Triple J Communication

Triple J Communication บริษัทตัวแทน ทำประชาสัมพันธ์ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม แรงงาน ฯลฯ ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

What we do
Our firm has been in the wisdom business in Thailand for more than 15 years. We are trusted advisors and creative experts who have various abilities of strengthening brands, reputations and bottom lines. Our teams collaborate to engage in public relations and marketing that highly impact to audiences. We strategically corporate to organize, consult, advertise, and manage of the entire

procedure of public relations. We do press releases, news report, special announcements TV shows, documentaries, press tours and events to help our clients communicate through various medias. We engage good relationship between organizations and medias. We select directions of media channels, thus analyze feedback from audiences.

Happy New Year 2025 🎉🎊
31/12/2024

Happy New Year 2025 🎉🎊

25/12/2024

คิดเล็กๆ แต่คิดดีกับ GC ปี3 #สร้างสรรค์เพื่อชุมชน

โครงการคิดดีกับ GC ปี 3 #สร้างสรรค์เพื่อชุมชน ผลตอบรับดีเกินคาดมีผู้สนใจส่ง 46 ผลงาน จาก 6 สถาบัน มุ่งหวังเป็นเวทีให้คนรุ่นใหม่ในจังหวัดระยองแสดงพลังความคิดที่สร้างสรรค์พัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมกับ บริษัท ทริปเปิล เจ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด จัดทำโครงการ “คิดดีกับGC” ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 โดยในปีนี้มาในแนวคิด “คิดดีกับGC #สร้างสรรค์เพื่อชุมชน” เพื่อประกวดแนวคิดการสร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อชุมชน มีรางวัลรวมมูลค่ากว่า 81,000 บ. ประกาศผลทีมผู้ชนะเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ ทีม TAG ผลงาน “อย่าเห็นเราเป็นแค่เปลือก” จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง โดยมีคณะกรรมการตัดสินจากภาครัฐและภาคเอกชนจำนวน 5 ท่าน ได้แก่ ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ,คุณศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรการวิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. , คุณประภา ปานนิตยกุล พัฒนาการจังหวัดระยอง , คุณดิษยพงศ์ ใจหนักแน่น นักวิจัยอาวุโส หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีการผลิต บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และคุณธีรวิชญ์ ศศิรัตนนิกุล ผู้แทนจากชมรมหอการค้าจังหวัดระยอง

โครงการคิดดีกับ GC ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยแต่ละปีจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป สำหรับปีนี้ มาในแนวคิด “รักบ้านเกิด” เพราะ GC ตระหนักอยู่เสมอว่า ระยองเปรียบเสมือนบ้าน เพราะเป็นพื้นที่หลักในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น GC จึงมีความมุ่งมั่นในการดูแลสังคม และชุมชนระยอง ให้เติบโตไปด้วยกัน และสำหรับโครงการคิดดีกับ GC นี้เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการคิดดีต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม สำหรับในปีนี้มีแนวคิดการสร้างสรรค์เพื่อชุมชน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเยาวชนที่เป็นนิสิต นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย อาชีวศึกษา ในพื้นที่จังหวัดระยอง ได้แสดงพลังสร้างสรรค์ในการคิดนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อต่อยอดสร้างงาน สร้างอาชีพ สนับสนุนการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง เกิดการสำนึกรักบ้านเกิดซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการสานพลังให้ชุมชนของตนเองมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

โดยคณะกรรรมการทั้ง 5 ท่านได้พิจารณาคัดเลือกแนวคิดจำนวน 46 ผลงาน จาก 6 สถาบัน เหลือเพียง 10 ผลงาน เท่านั้น โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม TAG แนวคิดการสร้างมูลค่าจากเปลือกทุเรียน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม SAP แนวคิด : Recycle Waste Bank ลดปัญหาขยะในชุมชน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม สร้างความสุก แนวคิด แอพพลิเคชั่นวิเคราะห์ระดับความสุกของทุเรียน จากวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี และรางวัลชมเชยจำนวน 7 รางวัล ได้แก่ ทีม GREEN CANAL แนวคิดเครื่องตรวจวัดแจ้งเตือนคุณภาพน้ำแบบ Real Time จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง , ทีมสามเกลอต่างแดน แนวคิด Air Treatment Drone จากวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด , ทีมหมวกกันน็อคเตือนฉัน แนวคิดอุปกรณ์ควบคุมให้สามารถสตาร์ทรถมอเตอร์ไซด์ได้หากใส่หมวกกันน็อค จากวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย , ทีม Waste to Value แนวคิดการติดตั้งตู้รับขยะรีไซเคิลเพื่อสะสมแต้ม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง , ทีม MAR D แนวคิด platform ตลาดนัดชุมชน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง , ทีม Heal Heart แนวคิด Application ปรึกษาสุขภาพจิต online จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง และทีม JR MECHA RYTC แนวคิด รถ Solar cell เก็บขยะชายหาด จากวิทยาลัยเทคนิคระยอง

