รถยนต์ไฟฟ้า EV Car

  • Home
  • รถยนต์ไฟฟ้า EV Car

รถยนต์ไฟฟ้า EV Car นำเสนอข่าวสาร รถยนต์ไฟฟ้า EV CAR

27/04/2022

อุตสาหกรรมรถไทยไปต่อไม่ไหวเมื่อเจอ EV: เทคโนโลยีไม่ถึง ค่ายญี่ปุ่นไม่เน้น นำเข้าจีนถูกกว่า
ยานยนต์ คืออุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย แต่ดูเหมือนว่าในอนาคตเรื่องราวนี้อาจจะเปลี่ยนไปจากการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ออกรายงาน “เมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนเป็น EV ทำไมไทยเสียเปรียบคู่แข่ง ?” ประเมินว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่โดยเฉพาะการเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
ทำให้ประเทศไทยอาจไม่ใช่ฐานผลิตหลักของรถยนต์ในอนาคต
[ ยานยนต์ พระเอกเศรษฐกิจไทยที่อาจไปต่อไม่ไหว ]
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของไทย โดยเติบโตจากการลงทุนทางตรงและการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นเป็นหลัก
ส่วนหนึ่งจะเกิดขึ้นเพราะนโยบายเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ การเปิดเสรีทางการค้า และนโยบายสร้างแรงจูงใจ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตคือการย้ายฐานการผลิตมาไทยในช่วงนั้นเกิดขึ้นหลังการทำข้อตกลงพลาซาในปี 1985 ที่ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมากจึงทำให้ญี่ปุ่นเสียความสามารถในการแข่งขันและย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย
แต่ตอนนี้ประเทศไทยอาจไม่โชคดีที่มีคนช่วยเหมือนในอดีต KKP Research ประเมินว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่โดยเฉพาะการเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
นโยบายลดภาษีอย่างเดียวจะไม่ได้ผลในการพัฒนาอุตสาหกรรมอีกต่อไป แต่ต้องพัฒนานวัตกรรมของไทยเอง โดยที่ผ่านมาประเทศไทยยังพึ่งพาแต่นวัตกรรมจากญี่ปุ่นเป็นหลัก ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ไทยไม่สามารถเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เหมือนที่เคยเป็นฐานการผลิตยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในอีกต่อไป
[ ทำไมไทยเสียเปรียบคู่แข่ง ? ]
KKP Research ประเมินศักยภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในยุค EV แจกแจง 5 เหตุผลว่าทำไมไทยถึงเสียเปรียบคู่แข่งในอนาคต

