CineArt film

CineArt film Cineart film Co.,ltd
Media Production Consulting & Creation. Contact Us:
Call or Whatsapp: +8562076325656
Message Inbox. email: [email protected]

See you on 24 March 2024 //
18/03/2024

See you on 24 March 2024 //

ງານວາງສະແດງຮູບພາບສີລ໌ປະ “ວິຟິນັກຮັກ” ໂດຍສີລ໌ປີນ WIFI. ຈາກ Thailand ພ້ອມດ້ວຍສີລ໌ປີນອີກຫຼາຍທ່ານຈາກທັງ ລາວ ແລະ ໄທ ພາຍໄຕ້ຫົວ...
22/01/2024

ງານວາງສະແດງຮູບພາບສີລ໌ປະ “ວິຟິນັກຮັກ” ໂດຍສີລ໌ປີນ WIFI. ຈາກ Thailand ພ້ອມດ້ວຍສີລ໌ປີນອີກຫຼາຍທ່ານຈາກທັງ ລາວ ແລະ ໄທ ພາຍໄຕ້ຫົວຂໍ້ກ່ຽວກັບ “ຄວາມຮັກ”.

ງານໃນຄັ້ງນີ້ແມ່ນຈະຈັດຂື້ນຕັ້ງແຕ່ວັນທີ່ 02 ຈົນເຖີງ 25 ກຸມພາ 2024 ນີ້, ສະຖານທີ່ໃນການຈັດວາງສະແດງແມ່ນຢູ່ທີ່ ຮ້ານ Come Sook ເວລາ 10:00 - 17:00 ຂອງທຸກໆມື້.

ສຳລັບຜູ້ທີ່ສົນໃຈ ແມ່ນສາມາດມາຢ້ຽມຊົມໄດ້ ໂດຍບໍ່ເສຍຄ່າໃດໆ, ພິເສດ ໃນງານຍັງໄດ້ເປີດໃຫ້ ປະມູນຊື້ ຜົນງານຂອງສີລ໌ປີນອີກດ້ວຍ, ພິເສດ ໃນວັນທີ່ 02 ກຸມພາ 2024 ຈະເປັນງານເປີດ ຈະໄດ້ພົບກັບສີລ໌ປີນ ພ້ອມກິດຈະກຳແຕ້ມຮູບຈາກ ສີລ໌ປີນ, ກິດຈະກຳ Folk Song ແລະໂອ້ລົມຕາມພາສາ.

ສອບຖາມລາຍລະອຽດເພີ່ມຕື່ມໄດ້ທີ່:
WhatsApp: 020 7532 5656 // ພອນສະຫວັນ (Curator)

Venue: Come Sook Cafe
GoogleMaps: https://maps.app.goo.gl/BULNefbRt34TFQfa9?g_st=ic

26/03/2023

ສະບາຍດີ.
Cineart film .. ໄດ້ເຫັນເຖີງບັນຫາຫຼາຍຢ່າງຂອງນ້ອງໆຫຼາຍຄົນໃນດ້ານອຸປະກອນການຖ່າຍໜັງສັ້ນ.

ເວົ້າສັ້ນໆ!! Cineart ຈະຊັບພອດ ນັກສຶກສາຈາກ ວິຈິດສີນ ພາກວິຊານິເທດສີນ, ໃນເລື່ອງອຸປະກອນຖ່າຍທຳບາງອັນ ທີ່ຍັງພໍມີເກັບໄວ້, ແບ່ງປັນໃຫ້ນ້ອງໆໄດ້ຍືມໄປໃຊ້ຖ່າຍທຳໃຫ້ເກິດປະໂຫຍດ ແລະສ້າງສັນຜົນງານ ໂດຍບໍ່ມີຄ່າໃຊ້ຈ່າຍຫຍັງທັງນັ້ນ, ແຕ່ຕ້ອງມີຄວາມຮັບຜິດຊອບຮັກສາເຄືອງໃຫ້ດີໆ.

ຕິດຕໍ່ມາໂລດບໍ່ຕ້ອງຢ້ານ!!

Founder of Cinéart
Phonesavanh Saengphachan.

ຂອບໃຈ Lao X ທີ່ມາຮ່ວມງານສາຍຮູບເງົານ້ອຍໆຂອງ Cinéart
24/02/2023

ຂອບໃຈ Lao X ທີ່ມາຮ່ວມງານສາຍຮູບເງົານ້ອຍໆຂອງ Cinéart

10/02/2023

ชีวิตเบื้องหลังของ ชาลี สังขะเวส ผู้ช่วยผู้กำกับหนังฮอลลีวูดชาวไทยที่ไม่เคยอยากเป็นผู้กำกับแม้แต่ครั้ง...

03/02/2023

อีกรอบค่ะ เผื่อใครอยากทำความเข้าใจเรื่อง "Residuals" ที่ WGA กับSAG ใน Hollywood เขาต่อรองกันอยู่กับสตูดิโอสตรีมมิ่งเจ้าใหญ่

สัญญาจ้างนักแสดง: เนื้อหา ที่มาที่ไป
โดย jungmeier

บทความนี้เท้าความไปตั้งแต่ยุคประวัติศาตร์การโฆษณากันไปเลยค่ะ เอาให้รู้กันไป ผลประโยชน์ใคร ควรทำสัญญาคุยกันยังไง ขอบอกว่ายาว มีมา 6 ตอน. อธิบายเรื่อง

1. Residual Payment:การที่นักแสดงได้รับค่าตัวหลายครั้งจากการเล่นครั้งเดียว
2. Exclusivity Payment :การอุ๊บอิ๊บห้ามถ่ายสินค้าอื่นในประเภทเดียวกัน
3. Buy Out Fee : การจ่ายค่าตัวแบบขอเหมาเอาไปใช้ทุกสื่อ

โฆษณา - นักแสดง - เอเจนซี่ - โมเดลลิ่ง - โปรดักชั่นเฮ้าส์ - สื่อ อะไรคือความยุติธรรม! ขอบอกว่ายาาาาวววววค่ะ ใครไม่ชอบอ่านที่มาที่ไปของสิ่งต่างๆเลื่อนไปล่างสุดเลยนะคะ สรุปอยู่ตรงนั้น แต่พี่นี่มักชอบจะอยากรู้ค่ะ ว่าระบบที่มันเป็นอยู่ทุกวันมันเริ่มมายังไง ไม่ชอบรู้แค่ว่า กฎเป็นงิ งิ ทำตามก็พอ ดังนั้นพี่จะเล่าตั้งแต่เริ่มสร้างโลกค่ะ

-----------------------------🎬

ตอนที่ 1)

ครั้งแรกที่นักแสดงได้รับค่าตัวหลายครั้งจากการเล่นครั้งเดียว:

นักแสดงเมื่อก่อน ก็คือนักเล่าเรื่องเนาะ แบบนิทานอีสป พี่น้องกริมมส์ ก็ตระเวนไปในที่ต่างๆ เล่าเรื่องให้ใครๆฟัง แลกข้าวแลกเหล้า แลกที่นอน เล่าแล้วก็จบไป อยากฟังใหม่ก็เล่าอีก ขอเหล้าอีกแก้วจิ นะ นะ

