ANTI SLAPP

ANTI SLAPP Anti-Strategic Lawsuit Against Public Participation Law. Anti Strategic Lawsuit against Public Participation.

22/07/2024

SLAPP

“เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง'ขอนายกฯ ดำเนินคดีผู้แสดงออกทางการเมืองด้วยความเป็นธรรม”
06/03/2024

“เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง'
ขอนายกฯ ดำเนินคดีผู้แสดงออกทางการเมืองด้วยความเป็นธรรม”

'เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง' ขอนายกฯ ชะลอการดำเนินคดีผู้แสดงออกทางการเมืองระหว่างที่ พ.ร.บ.นิรโ....

เสวนาเรื่อง “SLAPP”
15/02/2024

เสวนาเรื่อง “SLAPP”

#เสวนาวิชาการ
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญทุกท่านร่วมรับฟังการเสวนาเรื่อง “SLAPP : เชื่อมโยง ตีความ ปกปิด เสรีภาพ​ท่ามกลาง​การ​ทำงานสื่อ”
วันพฤหัสบดีที่15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30-15.00 น.
ถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊กเพจ JCThammasat

ปลดอคติฝังหัว ถอดความกลัว... ชุดมลายู
10/02/2024

ปลดอคติฝังหัว ถอดความกลัว... ชุดมลายู

ถ้าการที่คนไทยสวมชุดกี่เพ้า ในวันตรุษจีน... ใส่กิโมโนเที่ยวภูลมโลชมซากุระเมืองไทย หรือ แต่งกายชุดชาติพัน.....

GROUP PHOTO.
07/02/2024

GROUP PHOTO.

Group Photo @ 11.2 LOVE FAIR

11 กุมภาพันธ์ 2567 เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนขอเชิญชวนประชาชนที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมืองตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา 2549 ทุกคน มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการ “ถ่ายภาพหมู่” ครั้งประวัติศาสตร์ของผู้คนที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมือง

เป็นเวลานานเกือบ 20 ปีแล้วที่เกิดความขัดแย้ง การชุมนุมขนาดใหญ่ การจับกุมและดำเนินคดีกับประชาชนที่ต้องการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมือง ทำให้มีคดีความที่สะสมมานานมีคนที่เกี่ยวข้องและถูกดำเนินคดีเกือบๆ 5,000 คน และเราเดินหน้ามาถึงวันที่รัฐสภากำลังพูดคุยเรื่องการ “นิรโทษกรรม”

เพื่อส่งเสียงถึงความสำคัญที่จะต้องนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองให้กับประชาชน จึงชวน “เจ้าของเรื่อง” ทุกคนมา “ปรากฏตัว”​ร่วมกันและส่งเสียงถึงสภา ในกิจกรรม LOVE FAIR 11.2 ที่ลานประชาชน ข้างอาคารรัฐสภา

นอกจากถ่ายภาพประวัติศาสตร์ร่วมกันแล้ว วันนี้ยังเป็นโอกาสที่ประชาชนที่เคยถูกดำเนินคดีทุกคนจะได้อัพเดทชีวิต และความคืบหน้าของคดีความ เพื่อร่วมส่งต่อความรัก ความหวัง และกำลังใจ ให้แก่กันในระหว่างที่ยังต้องรอการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและนโยบาย

กำหนดการ งาน LOVE FAIR 11.2

16.00 - 17.00 ลงทะเบียนรับของที่ระลึก
17.00 - 17.30 ถ่ายภาพประวัติศาสตร์ร่วมกันของ ‘ประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมือง’
18.00 - 20.30 เวที ดนตรี ทอล์ค

#นิรโทษกรรมประชาชน

06/02/2024

"Freedom of Expression"

เสรีภาพการแสดงออก ในระดับปัจเจกบุคคลเสรีภาพในการพูด
และการแสดงออกทำให้คนแต่ละคนสามารถแสดงถึงตัวตน
แม้เป็นไปด้วยความแตกต่างจากคนอื่นและปทัสถานของสังคมนั้น
ไม่ว่าจะผ่านการแต่งตัว หรืออะไรก็แล้วแต่ ล้วนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

