SD Thailand

SD Thailand ESG, SDGs, Brand Purpose บริบทใหม่ของโลกและธุรกิจ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกและการเติบโตอย่างยั่งยืน

Sustainable Development (SD), Social Enterprise (SE), SDG, ESG, BCG, Soft Power Marketing, Brand Purpose, Sustainable Brand

หลัง ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป   เปิดตัว   ในฐานะบริการด้าน Green Logistic Solutions เมื่อปี 2567 พร้อมซุ่มพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์ ซ...
03/02/2025

หลัง ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป เปิดตัว ในฐานะบริการด้าน Green Logistic Solutions เมื่อปี 2567 พร้อมซุ่มพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เพื่อให้เป็นโซลูชั่นที่เข้ามาเชื่อมต่อทั้งระบบซัพพลายเชนได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

และในปี 2568 นี้ WHA Group ได้ยกระดับบริการนี้ให้เป็นอีกหนึ่ง Business Unit เข้ามาเติมเต็มความสมบูรณ์ให้ ในฐานะกลุ่มธุรกิจใหม่อย่าง โมบิลิตี้ เพื่อมาเสริมทัพกับอีก 4 กลุ่มธุรกิจที่มีอยู่ ให้ยิ่งแข็งแรง ครบวงจร และบูรณาการได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า) และดิจิทัลโซลูชันส์

โอกาสของ Mobilix ซึ่งโดดเด่นในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันกรีนโลจิสติกส์ครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ​​สอดคล้องกับเทรนด์และดีมานด์ของอุตสาหกรรม​ จะเป็นอีกหนึ่งแรงเสริมความแข็งแกร่งให้ WHA เพื่อสามารถสร้าง ให้ธุรกิจได้อีกครั้งในปีนี้ รวมทั้งตอบโจทย์ทิศทางการเติบโตในอนาคตที่มุ่งเน้นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการมี ในทุกโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจ

สำหรับเป้าหมายในปี 2568 นี้ WHA Group ตั้งเป้ารายได้และส่วนแบ่งกำไรไว้กว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการรักษาระดับความสามารถในการทำกำไรระดับสูงไว้ได้อย่างต่อเนื่องจาก​ 1.44 หมื่นล้านบาท ในปี 2567 ผ่านการเดินหน้าขยายธุรกิจต่อเนื่องในทุกกลุ่ม รวมทั้งการหาโอกาสใหม่ๆ จากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในเวียดนาม ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินหน้าลงทุนนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่เพิ่มเติม รวมทั้งโอกาสจากธุรกิจสาธารณูปโภคที่จะเติบโตสอดคล้องไปกับทิศทางของงนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งดีมานด์ด้านพลังงานสะอาด และการขับเคลื่อนตามแนวทาง ภายในซัพพลายเชนของภาคธุรกิจ

ขณะที่การมีโมบิลิกซ์ มาเติมเต็มด้าน Green Mobility อย่างครบวงจร ทั้งบริการให้เช่ารถยนต์ไฟฟ้า (EV Rental Service) ​สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (On Premise & Public EV Charging Solution) บริการเครื่องชาร์จและอุปกรณ์ สำหรับส่วนบุคคลและเชิงพาณิชย์ และโมบิลิกส์ซอฟต์แวร์โซลูชัน (Mobilix Software Solution) แพลตฟอร์มดิจิทัลอัจฉริยะอันทันสมัยสำหรับจัดการรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ โดยคาดว่าในสิ้นปีนี้จะมีรถ EV ให้เช่ารวมกว่า 1,700 คัน
เพื่อ​​มอบบริการได้ตลอดทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ

WHA Group ยังเปิดเผยแผนการลงทุนช่วง 5 ปี (2568-2572) เพื่อรองรับการขยายธุรกิจและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว ผ่านงบลงทุนเกือบ 1.2 แสนล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนการเติบโต 2.9 เท่า จากปี 2567 ​หรือมีรายได้แตะ 1.5 แสนล้านบาท โดยมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างคุณค่าให้กับสังคม เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใน 5 ปี อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่

- การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าให้บริการประมาณ 20,000 คัน

- การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยตั้งเป้าหมายมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 683,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

-การลดการใช้น้ำจากธรรมชาติลงประมาณ 25,000,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี เทียบเท่ากับปริมาณการใช้น้ำของภาคครัวเรือนกว่า 685,000 คน

-การจัดการขยะแบบ ที่จะไม่มีการฝังกลบหรือเผาทำลาย เพื่อขับเคลื่อนสู่อนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

#ดับบลิวเอชเอ #ดับบลิวเอชเอกรุ๊ป #ธุรกิจ #กลยุทธ์ #เติบโต #ยั่งยืน

พร้อมติดตามเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม ได้ที่
Website : https://sdthailand.com/
Twitter (X) : https://twitter.com/sdthailand_TH

         📌 5 ลำดับขั้นของ Carbon Management Hierarchy🔴 1.   (การหลีกเลี่ยงการปล่อยคาร์บอน) – วิธีที่ดีที่สุดลดการปล่อยคา...
01/02/2025



📌 5 ลำดับขั้นของ Carbon Management Hierarchy

🔴 1. (การหลีกเลี่ยงการปล่อยคาร์บอน) – วิธีที่ดีที่สุด
ลดการปล่อยคาร์บอนตั้งแต่ต้นทาง โดยการหลีกเลี่ยงการปล่อยตั้งแต่แรก ซึ่งอาจทำได้โดย
✔️ ลดการเดินทางโดยใช้ประชุมออนไลน์
✔️ ปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้ทรัพยากร

🟠 2. (การลดการปล่อยคาร์บอน)
เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์กรต้องลดการปล่อยคาร์บอนผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น:
✔️ ใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่น หลอดไฟ LED
✔️ ติดตั้งระบบ Heat Recovery เพื่อนำพลังงานเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่

🟡 3. (การแทนที่แหล่งพลังงาน)
หากยังต้องใช้พลังงาน องค์กรสามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่สะอาดกว่า เช่น:
✔️ ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น โซลาร์เซลล์ หรือพลังงานลม
✔️ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือซื้อพลังงานหมุนเวียนจากภายนอก

🟢 4. (การกักเก็บคาร์บอน)
ดึงคาร์บอนออกจากบรรยากาศและกักเก็บไว้ในรูปแบบที่ปลอดภัย เช่น
✔️ ปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูป่าไม้ และพื้นที่สีเขียว
✔️ ใช้เทคโนโลยี Carbon Capture & Storage ( )

🔵 5. (การชดเชยคาร์บอน) – ทางเลือกสุดท้าย
หากองค์กรลดคาร์บอนได้เต็มที่แล้วแต่ยังมีส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การซื้อคาร์บอนเครดิต ( ) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

📌 สำคัญ! Offsetting ไม่ควรเป็นกลยุทธ์หลักในการ #ลดคาร์บอน แต่ควรเป็นตัวเลือกสุดท้าย

#คาร์บอน #คาร์บอนฟุตพรินท์ #ก๊าซเรือนกระจก #ยั่งยืน

พร้อมติดตามเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม ได้ที่
Website : https://sdthailand.com/
Twitter (X) : https://twitter.com/sdthailand_TH

