขาเลยเอารถของเขาไปให้ช่างยนต์ทำล็อกความเร็วของรถให้ขับได้ไม่เกิน 120 กม./ชั่วโมง

เพื่อว่าในอนาคต แม้ว่าเขาจะอยู่ในอารมณ์จะขับแข่งกับรถคันอื่นแค่ไหนก็ตาม เขาจะไม่มีวันเร่งความเร็วได้เกินพิกัดที่เขาไปว่าจ้างให้ช่างยนต์ล็อกเอาไว้

การเลือกวิธีการแบบนี้ RCT เรียกว่า การเลือกที่จะผูกมัดตัวเองไว้ล่วงหน้า (pre-commitment) เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง นั่นคือ เพื่อประโยชน์ของชีวิตและทรัพย์สินทั้งของเขาและของผู้อื่น

ในกรณีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนเข้าใจว่า เป้าหมายของพระองค์คือ ทำอย่างไรที่จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์จักรีไว้ไม่ให้เสื่อมโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดพระมหากษัตริย์ที่เลวร้ายขึ้นในราชวงศ์ที่ใช้พระราชอำนาจตามอำเภอใจจนสร้างความเสียหายให้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์และประเทศ

พระองค์ตระหนักดีว่า ไม่มีวิธีการใดที่จะให้หลักประกันในการได้มาซึ่งผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีและไม่ใช้พระราชอำนาจตามอำเภอใจ

อีกทั้งการคาดหวังให้ตัวบุคคลรู้จักควบคุมตัวเองให้ได้นั้นก็ดูเหมือนจะเป็นอุดมคติมากๆ และถือเป็นการเสี่ยงไม่น้อยด้วยเช่นกัน

หากบุคคลนั้นไม่รู้จักควบคุมตัวเองภายใต้ระบอบการปกครองที่ให้มีอำนาจอย่างไม่จำกัด

เมื่อถึงเวลานั้นก็ยากที่จะจำกัดอำนาจของบุคคลผู้นั้น พูดง่ายๆก็คือ เมื่อถึงเวลานั้นก็สายเกินไปที่จะไปจำกัดการใช้อำนาจได้ทันท่วงที

ที่สำคัญคือ คนที่มีเหตุมีผลย่อมจะรู้ตัวและคาดการณ์ได้ว่า มนุษย์และรวมทั้งตัวเองไม่ได้จะเป็นคนที่มีเหตุมีผลไปได้ตลอดเวลาทุกสถานการณ์

เพราะบางทีคนเราก็ไม่ได้มีจิตใจที่เข้มแข็งไปได้ตลอด บางครั้งและหลายๆครั้งอาจจะตกเป็นทาสอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงได้

ดังนั้น การหาวิธีการที่จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ไม่ให้เสื่อม ก็คือ การหาวิธีการที่จะควบคุมไม่ให้พระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจโดยไม่มีเงื่อนไขข้อจำกัด

ซี่งก็คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้วิธีการผูกมัดตัวเองไว้ล่วงหน้า (pre-commitment) เพื่อประโยชน์ของตัวเอง ราชวงศ์และประเทศชาติ

ในกรณีนี้ การผูกมัดตัวเองไว้ล่วงหน้าคือ การตรากฎหมายจัดตั้งให้องค์กรหรือสถาบันทางการเมืองมีอำนาจในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้พระราชอำนาจของตัวพระองค์เองและพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อๆไป หรือสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง ซึ่งเป็นข้อมูลที่พระองค์ทรงรับรู้เกี่ยวกับระบบของอังกฤษ

วิธีการผูกมัดตัวเองนี้เท่ากับพระองค์ใช้เสรีภาพหรือสมัครใจที่จะจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองขึ้นมาจำกัดพระราชอำนาจตัวเอง

ซึ่งจะแตกต่างจากการกรณีที่พระมหากษัตริย์ที่ไม่คิดที่จำกัดอำนาจตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยเพราะไม่มีสายตาอันยาวไกลพอที่จะคาดการณ์ความไร้เหตุผลของตัวเองที่จะเกิดขึ้นได้ในบางสถานการณ์ในอนาคต นั่นคือ มั่นใจในตัวเองเกินไปว่าจะตัวเองจะมีเหตุมีผลอยู่เสมอ

