Lgbtq+ Support

  • Home
  • Lgbtq+ Support

Lgbtq+ Support สร้างขึ้นเพื่อกระจายข่าวสารเกี่ยว?

03/02/2022

ในช่วงปีที่ผ่าน ๆ มาอุตสาหกรรม “ซีรีส์ Y” ในไทยนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความที่มีกลุ่มแฟนคลับจำนวนมากทั้งในประเทศและนอกประเทศ แน่นอนว่าถ้าผู้ที่ชื่นชอบอยู่มากแล้ว ก็ต้องถูกวิพากย์วิจารณ์ไปในหลายแง่มุมเช่นกัน วันนี้เราจะมาชวนคุยถึงที่มาของซีรีส์วาย จุดประสงค์ และประเด็นถกเถียงล่าสุด เรื่องบริบทของซีรีส์วาย ผลกระทบที่มีต่อชุมชน และการผลักดันสิทธิของ LGBT+
SPECTROSCOPE: ซีรีส์วายไทย - แค่ความบันเทิง หรือการกดทับ ?
“Y series” คืออะไร? - คำว่า วาย นั้นเป็นตัวย่อมาจากคำภาษาญี่ปุ่น Y**i (やおい) โดยแรกเริ่มนั้นถูกใช้เป็นประเภท (Genre) หนึ่งของโดจินชิ (งานล้อเลียนมังงะหรืออะนิเมะ) โดยเป็นตัวย่อของที่มาจาก สามคำ คือ ยะมะนะชิ (山なし) ไม่มีไคลแม็กซ์, โอจินะชิ (落ちなし) ไม่มีประเด็น, อิหมินะชิ (意味なし) ไม่มีสาระ หรือก็คือแนวงานเขียนแบบ ปล่อยใจตามสบาย อยากเขียนอะไรก็เขียน อยากจิ้นคู่ไหนก็ได้
จนภายหลังความหมายของคำนี้กลายเป็นแสลงที่เจาะจงถึง เรื่องราวแนวความสัมพันธ์ของ ผู้ชาย กับ ผู้ชาย ที่เน้นไปในเชิงทางเพศ จนบางครั้งก็มีการล้อเลียนกันว่ามีหมายแฝงมาจากคำว่า ยะเมเตะ (やめて) อย่านะ, โอชิริ งะ (おしりが ) ก้นฉัน, อิไต้ (いたい) เจ็บ ซึ่งเห็นได้เลยว่าจุดกำเนิดของวัฒนธรรมยาโอยเองนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อผลักดันหรือพูดถึงกลุ่มคนที่เป็นเพศหลากหลาย อีกทั้งยังมีมุมหนึ่งที่มีนัยยะความเหยียด โดยมองว่าเพศสภาพคือความบันเทิงอย่างหนึ่ง แตกต่างกับเหมือนอย่างซีรีส์ LGBT+ หรือ Qu**rs films เรื่องอื่น ๆ ที่พยายามสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้
จนช่วงหลัง เริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้คำว่า “Boy’s Love” และบริบทของมันก็เปลี่ยนตามไปด้วย โดยจะเลือกโฟกัสที่ความสัมพันธ์เชิงโรแมนติก การพัฒนาของตัวละคร ไม่ได้เน้นเรื่องเพศแบบโจ่งแจ้งเสมอไป โดยงานแนวนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมายาวนาน ในประเทศไทยก็เช่นกัน อย่างไรก็ตามผู้ที่เขียนและเสพงานประเภทนี้เท่าที่พบเห็นกันก็จะเป็นผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ (ผลสำรวจของ Line insights ใพบว่าผู้ชมซีรี่ส์วายไทยใน lineTV เป็นผู้มีเพศกำเนิดหญิงกว่า 78%) ทำให้คนบางส่วนก็ยังคงมองว่านี่คือการมองและทำให้เพศสภาพของคนกลุ่มหนึ่งกลายเป็นเพียงรสนิยมส่วนตัว (Fetishize) โดยลบเลือนอัตลักษณ์ของพวกเขาออกไป