โครงการคิดดีกับ GC นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการเรียนรู้นอกห้องเรียนแล้ว ยังช่วยให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน และช่วยกันต่อยอดความคิด ให้เราได้คิดดีต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่ง GC หวังว่าโครงการคิดดีกับ GC ปี 3 #สร้างสรรค์เพื่อชุมชน จะเป็นอีกหนึ่งโครงการ ที่น้องๆ และชุมชนได้รับประโยชน์ และมีความสุขไปด้วยกัน เพราะเคมีเข้าถึงทุกความสุข

#คิดดีกับGCปี3 #จังหวัดระยอง #ชุมชน #รักบ้านเกิด

24/12/2024

🥶🚙ฤดูหนาวแบบนี้ใคร ๆ ก็คงจะอยากไปเที่ยวภูเขากันใช่ไหมล่ะ สิ้นปีนี้ซื้อเองก็อยากจะไปแอ่วเหนือให้สบายอกสบายใจผ่อนคลายปอดดูสักหน่อย ว่าแล้วจองตั๋วไปเชียงใหม่ด่วน

‼️พวกเธอคงคิดไม่ถึงล่ะสิ ว่าระดับเจ๊ไฮโซสาวสวยจะเที่ยวภูเขาในประเทศแค่นี้หรอ ฉันจะบอกอะไรให้ เชียงใหม่ติด top 5 ภูเขาน่าเที่ยวของเอเชียเลยนะ ว่าแล้วก็ไปดูลำดับอื่น ๆ ด้วยเลยแล้วกัน
1. เกาะเชจู ประเทศเกาหลีใต้
2. เมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น
3. จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
4. เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย
5. เมืองโคตาคินาบาลู ประเทศมาเลเซีย

👍เชียงใหม่ของไทยเราน้อยหน้าซะที่ไหนล่ะ สำหรับข้อมูลนี้เป็นการสำรวจดู agoda ผู้ให้บริการด้านสำรองที่พักออนไลน์ เป็นผู้จัดลำดับจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวภูเขาในเอเชีย เนื่องในวันภูเขาสากล (International Mountain Day) โดยอ้างอิงจากข้อมูลการจองของagodaในปี 2567

👍เที่ยวเมืองไทยนี่แหละสบายใจที่สุด ดื่มด่ำกับธรรมชาติ และสัมผัสอากาศเย็นๆ พร้อมกับซึมซับวัฒนธรรมที่สวยงามมีเอกลักษณ์ของทางภาคเหนือ

24/12/2024
24/12/2024
ตลาดนัด เอ.เจ. พลาสท์ สร้างสุขพนักงาน สร้างคุณค่าให้ชุมชน===================เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมาค่ะ บริษัท เอ.เ...
18/12/2024

ตลาดนัด เอ.เจ. พลาสท์ สร้างสุขพนักงาน สร้างคุณค่าให้ชุมชน
===================
เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมาค่ะ บริษัท เอ.เจ. พลาสท์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมตลาดนัด เอ.เจ. พลาสท์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดี และสร้างรายได้ให้กับพนักงาน และชุมชน รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งเทศบาลนครแหลมฉบัง และสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ภายในงาน นายชาญชัย กฤษณีไพบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและผู้จัดการโรงงาน บริษัท เอ. เจ. พลาสท์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงาน (ที่ 3 จากซ้ายมือ) นายสันติ ศิริตันหยง รองนายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง (ที่ 2 จากซ้ายมือ) นางลัดดาวัลย์ อ่อนกำปัง ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง (ที่ 4 จากซ้ายมือ) นายวีระศักดิ์ แจ้งการ ที่ปรึกษาบริษัทฯ (ที่ 2 จากขวามือ) นายชูชีพ วรภัณฑ์ ประธานชมรมเขตประกอบการเสรี (ที่ 1 จากขวามือ) พร้อมด้วยประธานและตัวแทนชุมชนโดยรอบทั้ง 10 ชุมชน ผู้บริหารบริษัทฯ ร่วมให้เกียรติเปิดงาน
ภายในงานมีร้านค้าจากพนักงาน และร้านค้าชุมชนโดยรอบ มาร่วมจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ เช่น อาหารคาวหวาน ขนมไทย ผลไม้ เสื้อผ้า และเครื่องจักรสานที่ทำจากสายรัดพลาสติกรีไซเคิล เป็นต้น ซึ่งการจัดงานดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างคุณค่าร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม ในการร่วมกันเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยังเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับพนักงาน และสร้างสุขให้กับพนักงานในองค์กร นอกจากกิจกรรมดังกล่าว บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นในการดำเนินงานธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และให้ความสำคัญกับการมุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้คนและสังคม พร้อมกับการพัฒนาชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน

11/12/2024

สกู๊ปข่าวที่ตอบโจทย์ว่า "เพราะไทยเด็ดไม่ใช่แค่สินค้า แต่คือ"

ทริปเปิล เจฯ ผลิตและเผยแพร่สกู๊ปข่าวทาง #ข่าวเช้าหัวเขียว #ไทยรัฐทีวี #ช่อง32

09/12/2024

⁉️ใครเคยเห็นระบบเฝ้าระวังการเคลื่อนตัวของดินในต่างประเทศกันมาบ้างแล้วหรือเปล่าจ๊ะ แล้วรู้หรือเปล่าว่าที่ประเทศไทยก็มีนะจ๊ะที่ “เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง” เพราะที่แห่งนี้เป็นแหล่งเชื้อเพลิง เหมืองถ่านหินลิกไนต์ ที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 16,000 ไร่ และยังมีความลึกจากขอบบ่อถึง 300 เมตร นอกจากนี้ยังมีที่ทิ้งดินอีก 18,000 ไร่ ซึ่งมีความสูงจากระดับพื้นดินกว่า 230 เมตร ความปลอดภัยจึงสำคัญเป็นอันดับหนึ่งเลยจ๊ะนายจ๋า

⚡การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้พัฒนานวัตกรรมอัจฉริยะ “ระบบเฝ้าติดตามแผ่นดินถล่มบริเวณเหมืองเปิดถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะโดยการรังวัดด้วยดาวเทียมกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกแบบจลน์ในทันที หรือระบบ RTK – GNSS LANDslide Monitoring System : RTK – LANDMOS” นี้ขึ้น โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

⚡ระบบ RTK-LANDMOS สามารถให้ค่าพิกัดการเคลื่อนตัวของดินได้ทันทีแบบเรียลไทม์ และรายงานข้อมูลการตรวจวัดทุก 15 นาที สามารถเฝ้าระวังติดตามและตรวจวัดแบบ Real Time ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถเห็นถึงการเคลื่อนตัวอย่างรุนแรง ผู้เกี่ยวข้องเตรียมแผนการรองรับเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งได้นำไปใช้สร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่อื่น ๆ อีกหลายแห่งของ กฟผ. อีกด้วย

⚡นอกจากนี้ระบบ RTK-LANDMOS ยังเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมที่คว้ารางวัลประเภทดีมาก ในงานมหกรรมการแสดงผลงานที่คิดค้นหรือประดิษฐ์สิ่งซึ่งเป็นประโยชน์แก่ กฟผ. ประจำปี 2567 อีกด้วยนะจ๊ะนายจ๋า

09/12/2024

📍🇹🇭การตั้งเป้าหมายของประเทศไทย ในเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ในการประชุม COP26 ถือว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับการหาแหล่งพลังงาน และพัฒนาในเรื่องของพลังงานสะอาด

⚡การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หน่วยงานหลักด้านพลังงานของไทย ได้สนับสนุน และเฟ้นหาแหล่งพลังงานที่จะมาทดแทนพลังงานแบบเก่า เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดตามนโยบายที่ตั้งเอาไว้ และแน่นอนว่าพลังงานที่ได้ต้องมีความมั่นคง ล่าสุดได้ศึกษาดูงานที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR : Small Modular Reactor) ACP100 หรือ Linglong One ขนาดกำลังผลิต 125 เมกะวัตต์ ที่มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย พัฒนาออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง มีความปลอดภัยสูงขึ้น มีความซับซ้อนน้อยลง มีการออกแบบให้ระบบเชื้อเพลิงและระบบผลิตไอน้ำอยู่ภายในโมดูลปฏิกรณ์สำเร็จรูปจากโรงงาน มีขนาดเทียบเท่ารถบัส 1 คัน

⚡โรงไฟฟ้า SMR แห่งนี้จะใช้เทคโนโลยีน้ำอัดแรงดัน Pressurized Water Reactor : PWR หรือกล่าวง่าย ๆ คือใช้น้ำในการระบายความร้อน เมื่อเกิดปัญหาฉุกเฉินขึ้นจะสามารถหยุดทำงานได้โดยไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้า และใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมออกไซด์ (ความเข้มข้นของ U-235 น้อยกว่า 5%) ปล่อยพลังงานความร้อนจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซึ่งสามารถใช้เชื้อเพลิงได้ต่อเนื่องถึง 24 เดือนโดยไม่ต้องเปลี่ยน ขนาดเล็กแบบนี้แต่สามารถมีอายุการใช้งานถึง 60 ปี และใช้พื้นที่เพียง 125 ไร่

🔸อย่างไรก็ดีการมุ่งส่งต่อความรู้ และสร้างความเข้าใจในเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้กับประชาชนผ่านช่องทางต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้มากขึ้นและต่อเนื่อง เพื่อเป็นทางเลือกด้านพลังงานของประเทศไทย ตอบโจทย์ Net Zero ได้ในอนาคต