หรือไม่เคยคิดอย่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงคิด นั่นคือ ทุกราชวงศ์ย่อมต้องมีเสื่อม ไม่ว่าราชวงศ์นั้นจะประเสริฐเพียงใด และการมีพระมหากษัตริย์ที่เลวร้ายในราชวงศ์นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะหลีกเลี่ยงได้

ซึ่งในกรณีอย่างนี้ ยากที่บุคคลแบบนี้จะรู้จักใช้วิธีการผูกมัดตัวเองไว้ล่วงหน้า แต่ต้องรอให้คนอื่นมาบังคับให้อยู่ภายใต้กติกาที่คนอื่นสร้างขึ้นมาเพื่อตีกรอบการใช้อำนาจของตน

ถ้ายังโชคดีที่คนอื่นที่ว่านี้ยังอยากให้หรือเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ !

การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงมีเป้าหมายที่จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ เพราะพระองค์เห็นว่า การรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้จะเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ประเทศและราชวงศ์จักรี

ดังที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า ถ้าพระองค์ประสบความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ได้จริงๆ ก็จะเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ประเทศและราชวงศ์จักรี (I feel that If I succeed in evolving something really useful, I would have done a great service to my country and the Dynasty.)

และที่สำคัญคือ เป็นประโยชน์แก่ตัวพระองค์เอง ซึ่ง RCT เป็นทฤษฎีที่เน้นเรื่องการหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาหรือได้มาซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือปรารถนา

และองค์กรที่พระองค์ทรงคาดหวังให้เริ่มทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้พระราชอำนาจก็คือ คณะองคมนตรีใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น (Perhaps the new Committee of the Privy Council could be made to serve that purpose in a small way ?)

พระราชดำริที่จะ “ผูกมัดสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ล่วงหน้า” ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯถือเป็นจุดเริ่มต้นในการวิวัฒนาการไปสู่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างมีเหตุมีผล สมัครใจ ค่อยเป็นค่อยไป และไม่เสียเลือดเนื้อ

เพราะองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ริเริ่มและยินยอมเองที่จะให้มีการจำกัดพระราชอำนาจ

“ขอขอบพระคุณจากหัวใจ สำหรับทุก ๆ การบริจาคที่จะส่งต่อแสงสว่างทางความรู้ให้แก่ทุกผู้คนที่จะได้อ่าน”หลังจากที่หนังสือ “ควา...
09/12/2024

“ขอขอบพระคุณจากหัวใจ สำหรับทุก ๆ การบริจาคที่จะส่งต่อแสงสว่างทางความรู้ให้แก่ทุกผู้คนที่จะได้อ่าน”

หลังจากที่หนังสือ “ความจริงที่ไม่มีใครพูด กรณีสวรรคตในหลวง ร.8” จาก
โครงการหนังสือชุด “ จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด “ ลำดับที่หนึ่งได้วางจำหน่ายและมีผู้สนใจสั่งซื้อเข้ามาอย่างล้นหลาม จนอาจเรียกได้ว่า ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และนั่นก็เป็นกำลังใจให้ทางมูลนิธิและคณะผู้จัดทำได้อย่างมหาศาล ว่าในท่ามกลางสงครามแห่งข่าวสารและข้อมูลที่บิดเบือนนั้น ยังมีผู้ที่แสวงหาความจริงอยู่ไม่น้อย

ทุกการสั่งซื้อ ไม่ว่าจะหนึ่งเล่ม หรือ สิบเล่ม แต่ละเล่มล้วนคือกำลังแสงเล็ก ๆ ที่เมื่อรวมกันเข้าก็กลายเป็นแสงสว่างดวงใหญ่ที่จะช่วยกันส่องเข้าไปสู่ความมืดมิดของข้อมูลที่ถูกบิดเบือน ซึ่งนั่นก็อาจจะเพียงพอแล้วที่จะกระตุ้นให้ทางมูลนิธิมีกำลังใจทำตามเจตนารมย์อันแน่วแน่ที่จะแก้ไขในสิ่งผิดต่อไป จนกระทั่งเราได้พบว่า ยังมีแสงสว่างอื่น ที่สว่างจากเจตนารมย์อันดีไม่แพ้กัน ดังที่ท่านจะเห็นในภาพประกอบนี้ นั่นคือแสงแห่งความตั้งใจดีที่อยากส่งต่อความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่สาธารณะ ผ่านการทำสิ่งที่เรียกง่าย ๆ ว่า “บริจาค” ��ขอขอบพระคุณท่านเหล่านั้น ที่มองเห็นว่า หนังสือเล่มนี้ และสิ่งที่เรา มูลนิธิสยามรีกอเดอ และฤๅ ทำขึ้นมา และกำลังจะทำต่อไป น่าจะเป็นประโยชน์แก่คนอีกจำนวนมาก จึงได้ยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่ม ซื้อหนังสือแล้วฝากให้คณะผู้จัดทำ ช่วยส่งมอบให้แก่ห้องสมุด เพื่อเผยแพร่ ความจริงที่ไม่มีใครพูด ให้กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้น