🌍 Carbon Management Hierarchy: บริหารจัดการคาร์บอนอย่างเป็นระบบเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน 🌱

📌 Carbon Management Hierarchy คืออะไร?
Carbon Management Hierarchy เป็นแนวทางที่ช่วยให้องค์กร ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างเป็นระบบ โดยเรียงลำดับ จากแนวทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไปจนถึงทางเลือกสุดท้าย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการลดคาร์บอน

แนวคิดนี้ เน้นให้ธุรกิจมุ่งลดการปล่อยคาร์บอนตั้งแต่ต้นทางก่อน ไม่ใช่แค่การซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชย (Offsetting) โดยทาง RMIT University ได้เสนอแนวทาง Carbon Management Hierarchy ไว้ในแผนการจัดการคาร์บอนของมหาลัยด้วย

📌 ทำไมธุรกิจต้องบริหารจัดการคาร์บอนตามลำดับนี้?
✅ ลดต้นทุนด้านคาร์บอนระยะยาว – ลดการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และลดการเสียค่าชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting)
✅ ลดความเสี่ยงจากกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม – รองรับกฎระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวกับคาร์บอนและภาษีคาร์บอนในอนาคต
✅ สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรและสิ่งแวดล้อม – ลดผลกระทบต่อโลก จากความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน

📌 5 ลำดับขั้นของ Carbon Management Hierarchy

🔴 1. Avoidance (การหลีกเลี่ยงการปล่อยคาร์บอน) – วิธีที่ดีที่สุด
ลดการปล่อยคาร์บอนตั้งแต่ต้นทาง โดยการหลีกเลี่ยงการปล่อยตั้งแต่แรก ซึ่งอาจทำได้โดย
✔️ ลดการเดินทางโดยใช้ประชุมออนไลน์
✔️ ปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้ทรัพยากร

🟠 2. Reduction (การลดการปล่อยคาร์บอน)
เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์กรต้องลดการปล่อยคาร์บอนผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น:
✔️ ใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่น หลอดไฟ LED
✔️ ติดตั้งระบบ Heat Recovery เพื่อนำพลังงานเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่

🟡 3. Substitution (การแทนที่แหล่งพลังงาน)
หากยังต้องใช้พลังงาน องค์กรสามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่สะอาดกว่า เช่น:
✔️ ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น โซลาร์เซลล์ หรือพลังงานลม
✔️ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรือซื้อพลังงานหมุนเวียนจากภายนอก

🟢 4. Sequestration (การกักเก็บคาร์บอน)
ดึงคาร์บอนออกจากบรรยากาศและกักเก็บไว้ในรูปแบบที่ปลอดภัย เช่น
✔️ ปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูป่าไม้ และพื้นที่สีเขียว
✔️ ใช้เทคโนโลยี Carbon Capture & Storage (CCS)

🔵 5. Offsetting (การชดเชยคาร์บอน) – ทางเลือกสุดท้าย
หากองค์กรลดคาร์บอนได้เต็มที่แล้วแต่ยังมีส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

📌 สำคัญ! Offsetting ไม่ควรเป็นกลยุทธ์หลักในการลดคาร์บอน แต่ควรเป็นตัวเลือกสุดท้าย

Credit รูป : RMIT University

 #ประกาศผล บริษัท  #ไทย และ  #อาเซียน ที่มีมูลค่า 'แบรนด์องค์กร' สูงที่สุด ของปี 2567  #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบรางวัล ...
01/02/2025

#ประกาศผล บริษัท #ไทย และ #อาเซียน ที่มีมูลค่า 'แบรนด์องค์กร' สูงที่สุด ของปี 2567

#จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบรางวัล and ’s Top Corporate Brands เป็นปีที่ 15 แก่องค์กรที่มีมูลค่า #แบรนด์องค์กร สูงสุดประจำปี พ.ศ. 2567

โดยการประเมินมูลค่าแบรนด์องค์กร ใช้เครื่องมือ Valuation ที่พัฒนาขึ้นจากการบูรณาการแนวคิดสามด้าน คือ #การตลาด #การเงิน #การบัญชี และใช้ค่าเฉลี่ย 3 ปี ของตัวเลขทางการเงินของบริษัทนั้นๆ ในแต่ละหมวดธุรกิจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มูลค่าแบรนด์องค์กรเป็นตัวเลขทางการเงิน​ ตามหลักในงานวิจัยการประเมินมูลค่าแบรนด์องค์กร ที่ได้ทำการเผยแพร่มาเป็นปีที่ 15 แล้ว

ซึ่งคณะผู้วิจัย ได้ประเมินจากมูลค่าแบรนด์องค์กรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทั้งของไทยและใน ASEAN 6 ประเทศ โดยนำตัวเลขจากงบการเงินของบริษัทที่ผ่านเกณฑ์มาคำนวณ ทำให้งานวิจัยประเมินค่าแบรนด์องค์กรนี้ได้รับความสนใจจากภาคธุรกิจอย่างยิ่ง เพราะผู้บริหารและผู้ลงทุนสามารถทราบมูลค่าแบรนด์องค์กรเป็นตัวเลขทางการเงิน และสามารถพัฒนาแบรนด์องค์กรต่อไปเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของบริษัทในระยะยาว

สำหรับรางวัลพิเศษ หอเกียรติยศ สำหรับบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดติดต่อกัน 5 ปี มีผู้ได้รับรางวัลระดับ #ภูมิภาค หรือ ASEAN’s Top Corporate Brand Hall of Fame 2024 ได้แก่ PT Bank Central Asia Tbk จากประเทศอินโดนีเซีย ส่วน #ประเทศไทย​ บริษัทที่ได้ Thailand’s Top Corporate Brand Hall of Fame 2024 ​ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ส่วนบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดทั้งของประเทศไทย และในระดับภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วย

’s Top Corporate Brand
รางวัล Thailand’s Top Corporate Brands 2024 จำนวน 15 บริษัท
-คาราบาว กรุ๊ป (89,115 ล้านบาท)
-ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (34,079 ล้านบาท)
-บัตรกรุงไทย (99,847 ล้านบาท)
-เมืองไทยประกันภัย (40,699 ล้านบาท)
-เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (100,594 ล้านบาท)
-ไดนาสตี้ เซรามิค (13,968 ล้านบาท)
-แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (53,084 ล้านบาท)
-กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (387,787 ล้านบาท)
-โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (133,630 ล้านบาท)
-โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (123,342 ล้านบาท)
-แพลน บี มีเดีย (16,904 ล้านบาท)
-ดิ เอราวัณ กรุ๊ป (5,168 ล้านบาท)
-เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (30,270 ล้านบาท)
-ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส (15,424 ล้านบาท)
-จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น (60,776 ล้านบาท)