ก็คงมีบ้างที่เล่าครั้งเดียวมีคนเลี้ยงหลายๆมื้อ แบบ ชอบเป็นการส่วนตัว ไม่ต้องเล่าเรื่องทุกวันก่อนอาหาร แต่เลี้ยงตลอดชีวิตเขาเรียกได้เป็นเมีย ไม่ใช่รูปแบบธุรกิจ ไม่นับ ต่อมาก็มีละครสด เล่าเฉยๆไม่หนุก เล่นให้ดูดีกว่า ซื้อตั๋วหน่อยนะ ไม่งั้นตูจิเอาไรกิน ให้ตูไปทำนาตูไม่มีเวลาซ้อมละครนะ

อันนี้ก็ยังเป็นการแสดงหนึ่งครั้งแลกข้าวหนึ่งมื้ออยู่ แต่วันนึง ปีคศ. 1886 นู้น อีตา Hertz ชาวเยอรมันก็ค้นพบวิธีเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาส่งสัญญานกระจายเสียงได้ (ชื่อแกเราเลยใช้เรียกหน่วยคลื่นวิทยุจนทุกวันนี้ด้วยความรำลึกในบุญคุณ)

จากความดีของพี่ Hurtz คุณ Marconi ก็เอามาต่อยอดสร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงในปี 1898 ออนแอร์ครั้งแรกก็ได้แค่ใกล้ๆบ้านเนาะ (เพื่อนบ้านจะโกรธไหมนะ) ยังไม่ไกลเท่าไหร่ แต่คราวนี้ หนังสือพิมพ์ Daily Express ได้ยินก็สนใจ ไปซื้อลิขสิทธิ์มาใช้ในการส่งข่าว หนังสือพิมพ์เค้าจะได้ส่งข่าวสารจากนักข่าวมาโรงพิมพ์เร็วกว่าฉบับอื่น ฮุ ฮุ คุ้มจะตาย

เป็นความดีงามจากเงินที่ได้มา พี่มาร์โคนี่แทนที่จะรีไทร์ไปอยู่ซิซิลี นั่งชิลล์กินชีสกับไวน์ แกก็เอาเงินที่ได้มาลงทุนวิจัยเพิ่ม จนกระทั่งพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องส่งสัญญาน กลายเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ส่งสัญญานข้ามช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสำเร็จ พี่เค้าก็รีบไปจดลิขสิทธิ์ในทันใดในปี 1899

ต่อมาก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆจนข้ามแอตแลนติคได้แบบไร้สาย Wireless นะเธอ ในปี 1901 นั่นคือกำเนิดของสื่อชนิดแรกในโลกที่โกอินเตอร์ in real time (ถึงหนังสือพิมพ์มีมาก่อน แต่พอได้ข่าว แล้วยังต้องใช้เวลาพิมพ์ไง รอหมึกแห้งด้วย ไหนจะขนส่งอีก

แต่อันนี้ถ้ารับคลื่นได้ก็ได้ฟังพร้อมอีกที่เบย เหมือนที่เราเห็นในหนังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่คนในเยอรมันแอบเปิดหาคลื่นวิทยุ BBC ของอังกฤษไง) เอาเป็นว่า ตัดข้ามเวลาไปที่ตอนวิทยุแพร่หลายแล้วนะ ทุกบ้านมีเป็นเครื่องใช้ประจำบ้าน ประดุจกระทะไม่ใช้น้ำมัน เข้าเรื่องนักแสดงได้ตังค์หลายๆทีเป็นครั้งแรก....... เรื่องทั้งหมดมันเริ่มในเมืองมะริกาค่ะ ประเทศมันใหญ่มันมีหลายไทม์โซนเนาะ แบบ นิวหยวกตีห้า แอลเอบ่ายสอง มี แปซิฟิค ไทม์โซน มี อีสเทิร์นไทม์โซน ในยุคที่สื่อเดียวที่ครองโลกคือวิทยุ สมัยแรกๆทุกอย่างเป็นรายการสด Live กันอย่างเดียวเลย

สถานีก็จะออกอากาศทั้งแปซิฟิค ไทม์โซน กะ อีสเทิร์นไทม์โซน นักแสดงก็ต้องเล่นสองครั้ง ก็ได้ตังค์สองครั้ง (อดนอนบ้าง ไรบ้าง) แต่ก็ยังได้ตังค์หนึ่งครั้งต่อการแสดงหนึ่งครั้งอยู่ดี ในเวลาต่อมา เมื่อมีการค้นพบระบบอัดเสียง (แบบแผ่นเสียง เรียก transcription disc) ก็มีการอัดเสียงล่วงหน้า ไม่ได้ Live สดกันอย่างเดียว แต่ระบบมันยังใหม่ ไม่ค่อยชัวร์เนาะ ระหว่างที่ออกอากาศด้วยการเปิดอีแผ่นเสียงที่อัดไว้เนี่ยะ สถานีเค้าก็ stand by นักแสดงจริงๆสดๆไว้ด้วย เผื่อมีปัญหาจะได้ลุกขึ้นมาเปิดไมค์พูดใหม่สดๆเดี๋ยวนั้น (พูดให้เหมือนเดิมนะยะ) นักแสดงก็ได้ตังค์เป็นครั้งที่สองจากการ Stand By นี่แหละ แต่ก็เป็นระบบเดิมนะ คือคิดเป็นค่าตัวค่าเวลาของนักแสดงที่มาปรากฏ ณ ที่อัดเสียง ยังเหมือนการแสดงสดอยู่ พอระบบอัดเสียงดีขึ้นๆ ไม่ต้องมานั่งตบยุง stand by แล้ว อัดครั้งเดียวออนแอร์หลายๆครั้งได้เลย สถานีก็จะเก็บที่อัดเสียงนั้นๆไว้ แล้วเอามาออกอากาศในเวลาที่ต้องการ แถมบางครั้งมีรายการที่เป็นที่นิยม ถูกเอามาออกอากาศซ้ำ ที่เรียกกันว่า Rerun น่ะ

สถานีวิทยุซึ่งเป็นคนดี เป็นพ่อพระ สมควรทึ่หนูๆจะเอาเป็นแบบอย่าง กราบสิคะ นักเรียน สถานีก็คิดว่า เออ นักแสดงมาอัดเสียงครั้งเดียว แต่เราเอาไปออกอากาศกินตังค์สปอนเซอร์หลายครั้งเนาะ เมืองโน้นเมืองนี้ เราคิดตังค์ให้เป็นครั้งๆที่ออกอากาศดีกั่ว จิได้ยุติธรรม (นักแสดงจะได้อยู่กับสถานีเรานานๆดั้วะ) (เพลง Theme จาก 2001 Space Odyssey ขึ้น)
จึงเป็นครั้งแรกในโลก ที่นักแสดงได้ตังค์หลายครั้งจากการแสดงครั้งเดียว ภาษาปะกิดเขาเรียก Residual(s) Payment(s)✨
-------------------------

ตอนที่ 2) เรียกสั้นๆว่า “Residuals” 🤓

ระบบบันทึกเสียงทำให้นักแสดงวิทยุไม่ต้องพูดซ้ำๆหลายๆครั้ง แต่ได้ตังค์ทุกครั้งที่การบันทึกนั้นได้ออกอากาศ แต่ไม่ใช่ได้เท่าเดิมนะ
คำว่า residuals มันแปลว่า สิ่งเพิ่มเติม เหมือนแบบ หางเลข งี้ไง ในวันอัดเสียงก็ได้ค่าตัววันอัด เป็นค่าเวลา เนาะ มากน้อยตามความดัง แล้วค่อยเก็บหางเลขกินไปแบบครั้งละน้อยๆ กินนานๆ 🙏🏼