(1) รถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรง แต่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นยังปรับตัวช้า น้อยกว่ารถยนต์ค่ายยุโรปและอเมริกามากซึ่งจะส่งผลเสียเพราะไทยเป็นฐานการผลิตหลักของรถยนต์ญี่ปุ่น
(2) จีนและอินโดนีเซียอาจส่งออกแซงไทย สัดส่วนการส่งออกรถยนต์ในตลาดโลกไทยมีสัดส่วนลดลงจาก 1.7% เหลือ 1.3% ในขณะที่จีนเพิ่มขึ้นจาก 0.7% เป็น 1.5% โดยไทยโดนจีนแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศออสเตรเลีย และโดนอินโดนีเซียแย่งส่วนแบ่งตลาดในเวียดนามและฟิลิปปินส์
(3) นำเข้าดีกว่าผลิตในไทย เพราะไทย FTA กับประเทศจีน ทำให้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าไม่มีภาษี นอกจากนี้การนำเข้ารถยนต์ EV จากจีนมีแนวโน้มที่จะถูกกว่าการผลิตเองภายในประเทศ เพราะปริมาณการการผลิตรถยนต์ EV ที่จีนมีขนาดใหญ่กว่าไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อคันถูกกว่า
(4) ไทยกำลังเผชิญปัญหา Economies of scale เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทยส่วนใหญ่เป็นประเทศพวงมาลัยขวา (Right-Hand Driving) ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กอยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนแค่ 1 ใน 6 ของโลก
เมื่อเจอกับปัญหาตลาดในประเทศที่หดตัวลงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ส่วนแบ่งในตลาดโลกที่ลดลง และการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้คนน้อยลงทำให้ปริมาณการผลิต(Scale) มีความสำคัญมากขึ้นมาก จะทำให้ไทยเสียเปรียบด้านต้นทุน หรือ การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ในขณะที่การเปลี่ยนมาผลิตพวงมาลัยซ้ายทำได้ยาก
(5) ความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ตามค่าแรงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอีก 2 ข้อที่ทาง KKP Research บอกว่าเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ต่างชาติไม่เข้ามาลงทุนสร้างฐานผลิตในประเทศไทย คือ
(1) ไทยไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนจีน การผลิตแบตเตอรี่จำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งปัจจุบันจีนครอบครองการผลิตจำนวนมาก โดยบริษัท CALT ในจีนครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 40% ซึ่งสะท้อนข้อจำกัดในการเข้าตลาดสำหรับคู่แข่งรายใหม่
(2) อินโดนีเซียเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวเพราะเป็นแหล่ง Nickel ที่สำคัญของโลกมากถึง 30% ประกอบกับต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า และตลาดที่ใหญ่กว่า ทำให้เริ่มเห็นหลายบริษัท เช่น LG Energy Solution และ Hyundai Motor ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อันดับสองของโลกเริ่มเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ มูลค่าเพิ่มหลักกว่า 30% ของรถยนต์ไฟฟ้า คือ Li-Ion Battery ซึ่งไทยแทบไม่มีบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน และเสียเปรียบคู่แข่งในหลายมิติ
[ อุตสาหกรรมจะถูกฉุดรั้ง หากไม่ปรับทิศนโยบาย ]
เศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบต่อทั้งห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ใช่แค่เฉพาะบริษัทประกอบรถยนต์ แต่รวมถึงบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ KKP Research ประเมินว่าชิ้นส่วนที่จะหายไปในการเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า คือ เครื่องยนต์ ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และ ระบบเกียร์ คิดเป็นมูลค่าเพิ่มกว่า 32.5% ของมูลค่าการผลิตรถยนต์สันดาปภายในเดิม
KKP Research ประเมินว่าการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ EV จะทำให้ชิ้นส่วนที่ถูกกระทบรุนแรงต้องหยุดการผลิตลงและหากสมมติให้ประเทศไทยยังสามารถทำหน้าที่ผลิตและส่งออกรถยนต์ได้จำนวนเท่าเดิมแต่เปลี่ยนไปผลิต EV แทน มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้จะลดลงจากในปัจจุบันที่ 53% เหลือเพียง 34% เท่านั้น โดยมูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่จะเกิดจากการผลิตแบตเตอรี่เป็นส่วนสำคัญแทน
จากงานศึกษาฉบับนี้ KKP Research ประเมินว่ามี 3 บทเรียนที่ภาครัฐควรนำไปปรับใช้ในการทำนโยบาย คือ
(1) การพึ่งพาการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) จะไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะการผลิตในอนาคตไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานทำให้การมาตั้งโรงงานจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ต่างชาติเป็นหลัก
(2) ห่วงโซ่การผลิตที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้ไทยต้องกลับมาพิจารณากลยุทธ์การเติบโตระยะยาวว่ายังควรเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่
(3) การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นหนึ่งในทางออกที่จำเป็นมากที่สุด เพราะมูลค่าเพิ่มของรถยนต์ EV ในอนาคตจะเป็นชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอิเลกทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามการพัฒนาในระยะยาวจะเกิดขึ้นได้ยังต้องอาศัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมการลงทุน และการวิจัยและพัฒนา กำกับให้เกิดการแข่งขันเสรี และการลดการคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ ซึ่งทาง KKP Research มองว่าเรื่องเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
#รถยนต์ไฟฟ้า
https://brandinside.asia/thai-automobile-outlook-by-kkp-research

