Nasri ibnu Ibrahim

  • Home
  • Nasri ibnu Ibrahim

Nasri ibnu Ibrahim ผู้ที่เป็นที่รักของอัลลอฮฺ

26/04/2024

ผู้ศรัทธามักเน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณ

ในหะดีษบทหนึ่งที่บันทึกโดยอิบนุมาญะฮ์ และอันนะสาอี เราะหิมะฮุมัลลอฮ์

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ขอดุอาอ์บทนี้ทุกเช้าหลังจากละหมาดฟัจญ์รฺ

اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ عِلْمًا نَافِعًا، وَرِزْقًا طَيِّبًا، وَعَمَلًا مُتَقَبَّلًا

ความว่า "โอ้อัลลอฮ์แท้จริงฉันขอต่อพระองค์ซึ่งความรู้ที่ยังประโยชน์, ริซกี (ปัจจัยยังชีพ) ที่ดี และการงานที่ถูกตอบรับ"

หลายคนน่าจะคุ้นกับดุอาอ์บทนี้เพราะถูกบรรจุลงไปในหนังสืออัซการยามเช้าที่ส่งเสริมให้อ่านทุกวันหลังจากการละหมาดฟัจญ์รฺ (ละหมาดศุบหฺ) เป็นดุอาอ์ที่สั้นเพียง 3 วรรคแต่ความหมายนั้นครอบคลุม

ผู้รู้บางท่านได้ถือว่าเป็น 3 เป้าหมายหลักในแต่ละวันที่ผู้ศรัทธาจำต้องไปให้ถึง การกล่าวมันในทุกเช้าด้วยหัวใจที่อ่อนน้อม ยอมจำนน ต้องการความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้าของเขาอย่างแท้จริง ย่อมมีอิทธิพลในการกำหนดย่างก้าวชีวิตของเขาตลอดวันนั้น "ขอดุอาอ์อย่างลึกซึ้งและตามด้วยการปฏิบัติสาเหตุแห่งความสำเร็จเหล่านั้น"

สิ่งที่ท่านนบีได้ขอในทุกเช้า
1.ความรู้ที่ยังประโยชน์
ท่านนบีได้เริ่มต้นการขอด้วย "ความรู้" และไม่ใช่ความรู้ทั่วไป ทว่าท่านเจาะจงว่าต้องเป็นความรู้ "ที่ยังประโยชน์" เท่านั้น เนื่องจากความรู้ที่ยังประโยชน์นั้นจะหมายถึงความรู้ที่ถูกต้องอันส่งผลให้จิตใจเกิดความยำเกรงและติดตามด้วยการปฏิบัติ และความรู้ที่ยังประโยชน์นี้เองที่จะทำให้ผู้ศรัทธาแยกแยะได้ว่าริซกีชนิดใดที่ดีและชนิดใดที่เลว และเช่นเดียวกันความรู้ที่ยังประโยชน์ก็จะทำให้แยกแยะว่าการงานใดบ้างที่จะเป็นที่ตอบรับ ณ อัลลอฮ์ ตะอาลา

ทว่าความรู้ที่ไม่ยังประโยชน์นั้นจะกลายเป็นหลักฐานมัดตัวบ่าวคนนั้น ประหนึ่งว่าเขารับความรู้แล้วเก็บมันไว้ที่ลิ้น จากนั้นก็ถ่ายทอดมันต่อไปโดยที่ไม่เคยทำความเข้าใจและปฏิบัติตามมัน ซึ่งศาสนาตำหนิผู้ที่มีความรู้ชนิดนี้เพราะสุดท้ายมันกลับส่งผลเสียกับตัวเขาเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
2.ริซกีที่ดี
เช่นเดียวกับรู้ที่มีทั้งดีและไม่ดี ริซกีก็เช่นเดียวกันมีทั้งดีและไม่ดี และอัลลอฮ์ ตะอาลา นั้นไม่ทรงตอบรับสิ่งใดนอกจากสิ่งดีเท่านั้น และเป็นสิ่งที่พระองค์สั่งใช้ทั้งบรรดาศาสนทูตและผู้ศรัทธาทั้งหลายให้บริโภคแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น และจงทำการงานที่ดีเพื่อขอบคุณพระองค์ในริซกีที่ดีเหล่านั้นด้วย และที่สำคัญริซกีที่ดีนั้นเป็นที่เห็นพ้องกันในหมู่ผู้รู้ว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญอันดับต้นๆ ที่ทำให้ดุอาอ์หนึ่งๆ ของเรานั้นถูกตอบรับจากอัลลอฮ์ ตะอาลา

3.การงานที่ถูกตอบรับ
ผู้ศรัทธานั้นจะใช้การงานทั้งฟัรฎูและสุนนะฮ์เป็นสื่อในการแสวงหาความใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา แต่การงานนั้นจะเกิดผลได้ต้องเป็นการงานที่ถูกตอบรับเสียก่อน ซึ่งหลักเกณฑ์พื้นฐานอันเป็นความรู้จำเป็นสำหรับผู้ศรัทธาทุกคนก็คือ "การงานใดจะถูกตอบรับได้นั้นประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ คือ บริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ์และสอดคล้องกับแนวทางของเราะสูลุลลอฮ์"

ข้อสังเกตเพิ่มเติม
1.ในสำนวนการขอของท่านนบี ท่านไม่ได้เจาะจงแต่เป็นการใช้คำกว้างๆ กล่าวคือ "ความรู้อะไรก็ได้แต่ขอให้มีประโยชน์ ริซกีอะไรก็ได้ขอให้มันดีและหะลาล การงานอะไรก็ได้ขอให้มันถูกตอบรับ"
2.นอกจากจะไม่กำหนดชนิดแล้ว ท่านยังไม่จำกัดจำนวน ไม่ได้พุ่งเป้าขออะไรอย่างมากมาย ท่านไม่ได้ขอให้มีความรู้ ริซกีและการงานที่มากมาย เพราะ "จำนวนมาก ไม่ได้บ่งชี้ว่ามันดี" เสมอไป แต่คุณลักษณะที่ท่านนบีเจาะจงนั้นเน้นเชิงคุณภาพมากกว่า เพราะหากมีคุณภาพ แม้ว่ามันจะมีจำนวนน้อยแต่แน่นอนว่ามันจะมีประโยชน์ต่อผู้ศรัทธามากกว่า

ดุอาอ์อย่างเข้าใจ

__________________________
Follow us
FACEBOOK : https://www.facebook.com/tadabburoceanofknowledge
INSTAGRAM : https://instagram.com/tadabbur_th

22/04/2024

‎🌙~بسم الله
#เพื่อนที่ดีคือของขวัญจากอัลลอฮฺ 🌷
คนหนึ่งอาจถูกพาออกจากนรก
และนำไปไว้ใน สวรรค์
เพราะเพื่อนที่ดีของเขาในสวรรค์จำพวกเขาได้✨

✨ท่านอิบนิ เญาซียฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า..
“หากพวกท่านไม่พบฉันในสวรรค์พร้อมกับพวกท่าน
ก็โปรดถามถึงฉันด้วย”

✨ท่านอิหม่าม อัลหะซัน อัลบัศรีย์ ถูกถามถึงความหมายของอายะฮฺ
“ดังนั้นจึงไม่มีผู้ไถ่โทษแก่เรา
และไม่มีมิตรผู้รักใคร่ด้วย”
(อัชชุอะรออฺ : 100-101)

📌ท่านกล่าววว่า..
นั่นเป็นเหตุการณ์ในวันกิยามะฮฺ
เมื่อชาวสวรรค์ได้เข้าสวรรค์ และชาวนรกก็ตกนรก
กระทั่งมีชาวสวรรค์คนหนึ่งกล่าวว่า
“โอ้อัลลอฮฺ ไหนเพื่อนของฉัน คนนี้ คนนั้น
ทำไมฉันไม่เห็นเขาอยู่ในสวรรค์นี้เลย ?”

