MIND Setto

MIND Setto People & Organization Development

ขอแสดงความเสียใจแก่ผู้สูญเสียทุกท่านค่ะ 🙏🤍และขอให้น้องๆ ไปสู่ภพภูมิที่ดีนะคะ .... RIP 🕊️
01/10/2024

ขอแสดงความเสียใจแก่ผู้สูญเสียทุกท่านค่ะ 🙏🤍
และขอให้น้องๆ ไปสู่ภพภูมิที่ดีนะคะ .... RIP 🕊️

01/10/2024

หวังดี...กับ...ไม่ Respect
ต่างกันนิดเดียว

(Psychology Safety)

4 กลยุทธ์ในการนำตัวเอง .... เพราะการจะเป็น "ผู้นำที่ดี" ได้ ต้องเริ่มจากการนำตัวเองให้ได้ก่อน•🔑 กลยุทธ์ที่ 1 : เรียนรู้ว...
29/09/2024

4 กลยุทธ์ในการนำตัวเอง .... เพราะการจะเป็น "ผู้นำที่ดี" ได้ ต้องเริ่มจากการนำตัวเองให้ได้ก่อน

🔑 กลยุทธ์ที่ 1 : เรียนรู้วิธีเป็นผู้ตาม - มีเพียงผู้นำที่ตามเป็นเท่านั้นจึงจะรู้วิธีนำคนอื่นได้ดี จะเป็นผู้นำที่ดีได้ก็ต้องเข้าใจโลกของผู้ตาม เมื่อเรียนรู้ที่จะยอมรับภาวะผู้นำของผู้อื่นและตามให้เก่ง ก็จะสามารถเป็นผู้นำที่ถ่อมตนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

🔑 กลยุทธ์ที่ 2 : สร้างวินัย - การทำเรื่องที่เหมาะสมเมื่อจำเป็น และการยั้งใจไม่ทำเรื่องที่ผิด ล้วนต้องการวินัยและจิตใจที่เข้มแข็ง คนโง่อยากชนะโลก คนฉลาดอยากชนะตัวเอง การชนะตัวเองนั้นเริ่มต้นเมื่อเราทำเรื่องที่ต้องทำ ไม่ว่าจะอยากทำหรือไม่ก็ตาม

🔑 กลยุทธ์ที่ 3 : หัดอดทน - ผู้นำต้องจำไว้ว่า จุดประสงค์ของการนำไม่ใช่การไปถึงเส้นชัยก่อนใคร แต่เป็นการนำผู้คนไปให้ถึงเส้นชัยพร้อมกับคุณ ดังนั้น ผู้นำต้องจงใจก้าวให้ช้าลง อยู่ใกล้ชิดลูกน้อง ยอมให้ผู้อื่นช่วยทำวิสัยทัศน์ให้เป็นจริง และกระตุ้นให้ทีมไปต่อ

🔑 กลยุทธ์ที่ 4 : รู้จักรับผิดชอบ - การรับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ เริ่ม “ก่อน” ที่เราจะลงมือทำงาน คือเริ่มที่รับฟังคำแนะนำจากผู้อื่น ความเต็มใจที่จะแสวงหาและยอมรับคำแนะนำเป็นมาตรวัดชั้นเยี่ยมสำหรับวัดความรับผิดชอบ รวมทั้งความเติบโต และพัฒนาการของผู้นำ

นี่คือ 4 กลยุทธ์ในการนำตัวเอง จากประสบการณ์ของ John C. Maxwell นักคิดและโค้ชผู้นำอันดับต้นๆ ของโลก การที่เราสามารถนำตัวเองได้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างความไว้วางใจและความเคารพนับถือ ซึ่งจริงๆ แล้วกลยุทธ์เหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตของทุกคนได้แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในบทบาทหรือตำแหน่งของผู้นำที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมา แต่ทุกคนสามารถที่จะเป็นผู้นำให้กับตัวเองได้
📕สรุปจากหนังสือ The Self-Aware Leader โดย John C. Maxwell

สนใจสั่งซื้อหนังสือกดที่ลิงค์ด้านล่างนะคะ 👇
https://s.shopee.co.th/40O87igWSl

เขียนและเรียบเรียงโดย
วิชุตา กิจธนากำจร 🦉

(ปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาความเป็นผู้นำ ทักใน inbox ได้เลยค่ะ 😊)

