Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต

  • Home
  • Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต

Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต ข้อมูลเมือง เพื่อเมืองน่าอยู่ เพื่อนำหน้าในทุกการแข่งขัน ประเมินมูลค่าที่ดิน Data Viz พัฒนาเมือง บริการดีมาก ปรึกษาได้ทุกเรื่อง เสมือนหนึ่งญาติมิตร
(2)

ขอบคุณทีมจัดงาน DataCon ที่ช่วยรวบรวมแรงบันดาลใจจากคนทำงานกับข้อมูลให้มารวมกัน 🙂ใครอยากให้ช่วยอะไร จิ้มมาได้เลยจ้า
19/10/2024

ขอบคุณทีมจัดงาน DataCon ที่ช่วยรวบรวมแรงบันดาลใจจากคนทำงานกับข้อมูลให้มารวมกัน 🙂

ใครอยากให้ช่วยอะไร จิ้มมาได้เลยจ้า

07/10/2024

ร่วมงาน dataCon 2024 วันนี้
พร้อมช่วยนักเล่าเรื่องทุกคน คุ้ยข้อมูลเปิด ทุกมุมเมืองด้วย และ

  ร่วมงาน dataCon 2024 วันนี้พร้อมช่วยนักเล่าเรื่องทุกคน คุ้ยข้อมูลเปิด ทุกมุมเมืองด้วย   และ
05/10/2024

ร่วมงาน dataCon 2024 วันนี้
พร้อมช่วยนักเล่าเรื่องทุกคน คุ้ยข้อมูลเปิด ทุกมุมเมืองด้วย และ

ใช้ data เข้าถึงคน ทำระบบแก้ปัญหาคนตัวเล็กที่ถูกลืม
สรุปเซสชัน เขย่าการเมือง ด้วยพลังข้อมูล Shaking Up Politics with Data โดยคุณยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw , คุณปราบ เลาหะโรจนพันธ์ Senior Strategist AGO และคุณมนตรี ถนัดค้า Managing Director Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต ในงาน Data Connect 2024 | DataCon TH
คุณยิ่งชีพแชร์ว่าสำหรับ iLaw ในเรื่องการเมือง บางครั้งการพูดจุดยืนออกมาตรง ๆ มันไม่มีประโยชน์ เราต้องพูดถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ‘เปิด 10 อันดับคดีมาตรา 112 ที่ลงโทษหนักที่สุด’ เราไม่ได้พูดว่าคดีนี้โทษสูงไป เป็นการเอาข้อมูลมาโชว์ให้ดู แล้วให้คนคิดเอง อีกตัวอย่างคือผลการเลือกสว. ที่แชร์ให้ดูว่า Top 8 จังหวัดที่ได้สว.เยอะจนผิดสังเกต แต่ก็ไม่ได้ชี้นำอะไรเช่นกัน
เราใช้ข้อมูลพูดสิ่งที่อยู่ในใจเรา โดยที่เราไม่ต้องพูดจุดยืนตรง ๆ ออกมา
รัฐไม่ได้ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูล โดยกฎหมายมีอะไรให้พัฒนาได้ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือวัฒนธรรม
ผลการเลือกตั้ง เมื่อก่อนเรารู้เป็นรายเขต แต่ตอนนี้เรารู้เป็นรายหน่วยแล้ว สำหรับผลการเลือกสว.ถ้าเราไม่มีข้อมูลคนที่ตกรอบ เราก็จะไม่เห็นเลยว่ากลุ่มที่ชนะแปลกยังไง
สำหรับเรื่องของข้อมูล ในมุมมองคุณยิ่งชีพ สิ่งที่เราขาดมากกว่าคือเราต้องรู้ก่อนว่าเราจะแก้อะไร จะขุดอะไร เจอข้อมูลก่อนแล้วค่อยไปหาเครื่องมือ ที่สำคัญคือเห็นข้อมูลแล้วอย่ากลัว
⎯⎯⎯⎯⎯⎯
สำหรับคุณปราบ เล่าว่าเขามีโอกาสได้เข้าไปเป็น fellowship AGO ได้ไปศึกษาเรื่องการเลือกตั้งของประเทศสหรัฐอเมริกา ย้อนกลับไปหลายปีที่แล้วตอนโอบามาได้เป็นนายก ทุกคนก็มีความคาดหวังว่าจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศ แต่ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ทรัมป์ซึ่งเป็นฝั่งขวาสุดได้เป็นนายก
🔵 เครื่องมือและโครงสร้างก็สำคัญ
Venture capital ที่ลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะ เราจะเห็นว่ามีเครื่องมือต่าง ๆ เยอะมาก ไม่ได้ใช้ Analytics tools อย่างเดียว แต่ในประเทศเล็ก ๆ อย่างเรา ใครจะลงทุนใช้ ?
ถ้าเราจะเขย่าการเมืองให้ไปได้ไกล การสร้างเครื่องมือก็เป็นความท้าทายที่สำคัญมาก นอกจากนี้ ในเรื่องการเลือกตั้งก็จะมีคนพูดถึง Generative AI เข้ามาทำแคมเปญ แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ผลลัพธ์อาจดีเท่ากับมนุษย์ แต่ไม่เสมอไป ค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้ถูกลง โจทย์ที่สำคัญคือเครื่องมืออะไรที่จะตอบโจทย์และเราจะสร้างเองได้หรือไม่
สำหรับเรื่องของข้อมูล ในประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยมาก คือก่อนจะเลือกตั้งต้องไปลงทะเบียนก่อน และผู้สมัครทุกคนก็จะเห็นรายชื่อและหาเสียงจากรายชื่อนั้น ๆ
ประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูลอาจไม่ได้ละเอียดขนาดนั้น หน่วยงานที่เปิดแล้วมีอยู่แล้ว แต่จะทำยังไงให้นำไปใช้ได้ง่ายขึ้น และทำยังไงให้หน่วยงานที่ยังไม่เปิดมาเปิด อีกเรื่องที่สำคัญคือแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่ ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยและ reward ให้กับเขา
คุณปราบเล่าถึงตอนทำแคมเปญอ.ชัชชาติ ที่ลงสมัครเป็นแบบอิสระ ซึ่งแปลว่าไม่มีสก. ถ้าจะชนะได้ต้องทำได้ด้วยอาสาสมัครเท่านั้น เลยเปิดให้คนมาลงทะเบียนเป็นเพื่อนชัชชาติ ทำให้รู้ว่ามีผู้สนับสนุนอยู่ที่ไหน จะได้สร้างเครือข่ายได้ ซึ่งตอนนั้นไม่ได้มีเครื่องมือนี้อยู่ในไทย แต่ทำงานร่วมกับ Boonmee Lab พัฒนาขึ้นมา นอกจากนี้ ยังเล่าถึงความสำคัญของเครื่องมือที่ทำให้คนสามารถลงชื่อเสนอกฎหมายออนไลน์ได้ และจำนวนคนมาใช้เป็นแสน นั่นเป็นการเติมพลังว่าเราจะสร้างเครื่องมืออะไรเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางการเมืองได้อีก
หัวใจสำคัญคือในอนาคตจะเจอความท้าทายอะไรบ้าง ตอนนี้เรามีอะไรที่พร้อมหรือยัง ถ้าไม่มีก็ต้องสร้างเพื่อเตรียมพร้อมกับมัน
⎯⎯⎯⎯⎯⎯
คุณมนตรีเล่าถึงโปรเจกต์ CityMETER ที่ตอนแรกเป็นพื้นฐานงานธุรกิจ ทำเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ สำหรับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อ มีคนให้มาวิเคราะห์ที่ดินต่าง ๆ เลยได้ไอเดียว่าอยากจะเป็นซินแส เช่น ตั้งร้านกาแฟตรงไหนดี เปิดร้านหมูปิ้งที่ไหนดี
🔵 เปิด คุ้ย เล่า
ตอนนั้น Landometer เริ่มเห็นโอกาส เลยลองทดสอบโดยการใช้ CityMETER มี 3 ขั้นตอนหลัก ๆ คือเปิดข้อมูลต่าง ๆ จากภาครัฐ เอา Insight มาคุยกันและนำมาเล่า
❓แล้วเรื่องนี้จะเขย่าการเมืองอย่างไร
การเมืองในที่นี้คือการเป็นอยู่ของคนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ นำข้อมูลมาเรียบเรียงให้เกิดเป็นระบบที่แก้ปัญหาคนที่อยู่ในที่ที่ถูกลืมได้ เช่น ข้อมูลด้านประชากร มองเห็นว่าเมืองอยู่ที่ไหนจากความหนาแน่นของประชากรที่กระจุกตัวอยู่, รายได้และกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ ใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มมาแจกแจงในรูปแบบพื้นที่ของแต่ละจังหวัด
พอเรามี data set หลาย topic แล้วก็เริ่มทำ City Story ให้ user วงแผนที่ ระบบก็จะให้ข้อมูลและให้อ่านบทความ ซึ่งมี Impact เช่น
1️⃣ เรื่องน้ำท่วม สามารถนับจำนวนอาคาร estimate ความเสียหายได้ ว่าจะต้องซ่อมแซมเท่าไหร่
2️⃣ โรงพยาบาล แถวไหนที่ขาดแคลนหมอ
3️⃣ การศึกษา เด็กเกิดน้อยลง เราไม่ขาดแคลนห้องเรียนแล้ว แต่ยังต้องแก้ที่คุณภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปทำนโยบายต่อ
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่เก็บรวบรวมเรื่อง ธนาคาร ไฟป่า ฯลฯ ด้วย
ใครอยากลองเล่น City Story คลิกลิงก์ในคอมเมนต์ได้เลย!
#สคูลดิโอ
#ให้ข้อมูลเชื่อมวงโคจรจุดสร้างการเปลี่ยนแปลง

