วารสารดอกไม้ธูปเทียน-Dokmai Thup Thian Journal

  • Home
  • วารสารดอกไม้ธูปเทียน-Dokmai Thup Thian Journal

วารสารดอกไม้ธูปเทียน-Dokmai Thup Thian Journal วารสารธรรมะ
(1)

เพิ่มความรู้ครับ สนใจมาปฏิบัติได้นะครับ
10/11/2024

เพิ่มความรู้ครับ สนใจมาปฏิบัติได้นะครับ

เหตุผลที่ต้องพิจารณารูปอิริยาบถต่างๆ
26/10/2024

เหตุผลที่ต้องพิจารณารูปอิริยาบถต่างๆ

เพิ่มความเข้าใจครับ
19/09/2024

เพิ่มความเข้าใจครับ

#ถามตอบปัญหาธรรมะ #สังฆทานเวียนทำได้หรือไม่ ?โดยพระอาจารย์มหาสมบูรณ์ ฉนฺทโกเจ้าอาวาสวัดเขาสนามชัย…………………....

เพิ่มความเข้าใจครับ
17/09/2024

เพิ่มความเข้าใจครับ

ธรรมบรรยายวันธัมมัสสวนะ ว่าด้วยเรื่อง ตอบปัญหา "พุทธแท้" โดยพระอาจารย์มหาสมบูรณ์ ฉนฺทโก (เจ้าอาวาสวัดเขาสน...

ฟังสวดมนต์ภาษาบาลีฟังไม่เข้าใจ สวดเป็นภาษาไทยได้ไหม 😇
16/09/2024

ฟังสวดมนต์ภาษาบาลีฟังไม่เข้าใจ สวดเป็นภาษาไทยได้ไหม 😇

#ถามตอบปัญหาธรรมะ #ฟังบทสวดภาษาบาลีไม่เข้าใจสามารถสวดเป็นภาษาไทยได้หรือไม่ ?โดยพระอาจารย์มหาสมบูรณ์ ฉนฺท....

ลองฟังดูนะครับ มีประโยชน์มากๆเลย
15/09/2024

ลองฟังดูนะครับ มีประโยชน์มากๆเลย

#ธรรมะ #ธรรมนาวา …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… เมื่อเรานอนบนแผ่นดิน ได้มีความ...

😇😇😇ขออนุโมทนาผู้มีจิตศรัทธา ร่วมพิมพ์หนังสือวารสารดอกไม้ธูปเทียน ฉบับที่ 14 ปีที่ ได้วายพระภิกษุสามเณรตามวัดแล้ว😁😁😁😁😁1.ว...
05/09/2024

😇😇😇ขออนุโมทนาผู้มีจิตศรัทธา ร่วมพิมพ์หนังสือวารสารดอกไม้ธูปเทียน ฉบับที่ 14 ปีที่ ได้วายพระภิกษุสามเณรตามวัดแล้ว
😁😁😁😁😁
1.วัดพระธาตุหนองสามหมื่น
2.วัดหาดใหญ่สิตาราม (วัดสมเด็จ)
3.วัดหนองโมงบูรพาราม
4.วัดโพธิ์ฐานพระ
5.วัดดอนตาดไฮ
6.วัดไวยกูลฐาราม
8.วัดธรรมาวาส
9.วัดมะม่วงหมู่
10.วัดหนองไก่ขัน
11.วัดชลประทานรังสฤษฏ์
12.วัดเขาสนามชัย
13.มูลนิธิปราณีสำเริงราชย์
14.วัดป่าเทพจักรพันธ์
15.สำนักพุทธเมตตา
😁😁😁😁
หากมีรายชื่อตกหล่นขออภัยด้วยนะครับ

เจริญวิปัสสนากำหนดสังขารเป็นอารมณ์ กำหนดอย่างไร    ถาม ในการเจริญวิปัสสนา ที่ให้กำหนดสังขารเป็นอารมณ์นั้น สังขารคืออะไร ...
31/07/2024

เจริญวิปัสสนากำหนดสังขารเป็นอารมณ์ กำหนดอย่างไร
ถาม ในการเจริญวิปัสสนา ที่ให้กำหนดสังขารเป็นอารมณ์นั้น สังขารคืออะไร และกำหนดอย่างไร
ตอบ คำว่า “สังขาร” มีหลายอย่าง เช่น สังขารธรรม สังขารขันธ์ สังขารทุกข์ สังขารโลก สังขาร ๒ คืออุปาทินนกสังขาร และอนุปาทินนกสังขาร สังขาร ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร หรือปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร สำหรับ “สังขาร” ที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น ได้แก่ สังขารธรรม คือธรรม ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง หรือธรรมที่เกิดจากเหตุปัจจัย มีสภาพไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไป โดย สภาวะ ได้แก่ ขันธ์ ๕ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ แต่สังขารธรรมที่เป็นอารมณ์ ของวิปัสสนานั้น ได้เฉพาะโลกียธรรม คือโลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ เท่านั้น ไม่รวมถึงโลกุตรธรรม คือโลกุตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ ด้วย ทั้งนี้เพราะโลกุตรธรรมไม่ได้ มีตัณหาเป็นสมุทัย คือ ไม่มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด แต่มีปัญญาเป็นเหตุให้เกิด ส่วน โลกียธรรมนั้นมีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ก็โลกียธรรมนั้นสรุปลงก็ได้แก่ นามและรูป ๒ อย่างเท่านั้น และหมายเฉพาะปรมัตถธรรมเท่านั้น ไม่รวมบัญญัติธรรมเข้าไว้ด้วย
สังขารธรรม คือนามและรูปนี้ มีลักษณะ ๒ อย่างคือ ลักษณะเฉพาะตัว เรียกว่า ปัจจัตตลักษณะ หรือวิเศษลักษณะ กับ ลักษณะที่เสมอกัน เรียกว่า สามัญญลักษณะ
อธิบายว่า นามและรูป แต่ละนาม แต่ละรูป ต่างมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ไม่เหมือนกัน เช่น จิตมีลักษณะน้อมไปสู่อารมณ์ เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำอารมณ์ ปฐวีมีลักษณะแข็ง อาโปมีลักษณะเกาะกุม เป็นต้น แต่นามและรูป ทั้งหมด ไม่ว่าจิต ไม่ว่าเวทนา ไม่ว่าสัญญา ไม่ว่าปฐวี ไม่ว่าอาโป เป็นต้นเหล่านี้ ต่างมี ลักษณะที่เหมือนกันอยู่ ๓ ประการ คือ อนิจจตา ความเป็นสภาพไม่เที่ยง ทุกขตา ความ เป็นสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ มีแล้ว
กลับไม่มี อนัตตา ความเป็นสภาพไม่ใช่ตัวตน ว่างเปล่า จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และไม่อยู่ในอำนาจ
ด้วยเหตุที่สังขารธรรมอันเป็นปรมัตถธรรมนั้น ได้แก่ นามและรูป ซึ่งมีลักษณะ ๒ อย่างดังกล่าวนี้ ในการเจริญวิปัสสนา จึงต้องกำหนดรู้ (คือระลึกรู้) ที่ปัจจัตตลักษณะ อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของนามของรูป ในขณะที่ลักษณะเฉพาะตัวของนามของรูป กำลังปรากฏเกิดขึ้นทางทวารทั้งหก ทวารใดทวารหนึ่ง มีทวารตา เป็นต้น ทีละนาม ทีละรูป ที่เกิดขึ้นในทวารนั้นๆ ตามความเป็นจริง ทั้งนี้เพื่อละความเห็นผิดว่านาม ว่ารูป เป็นตัวตน คน สัตว์ เสียก่อนเป็นเบื้องต้น ครั้นเมื่อกำหนดรู้ลักษณะเฉพาะตัวของนาม ของรูปอยู่อย่างนี้บ่อยๆ เนืองๆ จนปัญญาเจริญขึ้นๆ จึงสามารถเข้าไปรู้ที่สามัญญลักษณะ อันเป็นลักษณะที่เสมอกันของนามของรูปต่อไปได้ นั่นคือ รู้ว่านามว่ารูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จากนั้นปัญญาก็เจริญขึ้นโดยลำดับ จนสามารถแทงตลอดธรรมทั้งปวง เกิด ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผลได้
สรุปว่า สังขารที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น ได้แก่ สังขารธรรม คือนามและรูป ซึ่งมีทั้งปัจจัตตลักษณะและสามัญญลักษณะ ส่วนบัญญัติธรรม ไม่มีลักษณะทั้งสองนั้น
Cr.สมเกีรติ พลเดอุดมคุณ