“Strengths Finder 2.0” คือหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่ควรค่าแก่การลงทุนให้กับตัวเอง เพราะจะช่วยให้เราค้นหา “พรสวรรค์” ที่อยู่ใ...
21/09/2024

“Strengths Finder 2.0” คือหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่ควรค่าแก่การลงทุนให้กับตัวเอง เพราะจะช่วยให้เราค้นหา “พรสวรรค์” ที่อยู่ในตัวเราผ่านการประเมินด้วยแบบทดสอบร้อยกว่าข้อ (ใช้เวลาทำประมาณ 30 นาที และเลือกภาษาได้) โดยเราจะได้รับรหัสเพื่อเข้าทำแบบทดสอบผ่านเว็บไซต์ www.gallup.com

ใช้หนังสือเล่มนี้อย่างไรให้เกิดประโยชน์? ถ้าแค่ทำแบบประเมินเพื่อให้ได้ผลมา แต่ไม่ได้เอาไปทำอะไรต่อก็ไม่เกิดประสิทธิผลอะไร ดังนั้นหากรู้แล้วว่าเรามีพรสวรรค์อะไรในด้านไหนบ้าง ก็จะต้องนำเอาแนวทางที่ในหนังสือเล่มนี้อธิบายไว้ไปปฏิบัติจริงต่อ ซึ่งการนำไปปฏิบัติจริงและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นการพัฒนาศักยภาพที่เรามีอยู่ไปสู่ “จุดแข็ง” ได้

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร? ผู้เขียนมองว่าสามารถใช้ได้ตั้งแต่วัยนักเรียนจนถึงวัยเกษียณ ทำไมถึงคิดเช่นนั้นน่ะเหรอ?

✅ วัยนักเรียนนักศึกษา (ที่โตพอจะเข้าใจคำถามในแบบทดสอบ) เพราะยิ่งรู้ตัวเร็วก็อาจเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ จะได้ทำความเข้าใจกับตัวเองว่าเหมาะกับอาชีพอะไรได้บ้าง มันอาจจะไม่ได้บอกผลถึงขั้นว่าควรจะไปประกอบอาชีพอะไร แต่พอจะเอาไปประกอบการตัดสินใจได้ว่า ถ้าไปประกอบอาชีพนั้นๆ จะมีโอกาสได้ใช้พรสวรรค์ที่เราค้นพบหรือไม่ เพราะโอกาสคือสนามที่เราจะได้ปฏิบัติจริง ได้ฝึกฝนจนเก่งขึ้น กลายเป็นจุดแข็งในตัว ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถประสบความสำเร็จในอาชีพที่ตัวเองจะเลือกในอนาคตได้

✅ วัยทำงาน การรู้ว่าเรามีพรสวรรค์หรือสิ่งที่เราทำได้ดีในเรื่องอะไร จะช่วยให้เราพยายามดึงศักยภาพของตัวเองมาปรับใช้ในการทำงานในส่วนที่รับผิดชอบอยู่ เป็นการใช้จุดแข็งของตัวเองในการขับเคลื่อนให้งานของเราสำเร็จได้ บางโอกาสเราอาจจะยกมือขึ้นบอกว่าเราถนัดเรื่องอะไร ขอเป็นผู้รับผิดชอบหรือดูแลส่วนงานนั้นๆ ด้วยความเต็มใจ พอทำอะไรด้วยความเต็มใจหรือมีความกระหายอยากจะทำสิ่งๆ นั้น ความมุ่งมั่นจะบังเกิดขึ้นได้เองแบบอัตโนมัติ แบบไม่มีทางย่อท้อ อาจจะเหนื่อยแต่มันก็จะไม่เป็นอะไร ไม่ล้มเลิกง่ายๆ

✅ วัยเกษียณ (ก่อนหรือหลังเกษียณ) มีเยอะมากที่ยังไม่แน่ใจ หรือไม่รู้ว่าเกษียณไปแล้วจะไปทำอะไรดี หากได้ลองทำประเมินแล้วอาจจะเป็นตัวช่วยให้เรามีแนวทางในการเลือกภารกิจที่อยากจะทำหลังจากนั้นก็เป็นไปได้ ไม่สายเกินไปที่จะเรียนรู้ตัวของเราเอง