รวมเวบ เตือนภัยน้ำท่วม ของทางราชการมีหลายหน่วยงานมากที่ร่วมด้วยช่วยกันรายงานพี่น้องที่เดือดร้อนอยู่ หรือมีความกังวลเพราะ...
12/09/2024

รวมเวบ เตือนภัยน้ำท่วม ของทางราชการ
มีหลายหน่วยงานมากที่ร่วมด้วยช่วยกันรายงาน
พี่น้องที่เดือดร้อนอยู่ หรือมีความกังวลเพราะข่าวน้ำท่วมเริ่มใกล้ตัวเข้ามาสามารถติดตามได้ทาง Link ในแต่ละภาพ

Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต รวบรวมมาให้ท่านแล้ว

#น้ำท่วม #น้ำท่วม2024

ใครที่มีความกังวลว่าบ้านตัวเองจะเสี่ยงน้ำท่วมมั้ยลองดู Flood Hub ของ Google โดย Google Flood Hub เป็นเครื่องมือที่ใช้ AI...
11/09/2024

ใครที่มีความกังวลว่าบ้านตัวเองจะเสี่ยงน้ำท่วมมั้ยลองดู Flood Hub ของ Google

โดย Google Flood Hub เป็นเครื่องมือที่ใช้ AI ในการพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้า โดยมีจุดเด่นสำคญคือ

- พยากรณ์น้ำท่วมล่วงหน้าได้ถึง 7 วัน โดยใช้ AI และข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น พยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม

- ครอบคลุมพื้นที่ใน 80 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

- ให้บริการแก่ประชากรกว่า 460 ล้านคนทั่วโลก

- แสดงข้อมูลผ่าน Google Search, Google Maps และการแจ้งเตือนบน Android

- ใช้แบบจำลอง AI 2 แบบร่วมกัน
1. แบบจำลองอุทกวิทยา - คาดการณ์ปริมาณน้ำในแม่น้ำ
2. แบบจำลองน้ำท่วม - คาดการณ์พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบและระดับความลึกของน้ำ