การมีลูก เมีย สามี เป็นกิเลสหรือไม่   ถาม ได้ยินพระอาจารย์รูปหนึ่งพูดทางโซเชี่ยวว่า มีคนพูดว่าการมีลูกเมีย สามีนั้นเป็นก...
28/07/2024

การมีลูก เมีย สามี เป็นกิเลสหรือไม่
ถาม ได้ยินพระอาจารย์รูปหนึ่งพูดทางโซเชี่ยวว่า มีคนพูดว่าการมีลูกเมีย สามีนั้นเป็นกิเลส แต่ท่านเห็นว่าไม่ใช่กิเลส เพราะมิฉะนั้นแล้วนางวิสาขาที่เป็นพระ
โสดาบันที่ยังมีสามีมีลูกก็เป็นกิเลสน่ะสิ ฟังแล้วก็ไม่เห็นด้วย จึงขอความเห็นของ ท่านว่าที่พระอาจารย์ท่านนั้นพูดเช่นนั้นถูกหรือผิด เพราะเหตุใด
ตอบ การมีลูกเมียสามีนั้นเป็นเรื่องของกิเลสแน่นอน คือเป็นกามราคะ คนที่ยังมี กามราคะอยู่ก็ย่อมหนีเรื่องลูกเมียสามีไม่พ้น อย่างพระโสดาบัน เช่น นางวิสาขา เป็นต้น ท่านก็ยังละกามราคะยังไม่ได้ เพราะกามราคะนี้ต้องละด้วยอนาคามิมรรค คือต้องเป็น พระอนาคามีแล้วจึงจะไม่มีกามราคะ ไม่ต้องการมีลูกเมียสามี แม้จะไม่ออกบวช อยู่ ครองเรือน ก็ไม่เกี่ยวข้องกับคู่ครองของตน ต่างคนต่างอยู่ ไม่เกี่ยวข้องกัน แม้แต่ ทรัพย์สินต่างๆ ท่านก็สละได้ด้วยการนำออกบำเพ็ญทาน ไม่ยินดียึดถือในวัตถุกามนั้น อีกต่อไป แต่คนธรรมดานั้นยังมีกามราคะเต็มบริบูรณ์ ยังยินดีในการมีลูกมีเมียมีสามี ทั้งยังอาจล่วงศีลไปยินดีในเมียคนอื่น สามีคนอื่นอีกก็ได้ แต่พระโสดาบันนั้นต่างกับ ปุถุชนตรงที่ ท่านแม้จะยังมีกามราคะอยู่ แต่กามราคะของท่านเบาบางแล้ว ถึงท่านจะ มีเมีย มีสามี ท่านก็ยินดีแต่เมียของท่าน แต่สามีของท่าน ไม่ไปยินดีคู่ครองของผู้อื่น เรียกว่าไม่มีวันที่จะล่วงศีล ๕ เป็นอันขาดถ้าท่านเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น พระโสดาบันท่านจึงมีคุณธรรมสูงกว่าปุถุชน เพราะท่านละกิเลสบางอย่างได้แล้ว ใน ขณะที่ปุถุชนยังละกิเลสไม่ได้สักอย่างเดียว อย่างกิเลส คือกามราคะนี้ ปุถุชนมีเต็มที่ พระโสดาบันละกามราคะอย่างหยาบที่สามารถนำไปอบายได้ พระสกทาคามีทำกามราคะ ที่เหลืออยู่ให้บางลงไปอีก พอเป็นพระอนาคามีก็ละกามราคะได้หมดสิ้น กามราคะจึง ถูกละไปเป็นขั้นๆ ตามลำดับอย่างนี้ สรุปว่าคนที่ยังมีกามราคะอยู่ย่อมมีลูกเมียสามีได้ เพราะฉะนั้น การมีลูกเมียสามีจึงเป็นเรื่องของคนมีกิเลส คือกามราคะอยู่
ในเรื่องนี้ ขออ้างข้อความตอนหนึ่งใน จูฬทุกขักขันธสูตร ม. มู. ข้อ ๒๐๙-๒๑๐ ซึ่งเป็นข้อความที่พระเจ้ามหานามศากยราช ซึ่งเป็นพระสกทาคามีแล้ว ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจข้อธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมานานแล้วอย่างนี้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ ต่างเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนั้น โลภธรรมก็ตาม โทสธรรมก็ตาม โมหธรรมก็ตาม ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว ข้าพระองค์จึงเกิดความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมชื่ออะไรเล่าที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาด ในภายใน อันเป็นเหตุให้โลภธรรมก็ตาม โทสธรรมก็ตาม โมหธรรมก็ตาม ยังครอบงำจิตของ ข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานาม ธรรมนั้น (คือ โลภะ โทสะ โมหะ) นั่นแล ท่านยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลภธรรมก็ตาม โทสธรรมก็ตาม โมหธรรมก็ตาม ยังครอบงำจิตของท่านไว้ได้เป็นครั้งคราว ดูก่อนมหานาม ก็ธรรมนั้น จักเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว ท่านก็ไม่พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม แต่เพราะท่านละธรรมเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาดในภายใน ฉะนั้นท่านจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม
จากพระพุทธดำรัสนี้ จึงเป็นอันยุติได้ว่า ผู้ที่ยังครองเรือน ยังบริโภคกามอยู่นั้น เพราะยังละกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ ให้เด็ดขาดไม่ได้นั่นเอง ไม่เว้นแม้พระโสดาบัน และพระสกทาคามี
Cr.สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