พระองค์ทรงตอบว่า “เขาอยู่ในนรก”

ชาวสวรรค์จึงกล่าวว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน
ฉันไม่อาจมีความสุขได้อย่างสมบูรณ์
จนกว่าจะมีเพื่อนที่รักของฉันอยู่ร่วมกับฉันด้วย”

อัลลอฮฺจึงบัญชาให้นำเพื่อนชาวนรกของเขาออกมา
ผู้คนในนรก ต่างแปลกใจว่า
ทำไมบุคคลดังกล่าว ถึงได้รับสิทธิ์พิเศษ ?
เขาเป็นคนที่มีการงานที่ยอดเยี่ยมหรือ ?
คนในครอบครัวของเขาเป็นชะฮีดหรือ ?
หรือบรรดานบี ได้ช่วยเหลือเขา ?

มีเสียงตอบว่า…
“เพื่อนของเขาต่างหากที่ช่วยเหลือเขา”

ชาวนรก ที่ไม่มีเพื่อนดีๆ จึง พูดด้วยความเสียใจว่า
“ดังนั้นจึงไม่มีผู้ไถ่โทษแก่เรา
และไม่มีมิตรผู้รักใคร่ด้วย”
(อัชชุอะรออฺ : 100-101)

🤍🌷 จงคบหากับคนดีๆเถิด
และสานสัมพันธ์กับเขาสม่ำเสมอ
พวกเขาเป็นคุณค่าต่อท่านทั้งดุนยาและอาคีเราะฮฺ

✨โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานเพื่อนที่ดีแก่เรา
และให้เราเป็นเพื่อนที่ดีของผู้อื่นด้วยเถิด…
อามีน~🤲🏻🤍

✍️ WeeklyTarbiyah

21/04/2024

ผู้เคร่งครัดในอิบาดะฮ์คนหนึ่งได้เดินผ่านพ่อค้าขายเนื้อย่างขณะกำลังย่างเนื้อพลิกไปมาบนเปลวไฟ แล้วเขาก็หยุดเดินและเริ่มร้องไห้

พ่อค้าเนื้อย่างจึงถามว่า : อะไรทำให้ท่านร้องไห้หรือ ท่านหิวหรือเปล่า ?

เขากล่าวว่า : เปล่าเลย ข้าไม่ได้หิว เพียงแต่ข้าได้นึกถึงสัตว์เหล่านี้ที่แม้ต้องเข้าไปในกองไฟแต่ก็หลังจากที่พวกมันตายไปแล้ว (ไม่ทรมานแล้ว) แต่ลูกหลานอาดัมนั้นต้องเข้าไปในไฟ (นรก) โดยที่พวกเขายังมีชีวิต (และจะไม่ตายแม้ว่าจะทรมานเพียงใดก็ตาม) นั่นแหละที่ทำให้ฉันร้องไห้

- เพจชัยค์มุฮัมมัด ศอลิห์ อัลมุนัจญิด

__________________________
Follow us
FACEBOOK : https://www.facebook.com/tadabburoceanofknowledge
INSTAGRAM : https://instagram.com/tadabbur_th

20/04/2024

#หนึ่งในศ่อดะเกาะฮฺที่ดีที่สุดคือการให้น้ำ

عَنْ سَعْدِ بْنِ عُبَادَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ، إِنَّ أُمِّي مَاتَتْ، أَفَأَتَصَدَّقُ عَنْهَا ؟ قَالَ : " نَعَمْ ". قُلْتُ : فَأَيُّ الصَّدَقَةِ أَفْضَلُ ؟ قَالَ : " سَقْيُ الْمَاءِ ". [ رواه النسائي (٣٦٦٤) حكم الحديث : حسن ]

จากสะอฺ บิน อุบาดะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า :

ฉันกล่าวว่า : โอ้รอซูลุลลอฮฺ แท้จริงแม่ของฉันเสียชีวิต ฉันจะต้องศ่อดะเกาะฮฺให้นางหรือไม่ ? ท่านรอซูล ﷺ ตอบว่า :

“ใช่(ต้องศ่อดะเกาะฮฺให้)” ฉันจึงกล่าวว่า :

แล้วศ่อดะเกาะฮฺอะไรที่ประเสริฐที่สุด ? ท่านตอบว่า :

“การให้น้ำ”

[ บันทึกโดยอันนะซาอียฺ (3664) สถานะหะดีษ : ฮะซัน ]

#ซุนนะฮฺ

19/04/2024

50 หะดีษที่ครอบคลุมชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง
ถ้ามนุษย์คนหนึ่งสามารถอ่าน ใคร่ครวญ และปฏิบัติหะดีษนบี ﷺ ได้เพียง 40 หะดีษเท่านั้น หะดีษใดบ้างที่จะอยู่ในหมวดนี้?
แม้นี่ไม่ใช่ที่มาของ ‘อัรบะอีนัน นะวะวิยยะฮฺ’ (40 หะดีษ อันนะวะวี) ที่ประพันธ์โดยอันนะวาวี (เสียชีวิต 676 ฮฺ) ยอดนักหะดีษชาวซีเรีย ผู้อุทิศชีวิตทั้งหมด 45 ปีให้กับความรู้ เพราะที่มาจริงๆ นั้น มาจากคำว่า ‘ญะวามิอุล กะลิม’ (ถ้อยคำที่สั้นแต่ความหมายลึกซึ้งและกว้างขวาง) ที่ท่านนบี ﷺ เคยพูดถึง (อัลบุคอรี : 7013) จนทำให้บรรดานักหะดีษพยายามที่จะตามหา ‘กษัตริย์แห่งบรรดากษัตริย์’ ดังกล่าวมาตลอดยุคสมัย
และแม้ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะคัดเลือก 40 หะดีษ จากหะดีษเศาะหีหฺราว 16,000 ตัวบท กระทั่งกลายเป็นหนังสือในหมวดนี้ที่ได้รับการยกย่องจากมุสลิมทุกกลุ่ม ชนิดยังไม่มีเล่มใดมาเทียบได้อีกนั้น แต่อันนะวาวี เองกลับมิได้เขียนคำอธิบายหะดีษทั้งหมดนั้นให้กับคนยุคหลังเท่าใดนัก
นี่จึงเป็นที่มาของหนังสืออธิบาย 40 หะดีษ อันนะวาวี ที่ดีที่สุด ที่ชื่อ ‘ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม’ (สารานุกรมความรู้และปรัชญา) ของอิบนุ เราะญับ (เสียชีวิต 795 ฮฺ) ศิษย์เอกของอิบนุ ก็อยยิม ‘เงาของอิบนุ ตัยมิยยะฮฺ’ ที่ได้หยิบหะดีษทั้งหมด มาวิเคราะห์และอธิบายอย่างละเอียด ตั้งแต่ตัวบทเนื้อหา สายรายงาน ยันผู้รายงาน พร้อมกับแทรกคำพูดล้ำค่าของชาวสะลัฟในอดีตอีกจำนวนมาก อีกทั้งยังใช้โจทย์ของอันนะวาวี คัดหะดีษมาเพิ่มอีก 8 ตัวบท (จาก 42 ตัวบท ของอันนะวาวี ที่เพิ่มมาจากอาจารย์อีกที) กลายเป็น 50 หะดีษที่ครอบคลุมชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง พร้อมคำอธิบายโดย ‘นักหะดีษผู้ยิ่งใหญ่’ ตามที่ อิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานี เขียนถึงในที่สุด (อัดดุเราะรุล กามินะฮฺ, 2/428)
และที่แอดมินต้องชักแม่น้ำทั้งห้ามาก็มิใช่อะไรครับ แค่จะบอกว่าเพิ่งไปเจอหนังสือที่ชื่อ ‘ชวนคิด’ (2558) ของอบู อิบานะฮฺ หนึ่งในนักเขียนในดวงใจ ที่ได้รวบรวมส่วนหนึ่งของคำพูดชาวสะลัฟ สะละฟี ในอดีต ที่เกือบทั้งหมดมาจาก ‘ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม’ อันเป็นที่มาให้ได้นึกถึงสมัย 10-15 ปีก่อน ที่ได้นั่งเรียนตำราศาสนาหน้าจออย่างตั้งใจสุดๆ ยิ่งกว่าสมัยอยู่ปอเนาะ เพราะได้มีการสอนหนังสือเล่มนี้ อย่างจริงๆ จังๆ ครบทั้ง 50 หะดีษ โดยชัยคฺ ริฎอ อะหมัด สะมะดี ซึ่งมีสายรายงานของหนังสืออยู่ด้วย อันเป็นการสอนที่น่าดึงดูดและทรงพลัง สำหรับนักศึกษาคนหนึ่งมากๆ อีกทั้งในปัจจุบัน Zunnur นักเขียน-นักแปลรุ่นใหม่ไฟแรง ยังนำหะดีษทั้งหมดขึ้นให้อ่านบนเวบไซต์อย่างเท่ๆ ถูกใจคนยุคใหม่ อีกหนึ่งช่องทางอีกด้วย
ใครอ่านถึงตรงนี้ อยากบอกว่าแอดมินเองก็คิดจะละโลกที่วุ่นวายนี้สักพักแล้วไปนั่งเรียน ‘ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม’ กับชัยคฺ ริฎอ อีกรอบเหมือนกันนะครับ คิดถึงบรรยากาศตอนนั้นมากๆ เลยครับ