’s Top Corporate Brands 2024
​สุดยอดแบรนด์องค์กรของประเทศในอาเซียนประจำปี 2567 มี 6 บริษัท จาก 6 ประเทศ ได้แก่
- Pt Bayan Resources Tbk (Mil. USD 31,445) จากอินโดนีเซีย
- CelcomDigi (Mil. USD 10,401) จากมาเลเซีย
- SM Investments Corporation (Mil. USD 11,559) จากฟิลิปปินส์
- DBS Group Holdings (Mil. USD 24,725) จากสิงคโปร์
- Delta Electronics (Thailand) Public Company Limited (Mil. USD 20,294) จากไทย
- Joint Stock Commercial Bank for Foreign Trade of Vietnam (Mil. USD 10,799) จากเวียดนาม

#แบรนด์ #องค์กร #คุณค่า #มูลค่า #เติบโต #ยั่งยืน

พร้อมติดตามเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม ได้ที่
Website : https://sdthailand.com/
Twitter (X) : https://twitter.com/sdthailand_TH

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติที่...
31/01/2025

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง และการพัฒนาที่ไม่สมดุล

การพัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้างความตระหนักและเตรียมคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ โรงเรียนจึงเป็นสถานที่สำคัญในการติดอาวุธความรู้ให้แก่เด็กทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ

เช่นเดียวกับโรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) จ.พัทลุง หนึ่งในโรงเรียนนำร่องโครงการผู้ประกอบการจิ๋ว ที่นอกจากบ่มเพาะด้านการศึกษาแล้ว ยังมุ่งหวังให้เด็กไทยเก่งทั้งการบริหาร การเงิน การตลาด ไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมสำหรับการเติบโตสู่โลกภายนอกอย่างยั่งยืนหลังจบการศึกษา

โดยคุณครูและนักเรียนกว่า 200 คน ได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การประยุกต์หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก #กระจูด และเส้นกก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกรายวิชา สอนทั้งการแปรรูปกระจูด การแปรรูปเส้นกก การออกแบบและเพนท์ลายกระจูด การบริหาร การเงิน ไปจนถึงการไลฟ์สดขายของ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ทุกขั้นตอนของการเป็นผู้ประกอบการ

พร้อมทั้งนำทักษะที่ได้ไปต่อยอด​ช่วยครอบครัวทำเป็นอาชีพเสริม ช่วยโรงเรียนและชุมชนให้มีรายได้ จากผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด อาทิ กระเป๋าจากกระจูดสานมือ และหูหิ้วถ้วยกาแฟจากเส้นกก ที่วางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่นแล้ว จำนวน 19 สาขา ในเขตภาคใต้ตอนล่าง

ภายใต้การขับเคลื่อนของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เฟสที่ 6 โดยมีบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้การสนับสนุน

สำหรับโรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) เป็นโรงเรียนนำร่องโครงการผู้ประกอบการจิ๋วในภาคใต้ ภายใต้การขับเคลื่อนของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เฟสที่ 6 โดยมีบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้การสนับสนุน โดยเหตุผลหลัก 3 ประการที่ทำให้ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบผู้ประกอบการจิ๋ว ประกอบด้วย

1.สามารถบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งวิชาการและวิชาชีพ จนเกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้กระจูดได้อย่างยอดเยี่ยม

2.สามารถต่อยอดภูมิปัญญาที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นอย่างกระจูด ให้กลายเป็นสินค้าที่น่าสนใจ สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนอย่างยั่งยืนได้

3.สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน ตลอดจนพัฒนานักเรียนและคนในชุมชนให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ

โดยปัจจุบัน​ซีพี ออลล์ ดูแลโรงเรียนในโครงการ CONNEXT ED ​รวมประมาณ 610 โรงเรียน และมีจำนวนนักเรียนกว่า 1.6 แสนคน ซึ่ง​โมเดลที่ประสบความสำเร็จของโรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) จะเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่นๆ ภายใต้ CONNEXT ED เพิ่มเติม โดยเฉพาะโรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้ ​​เพื่อสร้างรากฐานการศึกษาไทยให้แข็งแรง ช่วยติดอาวุธให้เด็กไทยยุคใหม่มีภูมิคุ้มกันที่ดี เติบโตไปได้อย่างยั่งยืน

#ซีพีออลล์ #เซเว่นอีเลฟเว่น #โรงเรียน #นักเรียน #ผู้ประกอบการ #ชุมชน #กระจูด #ภูมิปัญญา #ทักษะ #ยั่งยืน

พร้อมติดตามเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม ได้ที่
Website : https://sdthailand.com/
Twitter (X) : https://twitter.com/sdthailand_TH

การเติบโตของกระแส  #รักษ์โลก จากความกังวลต่อปัญหา  #สภาพอากาศ รวมทั้งเงื่อนไขและมาตรฐานการค้าต่างๆ ทำให้​เกณฑ์ชี้วัดด้าน...
31/01/2025

การเติบโตของกระแส #รักษ์โลก จากความกังวลต่อปัญหา #สภาพอากาศ รวมทั้งเงื่อนไขและมาตรฐานการค้าต่างๆ ทำให้​เกณฑ์ชี้วัดด้าน #สิ่งแวดล้อม เข้ามาเป็นปัจจัยทางธุรกิจมากขึ้น

ส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิต โรงงาน แบรนด์สินค้า หรือหน่วยงานต่างๆ ต้องมีมาตรฐานเพื่อ​รับรองความ #เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด โดยเฉพาะการใช้ #ฉลากรักษ์โลก เพื่อช่วย​สร้างความมั่นใจให้กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยในการตัดสินใจซื้อได้เพิ่มมากขึ้น

ขณะที่มาตรฐาน​ ​ของประเทศไทย โดยเฉพาะ 'ฉลากรักษ์โลก' ที่​มีหลากหลายประเภทและ​มาตรฐาน​ ขณะที่การรับรู้ของผู้บริโภคต่อมาตรฐานต่างๆ ยังไม่ทั่วถึง ประกอบกับตำแหน่งการแสดงมาตรฐานบนสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้เด่นชัด หรือไม่ได้เป็นที่สังเกตุ ทำให้​ที่ผ่านมาอาจไม่สามารถสร้างการรับรู้หรือสร้างการจดจำได้ดีมากนัก