- ประมวลผลข้อมูลสาธารณะจากหลายแหล่ง เช่น พยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม

ถ้าพอจะมีอะไรที่ทำให้รู้ล่วงหน้าได้ ยิ่งรู้เร็ว ความเสียหายก็ยิ่งน้อยลง

เราลองจิ้มๆ เข้าไปดู เชียงรายแน่นอนว่าแม่น้ำแดงเข้มมาก วิกฤติสุดๆ

https://sites.research.google/floods/l/16.829838042423997/99.20948629139592/5.225306920183661?layers&kgs=3f27fbe5456df947&shem=igass&source=sh/x/gs/m3/5

MRT Orange Lineสถานี OR15 สายสีส้มฝั่งตะวันออก งานก่อสร้างสถานี พร้อมใช้งานอย่างมา เหลือแต่การเดินรถที่ล้าช้าจากข้อพิพาท...
10/09/2024

MRT Orange Line
สถานี OR15 สายสีส้มฝั่งตะวันออก
งานก่อสร้างสถานี พร้อมใช้งานอย่างมา เหลือแต่การเดินรถที่ล้าช้าจากข้อพิพาทต่างๆ

มาติดตามกันว่าจะได้ใช้งานกันจริงๆเมื่อใด

Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต ร่วมสนับสนุน งาน Data Con 2024 ครั้งนี้ด้วย #ให้ข้อมูลเชื่อมวงโคจรจุดสร้างกา...
27/08/2024

Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต ร่วมสนับสนุน งาน Data Con 2024 ครั้งนี้ด้วย

#ให้ข้อมูลเชื่อมวงโคจรจุดสร้างการเปลี่ยนแปลง

บัตร EARLY BIRD สัปดาห์สุดท้าย!!
ครั้งแรกในไทยกับงาน DataCon 2024
ทรู คอร์ปอเรชั่นr ขอเชิญชวนทุกคน
ร่วมเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ
พบปะตัวจริงในวงการด้านข้อมูล
ที่จะมาเล่าประสบการณ์จริงในการใช้ดาต้า
เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคม
ในหลากหลายมิติ
🚀 พบกับ Speakers สาย Data จากหลากหลายหัวข้อ
จุใจทั้ง Talk และ Panel ที่หากคุณเป็นคน Data คุณพลาดงานนี้ไม่ได้แน่นอน!
และยังมี Lightning Talk Session
รวมถึง Exhibition กว่า 40+ Showcase
Data Universe Installation
ที่จะพาคุณเชื่อมต่อจักรวาล
คนทำงานดาต้าในเมืองไทย
ซื้อบัตร EARLY BIRD ในราคา 699 บาทได้แล้ววันนี้
(จากราคาปกติ 1,200 บาท) ถึง 31 ส.ค. นี้
(ยังไม่รวมค่าธรรมเนียม)
https://bit.ly/3WRpoKO
ติดตามรายละเอียดงานทั้งหมดได้ที่
https://bit.ly/3MiT7HA
📍ที่ทรู คอร์ปอเรชั่น เราเชื่อในการ
เปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยพลังของข้อมูล 📊
แล้วพบกันวันที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 10:00-17:00 น.
ที่ True Digital Park ฝั่ง West

2 ภาพสะเทือนใจเราจะทำเมืองของเราให้น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร?เริ่มวัดความน่าอยู่ของเมืองของเราวันนี้ ด้วย  วัดข้อมูลเมืองไปก...
17/08/2024

2 ภาพสะเทือนใจ
เราจะทำเมืองของเราให้น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร?

เริ่มวัดความน่าอยู่ของเมืองของเราวันนี้ ด้วย
วัดข้อมูลเมืองไปกับ Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต

เมืองหลวง   ของจังหวัดสมุทรปราการอยู่ที่ไหน?ค้นหาได้แล้ว ที่  /Fastfood [คลิก Link ในคอมเมนต์]คำตอบคือ “ #เทศบาลเมืองบาง...
14/08/2024

เมืองหลวง ของจังหวัดสมุทรปราการอยู่ที่ไหน?
ค้นหาได้แล้ว ที่ /Fastfood [คลิก Link ในคอมเมนต์]

คำตอบคือ “ #เทศบาลเมืองบางแก้ว”
ที่เป็นแหล่งรวม ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดกว่า 44 แห่ง จาก กว่า 20 แบรนด์ชั้นนำ

นำห่างอันดับสอง คือ อบต. ราชาเทวะ ที่แม้จะมี สนามบินสุวรรณภูมิ
แต่ก็มี Fastfood เพียง 25 แห่งเท่านั้น

นอกจากนี้ยังสามารถเทียบความหนาแน่นของพื้นที่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด เทียบกับพื้นที่เมืองได้อีกด้วย

ขอให้สนุกกับการค้นหาข้อมูลเมือง ไปกับ CityMETER โดย Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต

🎉 Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต ขอยินดีกับทีมงานของเรา 4 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้อย่างเต็มที่! 🎉 1. พี่นัท,...
08/08/2024

🎉 Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต ขอยินดีกับทีมงานของเรา 4 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้อย่างเต็มที่! 🎉

1. พี่นัท, ณัฐ พิทักษ์อำนวย ในทีม “งบทั่วถึง” กับหัวข้อ Open Budget
2. บิว, วชิรพงษ์ ลอยฟ้าขจร ในทีม “งบทั่วถึง” กับหัวข้อ Open Budget
3. สิทธิ์, สิทธิ์ เตรยาวรรณ ในทีม “JANKTHAI (จ้างไทย)” กับหัวข้อ Open Procurement
4. น้องนัท, ธรรมปพน เมฆี ในทีม “Parliament dashboard” กับหัวข้อ Open Parliament Performance

ทีม “งบทั่วถึง” ได้เสนอเครื่องมือ Data Visualization เพื่อกระจายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับรางวัล “ #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ในโอกาสนี้!