อ้างอิงและเชิงอรรถ :

1. ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม (สอนโดย ชัยคฺ ริฎอ อะหฺมัด เศาะมะดี) :
https://www.islaminthailand.org/dp8/jamia1
2. ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม (PDF) :
https://ar.islamway.net/book/437/%D8%AC%D8%A7%D9%85%D8%B9-%D8%A7%D9%84%D8%B9%D9%84%D9%88%D9%85-%D9%88%D8%A7%D9%84%D8%AD%D9%83%D9%85)
3. ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม (หะดีษออนไลน์) :
https://genfa.co/jamiulumhikam/jamiulum-hikam/

*แอดมินคัดคำคมจาก ‘ชวนคิด’ มาให้ลองอ่านด้วยนะครับ

1) ท่านอิบนุ มุบาร็อก เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“บางทีการงานที่เล็กน้อยอาจกลายเป็นการงานที่ยิ่งใหญ่ด้วยกับการเจตนา และบางทีการงานที่ยิ่งใหญ่ก็อาจกลายเป็นการงานที่เล็กน้อยได้ด้วยเจตนา” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/71)

2) ท่านยูสุฟ บิน อัลหุศ็อยนฺ อัรรอซี เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“สิ่งที่หนักอึ้งที่สุดในโลกนี้คือ ‘ความอิคลาส’ กี่มากแล้วที่ฉันพยายามขจัดความโอ้อวดจากหัวใจของฉัน แต่เหมือนกับว่ามันได้ผุดออกมาในรูปแบบอื่นอีก” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/84)

3) ท่านมะอฺรูฟ เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“จงมอบหมายต่ออัลลอฮฺ จนกระทั่งพระองค์ทรงเป็นผู้อยู่ร่วมกับท่าน เป็นที่คุ้นเคยของท่าน และเป็นผู้ที่ท่านจะปรับทุกข์ด้วย” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/134)

4) ท่านอัลหะสัน อัลบัศรี เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“ในจำนวนสิ่งที่ถือว่าเป็นความอ่อนแอในการเชื่อมั่นของท่านก็คือ การที่ท่านเชื่อมั่นต่อสิ่งที่มีอยู่ในครอบครองของท่านมากกว่าสิ่งที่มีอยู่ ณ ที่อัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/180)

5) ท่านอิบนุ เราะญับ เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“มีคนถามท่านอัลญุนัยดฺว่า อะไรที่ช่วยให้ท่านสามารถลดสายตาลงต่ำได้ (ไม่มองสิ่งที่หะรอม) ? ท่านได้กล่าวว่า การที่ท่านตระหนักว่าอัลลอฮฺนั้นมองมายังท่านก่อนที่สายตาของท่านจะมองไปยังสิ่งนั้นเสียอีก” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/409)

6) ท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ

“ผู้ศรัทธานั้นเห็นความผิดของตัวเอง ราวกับว่าเขากำลังนั่งอยู่เชิงเขาโดยเกรงว่ามันอาจจะถล่มลงมาทับเขาได้ทุกเมื่อ ในขณะที่คนชั่วจะเห็นความผิดของตัวเองราวกับว่ามันเป็นแค่แมลงวันตัวหนึ่งที่บินมาเกาะอยู่บนจมูกของเขา เขาเพียงแค่เอามือปัดมันให้บินหนีไปเท่านั้น” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/424)

7) ท่านอิบนุ เอานฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“อย่าได้มั่นใจในความมากมายของอะมัลที่ได้ทำ เพราะท่านไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามันจะถูกตอบรับหรือไม่ และอย่าได้รู้สึกปลอดภัยจากความผิดบาปของตัวเอง เพราะตัวท่านไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามันจะถูกลบล้างไปหรือไม่ อะมัลทั้งหมดของท่านล้วนเป็นสิ่งที่เร้นลับจากตัวท่าน” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/438)

8] ท่านอิบนุ ก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“หัวใจที่มุ่งสู่อัลลอฮฺนั้นเปรียบดั่งนกตัวหนึ่ง กล่าวคือ ความรักคือหัวของมัน ความเกรงกลัวและความหวังคือปีกทั้งสองข้างของมัน ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่หัวและปีกทั้งสองแข็งแรงดี นกตัวนั้นก็จะบินได้ดี และเมื่อใดก็ตามที่หัวของมันขาด นกตัวนั้นก็จะตาย และเมื่อใดก็ตามที่ปีกข้างหนึ่งข้างใดของมันขาดหาย มันก็จะเป็นเป้าเล็งของนักล่าและคนไม่ดีทั้งหลาย” (มะดาริญุส สาลิกีน, 1/513)

9) ท่านหะสัน อัลบัสรี เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“ท่านไม่สามารถบรรลุถึงแก่นแท้ของการตักเตือนต่อพี่น้องของท่าน จนกว่าท่านจะชวนให้เขาทำสิ่งที่ท่านทำไม่ได้” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/224)

10) ท่านอัลเอาซาอี เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“เมื่ออัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะไม่ให้บ่าวของพระองค์ได้รับความจำเริญในความรู้ พระองค์ก็จะทรงให้ลิ้นของเขามีความผิดด้วยกับการไถ่ถาม ซึ่งฉันเห็นว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นคนที่มีความรู้น้อยที่สุด” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/247)

11) ท่านอิมาม อะหฺมัด เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“การงานที่ดีทั้งคนดีและคนชั่วก็ปฏิบัติ แต่การงานที่ฝ่าฝืน ไม่มีใครที่จะละทิ้งมันได้เว้นแต่คนที่มีความสัจจริงเท่านั้น” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/252)

12) ท่านสะอัด บิน อบีวักกอศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ

“ทำไมการวิงวอนของท่านถึงถูกตอบรับมากกว่าเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ﷺ ท่านอื่น? ท่านได้ตอบว่า ‘ฉันไม่เคยนำอาหารคำใดเข้าปากฉัน เว้นแต่ฉันต้องรู้ว่ามันมาจากไหน และจากแหล่งใด’” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/275)

13) ผู้รู้บางท่าน เราะหิมะฮุลลอฮฺ

“เมื่อท่านพูดก็จงรำลึกเถิดว่าอัลลอฮฺทรงได้ยินท่าน และเมื่อท่านนิ่งเงียบก็จงรำลึกเถิดว่าพระองค์กำลังมองดูท่านอยู่” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/290)

14) ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ

“ความละอายและความศรัทธาเป็นของคู่กัน เมื่อความละอายหายไป ความศรัทธาก็จะตามไปด้วย” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/499)

15) ท่านค็อบบาบ บิน อัลอะร็อต เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ

“จงใกล้ชิดกับอัลลอฮฺเท่าที่มีความสามารถเถิด พึงทราบว่าท่านไม่มีทางใกล้ชิดกับพระองค์ด้วยสิ่งใดอันเป็นที่รักยิ่งสำหรับพระองค์มากยิ่งกว่าคำพูดของพระองค์ (หมายถึงการอ่านอัลกุรอาน)” (ญามิอุล อุลูม วัล หิกัม, 1/342)

19/04/2024

#ช่วยกันแชร์
เพื่อทีจะละหมาดญามาอะฮฺสมบูรณ์
คนส่วนใหญ่จะละเลย ในการเท้าชิดในเวลาละหมาด
_______________

📍 #หากมีใครสักคนจะให้บ้านสักหลังหนึ่งแก่ท่านบนโลกดุนยานี้ แลกกับการที่ท่านขยับเท้าของท่านชิดกับอีกคนหนึ่งโดยไม่สนว่าพวกเขาจะเป็นกษัตริย์ สามัญชน คนร่ำรวยหรือคนยากจน #ท่านจะทำไหม? แท้จริงท่านนบี ﷺ ของพวกท่านกล่าวว่า

‎من سدَّ فرجةً رفعه الله بها #درجةً، وبنى له #بيتًا في الجنَّة

“ผู้ใดปิดช่องว่างหนึ่ง(ในแถวละหมาด) #อัลลอฮฺจะทรงสร้างบ้านให้เขาในสรวงสวรรค์ และยกสถานะของเขาให้สูงขึ้น”
[อัล-อัลบานียฺ ใน ศอฮีหฺอัลญามิอฺ: 505, อัซซิลซิละฮฺ อัศศอฮีหะฮฺ: 1892]

และหากใครสักคนหนึ่งขยับเลื่อนเท้าของเขาออกไปจากท่าน ภายหลังเสร็จสิ้นการละหมาด ให้ดึงเขาเข้ามาใกล้ๆ #แล้วอ่านคำพูดของท่านนบี ﷺ ในฮะดีษบทนี้ให้เขาฟัง

✍️ #แต่ทว่าหากท่านถูกมอบหมายให้ขึ้นนำละหมาดผู้คน ก็จงกล่าวถ้อยคำเฉกเช่นเดียวกับที่ท่านนบี ﷺ ได้กล่าวก่อนเริ่มตักบีรอตุลเอียะหฺรอม

‎ أَقِيمُوا الصُّفُوفَ، وَحَاذُوا بَيْنَ الْمَنَاكِبِ، وَسُدُّوا الْخَلَلَ

“ #จงจัดเเถวให้ตรง #เเละจงให้ไหล่อยู่ระดับเดียวกัน #เเละจงปิดช่องว่าง”

Cr.หมอนาซีม

16/04/2024

มหาปราชญ์ ชัยค์ ศอเลียะห์ บิน เฟาซาน อัลเฟาซาน ฮะฟิเศาะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า :
"ไม่มีใครคนใดจะสามารถให้การรับรองตัวเองได้ และไม่มีใครคนใดที่จะไม่กลัวจากฟิตนะฮ์ ตราบใดที่เขายังมีลมหายใจอยู่ มนุษย์นั้นเสี่ยงต่อการประสบกับฟิตนะฮ์ อุละมาอ์ระดับแนวหน้ายังหลงมาแล้ว และเท้าของพวกเขา (ในเส้นทางความรู้) ก็พลาดลื่นมาแล้ว และพวกเขาก็ได้รับจุดจบที่ไม่ดี ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเป็นอุละมาอ์ ดังนั้น มันช่างอันตรายรุนแรงยิ่งนัก และใครคนหนึ่งอย่าได้รับประกันความปลอดภัยให้แก่ตัวเองว่า เท้าของเขาจะไม่พลาดลื่นไถลลงไปในความหลงผิด !!"
ที่มา : หนังสือ ((อิอานะตุล มุสตะฟีด)) เล่ม 1 หน้า 129

เรียบเรียงโดย: #อาจารย์อับดุลวาริซ_พงศ์เพ็ญชัย
โปสเตอร์โดย :

#สถาบันอิบนุบาซ

#โครงการแปลตำราอิสลามศึกษา
#ศึกษาอิสลามแบบเป็นขั้นเป็นตอน
#ศึกษาอิสลามแบบเป็นรูปธรรม

11/04/2024
11/04/2024

Eid Mubarak! Wishing every UFC fan a blessed one!

11/04/2024

Eid Mubarak to you and your family 🤲🏾❤️

💗
10/04/2024

💗

Eid Mubarak! Wishing you all joy, peace and happiness on this special day.

10/04/2024

Happy Eid to all Foxes celebrating 💙

07/04/2024

เกร็ดความรู้ #ซะกาตฟิฏเราะฮ์
——————————————————

🔘 [ #ซะกาตฟิฏเราะฮ์ คือ….? ]

(ซะกาตฟิฏเราะฮ์ ) หรือ زكاةالبدن (ซะกาตร่างกาย) คือ การเเจกจ่ายอาหาร (ซึ่งเป็นอาหารหลักส่วนใหญ่ในเมืองนั้น) จำนวนหนึ่ง ซออ์ให้เเก่ผู้ยากไร้ หรือบุคคลที่มีสิทธิ์รับซะกาต เหมือนกับซะกาตทรัพย์สิน

ซึ่งการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์นั้น เพื่อชำระตนเองให้สะอาดและเพื่อชดเชยข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการถือศีลอด เช่น คำพูด หรือการกระทำที่ไร้สาระ เป็นต้น

ดังมีรายงานจากท่าน อิบนุอับบาส กล่าวว่า:

فَرَضَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ زَكَاةَ الْفِطْرِ طُهْرَةً لِلصَّائِمِ مِنَ اللَّغْوِ وَالرَّفَثِ وَطُعْمَةً لِلْمَسَاكِينِ، مَنْ أَدَّاهَا قَبْلَ الصَّلَاةِ فَهِيَ زَكَاةٌ مَقْبُولَةٌ، وَمَنْ أَدَّاهَا بَعْدَ الصَّلَاةِ فَهِيَ صَدَقَةٌ مِنَ الصَّدَقَاتِ. (رواه أبوداود وابن ماجه)

“ท่านรอซูล ﷺ ได้กำหนดจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ เพื่อเป็นการชำระผู้ถือศีลอดจากคำพูดที่เหลวไหลและหยาบคาย เเละเป็นอาหารให้แก่ผู้ที่ยากจนขัดสน บุคคลใดที่จ่ายก่อนละหมาด(อีดิ้ลฟิตร์)ก็ถือว่าเป็นซะกาตที่ถูกตอบรับ และบุคคลใดที่จ่ายหลังละหมาด(อีดิ้ลฟิตร์)ก็ถือว่าเป็นการทำศอดาเกาะฮ์อย่างหนึ่งจากบรรดาศอดาเกาะฮ์ทั่วๆไป”

(บันทึกโดยอบูดาวูดเเละอิบนุมาญะฮ์)

—————————————-

🔘 [ #ฮุก่มการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์ ]

ท่านอีหม่ามนาวาวี (ร.ฮ )ได้กล่าวใว้ในหนังสือมัจมัวอฺ( 6/104 ) ‘’ซะกาตฟิฏเราะฮ์ #เป็นวายิบ ตามทัศนะปราชญ์ชาฟีอีและตามนักปราชญ์ส่วนใหญ่ ‘’