09/12/2024

🔹ปัจจุบัน การใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรม ขนส่งคมนาคม ธุรกิจขนาดเล็ก รวมไปถึงระดับครัวเรือน จึงเป็นหน้าที่สำคัญของ กฟผ. ที่ต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และตอบสนองนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศด้วย

🔹อย่างโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ที่ กฟผ. ทุ่มทุน เพื่อเดินหน้า 3 โครงการ รองรับตามแผน PDP 2024 คาดการณ์ว่า พลังงานที่ได้ถึง 2,472 เมกะวัตต์ ซึ่งประกอบไปด้วย
• โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนจุฬาภรณ์ กำลังการผลิต 801 เมกะวัตต์
• โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนวชิราลงกรณ กำลังการผลิต 891 เมกะวัตต์
• โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนกระพรุน ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กำลังการผลิตอยู่ที่ 780 เมกะวัตต์

⚡โดยปัจจุบัน กฟผ. ได้ศึกษา และทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ
เขื่อนจุฬาภรณ์ และผ่านการเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในขั้นต่อไปจะเป็นการเสนอคำขออนุมัติจาก ครม.

⚡สำหรับโรงไฟฟ้าประเภทนี้ น่าสนใจตรงที่มีระบบกักเก็บพลังงานที่มีต้นทุนต่ำ โดยคำนวณต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดต่อหน่วย เฉลี่ยอยู่ที่ 2 บาทเท่านั้น ถ้าหากทั้ง 3 โครงการนี้ได้ผ่านกระบวนการเห็นชอบและอนุมัติเรียบร้อยแล้ว
ก็จะเข้าสู่กระบวนการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดต่อไป ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี ค.ศ. 2065

09/12/2024

☀️⚡การผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทยอีกต่อไป เพราะทุกครัวเรือนสามารถเข้าถึงพลังงานชนิดนี้ได้ และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ได้เดินทางไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Yinggehai ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะไห่หนานประเทศจีน โดยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้มีกำลังการผลิตกว่า 400 เมกะวัตต์ ติดตั้งแผงโซลาร์บนพื้นที่ที่เป็นนาเกลือเก่าที่ถูกทิ้งเปล่าไว้ไม่ได้ประโยชน์แล้ว และบนพื้นที่ลุ่มแม่น้ำชายฝั่ง Nachao อีกทั้งยังมีการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานจำนวนมากกว่า 200 เมกะวัตต์/ชั่วโมง อีกด้วย

☀️⚡โรงไฟฟ้าแห่งนี้ทำหน้าที่รักษาความเสถียรของระบบไฟฟ้าทั่วทั้งมณฑลไห่หนาน และที่น่าสนใจที่สุดก็คือ โรงไฟฟ้าแห่งนี้ถูกควบคุมและสั่งการโดยการตั้งเวลาและเส้นทางให้กับหุ่นยนต์และโดรน ออกไปสำรวจพื้นที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ รวมไปถึงพื้นที่ที่ใช้กักเก็บพลังงานแบบอัตโนมัติ แทนการใช้งานเจ้าหน้าที่ที่เป็นมนุษย์ด้วย เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น ระบบ AI จะทำการแจ้งเตือนทันที พร้อมวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปซึ่งสู่การซ่อมบำรุงได้อย่างถูกจุด นับเป็นการลดระยะเวลาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ และต้นทุนในขั้นตอนการสำรวจได้เป็นอย่างดี

🇹🇭สำหรับประเทศไทยนั้น เรามีโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำที่ กฟผ. ดำเนินการอยู่ ดังนั้นผลจากการเข้าศึกษาดูงานในครั้งนี้ ต้องรอดูกันต่อไปว่า จะมีการนำเทคโนโลยีที่ได้ไปศึกษาดูงานดังกล่าว มาพัฒนาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับระบบในปัจจุบันของประเทศไทยต่อไปได้หรือไม่ อย่างไร

🏭 SMR โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ทรงพลัง ====================🖊️ บทความโดย รศ.ดร.ภิญโญ มีชำนะ นักวิชาการอิสระด้า...
09/12/2024

🏭 SMR โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ทรงพลัง
====================
🖊️ บทความโดย รศ.ดร.ภิญโญ มีชำนะ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน
-------------------
🔸“เล็กพริกขี้หนู” หรือ “จิ๋วแต่แจ๋ว” คงเป็นนิยามของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR (Small Modular Reactor) สำหรับคนที่รู้จัก SMR แล้ว

