วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กทม.
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่าวัดสลัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว
่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลัก เป็น วัดนิพพานาราม
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช
วัดมหาธาตุเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง
ในปลาย พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการบอกพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ต่อมา ใน พ.ศ. 2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หลังจากนั้น จะทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งจะได้พระราชทานนามว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธาวาส
ใน พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุและพระราชทานนามว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”
ที่มา : ข่าวสดรายวัน -25 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6540
คอลัมน์ ไหว้พระประธาน 76 จังหวัด
"พระศรีสรรเพชญ์" เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 5.16 เมตร วัสดุก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 ทรงเคารพศรัทธาสูงสุด
ประดิษฐานเป็นพระประธานใหญ่ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้เคยตั้งสัตยาธิษฐาน ขอบารมีให้ช่วยคุ้มครองจากข้าศึกในระหว่างทรงร่วมกอบกู้ชาติบ้านเมือง เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
พระศรีสรรเพชญ์ เป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง
สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โปรดให้พระยาเทวารังสรรค์ ช่างวังหน้า เป็นผู้ปั้น "พระศรีสรรเพชญ์" ขึ้น เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ (ขณะนั้นเรียกชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์ คือ ในระหว่างปี พ.ศ.2331-2346 ซึ่งเป็นยุคต้นของรัตนโกสินทร์)
พร้อมกับการปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ทั่วทั้งพระอาราม ในครั้งนั้นนามของพระประธาน จึงอนุโลมตามชื่อวัดไปด้วย
มีเรื่องราวบันทึกไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ใกล้สวรรคต ได้เสด็จขึ้นพระเสลี่ยงไปที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อทรงนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงจบพระหัตถ์อุทิศถวายพระแสงดาบให้ทำเป็นราวเทียน โปรดให้จุดเทียนเรียงติดไว้ที่พระแสง เมื่อครั้งทรงพระประชวรในปลายสมัยของพระองค์ เพื่อเป็นพุทธบูชา
ต่อมาในปี พ.ศ.2387 วัดชำรุดทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอาราม โปรดให้เสริมส่วนสูงพระอุโบสถเพิ่มขึ้น 1 ศอก
ในการนี้ พระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระประธานได้รับการเสริมสร้างให้ใหญ่ขึ้นตามพระอุโบสถ โดยพระยาชำนิรจนาเป็นผู้ปั้น ในเวลาต่อมาองค์พระได้รับการปิดทองใหม่อีก 2 ครั้ง คือใน พ.ศ.2445 เกิดอสุนีบาตพระอุโบสถด้านตะวันตก พระประธานต้องสายฟ้าดำไปทั้งองค์ และอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ.2467
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดสลัก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ.2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลัก เป็น วัดนิพพานาราม
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ.2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดพระศรีสรร เพชญ์"
พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช
วัดมหาธาตุฯ เป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระ ราชทานเพลิงพระบุพโพ เจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง
ในปลาย พ.ศ.2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุฯ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการสอนพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ต่อมา ใน พ.ศ.2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
หลังจากนั้น ทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งได้พระราชทานนามว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธา วาส
ใน พ.ศ.2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุฯ และพระราชทานนามว่า "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์"
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร
ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๒๑-๔๘๕๙, ๐-๒๒๒๒-๑๘๖๗
ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ๑ ใน ๖ ของไทย และเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของไทย คือ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.)