รายการเป็นที่นิยม ก็มีคนต้องการไปออกอากาศซ้ำบ่อยๆ ก็ได้หลายหน รวมๆแล้วก็พอซื้อแฮมเบอร์เกอร์กินได้ทุกวัน มีแรงไปออดิชั่นหางานใหม่ พอเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น มีสื่อใหม่ๆเกิดขึ้น ทั้งภาพยนตร์ ทั้งทีวี ระบบนี้ก็ค่อยๆลามปามแพร่หลายไปด้วย เพื่อยังความยุติธรรมให้นักแสดง เป็นการแบ่งผลประโยชน์ให้เล็กๆน้อยๆ จะได้ไม่อดตายเสียก่อน แต่มันไม่ได้ได้มาง่ายๆนะคระ ในยุคแรก นักแสดงนั้นกินเงินเดือนจากสตูดิโอต้นสังกัด

พอถ่ายหนังเสร็จ หนังเป็นของสตู นักแสดงถือว่าได้เงินเดือนแล้วไง อย่ามาหืออือ ลิขสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของผู้ลงทุน ชั้นจะเอาไปฉายกี่รอบ เรื่องของชั้น นักแสดงก็มีการต่อสู้ให้พ้นจากการถูกกดขี่จากสตู จนเกิดเป็น Union สหภาพแรงงานนักแสดงต่างๆ รวมๆกันก็เริ่มมีพลังต่อรองเนาะ ก็มีการฟ้องศาลกันไปมาเรื่องนู้นเรื่องนี้ มีการสไตร๊ค์หยุดงาน จนสหภาพแรงงานนักแสดงเริ่มมีปากเสียงขึ้นเรื่อยๆ ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของกรรมกรนักแสดง จนกลายเป็น SAG เดี๋ยวนี้ไง ไปหาอ่านประวัติกันเองนะ

(อ่านแล้วอย่าลืมบูชาตะละแม่โอลิเวีย เดอ ฮาวิลแลนด์ นักแสดงที่ต่อสู้จนชนะสตูฯในศาล)

เพิ่งมาปี 1951 นี่แหละ ที่ยูเนี่ยนแรกต่อสู้สำเร็จ เป็นยูเนี่ยนนักดนตรี ว่าถ้าเอาหนังที่ฉายโรงมาฉายทางทีวี ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องได้ดอกด้วย ไม่ใช่ผู้อำนวยการสร้างซึ่งมักจะเป็นสตูดิโอใหญ่ๆขายได้ขายเอาอย่างเดียว เก็บกินตลอดชีวิต แบ่งให้ข้าเจ้ามั่งน้าาาา หน้าข้าเจ้าเต็มจอ เสียงดนตรีข้าเจ้าเป็นนิรันดร์ จะมาคิดแค่ค่าฟิล์มค่าวิดีโอค่าเทป ให้ค่าตัวแค่วันถ่ายมันไม่ยุติธรรมน้าาา

จริงๆต้องขอบคุณ คาร์ล มาร์กซ์ นะ เพราะระบบยูเนี่ยนเนี่ยะมันมีที่มาจากความคิดของลุงแก ในช่วง 50’s 60’s เป็นช่วงของการหยุดงานประท้วง เรียกร้องสิทธิ์ ทำให้นักแสดงที่สังกัดกับยูเนี่ยนไม่ถูกกดขี่โดยผู้สร้างโงหัวไม่ขึ้นอีกต่อไป มีการกำหนดชั่วโมงในการทำงาน กฎความปลอดภัยในกองถ่าย ค่าแรงขั้นต่ำ และอื่นๆอีกมากมาย บางครั้งมันก็ไปไกลมาก

คนที่เคยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับหนังฝรั่งที่ใช้นักแสดงที่สังกัด SAG (Screen Actors’ Guild) คงจะรู้ซึ้งถึงกฎยิบย่อยที่ต้องคอยระวังเวลาเรียกนักแสดงมาใช้งาน ทั้งต้องมีเบรคกินอาหารว่าง ทั้งยังต้องมีชั่วโมงพักผ่อน ที่พักผ่อน และอื่นๆ ถามพี่ว่าดีไหม มันก็ดีนะ ถ้ามันไม่มากเกินไป เพราะถ้าไม่มีอะไรคุ้มหัวเสียเลยก็จะเกิดการเรียกนักแสดงทิ้งๆขว้างๆ เรียกหกโมงเช้า เข้าฉากห้าโมงเย็น ถ่ายยาวถึงตีสี่ เรียกอีกทีสิบโมง คือ มนุษย์ก็ต้องนอนไหมคะ

และการรอเนี่ยมันเหนื่อยกว่าการเป็นวัยรุ่นนะ แต่ในแง่ที่มันพัฒนาไปจนละเอียดยิบย่อยมันก็น่ารำคาญ แบบ กรูจะทำหนัง กรูไม่ได้จะมาเลี้ยงเด็กอ่อนก่อนวัยเรียน งิ กฎเหล่านี้ไปหาอ่านรายละเอียดกันเองนะ มันก็เริ่มมาจากถูกเอาเปรียบไง แล้วก็เลยตั้งกฏที่จะป้องกันไม่ให้ใครมาเอาเปรียบอีก จนลืมวัตถุประสงค์ของการมาร่วมกันทำหนังให้เสร็จไปในบางครั้ง.....

ก็เป็นอันว่า ระบบ Residuals ได้กลายเป็นที่ยอมรับและปฎิบัติกันเป็นปรกติแต่นั้นมา แล้วก็เกิดความคิดนี้ขึ้นในหมู่นักแสดงโฆษณาด้วย เอ๊ เราก็นักแสดงนะ แถมโฆษณานี่มันเก็งกำไรล้วนๆเลยนะ ไม่มีผักปน เอาไปออนแอร์เรื่อยๆ มากกว่าหนังกว่าละครอีก มันถูกที่ไหน ส่วนแบ่งนักแสดงล่ะ อยู่ไหน ก็เลยมีการเรียกร้องและเริ่มจ่ายค่า residuals นักแสดงโฆษณากัน💡

------------------------

ตอนที่ 3) Residuals คิดตังค์กันยังไง:🤔

รากฐานของระบบคิดตังค์ก็คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ค่ะ

จำนวนเปอร์เซ็นต์ตามแต่จะตกลงกันตอนเซ็นสัญญา เช่น สมมติค่าแรงวันถ่ายนางเอกโฆษณาชื่อน้องอุ้ม วันละ สองพัน residuals น้องอุ้มตกลงกันที่ 2% ของค่าแรงต่อการออกอากาศหนึ่งครั้ง = 40 ฟังดูน้อยเนาะ ได้สี่สิบ แต่ลองคูณร้อยคูณพันคูณหมื่นครั้งที่มีการออกอากาศโฆษณาตัวนี้ ชีวิตน้องอุ้มก็โอนะ

นี่คิดให้เฉพาะตัวเอก (ตัวเมน Main) และฟีเจอร์ (Featured Extras) ซึ่งฟีเจอร์ในโฆษณาก็คือ เป็นตัวละครที่ถูกถ่ายทำให้เห็นหน้า จำหน้าได้ แต่ไม่ใช่ตัวเอก ยกตัวอย่าง เพื่อนพระเอก คือตัดมรึงทิ้งไปหมดหนังโฆษณานั้นๆก็ยังดูรู้เรื่อง 📺