“ขอขอบคุณจากหัวใจของพวกเราในนามมูลนิธิ และขอบคุณแทนผู้ที่จะได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ในห้องสมุดด้วยนะครับ"

ทางมูลนิธิเลยมาคิดต่อว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ ถ้ามูลนิธิจะอยากเปิดเป็นโครงการ “หนังสืออุปถัมภ์” โดยการส่งต่อหนังสือชุด “จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด” ไปยังห้องสมุดต่างๆ ทั่วประเทศ ตามแต่ท่านจะกำหนด โดยท่านจะรับไปบริจาคเอง หรือจะให้เราส่งให้ก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อเราจัดส่งไปที่ไหนบ้าง เราจะนำมาแจ้งให้ทราบเป็นระยะ

โดยในตอนนี้มีผู้แสดงความจำนงค์อุปถัมภ์มาแล้วจำนวน 22 เล่ม ที่เรากำลังจะดำเนินการส่งมอบตามเจตนารมย์ ซึ่งเราจึงถือโอกาสนี้ มาเชิญชวนท่านที่สนใจ ในการส่งต่อความรู้ ร่วมสั่งซื้อหนังสือ เพื่อบริจาคเข้าห้องสมุดตามโครงการ “หนังสืออุปถัมภ์” ของเราครับ �
สำหรับท่านใดที่มีความประสงค์จะร่วมกันสร้างเสริมการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง
สามารถติดต่อเพื่อร่วมบริจาคหนังสือได้ทาง
https://lin.ee/buSxZs9

ขอขอบพระคุณอีกครั้งจากหัวใจทุก ๆ ดวงทั้งผู้จัดทำ และผู้ที่จะได้อ่านต่อไปครับ

ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้ใกล้ชิดพระองค์มากที่สุดคนหนึ่งเล่าว่า…“โดยในฐานะของพระองค์นั้นไม่ทรงมีสิทธิ์ที่จะไปสั่งการหน่วย...
08/12/2024

ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้ใกล้ชิดพระองค์มากที่สุดคนหนึ่งเล่าว่า…

“โดยในฐานะของพระองค์นั้นไม่ทรงมีสิทธิ์ที่จะไปสั่งการหน่วยราชการซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล
พระองค์ทรงระมัดระวังเรื่องนี้มาก ถ้าอยู่ใกล้ชิดพระองค์จะเห็นว่าทรงระวัง

พวกเราเองมักจะคิดหรือพูดว่า
ทำไมท่านไม่ทำอย่างนี้ ! ทำไมท่านไม่ทำอย่างนั้น ! ทำไมท่านไม่ออกมาเสียที ! ทำไมท่าน… !

เป็นเรื่องที่เราคิดได้ตามความรู้สึกตามความอยากของเรา

หลายเรื่องผมเคยกราบบังคมทูลถามว่า ทำไมไม่ทรงทำอย่างนี้ !
รับสั่งว่า ไม่ได้ ! ผิด ! ทำอย่างนี้ไม่ได้ กฎหมายไม่เอื้อ ทำอย่างนี้ถูก อย่างนี้ทำไม่ได้ !”