ดังมีฮาดิษรายงานโดยบุคคอรีและมุสลิม จากท่านอิบนุอุมัร (ร ฮ) กล่าวว่า : “ ท่านรอซู้ล (ซ ล)ได้ทรงกำหนดซะกาตฟิฏเราะห์ของเดือนรอมฎอน ใว้จำนวนหนึ่งซออ์จากอินทผลัม ,หนึ่งซออ์จากข้าวสาลี เหนือทุกคนทีเป็นเสรีชนหรือเป็นทาส ,เป็นเพศชายหรือเพศหญิง ,จะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ที่เป็นมุสลิม และท่านนบี (ซ ล )ได้สั่งใช้ให้ทำการจ่ายซะกาตก่อนที่ผู้คนจะไปสู่การละหมาด )

——————————————-

🔘 #เงื่อนไขที่ทำให้จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์

1- ต้องเป็นมุสลิม ดังนั้นการจ่ายซะกาตไม่จำเป็นเหนือกาเฟร ยกเว้นทาสของเขาเเละเครือญาติที่เป็นมุสลิม ก็จำเป็นที่เขาต้องจ่ายแทน

2- เป็นอิสระเสรีชน ดังนั้นทาสจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์ เพราะทาสไม่มีทรัพย์เป็นของตนเอง แต่เจ้านายของทาสเป็นผู้จ่ายซะกาตแทน

3- ต้องมีชีวิตทันอยู่ในช่วงเวลาที่วายิบ ( มีชีวิตอยู่ทันได้พบส่วนหนึ่งของเดือนรอมฎอน เเละส่วนเเรกของเดือนเซาวาล ดังนั้นซะกาตไม่วายิบเหนือบุคคลที่ไม่ทันในช่วงเวลาเวลาดังกล่าว เช่น เด็กที่คลอดมาหลังจากดวงอาทิตย์ตก , คนที่เสียชีวิตไปก่อนดวงอาทิตย์ตก เนื่องจากทั้งคู่ไม่ทันช่วงเวลาที่เป็นวายิบ

4- ผู้ที่ออกซะกาตต้องรวย ( คือ บุคคลที่เขาได้ครอบครองอาหารหลักของวันอีดและคืนวันอีด โดยเหลือเกินจากความต้องการของเขาและคนที่เขาจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูที่เป็นมุสลิม , เเละเกินจากหนี้สิน เเม้หนี้จะยังไม่ถึงเวลาจ่ายหนี้ก็ตาม ,เเละเกินจากเสื้อผ้า ค่าที่พักอาศัย คนรับใช้ที่เหมาะสม ที่จำเป็นกับเขาเเละเเก่คนที่อยู่ในการดูเเลของเขา ดังนั้นคนขัดสนที่ไม่มีทรัพย์เหลือพอเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับตนเองและคนในครอบครัวหรือไม่เพียงพอกับค่าใช่จ่ายที่ผ่านมา ไม่วายิบต้องซะกาต

——————————————

🔘 [ #การจ่ายซะกาตเเทน ]

สำหรับผู้ชายที่เป็นเสรีชน จำเป็นต้องจ่ายซะกาตในส่วนของเขาเอง และจ่ายให้กับบุคลคที่เขาจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู ที่เป็นภรรยา ลูก บิดามารดา หรือทาส ดังที่อุลามะได้เขียน กฎเกณฑ์ใว้ว่า:

(كل من لزمته نفقته ..لزمته فطرته من المسلمين)

ทุกๆบุคคลที่เขาจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู ก็จำเป็นที่เขาต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์แทนพวกเขาที่เป็นมุสลิม

▪️ #ทว่าจะถูกคัดออกจากกฎเกณฑ์นี้ บุคคลต่อไปนี้ :

1- ทาส ไม่วายิบจ่ายฟิฏเราะฮ์ให้กับภรรยาของเขา เเต่วายิบต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูภรรยาของเขา

2- ลูก ไม่วายิบจ่ายฟิฏเราะฮ์ให้กับภรรยาพ่อ เเต่วายิบต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ทั้งพ่อ และภรรยาพ่อ ในกรณีที่พ่อจน

3- คนยากจนที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ จำเป็นที่บรรดามุสลิม ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูเเก่เขา เเต่ไม่วายิบจ่ายฟิฏเราะฮ์ให้เขา

4- ทาสที่หนีนาย ไม่จำเป็นเเก่นายต้องจ่ายค่ายเลี้ยงดู เเต่วายิบต้องจ่ายฟิฏเราะฮ์
เป็นต้น ก็ยังมีกรณี อื่นๆๆๆ(เป็นการยกรูปมัสอาละ ที่ออกจากกฏเกณฑ์ข้างต้น)

💬 ***ดังนั้นที่สำคัญ ให้ดูกฏเกณฑ์ที่ว่า บุคคลใดที่เขาจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู ก็จำเป็นที่เขาต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์แทนเขา

📍เพิ่มเติม [ #มัสอาละ ]

1 - การจ่ายซะกาตเเทนลูก

ลูกที่บรรลุนิติภาวะไปแล้ว ใช้ไม่ได้ในการจ่ายซะกาตเเทนลูกที่พ่อไม่วายิบจ่ายค่าเลี้ยงดูเเก่เขาเมื่อพ่อไปจ่ายซะกาตเเทนเขา ยกเว้นว่าเขาจะทำการอนุญาตให้ทำการจ่ายซะกาตฟิฎเราะห์ในส่วนของเขา

อนึ่งลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และบุคคลที่พ่อจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่พวกเขา กรณีนี้ใช้ได้โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องได้รับการอนุญาตจากพวกเขา

2 - ภรรยาที่ดื้อดึงกับสามี (نشوز)กระด้างกระเดื่อง

ไม่จำเป็นเเก่สามีต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์แทนให้ เพราะในขณะนั้นสามีไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้ แต่ภรรยาจำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์เองถ้าหากนางเป็นคนรวย

3 - กรณีภรรยารวย(ที่ไม่ดื้อดึงต่อสามี)เเต่สามีจน

ไม่วายิบเเก่สามีจ่ายฟิฏเราะฮ์ให้ภรรยา เเละถึงนางจะรวยก็ไม่วายิบต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์ให้ตัวเอง เเต่สุนัตให้นางออกซะกาตของตัวเอง เเละถ้านางจะอาสาออกให้สามี ก็ถือว่าเป็นสุนัตเช่นกัน

4 - ลูกซินา

วายิบเหนือเเม่ต้องจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์ ให้เเก่เขา

———————————-

🔘[ #เวลาของการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์ ]

อุลามะได้แบ่งเวลาในการจ่ายซะกาตฟิฏเราะห์ เป็น 5 เวลา ดังนี้ :

1 - เวลาวายิบ. ( وقت وجوب)
บุคคลที่ทันช่วงเวลาส่วนหนึ่งของเดือนรอมฎอน และทันส่วนหนึ่งของเดือนเชาวาล ( บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว และมีคุณสมบัติที่วายิบต้องจ่ายซะกาต )

2 - เวลาที่ประเสริฐ (وقت فضيلة )
เริ่มจากหลังอรุณขึ้นของวันอีด จนถึงก่อนละหมาดอีด

3 - เวลาอนุญาต ( وقت جواز)
อนุญาตให้เริ่มจ่ายซะกาตได้ตั้งแต่วันแรกของเดือนรอมฎอน

4 - เวลามักโระห์( وقت كراهة )
เริ่มจากหลังละหมาดอีด จนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก ยกเว้น ล่าช้าเนื่องจากมีผลประโยชน์ เช่น รอเครือญาติ หรือ รอคนยากจนที่เหมาะสม เป็นต้น