นำมาสู่ความร่วมมือของสองผู้นำในภาคธุรกิจและค้าปลีกของประเทศไทยอย่าง #หอการค้าไทย และ #กลุ่มเซ็นทรัล นำร่องโดย #เซ็นทรัลรีเทล และกลุ่มธุรกิจในเครือ พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายทั้งจากภาครัฐและเอกชน แบรนด์สินค้ากว่า 60 แบรนด์ นำสินค้าต่างๆ ที่ได้รับการรับรองฉลากรักษ์โลกประเภทต่างๆ กว่า 3,000 รายการ ซึ่งถือเป็น Key Partners ของกลุ่มเซ็นทรัล มาร่วมขับเคลื่อนโครงการ #ฮักโลก (Hug The Earth) ​พื้นที่​แสดงสินค้า ที่รวบรวม คัดสรรสินค้า​​ที่มีฉลากสิ่งแวดล้อมหรือฉลากรักษ์โลก​ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงและสังเกตุเห็นได้ง่ายยิ่งขึ้น​ และเพิ่มโอกาส​ในการสนับสนุนสินค้ารักษ์โลกได้​สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยมีสัญลักษณ์ 'ฮักโลก' หรือ Hug The Earth​ ​รูปมือกำลังโอบกอดโลก สะท้อนความใส่ใจโลกอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ กลุ่มเซ็นทรัล โดย เซ็นทรัล รีเทล ถือเป็นรีเทลรายแรกของประเทศไทย ที่เข้าร่วม​นำร่องโครงการ​ 'ฮักโลก' โดยจัดสรรพื้นที่จำหน่ายหรือแสดงสินค้าที่มีฉลากรักษ์โลกภายในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าในเครือ อาทิ ไทวัสดุ เพาเวอร์บาย เซ็นทรัล โรบินสัน ท็อปส์ โกโฮลเซลล์ บีทูเอส ออฟฟิศเมท ซูเปอร์สปอร์ต ซีเอ็มจี เป็นต้น และ​มีแผน​เดินหน้าขยายผลผ่านเครือข่ายสมาชิกหอการค้า รวมทั้งเครือข่ายค้าปลีกทั่วประเทศ เพื่อร่วมขับเคลื่อนและกระตุ้นการซื้อสินค้ารักษ์โลก​ให้กลายเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานใหม่ของสังคมไทยในอนาคต

ซึ่งใน​ช่วงคิกออฟโครงการยังได้จัดโปรโมชั่นเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นยอดขายสินค้ากลุ่มรักษ์โลก ผ่านการมอบส่วนลดพิเศษ รวมทั้งการแจกคะแนน The1 เพิ่มเติม สำหรับการซื้อสินค้ารักษ์โลกตามเงื่อนไข เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าและลดอีกหนึ่ง สำคัญของผู้บริโภคที่มองว่าสินค้ารักษ์โลกจะต้องมีราคาแพงทำให้จับต้องได้ยาก เนื่องจาก สินค้าที่ได้รับฉลากด้านสิ่งแวดล้อมหลายรายการในปัจจุบันไม่ได้มีราคาที่แตกต่างไปจากสินค้าทั่วไปแบบมุมมองหรือทัศนคติแบบเดิมๆ ที่ลูกค้าเคยเข้าใจ

ความร่วมมืของทั้ง 2 พี่ใหญ่ในครั้งนี้ ยังสอดคล้องกับพันธกิจของแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นหอการค้าไทยที่มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด “Connect-Competitive-Sustainable” ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ (Bio-Circular-Green Economy) โดยมีเป้าหมาย​​เปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ (Nature Positive Economy) ซึ่งโครงการฮักโลกช่วย​กระตุ้นความตระหนักรู้ให้ทั้ง​ผู้บริโภคและผู้ประกอบการถึงความสำคัญของสินค้ารักษ์โลก รวมทั้งช่วยเพิ่มการเลือกซื้อสินค้าฉลากรักษ์โลกอย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรม

ขณะที่กลุ่มเซ็นทรัล ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งกลุ่มธุรกิจค้าปลีก โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงธุรกิจบริการ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทั้งต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกอย่าง CRC ที่มีปรัชญา CRC Care เพื่อมุ่งสู่ Green & Sustainable Retail and Wholesale อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างความยั่งยืนได้ทั้งอีโคซิสเต็ม

รวมทั้ง​เป้าหมายพิชิต ภายในปี 2050 ด้วยกลยุทธ์ CRC โดยเฉพาะในมิติ ​Responsible Sourcing หรือการจัดหาสินค้าเพื่อมาจำหน่ายอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบทั้งในฟากผู้บริโภค ที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงสินค้ารักษ์โลกได้ง่ายขึ้น ช่วยกระตุ้นยอดขายกลุ่มสินค้ารักษ์โลก รวมทั้ง​ยังช่วย​ผลักดัน​ผู้ผลิตให้เห็นความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์ดีมานด์ในตลาด

ทั้งนี้ ยังสอดคล้องกับทิศทางของธุรกิจในอนาคตที่จะมีการคำนึงถึงการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission) เพิ่มมากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทางกลุ่มเซ็นทรัลให้ความสำคัญ โดยได้เริ่มพัฒนาและใช้งานแพลตฟอร์ม 'ReNEW Data Platform' เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั้งการใช้พลังงาน การจัดการขยะ รวมทั้งการปลดปล่อย Carbon Emission ภายในธุรกิจทั้งหมดของกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อทราบปริมาณคาร์บอนฟุตพรินท์ของทั้งองค์กร (CFO) เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและขับเคลื่อนกลยุทธ์ เพื่อให้ธุรกิจภายในเครือมุ่งสู่ Net Zero ได้ตามเป้าหมายด้วย

#ฉลากสินค้า #ประหยัดพลังงาน #มาตรฐาน #ยั่งยืน

พร้อมติดตามเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม ได้ที่
Website : https://sdthailand.com/
Twitter (X) : https://twitter.com/sdthailand_TH

-  #คนไทย ​ซื้อ  #คาร์บอนเครดิต ​ผ่าน Digital Payment แอป  #ทรูมันนี่   ได้แล้ว เริ่มต้นเพียง 6 บาท เพื่อร่วมลดการปลดปล่...
30/01/2025

- #คนไทย ​ซื้อ #คาร์บอนเครดิต ​ผ่าน Digital Payment แอป #ทรูมันนี่ ได้แล้ว เริ่มต้นเพียง 6 บาท เพื่อร่วมลดการปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ รายบุคคล

- ภายใต้ความร่วมมือของทรูมันนี่และแอสเซนด์ บิท ร่วมพัฒนา​​ระบบการซื้อขายผ่าน​เทคโนโลยี #บล็อกเชน รวมทั้งพันธมิตรอย่าง Carbonmark​ แพลตฟอร์มตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตระดับสากล ซึ่งหลังเปิดให้บริการมากว่า 1 เดือน สามารถชดเชยคาร์บอนได้แล้วเกือบ 3.3 พันตันคาร์บอน หรือเทียบเท่าการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ตลอดทั้งปีราว 2.2 แสนต้น (ข้อมูล 30 ม.ค. 2568)

- ​ราคาซื้อคาร์บอนเครดิต​ในแพลตฟอร์ม เริ่มต้นเพียงแค่ 6 บาท สำหรับชดเชยปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ รายบุคคล จำนวน 7 วัน ​หรือเทียบเท่าปริมาณการปลดปล่อย 72 กิโลกรัมคาร์บอนเทียบเท่า (KgCO2e) เพื่อนำไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

- สามารถชดเชยคาร์บอนสูงสุด (ต่อธุรกรรม) ได้ถึง​​ 90 วัน ​โดยชดเชยคาร์บอนได้ถึง 930 KgCO2e ซึ่งจะ​ได้รับเหรียญสะสม 2 เหรียญ และยังสามารถนำเหรียญภายในแอปพลิเคชันจำนวน 60 เหรียญ เพื่อ​แลกรับคาร์บอนเครดิต มูลค่า 6 บาทได้อีกด้วย