แต่มีหน้ามรึงก็ทำให้พระเอกกรูไม่โดดเดี่ยวจนเกินไป มีความสมจริงขึ้น ส่วน extras นี่คือ ตัวประกอบฉากหลังล้วนๆ สร้างบรรยากาศ ไม่มีผลต่อเนื้อเรื่อง ดังนั้น extras หรือตัวประกอบจะถูกเซ็นสัญญาแบบจ่ายค่าแรงครั้งเดียว ไม่มี residulas ไรๆทั้งสิ้น

ไม่เซ็นก็ไม่ต้องเล่น หาคนอื่นมาแทน ส่วนตัวเอกนี่ในโฆษณาเป็นเรื่องใหญ่ มันเป็นหน้าเป็นตาเป็นร่างทรงของสินค้า มันต้องผ่านการอนุมัติจากผู้กำกับ จากเอเจนซี่ และลูกค้าโปรดักท์ เป็นขั้นตอนยาวนานปวดกบาลที่สุด ไม่ใช่จะหากันง่ายๆ ที่เรามักจะเรียกเขาว่า เป็นพรีเซนเตอร์ของแบรนด์นั้นๆๆๆๆ เช่น น้องอุ้มเป็นพรีเซ็นเตอร์ยาอุทัยตราหมอมี เป็นต้น

***ระบบ Residuals นี้เป็นระบบฝรั่ง ประเทศไทยแต่ก่อนแต่ไรไม่เคยต้องจ่าย อุตสาหกรรมเราเป็นแบบชนแล้วหนี จ่ายค่าแรงวันถ่ายตามที่ตกลงกันแล้วโอเคเลย ใช้ไปเลยโฆษณานั้นชั่วลูกหลาน นักแสดงไม่คิดมาก ได้เล่นก็ดีมีงานทำ

ถ้าดังจากโฆษณานั้นก็อาจได้เล่นหนังเล่นละครอีก หรือไปออกงานอีเว้นท์รวยจะตาย ขอให้ดังเหอะ แต่ฝรั่งเค้าต่อสู้กันมาแต่รุ่นพ่อ รุ่นลูกเลยมีผลพลอยได้เป็นกฏเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แล้ว ปัญหาเรื่อง อะไรเรียก featured อะไรเรียก extras นี่ สร้างปัญหาใหญ่มาก เพราะในการถ่ายทำ

บางครั้งตัวประกอบฝรั่งบอกว่าเห็นหน้าชั้นนะ ชั้นยืนข้างหลังนางเอกเลยนะ ต้องจ่ายเพิ่มนะ เป็น extras ต้องไม่เห็นหน้าสิ wait a minute นะ คือ extras ทุกคนกรูต้องจับตัดหัวหรือห่างกล้องหน้าเบลอรร์หมดเลยไหม หรือใส่หน้ากากหมดไหม หรือทุกคนที่ยืนข้างหลังนางเอกต้องหันหน้าหนีกล้องหมดไหม กรูเหนื่อยเป็นนะ แต่ถ้าในระหว่างถ่าย ผู้กำกับเกิดชอบใจ extra คนนึง เรียกมาเพิ่มบทให้ ให้เป็นคนเข้ามาพูดคุยกับนางเอกแนะนำโน่นนี่ เออ อย่างนี้โอเคนะ ได้เลื่อนเลเวลมาเป็น Featured นะ โปรดิวเซอร์ที่มีความรู้จะจ่ายตังค์เพิ่มให้นะ แม้สัญญาจะเซ็นไปแล้วว่าจ่ายครั้งเดียว แต่มันเป็นน้ำใจ เป็นความรู้งาน เป็นความยุติธรรม

ถ้าไม่จ่าย: ฟ้องเมืองไทย นักแสดงแพ้แต่ถ้า ฟ้องที่อเมริกา พี่ว่าโปรดิวเซอร์แพ้

---------------------------

ตอนที่ 4 : สื่อมันงอก ดีออก all elec เทคโนโลยีทางด้านสื่อดิจิตัลมันก็พัฒนาไปเรื่อยๆ 👽

***สัญญานักแสดงโฆษณาที่เคยระบุว่า ค่าตัวนี้ รวม สิ่งพิมพ์ บิลบอร์ด วิทยุ ทีวี โรงหนัง ก็มีเพิ่ม internet and All Electronic Media คร่ะคุณ Internet นี่ก็ครอบคลุมไปเท่าจักรวาลแล้ว มาดูกันว่า อี all elec (ตัวย่อของ All Electronic media) เนี่ยมันคืออะไรกันแน่ ตามตัวหนังสือนั้น All Electronic Media หมายถึงสื่อที่คนดูจะเข้ามาเห็นได้ผ่านพลังงานไฟฟ้า เช่น ผ่านทีวี ผ่านคอมพิวเตอร์ ผ่านโซเชียลมีเดีย ผ่านวิทยุ ผ่านเครื่องเล่นดีวีดี ผ่านการพรีเซนเตชั่นต่างๆในสถานที่ต่างๆ

เช่นอีจอมอนิเตอร์ที่ติดที่ชั้นในซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นหนังโฆษณาแนะนำสินค้า ฯลฯ อ่านแล้วก็งงนิดนึงว่า แล้วอะไรหรือที่ไม่ครอบคลุม? คือ all elec มันก็ตรงกันข้ามกับ Static Media ซึ่งก็คือ Print Ads หรือ บิลบอร์ด หรืออะไรๆที่พิมพ์มาตั้งนิ่งๆนั่นเอง

(รวมถึง IG, GIF,Facebook,Twitter และอื่นๆ ) - อันนี้แอดแอบเติม

เพราะเช่นโฆษณาในหน้าหนังสือนี่มันเปิดดูได้เลยไม่ใช้ไฟฟ้า ไฟหัวเตียงไม่นับ คราวนี้ถ้าบิลบอร์ดสมัยนี้มันเป็นภาพเคลื่อนไหวหนังโฆษณานะ ไม่ใช่ภาพนิ่งอีกต่อไป all elec คลุมถึงหรือไม่??? ตามตัวอักษรคือรวมค่ะ!!!

เทคโนโลยี่ที่พัฒนาไปนี่ก็ทำให้พวกสหภาพแรงงานนักแสดงต้องศึกษาหาความรู้ปรับตัวให้ทัน ไม่ให้นักแสดงถูกเอาเปรียบ สิ่งเดียวที่เป็นประโยชน์จริงๆต่อทั้งนักแสดงและผู้ว่าจ้าง ก็คือ สัญญา สัญญา สัญญา ค่ะ

ไม่มีสัญญาในกระดาษ ก็อย่ามาร้องไห้ทีหลังทั้งสองฝ่าย ว่าคุยกันแล้วเข้าใจไม่ตรงกัน “ก็อุ้มไม่รู้ว่ารวมถึงดีวีดีด้วยอ้ะ โห ไม่งั้นอุ้มจะเรียกเงินเยอะกว่านี้” “แล้วเอาโฆษณาอุ้มไปแปะหัวดีวีดีโป๊งิ แม่เห็นอุ้มจะทำไง ฮืออออ” เสียใจจ้ะอุ้ม (แต่พี่ว่าหนูอย่าวิตก โอกาสที่แม่จะเปิดดีวีดีโป๊มีไม่มากจ้ะ)
----------------------------

ตอนที่ 5 Exclusivity ✨

การอุ๊บอิ๊บห้ามถ่ายสินค้าอื่นในประเภทเดียวกัน ถ้าในสัญญานักแสดงมีระบุ Exclusivity - การเป็นของฉันคนเดียว - มันก็จะมีระยะเวลาด้วย เช่น น้องแอน ได้เป็นนางแบบหนังโฆษณานีเวีย สัญญาจะระบุเลยว่า ห้ามถ่ายโฆษณาผลิตภัณฑ์ถนอมผิวยี่ห้ออื่นเป็นระยะเวลาห้าปี