🔸แต่สำหรับคนที่ไม่รู้จัก SMR มาก่อนอาจจะสงสัยและกังวลขึ้นมา เพราะชื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ “ภาพจำที่ชัดเจน” ของประสบการณ์ในอดีตคงย้อนกลับมาอย่างรวดเร็วว่าเกิดเหตุการณ์อะไรกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันบ้าง ซึ่งการเกิดเหตุการณ์ในอดีตเป็นยุคของการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีมาตั้งแต่ 3 ยุคแล้ว ยุคที่ 1 โปโตไทป ยุคที่ 2 ประมาณปี 1970 ยุคที่ 3 ประมาณปี 2000 และยุค SMR คือยุค 3 + ที่ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้มีความปลอดภัย และมีความทันสมัยมากขึ้น โดยลืมภาพจำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ต้องมีขนาดใหญ่เท่านั้นไปได้เลย

🔸สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR คือ เตาปฏิกรณ์ที่มีกำลังการผลิตที่น้อยกว่า 300 เมกะวัตต์ โดยออกแบบให้เป็นโมดูลที่ผลิตมาจากโรงงาน และนำไปประกอบติดตั้งในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้เปรียบคือต้นทุนการผลิตต่อชิ้นต่ำ ใช้เวลาในการก่อสร้างชิ้นงานสั้นลง ความซับซ้อนของระบบน้อยกว่า จึงใช้เวลาในการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรน้อยกว่า เงินลงทุนต่ำกว่า ความปลอดภัยในการดำเนินงานดีกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ สามารถนำไปประยุกต์ในภาคอุตสาหกรรมได้ง่าย เช่น การผลิตน้ำจืดขนาดใหญ่ และการผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่มักมีข้อจำกัดอยู่มาก นักฟิสิกส์และวิศวกรนิวเคลียร์จึง "ตัดมุมกลับ" โดยออกแบบเตาปฏิกรณ์ให้เล็กลงจนมีขนาดไม่เกิน 300 เมกกะวัตต์

🔸สำหรับ SMR ที่ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ SMR ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว ได้มีการสร้างและติดตั้งในอุปกรณ์ทางการทหารมามากกว่า 50 ปี เช่น นำไปติดตั้งในเรือดำน้ำนิวเคลียร์ เรือบรรทุก เครื่องบินนิวเคลียร์ เครื่องผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ภาคสนาม เป็นต้น และได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแอดวานส์นิวเคลียร์รีแอคเตอร์ ซึ่ง SMR ที่เข้าข่ายจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ✅

1. Modulization เป็นการออกแบบที่แบ่งระบบต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อความยืดหยุ่น ให้เหมาะกับความต้องการใช้งาน
2. Integral Water Reactor เป็นการผนวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ผลิตไฟฟ้าได้เองในแต่ละส่วน
3. Manufactured สามารถผลิตให้จบในโรงงานได้เลย เพื่อพร้อมใช้งาน

✅และเมื่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในภาพจำของเราเปลี่ยนไปเป็น SMR นักวิชาการจึงได้ประมวลข้อดีไว้ ดังนี้
1. เตาปฏิกรณ์มีความซับซ้อนบ่อย จึงไปเจ้าหน้าที่ดูแลไม่มาก
2. ระบบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก หรืออาจรวมอยู่ในโมดูลเดียวกัน ท่าให้ใช้พื้นที่ก่อสร้างไม่มาก
3. ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบมีน้อย จึงสามารถระบายความร้อนด้วยก๊าซ หรือน้ำปริมาณน้อย ๆ ได้
4. มีระบบการเชื่อมต่อแบบ plug and play จึงเหมาะสมในโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่ชนบท พื้นที่ประสบภัยพิบัติ และโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก (micro-grid)
5. ใช้เวลาในการติดตั้งไม่นาน สามารถเพิ่ม หรือลดกำลังการผลิตได้ง่าย และรื้อถอนได้รวดเร็ว
6. สามารถขนย้ายเตาปฏิกรณ์ด้วยรถบรรทุก เรือ และเครื่องบินได้
7. มีปริมาณรังสีน้อยและสามารถติดตั้งที่ชั้นใต้ดินเพื่อลดโอกาสการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีได้
8. แท่งเชื้อเพลิงสามารถใช้งานได้นานกว่า 10 ปี โดยไม่ต้องการเปลี่ยน
9. ในอนาคตอาจใช้การควบคุมจากระยะไกลด้วยรีโมตคอนโทรลได้

🙏อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.thaiphysoc.org/article/93/

✅นอกจากนั้นหากเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วไป กับ SMR มีความเหมือนและแตกต่างกัน สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนได้จากตารางแนบ

สิ่งที่เหมือนกันและดีต่อสิ่งแวดล้อม คือ การไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ เพราะเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ คือพลังงานสะอาด สำหรับประเทศไทยเองแม้เป็นประเทศเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจที่เดินหน้าผลิตไฟฟ้าด้วย SMR เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ จีน รัสเซีย แต่ประเทศไทยโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ยังคงเดินหน้าศึกษา และเตรียมความพร้อมอยู่เสมอในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อก้าวไปสรรหาพลังงานใหม่ ในการผลิตไฟฟ้าที่ไม่เพียงแต่การสร้างความสุขให้กับคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการก้าวไปสู่ความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าให้คนไทยมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืนต่อไป .........................................................................................................................