ในมุมหนึ่ง การที่ซีรีส์แนว Boy’s Love เหล่านี้นั้นเป็นที่นิยมสูงในหมู่ผู้หญิง ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมันเป็นเหมือนการหลบหนีจากความจริง (Escapism) ของสังคมชายเป็นใหญ่ ที่ตอบโจทย์แฟนตาซี และการกดทับจากบริบททางเพศบางอย่างที่ความสัมพันธ์แบบชาย-หญิง ไม่สามารถสะท้อนออกมาให้ดูโดยไม่รู้สึกแปลกหรือติดขัดได้ อย่างเช่นการเล่นกันแบบถึงเนื้อถึงตัวของตัวละคร การแสดงออกเรื่องเพศแบบเปิดเผย หรือพล็อตแนว ๆ เพื่อนรักที่อยู่หอร่วมกัน เป็นต้น
‘ผมไม่ได้เป็นเกย์ ผมไม่ได้ชอบผู้ชาย แต่ชอบแค่นายคนเดียว’
อย่างไรก็ตาม ถ้ามองมาที่ซีรีส์ หรือนิยายวายในไทยยุคแรก ๆ จะมีจุดเด่นชัดเจนคือการที่ตัวละครเอกสองตัวจะต้องเป็นเรื่องราวความรักของ “ชายแท้”* สองคน ที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยชอบผู้ชายมาก่อนเป็นส่วนใหญ่ (แน่นอนว่ามันมีความเป็นไปได้ ถ้าตัวละครนั้นอาจจะเป็นไบ เป็นแพนเซ็กชวล หรือมีเพศลื่นไหล ฯลฯ แต่วิธีการเล่าของวายนั้นไม่ได้ไปในทิศทางนั้น) ซึ่งนี่นำไปสู่การเพิกเฉยต่อการมีอยู่ และความลำบากที่ LGBT+ ต้องเจอในชีวิตจริง ยังไม่นับเนื้อหาแนวการคุกคามทางเพศที่ถูกใส่มาและลดทอนความรุนแรงออกไปทำให้ดูเป็นเรื่องโรแมนติก (Romanticize) (ไม่ต่างจากละครไทยเรื่องอื่น ๆ) หรือการทำให้ตัวละครหญิงดูสิ้นคิด เป็นตัวร้ายที่มีผลแค่เพื่อขยับความสัมพันธ์ของตัวละครชาย

(*หมายเหตุ การใช้คำว่า “ชายแท้” (ใส่อัญประกาศเพื่อยกอ้างมุมมองความคิดของผู้อื่น) ซึ่งในที่นี้คือเพียงเพื่อ ‘เน้นย้ำ’ มุมมองของคนบางกลุ่มมองว่าตัวละครนั้นต้องเป็นเสตรทคือ cisgender/heterosexual เท่านั้นโดยไม่มีความไหลลื่นใด ๆ ซึ่งแน่นอนว่าในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีเพศไหนที่จริงแท้ หรือเทียม ต้องขออภัยที่อาจสร้างความเข้าใจผิดไว้ ณ ที่นี้)
อย่างไรก็ตามซีรีส์วายในยุคหลัง ๆ นั้นก็มีการปรับปรุงแก้ไขไปในแง่ที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงเรื่องเพศ อัตลักษณ์ และปัญหาเชิงนี้อยากชัดเจนมากขึ้น ฯลฯ แต่ก็ยังคงถูกถกเถียงในเรื่องความไม่สมจริง และการผลิตซ้ำของเนื้อเรื่องอยู่ อย่างภาพจำของ “เคะ” (ฝ่ายรับ) และ “เมะ” (ฝ่ายรุก) ในตัวของซีรีส์วายหลาย ๆ เรื่องนั้นก็ยังคงติดอยู่กับระบบสองเพศแบบเดิมๆ ที่สร้างภาพจำแบบแคบ ว่าฝ่ายรุกจะต้องเป็นฝ่ายที่มีความเป็นชาย (Masculine) สูง ฝ่ายรับต้องมีความเป็นหญิง (Feminine) หรือไม่ก็ทั้งคู่จะต้องเป็นผู้ชายที่ไม่ได้ “อ้อนแอ้น ออกสาว” จนเกินไป