จริงๆ แล้วการทำแบบประเมินเพื่อหาจุดแข็งด้วยเครื่องมือนี้ ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการทำเพื่อให้เราตระหนักรู้ในตัวเอง (Self-Awareness) เข้าใจตัวเอง เห็นคุณค่าในตัวเอง ทำให้เรามั่นใจในตัวเองมากขึ้น จนทำเรามีระดับ Self-Esteem ในระดับที่สมดุล (Healthy) หรือในบางครั้งแบบประเมินนี้ก็ยังถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำ Coaching & Menntoring ซึ่งผู้เขียนจะมาแชร์ในบทความถัดๆไปนะคะ

เขียนและเรียบเรียงโดย
วิชุตา กิจธนากำจร 🦉

สนใจสั่งซื้อหนังสือ กดได้ที่ลิงค์ด้านล่างนะคะ👇
https://s.shopee.co.th/5AZsrh9yp5

18/09/2024

ถ้าคนเราให้น้ำหนักเรื่อง Passion มากๆ เราจะพยายามผลักดันให้มันสำเร็จ เรียนรู้ที่จะปรับตัว ทำความเข้าใจกับเงื่อนไขต่างๆ

เว้นเสียแต่ว่าเราให้เรื่องอื่นมามีน้ำหนักมากกว่า Passion ถ้าเป็นแบบนั้นมันก็ยากที่จะสำเร็จ

เพราะการมี Passion อย่างเดียว มันเหมือนแค่คิด แต่ไม่ได้ลงมือทำ และควรทำอย่าง คิด วิเคราะห์ แยกแยะด้วย

ส่วนเรื่องของความคิดเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ตามมา เหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนเราไม่เหมือนกัน คิดไม่เหมือนกัน พูดไม่เหมือนกัน ทำไม่เหมือนกัน สำเร็จไม่เท่ากัน ก็้เพราะทุกคนมี "Mindset" ไม่เหมือนกันนั่นเอง

  หรือ  #ภาวะความเป็นพิษแน่นอนว่าความเป็นพิษ คืออะไรที่มันทำให้เรารู้สึกถึงความไม่ดีที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่ว่าจะเป็นการส่ง...
12/09/2024

หรือ #ภาวะความเป็นพิษ
แน่นอนว่าความเป็นพิษ คืออะไรที่มันทำให้เรารู้สึกถึงความไม่ดีที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่ว่าจะเป็นการส่งผลต่อร่างกายหรือจิตใจ สภาวะความกดดันของสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เราแสดงพฤติกรรมเชิงลบออกมา ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
เวลาที่เราเจอคนที่ Toxic ใส่เรา คนส่วนใหญ่ก็มักจะพูดหรือกล่าวถึงบุคคลนั้นว่าเป็นคน Toxic แบบนั้นแบบนี้ แล้วก็พยายามหาวิธีรับมือในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะยังคงสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นในที่ทำงาน ที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือที่ไหนก็ตามที่เรายังคงจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับคนๆ นั้นอยู่
แต่น้อยคนที่จะพยายามทำความเข้าใจ หรือตั้งคำถามว่า อะไรกันที่ทำให้คนๆ นั้น แสดงพฤติกรรมในเชิงลบออกมา บางคนก็อาจจะเป็นที่นิสัยจริงๆ ที่มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ที่เขาได้พบเจอ จากครอบครัว หรือจากสถานที่ที่เขาอยู่ หรือบางคนก็อาจจะแสดงพฤติกรรมในเชิงลบหากอยู่ในภาวะกดดันหรือเครียด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
หากเราสามารถเบรกอารมณ์ตัวเอง ไม่ให้มีอารมณ์ร่วมหรือคล้อยตามไปกับคนที่ Toxic ใส่เราในขณะนั้น แล้วฉุดคิดคำถามขึ้นมาหนึ่งคำถามว่า “อะไรทำให้เขาเป็นแบบนี้นะ?” มันจะเป็นตัวที่ฝึกให้เราเริ่มทำความเข้าใจผู้อื่น (Empathy) แทนที่เราจะรู้สึกโกรธ รู้สึกอึดอัดใจ ก็อาจจะช่วยให้ตัวเราเองนั้นผ่อนคลายความเครียดลง อึดอัดน้อยลง พื้นที่ความปลอดภัยในจิตใจของเรายังคงมีอยู่เท่าเดิม ไม่ได้ถูกบีบให้เล็กลง เพราะคำถามดังกล่าวจะเป็นเหมือนเกราะป้องกันตัวเรา ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากภาวะความเป็นพิษที่ผู้อื่นส่งมอบให้ ในขณะเดียวกันมันยังช่วยให้เราได้ทบทวนตัวเองอีกด้วยว่า แล้วตัวเราล่ะ เคยทำพฤติกรรมเชิงลบ หรือ Toxic ใส่ผู้อื่นด้วยหรือไม่ เพราะบางทีตัวเราเองนี่ล่ะที่เป็นต้นเหตุทำให้ผู้อื่นแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นออกมา
บทความนี้ ไม่ได้จะมาบอกวิธีการรับมือกับคนที่ Toxic ใส่เรา แต่อยากจะเน้นเรื่องการรับมือกับตัวเองถ้าหากเจอสถานการณ์แบบนั้นมากกว่า เป็นเรื่องของการเรียนรู้ทำความเข้าใจในพฤติกรรม ความคิด และอารมณ์ของตัวเอง ง่ายที่สุดคือการลองสำรวจตัวเองดูว่าเรามีพฤติกรรมอะไรที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเราอาจจะกำลังเป็นคน Toxic