🏭 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก SMR  ก้าวหน้าไปถึงไหนกันแล้ว ???====================🖊️ บทความโดย รศ.ดร.ภิญโญ มีชำนะ นักวิชา...
09/12/2024

🏭 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก SMR ก้าวหน้าไปถึงไหนกันแล้ว ???
====================
🖊️ บทความโดย รศ.ดร.ภิญโญ มีชำนะ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน
--------------------
✅ กว่าจะมาถึงจุดนี้ไม่ง่ายเลย .... สำหรับความ “กล้า” ของประเทศที่ต้องการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าที่ต้องการปลดล็อคปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้า เช่น การผูกขาดเชื้อเพลิง ปัญหาความไม่เสถียรของพลังงาน ราคาพลังงาน การขาดแคลนพลังงาน การต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป และการใช้พลังงานสะอาดเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero

🔸เพราะมีเหตุผลที่สำคัญ คือ ความ “กลัว” ที่ต่อไปในอนาคตจำนวนคนจะยิ่งมีเพิ่มขึ้น ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น แต่หากไม่มีการสรรหาเชื้อเพลิงทางเลือกเพื่อผลิตไฟฟ้าในอนาคต “แม้มีเงิน ก็อาจจะไม่มีไฟฟ้าใช้ได้ เพราะไม่มีพลังงาน”

🔸 ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่หลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจ คิดใหม่ทำใหม่ พัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เพื่ออุดรอยรั่วจากอดีตที่หลาย ๆ คนยังจำได้ หันมาปัดฝุ่นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก SMR กันมากขึ้น และประสบความสำเร็จ เช่น

🖊️รวบรวมข้อมูลโดยอ้างอิงมาจาก เอกสารของ IAEA ที่เผยแพร่ออกมาในปี 2020 ชื่อ Advances in Small Modular Reactor Technology Developments 2020 Edition

🔸หากสังเกตุประเทศแถบเอเชียอย่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่แล้ว การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามแนวชายฝั่ง ของประเทศจำนวนที่มากขึ้นทุกปี เป็นเรื่องปกติ เพราะบริษัท China National Nuclear Corporation (CNNC) กำลังก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์โมดูลาร์ขนาดเล็กเชิงพาณิชย์บนพื้นดิน (SMR) แห่งแรกของโลก ซึ่งก็คือ ACP100 (หรือเรียกอีกอย่างว่า Linglong One) ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฉางเจียงในมณฑลไหหลำ โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากใช้การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์น้ำแรงดันแบบแยกส่วน ซึ่งปรับให้เหมาะกับการใช้งานต่าง ๆ ได้ รวมถึงการผลิตไฟฟ้า การให้ความร้อน การผลิตไอน้ำ และการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล สำหรับโครงการนี้ หากดำเนินการแล้วเสร็จคาดว่า จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อการจ่ายไฟให้กับ 526,000 ครัวเรือน หากก่อสร้างเสร็จภายใน 58 เดือนตามแผน จะเป็นการตอกย้ำความพยายามของจีนในการเป็นผู้นำตลาด SMR ของโลก

🔸หากเรามาลองทำความรู้จักกับ ACP100 ของจีน (Linglong One) พบว่า เป็นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก ที่
ออกแบบมาให้มีอายุใช้งานประมาณ 60 ปี เพื่อผลิตไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีของการทำความร้อนผ่านกระบวนการฟิชชั่น ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง ใช้ยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นต่ำ (-235) โดยยูเรเนียมในแกนปฏิกรณ์จะทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิชชั่น ทำให้แยกนิวเคลียสของยูเรเนียมให้กลายเป็นนิวเคลียสที่เล็กลงและปล่อยความร้อนออกมา จากนั้นความร้อนจะถูกส่งต่อไปยังสารหล่อเย็น ซึ่งเป็นน้ำแรงดันสูง เพื่อช่วยให้ความร้อนไม่ระเหยและรักษาระดับความดันในเตาปฏิกรณ์ได้ และน้ำที่ได้รับความร้อนจากเตาปฏิกรณ์จะถูกส่งไปยังเครื่องกำเนิดไอน้ำ เพื่อเปลี่ยนเป็นไอน้ำที่มีความดันและอุณภูมิสูง ซึ่งไอน้ำจะถูกส่งต่อไปยังกังหันไอน้ำ ไปหมุนเพลาของกังหันและแปลงพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล เพื่อขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้าและต่อเข้าสู่สายส่งไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ต่อไป