5 - เวลาฮาราม (وقت حرمة)
การล่าช่าการจ่ายจนเลยวันอีด (ดวงอาทิตย์ตกของวันวันอีด เข้าสู่กลางคืนของวันถัดไป) ยกเว้น ล่าช้าเนื่องจากมีอุปสรรค ก็อนุญาตล่าช้าได้ โดยไม่มีบาป แต่การจ่าย จะตกเป็นการกอดอ (قضاء) เช่น ทรัพย์สินของเขายังมาไม่ถึงเขา หรือ ไม่พบบุคคลที่จะมีรับซะกาต เป็นต้น

——————————————

🔘 [ #ปริมาณของซะกาตฟิฏเราะฮ์ ]

สำหรับข้าวสารในซะกาตฟิฏร์

ตามประกาศของจุฬาราชมนตรี
เรื่อง การเทียบมาตราตวง 1 ศออ์ ในซะกาตฟิฏร์

- โดย 1 ศออ์ มีน้ำหนักเท่ากับ 2.7 กิโลกรัม

———————————————

🔘 [ #ฮุก่มการจ่ายซะกาตเป็นราคา ]

สำหรับในประเด็นนี้ มี 2 ทัศนะ

▪️ตามทัศนะที่ถูกยึดถือของมัซฮับซาฟิอี เเละทัศนะอุลามะส่วนใหญ่
การจะออกเป็นราคาอาหาร (คือออกเงินที่มีมูลค่าเท่ากับอาหาร) แทนอาหารหลักไม่ได้ ดังนั้นจำเป็นต้องออกอาหารหลักที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ในประเทศนั้น ( ซึ่งบ้านเราคือ ข้าวสาร)

▪️มัซฮับฮะนาฟี
อนุญาตให้ออกราคาอาหาร (คือออกเงินที่มีมูลค่าเท่ากับอาหาร) แทนการออกอาหารได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าราคาย่อมเป็นประโยชน์แก่คนยากจนมากกว่าอาหาร และเข้าถึงเป้าหมายได้มากกว่า

และไม่มีข้อห้ามถ้าจะตาม(ตักลีด)มัซฮับนี้

ส่วนหนึ่งจากอุลามะมัซฮับซาฟิอี ที่บอกอนุญาตตามมัซฮับฮานาฟี ในมัสอาละนี้

في فتاوى الرملي (١/٥٥) : وقدأفتى بذلك الشهاب الرملي رحمه الله أي بصحة تقليد الإمام أبي حنيفة في إخراجها قيمةً

ท่านอีหม่าม อัช-ชีฮาบรอมลี ได้ฟัตวาว่า: “ใช้ได้ในการตามมัซฮับอีหม่ามอบูฮานีฟะฮ์ในการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์เป็นราคา”

💬 *** ซึ่งหากเราต้องการที่จะตักลีดตามมัซฮับอีหม่ามอบูฮานีฟะฮ์ ในการจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์เป็นราคา เราก็วายิบต้องตามในเรื่องปริมาณ 1 ซออ์ ซึ่งตามทัศนะของท่าน [ ประมาณ1 ซออ์ ตามที่มัซฮับฮานาฟีย์กำหนด ประมาณ4.6 กิโลกรัมโดยประมาณ] หลังจากนั้นเอาปริมาณดังกล่าวไปตีเป็นราคาเเล้วจ่ายด้วยกับราคาดังกล่าว.-

د.لبيب نجيب

———-والله تعالى أعلم—————-

📚 อ้างอิง
-اعانة الطالبين ص: ١٠٩١/٢. دارالسلام
-حاشية الباجوري ص:٣٧٢/٢ دارالمنهاج
-التقريرات السديدة ص:٤١٨

เขียน-เรียบเรียงโดย : เด็กอูลูม

29/03/2024
24/03/2024

#เเด่พ่อเเม่ไว้สอนลูกๆ

📚 รวบรวม 30 คำถามพร้อมคำตอบเกี่ยวกับหลักความเชื่อเบื้องต้น สำหรับสอนบุตรหลาน

✍️ จงสอนอะกีดะฮฺให้เเก่ลูกๆด้วยการถามคำถามเหล่านี้กับพวกเขาบ่อยๆ

🔸1.อัลลอฮฺอยู่ไหน ?

ตอบ : บนชั้นฟ้า(เหนืออะรัช)

🔸2.อะไรคือหลักฐานจากอัลกุรอานที่ยืนยันว่าอัลลอฮฺประทับอยู่เหนืออะรัช ?

ตอบ : ٱلرَّحْمَٰنُ عَلَى ٱلْعَرْشِ ٱسْتَوَىٰ

ความว่า : ผู้ทรงกรุณาปรานี ทรงสถิตย์อยู่บนบัลลังก์ (ฏอฮา : 5)

🔸3.อะไรคือความหมายของคำว่า استوى (ประทับ) ?

ตอบ : อยู่เหนือ อยู่บน (เป็นการอยู่เบื้องบนอย่างเเท้จริง ไม่ใช่ในลักษณะเปรียบเปรย)

🔸4.เราเอาหลักความเชื่อของเรามาจากไหน ?

ตอบ : จากอัลกุรอาน ซุนนะฮฺ เเละร่องรอยของชาวสะลัฟ

🔸5.เพราะเหตุใดอัลลอฮ์จึงทรงสร้างญินเเละมนุษย์ ?

ตอบ : เพื่อเคารพสักการะ(อิบาดะฮฺ)ต่อพระองค์เพียงผู้เดียว ไม่มีภาคีใดๆเทียบเคียงพระองค์ในการเคารพสักการะ

🔸6.อะไรคือหลักฐานจากอัลกุรอานที่ยืนยันว่าอัลลอฮฺทรงสร้างญินเเละมนุษย์มาเพื่อเคารพสักการะต่อพระองค์ ?

ตอบ : وَمَا خَلَقْتُ ٱلْجِنَّ وَٱلْإِنسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ

ความว่า : เเละข้ามิได้สร้างญินเเละมนุษย์มาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพสักการะต่อข้า (อัซซาริยาต : 56)

🔸7.อะไรคือความหมายของคำว่า"เพื่อเคารพสักการะต่อข้า" (يعبدون) ?

ตอบ : ให้เอกภาพต่อข้า เเละเชื่อฟังข้า

🔸8.อะไรคือความหมายของคำว่า"ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์" ?

ตอบ : ไม่มีสิ่งที่ถูกเคารพสักการะอย่างเที่ยงเเท้นอกจากอัลลอฮฺ

🔸9.อะไรคือการเคารพสักการะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ?

ตอบ : อัตเตาฮีด(การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ)

🔸10.อะไรคือการอธรรมที่ร้ายเเรงที่สุด ?

ตอบ : ชิริก(การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ)

🔸11.อะไรคือ"เตาฮีด" ?

ตอบ : ให้อัลลอฮฺเป็นหนึ่งในการเคารพสักการะ

🔸12.อะไรคือ"ชิริก" ?

ตอบ : เคารพสักการะสิ่งอื่นควบคู่กับอัลลอฮฺ

🔸13.เตาฮีดมีกี่ชนิด ?

ตอบ : สามชนิด

🔸14.อะไรคือชนิดของเตาฮีด ?

ตอบ : อัรรุบูบียะฮฺ , อัลอุลูฮียะฮฺ , อัลอัซมาอฺ วัศศิฟาต

🔸15.อะไรคือนิยามของ"เตาฮีด อัรรุบูบียะฮฺ" ?

ตอบ : ให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺในการกระทำต่างๆของพระองค์ เช่น การสร้าง การประทานปัจจัยยังชีพ การบริหารจัดการ

🔸16.อะไรคือนิยามของ"เตาฮีด อัลอุลูฮียะฮฺ" ?

ตอบ : ให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺด้วยการกระทำต่างๆของปวงบ่าว เช่น การขอดุอาอฺ การเชือดสัตว์พลี การสุญูด

🔸17.อัลลอฮฺทรงมีพระนามเเละคุณลักษณะหรือไม่ ?