- ​การคำนวณการชดเชยคาร์บอนภายในแพลตฟอร์ม เพื่อทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอนในช่วงระยะเวลาที่มีการชดเชยตามต้องการ โดยระบบจะคำนวณจากค่าเฉลี่ย ของคนไทยที่ปลดปล่อย​ราว 3.77 ตันต่อคนต่อปี เพื่อสามารถเลือกซื้อระยะเวลาที่ต้องการชดเชยได้ทั้ง 7 วัน 30 วัน และ 90 วัน

- ​​โดยสามารถเลือกซิ้อคาร์บอนเครดิ​ตจาก​โครงการเพื่อความยั่งยืน​ที่ได้รับมาตรฐาน หรือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานสากล 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ประเทศจีน,​ โครงการปกป้องและคุ้มครองป่าลุ่มน้ำคองโก, โครงการปกป้องการตัดไม้ทำลายป่า ในกัมพูชา และโครงการปกป้องป่าอย่างยั่งยืน ของมองโกเลียตอนใน ซึ่งคาร์บอนที่ซื้อไปแล้ว จะถูกรีไทร์ทันที เพื่อป้องกันการนำคาร์บอนเครดิตไปใช้ซ้ำ และสามารถนำไปช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างแท้จริง ​ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นจากการครอบครอง และไม่ถูกนำไปใช้​เพื่อเก็งกำไร

- ​การตอบรับที่ดีของบริการชดเชยคาร์บอนส่วนบุคคลนี้ สะท้อนเทรนด์คนรุ่นใหม่ที่มีความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และอยากมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเน้นการออกแบบให้เข้าถึงง่ายและมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนสาธารณะ (Polygon) โดยการซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนในแต่ละครั้งจะถูกแปลงเป็นโทเคนดิจิทัลและบันทึกการรีไทร์คาร์บอน โดยระบบจะตัดเงินจากบัญชีทรูมันนี่ เพื่อซื้อและเบิร์นโทเคนคาร์บอนเครดิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล การทำธุรกรรมทั้งหมดจึงรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีต้นทุนที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าบริการชดเชยคาร์บอนรูปแบบเดิมที่เห็นในประเทศไทยมาก่อนหน้านี้หลายเท่าตัว

#ก๊าซเรือนกระจก #คาร์บอน #เป็นกลาง #นวัตกรรม #โลกร้อน #ลดโลกร้อน #ยั่งยืน

พร้อมติดตามเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม ได้ที่
Website : https://sdthailand.com/
Twitter (X) : https://twitter.com/sdthailand_TH

นับจากปี 2568 เป็นต้นไป ถือเป็นยุคผลัดใบครั้งสำคัญของตลาดแรงงานโครงสร้างแรงงานในองค์กรจะเปลี่ยนไปแบบสิ้นเชิง ​​คนในรุ่นเ...
29/01/2025

นับจากปี 2568 เป็นต้นไป ถือเป็นยุคผลัดใบครั้งสำคัญของตลาดแรงงาน

โครงสร้างแรงงานในองค์กรจะเปลี่ยนไปแบบสิ้นเชิง ​​คนในรุ่นเบบี้บูมเมอร์ จะเกษียณจากองค์กร เนื่องจากเป็นปีที่เบบี้บูมเมอร์จะอายุครบ 60 ปี ซึ่งจะเป็นการผลัดทั้งรุ่น

ทำให้ในองค์กรจะเกิดปรากฏการณ์ XYZ หรือจะมีเพียงเจนเนอเรชั่นรุ่นใหม่ที่อยู่ในองค์กร 3 รุ่น และ​ปัจจัยที่เคยใช้ดึงดูด ​​แบบที่เคยผ่านมา เริ่มหมดความเซ็กซี่ ไม่สามารถดึงดูดให้คนรุ่นใหม่เข้ามาในองค์กรได้อีกต่อไป

องค์กรจึงต้องกลับมาทบทวนวิธีการเพื่อ​ดึงดูดและรักษาคนทำงาน ให้มากกว่า​แค่​​การส่งมอบเรื่องของเงินเดือนดี ​สวัสดิการเด่น เทรนนิ่งเยี่ยม แบบที่ใช้ในยุคก่อนหน้า​ แต่ต้อง​กลับมาคิดใหม่ เพื่อมองหามิติที่ตอบโจทย์สิ่งที่แรงงานยุคใหม่ต้องการได้อย่างตรงจุดมากที่สุด ​สามารถส่งมอบคุณค่าจาก​ปัจจัยอื่นๆ ​เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต หรือประสบการณ์ที่ดี ​จากองค์กรที่ใช่ เพื่​อส่งมอบคุณค่าที่ตรงกันทั้งของนายจ้างและคนทำงานได้

เวิร์คเวนเจอร์​ฉายภาพย้ำให้เห็นว่า จากนี้ไป Talent War จะยิ่งรุนแรง จากการขาดแคลนแรงงานที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากการเกิดที่น้อยลง ทางเลือกในการประกอบอาชีพของคนรุ่นใหม่ ที่สามารถเลือกที่จะทำธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ หรือการเป็นฟรีแลนซ์

ดังนั้น การดึงดูด รวมทั้งการรักษาคนเก่งที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กรจะยิ่ง​มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น การมีแบรนด์องค์กรที่แข็งแรงจึง​ถือเป็นทางรอดทที่องค์กรต้องให้ความสำคัญมากขึ้น

ปีที่ผ่านมาจึงได้เห็นองค์กรเพิ่มเม็ดเงินเพื่อ​​สื่อสารแบรนดิ้งองค์กรในเชิง Corporate Image เพิ่มมากขึ้น โดยพบว่ามีการเติบโตของมีเดียเพื่อสื่อสารแบรนด์นายจ้างเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 50% และไม่ใช่เพียงแค่มาจาก Own Channel ของแต่ละองค์กรเท่านั้น แต่ยังมีการใช้อินฟลูเอนเซอร์มาช่วยสื่อสาร ในรูปแบบการรีวิวองค์กร ทัวร์โรงงาน สัมภาษณ์ผู้บริหาร หรือมุมมองคนทำงานในองค์กร เพื่อนำเสนอคุณภาพชีวิตที่ดีของแต่ละองค์กรเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น​

เวิร์คเวนเจอร์ ยังได้สรุปเทรนด์สำคัญเพื่อใช้ในการสร้างแบรนด์นายจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพในปี 2568 ​จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงาน และการศึกษาการสร้างแบรนด์นายจ้างจากองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศในหลายอุตสาหกรรม

โดยพบว่า เทรนด์การสร้างแบรนด์นายจ้างปี 2568 กำลังมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน การสื่อสารองค์กรผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล และการพัฒนาด้าน Employer Value Proposition ( ) หรือการให้คำมั่นสัญญาของนายจ้าง เพื่อสามารถส่งมอบคุณค่าที่คนทำงานรุ่นใหม่มองหาได้อย่างตรงจุดเพิ่มมากขึ้น