องค์กรสื่อใต้เงา ‘งบโฆษณาประชาสัมพันธ์’ เมื่อ ‘ความอยู่รอด’ สะเทือน ‘ความโปร่งใส’
02/02/2024

องค์กรสื่อใต้เงา ‘งบโฆษณาประชาสัมพันธ์’ เมื่อ ‘ความอยู่รอด’ สะเทือน ‘ความโปร่งใส’

101 ชวนดูผลวิจัยที่สะท้อนว่าเนื้อหาโฆษณาประชาสัมพันธ์กำลังเป็นปัญหาเรื่องความโปร่งใสของสื่อไทย

ART&CULTURE: Salon ดั้งเดิมไม่ได้แปลว่า'ร้านทำผม' แต่มันคือ งานปาร์ตี้ปัญญาชนที่มีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ในยุคสมัยใหม่ตอ...
02/02/2024

ART&CULTURE: Salon ดั้งเดิมไม่ได้แปลว่า
'ร้านทำผม' แต่มันคือ งานปาร์ตี้ปัญญาชน
ที่มีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ในยุคสมัยใหม่ตอนต้น

ART&CULTURE: Salon ดั้งเดิมไม่ได้แปลว่า 'ร้านทำผม'
แต่มันคือ งานปาร์ตี้ปัญญาชน
ที่มีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ในยุคสมัยใหม่ตอนต้น
เวลาพูดถึง 'ซาลอน' คนยุคปัจจุบันก็คงจะนึกถึงร้านทำผม ร้านเสริมสวย อย่างไรก็ดีจริงๆ คำนี้มีประวัติยาวนานในประวัติศาสตร์ และมันหมายถึง 'งานปาร์ตี้แลกเปลี่ยนความคิด' และที่จริงความหมายนี้ก็ใช้มาตั้งแต่ราวๆ 400 ปีก่อน มาจนถึงปัจจุบันที่ยังมีคนจัดงานประเภทนี้อยู่ แม้ว่าเวลาพูดถึง 'ซาลอน' คนทั่วไปจะนึกถึงร้านทำผมก็ตาม
แล้วสิ่งที่เรียกว่า 'งานปาร์ตี้แลกเปลี่ยนความคิด' มันกลายมาเป็น 'ร้านทำผม' ได้อย่างไร
เราไม่การันตีคำตอบ แต่เราจะพาย้อนอดีตไปหาข้อสันนิษฐานกัน
ดั้งเดิม คำว่า ‘salon’ เป็นภาษาฝรั่งเศส หมายถึงห้องโถงใหญ่ในบ้าน (ภาษาอื่นก็มีคำคล้ายกัน เช่น อิตาเลียนเรียก salone เยอรมันเรียกว่า sala) ซึ่งคำนี้ต่อมากลายมาเป็นคำเรียกที่หมายถึง 'งานปาร์ตี้ที่เน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยน' ในหมู่อภิชน พ่อค้ารวยๆ ปัญญาชน และพวกศิลปิน
และที่เรียกงานปาร์ตี้แบบนี้ว่า Salon ก็เพราะงานปาร์ตี้นี้จะจัดในห้องโถงใหญ่ของเจ้าบ้านเสมอ
หลายคนคงพอนึกภาพ 'งาน' เหล่านี้ออก มันจะเรียก 'งานเลี้ยง' ก็ไม่ใช่ จะเรียก 'งานประชุม' หรือ 'งานสัมมนา' ก็ไม่เชิง มันเป็นอะไรที่ต่างออกไป ที่เป็นการนัดคนมารวมตัวกัน มีการสังสรรค์บ้าง แต่ที่เน้นคือการพูดคุยเพื่อให้ก่อเกิดปัญญา บางทีก็จัดขึ้นในตอนบ่าย บางทีก็จัดตอนค่ำ อันนี้แล้วแต่เจ้าภาพเลย
แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เราต้องย้อนกลับไปยุโรปยุคสมัยใหม่ตอนต้น คือยุคหลังจากการปฏิวัติการพิมพ์และก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส
สังคมยุโรปในยุคนั้นเปลี่ยนจากยุคกลางไปมาก พวกชนชั้นสูงเริ่มเข้าถึงความคิดใหม่ๆ ผ่าน 'สิ่งใหม่ในสังคม' อย่าง 'หนังสือ' ซึ่งยุคนั้นคนทั่วไปส่วนมากยังอ่านหนังสือไม่ออกกัน คนอ่าน 'หนังสือ' ออกก็ไม่ได้มีแค่พวกชนชั้นสูง แต่จะมีบรรดาชนชั้นพ่อค้าที่เป็นชนชั้นที่ 3 ในสังคมที่เริ่มอ่านออกเขียนได้ เพราะคนเหล่านี้ต้องอ่านสัญญาการค้า (ส่วนชนชั้นแรกที่อ่านออกเขียนได้คือ พระ ที่ต้องอ่านคัมภีร์ ส่วนชนชั้นที่ 2 คือชนชั้นสูงเก่าอย่างอภิชน ที่ต้องอ่านกฎหมาย)