(ยกตัวอย่างนะ รายละเอียดจะแล้วแต่ความนอยด์ของลูกค้า) จริงๆแล้ว การที่น้องแอนถ่ายนีเวีย ซิตร้าโลชั่นเขาก็มีแนวโน้มอย่างมากว่าไม่เอาน้องแอนมาถ่ายสินค้าเค้าอยู่แล้ว ไม่งั้นอีน้องหล้าที่บ้านนอกมันจิงงว่า พี่แอนใช้โลชั่นอะไรกันแน่ตึงสวยน่ารักขนาดนี้

งงมากๆหนูใช้กวนอิมเหมือนเดิมกะด้ะ🤣 แต่ลูกค้าใหญ่ๆมีตังค์ ก็จะยอมเสียเงินจำนวนมากซื้อ exclusivity อันนี้ไว้ เพราะมันก็มี้ คู่แข่งไร้รสนิยมใจร้าย ที่เอานางแบบคนเดียวกันไปโฆษณาให้พูดว่า “แอนเคยใช้ครีมยี่ห้อนึง หนวดขึ้น ก็เลยเปลี่ยนมาใช้ยี่ห้อใหม่นี้” ฝงฝารเจ้าของสินค้าเนอะ

แต่ก็ถ้าหนังลงทุนมากๆ ออกอากาศมากๆ ก็ยอมลงทุนซื้ออันนี้เหอะ อย่าไปทิ้งไว้ให้ลุ้นเลย ตัดฉับ กลับมาที่เมืองไทย! เวลาคุณไปออดิชั่นคัดเลือกตัวแสดงหนังโฆษณา เค้ามักจะมีใบสมัครมาให้กรอก นอกจากรายละเอียดอื่นๆแล้ว สิ่งหนึ่งที่มักจะอยู่ล่างสุดของกระดาษก็คือ ให้บอกมาซะดีๆว่าเคยถ่ายโฆษณาอะไรมาบ้าง ลูกค้าจะได้เอาไปเพื่อร่วมพิจารณาว่าจะเอาคนนี้เล่นหนังโฆษณาส่งเสริมสุขภาพของเราจะดีเหรอ ในเมื่อนางเคยโฆษณาขายยาอกฟูรูฟิตมาก่อน เช่นนี้เป็นต้น คราวนี้ ก็เกิดปัญหาบางอย่างตามมา

บางครั้ง นักแสดงไม่กรอกตามความจริง เมื่อวานเพิ่งถ่ายรถฟอร์ดมาหยกๆ มาออดิชั่นรถโตโยต้า ได้รับเลือกอีก หนังฟอร์ดยังไม่ออนแอร์ ไม่มีใครรู้ แถมสัญญาก็ไม่ exclusive ด้วย (ลูกค้าสมัยนี้ประหยัด กะว่าพอหนังออกรถอื่นก็ไม่เอาเจ้าหมอนี่ไปเล่นอยู่ดี) ก็ไปถ่ายรถฟอร์ด หนังรถโตโยต้ากำลังตัดในห้องตัด หนังรถฟอร์ดก็ออกมาในทีวี ลูกค้ากรี๊ดใส่เอเจนซี่ เอเจนซี่กรี๊ดใส่โปรดักชั่นเฮ้าส์ โปรดักชั่นเฮ้าส์กรี๊ดใส่โมเดลลิ่ง โมเดลลิ่งกรี๊ดใส่นักแสดง (คือนักแสดงเมืองไทยอยู่หลายโม บางครั้งไม่ได้รู้จักกันจริงๆ แค่แนะนำไปคาสติ้งก็ถือเป็นโมแล้ว เลยอาจจะไม่รู้จริงๆว่าคนนี้เคยถ่ายไรมาบ้าง) นักแสดงมองซ้ายมองขวา ไม่รู้จะกรี๊ดใส่ใคร แล้วบอกเสียงอ่อยๆว่า “ผมไม่รู้อ้ะ "

ก็ตอนถ่ายรถฟอร์ดเขาบอกว่าห้ามบอกใครจนกว่าหนังจะออนแอร์ เป็นความลับทางการค้า แล้วสัญญงสัญญาก็ไม่มี ค่าตัวก็ไม่มาก” ใครผิดคะ คุณผู้อ่าน ความยุติธรรมอยู่ที่ไหน หนังโตโยต้าอาจจะถูกโยนทิ้ง ใครรับผิดชอบทุนที่ลงไป นักแสดงกับโมรับผิดชอบอะไรมั่งคะ อย่างมากก็แค่ไม่ได้งานเฮ้าส์นี้อีกต่อไป ถูกขึ้นบัญชีดำ วิธีป้องกันนะคะ - 😜

****พอนักแสดงแต่ละคนเข้ารอบ เราต้องสัมภาษณ์ถอดใจกันจริงๆค่ะ เอาให้ละเอียดก่อนถ่าย ว่าเธอไม่เคยถ่ายสินค้าแบบนี้มาก่อนนะ หรืออย่างน้อยก็ในเวลาเดียวกันนี้ ถ้าเธอถ่ายแล้วเขาห้ามบอก เธอก็ต้องบอกว่าเพิ่งถ่ายรถมา แต่ไม่บอกยี่ห้อ แค่นี้เป็นอย่งน้อยเธอต้องบอกค่ะ แต่ตามกฏหมายเอาผิดนักแสดงไม่ได้นะคะ ก็คุณไม่จับเขาเซ็นสัญญา บางครั้งเฮ้าส์บอกว่าเซ็นสัญญาแล้วเรียกแพง ก็ถูกแล้วค่ะ สัญญามันผูกมัดตามกฏหมายไงคะ ฟ้องร้องได้ เซ็นกันเถอะค่ะ สัญญา สัญญา สัญญา ภาษาถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการนี้ค่ะ ลงทุนเถอะ

-----------------

ตอนที่ 6 แล้ว Buy Out คืออะไร

พอสื่อดิจิตัล อินเตอร์เน็ต อิเลคทรอนิคส์ มันมากๆเข้า จะมาคอยจับว่าออกอากาศกี่ครั้งมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยค่ะ การคิด residuals ก็เลยแปลงร่างกลายมาเป็น Buy Out แปลว่าซื้อเหมาค่ะ🤑🤑🤑

เหมาทุกสื่อภายใน 2 ปีนี้นะ ออกอากาศในประเทศต่างๆเหล่านี้ คิดให้ประเทศละสองหมื่นนะ

แต่พี่คะ ในความเป็นจริง พี่ลงยูทูปก็ไปถึงดาวอังคารแล้วค่ะ มันไม่หยุดอยู่แค่ประเทศนั้นๆที่อยู่ในสัญญาหรอกค่ะ แต่นักแสดงก็ทำไรไม่ได้หรอกในจุดนี้ ประเทศที่กำหนดก็กำหนดได้แค่ทีวี นิตยสาร และโรงหนังแหละ ได้ Buy Out ก็ดีใจแล้วหละ