#ด้านอารมณ์และพฤติกรรม:

🔺 ชอบวิจารณ์: มักจะวิจารณ์ผู้อื่นในแง่ลบอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ ทัศนคติ หรือการกระทำ
🔺 ควบคุม: ต้องการควบคุมทุกอย่างรอบตัว รวมถึงพฤติกรรมของผู้อื่น
🔺 เห็นแก่ตัว: คิดถึงผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น
🔺 ขาดความรับผิดชอบ: ไม่ยอมรับผิดชอบในความผิดพลาดของตัวเอง และมักจะโทษผู้อื่นเสมอ
🔺 อิจฉาริษยา: รู้สึกอิจฉาเมื่อเห็นผู้อื่นประสบความสำเร็จ
🔺 ขาดความเห็นอกเห็นใจ: ไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้
🔺 ชอบพูดจาเสียดสี: ใช้คำพูดที่เจ็บปวดหรือดูถูกผู้อื่น
🔺 สร้างความขัดแย้ง: ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาทและสร้างความขัดแย้ง
🔺 ข่มขู่: ใช้คำพูดหรือการกระทำเพื่อข่มขู่ผู้อื่น

#ด้านความสัมพันธ์:

🔺 ความสัมพันธ์ไม่ยั่งยืน: มีปัญหาในการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก
🔺 ผู้อื่นรู้สึกไม่สบายใจเมื่ออยู่ใกล้: คนรอบข้างมักจะรู้สึกอึดอัดหรือไม่ปลอดภัยเมื่ออยู่ใกล้คุณ
🔺 ไม่มีใครอยากเข้าใกล้: คุณรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่มีเพื่อนสนิท
🔺 ความสัมพันธ์มักจะจบลงด้วยความขัดแย้ง: ความสัมพันธ์ของคุณมักจะจบลงด้วยการทะเลาะวิวาทหรือความไม่เข้าใจ
นี่เป็นเพียงแค่พฤติกรรมตัวอย่างในเชิงลบ ซึ่งวิธีแก้ไขก็คือจัดการ ควบคุม พฤติกรรมเหล่านี้ของตัวเอง การเป็นคนดีและมีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ การตระหนักถึงพฤติกรรมที่เป็นพิษและพยายามปรับปรุงตัวเองเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมีความสุข
ถ้าไม่อยากเจอคน Toxic … เราเองก็ต้องไม่เป็นคน Toxic เช่นกันนะคะ เพราะเราทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งแวดล้อมซึ่งกันและกันค่ะ
เขียนและเรียบเรียง โดย
วิชุตา กิจธนากำจร 🦉

Storytelling หรือการเล่าเรื่อง ทักษะที่สำคัญ ที่ใครๆ ก็อยากเก่งขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารที่ทรงพลังมากใน...
11/09/2024