ทําบุญเพื่อพบพระพุทธศาสนา   ถาม ทำบุญอย่างไรจึงจะพบพระพุทธศาสนาตลอดไป   ตอบ เรื่องของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของศีล สมาธิ ...
25/07/2024

ทําบุญเพื่อพบพระพุทธศาสนา
ถาม ทำบุญอย่างไรจึงจะพบพระพุทธศาสนาตลอดไป
ตอบ เรื่องของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของศีล สมาธิ และปัญญา โดยเฉพาะ โดยปกตินั้นแม้ไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ศีลและสมาธิก็มีผู้บอกสอนและปฏิบัติกันอยู่ แต่เรื่องของปัญญา โดยเฉพาะวิปัสสนาปัญญานั้นมีอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่มีในศาสนาอื่น เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่าศาสนาพุทธเป็นเรื่องของปัญญาโดยตรงก็คงไม่ผิด เพราะฉะนั้นถ้าปรารถนาที่จะพบพระพุทธศาสนาตลอดไปจนกว่าจะนิพพานแล้ว ท่านก็จะต้องประกอบกุศลที่เนื่องด้วยปัญญา แรกทีเดียวตัวท่านจะต้องเป็นผู้มีความเห็นตรง คือไม่เห็นผิดว่าบาปบุญไม่มีเป็นต้นเสียก่อน ยอมรับว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเสียก่อนแล้ว จะทำบุญครั้งใดก็ทำด้วยความเชื่อในกรรมในผลของกรรมเป็นที่ตั้ง ประการสำคัญก็คือ ไม่ละเว้นการเจริญวิปัสสนา แม้ว่าไม่อาจจะบรรลุธรรมได้ในชาติเดียว สองชาติ ก็เป็นปัจจัยให้เราได้เป็นผู้มีความเห็นถูกตรง และเป็นปัจจัยได้เจริญวิปัสสนาต่อๆ ไปในภายหน้า จนกว่าจะบรรลุธรรม
จริงอยู่การให้ทานก็ดี การรักษาศีลก็ดี ล้วนเป็นปัจจัยให้บรรลุธรรมได้ก็จริง แต่ถ้าผู้นั้นเพียงให้ทานรักษาศีล แต่ไม่เจริญวิปัสสนาแล้ว ก็ไม่บรรลุธรรม ศาสนาของ พระพุทธเจ้านั้นมีวิมุตติความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เป็นผล เป็นอานิสงส์ ถ้าไม่เจริญวิปัสสนาให้ถึงที่สุดแล้ว วิมุตติความหลุดพ้นก็มีไม่ได้ และศีล สมาธิ ปัญญาที่ให้ถึงวิมุตตินั้นก็ต้องเป็นอริยสัจ อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา ที่เกิดพร้อมกันในอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าท่านต้องการพบพระพุทธศาสนาทุกชาติตลอดไป ท่านก็ต้อง เจริญศีล สมาธิ ปัญญา จนกว่าจะเข้าถึงอริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา
Cr.สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

ในบรรดาบารมี 10 ประการนั้น ทรงจัดไว้เป็นลำดับ เริ่มตั้งแต่ทาน เป็นต้น จนถึงอุเบกขาเป็นที่สุด ด้วยลำดับแห่งเทศนา(การแสดง)...
24/07/2024

ในบรรดาบารมี 10 ประการนั้น ทรงจัดไว้เป็นลำดับ เริ่มตั้งแต่ทาน เป็นต้น จนถึงอุเบกขาเป็นที่สุด ด้วยลำดับแห่งเทศนา(การแสดง) โดยการอุปการะกัน ส่งผลให้มีอานืสงส์มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวกขึ้น เช่น
ทาน เมื่อศีลอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวกยิ่งขึ้น เช่น การถวายถัตตาหารแด่พระที่เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร จนฝึกเป็นอุปนิสัยได้ จึงทรงเทศนาทานเป็นอันดับที่ 1
ศีล เมื่อเนกขัมมะอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวกยิ่งขึ้น เช่น การประพฤติตนออกจากกามจนฝึกเป็นอุปนิสัยได้ จึงทรงเทศนาศีลเป็นอันดับที่ 2
เนกขัมมะ เมื่อปัญญาอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์
มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวกยิ่งขึ้น เช่นการไม่ประพฤติตนที่เคร่งด้วยอัตตกิลมัตถานุโยค และหย่อนยานด้วยกามสุขัลลิกานุโยค จนฝึกเป็นอุปนิสัยได้ จึงทรงเทศนาเนกขัมมะเป็นอันดับที่ 3
ปัญญา เมื่อวิริยะอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวกยิ่งขึ้น เช่น ชาคริยานุโยค คือ ความตื่นตัวขวนขวายเจริญภาวนา จนฝึกเป็นอุปนิสัยได้ จึงทรงเทศนาปัญญาเป็นอันดับที่ 4
วิริยะ เมื่อขันติอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวดวกขึ้น เช่น ทมถะ คือ ความสงบกายและใจ จนฝึกเป็นอุปนิสัยได้ จึงทรงเทศนาวิริยะเป็นอันดับที่ 5
ขันติ เมื่อสัจจะอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวกยิ่งขึ้น เช่น อธิวาสนขันตื คือ การยอมรับความเป็นจริงได้ใจไม่เดือดร้อนขุ่นเคือง ฝึกจนเป็นอุปนิสัยได้ จึงทรงเทศนาขันติเป็นอันดับที่ 6
สัจจะ เมื่ออธิฏฐานอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวกยิ่งขึ้น เช่น อุปักกมะ คือความมุ่งมั่นแน่วแน่ จึงทรงเทศนาสัจจะเป็นอันดับที่ 7
อธิฏฐาน เมื่อเมตตาอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวกยิ่งขึ้น เช่น หิตะ คือ ความเกื้อกูลประโยชน์ จึงทรงเทศนาอธิฏฐานเป็นอันดับที่ 8
เมตตา เมื่ออุเบกขาอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์มาก และการสมาทานถือเอาก็สะดวกยิ่งขึ้น เช่น อตุณหีภาวะ ความไม่นิ่งเฉยต่อการโปรดสัตว์ จึงทรงเทศนาเมตตาเป็นอันดับที่ 9
อุเบกขา เมื่อทานอุปการะแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ และการสมาทานถือเอาก็สะดวกยิ่งขึ้น เช่น ความใส่ใจที่ให้ความรู้(ธรรม)แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงทรงเทศนาอุเบกขาเป็นอันดับที่ 10
ลำดับแห่งการเทศนาบารมี 10 ประการพร้อมทั้งองค์คุณอันเกื้อให้การสมาทานถือเอาได้สะดวกขึ้นจึงมีด้วยประการละฉะนี้แล
(เหตุผลการจัดลำดับการเทศนาบารมีและองค์คุณที่เนื่องกันทำให้การสมาทานถือเอาได้สะดวก จากนิสสยะ อักษรธรรมล้านช้าง และอักษรสิงหล)
Cr.สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