ตอบ : ใช่เเล้ว อัลลอฮฺทรงมีคุณลักษณะตามที่พระองค์ได้ให้คุณลักษณะพระองค์เอง เเละตามที่รอซูลﷺของพระองค์ได้บอกถึงคุณลักษณะของพระองค์

🔸18.เราเอาพระนามเเละคุณลักษณะของอัลลอฮฺมาจากไหน ?

ตอบ : จากอัลกุรอาน เเละซุนนะฮฺ

🔸19.คุณลักษณะของอัลลอฮฺเหมือนกับคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างหรือไม่ ?

ตอบ : คุณลักษณะต่างๆของอัลลอฮฺไม่เหมือนกับคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างในเเก่นเเท้ของมัน(ถึงเเม้บางครั้งชื่อเรียกจะเหมือนกันก็ตาม เช่น เรียกมือเหมือนกัน เเต่สภาพที่เเท้จริงระหว่างมือของมนุษย์กับมือของอัลลอฮฺจะเเตกต่างกัน)

🔸20.อะไรคือหลักฐานจากอัลกุรอานที่ยืนยันว่าคุณลักษณะของอัลลอฮฺไม่เหมือนกับคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้าง ?

ตอบ : لَيْسَ كَمِثْلِهِۦ شَىْءٌ ۖ وَهُوَ ٱلسَّمِيعُ ٱلْبَصِيرُ

ความว่า : ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น (อัชชูรอ : 11)

🔸21.อัลกุรอาน คืออะไร ?

ตอบ : อัลกุรอาน คือคำพูดของอัลลอฮฺ

🔸22.อัลกุรอานถูกประทานลงมาหรือถูกสร้าง ?

ตอบ : ถูกประทานลงมา ซึ่งมันเป็นคำพูดของอัลลอฮฺอย่างแท้จริง(ด้วยอักษร เเละเสียง)

🔸23.อะไรคือการฟื้นคืนชีพ ?

ตอบ : คือการให้มนุษย์กลับมามีชีวิตหลังจากที่พวกเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว

🔸24.อะไรคือหลักฐานจากอัลกุรอานที่ยืนยันว่าผู้ที่ปฏิเสธการฟื้นคืนชีพเป็นกาฟิร(ผู้ปฏิเสธศรัทธา) ?

ตอบ : زَعَمَ ٱلَّذِينَ كَفَرُوٓا۟ أَن لَّن يُبْعَثُوا۟ ۚ

ความว่า : บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวอ้างว่าพวกเขาจะไม่ถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก (อัตตะฆอบุน 7)

🔸25.อะไรคือหลักฐานจากอัลกุรอานที่ยืนยันว่าอัลลอฮฺจะทรงทำให้เราฟื้นคืนชีพ ?

ตอบ : قُلْ بَلَىٰ وَرَبِّى لَتُبْعَثُنَّ

ความว่า : จงกล่าวเถิด(มุฮัมหมัด)หาเป็นเช่นนั้นไม่ ! ขอสาบานต่อพระเจ้าของข้าพระองค์ พวกท่านจะถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกอย่างแน่นอน (อัตตะฆอบุน : 7)

🔸26.อะไรคือความหมายของคำว่า"อิสลาม" ?

ตอบ : คือการยอมจำนนต่ออัลลอฮฺด้วยการให้เอกภาพต่อพระองค์ เเละปฏิบัติตามบัญชาของพระองค์ ตลอดจนการบริสุทธิ์จากการตั้งภาคีเเละบรรดาผู้ตั้งภาคี

🔸27.อะไรคือความหมายของคำว่า"อีมาน" ?

ตอบ : คือการที่ท่านศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และบรรดามลาอิกะฮฺของพระองค์ เเละบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ เเละบรรดารอซูลของพระองค์ เเละวันอาคิเราะฮฺ เเละศรัทธาต่อการกำหนดสภาวการณ์ทั้งดีเเละชั่ว

🔸28.การอีมานจะเกิดขึ้นด้วยหัวใจ หรือคำพูด หรือร่างกาย ?

ตอบ : การอีมานนั้น เกิดขึ้นด้วยการเชื่อของหัวใจ เเละวาจาของลิ้น เเละการปฏิบัติของร่างกายควบคู่กันไป เเละมันเพิ่มขึ้นด้วยการเชื่อฟัง เเละลดลงด้วยการฝ่าฝืน (จงระวังคำพูดที่ว่า : อีมานเป็นเรื่องของหัวใจเพียงอย่างเดียว)

🔸29.เราจะนอบน้อม สุญูด เเละเชือดสัตว์พลีเพื่อผู้ใด ?

ตอบ : เพื่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆมาเทียบเคียงพระองค์

🔸30.อนุญาตหรือไม่ที่จะนอบน้อม สุญูด เเละเชือดสัตว์เพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ?

ตอบ : ไม่อนุญาต , เพราะการกระทำสิ่งดังกล่าวเพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺนั้น เป็นการตั้งภาคี(ชิริก)

#อิสลามตามแบบฉบับ

24/03/2024

#ผู้ที่ไม่ชำระหนี้สินจะไม่ได้เข้าสวรรค์

قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهِ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : " وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، لَوْ أَنَّ رَجُلًا قُتِلَ فِي سَبِيلِ اللَّهِ، ثُمَّ أُحْيِيَ، ثُمَّ قُتِلَ، ثُمَّ أُحْيِيَ، ثُمَّ قُتِلَ وَعَلَيْهِ دَيْنٌ مَا دَخَلَ الْجَنَّةَ حَتَّى يُقْضَى عَنْهُ دَيْنُهُ " [ خرجه النسائي (٤٦٨٤) حكم الحديث : حسن. ]

ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

“ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ หากว่าคนคนหนึ่งถูกถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮฺ จากนั้น เขาก็ถูกทำให้กลับมามีชีวิต จากนั้น เขาก็ถูกฆ่า จากนั้น เขาก็ถูกทำให้กลับมามีชีวิต จากนั้น เขาก็ถูกฆ่าในสภาพที่มีหนี้สิน เขาจะไม่ได้เข้าสวรรค์ จนกว่าหนี้สินของเขาจะถูกชำระให้แก่เขาเสียก่อน”

[ บันทึกโดยอันนะซาอียฺ (4684) สถานะหะดีษ : ฮะซัน ]

บัญญัติแห่งอิสลามนั้น ได้เข้มงวดในเรื่องของหนี้สิน และได้เตือนอย่างรุนแรงถึงการไม่ชำระหนี้ หรือผัดวันประกันพรุ่ง ซึ่งหนี้สินจะเป็นสิ่งที่คุมขังไม่ให้มุสลิมได้เข้าสวรรค์ จนกว่าหนี้สินของเขาจะถูกชำระเสียก่อน

ในหะดีษบทนี้ มุฮัมมัด บิน ญะหฺช เล่าว่า :