*******เหตุผลที่เราต้องจ่ายส่วนนี้ให้นักแสดง ก็เพราะว่า นี่เป็นค่าเสียโอกาส💸💸💸

เช่นสมมติคุณเริ่มโด่งดังขึ้นมา ปะเหมาะเคราะห์ดีแมวมองของ Versace มาเห็นเข้าแล้วสนใจ ถ้าได้เป็นพรีเซ็นเตอร์เวอร์ซาเช่นี่ค่าตัวเจ็ดหลักแน่ๆ แต่คุณเพิ่งถ่ายโฆษณาเสื้อคอกระเช้าป้าสีดาไป คุณก็อด เพราะมันเป็นเสื้อผ้าเหมือนกัน นอกจากเวอร์ซาเช่จะเห็นว่า ไม่เป็นไร้ แบรนด์ป้าสีดาเป็นโลคอล ไม่กระทบ ทั้งเสื้อแกก็เก๋ดี แอบก๊อปมั่งดีกว่า คุณก็โชคดีไป ไม่ต้องร้อง Versace on the floor💸💸💸

****มันจึงต้องมีค่าใช้จ่ายตรงนี้ตอบแทนให้นักแสดงค่ะ ไม่ใช่คนทำหนังกับเอเจนซี่บ่นด่าอย่างเดียวว่า นักแสดงค่าตัวแพงขึ้นๆ เซ็นสัญญายิ่งแพง ออกกองงานไม่ได้หนักอะไร แพงตรงไหนวะ มันเป็นค่าลิขสิทธิ์เบ้าหน้าค่ะ ไม่ใช่ค่าทำงานหนักอย่างเดียว********

********ก็ขอให้เห็นใจกันนะคะ นักแสดงกับโมเดลลิ่งก็อย่าโกหกเขาค่ะ เคยถ่ายไรมาก็บอกกันตรงๆนะคะ ลูกค้า เฮ้าส์ และเอเจนซี่ก็เห็นใจนักแสดงบ้างค่ะ อย่ากดค่าตัวกันเกินไป เพราะบ้านเราไม่มีค่าแรงขั้นต่ำที่กำหนดโดยสหภาพแรงงานนักแสดงนะคะ ก็เลยเป็นการต่อรองกันเอาเองเหมือนแท็กซี่ไม่มีมิเตอร์น่ะค่ะ ก็ต้องให้อยู่ได้กันทั้งสองฝ่าย*********

และใน environment ที่เราไม่มีสหภาพแรงงานนักแสดงมาคอยกำหนดไรๆนี้ สิ่งเดียวที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมชัดเจนทั้งสองฝ่าย คือ....

ค่ะ พี่น้อง อย่าลืม...

สัญญา สัญญา สัญญา

จบค่ะ

รักจากป้า

#สัญญานักแสดง #วันละภาพ

21/11/2022

The Malaysia International Film Festival is accepting feature films for their Competition Section until February 26, and Non-Competition Section until March 12, 2023.

20/11/2022

Attention Filmmakers! Our applications are open! Grab this exciting opportunity to spend up to three months with us in Berlin!
Our unique fellowship is designed for international film and media professionals to develop and refine projects through a curriculum tailored to meet their individual needs and aspirations. On top of the personalised programme, we also offer a grant to support you during your film residency in Berlin.

Apply by January 10, 2023.
For all further details, requirements and applications: www.nipkow.de

01/11/2022

The Busan International Short Film Festival is accepting international short films until January 5th (2023) and Korean short films until January 20th (2023).

06/10/2022
05/10/2022

20 day countdown! Our newly launched ASEAN SHORT FILM COMPETITION and SEAPITCH (SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH) are open for submissions until 24 October 2022.
Please submit your works at:
• ASEAN SHORT FILM COMPETITION
Online Submission Form: https://forms.gle/TuXiACWkc6vsa48m9
• SEAPITCH (SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH)
Online Submission Form: https://forms.gle/R36ywcMHj5hG42m76
The 8th edition of Bangkok ASEAN Film Festival will take place from January 20 to 25, 2023.
Learn more: www.baff.go.th

==================
นับถอยหลังอีกเพียง 20 วัน กำหนดส่งผลงานภาพยนตร์สั้นและโปรเจกต์ภาพยนตร์ขนาดยาวเข้าร่วมกิจกรรม ASEAN SHORT FILM COMPETITION และ SEAPITCH (SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH) ได้จนถึงวันที่ 24 ตุลาคมนี้
ส่งผลงานทางออนไลน์ได้ที่ :
• ASEAN SHORT FILM COMPETITION
Online Submission Form: https://forms.gle/TuXiACWkc6vsa48m9
• SEAPITCH (SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH)
Online Submission Form: https://forms.gle/R36ywcMHj5hG42m76
เทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานครครั้งที่ 8 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-25 มกราคม พ.ศ. 2566
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : www.baff.go.th
--------------------------------------

30/09/2022
 #ลดชั่วโมงการทำงาน  #สหภาพแรงงานสร้างสรรค์
27/09/2022

#ลดชั่วโมงการทำงาน #สหภาพแรงงานสร้างสรรค์

วันที่ 26 กันยายน บริษัทไลท์เฮ้าส์ ฟิล์ม เซอร์วิส จำกัด ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงชั่วโมงการทำงานในหมวดงานละครและซีรีย์ ปรับลดชั่วโมงการทำงานต่อ 1 คิว จาก 16 ชั่วโมง เป็น 14 ชั่วโมง โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566
ในขณะที่กระแสลดชั่วโมงการทำงานกำลังได้รับความนิยมในฟากฝั่งประเทศที่เจริญแล้วอย่างในยุโรป จาก 8 ชั่วโมงให้เหลือ 6 ชั่วโมงต่อวัน ทว่าในประเทศไทยการทำงานเกิน 16 ชั่วโมงต่อวันยังเป็นเรื่องปกติ (ที่ผิดปกติเป็นอย่างยิ่ง) และพบเห็นได้ทั่วไปในทั้งในกองถ่ายสื่อบันเทิง โรงพยาบาล แรงงานอิสระ และในอาชีพอื่น ๆ อีกมากมาย
เหตุใดการทำงาน 16 ชั่วโมงต่อวันถึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น?
จากผลสำรวจชั่วโมงการทำงานแรงงานในกองถ่ายโดย CUT ที่มีผู้เข้าร่วมตอบคำถาม 239 ราย โดย 38.1% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยที่ 16 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมา 21.8% ที่ 12 ชั่วโมงต่อวันนั้น พบว่า
91.6% ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าในระหว่างเวลาทำงาน
85.45% เกิดความผิดพลาดในการทำงาน ตอบสนองต่อการทำงานได้ช้าลง ไม่มีสมาธิ
69.5% จำเป็นต้องใช้ยา สารกระตุ้น เครื่องดื่มชูกำลังเพื่อทนต่อการอดนอน
และ 65% ประสบปัญหาด้านสุขภาพ เจ็บป่วย มีโรคประจำตัว
นอกจากนี้ชั่วโมงการทำงานที่มากเกินปกติ ยังส่งผลกระทบต่อปัญหาทางด้านจิตใจ ความเครียด อาการวิตกกังวลและซึมเศร้า ตลอดจนไปถึงปัญหาด้านความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างที่แย่ลง หมดไฟในการทำงานและต่อเนื่องไปสู่ความอยากเลิกทำงานต่อในอุตสาหกรรมดังกล่าว
การลดชั่วโมงการทำงาน จึงเป็นอีกหนึ่งการขับเคลื่อนไปสู่คุณภาพชีวิตของแรงงานที่ดียิ่งขึ้น CUT ขอชื่นชมบริษัทไลท์เฮ้าส์ ฟิล์ม เซอร์วิส จำกัด Lighthouse Film Service ที่ออกมายืนเคียงข้างกับแรงงาน และร่วมกันผลักดันให้ชั่วโมงการทำงานของแรงงานกองถ่ายกลับสู่ความปกติของมนุษย์ในเร็ววัน
ทวงคืนความเป็นมนุษย์ โดยการยืนยันว่าการทำงาน 16 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ใช่เรื่องปกติของคนในอุตสาหกรรมใดทั้งนั้น
แด่ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของแรงงาน
สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย (CUT)

#ลดชั่วโมงการทำงาน #สหภาพแรงงานสร้างสรรค์

21/09/2022

"ทวิตเตอร์ ชานม เผด็จการ : เส้นทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของกลุ่มประเทศพันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance)" The Tropical พาทุกท่....