17/04/2022

สื่อสายยานยนต์ไทยเจ้าดัง Autolifethailand เผย “ BYD ” ยักษ์ใหญ่ EV ทุ่ม 2 หมื่นล้านลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทย เล็งส่งรุ่นแรกเปิดตัวภายในปีนี้
Autolifethailand สื่อสายยานยนต์ไทยเจ้าดังได้นําเสนอข่าวอัพเดตความเคลื่อนไหวล่าสุดของ BYD แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของประเทศจีน โดยล่าสุดได้จับมือกับ ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูล "พรประภา" กลุ่มสยามกลการ เตรียมบุกตลาดรถยนต์ประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยจะมีการเปิดตัวแบรนด์ BYD ในเดือนมิถุนายนนี้
โดย BYD จะร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทไทย ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BYD มูลค่าการลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาทเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวา เพื่อจำหน่ายในประเทศไทยและส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงออสเตรเลีย และ อังกฤษ ด้วยกำลังการผลิตเบื้องต้นที่ 70,000 - 100,000 คัน ต่อปี
สำหรับโชว์รูม และ ศูนย์บริการแห่งแรกจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยทาง BYD จะเปลี่ยนโชว์รูมและ ศูนย์บริการ ของสยามนิสสันเซลส์ สาขาเพชรบุรีตัดใหม่ (สยามกลการ) มาเป็นโชว์รูมและศูนย์บริการ ของ BYD
นอกจากนี้ จะลงนามร่วมกับ กรมสรรพสามิต ในโครงการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ เพื่อจะได้รับสิทธิการสนับสนุนเงินจากภาครัฐ 150,000 บาท ต่อคัน และ ส่วนลดภาษีสรรพสามิตอีก 6%
ทั้งนี้ BYD จะเริ่มทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกในเดือนพฤศจิกายน ด้วย BYD Dolphin ซึ่งในตลาดจีน ถือเป็นคู่แข่งโดยตรงของ ORA Goodcat
BYD Dolphin รถยนต์ไฟฟ้า100% ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า 2 แบบ คือกำลังสูงสุด 94 แรงม้า 180 นิวตันเมตร และในรุ่นท็อปมีกำลังสูงสุด 174 แรงม้า 290 นิวตันเมตร
นอกจากนี้ BYD Dolphin ยังได้ใช้แบตเตอรี่แบบแผ่นบางวางตั้งซ้อนกันเป็นแถวที่เรียกว่า Blade Battery Technology ขนาดความจุ 30.7 kWh วิ่งได้ระยะทางไกลสูงสุด 301 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และ 401-405 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง สำหรับแบตเตอรี่ขนาด 44.9 kWh รองรับ Fast Charging ที่สามารถชาร์จไฟจาก 30-80 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลาเพียง 30 นาที โดยคาดว่าราคาจะอยู่ที่ราว 7xx,000 บาท หลังรวมส่วนลดโครงการสนับสนุน ev ของภาครัฐ นอกจากรุ่น Dolphin แล้ว BYD ยังมีแผนที่จะเปิดตัวรุ่นอื่นๆทั้ง Yuan , Han , Song ให้ครบไลน์อัพของแบรนด์ในอนาคต
ลิงค์ยูทูปอ้างอิง (https://www.youtube.com/watch?v=BALwgZ_eeeM)
---------------------------------------------------------------------------
Thailand Development Report หรือ TDR เป็นบล็อกข่าวและข้อมูลที่ทำขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นในการนำเสนอข่าวและบทความด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
ช่องทางการติดตาม
Facebook : Thailand Development Report
Website : thdevelopmentreport.blogspot.com
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพจ สนับสนุนเพจ
E-mail : [email protected]
Tel : 092-2529509 (คุณไอซ์)

17/04/2022

#ข่าวEV BYD บริษัทแม่เตรียมลงทุนผลิตในไทย, BYD Dolphine รถ EV 100% จ่อเปิดตัวในไทยปีนี้!

autolifethailand รายงานข้อมูลว่า BYD บริษัทแม่จากจีนได้จับมือกับ "พรประภา" ลงทุน 20,000 ล้านบาทตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ในไทย โดยอาจใช้ชื่อแบรนด์ว่า BYD Automobile (Thailand), เตรียมเปิดตัวแบรนด์ในเดือน มิ.ย. นี้

คาดว่ารถยนต์รุ่นแรกที่ BYD Automobile (Thailand) จะเปิดตัวในไทยช่วงปลายปี 2022 นี้ คือ "BYD Dolphin" รถยนต์ EV 100% โดยมีไฮไลท์เด่น ดังนี้

⋅ ขนาดรถพอ ๆ กับ ORA Good Cat แต่สั้นและแคบกว่า
⋅ อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ใน 7.9 วินาที
⋅ ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.
⋅ วิ่งไกลสุด 405 กม./ชาร์จ (มาตรฐาน NEDC)
⋅ ชาร์จแบตแบบ AC 7kW 0-100% ใน 6 ชม. 25 นาที
⋅ ชาร์จแบตแบบ DC 60kW 30-80% ใน 30 นาที

สำหรับราคาจำหน่ายนั้นรายงานระบุว่า BYD Dolphin หากได้รับส่วนลดจากรัฐแล้วราคาจะเริ่มต้นที่ 700,000 บาท

ที่มา : https://autolifethailand.tv/byd-dolphin-ev-thailand-june-2022

เรียบเรียงโดย - เต้นท์ iMoD

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when รถยนต์ไฟฟ้า EV Car posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share