
14/12/2024
สมัยที่ผมเป็นพนักงาน Full time ตอนนั้นผมจำได้ว่า ถ้าเทียบกับเพื่อนในอายุใกล้เคียงกัน ผมน่าจะมีเงินเดือนที่สูงกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันประมาณ 10-12 เท่าได้ (แน่นอนว่า ไม่ใช่แค่ผมคนเดียว ยังมีเพื่อนรุ่นเดียวกับผม ที่ทำได้เหมือนกัน และหลายคน ทำได้มากกว่าผมด้วย)
ถึงแม้ในตอนนั้นผมจะยังหาคำตอบไม่ได้ ว่าเหตุผลที่แท้จริงที่บริษัทยอมจ่ายเงินเดือนสูงขนาดนั้น เป็นเพราะอะไรกันแน่ (คือยอมรับว่ามั่นใจใน skill ของตัวเองอยู่ แต่ก็ยังอยากรู้เหตุผลที่แท้จริงอยู่ดี)
วันเวลาผ่านมา ผมเปลี่ยนไปหลายบทบาท ทั้งเป็นเจ้าของธุรกิจธุรกิจส่วนตัว, เป็นผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่, กรรมการของบริษัทที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด และบทบาทที่ผมภูมิใจที่สุด คือ อาจารย์ MBA
ผมยกเรื่องนี้ไปคุยกับผู้บริหาร เจ้าของบริษัท ที่เป็นลูกศิษย์มามากกว่า 100 แห่ง (บางกิจการที่มีพนักงานที่อายุยังน้อย แต่เงินเดือนเป็นแสน และเค้าบอกผมกับปากว่า ไม่เสียดายเงินเลยแม้แต่น้อย)
ซึ่งผมไม่ได้พยายามหาคำตอบด้วยการคิดเองเออเอง
และหลังจากรวบรวมข้อคิดจากทุกคนได้แล้วผมจึงสรุปออกมาได้เป็น 30 ข้อ ต่อไปนี้
1. ในช่วงเริ่มต้นของสายอาชีพ ระดับเงินเดือนที่สูงขึ้น อาจหมายถึง ความสามารถที่เพิ่มขึ้น (แต่ก่อนทำได้แค่ 1 แต่พอทำ 2 ได้ ก็เป็นประโยชน์กับบริษัทมากขึ้น บริษัทจึงให้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น) สิ่งนี้ ผมเรียกว่า Function
2. ถ้าเปรียบเทียบ “เงินเดือน” เป็น “ราคาสินค้า” เวลาเราซื้อสินค้า แล้วยอมซื้อสินค้าราคาแพง จริงๆ แล้วไม่ใช่เพราะ Function แต่ยอมจ่ายเพราะ Value
3. ดังนั้นจุดที่จะฉีกเงินเดือนของแต่ละคน ให้ห่างกันมากที่สุด จึงไม่ใช่เรื่องของ Function แต่คือเรื่องของ Value
4. Value ที่สำคัญที่สุดของผู้บริหาร ก็คือ ”ความไว้ใจ“
5. “ความไว้ใจ” ถ้าถามว่าตีเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ผมอาจจะตอบว่าประเมินค่ามิได้
6. ไม่ว่าจะเป็น ไว้ใจคนนี้เพราะไม่เคยทำให้ผิดหวัง,
ไว้ใจคนนี้เพราะสั่งอะไรไปแล้วไม่เคยต้องทวงถามติดตาม,
ไว้ใจคนนี้เพราะเวลาเกิดปัญหาเค้าจะคิดถึงผลประโยชน์ของบริษัทก่อนเสมอ
7. คุณอาจจะเคยได้ยินเรื่อง ”อยากให้ พนักงาน ประพฤติแบบไหน ก็ต้องออกกฎเกณฑ์ มาควบคุมสิ“
8. แต่เชื่อไหมว่า กฎเกณฑ์ คือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
9. ตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้คือเรื่องเล่าของ แดเนียล แพทริก นักจิตวิทยาองค์กรชื่อดัง ที่ยกตัวอย่างว่า
ถ้าเค้าเปิดร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์
แล้วพนักงานสูบบุหรี่ก่อนมาทำงาน
(ถึงแม้ว่าพนักงานจะบอกว่าเขาสูบนอกเวลางาน เขาผิดตรงไหน)
แต่การที่จะต้องออกกฎเกณฑ์มาควบคุมทุกเรื่องที่ควรเป็นสามัญสำนึกพื้นฐานของร้านอาหารระดับมิชลิน คงมีเป็น 500 ข้อแน่ๆ
ดังนั้น เรื่องนี้ผู้บริหารจึงต้องถามตัวเองว่า
อยากออกกฎมาควบคุมคนที่ไว้ใจไม่ได้
หรืออยากได้คนที่ไว้ใจได้มาร่วมงานกันแน่
10. ซึ่งนั้นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมพนักงานที่บริการในร้านอาหารระดับมิชลิน ถึงมีฐานเงินเดือนที่มากกว่าพนักงานที่บริการในร้านอาหารอื่นๆ ที่อายุใกล้เคียงกัน เพราะเขามีความไว้ใจที่สมควรได้รับมากกว่านั่นเอง
11. ผู้บริหาร ไม่ได้ต้องการ บริษัทที่มี 1 หัวแต่ 100 มือ
12. เขาอยากได้หัวที่ 2-3-4-5 มาช่วยคิด (แต่หัวที่มาช่วยคิด ก็ต้องเป็นหัวที่ดีด้วย)
13. บางคนอาจจะสงสัยว่า หัวคิด ที่ว่านั้น จะมีความคิดที่ดีกว่าเจ้าของหรือผู้บริหารได้ยังไง
14. คำตอบก็คือ ”อาจจะไม่“ และ “ไม่จำเป็น” ต้องดีกว่า ด้วย
15. ผู้บริหารก็เป็นคนเหมือนกัน เขามีด้านที่เขาคิดได้ดี แต่ในองค์กรที่เติบโตขึ้น ย่อมจะต้องมีด้านที่ผู้บริหารมองไม่เห็นหรือคิดไม่ถึง
16. ด้านหลังนี่เองคือสิ่งที่ ผู้บริหารยิ่งต้องการคนที่ “ไว้ใจได้” มากกว่าครั้งไหนๆ
17. เพราะตอนเป็นองค์กรขนาดเล็ก แค่สอดส่องสายตาก็รู้แล้วว่าปัญหามีอะไรบ้าง
18. แต่เมื่อองค์กรใหญ่ขึ้น เป็นไปไม่ได้ที่ผู้บริหารจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้
19. ซ้ำร้ายไปกว่านั้นพนักงานส่วนใหญ่ ยังมีแนวคิดว่า ทำไมที่นี่ปัญหาเยอะจัง
20. ถามว่าผู้บริหารอยากให้องค์กรของตัวเองมีปัญหาไหม คำตอบก็คือ ”ไม่“
21. ดังนั้นในเวลาแบบนี้ คนที่ “ไว้ใจได้” จึงเป็นเสมือนฮีโร่ที่เข้ามาช่วยองค์กร
22. เห็นปัญหา ไม่ยาก
23. เห็นปัญหา แล้วบ่น ก็ไม่ยาก
24. เห็นปัญหา แล้วหาวิธีแก้ เพื่อส่วนรวม