ดังนั้น ถึงแม้ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระองค์จะเป็นผู้ “กระตุก” ให้รัฐบาลทำ

แต่ก็ไม่ได้เกินขอบเขตของกฎหมาย และไม่ได้เป็นการก้าวก่ายจนละเมิดหลักการ The King can do no wrong อย่างที่หลายคนเข้าใจเพราะมีผู้ทำ พระองค์มิได้ทำเอง

และการจะทำต้องมีการกลั่นกรองก่อนจะทำแล้ว
โครงการที่เห็นสำเร็จหลายโครงการนั้นจึงเป็นเพราะมีการไตร่ตรองและติดตาม

ดังนั้นเมื่อมีการถวายพระเกียรติโครงการเหล่านี้แด่พระองค์ บางคนจึงอาจนึกไปว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ
หรือเป็นการทำให้พระองค์มีอำนาจนำ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
เพราะพระองค์เพียงแค่กระตุ้นและกระตุก โดยมิได้หวังว่าจะต้องมีการถวายอะไรให้พระองค์ตอบแทน
หรือหากทำไปเพื่อโฆษณาชวนเชื่อแต่ประการเดียว โครงการเหล่านี้ก็แค่ทำส่งๆ ไปก็พอ
แต่ในความเป็นจริงนั้น โครงการเหล่านี้มีการติดตาม มีการแก้ไข และมีประโยชน์ในพื้นที่จริง

ฟ้าหญิงภาฯ ท่านทรงงานเพื่อคนไทยมาอย่างสม่ำเสมอ มาโดยตลอด เพื่อให้ความช่วยเหลือได้เข้าถึงคนไทยทุกพื้นที่ที่ได้รับความเดือ...
07/12/2024

ฟ้าหญิงภาฯ ท่านทรงงานเพื่อคนไทยมาอย่างสม่ำเสมอ มาโดยตลอด
เพื่อให้ความช่วยเหลือได้เข้าถึงคนไทยทุกพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน
เพื่อให้การเรียนรู้ได้เข้าถึงเด็กและเยาวชน

จะเห็นได้ว่า หลายโครงการของท่านเกิดขึ้นเพื่อมอบโอกาสให้กับเยาวชน รวมทั้งพัฒนาความรู้ ความคิด และสร้างทัศนคติที่ดีให้กับเด็กๆ เพื่อที่พวกเขาเหล่านั้นจะได้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ
และเป็นกำลังที่สำคัญของชาติบ้านเมืองต่อไป

เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์
ขอให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ในเร็ววัน

ข้าพระพุทธเจ้า ทีมงาน ฤๅ

06/12/2024

คลิปงานเสวนาวาระพิเศษเรื่อง
“ไม่มีใครอยากเป็นกษัตริย์ในยุคทมิฬของคณะราษฎร์”

งานเสวนาวาระพิเศษที่เพจ ฤๅ , ภักดีคาเฟ่ และมูลนิธิสยามรีกอเดอ ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อพูดคุยทุกประเด็นความจริง แบบถึงใจ กับ 3 วิทยากรคุณภาพ

“จิตรากร ตันโห”
“จีรวุฒิ (อุไรรัตน์) บุญรัศมี”
สองนักเขียนหนังสือ “ความจริงที่ไม่มีใครพูด กรณีสวรรคต ร.8” และ
“ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รองผู้อำนวยการศูนย์การเมือง สังคม และอาณาบริเวณศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ยังคงวนเวียนกับคำว่า “พระมหากษัตริย์เซ็นรับรองรัฐประหาร” เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง บ้านเมืองเราเป็นประเทศหนึ่งที่มีรัฐประหาร...
06/12/2024

ยังคงวนเวียนกับคำว่า
“พระมหากษัตริย์เซ็นรับรองรัฐประหาร”
เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง

บ้านเมืองเราเป็นประเทศหนึ่งที่มีรัฐประหารบ่อยที่สุดในโลก
มีคนชอบพูดกันว่า กษัตริย์บ้านเรารับรองรัฐประหาร !!
…….
อยากให้ ท่านลองคิดดูให้ดีว่า
หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ไม่ลงพระปรมาภิไธย “ยอมรับ” ร่างรัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรนำเสนอ ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 หลังจากที่คณะราษฎรยึดอำนาจวันที่ 24 มิถุนายน
จะเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมือง ?
คำถามเดียวกัน ในเวลาต่อมา ทุกครั้งที่คณะรัฐประหารยึดอำนาจแล้ว
หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ไม่ลงนาม “ยอมรับ” ร่างรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหารเสนอ
จะเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมือง ?
—————

นอกจากนั้น การที่พระมหากษัตริย์ ไม่ยอมรับ หรือ ลงนามในร่างรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหารเสนอมา
ย่อมหมายถึง พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ไม่ยอมอยู่ใต้ รัฐธรรมนูญ !
………..