20/09/2022

บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์

12/09/2022

ภาพยนตร์ Thirteen Lives ฉบับ ผู้กำกับ Ron Howard กำลังมีกำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ให้แฟนๆได้ชมกันบนจอใหญ่ ในขณะที่ อีกเวอ.....

03/07/2022

[แถลงการณ์ สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย (CUT) - ทำงาน 16 ชั่วโมง/วัน ไม่ใช่เรื่องปกติ หยุดทำให้เรื่องผิดปกติกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในสังคม]

สืบเนื่องจากกรณีการนำเสนอข่าวของรายการไนน์เอ็นเตอร์เทน ในประเด็นเรื่อง ‘2 ผกก. “อ๊อด-ปรัชญา” เผยงานกองถ่ายเป็นงานหนัก กระทบสุขภาพทีมงานระยะยาว ลั่นฉากเด็กต่ำกว่า 15 ปีร้องไห้ ไม่ใช่การทารุณกรรม’ อีกทั้งมีการใช้พาดหัวข่าวว่า ‘กองละครทำ 16 ชม./วัน เรื่องปกติ’ ซึ่งเป็นการตั้งคำถามถึงแนวทางในการขับเคลื่อนของสหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย (CUT) ที่ถูกอ้างอิงในเนื้อหาข่าวนั้น

CUT ขอยืนยันว่าปัญหาชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานกองถ่าย รวมถึงปัญหาการใช้แรงงานเด็กโดยไม่คำนึงถึงพัฒนาการที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย ซึ่งส่งผลลบต่อแรงงานทั้งในด้านสุขภาพกายและสภาพจิตใจจนเป็นผลรุนแรงถึงแก่ชีวิต

ซ้ำยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลงเนื่องจากถูกทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ สิ่งเหล่านี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อแรงงานและกระบวนการผลิตไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด ๆ

โดยเฉพาะในด้านชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานนั้นยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดชี้ว่าการทำงานเกิน 50 ชั่วโมง/สัปดาห์ ทำให้คุณภาพในการทำงานของแรงงานลดลงอย่างมาก

ในทางกลับกัน งานวิจัยจากหน่วยงาน​ปกครองของเมือง Reykjavík (Reykjavík City Council) ในประเทศไอซ์แลนด์ ที่ทำการทดลองกับแรงงานกว่า 2,500 คน (คิดเป็น 1% ของประชากรแรงงานทั้งประเทศ) โดยให้ทำงาน 35-36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นั้น พบว่าประสิทธิผล (Productivity) ของงานยังคงปกติ ไม่ต่างจากตอนทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยมีหลายกรณีที่งานดีขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ความเครียด ความกังวล และอัตราการหมดไฟของพนักงานลดต่ำลงมาก ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลให้ในขณะนี้แรงงานไอซ์แลนด์กว่า 86% สามารถทำงานด้วยเวลาที่น้อยลงกว่าเดิม รวมถึงมีสิทธิในการทำงานด้วยเวลาที่น้อยลงได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม CUT ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการโจมตีหรือวิพากษ์ความคิดเห็นของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากแต่ต้องการที่จะสร้างความเข้าใจร่วมกันและส่งเสริมการรับรู้ถึงปัญหาของแรงงานในกองถ่ายเป็นวงกว้าง เพื่อพัฒนาเครือข่ายที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมาอย่างยาวนานพร้อมกับบุคลากรในแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทย

ดังนั้น CUT ขอใช้พื้นที่ของแถลงการณ์ฉบับนี้ในการยืนยันในแนวทางการขับเคลื่อน และร่วมเป็นกำลังสำคัญให้กับแรงงานในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยทุกคน ในการมุ่งหน้าผลักดันข้อเสนอยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานกองถ่ายด้วย 4 ข้อเสนอหลัก ได้แก่

1. ให้มีมาตรฐานชั่วโมงการทำงานของนักแสดงเด็กในกองถ่ายที่ต้องระบุเวลาในการพัก เวลาถ่าย เวลาอยู่ในกอง ที่สอดคล้องกับพัฒนาการในเด็ก

2. เวลาในการทำงานปกติของคนในกองถ่ายต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง และเวลาพัก 12 ชั่วโมง และหากทำงานเกินในชั่วโมงที่ 13 จะต้องมีค่าล่วงเวลา และแรงงานต้องมีเวลาพักผ่อนขั้นต่ำ 10 ชั่วโมงก่อนเรียกกลับมาทำงานในวันถัดไป

3. ให้มีมาตรฐานความปลอดภัยพื้นฐานที่ควรจะมี ในการทำงานในกองถ่าย เนื่องจากเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานที่เสี่ยงภัยสูง และอาจมีอันตรายถึงชีวิต

4. คนทำงานในกองถ่ายต้องมีสัญญาจ้างที่เป็นธรรม

CUT ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะหาโอกาสปรึกษาหารือร่วมกับแรงงานในทุกตำแหน่งงาน ทั้งในส่วนของผู้กำกับภาพยนตร์ พนักงานเสิร์ฟน้ำ ช่างไฟ ช่างกล้อง ฯลฯ ตลอดจนผู้อำนวยการสร้างทุกท่าน เพื่อร่วมกันสร้างฉันทามติที่เป็นประโยชน์กับทุกคนสืบไป

ทั้งนี้ พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ‘ความไม่ปกติที่ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องปกติ’ จะได้รับการแก้ไขในเร็ววัน

โดย CUT จะทำทุกวิถีทางเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องแรงงานทุกคน

สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย (CUT)

____________

อ้างอิง :

2 ผกก. “อ๊อด-ปรัชญา” เผยงานกองถ่ายเป็นงานหนัก กระทบสุขภาพทีมงานระยะยาว ลั่นฉากเด็กต่ำกว่า 15 ปีร้องไห้ ไม่ใช่การทารุณกรรม https://nineentertain.mcot.net/top-story-6448193?fbclid=IwAR2HxkuuD0yEGPB4qixBzeRrvFIWuo_A6E2ecppi9boVCJZkpEr8gfRBnUE&fs=e&s=cl

ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เป็นไปได้: เน้นทำน้อยได้มาก-ตัดเรื่องไม่สำคัญ-ใช้ความสุขดันผลิตภาพ https://brandinside.asia/is-4-day-work-week-possible/

Going Public: Iceland's Journey to a Shorter Working Week https://autonomy.work/portfolio/icelandsww/

02/06/2022
17/05/2022

ເຖີງ: ລູກຄ້າທີ່ເປັນທີ່ຮັກທຸກທ່ານ.