งบทั่วถึง จะช่วยระบุเทศบาล/อบต. ที่ได้รับงบน้อย เพื่อให้สมาชิกสภาฯ มีข้อมูลที่ครบถ้วนในการอภิปรายและพัฒนาแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง

ร่วมยินดีและติดตามพวกเขาได้เลย! 🎉


🎉 Exciting news from our team! 🎉

1. Nat Pitakamnuay in the “ #งบทั่วถึง” team with the topic Open Budget
2. Wachirapong Loyfakajon in the “งบทั่วถึง” team with the topic Open Budget
3. Sith Terayawan in the “JANKTHAI (จ้างไทย)” team with the topic Open Procurement
4. Thampaphon Makee in the “Parliament dashboard” team with the topic Open Parliament Performance

The “งบทั่วถึง” team won the “ #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” award for their innovative Data Visualization tool that ensures efficient budget distribution!

This tool empowers MPs with precise data to identify underfunded municipalities, ensuring equitable and thorough development.

Congratulations to all teams, and let’s keep following their great work! 🎉



ขอขอบพระคุณคำแนะนำและความกรุณาของ Mentors ของเรามา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
Patai Padungtin
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ - Natthaphong Ruengpanyawut

07/08/2024

Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต เข้าร่วม Parliament Hackathon 2024!

งานนี้สุดยอดจริงๆ! มาร่วมเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐหันมาใช้ข้อมูลเปิด (Open data) เป็นหน้าที่หลัก ไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป รัฐสภามอบข้อมูลเด็ดๆ มากมาย เพื่อดึงดูดคนรักข้อมูลมาร่วมทีม และเสนอไอเดียในการพัฒนาบริการให้ประชาชน

เราเสนอ “ #งบทั่วถึง” หรือ BUD: Budget Uniformly Distributed ซอฟต์แวร์ที่ช่วยวัดว่าการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลนั้นเป็นธรรมและทั่วถึงแค่ไหน เป้าหมายคือการระบุเทศบาลท้องถิ่นที่ได้รับงบน้อย เพื่อให้สมาชิกสภาฯ แก้ไขและพัฒนาได้ง่ายขึ้น

เปิดข้อมูล เปิดเป็นมาตรฐาน! 🌟


Landometer.com: participates in Parliament Hackathon 2024!

This event is incredible! It’s calling on government agencies to make Open data a core duty, not just an option. The parliament has provided some fantastic datasets to attract data lovers to team up and pitch ideas to improve public services.

We proposed “ #งบทั่วถึง” or BUD: Budget Uniformly Distributed, a cool dataviz software that measures how fairly government budgets are allocated across areas. The goal is to spotlight municipalities that get less funding so MPs can easily address and improve them.

Open data, open by default! 🚀




หวังว่าจะถูกใจครับ!

งานศิลปะน่ารักจากศิลปินรุ่นใหม่ที่ชั้นบนของคาเฟ่ใกล้ออฟฟิศเราบอกเล่าเรื่องราววัยเด็กของศิลปินตัวเล็กๆ ที่ดูเป็นความทรงจำ...
20/07/2024

งานศิลปะน่ารักจากศิลปินรุ่นใหม่
ที่ชั้นบนของคาเฟ่ใกล้ออฟฟิศเรา

บอกเล่าเรื่องราววัยเด็กของศิลปินตัวเล็กๆ ที่ดูเป็นความทรงจำส่วนตัว แต่กลับเชื่อมโยงกับพวกเราทุกคนได้ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ

คนเมืองเป็นอย่างนี้เอง เราต่างก็มีเรื่องราวผูกโยงกันเหมือนสายใยที่มองไม่เห็น

“Dear my old friends,”
บันทึกก่อนจากลา แด่เพื่อนเก่าของฉัน

A First Solo Exhibition by pi-near /พิแน/
6-29 JULY 2024
at Mana Art Gallery
curated by sayochit

“แด่เพื่อนเก่าของฉัน” — ข้อความสุดท้ายที่เขียนโดย พิแน ในหนังสือที่เธอทำขึ้นเพื่อส่งมอบให้กับเหล่าบรรดาเพื่อนเก่า ที่ทั้งรักและหวงแหนอย่างมากในวัยเด็ก ก่อนจะต้องแยกทางกันด้วยเหตุแห่งการก้าวผ่านของช่วงวัย (coming of age) อันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรื่องราวที่หยิบนำมาเล่าในนิทรรศการครั้งนี้ เป็นผลลัพธ์จากบทสนทนาระหว่างตัวเธอเองในวัยปัจจุบันและในวัยเด็ก ที่เปิดโอกาสให้เธอได้เรียนรู้ถึงการจากลา การขอบคุณ และการยอมรับในสิ่งที่เป็นไป กลายเป็นตัวตนและผลงานศิลปะ ที่บอกเล่าถึงตุ๊กตาและของเล่นในวัยเด็กที่เธอเรียกว่า “เพื่อนเก่า”

"Dear my old friends," — the last words written by pi-near in a book she made for her beloved childhood friends, whom she had to part with due to the inevitable passage of time (coming of age). The stories told in this exhibition are the result of a dialogue between her present and childhood selves, allowing her to learn about letting go, gratitude, and accepting what is, becoming who she is. Told through the dolls and toys of her childhood that she called "old friends."
___

Opening Day: Saturday 6 July 2024, 5:30 pm onwards

Gallery Hours: Tues-Sun, 8:00 - 18:00 (Closed on Monday)
Mana Art Gallery
3rd floor Mana Craft, Talat Noi
(MRT Hua Lamphong, walk 300 m.)