ดังนั้น ภายใต้ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
มีรัฐธรรมนูญ ก็ต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์
มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ต้องมีรัฐธรรมนูญ
ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สามารถเป็น ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) ได้

ดังนั้น การบอกว่า พระมหากษัตริย์ "เซ็นรับรองรัฐประหาร" จึงเป็นคำกล่าวหาของผู้ที่ไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

#เกาหลีใต้ประกาศกฎอัยการศึก

06/12/2024

คลิปงานจิบกาแฟเมื่อวาน เพิ่งได้มาเมื่อสักครู่นี้เอง
เดี๋ยวจะนำมาลงให้ได้ดูกันครับ ขอบคุณช่อง TT ยุคใหม่การตลาดของไทยด้วยครับ

คำจำกัดความของคำว่า “ พอเพียง ” ที่ชัดเจนและสั้นที่สุด เข้าใจได้ง่าย มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มากได้แค่อย่าเกินตัวเกินกำลัง...
06/12/2024

คำจำกัดความของคำว่า “ พอเพียง ” ที่ชัดเจนและสั้นที่สุด เข้าใจได้ง่าย
มีน้อยใช้น้อย
มีมากใช้มากได้
แค่อย่าเกินตัวเกินกำลัง

และไม่ได้เป็นอย่างที่คนบางกลุ่ม พยายามหลอกลวงหรือบิดเบือน

หนึ่งใน​ "มรดก" ที่พ่อให้​ คือ​ คำที่พ่อสอน​ ที่เราจะน้อมเกล้า​ใส่กระหม่อม​ไปปฎิบัติ​ให้ได้มากที่สุด💛

ขอบพระคุณ​ภาพ🙏
#ลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว​​
#เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์

ติดตามผ่านทางนี้เสียงชัดกว่าครับ
05/12/2024

ติดตามผ่านทางนี้เสียงชัดกว่าครับ

เสวนาวันพ่อ. | Check out ยุคใหม่การตลาดของไทย LIVE videos on TikTok! Watch, follow, and discover the latest content from ยุคใหม่การตลาดของไทย.

05/12/2024

พยายามจะไลฟ์อยุ่นะครับ

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (รวมไปถึงโครงการประเภทอื่นๆ) เป็นโครงการที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตข...
05/12/2024

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (รวมไปถึงโครงการประเภทอื่นๆ)
เป็นโครงการที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านโครงสร้างที่จับต้องได้ต่างๆ โดยมีหน่วยงานรัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

โครงการต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั้นมีจุดกำเนิดที่เกิดขึ้นในช่วงยุคเหลื่อมกับสงครามเย็นพอดี

แต่การเกิดขึ้นของแนวคิดการพัฒนาในช่วงสงครามเย็นกับการสร้างโครงการเพื่อหนุนให้เกิดโฆษณาชวนเชื่อนั้นเป็นคนละเรื่องกัน

การทำโครงการต่างๆ เหล่านี้ในยุคที่โครงการเกิดขึ้นนั้น
ไม่มีผู้มีอำนาจหรือประชาชนตั้งคำถามว่าทำไมต้องทำโครงการเหล่านี้ หรือโครงการเหล่านี้จะไปเกื้อหนุนพระมหากษัตริย์อย่างไร

เพราะปัจจัยในขณะนั้นมีเพียงแค่ว่า จะอยู่รอดอย่างไรท่ามกลางความตึงเครียดจากกระแสการเมืองระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ดี นักวิชาการในยุคหลังได้ย้อนกลับไปตั้งคำถามถึงโครงการต่างๆ เหล่านี้ โดยประเด็นที่ผุดขึ้นมาประเด็นหนึ่งนั่นก็คือ

โครงการเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อให้เกิดความนิยมในพระมหากษัตริย์ผ่านแผนจิตวิทยาของสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์

หรือนักวิชาการบางท่านได้ไปไกลถึงขนาดว่า เป็นเรื่องการสถาปนาพระราชอำนาจนำ (Hegemony) ตามแนวคิดของนักคิดอิตาเลียน Antonio Gramsci

การตั้งคำถามดังกล่าวกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ
แต่ทั้งนี้เมื่อลองมาดูในรายละเอียดของโครงการต่างๆ ก็จะพบว่า จุดมุ่งหมายหรือกระบวนการระหว่างทางบางอย่างไม่ได้สอดคล้องกับคำถามที่นักวิชาการเหล่านั้นตั้งขึ้น และทำให้เกิดคำถามอีกคำถามว่า