Storytelling หรือการเล่าเรื่อง ทักษะที่สำคัญ ที่ใครๆ ก็อยากเก่งขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารที่ทรงพลังมากในยุคปัจจุบัน เพราะถ้าหากใครเล่าเรื่องเก่ง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงานหรือการใช้ชีวิตก็มีความเป็นไปได้สูงมาก
เราจะเห็นได้ว่าเดี๋ยวนี้มีคอร์สต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเล่าเรื่อง ผุดขึ้นมามากมายให้คุณได้เลือกเรียน ตั้งแต่ราคาย่อมเยาว์ ไปจนถึงราคาที่สูงมากๆ ขึ้นอยู่กับเนื้อหา ความซับซ้อน และที่สำคัญคือตัวผู้สอนเป็นใคร มีชื่อเสียงในระดับไหน ก็เป็นทางเลือกให้กับเหล่าคนที่ชอบพัฒนาตัวเองได้เลือกในแบบที่ “เหมาะกับตัวเอง”
เนื่องด้วยผู้เขียนทำงานในสายพัฒนาคนในองค์กร จึงมีโอกาสได้เห็นหลักสูตรของสถาบันต่างๆ มากมาย และดีใจเป็นอย่างยิ่งที่สมัยนี้มีคนเก่งๆ เยอะ ที่ตั้งใจออกแบบและพัฒนาหลักสูตรหรือ workshop ให้ดูทันสมัยและเข้มข้น ตั้งใจจะให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ แต่เราก็รู้ๆ กันอยู่ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เรียนไปแล้วจะเก่งขึ้น ถ้าหากไม่เอาไปลงมือทำ ไปทดลอง หรือแม้กระทั่ง เอาไปแชร์ ไปเล่า ไปสอนต่อ สิ่งที่ได้จากการเข้าไปเรียนคือคุณจะได้แค่ “ความรู้ติดตัว”
ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอยากเก่งเรื่องอะไร ก่อนที่จะตัดสินใจไปลงเรียนคอร์สแพงๆ ควรทำความเข้าใจกับตัวเองก่อนว่าคุณจะเก่งเรื่องนี้ไปเพื่ออะไร หรือตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าทำไมต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านั้น มันจะมีประโยชน์ต่อตัวคุณอย่างไร ซึ่งคำตอบควรจะเชื่อมโยงไปถึงเป้าหมายของคุณ เว้นเสียแต่ว่าคุณยังไม่ได้ตั้งเป้าหมาย
กลับมาที่เรื่องของการพัฒนาทักษะการเล่าเรื่อง จริงๆ แล้วอยากให้ลองย้อนนึกไปถึงช่วงที่เราเป็นเด็ก “นิทาน” คือตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราเข้าใจว่าการเล่าเรื่องที่ดีเป็นอย่างไร นิทานจริงๆ แล้วเป็นเพียงแค่เนื้อหาของเรื่องนั้นๆ นิทานส่วนใหญ่ก็จะลงท้ายด้วยว่า “เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า…..” ซึ่งคือบทสรุป, ข้อคิด, หรือแก่นของสิ่งที่จะสื่อออกมาจากนิทานเรื่องนั้น เป็นสิ่งที่ผู้แต่งนิทานอยากจะให้ผู้อ่านรับรู้ถึงความสำคัญของอะไรบางอย่าง เช่น นิทานสอนเด็ก ก็มีเป้าหมายที่อยากจะสอนให้เด็กๆ รู้ว่าอะไรควรทำ หรืออะไรไม่ควรทำ แต่ถ้านิทานเรื่องนั้นถูกแต่งขึ้นมาโดยเพิ่มความสนุก น่าสนใจ น่าติดตาม มันจะช่วยส่งผลให้นิทานเรื่องนั้นกลายเป็นนิทานที่มีคนต้องการ เกิดผลที่มากกว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมคน ไปเป็นส่งผลในเชิงธุรกิจ เกิดกำลังซื้อที่มากขึ้น ยกตัวอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น เจ.เค.โรว์ลิ่ง: นักเขียนนวนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่สร้างโลกเวทมนตร์ที่น่าหลงใหลและสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ทั่วโลก เพราะแค่เราอ่านหนังสือเอง เรายังรู้สึกสนุกเลย ยิ่งพอเอาไปทำเป็นภาพยนต์ยิ่งยกระดับความสนุกของเรื่องเข้าไปอีก
หรือถ้าหากเราอยู่ในโหมดของการทำงานลองนึกถึงภาพของการเข้าร่วมประชุมอะไรบางอย่างแล้วคุณเคยเจอคนที่นำเสนองานเก่งๆ พูดแล้วทำให้คนเข้าใจ บางคนถึงขั้นสามารถโน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ จริงๆ แล้วเป็นเพราะเขาพูดเก่ง มีเทคนิคดี หรือว่าจริงๆ แล้วเป็นเพราะเขาเก่งในเรื่องที่เขาพูดกันแน่?