For more information, visit Instagram

#แด่เพื่อนเก่าของฉัน

#พิแน

ปัญหาโรงงานปิดตัวลงเขย่าตวามมั่นใจของตลาดไทยทุกอุตสาหกรรม ทุกพื้นที่Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต รวมทุกโร...
17/07/2024

ปัญหาโรงงานปิดตัวลง
เขย่าตวามมั่นใจของตลาดไทยทุกอุตสาหกรรม ทุกพื้นที่

Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต รวมทุกโรงงานทั่วไทย ลงลึกถึงรายเขตเทศบาล อบตทั่วประเทศ ใน

ตรวจสอบพื้นที่ของคุณได้ที่นี่
ดูคอมเมนต์ด้านล่างนี้ได้เลย

(Jul 16) ไขปริศนา เปิด-ปิดโรงงาน : จากกระแสข่าวการปิดตัวของโรงงานอุตสาหกรรมที่มากขึ้น ทำให้มีคนตกงานนับหมื่นคน สร้างความกังวลให้กับทุกภาคส่วนต่ออนาคตของภาคการผลิตไทย ซึ่งมีสัดส่วนต่อ GDP ประมาณ 1 ใน 4

ผู้เขียนจึงขอฉายภาพสถานการณ์เปิด-ปิดโรงงานให้ชัดเจนขึ้น ด้วยการคลี่ข้อมูลในหลากหลายมิติ ทั้งภาวะการเปิดและการปิดโรงงานในแต่ละขนาด สาขาอุตสาหกรรม และภูมิภาค ตลอดจนการจ้างงานและจำนวนเงินทุนสุทธิ เพื่อให้การประเมินสถานการณ์การเปิดปิดโรงงานและผลต่อเศรษฐกิจมีความครบถ้วนยิ่งขึ้น

ภาพรวมการเปิดโรงงานยังมีจำนวนมากกว่าการปิดโรงงาน แต่พลวัตการเปิดและปิดเปลี่ยนไปในทิศทางที่แย่ลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากแนวโน้มการเปิดโรงงานลดลง และปิดโรงงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในปี 2566 ที่สถานการณ์แย่ลงชัดเจน สอดคล้องกับภาวะการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2565 โดยส่วนต่างระหว่างการเปิดที่มากกว่าปิดโรงงานเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2566-เดือนพฤษภาคม 2567 ลดลงมาอยู่ไม่ถึง 100 โรงงานต่อเดือน จากเดิมที่เคยอยู่ที่ 100-200 โรงงานต่อเดือนในช่วงปี 2563-2565

และหากมองในมิติของขนาดโรงงาน พบว่า พลวัตของโรงงานขนาดเล็กแย่กว่าขนาดใหญ่ โดยในปี 2566 โรงงานขนาดเล็กเปิดใหม่ลดลง 6% แต่ปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง 57% จากปีก่อน ในขณะที่ยังเห็นการเปิดโรงงานขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น และปิดลดลง

ในรายสาขาอุตสาหกรรม พบว่าบางกลุ่มมีอาการน่าเป็นห่วง คือเห็นภาพการปิดโรงงานสูงกว่าเปิดใหม่แล้ว ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น

1) กลุ่มที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ ที่เห็นการปิดตัวของทั้งโรงงานขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากกว่าเปิด

ซึ่งสอดคล้องกับการผลิตในกลุ่มนี้ที่หดตัวสูงต่อเนื่อง จากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และ

2) กลุ่ม SMEs ที่ปรับตัวไม่ได้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตไม้ ยานยนต์และชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ยาง โดยการผลิตในภาพรวมของกลุ่มนี้ยังมีการเติบโต สะท้อนว่ารายใหญ่ยังพอไปได้ แต่มีการปิดตัวของโรงงานขนาดเล็กจำนวนมาก จากอุปสงค์ที่ลดลงตามความนิยมที่เปลี่ยนไป มาตรฐานสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับต่างประเทศได้ รวมถึงบางส่วนเผชิญปัญหาขาดวัตถุดิบป้อนโรงงานจากการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกไปสู่สินค้าเกษตรอื่นที่มูลค่าสูงกว่า เช่น เปลี่ยนจากสวนยางเป็นสวนทุเรียนในภาคใต้



อย่างไรก็ดี ยังมีบางกลุ่มที่แม้การผลิตจะหดตัว แต่เห็นการเปิดโรงงานใหม่มากกว่าปิด เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตมายังไทยต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยเงินลงทุนของโรงงานเปิดใหม่ในสาขานี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 สูงถึง 1.2 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เพราะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกลุ่มที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI สูงสุดในช่วงที่ผ่านมา ทั้งด้านจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน ซึ่งในภาพรวมหากพิจารณาเงินลงทุนของโรงงานที่เปิดใหม่เทียบกับโรงงานที่ปิดตัวไปพบว่า เม็ดเงินลงทุนสุทธิยังคงอยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากสาขาการผลิตอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ และอโลหะ เป็นสำคัญ

ด้านการจ้างงานโดยรวมสอดคล้องกับทิศทางการเปิดและปิดโรงงาน คือการจ้างงานสุทธิยังเป็นบวก แต่โน้มลดลงต่อเนื่อง และเป็นการปรับลดลงในทุกสาขา

โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีการเลิกจ้างงานสูงกว่าความต้องการจ้างงานใหม่จากการเปิดและขยายโรงงาน ในมิติของภูมิภาค การจ้างงานสุทธิลดลงมากในภาคกลางและภาคใต้ สอดคล้องกับสถานการณ์ในภูมิภาคนี้ที่มีจำนวนการปิดสูงกว่าเปิดโรงงาน ซึ่งอาจทำให้การหางานใหม่ของคนในพื้นที่ยากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานที่มีข้อจำกัดด้านการเดินทาง

แม้ในภาพรวมการเปิดและปิดโรงงานยังกระทบต่อเศรษฐกิจไม่มาก เรายังเห็นการเปิดโรงงานใหม่มากกว่าปิดตัว เงินลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้น และการจ้างงานสุทธิยังเป็นบวก

แต่สถานการณ์มีทิศทางแย่ลง และบางอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก จึงควรมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่อยู่ระหว่าง transition และต้องปรับตัว