เรานั่ง ณ ที่ท่านนบี ﷺ แล้วท่านนบีก็เงยหน้าขึ้นมองฟ้า จากนั้น ท่านก็วางมือไว้บนหน้าผาก แล้วกล่าวว่า ซุบฮานัลลอฮฺ (มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ) ซึ่งคำว่า ซุบฮานัลลอฮฺจะกล่าวกันส่วนมากในตอนที่ตกใจ หรือประหลาดใจต่อความสามารถของอัลลอฮฺ และความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และมันก็เป็นหนึ่งในถ้อยคำแห่งการรำลึกต่ออัลลอฮฺที่ท่านนบี ﷺ ส่งเสริมให้กล่าว จากนั้น ท่านนบี ก็กล่าวว่า อะไรถูกประทานลงมาที่เป็นเรื่องที่รุนแรง (กล่าวด้วยความตกใจ) ซึ่งบรรดาศอฮาบะฮฺที่นั่งร่วมกับท่านนบี ﷺ ต่างก็นั่งเงียบ และต่างก็กลัวกัน โดยไม่มีผู้ใดถามท่านนบี ﷺ ถึงสิ่งที่รุนแรงที่ถูกประลงมา ซึ่งเมื่อเวลาเช้าของอีกวัน ท่านมุฮัมมัด บิน ญะหฺช รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ก็ได้ถามท่านนบี ﷺ ถึงสิ่งที่รุนแรงที่ถูกประทานลงมา ท่านนบี ﷺ จึงตอบว่า ฉันขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ เพราะทุกชีวิตนั้น อยู่ในการครอบครองของอัลลอฮฺ หากว่าคนคนหนึ่งถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นการเชิดชูถ้อยคำแห่งพระองค์ หรือเพื่อช่วยเหลือศาสนาของพระองค์ จากนั้น เขาก็ถูกทำให้กลับมามีชีวิต จากนั้น เขาก็ถูกฆ่า จากนั้น ก็ถูกทำให้กลับมามีชีวิต จากนั้น เขาก็ถูกฆ่า ซึ่งทุกครั้งที่ถูกทำให้กลับมามีชีวิต เขาก็ถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮฺ ซึ่งนี่คือการบอกถึงผลบุญอันยิ่งใหญ่ที่เขาจะได้รับ แต่ทว่าเขาตายไปในสภาพที่มีหนี้สินติดตัว แม้ว่าเขาจะตายในหนทางของอัลลอฮฺ เขาก็จะไม่ได้เข้าสวรรค์ จนกว่าหนี้สินของเขาจะถูกชำระให้แก่เขาเสียก่อน เพราะหนี้สินนั้น เป็นสิทธิ์ของมนุษย์ที่มันจะต้องได้รับการชำระ

สิ่งที่ได้รับจากหะดีษ :

-ชีวิตของผู้ศรัทธานั้นเกี่ยวพันธ์กับหนี้สินของเขา หากว่าตายในสภาพที่มีหนี้สิน เขาจะยังไม่สามารถเข้าสวรรค์ได้ แม้ว่าเขาจะทำความดีมามากเพียงใดก็ตาม จนกว่าหนี้สินของเขาจะถูกชำระเสียก่อน ซึ่งผู้ที่สมควรที่จะชดใช้หนี้สินให้แก่เขานั้น คือผู้ที่ใกล้ชิดเขา ไม่ว่าจะเป็นลูก หลาน พี่น้อง หรือญาติ ซึ่งหากว่าญาติใกล้ชิดของเขาไม่สามารถชำระหนี้แทนเขาได้ ก็ให้มุสลิมคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เขา หรือเจ้าของหนี้ยกหนี้ให้แก่เขา มันก็จะเป็นการดีสำหรับเขา

#ซุนนะฮ์

21/03/2024

การถือศีลอดที่เคยมีบันทึกในประวัติศาสตร์

เดือนนี้คือเดือนรอมฎอน มุสลิมถือศีลอดตลอดทั้งเดือน หากเริ่มนับกันในยุคสมัยนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) อิสลามย่อมไม่ใช่ศาสนาแรกที่ถือศีลอด อัลกุรอานบอกไว้ในบทอัลบะเกาะเราะฮฺ 2: 183 ด้วยว่ามีชนกลุ่มอื่นถือศีลอดมาก่อนหน้ามุสลิมแล้ว สำทับไว้ด้วยว่าอัลลอฮฺ (ศุบฯ) ทรงกำหนดให้ชนเหล่านั้นถือศีลอด เป็นการบอกใบ้ว่าอันที่จริงอิสลามเริ่มมาก่อนยุคนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) แล้ว คำถามมีว่าการถือศีลอดเริ่มกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่

การอดอาหารเป็นกระบวนการหนึ่งในพิธีกรรมของหลายกลุ่มศาสนา ทั้งพุทธ พราห์มณ์ ฮินดู ซิกข์ มีการถือศีลอดอาหารทั้งนั้น กลุ่มเดียวที่ถือว่าการอดอาหารเป็นบาปคือโซโรเอสเตอร์หรือกลุ่มลัทธิบูชาไฟ นอกนั้นมีการอดอาหารเพื่อสร้างสมาธิหรือเพื่อเข้าหาพระผู้เป็นเจ้าเป็นองค์ประกอบในพิธีกรรมทางศาสนาทั้งสิ้น ในส่วนของอิสลามหากนับย้อนหลังกลับไปก่อนยุคนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เรื่องราวการถือศีลอดอาหารย้อนหลังไปได้ถึง 5,000 ปีล่วงมาแล้ว โดยเริ่มเมื่อครั้งนบีนุฮฺ (อ.ล.) นำเรือที่หลบภัยจากน้ำท่วมใหญ่ขึ้นไปจอดบนยอดเขาญูดียฺตามที่ระบุไว้ในอัลกุรอาน ฮูด 11:44 วันนั้นคือวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม บันทึกในคัมภีร์ของชาวยิวระบุว่านบีนุฮฺ (อ.ล.) หรือโนอาฮฺ (Noah) ได้ถือศีลอดอาหารในวันนั้น

ผ่านมากระทั่งเมื่อ 4,000 ปีที่ผ่านมาในยุคสมัยของนบีอิบรอฮีม (อ.ล.) มีบันทึกเรื่องราวการถือศีลอดของท่านนบี โดยมีหะดิษบันทึกไว้ว่าท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวถึงการถือศีลอดของนบีอิบรอฮีม (อ.ล.) ว่าเป็นรูปแบบที่มุสลิมยึดถือกันในภายหลัง วันเวลาผ่านมาจนเมื่อ 3,500 ปีล่วงมาแล้ว มีเรื่องราวการถือศีลอดอาหาร 40 วันสองช่วงของนบีมูซา (อ.ล.) หรือโมเสสก่อนขึ้นเขาซีนาย โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอมมีบันทึกถึงการถือศีลอดอาหารของนบีมูซา (อ.ล.) และชาวยิวก่อนข้ามทะเลแดง

จนถึงยุคนบีอีซา (อ.ล.) หรือพระเยซู (Jesus) ท่านถือศีลอดอาหาร 40 วันในทะเลทรายก่อนเข้าเมืองเพื่อเผยแผ่ศาสนา การถือศีลอดอาหารนี้เองที่ชาวคริสต์บางส่วนนำมาปฏิบัติในพิธีเข้าสู่ธรรมหรือมหาพรตช่วงอีสเตอร์หรือปัสกา ผ่านมากระทั่งถึงยุคนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นนบี ท่านถือศีลตะฮันนุธ (Tahunnuth) ผสมผสานระหว่างการถือศีลอดอาหารกับการทำสมาธิในถ้ำหิรออฺ มักกะฮฺในเดือนรอมฎอน

จนกระทั่งทุกวันนี้ มุสลิมถือศีลอดตลอดเดือนรอมฎอน หากปฏิบัติกันตามแบบอย่างท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านยังถือศีลอดเพิ่มเติมเกือบทั้งเดือนในเดือนชะอฺบาน ถือศีลอดทุกวันจันทร์ พฤหัสบดีในเดือนอื่นๆ ทั้งแนะนำให้ถือศีลอดสองวันในวันที่ 9 และ 10 เดือนมุฮัรรอม ถือศีลอดในวันที่ 9 เดือนซุลฮิจยะฮฺสำหรับคนที่มิได้ไปประกอบพิธีฮัจญฺ ในส่วนหลังแม้มีบันทึกไม่ชัดเจนนักแต่มุสลิมจำนวนไม่น้อยพากันถือศีลอดตามข้อแนะนำที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ให้ไว้ เพราะรู้ว่าการถือศีลอดให้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแน่นอน
#ดรวินัยดะห์ลัน, , #การถือศีลอด, #เดือนรอมฎอน

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Nasri ibnu Ibrahim posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share