ถ้าไม่มีพระภิกษุ ทำบุญอุทิศให้เปรตได้หรือไม่   ถาม การทำบุญอุทิศให้ญาติหรือเปรตที่ล่วงลับไปแล้วนั้น จำเป็นต้องทำแก่ พระภ...
23/07/2024

ถ้าไม่มีพระภิกษุ ทำบุญอุทิศให้เปรตได้หรือไม่
ถาม การทำบุญอุทิศให้ญาติหรือเปรตที่ล่วงลับไปแล้วนั้น จำเป็นต้องทำแก่ พระภิกษุหรือไม่ ถ้าไม่มีภิกษุที่จะรับทานเราจะทำอย่างไร จะทำบุญให้เปรตได้ไหมครับ
ตอบ เรื่องการทำบุญอุทิศให้ผู้ตายนี้ โดยปกติท่านให้ทำกับผู้มีศีล ยิ่งผู้รับมีศีล บริสุทธิ์อย่างพระอรหันต์ โอกาสที่เปรตจะได้รับบุญที่อุทิศไปจึงจะแน่นอน หรือแม้ผู้รับจะไม่ใช่พระอรหันต์ เป็นพระอริยสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าชั้นรองลงมา หรือแม้เป็นสาวกผู้นับถือพระรัตนตรัย เป็นผู้มีศีลก็ยังสมควรเป็นนาบุญที่ทายกควรจะหว่านพืช คือไทยธรรมลงไป แล้วอุทิศแก่เปรตเช่นเดียวกัน เรื่องนี้มีตัวอย่างอยู่ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ โดยเฉพาะอรรถกถาอธิบายไว้แจ่มแจ้งมาก จึงขอยกมาเล่าประกอบดังนี้
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี ทรงปรารภนางเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี มีหญิงคนหนึ่งมีรูปสวย ผิวพรรณงดงาม ทั้งมีผมงามยิ่งนัก แต่นางเป็นหญิงงามเมือง อาศัยความงามเลี้ยงชีพ คนหนุ่มๆ ได้เห็นผมของนางแล้วก็เกิดความรักใคร่ ต่อมามีหญิง ๒-๓ คน ริษยาความงามของผมของนาง ซึ่งละเอียดอ่อนนุ่ม มีปลายงอนขึ้น จึงให้สินบนหญิงรับใช้ของนางให้ใส่ยาที่จะทำให้ผม ร่วงปนลงไปในผงหอมที่ใช้อาบน้ำ เมื่อนางไปอาบน้ำก็เอาผงนั้นทาผมแล้วดำลงไปในน้ำ ก็คงจะเป็นยาสระผมนั่นเอง เมื่อโผล่ขึ้นมาจากน้ำผมก็หลุดร่วงไปหมด เป็นคนหัวล้านเหมือนกะโหลกน้ำเต้าน่าเกลียดมาก ด้วยความละอาย นางจึงเอาผ้าคลุมศีรษะไปอา ศัยอยู่นอกเมือง
สองสามวันผ่านไป เมื่อความละอายค่อยบรรเทาลงแล้ว นางก็กลับมาเปลี่ยน อาชีพเป็นค้าสุราและน้ำมันงา วันหนึ่งลูกค้า ๒-๓ คน ดื่มสุรามึนเมา นางได้ลักเอาผ้าที่คนเหล่านั้นนุ่งไว้หลวมๆ ไป ต่อมานางเห็นพระอรหันต์ผู้บิณฑบาตรูปหนึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ มีจิตเลื่อมใสจึงนิมนต์ไปเรือนของตน ถวายแป้งผสมน้ำมันงาให้ฉัน ซึ่งพระอรหันตเถระก็อนุเคราะห์ด้วยการฉันแล้วอนุโมทนา นางมีจิตเลื่อมใสตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ขอให้เส้นผมของดิฉันยาวละเอียด นุ่มสนิท มีปลายงอนงามเถิด ครั้นต่อมาเมื่อนางสิ้นชีวิตลง ก็ได้เกิดในวิมานทองท่ามกลางมหาสมุทรแต่ลำพัง เส้นผมของนางงดงามละเอียดอ่อนตามที่นางปรารถนาไว้นั่นแหละ แต่นางเป็นหญิงเปลือยกาย เพราะผลของ ลักผ้าของชายขี้เมา
รวมความว่า นางเกิดเป็นเปรตมีวิมานด้วยอำนาจของการถวายทานแก่พระอรหันต์ แต่เปลือยกายเพราะขโมยผ้าของผู้อื่น ผลของกรรมทั้งดีทั้งชั่วให้ผลในคราวเดียว นางได้ เกิดอยู่ในวิมานทอง เป็นเปรตเปลือยอยู่หลายชาติตลอดพุทธันดร มาในสมัยของพระพุทธเจ้าของเรานี้ พ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี ๗๐๐ คน แล่นเรือไปท่ามกลางมหาสมุทร ถูกลมพัดไปจนถึงวิมานทองของนางเปรต นางได้แสดงให้พ่อค้าได้เห็นวิมานของตน แต่ไม่ให้มองเห็นตน หัวหน้าพ่อค้าจึงได้กล่าวคาถาว่า เธอเป็นใครหนออยู่ในวิมานนี้ ไม่ออกมาจากวิมานเลย เชิญเธอออกมาเถิด เราอยากจะเห็นเธอข้างนอก
นางเวมานิกเปรต เมื่อจะประกาศถึงเหตุที่ตนออกไปข้างนอกไม่ได้ จึงกล่าว คาถาว่า ดิฉันเป็นหญิงเปลือยกาย มีแต่ผมปิดไว้ กระดากอายที่จะออกมาข้างนอก ดิฉัน ได้ทำบุญไว้น้อยนัก พ่อค้าจึงกล่าวว่า นางผู้มีรูปงาม เอาเถิดเราจะให้ผ้าเนื้อดีแก่เธอ เชิญเธอนุ่งผ้านี้ แล้วออกมาข้างนอกเถิด เราอยากเห็นเธอข้างนอก
นางเวมานิกเปรตตอบพ่อค้าว่า ผ้านั้นถึงท่านจะให้ในมือของดิฉัน ก็ไม่สำเร็จแก่ดิฉัน ถ้าในหมู่ท่านมีอุบาสกผู้มีศรัทธาเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอท่านจงให้อุบาสกนั้นนุ่งห่มผ้าที่ท่านจะให้ดิฉัน แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ดิฉันเถิด เมื่อท่านทำอย่างนั้น ดิฉันจึงจะได้นุ่งผ้าตามปรารถนา ได้รับความสุข พ่อค้าเหล่านั้นฟังแล้ว จึงให้อุบาสกนั้นอาบน้ำลูบไล้ของหอมแล้วนุ่งผ้านั้น ครั้นแล้วได้อุทิศส่วนกุศลที่ให้ผ้านั้นแก่นางเปรตนั้น ทันใดนั้นเอง โภชนะ เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม ย่อมเกิดขึ้นแก่นางเปรตนั้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ลำดับนั้นนางเปรตมีสรีระบริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้าการเสวยทุกข์นี้เป็นผลของกรรมชั่ว เพราะฉะนั้นดิฉันจึงเศร้าโศกที่จะไปเกิดในนรกนั้นสะอาด งามดีกว่าผ้าที่ทําจากแคว้นกาสี เดินยิ้มออกมาจากวิมาน ประกาศว่า นี้เป็นผลแห่งทักษิณา