หากมีการปิดโรงงานเพิ่มขึ้น จะกระทบกับการจ้างงานและรายได้ของแรงงานในกลุ่มที่ปิดไป และการหางานใหม่อาจทำได้ยากจากทั้งในเชิงพื้นที่ ทักษะ (skill mismatch) และอายุของแรงงาน ซึ่งภาครัฐสามารถมีบทบาทในการช่วยแรงงานหางานใหม่ รวมถึง reskill/upskill เพื่อยกระดับทักษะแรงงานให้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจที่ยังขยายตัวได้

** บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด **

ผู้เขียน :
นรีกานต์ วงศ์เจริญยศ
ดร. กิ่งกาญจน์ เกษศิริ

Source: BOT Website
https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/article-2024jul15.html

ไฟไหม้ตลาดจตุจักรอาคารตลาดที่ต่อเติมกันซ้ำซ้อนหลายรอบเป็นอาคารชุมนุมคนหรือไม่?มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้หรือไม่?มีระบบน้...
11/06/2024

ไฟไหม้ตลาดจตุจักร
อาคารตลาดที่ต่อเติมกันซ้ำซ้อนหลายรอบ
เป็นอาคารชุมนุมคนหรือไม่?
มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้หรือไม่?
มีระบบน้ำดับเพลิงอัตโนมัติหรือไม่?

เราจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ ในเมืองนี้ได้อย่างไร?

'คลัง' ยุอปท.กล้าๆหน่อย ดัดหลังเจ้าที่ดินเลี่ยงภาษี
10/06/2024

'คลัง' ยุอปท.กล้าๆหน่อย ดัดหลังเจ้าที่ดินเลี่ยงภาษี

‘คลัง’ ยุอปท.กล้าๆหน่อย ดัดหลังเจ้าที่ดินเล […]

ก่อนลงทุนก้อนใหญ่วิเคราะห์ Traffic ก่อนตัดสินใจกับ Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคตโปรดติดตาม!
08/06/2024

ก่อนลงทุนก้อนใหญ่
วิเคราะห์ Traffic ก่อนตัดสินใจ
กับ Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต

โปรดติดตาม!

เมื่อ LivingPop ชวนเรามาวิเคราะห์ "สายสีทอง คนใช้ไม่ปัง รับ-ส่ง แค่ 7,400 เที่ยว-คนต่อวัน ต่ำกว่าประมาณการถึง 4 เท่า"

บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เปิดเผยข้อมูลว่า รถไฟฟ้าสายสีทอง ที่ให้บริการในเส้นทางช่วง กรุงธนบุรี - คลองสาน มีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 7,400 เที่ยว-คน/วัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มากถึง 4 เท่า โดยผลการศึกษาได้ประมาณการจำนวนผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้าสายสีทองไว้ที่ 30,000 เที่ยว-คน/วัน

ซึ่งจากตัวเลขจำนวนผู้โดยสารที่ทาง KT เปิดเผยออกมาที่ 7,400 เที่ยว-คน/วัน นั่นหมายความว่า กทม. และ KT มีรายได้จากการให้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองอยู่ที่ 118,400 บาท/วัน หรือเดือนละ 3,552,000 บาท ซึ่งตัวเลขจำนวนนี้ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ กทม. และ KT จะต้องจ่ายให้กับผู้รับจ้างเดินรถอย่างแน่นอน ทำให้ต้องประสบกับภาวะขาดทุนตั้งแต่เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายนี้มา

- ที่มาที่ไปของรถไฟสายนี้ -

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นเส้นทางที่อยู่ในแผนระบบขนส่งมวลชนเส้นทางรองของ กทม. แต่ กทม. ได้พับโครงการดังกล่าวไป เนื่องจากปัจจัยทางด้านงบประมาณ และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบตามแนวสายทาง

จนมาวันหนึ่งกลุ่มทุนเจ้าของโครงการ Mixed Use ขนาดใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้เริ่มพัฒนาโครงการ จึงได้มีการหยิบยกเส้นทางที่อยู่ในแผนของ กทม. ที่ถูกพับไปขึ้นมาปัดฝุ่น โดยให้เหตุผลว่า เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรโดยรอบโครงการ Mixed Use รวมทั้งเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการโครงการ Mixed Use และชุมชนโดยรอบแนวสายทาง

ซึ่งกลุ่มทุนดังกล่าวได้สนับสนุนเงินค่าก่อสร้างโครงการให้กับกรุงเทพมหานคร ในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง เฟสแรก ในช่วง กรุงธนบุรี - คลองสาน โดยแลกกับการที่กลุ่มทุนดังกล่าวได้สิทธิ์ในพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งหมดในระบบรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นระยะเวลา 30 ปี

ทางฝั่ง กทม. ก็ได้ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว และมอบหมาย KT เป็นผู้ดำเนินการ โดย KT ได้ว่าจ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุงในเส้นทางดังกล่าว สำหรับการจัดเก็บค่าโดยสาร กทม. และ KT จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด (รายได้เข้าจากค่าโดยสารเข้า กทม. และ KT)

ทั้งนี้ งบประมาณที่ทางกลุ่มทุนโครงการ Mixed Use สนับสนุนให้กับ กทม. นั้น จะเป็นเพียงค่าก่อสร้างงานโยธา ค่าจัดหาและติดตั้งระบบเท่านั้น และ กทม. จะต้องรับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณของ กทม. มาดำเนินการว่าจ้างผู้เดินรถ ซ่อมบำรุง รวมทั้งก่อสร้างส่วนต่อขยายระยะต่อๆ ไป