1. ผสาน ESG สร้างแบรนด์นายจ้าง : เทรนด์มาแรงในไทย

แนวคิด ESG (Environmental, Social, Governance) ในการสร้างแบรนด์นายจ้างมีความสำคัญมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากคนรุ่นใหม่ เช่น Millennials และ Gen Z ให้ความสำคัญกับคุณค่าที่องค์กรยึดถือ โดยเฉพาะเรื่องความยั่งยืนและจริยธรรม คนรุ่นใหม่มองหางานในองค์กรที่มีจริยธรรมและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม

องค์กรที่ผสาน ESG ในการดำเนินธุรกิจจึงมีความโดดเด่นในตลาดแรงงาน และสามารถดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ได้มากขึ้น กลายเป็น 'Employer of Choice' สะท้อนถึงคุณค่าและความเชื่อมั่นของพนักงานยุคใหม่ ขณะเดียวกันการนำ ESG เข้ามาผสานในกลยุทธ์องค์กรยังช่วยลดความเสี่ยง เช่น ความเสียหายจากภาพลักษณ์องค์กร หรือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ด้วย

2. สื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล : กลยุทธ์สำคัญสร้างแบรนด์นายจ้าง

ปี 2568 แพลตฟอร์มอย่าง ( Facebook และ Instagram), YouTube และ TikTok จะกลายเป็นเครื่องมือหลักที่องค์กรไทยใช้สร้างแบรนด์นายจ้าง เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะพนักงานรุ่นใหม่ที่ใช้โซเชียลมีเดียค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรและวัฒนธรรมการทำงาน ​โดยพบว่ามีการใช้เม็ดเงินเพื่อสื่อสาร Corporate Branding เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 50% ทั้ง Own Channel หรือการใช้ Influencers

ส่วนเนื้อหาจะเน้นการรีวิว หรือเรื่องราวของพนักงาน (Employee Storytelling) สะท้อนความเป็นจริงในองค์กร เพื่อความเชื่อมโยงกับผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ รวมทั้งการเล่าเรื่องราวที่เน้นประสบการณ์ส่วนตัวของพนักงานจะช่วยให้องค์กรได้เปรียบในตลาดแรงงาน เพราะกลุ่ม Millennials และ Gen Z ให้ความสำคัญกับความจริงใจและความโปร่งใสจากองค์กร ทำให้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลายเป็นตัวเร่งการสื่อสารแบบ Real-Time องค์กรสามารถปรับเนื้อหาให้ตรงกับเหตุการณ์หรือกระแสปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว การลงทุนในเนื้อหาที่เน้นการเล่าเรื่องราวผ่านดิจิทัลจึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างแบรนด์นายจ้างที่โดดเด่น ช่วยดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ และสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยได้เป็นอย่างดี

3. พัฒนา EVP : กุญแจสู่ความสำเร็จในตลาดแรงงาน

Employer Value Proposition หรือ EVP คือ คำมั่นสัญญาขององค์กรที่สะท้อนถึงคุณค่าและประสบการณ์ที่พนักงานจะได้รับ ซึ่ง EVP ที่ชัดเจนและโดดเด่นไม่เพียงแต่จะดึงดูดผู้สมัครที่มีศักยภาพ แต่ยังช่วยสร้างความผูกพันกับพนักงานในระยะยาว ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่องค์กรต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างองค์กร และวิสัยทัศน์องค์กร เช่น การเปลี่ยนผู้นำหรือการรีแบรนด์

การแข่งขันในตลาดแรงงานและความต้องการ “งานที่มีความหมาย” ของคนรุ่นใหม่ ทำให้ EVP กลายเป็นประเด็นสำคัญ องค์กรชั้นนำเริ่มลงทุนเรื่อง EVP อย่างจริงจัง เช่น การใช้เรื่องเล่าจากพนักงาน (Employee Storytelling) ผ่านดิจิทัล เช่น LinkedIn หรือ TikTok เพื่อดึงดูดบุคลากรที่สอดคล้องกับค่านิยมองค์กร

“แนวทางด้าน EVP ที่องค์กรควรนำมาปรับใช้ในปีนี้ คือ การใช้ข้อมูลวิเคราะห์เพื่อพัฒนา EVP ให้กลายเป็น Strategic EVP ที่ทั้งตอบโจทย์ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย และยังสร้างความแข่งแกร่งด้านบุคลากรให้กับองค์กรได้อีกด้วย รวมถึงการสื่อสาร EVP อย่างโปร่งใสและเป็นจริง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มความผูกพันของพนักงาน หากองค์กรสามารถพัฒนา EVP ได้อย่างเหมาะสม จะสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันและดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพได้มากขึ้น”

#อินไซต์ #องค์กร #องค์กรในฝัน #คนรุ่นใหม่ #ยั่งยืน

พร้อมติดตามเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม ได้ที่
Website : https://sdthailand.com/
Twitter (X) : https://twitter.com/sdthailand_TH

28/01/2025

#ศุภาลัย ขีดเส้น ซัพพลายเออร์ทุกรายต้องสามารถรายงาน #คาร์บอนฟุตพรินท์ ทุกผลิตภัณฑ์ได้ทั้ง 100% ภายในสิ้นปีนี้ ปีหน้าใครทำไม่ได้ไม่สามารถค้าขายด้วยได้แล้ว

 #นันยาง เปิดไอเดียช่วยโลก ร่วมลดขยะจากอุตสาหกรรมรองเท้า ผ่านโปรเจ็กต์ 'Nanyang REBORN' (นันยาง รีบอร์น) ​ต่อยอดวัสดุไร้...
27/01/2025

#นันยาง เปิดไอเดียช่วยโลก ร่วมลดขยะจากอุตสาหกรรมรองเท้า ผ่านโปรเจ็กต์ 'Nanyang REBORN' (นันยาง รีบอร์น) ​ต่อยอดวัสดุไร้ค่าที่เหลือจากกระบวนการผลิต เพื่อนำกลับมาสร้างคุณค่าได้ใหม่อีกครั้งผ่านคอนเซ็ปต์ Product of Trash

พร้อมกระบวนการชุบชีวิตใหม่ให้วัสดุเหลือทิ้ง ไม่ว่าจะเป็น เศษผ้า เศษยาง หรือแม้แต่รองเท้าที่มีรอยตำหนิ หรือเปรอะเปื้อนจากกระบวนการผลิต ซึ่งก่อนหน้านี้จะถูกนำไปกำจัดตามกระบวนการฝังกลบหรือเผาเป็นเชื้อเพลิงอุตสาหกรรม ทั้งที่สินค้าเหล่านี้ยังคงมีคุณภาพที่ดี ทั้งเรื่องของความทนทานและความคุ้มค่าตามมาตรฐานการผลิตของนันยางทุกประการ

นำมาสู่การขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่าน​​ 'นันยาง รีบอร์น' ด้วยแนวทาง 3Re ทั้ง สู่รองเท้ารุ่นลิมิเต็ด 'รักษ์โลก' ที่ปะเย็บใหม่จากเศษผ้าและพื้นจากเศษยาง รองเท้าที่ถูกคัดออกเพราะมีตำหนิ และ ​ รองเท้าที่มีรอยเปรอะเปื้อนจากกระบวนการผลิต ซึ่งทางนันยางจะนำรองเท้าในกลุ่มรีบอร์น ทั้ง 3Re นี้กลับมาขายใหม่ เพื่อช่วยทั้งการเพิ่มทางเลือกใหม่ให้ลูกค้า รวมทั้งยังช่วยลดขยะอุตสาหกรรม และปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตให้ลดน้อยลงด้วย