ເປັນເວລາຫຼາຍປີ ທີ່ Cineart film ໄດ້ໃຫ້ບໍລິການທຸກທ່ານເລື່ອງ Production, ຖ່າຍທຳ ຕ່າງໆ.
ມາຮອດປະຈຸບັນ, ດ້ວຍສະພາບ Covid-19 ບວກກັບສະພາບເສດທະກິດທີ່ປ່ຽນໄປ, Cineart ເຮົາແມ່ນຖືກຜົນກະທົບຢ່າງໜັກ ແລະເປັນບາດແຜ່ຊຳເຮື້ອມາໄດ້ໄລຍະໜື່ງແລ້ວ, ມາຮອດຕອນນີ້ Cineart ແມ່ນບໍ່ສາມາດທົນຜິດບາດແຜ່ດັ່ງກ່າວໄດ້ຕໍ່ໄປ.

ດັ່ງນັ້ນ ທາງ Cineart ຈື່ງຂໍແຈ້ງໃຫ້ທຸກທ່ານຊາບວ່າ, ເຮົາໄດ້ຫຼຸດບົດບາດການຮັບວຽກລົງ, ບໍ່ສາມາດຮັບວຽກ Production ຫຼື ຖ່າຍທຳໄດ້ອີກຕໍ່ໄປ, ເນື່ອງດ້ວຍຂາດເຂີນດ້ານກຳລັງທີມງານສາຍການຜະລິດ.
Cineart ຍັງຈະສາມາດຮັບວຽກໄດ້ສະເພາະບາງວຽກເຊັ່ນ: ຂຽນ Script, Creative Commercial Storyboard, Advisor & Film Director ເທົ່ານັ້ນ.

ຂອບໃຈທີ່ອຸ້ມຊູ ແລະ ຮັກແພງ Cineart ເຮົາມາຕະຫຼອດ, ແລະຫວັງຢ່າງຍີ່ງວ່າ ຖ້າມີໂອກາດ ແລະຄວາມພ້ອມພຽງພໍ Cineart ເຮົາ ຈະກັບມາສ້າງສັນ ວຽກງານອີກຄັ້ງຢ່າງແນ່ນອນ.

Best Regards.
Phonesavanh Saengphachan
Founder of Cineart film.

04/05/2022

📢 [GISFF 2022 CALL FOR ENTRY]

GISFF is looking forward to seeing your great work of art as well as your passion for short films.
GISFF will be held at MovieBloc, a global independent film platfrom.

☑️Submission Period: from April 18th, 10:00 to May 15th, 17:00 (KST).

☑️Eligibility & Requirements: Short films with maximum 40 minutes in length. There is no restriction on genre and the year of production.

☑️ HOW TO SUBMIT
Register your film at MovieBloc (moviebloc.com) within the submission period.

☑️Awards
- Gold Prize: $30,000(USD) + financial support for the next work $20,000(USD)
- Silver Prize: $20,000(USD) + financial support for the next work $20,000(USD)
- Bronze Prize: $10,000(USD) + financial support for the next work $20,000(USD)

☑️Contact
[email protected]

FOR MORE INFORMATION
please visit GISFF’s website (www.gisff.com) or MovieBloc (ww.moviebloc.com)

🎬📹📽

03/05/2022
25/03/2022
20/03/2022

ถอดโครงสร้าง Squid Game S.1 E.1 โดยใช้ Dan Harmon's Story Structure

1. You - เป็นการปูเรื่อง แนะนำตัวละคร และโลกของตัวละคร ในช่วงต้นเรื่อง เราเห็น กีฮุน - ตัวเอกของเรื่อง เป็น Loser แบบสมบูรณ์แบบ ทั้งเกาะแม่กิน ติดหนี้พนันจนต้องทำสัญญาสละอวัยวะ และเป็นพ่อที่ไม่เอาไหน

2. Need - จุดเริ่มเรื่อง เหตุการณ์ที่ทำให้ตัวละครเกิดความต้องการและเป้าหมายที่นำไปสู่เรื่องราวทั้งหมด ในเรื่องนี้ กีฮุนได้เล่นเกมส์ตั๊กจีกับผู้ชายแปลกหน้าในสถานีรถไฟ เขาได้เงินก้อนแรกจากการเล่นเกมส์และบัตรเชิญเข้าร่วมเล่นเกมส์ที่มีเดิมพันสูงกว่านี้

3. Go - ตัวละครเริ่มต้นเดินทางเข้าสู่โลกใหม่ ในเรื่องนี้กีฮุนถูกแม่กล่อมจนอยากมีเงินเพื่อที่จะได้สิทธิ์ในการดูแลลูก เขาตัดสินใจโทรหาเบอร์บนนามบัตรและเข้าร่วมเล่นเกมส์

4. Search - ตัวละครต้องปรับตัวเข้ากับโลกใบใหม่ที่ไม่คุ้นเคย เจอสิ่งที่ต้องการที่มาพร้อมกับอุปสรรคและปัญหาใหม่ กีฮุนได้เข้าสู่โลกของเกมส์อย่างเต็มตัว เขาได้เจอกับผู้แข่งขันรายอื่นๆ เห็นปัญหาของแต่ละคน และได้รับรู้กติกาเบื้องต้นของเกมส์

5. Find - เป็นจุดวิกฤติกลางเรื่อง ตัวละครได้ในสิ่งที่ต้องการ แต่สถานการณ์และปัญหากลับพัฒนาไปอีกขั้น กีฮุนยอมเซ็นสัญญาเข้าแข่งขันพร้อมกับผู้เข้าแข่งขันรายอื่นๆ และเข้าสู่การแข่งขันเกมส์แรก

6. Take - ตัวละครต้องเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรคที่หนักกว่าเดิม สิ่งที่ได้มามีราคาที่ต้องจ่าย กีฮุนเล่นเกมส์แรก เออีไอโอยู หยุด! และพบว่าต้องแลกด้วยชีวิต

7. Return - ตัวละครเจอเหตุการณ์วิกฤติที่ทำให้ตกอยู่ในจุดที่ตกต่ำแบบสุดๆ และใกล้ที่จะสูญเสียทุกอย่าง ภาพคนถูกยิงแบบตายหมู่ทำให้กีฮุนเสียขวัญและหมดพลังที่จะไปต่อ

8. Change - ตัวละครต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างเพื่อเอาชนะปัญหาและไปให้ถึงเป้าหมาย กีฮุนตั้งสติและลุกขึ้นสู้ต่อ เขายอมเห็นแก่ตัวเพื่อเอาตัวรอด และผ่านเกมส์แรกไปได้อย่างหวุดหวิดเพราะโชคช่วย

กีฮุนได้ไปต่อ จบ Ep.1 และเกมส์ 1

หมายเหตุ
- โครงสร้างนี้สามารถนำไปใช้ถอดโครงสร้างของซีซั่น 1 ทั้งซีซั่นได้ด้วยนะคะ แต่ยังไม่ได้ทำเพราะกลัวว่าจะสปอยด์
- บาง Ep. ก็จะแตกต่างออกไป เช่น ตัดจบ Ep.ที่เหตุการณ์ Crisis แล้วค่อยไปต่อ Climax ในต้น Ep. ต่อไป

#อาชีพเขียนบทเท่าที่รู้ #โครงสร้างบทซีรีส์

31/01/2022

Address

Vientiane

Opening Hours

Tuesday 10:00 - 17:00
Wednesday 10:00 - 17:00
Friday 10:00 - 17:00
Saturday 10:00 - 15:00

Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when CineArt film posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to CineArt film:

Videos

Share