“ถ้าหากต้องการทำโฆษณาชวนเชื่อ โครงการเหล่านั้นสามารถทำส่งๆ ไปก็ได้มิใช่หรือ? แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือโครงการเหล่านี้กลับมีประโยชน์ต่อประชาชนจริง”

(หรือกระทั่งคำถามว่า โครงการที่เทิดพระเกียรติให้พระองค์นั้นจริงๆ แล้วรัฐบาลเป็นผู้ทำให้เองทั้งนั้น โดยที่พระองค์ไม่ได้ไปร้องขอ)

ดังนั้นจึงเห็นสมควรที่จะแจกแจงรายละเอียดของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างคร่าวๆ
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลในโครงการต่างๆ เหล่านี้
ว่าเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาและช่วยเหลือกัน มากกว่าที่จะทำเพื่อโฆษณาชวนเชื่อหรือเพื่อสร้างอำนาจนำให้ใคร

สำหรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในระยะแรกแบ่งออกได้สองแบบคือ
ประเภทที่หนึ่ง โครงการที่มีลักษณะเป็นการศึกษาส่วนพระองค์ก่อนที่จะค้นหาแนวทางนำไปช่วยเหลือประชาชน
ประเภทที่สองคือโครงการที่มีลักษณะส่งเสริม เป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานที่เกษตรกรประสบกับปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพ [1]

แต่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเรามักจะเห็นเป็นรูปธรรมในแบบที่สองมากกว่า
ซึ่งอันที่จริงแบบแรกก็น่าสนใจเพราะหมายความว่าสามารถมีทั้งที่สำเร็จและล้มเหลวได้ แต่ที่ปรากฏออกมาว่าสำเร็จนั้นเพราะได้ผ่านการกลั่นกรองก่อนลงมือทำมาแล้วนั่นเอง

โครงการเหล่านั้นยังมีชื่อเรียกต่างกัน คือ

โครงการตามพระราชประสงค์ ที่ใช้เงินส่วนพระองค์ศึกษาทดลอง หากได้ผลดีรัฐบาลจะมารับช่วงต่อ
โครงการหลวง เป็นโครงการพัฒนาในเขตภาคเหนือ
โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อแนะนำ และมีพระราชดำริให้เอกชนนำไปดำเนินการ รวมถึงมีการติดตามผลงานด้วย
โครงการพระราชดำริ เป็นโครงการที่พระองค์ทรงวางแผนและเสนอแนะให้รัฐบาล แต่พระองค์ทรงรับสั่งเสมอว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ
รัฐบาลต้องไปวิเคราะห์ ถ้าเป็นไปได้และคุ้มค่าก็ควรทำ แต่ถ้าไม่เหมาะสมก็ล้มเลิกได้

ในบางครั้งโครงการเหล่านี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิใช่ผู้ที่คิดค้นเองทั้งหมด แต่เป็นความต้องการของประชาชนที่ร้องเรียนมาก่อนแล้ว
ซึ่งความช่วยเหลือของรัฐบาลอาจยังเข้าไปได้ไม่ทั่วถึง เช่น จากโครงการชลประทานคลองสังข์ที่ประชาชนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เพราะไม่ได้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเก็บน้ำเอาไว้ด้วย
เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ พระองค์จึงได้เสด็จไปยังพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนประชาชน และมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครงการ
แต่โครงการก็ยังมีการติดขัดหลายประการกว่าจะมาสำเร็จก็อีกนับสิบปีให้หลัง
และยังเห็นได้อีกด้วยว่า พระองค์เป็นเสมือนผู้ไป “กระตุก” เท่านั้น โดยที่ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงกระบวนการต่างๆ แต่อย่างใด

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น โดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้

1 เมื่อพระองค์เสด็จหรือเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น เช่น พายุ จะมีพระราชดำริให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไปช่วยเหลือ

2 เมื่อเสด็จตามที่ต่างๆ จะพระราชทานพระราชดำริให้ผู้ตามเสด็จดำเนินโครงการต่างๆ

3 การถวายฎีกา กล่าวคือ เมื่อมีการถวายฎีกาเกี่ยวกับโครงการพัฒนาขึ้นมา สำนักงาน กปร. จะตรวจสอบข้อเท็จจริงถวายพระองค์เพื่อขอพระราชทานพระราชวินิจฉัย