การผลิตซ้ำแบบนี้นั้นยังมีให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ โดยถ้าใครพยายามจะนำเสนอคาแรกเตอร์ที่แตกต่าง ก็มักได้รับกระแสในเชิงไม่ยอมรับจากสาววายหรือผู้ชมบางกลุ่ม ทั้งที่ในชีวิตจริง สเปกตรัมของปัจเจกบุคคลกว้างขวางกว่านั้นมาก โดยก็เคยมีคนในชุมชน LGBT+ ที่ออกมาเล่าว่าเขานั้นถูกตั้งคำถาม และไม่ยอมรับ จากคนรอบตัวไม่ได้เป็นไปตามภาพจำทางเพศเหล่านั้นที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยสื่อประเภทนี้ จนรู้สึกอึดอัดใจและเป็นปัญหาในชีวิตจริง (เช่น ตัวเล็กบอบบางแบบนี้รุกไม่ได้หรอก ฯลฯ )
“ไม่เอาตุ้ดเกย์กะเทย ขอหญิงแท้ชายแท้ทุกบท”
ที่หนักกว่านั้น ในซีรีส์วายยุคปัจจุบันนั้น แทบจะหานักแสดงนำที่เปิดเผยว่าเป็น LGBT+ ไม่ได้เลย อย่างข้อความข้างบนนี้ คือเงื่อนไขการหานักแสดงซีรีส์วายที่เคยมีคนนำมาโพสต์ในโลกออนไลน์ ที่ชวนตั้งคำถามว่าในเมื่อรูปแบบของซีรีส์เป็นการนำเสนอความรักของกลุ่มคนเพศเดียวกัน แต่ทำไมกลับกีดกัน LGBT+ ในการรับบทนี้ออกไป? สะท้อนให้เห็นความเกลียดชังในคนรักเพศเดียวกัน (Homophobia) ที่แอบซ่อนอยู่ในวงการนี้
รวมทั้งนักแสดงซีรีส์วายชื่อดังบางคนเอง ก็ยังมีทัศนคติแง่ลบต่อ LGBT+ เคยล้อเลียนเพศหลากหลายในเชิงตลกขบขัน ที่ยิ่งตอบย้ำปัญหาในส่วนนี้ว่าพื้นที่ของซีรีส์วายนั้นอาจจะ ‘ไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยของเพศหลากหลายหลาย ๆ คน’ ด้วยซ้ำ ยังไม่นับที่เคยมีผู้จัดและนักแสดงบางส่วนที่มองว่า ‘ที่ต้องให้นักแสดงสเตรทมาเล่นนั้น เพราะถ้า LGBT+ มาเล่นเลิฟซีน พวกเขาอาจจะเกิดความรู้สึกขึ้นมาจริง ๆ และทำให้คนในกองอึดอัดได้’ เป็นตรระกะวิบัติที่ตีตราการเหมารวมอีกครั้งว่า LGBT+ จะต้องมีความรู้สึกทางเพศอยู่ตลอด และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ไปอีก
ประเด็นเหล่านี้ทำให้ซีรีส์วายถูกวิพาษ์วิจารณ์มาเรื่อย ๆ โดยมีทั้งคนชอบและไม่สนับสนุน อย่างกระทั่งกรณีล่าสุดก็ที่ ครูลูกกอล์ฟ คณาธิป สุนทรรักษ์ ก็ได้ออกมาพูดถึงซีรีส์วายไว้ว่า:
“ซีรีส์วายต่าง ๆ แทบจะทั้งหมด มันไม่ได้ส่งเสริม ยกระดับ หรือสร้างความเข้าใจต่อชุมชน LGBTQ+ อะไรขนาดนั้น หวังแค่ว่า นักแสดงที่มาได้แสง ได้ประโยชน์จากตรงนี้ อย่างน้อยจะเข้าใจบ้างว่า ในชีวิตจริงของการเป็น LGBTQ+ มันต้องผ่านด่านอะไรบ้าง และส่งเสียงเพื่อชุมชนเราบ้างก็พอ” จนเกิดการถกเถียงกันเป็นเรื่องเป็นราว ว่าสื่อบันเทิงอย่างซีรีส์วายนั้นจำเป็นต้องผลักดันสังคมจริง ๆ น่ะหรือ?