หรือไม่คุณลองนึกถึงตัวเองเวลาที่ได้คุยกับเพื่อน เวลาที่คุณเล่าอะไรให้เพื่อนฟังแล้วมันลื่นไหล เล่าแบบไม่ต้องคิดอะไรเลย ไม่ได้มีการซ้อมมาก่อนว่าจะเอาไปเล่าให้เพื่อนฟัง คุณสามารถทำได้นั่นเป็นเพราะคุณ “เข้าใจหรือรู้เรื่องนั้นเป็นอย่างดี”
สิ่งที่กำลังจะบอกก็คือต่อให้คุณไปเรียนเทคนิคการเล่าเรื่องแบบขั้นเทพแค่ไหน มันจะไปไม่สุดถ้าคุณไม่ได้รู้จริงในเรื่องนั้นๆ นั่นหมายถึงพื้นฐานของการเล่าเรื่องที่ดีคือคุณควรเข้าใจเรื่องที่คุณจะเล่าหรือไปนำเสนอก่อน หาข้อมูลเพื่อทำให้คุณเกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่จะเล่าไปนั้นคือเรื่องจริงที่เชื่อถือได้ มีที่มาที่ไป มีเหตุและมีผลของมัน ร้อยเรียงกันอย่างเป็นลำดับ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น และเพื่อการวางแผนพัฒนาตัวเองให้เหมาะสม ขอแยกคำออกเป็นสองคำดังนี้
Storytelling = Story + Telling
1. Story คือเนื้อหาหรือข้อมูลที่จะนำไปเล่าหรือไปนำเสนอ ถามตัวเองว่าเรื่องนั้นเราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ถ้ายังรู้ไม่มาก ยังไม่เข้าใจ ก็ควรหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ เพิ่มเติม ทำความเข้าใจกับข้อมูลก่อนซึ่งอาจจะต้องใช้ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและการจับประเด็นเข้ามาร่วมด้วย
2. Telling คือวิธีการเล่า เล่าอย่างไรให้เกิดผลอย่างที่เราต้องการ (Impact) ส่วนนี้จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับทางด้านเทคนิคที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่ม เช่น การทำความเข้าใจกับผู้ฟัง (Audience) คนที่คุณจะไปเล่าหรือไปนำเสนอ เขาเป็นใคร เพราะการเตรียมเรื่องไปเล่าอาจไม่สามารถใช้แนวทางเดียวกันได้ ยกตัวอย่างเช่น การไปนำเสนองานให้กับหัวหน้าหรือผู้บริหาร สิ่งที่คุณต้องทำความเข้าใจคือคนเหล่านี้เขามีเวลาไม่มาก ดังนั้นการนำเสนองานจำเป็นต้องกระชับ ใช้เวลาสั้น แต่สามารถสื่อข้อความสำคัญให้กับคนกลุ่มนี้ได้ (Touch to the point) ยิ่งถ้าหากเราต้องการถึงขั้นได้รับการอนุมัติงานชิ้นนั้นๆ เรื่องราวหรือข้อมูลซึ่งก็หมายถึง Story ของเราที่เตรียมไปก็ควรจะต้องมีคุณภาพมากๆ ด้วย
เราจึงควรประเมินตัวเองก่อนว่า จริงๆ แล้วส่วนไหนกันแน่ที่เราต้องพัฒนาให้เก่งขึ้น ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือว่าทั้งสองส่วนเลย ถ้ามั่นใจแล้วว่า Story ของเราดี เจ๋งแล้ว แต่ขาดเรื่องการทำให้น่าสนใจ ก็ไปพัฒนาเรื่องเทคนิคการเล่าเรื่อง แต่ถ้าพบว่ายังขาดตั้งแต่ส่วนแรก ก็ไปทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะเล่าก่อน เพราะคุณเองอาจมีความเก่งหรือมีเทคนิคเฉพาะตัวอยู่แล้วในการเล่าเรื่องให้น่าสนใจ ซึ่งคุณอาจสังเกตตัวเองได้ว่าบางครั้งคุณก็ทำมันได้ดี ส่วนบางครั้งที่มันไม่ดี มันอาจเป็นเพราะคุณไม่รู้จริงในเรื่องนั้นก็เป็นไปได้
ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการที่เราเข้าใจตัวเองและเข้าใจเรื่องที่จะเล่า จึงมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของการฝึกทักษะนี้ ให้ลองสังเกตคนที่คุณรู้จัก ใครก็ตามบนโลกใบนี้ คนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพต่างๆ นอกจากเขาจะสื่อสารและเล่าเรื่องต่างๆ ให้เราฟังได้อย่างเข้าใจและน่าสนใจ น่าประทับใจ สร้างแรงจูงใจได้ ส่วนใหญ่คือคนที่รู้จริงและเก่งในอาชีพนั้นๆ …. เล่าเก่ง หรือเก่งในเรื่องที่เล่า ลองสังเกตกันดูนะคะ
เขียนและเรียบเรียง โดย
วิชุตา กิจธนากำจร 🦉