โดยรายละเอียดของรองเท้า​ทั้ง 3 รุ่น ประกอบด้วย

1. Nanyang Remake : รองเท้าที่เกิดใหม่จากการปะเย็บเศษผ้าและพื้นจากเศษยางที่เหลือจากกระบวนการผลิต ที่ปกติจะนำไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงหรือฝังกลบ ได้ถูกสรรค์สร้างขึ้นใหม่อย่างพิถีพิถันและออกแบบให้มีเอกลักษณ์เฉพาะคู่ สะท้อนความคิดสร้างสรรค์และความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม

- ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 30% จากการใช้วัสดุรีไซเคิล เมื่อเทียบกับรองเท้าปกติ
- ราคา 790 บาท 9 ขนาด ( เบอร์ 36 – 44 ) ผสมสีคละแบบ (ขาว,ดำ,น้ำตาล)

2. Nanyang Retake : รองเท้าที่ถูกคัดออกจากกระบวนการผลิต เนื่องจากมีรูปลักษณ์ภายนอกที่ไม่สมบูรณ์แต่ภายในยังคงคุณสมบัติและมาตราฐานเดิม เป็นการคืนค่าคุณภาพแก่รองเท้าที่ถูกมองข้ามจากรอยตำหนิทางรูปลักษณ์ แต่ยังคงมีความเหมาะสมในการใช้งาน

- ลดการปล่อยคาร์บอนประมาณ 14 kgCO₂e จากการไม่ผลิตรองเท้าคู่ใหม่
- ราคา 269 บาท​ 22 ขนาด ( เบอร์ 28 – 49 ) 3 สี (ขาว ดำ น้ำตาล)

3. Nanyang Retry : รองเท้าที่มีรอยเปรอะเปื้อน รองเท้าไร้ค่าที่ไม่มีใครต้องการแต่ยังคงความสมบูรณ์ของคุณภาพที่ให้ความปลอดภัย ใส่สบาย ทนทาน พร้อมกับความมั่นใจในการเลือกใส่สิ่งที่แตกต่างอย่างคุ้มค่า

- ลดการปล่อยคาร์บอนประมาณ 14 kgCO₂e จากการไม่ผลิตรองเท้าคู่ใหม่
- ราคา 169 บาท 22 ขนาด ( 28 – 49 ) 1 สี (ขาว)


ทั้งนี้ โดยทั่วไป รองเท้าผ้าใบ 1 คู่ ตั้งแต่กระบวนการผลิตวัตถุดิบ จนถึงการส่งมอบถึงลูกค้า จะสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์เฉลี่ย 14 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO₂e) ซึ่งเท่ากับการขับรถ 56 กิโลเมตร ขณะที่ทางนันยางประเมินว่าโปรเจกต์ Nanyang REBORN นี้ จะสามารถทดแทนการผลิตรองเท้าใหม่ได้ประมาณ 1 หมื่นคู่ต่อปี ซึ่งช่วยลดการปล่อย CO2 ราว 1.4 แสน kgCO₂e เทียบเท่าการดูด CO2 ของต้นไม้ 7,000 ต้นในหนึ่งปี หรือระยะทางในการขับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันรอบโลกได้ 20 รอบ

นันยางจะเริ่มจำหน่าย Nanyang Reborn รองเท้าไร้ค่าที่หวังดี ทั้ง 3 รุ่น คือ Remake, Retake และ Retry ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ผ่าน Nanyang official store ทาง Lazada, Shopee, TikTok​ และร้านค้านันยางที่ร่วมรายการ โดยจะมีจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดของวัตถุดิบที่นำมาใช้เพื่อ ‘การเกิดใหม่’ อาจทำให้มีจำนวนจำกัดในบางช่วงเวลา

#นันยางรีบอร์น #รองเท้าผ้าใบ #ขยะ #ลดขยะ #การผลิต #อุตสาหกรรม #รักษ์โลก #สิ่งแวดล้อม #สภาพอากาศ #ธุรกิจ #เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม #ยั่งยืน

พร้อมติดตามเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม ได้ที่
Website : https://sdthailand.com/
Twitter (X) : https://twitter.com/sdthailand_TH

  กลุ่มอาหาร  #ไทยเบฟเวอเรจ กับการสร้างแบรนด์ใหม่อย่าง ‘ช้าง แคนวาส’   สู่การเป็น ‘Iconic Social Brewhouse’ เพื่อขยายพอร...
27/01/2025

กลุ่มอาหาร #ไทยเบฟเวอเรจ กับการสร้างแบรนด์ใหม่อย่าง ‘ช้าง แคนวาส’ สู่การเป็น ‘Iconic Social Brewhouse’ เพื่อขยายพอร์ต​ธุรกิจสู่ตลาดและกลุ่มเป้าหมายใหม่ พร้อมกลยุทธ์สู่การเติบโตที่ยั่งยืนและไร้ลิมิต

การกลับมาพร้อมภารกิจสำคัญ สำหรับ 'คุณแซม ไพศาล อ่าวสถาพร' ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหาร ประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่มาพร้อมการแจ้งเกิดให้แบรนด์น้องใหม่ล่าสุดในพอร์ตอาหารของไทยเบฟอย่าง 'Chang Canvas' (ช้าง แคนวาส)

ด้วยคอนเซ็ปต์และรูปแบบที่ Uniqueness ของ 'ช้าง แคนวาส' ทำให้คุณแซม ซึ่ง​​แม้ที่ผ่านมาจะบริหารธุรกิจอาหารและร้านอาหารมาหลากหลายสมรภูมิ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหารญี่ปุ่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารตะวันตก หรือแม้แต่การสร้างคอนเซ็ปต์ให้กับศูนย์อาหารที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมๆ มาแล้ว ยังมองว่าการสร้างแบรนด์ช้าง แคนวาส ​ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายใหม่ครั้งสำคัญในชีวิตเช่นกัน

แต่การต้องเผชิญกับความท้าทายในชีวิต ไม่ใช่เรื่องใหม่ของคุณแซม เพราะหากย้อนไปก่อนจะเข้ามาดูแลแบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นอันดับต้นๆ ของประเทศอย่าง #โออิชิ คุณแซมก็ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับร้านอาหารญี่ปุ่นมาก่อน แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จได้จากการ​ศึกษา การเรียนรู้ และการทำความเข้าใจธุรกิจ เข้าใจลูกค้า ซึ่งเชื่อว่าความพยายามในการศึกษา เรียนรู้ ท้ังธุรกิจและลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ จะสามารถทำให้ช้าง แคนวาส ประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน

สำหรับ​ช้าง แคนวาส ​เป็นร้านอาหารที่อยู่ภายในโรงผลิตเครื่องดื่ม (เบียร์) ​หรือ​เป็นเบียร์เฮ้าส์ที่ใช้​ผลิตเบียร์สำหรับจำหน่ายภายในร้านจริงๆ ดังนั้น จึงไม่ใช่เพียงแค่การทำมาร์เก็ตติ้ง​หรือการสร้าง​​แบรนด์เพื่อให้เป็นที่รู้จักเท่านั้น แต่ยังมีข้อกำหนด และกฎระเบียบเฉพาะต่างๆ ที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ช้าง แคนวาส เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวัน แบ็งคอก ​อยู่ภายในพื้นที่ Forum Hall พื้นที่กิจกรรมที่รองรับการจัดสัมมนา ประชุม นิทรรศการ หรือคอนเสิร์ตต่างๆ โดย​ช้าง แคนวาส มีพื้นที่ 2,000​ ตารางเมตร ใช้งบ​ลงทุน​ราว 300 ล้านบาท และมี​โรงผลิตเบียร์อยู่ภายในพื้นที่ร้าน ซึ่งติดตั้งเครื่องจักรนำเข้ามาตรฐานสูงจากเยอรมนีสำหรับผลิตเบียร์ มูลค่ากว่า 35 ล้านบาท

ภายในร้านแบ่งพื้นที่เป็นโรงเบียร์ โซน​ร้านอาหาร โซนคาเฟ่ สำหรับผู้​ต้องการความเป็นส่วนตัว โซนเกมสำหรับกลุ่มเพื่อนมาสังสรรค์ รวมทั้งมีห้องประชุมส่วนตัวอยู่ชั้นบน พื้นที่รองรับได้ไม่ต่ำกว่า 500 ที่นั่ง และยังสามารถจัดสรรพื้นที่ภายในร้านให้ตอบโจทย์กิจกรรมต่างๆ เพื่อรองรับผู้เข้ามาใช้บริการได้เพิ่มขึ้นตามโจทย์ในแต่ละงาน

คุณแซม นิยามตัวตนและให้คำจำกัดความ​​ 'ช้าง แคนวาส'​ เป็น 'พื้นที่แห่งความสุข' ที่รังสรรค์ขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อมอบประสบการณ์การพบปะสังสรรค์ที่สมบูรณ์แบบและไม่เหมือนใคร เพื่อให้เป็น​ 'Iconic Social Brewhouse' ครั้ง​แรกในการมีพื้นที่ที่รวมความล้ำสมัยและเสน่ห์ของอัตลักษณ์ไทยไว้ในทุกอณูของบรรยากาศ ​ ไม่ว่าจะเป็น​ Microbrewery บอกเล่าเรื่องราวเครื่องดื่มทุกแก้ว ถ่ายทอดความใส่ใจตั้งแต่กระบวนการผลิต,​ รสชาติที่สะท้อนความเป็นไทย ไปจนถึง​อาหารที่สร้างความประทับใจในทุกเมนู

ช้าง แคนวาส จึง​เป็นแบรนด์ล่าสุดที่เข้ามาอยู่ในพอร์ตธุรกิจอาหารของ​ไทยเบฟฯ ด้วยแนวคิดที่ยังไม่เคยมีมาก่อน แ​ละเป็นพื้นที่ในการต่อยอดไอเดียหรือความร่วมมือต่างๆ ได้อย่างไม่จำกัด ​ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายจากคอนเซ็ปต์​ที่มีเบียร์เฮ้าส์และร้านอาหารอยู่ด้วยกัน ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ต้องเพิ่มความเข้าใจและแม่นยำเกี่ยวกับกฏระเบียบต่างๆ อย่างรอบด้าน ควบคู่ไปกับการทำให้แบรนด์ ช้าง แคนวาส เป็นอีกหนึ่ง Destination ​ใจกลางกรุงเทพฯ​ ​ที่เป็นมากกว่าแค่ร้านกินดื่มทั่วไป แต่เป็นพื้นที่ในการใช้​เวลาอย่างมีคุณค่าร่วมกันของทุกคน​

อีกหนึ่งเป้าหมายในการเข้ามาคุมบังเหียนผู้บริหารสูงสุด​​ กลุ่มธุรกิจอาหาร เครือไทยเบฟ ของคุณแซม คือ การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายในกลุ่มธุรกิจอาหาร (ONE Food Group) เนื่องจาก ความหลากหลายภายในพอร์ตอาหารที่มีความแตกต่างกัน ทั้ง​ประเภทการให้บริการ ที่มีทุกระดับตั้งแต่ฟูลเซอร์วิสแบบ ไปจนถึงร้านบริการด่วน หรือประเภทอาหารที่มีหลากหลายสัญชาติ ตั้งแต่อาหารไทย อาหารเอเชีย ​อาหารตะวันตก ดังนั้น จึงต้องพยายามสร้างแนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อสามารถสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืนได้อนาคต โดยเฉพาะการมีพนักงานที่มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของธุรกิจบริการ

ขณะที่การเข้ามาเติมเต็มพอร์ตอาหารของช้าง แคนวาส ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งด้วยกลยุทธ์ Expansion ในการ​ขยายตลาดไปยังตลาดและกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในกลุ่มอาหารของไทยเบฟ ซึ่งปัจจุบันมีธุรกิจเรือธงอย่าง โออิชิ ซึ่งบริหารกลุ่มธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือ และโรงงานผลิตอาหารพร้อมทาน, (QSR of Asia) สำหรับบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ KFC, ​ ซึ่งบริหารแบรนด์ร้านอาหารทั้งไทย เอเชีย และสากล รวมทั้ง (Food of Asia) ซึ่งดูแลธุรกิจในฝั่งกาแฟและเบเกอรี่ รวมทั้งการเพิ่ม Chang Canvas​ ​ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนของกลุ่มไทยเบฟ

การกลับมาของคุณแซม ไพศาล อ่าวสถาพร พร้อมภารกิจครั้งใหม่นี้ จึงน่าจับตาว่าจะเกิดสีสัน หรือการ ใหม่ๆ ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะการมีส่วนยกระดับคราฟต์เบียร์ไทย ให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น ทั้งในวงการอาหารและเครื่องดื่ม หรือแม้แต่ความร่วมมือกับพันธมิตรที่อยู่นอกเหนืออุตสาหกรรมอาหารทั้งแบรนด์ไทย ไปจนถึง​ Regional และ Global Brand โดยมีพื้นที่ของ Chang Canvas เป็นอีกหนึ่งส่วนที่ช่วยผลักดันในฐานะ 'Iconic Social Brewhouse' ที่เปิดกว้างสำหรับทุกแบรนด์และความสร้างสรรค์ต่างๆ ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

#ไทยเบฟเวอเรจ #ช้าง #ช้างแคนวาส #อาหาร #เครื่องดื่ม #กลยุทธ์ #เติบโต #ยั่งยืน

พร้อมติดตามเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มเติม ได้ที่
Website : https://sdthailand.com/
Twitter (X) : https://twitter.com/sdthailand_TH

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when SD Thailand posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to SD Thailand:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share

Our Story

Sustainable Development (SD) : Future Requirements ...CSR, CSV, SE, HR, StartUp, Business News Website