แน่นอน พอคนเริ่มอ่านหนังสือออก ก็เริ่มเปิดรับไอเดียใหม่ๆ เริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของสังคม แต่ยุคนั้นไม่มี Twitter หรือกระทั่ง Facebook ให้ไปพ่นหรือแลกเปลี่ยนความคิด และอันที่จริงยุคนั้นแม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ยังไม่มีเลย
ดังนั้นมันจึงไม่มี 'พื้นที่แลกเปลี่ยนทางความคิด' คำถามคือ แล้วคนมีความคิดจนถึงขั้นอัดอั้นอยากแลกเปลี่ยนจะทำยังไง?
คำตอบคือ พวกเมียของเหล่าอภิชนที่วันๆ ว่างจัด ไม่ต้องทำงาน และได้อ่านหนังสือเยอะๆ ก็เกิดความคิดว่า ถ้าจัดงานให้คนที่อ่านหนังสือมารวมตัวกันคุยกันน่าจะเข้าท่า และบ้านของพวกเธอก็โอ่โถงอยู่แล้ว จัดงานให้คนหลายสิบคนมารวมตัวกันเพื่อพูดคุยกันได้สบาย พวกเธอจึงเริ่มส่งเทียบเชิญ พอมีคนเข้าร่วม งานพวกนี้ก็เริ่มจัดเป็นประจำทุกสัปดาห์ และคนก็เริ่มเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดกันมากขึ้นๆ
สิ่งนี้เกิดขึ้นพร้อมกันแบบไม่นัดหมายทั่วยุโรปตะวันตก ตอนแรกมันไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำ แต่ตอนหลังมาโด่งดังที่ฝรั่งเศส เขาเลยเรียกไปตามภาษาฝรั่งเศสว่า Salon และมันก็กลายมาเป็น 'สถาบัน' ทางสังคมมานับแต่นั้น
สิ่งที่คุยกันใน Salon มีหลากหลาย และจริงๆ บางทีมันก็แล้วแต่ธีมที่ 'เจ้าภาพ' จะชักชวนให้คนมาคุยกัน ซึ่งกิจกรรมภายใน Salon นั้นเขาก็จะบอกว่ามันมีลักษณะ 'แลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียมกัน' ซึ่งต่างจากการไปสังสรรค์ตามงานเลี้ยงแบบปกติของเหล่าอภิชน ที่จริงๆ ก็ไม่ได้ต่างจาก 'งานสังคม' สมัยนี้ ที่คนไปเพื่อ 'เข้าสังคม' มากกว่าจะไป 'แลกเปลี่ยนความคิด' เหมือนตอนไป Salon
แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะเถียงกันวุ่นวายถึงรายละเอียดของ Salon (ประวัติศาสตร์นิพนธ์ของ Salon นี่เป็นประเด็นใหญ่อย่างหนึ่งในทางประวัติศาสตร์ช่วงยุคนี้เลย)
แต่รวมๆ ก็คือเห็นร่วมกันว่า Salon เป็นแหล่งระดมความคิดที่สำคัญในยุโรป และถ้าไม่มี Salon เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เหตุการณ์อย่างการ 'ปฏิวัติฝรั่งเศส' ก็คงเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะผู้คนคงไม่รู้จักคอนเซ็ปต์ใหม่ๆ อย่าง 'ความเท่าเทียม'