พ่อค้าเหล่านั้นเห็นนางแล้วจึงถามว่า วิมานของท่านงดงาม มีรูปภาพวิจิตร สว่างไสว ดูก่อนนางเทพธิดา นี้เป็นผลของกรรมอะไร ตอนนี้นางเปรตซึ่งพ้นจากเปรตเป็นเทพธิดาแล้ว ตอบว่า เมื่อดิฉันเป็นมนุษย์อยู่นั้น มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายแป้งผสมน้ำมันงา แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต มีจิตซื่อตรง ดิฉันเสวยวิบากแห่งกุศลกรรมนั้นในวิมานนี้เป็น เวลานาน ก็ผลบุญนั้นยังเหลืออยู่อีกนิดหน่อย พ้นจากนี้อีก ๔ เดือน ดิฉันจะจุติจากวิมานนี้ จะตกนรกอันเร่าร้อนสาหัส มีสี่เหลี่ยมมี ๔ ประตู จำแนกเป็นห้องๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก พื้นนรกนั้นเป็นเหล็กแดง ลุกเป็นเปลวไฟ ความร้อนแผ่ไปตลอดร้อยโยชน์ โดยรอบ ติดอยู่ในกาลทุกเมื่อ ดิฉันจะต้องเสวยทุกขเวทนาในนรกนั้นสิ้นกาลนาน ก็ เมื่อนางเทพธิดาได้ประกาศผลกรรมที่นางได้ทำไว้ในอดีตและภัยที่จะได้รับเพราะตกนรกในอนาคตอย่างนี อุบาสกนั้นเกิดความการุญ คิดว่าเราจะเป็นที่พึ่งของนาง แล้วจึงกล่าวแก่ นางว่า เธอสำเร็จความปรารถนาทุกอย่างกลายเป็นนางเทพธิดาผู้ประกอบด้วยสมบัติอันยิ่ง ด้วยอำนาจของการที่พ่อค้าให้ทานแก่เราผู้เดียว บัดนี้เธอจงให้ทานแก่อุบาสกเหล่านี้แล้ว หวนระลึกถึงคุณของพระศาสดา จักพ้นจากการเกิดในนรกได้ นางฟังแล้วร่าเริงยินดีนัก ได้ให้อุบาสกเหล่านั้นอิ่มหนำด้วยอาหารทิพย์ ให้ผ้าทิพย์และแก้วหลายชนิด ทั้งนางได้ ถวายคู่ผ้าจิต ตั้งจิตมุ่งต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ในมือของอุบาสกนั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ นางเวมานึกเปรตตนหนึ่งขอฝากถวายบังคมแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอท่านจงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าตามคำของดิฉัน เมื่อท่านไปถึงกรุงสาวัตถีแล้ว และในวันนั้นเอง นางได้ใช้อิทธานุภาพของตน พาเรือของพวกพ่อค้าเหล่านั้นไปจอดยังท่าที่พวกเขาต้องการ
พวกพ่อค้าเมื่อขายสินค้าหมดแล้ว แล่นเรือกลับมากรุงสาวัตถี เข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า ที่พระวิหารเชตวัน ถวายคู่ผ้านั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถึงการที่นางเปรต ฝากถวายบังคมมาแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นเหตุ ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร แก่พุทธบริษัทที่เฝ้าแหนอยู่ในขณะนั้น ใน วันที่สองพวกพ่อค้าเหล่านั้นได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่นางเปรต นางเปรตอนุโมทนาแล้ว จุติจากเปรตโลกบังเกิดในวิมานทอง ในภพดาวดึงส์ มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร
นี้เป็นเรื่องราวในขัลลาติยะเปติวัตถุ ซึ่งนำมาเล่าประกอบคำถามที่ท่านถามมา เพื่อให้ทราบว่า การให้ทานแก่อุบาสกผู้มีศีลในศาสนานี้แล้วอุทิศบุญแก่เปรต เปรตที่ได้ รับส่วนบุญนั้น ในกรณีที่หาพระภิกษุถวายทานเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ผู้ล่วงลับไปแล้วไม่ได้ คุณก็จะได้ให้ทานนั้นแก่อุบาสกผู้มีศีล ผู้นับถือพระรัตนตรัย แล้วอุทิศบุญนั้นแก่ผู้ที่ล่วงลับ ไปแล้ว ถ้าผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนั้นทราบ และอนุโมทนา เขาก็จะได้รับผลทานนั้น ถ้าเป็นเปรตก็จะพ้นจากความเป็นเปรตได้ ดังเรื่องที่เล่ามานี้ และจากเรื่องนี้ก็จะเห็นได้ว่า แม้ เวมานิกเปรตก็สามารถรับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศไปให้แล้วได้ มิจำเป็นจะต้องเป็นปรทัตตูปชีวิกะเปรตจำพวกเดียวตามที่เคยเข้าใจกัน
Cr.สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

ทำบาปแล้วล้างบาปได้หรือไม่   ถาม บางศาสนามีการล้างบาป เขาก็จะหายบาป แต่พุทธศาสนาถือว่าทำชั่วก็ต้องได้รับผลชั่ว แต่ถ้าคนท...
22/07/2024