เมื่อพระองค์มีพระราชวินิจฉัย สำนักงาน กปร. จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ เพราะพระองค์จะระมัดระวังในการดำเนินงานต่างๆ มาก
ดังที่ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้ใกล้ชิดพระองค์มากที่สุดคนหนึ่งเล่าว่า…

“โดยในฐานะของพระองค์นั้นไม่ทรงมีสิทธิ์ที่จะไปสั่งการหน่วยราชการซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล

พระองค์ทรงระมัดระวังเรื่องนี้มาก ถ้าอยู่ใกล้ชิดพระองค์จะเห็นว่าทรงระวัง พวกเราเองมักจะคิดหรือพูดว่า
ทำไมท่านไม่ทำอย่างนี้ ! ทำไมท่านไม่ทำอย่างนั้น ! ทำไมท่านไม่ออกมาเสียที ! ทำไมท่าน… !

เป็นเรื่องที่เราคิดได้ตามความรู้สึกตามความอยากของเรา
หลายเรื่องผมเคยกราบบังคมทูลถามว่า ทำไมไม่ทรงทำอย่างนี้ !

รับสั่งว่า ไม่ได้ ! ผิด ! ทำอย่างนี้ไม่ได้ กฎหมายไม่เอื้อ ทำอย่างนี้ถูก อย่างนี้ทำไม่ได้ !”

"
ดังนั้น ถึงแม้ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระองค์จะเป็นผู้ “กระตุก” ให้รัฐบาลทำ
แต่ก็ไม่ได้เกินขอบเขตของกฎหมาย และไม่ได้เป็นการก้าวก่ายจนละเมิดหลักการ The King can do no wrong อย่างที่หลายคนเข้าใจเพราะมีผู้ทำ พระองค์มิได้ทำเอง
และการจะทำต้องมีการกลั่นกรองก่อนจะทำแล้ว
โครงการที่เห็นสำเร็จหลายโครงการนั้นจึงเป็นเพราะมีการไตร่ตรองและติดตาม
ดังนั้นเมื่อมีการถวายพระเกียรติโครงการเหล่านี้แด่พระองค์ บางคนจึงอาจนึกไปว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ
หรือเป็นการทำให้พระองค์มีอำนาจนำ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

เพราะพระองค์เพียงแค่กระตุ้นและกระตุก โดยมิได้หวังว่าจะต้องมีการถวายอะไรให้พระองค์ตอบแทน
หรือหากทำไปเพื่อโฆษณาชวนเชื่อแต่ประการเดียว โครงการเหล่านี้ก็แค่ทำส่งๆ ไปก็พอ
แต่ในความเป็นจริงนั้น โครงการเหล่านี้มีการติดตาม มีการแก้ไข และมีประโยชน์ในพื้นที่จริง

โครงการต่างๆ เหล่านี้จึงมากไปกว่าแค่เรื่องชวนเชื่อหรือการสถาปนาพระราชอำนาจนำแบบที่ใครบางคนตีความ

น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

บ่ายสองโมงวันนี้ เจอกันที่ภักดีคาเฟ่ ฟังเสวนาวาระพิเศษเรื่อง“ไม่มีใครอยากเป็นกษัตริย์ในยุคทมิฬของคณะราษฎร์” งานเสวนาวาระ...
05/12/2024

บ่ายสองโมงวันนี้
เจอกันที่ภักดีคาเฟ่ ฟังเสวนาวาระพิเศษเรื่อง
“ไม่มีใครอยากเป็นกษัตริย์ในยุคทมิฬของคณะราษฎร์”

งานเสวนาวาระพิเศษที่เพจ ฤๅ , ภักดีคาเฟ่ และมูลนิธิสยามรีกอเดอ ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อพูดคุยทุกประเด็นความจริง แบบถึงใจ กับ 3 วิทยากรคุณภาพ

“จิตรากร ตันโห”

“จีรวุฒิ (อุไรรัตน์) บุญรัศมี”
สองนักเขียนหนังสือ “ความจริงที่ไม่มีใครพูด กรณีสวรรคต ร.8” และ

“ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รองผู้อำนวยการศูนย์การเมือง สังคม และอาณาบริเวณศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

แล้วเจอกันครับ

พรุ่งนี้แล้ว ที่ร้านภักดีคาเฟ่ครับกดดูโลเกชั่นได้ที่นี่https://maps.app.goo.gl/obP2MEuPRKBs3Bzp7?g_st=icบ่ายสองโมง เป็นต...
04/12/2024