แต่แล้ว Salon ก็ค่อยๆ หมดหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ไปในช่วงศตวรรษที่ 19 คือพวกอภิชนที่เคยจัด Salon นั้นหมดอำนาจไปหมดแล้ว ชนชั้นนำใหม่อย่างพวกชนชั้นกลางก็ไม่นิยมจัด Salon อีก นอกจากนี้ 'พื้นที่ถกเถียงทางสังคม' ใหม่อย่าง 'หนังสือพิมพ์' ไปจน 'นิตยสาร' ต่างๆ ก็แพร่หลายขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ คนในศตวรรษที่ 19 ถ้าอยากถกเถียงกับคนอื่น เขาไม่เถียงกันใน Salon แล้ว แต่จะถกเถียงด้วยการเขียนผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ซึ่งเราก็จินตนาการได้ไม่ยากว่าสิ่งเหล่านี้ผ่านมา 200 ปี มันก็ได้พัฒนามาเป็นการโพสต์ความคิดผ่านทางโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook หรือถกเถียงกันใน Twitter (X) เช่นปัจจุบัน
เอาง่ายๆ ต้นศตวรรษที่ 20 คนก็แทบไม่รู้แล้วว่า Salon ในความหมายเก่าคืออะไร มันเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มที่พวกปัญญาชนในบางประเทศยังคงมีการจัดอยู่เท่านั้น
แต่ช่วงนี้เองความหมายใหม่ของ Salon ก็เกิดขึ้น และความหมายที่ว่านั้นก็คือ 'ร้านทำผม' และ 'ร้านเสริมสวย'
ความหมายใหม่นี้เขาบอกว่ามันเริ่มใช้เมื่อประมาณปี 1913 ซึ่งว่ากันว่ามันสะท้อนบทบาทของผู้หญิงที่เริ่มเปลี่ยนไปหลังสงครามโลก เพราะถ้าไม่มีสงครามโลก ก็ยากที่คนยุโรปจะยอมให้ผู้หญิง 'ออกมาทำงานนอกบ้าน'
ในยุคที่ผู้หญิงออกมาทำงานนอกบ้านนี้เอง สถานที่ที่สาวๆ ไปรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด (หรือจริงๆ ก็อาจแค่ 'นินทาชาวบ้าน') ก็คือ Salon ในความหมายใหม่ที่หมายถึงร้านทำผมนี่เอง แน่นอนว่า Salon ในแบบร้านเสริมสวยมาบูมจริงๆ ก็ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ผู้หญิงออกไปทำงานนอกบ้านกันเป็นเรื่องปกติ และแฟชั่นยุคนั้นผู้หญิงก็ต้องไป 'ทำผม' เป็นประจำ และนั่นคือการได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับช่างทำผม รวมถึงผู้หญิงคนอื่นๆ ที่มานั่งทำผมด้วย
ถ้าถามว่า นี่คือเหตุผลที่เราเรียกร้านทำผมว่า Salon หรือเปล่า? คำตอบคือ ก็อาจไม่ใช่ เพราะอย่างที่บอกไป เอาแค่ในช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 19 การใช้คำว่า Salon ในความหมายแบบยุคก่อนปฏิบัติฝรั่งเศสก็แทบไม่มีเหลือแล้ว และไปๆ มาๆ การใช้คำว่า Salon แทนร้านทำผม ก็อาจเป็นเพราะ 'ความหมายเก่า' มันตายจากสังคมไปเรียบร้อยแล้ว คำนี้ก็เลยมีชีวิตใหม่กับความหมายใหม่ ที่จริงๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความหมายเดิมเลย
แล้วถ้าถามว่าเรื่องทั้งหมดบอกอะไรเรา? ว่ากันง่ายๆ ถ้าเราไปอ่านเจอคำว่า Salon ก่อนศตวรรษที่ 20 ก็อย่าไปแปลมันว่า 'ร้านทำผม' ก็แล้วกัน เพราะมันคือ Salon ในความหมายที่ว่ามาก่อนหน้านี้ทั้งบทความนี่แหละ และจริงๆ คำที่เปลี่ยนความหมายแบบพลิกไปเลยในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันก็ไม่ได้มีแค่ Salon เพราะก่อนศตวรรษที่ 20 คำว่า ‘consumption’ เองก็ไม่ได้แปลว่า 'การบริโภค' แต่หมายถึง 'วัณโรค' นั่นเอง

#พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

“ไม่ว่าพลเมืองโลกที่หนึ่งหรือโลกที่สาม ทุกชีวิตล้วนมีเลือดเนื้อ” สิทธิมนุษยชนโลกกลางวิกฤตมนุษยธรรม“
02/02/2024

“ไม่ว่าพลเมืองโลกที่หนึ่งหรือโลกที่สาม ทุกชีวิตล้วนมีเลือดเนื้อ” สิทธิมนุษยชนโลกกลางวิกฤตมนุษยธรรม“

101 สนทนากับ Matthew Smith ผู้ก่อตั้งองค์กร 'Fortify Rights' มองสถานการณ์สิทธิมนุษยชนโลก ภูมิภาค และไทย ในวันที่โลกต่างจดจ่อกั.....

Torture Methods : 20 รูป แบบการซ้อมทรมานของ เจ้าหน้าที่รัฐไทย
21/01/2024

Torture Methods : 20 รูป แบบการซ้อมทรมานของ เจ้าหน้าที่รัฐไทย

ผู้คนในสามจังหวัดชายแดนใต้ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติภายใต้กฎหมายพิเศษหลายฉบับ หนึ่งคือ...การประกาศใช้มาตรกา.....

บันทึกการอ่าน ก่อนเดินทางสู่ชายแดนใต้: ณัฐภัทร มาเดชนักเขียน นักแปล นักวิ่ง
20/01/2024

บันทึกการอ่าน ก่อนเดินทางสู่ชายแดนใต้
: ณัฐภัทร มาเดช
นักเขียน นักแปล นักวิ่ง

0shares ด้วยภารกิจที่ต้องเดินทางลงใต้ เครื่องบินออกจากส […]

“เครือข่ายชาวพุทธ” สะท้อน สันติภาพชายแดนใต้ ยังไร้อนาคต
20/01/2024

“เครือข่ายชาวพุทธ” สะท้อน สันติภาพชายแดนใต้ ยังไร้อนาคต

“กมธ.วิสามัญสันติภาพชายแดนใต้” ยกคณะลงพื้นที่ปัตตานี รับฟังเสียงสะท้อน ผลกระทบความไม่สงบ เปิดเวทีด้วย “ช...

'กมธ.สันติภาพชายแดนใต้' เปิดเวทีรับฟังความเห็นประชาชน หาทางออก สร้างสันติภาพ ขณะที่รัฐไม่ให้ข้อมูลเรื่องกระบวนการสันติภา...
20/01/2024

'กมธ.สันติภาพชายแดนใต้' เปิดเวทีรับฟังความเห็นประชาชน หาทางออก สร้างสันติภาพ ขณะที่รัฐไม่ให้ข้อมูลเรื่องกระบวนการสันติภาพ เหตุผลความขัดแย้ง ประชาชนอยู่ด้วยความหวาดระแวง ด้าน 'รอมฎอน' เตรียมรวบรวมความเห็นประชาชน ปรับเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาล

'กมธ.สันติภาพชายแดนใต้' เปิดเวทีรับฟังความเห็นประชาชน หาทางออก สร้างสันติภาพ ขณะที่รัฐไม่ให้ข้อมูลเรื่อง.....

นานาชาติ ใช้อะไร ? ปกป้อง คุ้มครอง “ชาติพันธุ์ – ชนเผ่าพื้นเมือง”
20/01/2024

นานาชาติ ใช้อะไร ?
ปกป้อง คุ้มครอง “ชาติพันธุ์ – ชนเผ่าพื้นเมือง”

ในห้วงเวลาที่หลายฝ่ายเฝ้าจับตาความคืบหน้าอีกก้าวสำคัญของกฎหมายชาติพันธุ์ในบ้านเรา The Active จึงชวนสำรวจ ว่า.....

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when ANTI SLAPP posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share