ทำบาปแล้วล้างบาปได้หรือไม่
ถาม บางศาสนามีการล้างบาป เขาก็จะหายบาป แต่พุทธศาสนาถือว่าทำชั่วก็ต้องได้รับผลชั่ว แต่ถ้าคนที่นับถือศาสนาที่ล้างบาปได้ ตายลงโดยทำบาปไว้ แต่
ก่อนตายได้ไถ่บาปให้พระเจ้าของเขาหมดแล้ว เขาจะต้องตกนรกหรือได้รับผลของบาป ตามคำสอนของศาสนาพุทธหรือไม่ เพราะเหตุใด อีกประการหนึ่ง คนที่นับถือศาสนาพุทธ ทําบาปแล้วเกิดกลัวบาป จึงหันไปนับถือศาสนาที่ล้างบาปได้ แล้วได้ไถ่บาปก่อนตาย เขาจะพ้นจากบาปได้หรือไม่
ตอบ ในเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงศาสนาใด กล่าวกันแต่ความจริงดีกว่าว่า บาปบุญคืออะไร บาปนั่นคือการกระทำชั่ว บุญนั้นคือการกระทำดี ก็การกระทำนั้นเมื่อ ทำลงไปแล้ว เราไม่อาจเรียกร้องให้กลับคืนมาได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นบุญหรือบาป สมมติว่าเราตีเด็ก เด็กเจ็บ แล้วเราขอโทษเด็ก ถึงเด็กจะไม่ถือโทษคือยกโทษให้ แต่เด็กก็ถูกตีเจ็บไปแล้ว เราเรียกเอาอาการตีและอาการเจ็บอันเกิดจากการตีกลับมาไม่ได้ฉันใด ก็ถูกตีเจ็บไปแล้ว การกระทำดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เมื่อทำลงไปแล้ว เราก็ไม่อาจเรียกคืนกลับมาได้ฉันนั้น ในที่นี้จะพูดเฉพาะการทำชั่วคือบาป เมื่อทำลงไปแล้วผลของการทำชั่วก็ย่อมมี ลบล้างไม่ได้ ความดี ความชั่ว นั้นไม่ใช่สิ่งของที่เราสามารถจะหยิบยื่นให้ใครๆ ก็ได้เมื่อต้องการ หรือไม่ใช่สิ่งของที่เราจะหยิบทิ้งไปได้เมื่อไม่ต้องการ ทั้งนี้เพราะความดี ความชั่ว เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม ไม่มีรูปร่าง แต่อยู่ติดกับใจเรา เพราะฉะนั้น เมื่อทำไปแล้วย่อมไม่หนีหายไปไหน จะหยิบยื่นให้ใครหรือโยนทิ้งก็ไม่ได้ ก็เพราะเหตุ ที่บุญ บาป ความดี ความชั่ว ไม่หนีหายไปไหนนี่แหละ ผู้ทำจึงต้องได้รับความสุขบ้าง ความทุกข์บ้าง คละกันไปในชีวิตนี้ ยังไม่เคยพบคนที่มีแต่ความสุขอย่างเดียว หรือความ ทุกข์อย่างเดียว หากว่าเราสามารถไถ่บาปได้ หยิบยื่นบาปให้ใครๆ ได้เมื่อตอนจะตาย ตายแล้วเกิดมาใหม่ เราก็คงไม่ต้องได้รับความทุกข์เลย จะได้รับแต่ความสุขเท่านั้น เพราะเมื่อเราเอาบาปให้ใครไปหมดแล้ว ผลของบาปก็ไม่มี แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ทุกคนไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร ก็ยังได้รับผลของบาป คือความทุกข์กันอยู่ทั้งนั้น มาก น้อยตามแต่การกระทำบาปของผู้นั้น ดังที่เราเห็นๆ กันอยู่ ทั้งปฏิเสธไม่ได้ด้วย คนที่นับถือศาสนาที่ล้างบาปได้ ก็ยังได้รับความทุกข์เหมือนคนในศาสนาอื่นเช่นเดียวกัน
สำหรับเรื่องของการตกนรกหรือไม่ตกนรกนั้น ขึ้นอยู่กับว่า บาปที่ทำแล้วให้ผลในชาติหน้าหรือไม่ ถ้าให้ผลก็ตกนรกได้ แต่ถ้ายังไม่ให้ผลก็ยังไม่ตกนรกในชาติหน้า แต่อาจจะไปตกนรกในชาติต่อๆ จากชาติหน้าไปก็ได้ เมื่อบาปนั้นให้ผลนำเกิด ด้วยเหตุนี้ การกระทำต่างๆ ที่เราทำไปแล้ว เราไม่สามารถเรียกคืนมาได้ ผลของการกระทำนั้น จึงเกิดแก่ผู้ทำกรรมนั้น ไม่ว่าเขาจะนับถือศาสนาอะไร หรือไม่นับถือศาสนาใดๆ เลยก็ตาม
พระพุทธศาสนานั้นสอนแต่ความจริง ซึ่งเป็นกฎธรรมดาของโลก เป็นสัจจะทุกกาลเวลา ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรืออำนาจของใคร ไม่มีใครฝืนกฎธรรมดาของ โลกที่เป็นสัจจะไปได้เลย ไม่ว่าผู้นั้นจะนับถือศาสนาหรือไม่นับถือ และไม่ว่าผู้นั้นจะมีอำนาจวาสนาเพียงใด ทุกคนล้วนมีชีวิตเป็นไปตามกรรม คือการกระทำของตนที่ตนได้ทำไว้ทั้งสิ้น และจะเป็นอะไรต่อไปอีก ก็เพราะการกระทำของตน ด้วยเหตุนี้เราจึงเป็น ทายาท คือผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นผู้นำเกิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่ว เรานั่นแหละจะเป็นผู้รับผลของกรรมดีและกรรมชั่วนั้น
ด้วยเหตุนี้ คนที่นับถือศาสนาพุทธแล้วเกิดกลัวบาป หันไปนับถือศาสนาที่ล้างบาปได้ แล้วไถ่บาปเพราะกลัวผลของบาป จึงไม่พ้นจากบาปไปได้ เพราะบุญและบาปเป็นสัจธรรมดังกล่าวแล้ว ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ใครทำบุญคือความดีก็ได้ดีมีสุข ไปเกิดในที่ดี ใครทำบาปคือ ความชั่ว ก็ได้รับความทุกข์เดือดร้อน ไปเกิดในที่ชั่ว ทั้งหมดนี้คือความจริงที่ไม่มีใครลบล้างและหลีกเลี่ยงได้
บุญและบาปจึงไม่ขึ้นกับศาสนาใดๆ ผู้นับถือศาสนาใดๆ ก็ไม่อาจลบล้างความ จริงนี้ได้ แม้ศาสดาผู้สอนศาสนาเองก็ไม่อาจลบล้างความจริงได้เช่นกัน ศาสดาใดเข้าถึงความจริง ศาสดานั้นก็สอนความจริงแก่สาวกของตน ศาสดาใดเข้าไม่ถึงความจริง ศาสดา นั้นก็ไม่อาจสอนความจริงแก่สาวกของตนได้
จริงอยู่ ศาสนาทุกศาสนาต้องการจะสอนให้ทุกคนทำความดีทั้งสิ้น แต่จะดีแค่ไหน ดีอย่างไร ที่ได้ถึงที่สุดหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง พึงพิจารณาด้วยปัญญาเถิด
สรุปว่า ใครจะนับถือศาสนาใดก็ตาม จะล้างบาป ไถ่บาปได้หรือไม่ก็ตาม บาป นั้นก็มิได้หมดไป ยังคงอยู่และพร้อมที่จะให้ผลแก่ผู้ทำเสมอ หากว่าเขายังเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในสังสารวัฏนี้
ความจริง พระพุทธศาสนามิได้สอนเพียงไม่ให้ทำบาปเท่านั้น แต่สอนวิธีละบาปให้หมดไปด้วย หากมิใช่ด้วยการล้างบาปหรือไถ่บาป และมิใช่ด้วยการละบาปที่ทำไปแล้ว
เพราะไม่อาจทำได้ แต่พุทธศาสนาสอนวิธีจำกัดบาปที่จะเกิดต่อไปให้หยุดเกิด คือไม่ให้มีโอกาสเกิดได้อีก ด้วยปัญญาในวิปัสสนาที่ถึงความแก่กล้าสมบูรณ์พร้อมจนจิตหมดจดปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เราเรียกท่านผู้มีจิตบริสุทธิ์หมดจดปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงนั้นว่า พระอรหันตขีณาสพ
นี่คือวิธีละบาปในพุทธศาสนา จัดเป็นที่สุดแห่งความดี
Cr.สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