พรุ่งนี้แล้ว ที่ร้านภักดีคาเฟ่ครับ

กดดูโลเกชั่นได้ที่นี่
https://maps.app.goo.gl/obP2MEuPRKBs3Bzp7?g_st=ic

บ่ายสองโมง เป็นต้นไป

03/12/2024

เอ้า ว่าจะแชร​์
ดูเพลินจนลืมแชร์
สง่างาม และเข็มแข็งมาก

นับถอยหลัง อีก 2 วันงานเสวนาวาระพิเศษที่เพจ ฤๅ , ภักดีคาเฟ่ และมูลนิธิสยามรีกอเดอ ร่วมกันจัดจิบกาแฟร่วมเสวนาเรื่อง “ไม่ม...
03/12/2024

นับถอยหลัง อีก 2 วัน

งานเสวนาวาระพิเศษที่เพจ ฤๅ , ภักดีคาเฟ่ และมูลนิธิสยามรีกอเดอ ร่วมกันจัดจิบกาแฟร่วมเสวนา
เรื่อง

“ไม่มีใครอยากเป็นกษัตริย์ในยุคทมิฬของคณะราษฎร์”

โดย วิทยากรคุณภาพ “จิตรากร ตันโห” “จีรวุฒิ (อุไรรัตน์) บุญรัศมี” สองนักเขียนหนังสือ “ความจริงที่ไม่มีใครพูด กรณีสวรรคต ร.8” และ “ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รองผู้อำนวยการศูนย์การเมือง สังคม และอาณาบริเวณศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มาจิบกาแฟรสชาติรื่นรมย์ ในบรรยากาศผ่อนคลาย ท่ามกลางเพื่อนพ้องน้องพี่หัวใจเดียวกัน

คุณไม่ควรพลาดงานนี้

5 ธันวา เวลาบ่าย 2 เป็นต้นไป
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

ภักดี คาเฟ่

“การทำงาน เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ ควรเต็มใจ ทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใดไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ท...
01/12/2024

“การทำงาน
เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ ควรเต็มใจ ทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใดไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง
คนที่ทำงานได้จริงๆ นั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำได้เสมอ
ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และความซื่อสัตย์สุจริต
ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น”

พระบรมราโชวาทของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530

----------------------------------

พระบรมราโชวาทของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สอนให้ตระหนักถึงคุณค่าของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานประเภทไหน หรืออาชีพใดก็ตาม
สิ่งที่มาควบคู่กับการทำงานก็คือความรับผิดชอบ
ดังนั้น การทำงานให้ดีที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ ทำให้เต็มที่ สม่ำเสมอ และซื่อสัตย์สุจริต
จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบและสร้างคุณค่าให้แก่ตัวผู้ทำงานเอง คนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือทำงานอะไร
ก็จะมีแต่ความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ

ไม่ใช่เวลามาแบ่งเขาแบ่งเราแม้ว่าจะมีคนบางกลุ่มพยายามอย่างยิ่งที่จะแบ่งเขาแบ่งเราออกจากกันก็ตามแต่สำหรับเรา พวกเขาคือ “ พ...
30/11/2024

ไม่ใช่เวลามาแบ่งเขาแบ่งเรา
แม้ว่าจะมีคนบางกลุ่มพยายามอย่างยิ่งที่จะแบ่งเขาแบ่งเราออกจากกันก็ตาม
แต่สำหรับเรา พวกเขาคือ
“ พี่น้องร่วมชาติ ”

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
❤ ขอเชิญ "แบ่งปัน" เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้
🙏 ร่วมบริจาคได้ที่
▶ เลขที่บัญชี 020-3-04545-1
ธนาคารไทยพาณิชย์ กระแสรายวัน
▶ หรือสแกน QR Code E-Donation บริจาคผ่านระบบ Mobile Banking ได้ทุกธนาคาร
📌 ใบเสร็จสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
📞 02-0546546
🖥 Line Official :

#เพราะเพื่อนไม่ทิ้งกันในยามยาก
#มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งภาฯยามยาก #สภากาชาดไทย
#บรรเทาทุกข์ #แบ่งปันพอเพียงยั่งยืน #น้ําท่วม67 #ภาคใต้

ที่อยู่

Amphoe Muang Phrae

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ฤๅ - Lue Historyผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ฤๅ - Lue History:

แชร์