นั่นก็หมายความว่า ค่าจ้าง BTSC เดินรถและซ่อมบำรุง รวมทั้งก่อสร้างส่วนต่อขยาย กทม. จะต้องหาเงินมาจ่ายเอง กลุ่มทุนนั้นไม่เกี่ยวแล้ว โดย กทม. จะมีรายได้จากสายสีทองนี้เพียงแค่ค่าโดยสารเท่านั้น ไม่สามารถนำพื้นที่ไปหารายได้จากโฆษณาเชิงพาณิชย์เพื่อมาอุดหนุนค่าโดยสารได้ เนื่้องจากได้ให้สิทธิ์พื้นที่โฆษณาเชิงพาณิชย์ในระบบรถไฟฟ้าสายสีทองกับกลุ่มทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่รับเงินสนับสนุนการดำเนินโครงการมา

- เส้นทางสั้นสุด จำนวนรถน้อยสุด อนาคตต่อขยายริบหรี่ -

รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน มีระยะทาง 1.7 กิโลเมตร มีสถานี 3 สถานี เริ่มจากสถานีกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS สายสีลม ไปตามถนนคู่ขนานถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายที่แยกท่าน้ำเป๊ปซี่ ไปตามถนนเจริญนคร จนถึงแยกคลองสาน และสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีคลองสาน บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

ให้บริการด้วยรถไฟล้อยางขนาดเล็ก ยี่ห้อ Alstom (Bombardier เดิม) รุ่น Innovia APM 300 ความยาว 2 ตู้/ขบวน จำนวน 3 ขบวน ความจุผู้โดยสารโดยประมาณขบวนละ 200 คน (ตู้ละ 100 คน)

ความถี่ให้บริการอยู่ระหว่าง 8 - 15 นาที/ขบวน แล้วแต่ช่วงเวลา ดังนี้

วันธรรมดา
เวลา 06:00น. - 07:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 15 นาที/ขบวน
เวลา 07:00น. - 16:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 10 นาที/ขบวน
เวลา 16:00น. - 21:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 8 นาที/ขบวน
เวลา 21:00น. - 22:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 10 นาที/ขบวน
เวลา 22:00น. - 24:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 15 นาที/ขบวน

วันหยุด
เวลา 06:00น. - 10:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 15 นาที/ขบวน
เวลา 10:00น. - 15:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 10 นาที/ขบวน
เวลา 15:00น. - 22:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 8 นาที/ขบวน
เวลา 22:00น. - 23:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 10 นาที/ขบวน
เวลา 23:00น. - 24:00น. ให้บริการด้วยความถี่ 15 นาที/ขบวน

ค่าโดยสาร 16 บาท ราคาเดียวตลอดสาย

- จำนวนรถน้อย คอยรถนาน พื้นที่บริการไม่ครอบคลุม -

อย่างที่เราเล่าไปในตอนต้น ระบบรถไฟฟ้าสายสีทอง มีจำนวนรถไฟในระบบทั้งหมดแค่ 3 ขบวนเท่านั้น จึงเป็นสาเหตุที่ผู้ใช้บริการต้องคอยรถไฟนาน และจะยิ่งนานขึ้นถ้าใช้บริการในช่วงที่ให้บริการด้วยความถี่ 15 นาที/ขบวน แล้วคุณขึ้นไปถึงชานชาลาพอดีกับเวลาที่ประตูรถไฟปิดพอดี คุณอาจจะต้องใช้เวลาในการเดินทางนานถึง 21 นาที กับการเดินทางในระยะทางเพียงแค่ 1.7 กิโลเมตร เมื่อผู้ใช้บริการเจอประสบการณ์การเดินทางแบบนี้บ่อยๆ เข้า จึงเลือกที่จะเปลี่ยนไปใช้การเดินทางรูปแบบอื่นๆ ที่ตอบโจทย์การเดินทางมากกว่าแทน

อีกทั้ง การจัดตารางการเดินรถของรถไฟฟ้าสายสีทองยังไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวตของคนทั่วไป ปกติแล้วในช่วงเวลาเร่งด่วนจะต้องจัดการเดินรถถี่ๆ แต่สายสีทองนั้นกลับตรงกันข้าม ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าของวันธรรมดา เดินรถด้วยความถี่ 10 - 15 นาที/ขบวน แต่ในขณะเดียวกันในช่วงเวลาที่คนยังไม่เลิกงาน กลับเดินรถด้วยความถี่ 8 นาที/ขบวน อันนี้ก็ไม่แน่ใจว่าจัดตารางการเดินรถเอื้อธุรกิจใด ขอให้ผู้อ่านไปตีความกันเอาเองละกันนะครับ

นอกจากนี้ จำนวนและตำแหน่งที่ต้องของสถานีในระบบรถไฟฟ้าสายสีทอง ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร จึงเป็นที่มาของกระแสสังคมที่ว่า "รถไฟฟ้าเพื่อห้าง" เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีทองเป็นเส้นทางสายรองที่ทำหน้าที่ป้อนผู้โดยสารเข้าสู่เส้นทางสายหลัก (Feeder) แต่พื้นที่ให้บริการ (Catchment Area) ของรถไฟฟ้าสายนี้ ยังไม่ครอบคลุมชุมชนโดยรอบแนวสายทางทั้งหมด ด้วยความที่เป็นสาย Feeder ระยะห่างระหว่างสถานีไม่จำเป็นต้องมากถึง 1 กม. เท่ากับเส้นทางสายหลักก็ได้

แต่เส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีทอง เมื่อออกจากสถานีกรุงธนบุรีแล้ว จะไปจอดอีกทีคือที่สถานีเจริญนคร ที่อยู่ด้านหน้าโครงการ Mixed Used ขนาดใหญ่ โดยมีระยะห่างจากสถานีกรุงธนบุรีมากถึง 1.2 กิโลเมตร มากกว่ารถไฟฟ้าสายหลักบางช่วงเสียอีก

ซึ่งในความเห็นเรามองว่า ในระยะทาง 1.2 กิโลเมตร ของสายสีทองช่วงนั้น ยังสามารถเพิ่มสถานีได้อีก 2 สถานี ได้แก่