เรื่องนี้ผู้ที่ศึกษาธรรมควรฟังนะครับ😇😇😇
21/07/2024

เรื่องนี้ผู้ที่ศึกษาธรรมควรฟังนะครับ
😇😇😇

Share your videos with friends, family, and the world

ความสุขใจเป็นผลของบุญใช่หรือไม่?   ถาม เมื่อเราทำบุญแล้ว เกิดความสุขใจในบุญที่เราทำ ความสุขใจนั้นชื่อว่าเป็นผลของบุญที่ท...
18/07/2024

ความสุขใจเป็นผลของบุญใช่หรือไม่?
ถาม เมื่อเราทำบุญแล้ว เกิดความสุขใจในบุญที่เราทำ ความสุขใจนั้นชื่อว่าเป็นผลของบุญที่ทำนั้นใช่หรือไม่?
ตอบ ความจริงการกระทำทุกอย่างมีผล คือไม่ว่าจะทำดี ทำชั่ว ทำบุญ ลำบาป ล้วนมีผลทั้งสิ้น แต่คำว่า ผล นั้นมีทั้งอานิสังสผล ที่เราเรียกว่าอานิสงส์นั่นแหละ กับวิปุากผล ผลที่เกิดจากการกระทำนั้นโดยตรง ขอยกตัวอย่างดังนี้
เมื่อเราทําบุญไปแล้วทำให้เกิดลาภ ยศ สรรเสริญ ตลอดจนความสุขใจ และ ทำให้ได้เงินทองข้าวของบริวารเป็นอันมาก ซึ่งล้วนแต่เป็นผลของบุญทั้งสิ้น แต่เป็นผลที่จัดเป็นอานิสงส์ หรืออานิสังสผล ส่วนเมื่อทำบุญไปแล้ว ทำให้ได้เกิดเป็นเทวดา นางฟ้า หรือเกิดเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ในชาติต่อไปก็ดี ทำให้ได้เห็นแต่สิ่งดีๆ ได้ยินแต่สิ่งดีๆ ได้สูดดมกลิ่นที่ดีๆ ได้ลิ้มรสสิ่งที่ดีๆ ได้สัมผัสสิ่งที่ดีๆ ทั้งในชาตินี้และชาติต่อไปก็ดี ซึ่งโดยปรมัตถ์เรียกว่า กุศลวิปากจิต คือจิตที่เป็นผลของกุศลจิต อย่างนี้เรียกว่า วิปากผล
โปรดทำความเข้าใจง่ายๆ อย่างนี้ว่า ธรรมดานั้นกุศลหรือบุญเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ตัวตน ไม่มีชีวิต เพราะฉะนั้น ผลที่ปรากฏออกมาโดยตรงของบุญที่เราเรียกว่า วิปากผลนั้น จะต้องเป็นนามธรรม เช่นเดียวกับบุญอันเป็นตัวเหตุด้วย จึงจะชื่อว่าเหตุกับผลนั้นตรงกัน คือเมื่อเหตุเป็นนามธรรม ผลก็ต้องเป็นนามธรรมด้วย ผลที่ตรงกับเหตุโดยแท้จริงนั้นแหละเรียกว่า วิปากผล ส่วนอานิสังสผลนั้นจะเป็นผลอะไรก็ได้ ที่นอกเหนือจากวิปากผล การได้ลาภ ยศ สรรเสริญ ข้าวของเงินทอง ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น ล้วนเป็นอานิสงสผลทั้งสิ้น แม้ความสุขใจที่ได้รับก็เป็นอานิสังสผล เพราะขณะที่มีความสุขใจนั้นจิตที่เกิดพร้อมกับความสุขใจนั้นไม่ใช่วิปากจิต แต่เป็นกุศลจิต ที่ประกอบด้วยปีติโสมนัส
ความสุขนั้นมี ๒ ชนิด คือ สุขกายและสุขใจ สุขกายเท่านั้นที่เป็นวิปากผล คือเป็นผลโดยตรงของบุญ สุขกายจะเกิดก็ต่อเมื่อได้สัมผัสสิ่งที่ดีที่อ่อนนุ่มทางกายอย่างเดียว เพราะฉะนั้นเมื่อทำบุญแล้ว เกิดความสุขใจ ความสุขใจนั้นจึงเป็นผลของบุญ ที่เป็นอานิสังสผล ไม่ใช่วิปากผล ในคำถามนี้ถ้าท่านศึกษาอภิธรรมปริจเฉทที่ ๘ หรือ ศึกษามหาปัฏฐานมาแล้วจะเข้าใจชัด เมื่อทราบว่า บุญที่ให้ผลเป็นอานิสังสผลนั้นให้ด้วยอำนาจของปกตูปนิสสยปัจจัยอย่างเดียว แต่บุญที่ให้ผลเป็นวิปากผลนั้นให้ด้วยอำนาจของ ปัจจัยหลายปัจจัย แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือด้วยอำนาจของนานักขณิกกรรมปัจจัย ถ้าจะพูดโดยจำนวนของจิตที่เป็นกุศลทั้ง ๒๑ ดวงแล้ว สามารถจะให้วิปากผลที่เป็นผลของกุศลได้ถึง ๒๙ ดวงทีเดียว แต่ในที่หลายแห่ง ท่านแสดงว่าอานิสงส์ ได้แก่ วิบาก
Cr.สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