จากหนังสือ “คนรวยทำงานเร็ว” มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนได้ให้ข้อคิดกับเราว่า ถ้าเรามีความคาดหวังกับสิ่งใด หรือว่ามีเป้าหม...
09/09/2024

จากหนังสือ “คนรวยทำงานเร็ว” มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนได้ให้ข้อคิดกับเราว่า ถ้าเรามีความคาดหวังกับสิ่งใด หรือว่ามีเป้าหมายอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือการใช้ชีวิต เมื่อคิดแล้วก็จะต้องตามมาด้วย “การลงมือทำ” หากไม่เริ่มลงมือทำ แล้วสิ่งที่เราคาดหวังมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ยิ่งลงมือทำเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จะเห็นเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ก็เร็วขึ้นเท่านั้น

คนส่วนใหญ่ติดกับดักในเรื่องของการวางแผน การวางแผนเป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะจะทำให้เราได้คิด วิเคราะห์ ถึงโอกาสและความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น แต่หากเราใช้ “เวลา” ที่มากเกินไป ก็มีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียโอกาสที่เราเคยประเมินไว้ การบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของ “คนรวย” เพราะคนเหล่านี้จะใช้เวลาอย่างคุ้มค่าในเวลา 24 ชั่วโมง

ดังนั้น ไม่ว่าเราจะ “อยากเป็น”หรือ“อยากทำ” อะไรก็ตาม การพัฒนาความคิดให้เรามองเห็นความสำคัญของการ “ลงมือทำ” และการบริหารจัดการ“เวลา” เป็นอันดับต้นๆ ก็จะเป็นการสร้างโอกาสให้เราเดินทางไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายและเร็วมากยิ่งขึ้น

เขียนและเรียบเรียง โดย
วิชุตา กิจธนากำจร 🦉

สนใจสั่งซื้อหนังสือเรื่องนี้ กดได้ที่ลิงค์ด้านล่างนะคะ👇
https://s.shopee.co.th/9pLv6XK7Mk

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงาน ถ้ายังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร สามารถเริ่มได้จากการจัดสถานที่ จัดโต๊ะ จัด...
26/08/2024