🔸นอกจากนั้น ACP100 จะมีระบบป้องกันอันตรายจากสารกัมมันตภาพรังสี และมีระบบป้องกันความปลอดภัย ที่มีความน่าเชื่อถือสูง เพราะได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานระดับสูงจากหลายองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เช่น สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และการพัฒนาร่วมกับรัฐบาลจีน ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในมาตรฐานการออกแบบและการทำงาน ที่สำคัญมีการผสมผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีระบบป้องกันที่ออกแบบมาให้ทำงานอย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์เสริมจากภายนอก ซึ่งนับว่าเป็นมาตรฐานใหม่ในด้านความปลอดภัยของ SMR

🔸ต่อไปคงไม่เพียงแต่ประเทศมหาอำนาจเท่านั้นที่จะนำ SMR มาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพราะประเทศไทย และอีกหลาย ๆ ประเทศ คงต้องเริ่มนำมาพิจารณากันอย่างจริงจังบ้างแล้ว
........................................................................

09/12/2024

เสร็จสิ้นไปแล้วกับกิจกรรมดีๆส่งท้ายปีที่ ทริปเปิล เจฯ ได้ดำเนินการ
ขอขอบคุณ กฟผ. ที่สนับสนุนกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสให้น้องเยาวชนได้แสดงพลังสร้างสรรค์ด้านพลังงานออกมาให้เราได้เห็นอย่างเต็มที่ บอกเลยว่าภูมิใจผลงานน้องๆ เก่งทุกๆทีมเลยจริงๆ
#กฟผ #การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

07/12/2024

🎊เทศกาลหยุดยาวปีใหม่ใกล้เข้ามาแล้ว ใครมีแพลนไปเที่ยวไหนบ้าง หรือใครที่อยู่ต่างจังหวัดก็คงวางแผนเดินทางอยู่ใช่ไหม นอกจากสภาพเครื่องยนต์และตัวรถแล้วที่เราต้องเช็คเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางแล้ว แต่สำหรับชาว EV อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องวางแผนคือการวางแผนชาร์จไฟฟ้าระหว่างการเดินทางในสถานีผู้ให้บริการที่วางใจได้

🔌อยากแนะนำให้รู้จัก สถานีชาร์จ EV ที่กำลังมาแรง EleX by EGAT ที่มาพร้อมกับแอปพลิเคชั่น EleXa จอง ชาร์จ จ่าย จบ ครบในที่เดียว ก็สามารถค้นหาสถานีชาร์จพันธมิตรในเครือข่ายที่มีครอบคลุมทั่วประเทศมากกว่า 290 สถานี

📍เพียงโหลดแอปพลิเคชั่น EleXa ง่าย ๆ ได้ที่
สำหรับระบบ iOS https://apps.apple.com/th/app/elexa/id1557651291
สำหรับระบบ android https://play.google.com/store/apps/details?id=egat.smd.ev

👍✨การเดินทางของคุณก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องกังวลว่ารถติดขนาดนี้ ข้างหน้าจะมีสถานีชาร์จให้กับคุณหรือไม่ เพราะคุณสามารถตรวจสอบผ่านแอปฯ ได้เลย หยุดยาวนี้ขับ EV พักผ่อนสบายใจไปทุกที่กับ EleX by EGAT

07/12/2024

👳‍♀️✨ฮัลเล วังกา ... ฤดูหนาวมาแล้วจ้า นายจ๋า หนาวๆ แบบนี้ใครมีแผนที่จะไปดูพันธุ์ไม้ที่สวยงามทางภาคเหนือกันบ้าง หรือเปล่าจ๊ะ แต่สำหรับบางคนที่วันหยุดหมดแล้ว หรือไม่สะดวกเดินทาง ไม่ต้องเศร้าไป เพราะเรามีพันธุ์ไม้ที่สวยงามให้ดูในเมืองที่ “สวนหลวง ร.๙” กันด้วยจ้า การเดินทางก็แสนสะดวกนั่ง MRT สายสีเหลือง ลงปลายทางที่สถานีสวนหลวง ร.๙ ก็ถึงที่หมายแล้ว

💐พิเศษสุดช่วงวันที่ ๑ – ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกันจัดงานพรรณไม้งามอร่าม สวนหลวง ร.๙ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ยุคบุกเบิก

💐หากมีโอกาสแวะมาออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจชมสวนดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพหมานครแห่งนี้ ห้ามพลาดแวะเช็คอินที่ “อาคารแสดงพรรณไม้ในร่ม” ที่มีพรรณไม้พื้นเมือง พันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นมากกว่า ๕๐๐ ชนิด จัดแสดงอยู่ภายในด้วยบรรยากาศแสนอบอุ่ม มีศาลาให้นั่งพัก ท่ามกลางบรรยากาศแสนร่มรื่น สร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายไอเดียจัดสวนสวยภายในบ้านได้เป็นอย่างดีที่เดียวนายจ๋า