อักขณสูตร ว่าด้วยความสำคัญผิดเวลาว่าขณะนั้นประพฤติพรหมจรรย์ได้    ตรัสว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวถึงการประพฤติพรหม...
17/07/2024

อักขณสูตร ว่าด้วยความสำคัญผิดเวลาว่าขณะนั้นประพฤติพรหมจรรย์ได้
ตรัสว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวถึงการประพฤติพรหมจรรย์ได้สำคัญผิดเวลา(อักขณะ) ๘ ประการ คือ
กาลที่ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลก แล้วแสดงธรรมที่นำความสงบจากวัฏทุกข์มาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน(ดับวัฏทุกข์) สามารถปฏิบัติตามได้(ตรัสรู้ตามได้) แต่ บุคคลผู้นี้
๑. เกิดเป็นสัตว์นรก
๒. เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
๓. เกิดเป็นเปรตวิสัย
๔. เกิดเป็นอสัญญีสัตว์(พรหมรูปฟัก)ซึ่งอายุยืนยาวมาก
๕. บุคคลนี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท(ชุมชนนอกพุทธศาสนา)ที่ไม่รู้เดียงสา(รู้ผิดรู้ชอบตามอายุ)ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาข้องแวะได้เลย(ต่อต้านเต็มที่)
๖. บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท(ท่ามกลางชุมชนที่นับถือพุทธศาสนา) แต่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตปักใจว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล กรรมดีกรรมชั่วไม่มีผล โลกหน้าไม่มี คุณมารดาบิดาไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามได้ ก็ไม่มีในโลก(=ปฏิเสธพระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง)
๗. บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมีปัญญาทราม โง่เขลา ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
๘. ตถาคตไม่ได้อุบัติขึ้นในโลก(ว่างเว้นจากพุทธศาสนา) แม้บุคคลนี้จะกลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท(ท่ามกลางชุมชนคนดี) มีปัญญาสามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
ทรงตรัสสรุปว่า กาลเวลาที่จะประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์เพื่อดับวัฏทุกข์ได้ว่ามีขณะ(โอกาส)เดียวเท่านั้น คือ มี พระตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลก และบุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท(ท่ามกลางชุมชนที่พุทธศาสนายังไม่เสื่อม) และสามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
เมื่อพิจารณาตามที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวเตือนสติทั้ง ๘ โอกาสก็น่าใจหาย เพราะเราๆท่านๆทั้งหลายมัวพากันชล่าใจอยู่ วัฏทุกข์จึงยืดยาว ควรหรือไม่หนอ เมื่อโอกาสของพวกเราได้จังหวะพ้นจาก อักขณะ ทั้ง ๘ อยู่พอดี จักไม่ชล่าใจปล่อยให้ตนจมปลักในอักขณะทั้ง ๘ ไม่รู้จักจบจักสิ้นเสียที่ครับ
Cr.สมเกียรตื พลเดชอุดมคุณ

ปาฏิหารย์ที่พึงเกิดขึ้น ณ พระเจดีย์   1.) พระเจดีย์ มี กี่ประเภท ? คือ   1. สรีรธาตุเจดีย์(อัฏฐิธาตุเจดีย์) เป็นพระธาตุ(...
12/07/2024

ปาฏิหารย์ที่พึงเกิดขึ้น ณ พระเจดีย์
1.) พระเจดีย์ มี กี่ประเภท ? คือ
1. สรีรธาตุเจดีย์(อัฏฐิธาตุเจดีย์) เป็นพระธาตุ(กระดูก)ของพระอรหันต์ มี พระพุทธเจ้าเป็นต้น
2. บริโภคเจดีย์ เป็นเครื่องใช้สอยของพระอรหันต์ มี บาตร จีวร เป็นต้น
3. อุทิสสเจดีย์ เป็น สถูป หรือ อาคารสถานที่สร้างบูชาอุทิศพระอรหันต์นั้นนั่นแหละ
2.) แต่ละประเภทเกิดจากการอธิษฐานของบุคคลใด ?
1. การอธิษฐานของพระอรหันต์ ขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ประสงค์อนุเคราะห์เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จึงได้อธิษธานไว้ว่า " ปาฏิหารอย่างนี้ ขอจงมีที่เจดีย์นี้เถิด " เช่น บางท่านก็อธิษฐานให้พระธาตุของท่านมีสัณฐานกลม บางท่านก็อนิษฐานให้เป็นสีต่างๆ มี สีเขึยว สีแดง สีแก้วมุกดาเป็นต้น หรือไม่ก็อธิษฐานว่า " ในกาลโน้น ในสมัยโน้น ขอปฏิหารอย่างนี้ ขอเหตุการณ์อย่างนี้จงเกิดขึ้น ณ สถูปที่บรรจุอัฏฐิธาตของเราเถิด
2. การอธิษฐานของเทวดาประสงค์อนุเคราะห์มนุษยทั้งหลาย ก็อธิษฐานให้เจดีย์แสดงปาฏิหารย์ เมื่อคราวที่กุศลธรรมตกต่ำ มนุษย์จักเลื่อมใสพระสัทธรรม เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งมั่น มนุษย์ก็จะฝักใฝ่เจริญกุศลธรรม
การอธิษฐานของมนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตที่รอบรู้พระสัทธรรมดี จึงเข้าใจและเลื่อมใสข้อประพฤติที่บริสุทธิทางทวารกรรมทั้ง 3 เป็นเหตุให้เกิดความเคารพนอบน้อมบูชาพระธาตุเจดีย์(อัฏฐิธาตุ)ด้วยปทีป ดอกไม้ และของหอมเป็นต้น พร้อมกับอธิษฐานให้ตนมีข้อประพฤติที่เป็นไปทางทวารกรรม 3 หมดจด ด้วยการมีสติและสัมปชัญญะเป็นไปทางทวารกรรม 3 ปาฏิหารย์ข้อนี้จึงสำเร็จด้วยความรู้และความตั้งใจอธิษฐานที่แน่วแน่นั่นเอง
(สาระปาฏิหารที่พึงเกิดขึ้น ณ พระเจดีย์ จากคัมภีร์นิสสยะ อักษรปัลลวะ)
Cr.สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when วารสารดอกไม้ธูปเทียน-Dokmai Thup Thian Journal posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share