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงาน ถ้ายังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร สามารถเริ่มได้จากการจัดสถานที่ จัดโต๊ะ จัดห้อง เพื่อทำให้เกิดบรรยากาศที่ช่วยให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัย เพราะเมื่อพนักงานมีความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ พวกเขาจะมีความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นและร่วมมือกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคนิคง่ายๆ ที่จะมาแนะนำในวันนี้ มีอยู่ 3 เทคนิคคือ
1. การตกแต่งด้วยสีสันที่สดใส ช่วยให้เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตรและดูอบอุ่น
2. การตกแต่งด้วยต้นไม้และพืช ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย สดชื่น และรู้สึกเชื่อมต่อกับธรรมชาติ
3. การเปลี่ยนที่นั่งให้สบาย นอกจากจะทำให้ร่างกายรู้สึกสบายและผ่อนคลายแล้ว ยังกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (belonging) และเกิดความไว้วางใจได้ (trust)
องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ยอมรับในความหลากหลาย (Diversity & Inclusive Environtment) และส่งเสริมการสื่อสารอย่างเปิดเผย (Open Communication) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงาน
ความปลอดภัยทางจิตใจนั้น หมายถึงบรรยากาศที่ทุกคนรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกโดยไม่ต้องกลัวการวิจารณ์หรือลงโทษ เมื่อพนักงานรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ พวกเขาจะมีความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นและร่วมมือกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อพนักงานมีความมั่นใจมากขึ้น สิ่งนี้เองเป็นการช่วยยกระดับการรู้จักคุณค่าในตัวเอง (Self-Esteem) พวกเขาจะสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ พวกเขาจะกล้าคิด กล้าเสี่ยง กล้าลองมากขึ้น สามารถปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ต่อยอดไปถึงความพยายามในการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา อาจจะถึงขั้นพัฒนาให้มี Growth Mindset ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตามการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางด้านจิตใจนั้น ไม่ได้เกิดจากบรรยากาศของสถานที่เพียงอย่างเดียว เพราะแท้จริงแล้ว สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่มีผลต่อจิตใจนั้น หลักๆ มาจาก “คน” ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า ทีมหรือเพื่อนร่วมงาน ให้ลองนึกภาพง่ายๆ ถึงสาเหตุของการลาออกของคนทำงาน ถ้าตัดเรื่องปัจจัยทางการเงิน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเข้ากันไม่ได้ของคนที่ทำงานด้วยกัน บางคนอาจจะเพราะอึดอัดจากหัวหน้า (ซึ่งมันก็มีหลายสาเหตุย่อยอีก) บางคนอาจรู้สึกเข้ากับเพื่อนร่วมงาน หรือกับทีมไม่ได้ เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อกัน อึดอัด ไม่สบายใจ เป็นอารมณ์ไม่อยากมาทำงานอีกแล้ว เพราะมันไม่มีความสุข ทุกข์ทรมานในแต่ละวันที่จะต้องมา อาการที่อาจจะสังเกตได้ง่ายๆ ในบางคน เช่น มาสาย กลับเร็ว รอเวลาเลิกงานเพื่อที่จะได้หลุดพ้นจากสภาวะแวดล้อมตรงนั้น ถ้าอาการแย่สุดๆ อาจถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งในบางรายก็สังเกตอาการหรือพฤติกรรมยาก
ทั้งหมดที่ได้เขียนมานี้ จึงเป็นสาเหตุทำให้เรื่องของการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางด้านจิตใจ กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกองค์กรต้องสร้างให้เกิดขึ้นในโลกที่มีความผันผวนอย่างในปัจจุบันนี้ เพราะนี่คือกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาคนให้อยู่กับองค์กรให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การสรรหาคนที่ใช่ว่ายากแล้ว การดูแลรักษาให้คงอยู่นั้นยากยิ่งกว่า.....
หากการพัฒนาให้คนในองค์กรสามารถเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพื่อทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางด้านจิตใจนั้นใช้เวลามาก ลองนำเทคนิคในการสร้างบรรยากาศด้วยการจัดสถานที่ไปลองปรับใช้กันดูนะคะ มันจะเกิดผลถ้าการจัดสถานที่นั้นเป็นแบบช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ก็ถือว่าคุณได้เริ่มแล้ว 🥰

เขียนและเรียบเรียงโดย
วิชุตา กิจธนากำจร

HR ก็คน

https://youtu.be/M1RXDfVSwnU?si=2UWt8UgcmyDTKV1k
20/08/2024

https://youtu.be/M1RXDfVSwnU?si=2UWt8UgcmyDTKV1k

เมื่อต้องพบเจอกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนไป ความรู้สึกไม่สบายใจหรือไม่เป็นส่วนหนึ่งสามารถเกิดขึ.....

ถ้าเปรียบ “ผู้นำ” คือ “ครู“ …………… คุณคือครูแบบไหน?
20/08/2024

ถ้าเปรียบ “ผู้นำ” คือ “ครู“ …………… คุณคือครูแบบไหน?

18/07/2024

ทำอย่างไรให้คนที่ใกล้เกษียณ รู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่า และสามารถที่จะเรียนรู้ได้ต่อตลอดชีวิต?

Be Agile with Heart ❤️ • Head 🧠 • Hand ✋
10/07/2024

Be Agile with Heart ❤️ • Head 🧠 • Hand ✋

โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้บางครั้งองค์กรปรับตัวไม่ทัน ไม่สามารถพัฒนาขีดความสมารถพนักงานให้....

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when MIND Setto posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share