1) บริเวณก่อนถึงแยกเป๊ปซี่ เพื่อรองรับประชาชนในชุมชนซอยเจริญนคร 14
2) บริเวณด้านหน้าวัดสุวรรณ เพื่อรองรับประชาชนที่มาวัดสุวรรณ และชุมชนโดยรอบ รวมทั้งโรงแรมเพนนินซูล่า

จริงๆ สามารถเพิ่มสถานีที่ 2 จุดนี้ได้ แต่โครงการกลับเลือกที่จะมองข้ามบริเวณเหล่านี้ไป ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ชุมชนโดยรอบแนวสายทางไม่สามารถเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าได้ ทำได้แค่มองขบวนรถไฟฟ้าเปล่าๆ วิ่งผ่านไปจากด้านล่างเท่านั้น ทำให้ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองส่วนใหญ่ จึงเป็นผู้ใช้บริการโครงการ Mixed Use มากกว่า

"ทีตอนที่ปรึกษาโครงการไปอ้อนวอนขอชาวบ้านแถวนั้นทำโครงการ อ้างประโยชน์เพื่อชาวบ้านสารพัดต่างๆ นาๆ ชาวบ้านแถวนั้นยอมทนรถติด ทนกับปัญหาจราจรที่เกิดขึ้น แต่พอได้สร้างจริงๆ โครงการกลับไม่เห็นหัวพวกเขาเลยแม้แต่นิดเดียว"

นี่ยังไม่นับประเด็นค่าโดยสารที่แพง เมื่อเทียบกับคุณภาพการบริการ และระยะทางในการเดินทางอีกนะ

- อนาคตต่อขยายที่ริบหรี่ ต่อขยายไปหาสีม่วงก็อาจจะไม่ปัง -

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทองยังขาดส่วนต่อขยายอีก 1 ช่วง นั่นคือช่วง คลองสาน - ประชาธิปก ซึ่งสถานีประชาธิปก จะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ การก่อสร้างเส้นทางส่วนต่อขยายช่วงนี้ กทม. จะต้องจัดหางบประมาณมาดำเนินการเอง ไม่มีเอกชนมาสนับสนุนแล้ว และปัจจุบัน กทม. มีโครงการอื่นๆ ที่จำเป็นเร่งด่วนมากกว่าส่วนต่อขยายสายสีทอง งบประมาณของ กทม. จึงอาจจะต้องไปลงให้กับโครงการเหล่านั้นแทน สุดท้าย กว่าส่วนต่อขยายสายสีทองจะได้สร้าง เผลอๆ Alstom ออก APM รุ่นใหม่แล้วละมั้ง

นอกจากนี้ องค์ประกอบในระบบรถไฟฟ้าสายสีทอง อย่างศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ไม่เพียงพอต่อการต่อขยายไปมากกว่านี้อีกแล้ว ตัว Depot ของสายสีทอง เป็นโครงสร้างยกระดับอยู่เหนือถนนคู่ขนานถนนกรุงธนบุรีฝั่งขาเข้า ติดกับสถานีกรุงธนบุรี ซึ่งมีข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ การเพิ่มจำนวนขบวนรถในอนาคตอาจจะทำได้ยาก เนื่องจากพื้นที่จอดพักรถ พื้นที่ซ่อมบำรุง มีอยู่อย่างจำกัด ขยายไปประชาธิปกนี่ก็ตึงๆ ตัวแล้วละ หรือไม่แน่ ส่วนต่อขยายสร้างเสร็จ แต่ก็คงต้องให้บริการด้วยความถี่แบบพังๆ แบบทุกวันนี้นั่นแหละ

ส่วนการต่อขยายไปเชื่อมกับสายสีม่วง จะช่วยเพิ่มคนใช้บริการไหม? ในความเห็นเรา เราว่าเพิ่มได้แต่อาจจะไม่มากเท่าที่ประมาณการไว้ เนื่องจากถ้าหากต้องการจะใช้สายสีทองเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่าง BTS สายสีลม - สายสีแดง ที่ไม่รู้ชาติไหนส่วนนี้จะเสร็จ - MRT สายสีม่วง ไม่มีความจำเป็นเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะเส้นทางทั้ง 3 มีจุดเชื่อมต่ออยู่ที่สถานีวงเวียนใหญ่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การเชื่อมต่อที่สถานีวงเวียนใหญ่ ให้ความสะดวกที่มากกว่า

แล้วยิ่งถ้ายังยึดติดการกำหนดตำแหน่งสถานีของสายสีทองแบบปัจจุบัน แบบที่ไม่เห็นหัวชาวบ้านในพื้นที่แบบเดิม จำนวนผู้โดยสารก็อาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

สุดท้าย สายสีทอง ก็คงทำหน้าที่ได้แค่ Feeder ขนคนเข้าห้าง แบบที่สังคมเขาปรามาสนั่นแล

Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต เป็นกำลังใจให้ทุกคนจ้า
01/06/2024

Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต
เป็นกำลังใจให้ทุกคนจ้า

Let us cultivate our city!
30/05/2024

Let us cultivate our city!

เป็นหมอที่ไหนทำงานหนักที่สุด?เจาะดูรายเทศบาลว่า จำนวนประชากรต่อแพทย์ 1 คน ที่ไหนสูง ที่ไหนต่ำจำนวนเคสผู้ป่วย OPD IPD เขต...
24/05/2024

เป็นหมอที่ไหนทำงานหนักที่สุด?

เจาะดูรายเทศบาลว่า จำนวนประชากรต่อแพทย์ 1 คน ที่ไหนสูง ที่ไหนต่ำ
จำนวนเคสผู้ป่วย OPD IPD เขตไหนมากน้อย
Filter แยกประเภท โรงพยาบาลศูนย์/ชุมชน/รพ.สต./เอกชน
ตรวจดูจำนวนบุคลากร รายโรงพยาบาลได้แล้ววันนี้

ใช้งานได้ที่: https://landometer.com/citymeter/healthcare

ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to Landometer.com: จัดการที่ดิน อย่างเห็นอนาคต:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share