ห้ามพลาด ต้องไปแล้ว
07/12/2024

ห้ามพลาด ต้องไปแล้ว

😍ในที่สุดก็มีลมหนาวพัดมา ให้ได้รู้สึกเย็นซู่ซ่าได้เล็กน้อยแล้วจ้า ... อากาศดีแบบนี้ ถ้าใครยังไม่มีโปรแกรมเที่ยวที่ไหนถือว่าพลาดมาก ต้องรีบหาที่เที่ยวเพื่อไปสัมผัส บรรยากาศสุดชิค สุดชิล ถือว่าอุ่นเครื่องก่อนหยุดปีใหม่ด่วน ๆ เล้ยยย

😱เจ๊เองกลัวลมหนาวจะหมดไว รีบชวนผองเพื่อนและหลาน ๆ ลุยเที่ยวใกล้ ๆ แถวบ้าน ย่านนนทบุรีเรียบร้อยแล้ว ถ้าใครสนใจตามเจ๊มาได้เลย ที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาที่ผ่านมาเค้าก็ได้มีการประดับไฟและตกแต่งสถานที่ ในธีม Mystic Forest สวยงามตามท้องเรื่องเรียบร้อยแล้ว โดยจะยังติดตั้งไปตลอด จนถึง 29 ธันวาคมกันเลยทีเดียว ซึ่งเปิดให้เข้าชมและถ่ายภาพได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ตั้งแต่เวลา 17:00 - 20:00 น.
ภายในงาน จะได้พบกับบอลลูนไฟน่ารัก ๆ และ Lighting ไฟประดับ ที่เหมาะสำหรับครอบครัว เพื่อน หรือ คนรัก มาร่วมดื่มด่ำความสวยงามไปด้วยกัน แอบกระซิบว่า มีน้องหมูเด้งด้วยน้า

💐นอกจากนี้ พิเศษสุด ๆ หากใครมาในช่วงวันที่ 21-22 ธันวาคมนี้ จะได้พบกับงาน Night At The Museum Festival 2024 ซึ่งเป็นการจัดงานร่วมกันระหว่าง ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศมากกว่า 50 แห่ง ซึ่งภายในงานจะมีนิทรรศการดนตรีในสวน และร้านอาหารชุมชน ให้ผู้ร่วมงานได้ลิ้มรสความอร่อย อย่างจุก ๆ จึ้ง ๆ กันไปเล้ยยย

💐ใครไม่อยากพลาดงานดี ๆ และฟรีแบบนี้ เชิญเลยที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี และอย่าลืมเตรียมกล้อง และชาร์จแบตมือถือให้เต็มก่อนเข้างานด้วยนะจ๊ะ

07/12/2024

🔸จากข้อจำกัดด้านความไม่แน่นอนของพลังงานทดแทนบางเชื้อเพลิงจึงจำเป็นต้องมีระบบบริหารจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมศักยภาพและทำให้กลายเป็นพลังงานที่มีความเสถียร ทั้งในเรื่องของปริมาณการผลิตและต้นทุน

🔸วันนี้ จึงอยากให้ทุกคนมาทำความรู้จักกับ ระบบกักเก็บพลังงานแห่งอนาคต หรือ ESS (Energy Storage System) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 เสาหลักแห่งการกักเก็บพลังงาน และเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการ ได้แก่

1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-Storage) พลังงานสะอาดชนิดนี้จะใช้วิธีการผลิตโดยการสูบน้ำขึ้นไปกักเก็บบนอ่างกักเก็บน้ำ แล้วเมื่อต้องการผลิตพลังงานไฟฟ้า ก็จะทำการปล่อยน้ำด้านบนลงมา
2. ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS) จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญ
ในการลดความผันผวน และเพิ่มความเสถียรในการผลิตพลังงานสะอาด โดยจะเป็นตัวที่ช่วยกักเก็บพลังงานที่เกิน เพื่อสะสมเอาไว้ และจะถูกปล่อยออกมาก็ต่อเมื่อมีการต้องการไฟฟ้ามากขึ้น

🔸2 เครื่องมือนี้ จะเป็นหลักในการผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาดอย่างมีเสถียรภาพ แต่มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่าง ศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (REFC) ซึ่งจะเป็นการรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับไฟฟ้าไว้ทั้งหมด เพื่อใช้ในการสั่งงานต่อไป และยังต้องมีศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (DRCC) ซึ่งจะทำหน้าที่ รักษาสมดุลในการผลิตไฟฟ้าในแต่ละช่วงด้วย

ที่อยู่

55 ซอยนนทบุรี 32 ถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย
Amphoe Muang Nonthaburi
11000

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 18:00
อังคาร 09:00 - 18:00
พุธ 09:00 - 18:00
พฤหัสบดี 09:00 - 18:00
ศุกร์ 09:00 - 18:00

เบอร์โทรศัพท์

+6629671470

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Triple J Communicationผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Triple J Communication:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์