โดยคนส่วนหนึ่งนั้นแย้งว่า ซีรีส์วายคือโลกในอุดมคติที่ทุกคนสามารถรักกันได้โดยไม่มีอุปสรรค เป็นเรื่องแต่งที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ เป็นแฟนตาซี และจินตนาการของผู้เขียน ที่สนองความต้องการของผู้อ่าน มันมีรูปแบบของมัน ที่ไม่มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนสังคมแต่อย่างใด รวมทั้งในตอนนี้ทั้งนักแสดง ผู้กำกับ และผู้จัดทำหลาย ๆ คนก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อสิทธิ LGBT+ และมีการสนับสนุนสมรสเท่าเทียมอยู่เรื่อย ๆ
“หากมองจากจุดกำเนิดและวิถีทางของมันแล้ว สื่อวายจึงไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือเรียกร้องสิทธิ LGBTQ+ โดยตัวมันเองตั้งแต่แรก และมันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำ ‘หน้าที่’ ดังกล่าวด้วยซ้ำ”
นี่คือสิ่งที่ทางไทยรัฐพลัสได้เขียนเอาไว้ในบทความ ‘มอง ‘ซีรีส์วายไทย’ อีกด้าน กับสารพัดคำถามที่คนดูอาจต้องการคำตอบ’ ที่มองว่ามันไม่เรื่องผิดบาป ถ้าซีรีส์วายไม่ได้ช่วยสนับสนุนประเด็นด้านสิทธิอย่างจริงจัง ขอแค่ไม่สร้างความเข้าใจผิดต่อชุมชนเพศหลากหลายก็เพียงพอแล้ว (อ่านเพิ่มเติม: https://bit.ly/32BnVQO)
แต่ทว่าในสังคมไทยที่ LGBT+ ยังถูกกดทับ ยังขาดความเข้าใจอยู่มากนั้น ก็ทำให้เกิดคำถามว่าการที่สื่อกระแสหลักผลิตซ้ำแต่ภาพจำแบบเดิม ๆ และโลกอุดมคติแบบนี้ มันเหมาะสมกับบริบทที่เป็นอยู่แล้วจริง ๆ หรือ
“ไม่ใช่ซีรีส์เกย์ค่ะ เป็นซีรีส์วาย เพราะเป็นผู้ชายที่รักผู้ชาย”
“วายค่ะไม่ใช่เกย์ วายคือชายรักชาย แต่เกย์คือจะรวมพวกกระเทยตุ้งติ้งมาด้วย คนล่ะแบบน่ะค่ะ”
มุมมองอีกฝั่งต่อเรื่องนี้นั้น ก็มองว่าซีรีส์วายนั้นยังสร้างค่านิยมผิด ๆ อยู่ และยังมีหลายคนที่สนับสนุนซีรีส์วาย แต่ไม่ยอมรับในเพศสภาพของ LGBT+ อยู่ (เห็นได้จากตัวอย่างคอมเมนต์ข้างต้น) โดยมองว่าผู้ชายในเรื่องเป็น “สเตรท” ที่บังเอิญไปชอบผู้ชายอีกคนเท่านั้น แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่มีมุมมองนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเข้าใจผิดเหล่านี้ มาจากการนำเสนอที่ไม่ชัดเจนของตัวซีรีส์แนวนี้ ที่ลบเลือนอัตลักษณ์ของ LGBT+ ออกไป
“ซีรีส์วายเต็มบ้านเต็มเมืองแต่กฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ผ่าน มันก็ไม่ใช่ความผิดของนักแสดง และสาววายรึเปล่า”
ก็ได้มีคนชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่ซีรีส์วายนั้นได้รับความนิยมจนสามารถเติบโตเป็น ‘Soft Power’ เพื่อโปรโมทประเทศได้ จนทางไทยรัฐออนไลน์ได้ขนานนามว่า เป็น “ดินแดนที่ผลิตซีรีส์วายอันดับ 1 ของโลก” แต่ในขณะเดียวกัน สิทธิเพื่อกลุ่มเพศหลากหลายในไทยยังไม่ก้าวหน้า สมรสเท่าเทียม กฎหมายป้องกันการเลือกปฏิบัติยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นคือความลักลั่นที่น่าเจ็บปวด แต่หลาย ๆ คนก็มองว่านี่คือความผิดของรัฐบาลต่างหากที่ไม่ยอมรับคนกลุ่มนี้เสียที
แต่บางส่วนนั้นมองว่า ความโด่งดังของซีรีส์วายนั้นมีประสิทธิภาพมากพอที่จะเป็นหนทางหนึ่งในการสร้างเเรงกระเพื่อมต่อสิทธิเพศหลากหลายในไทยเป็นวงกว้างได้ เพราะยังไงสิ่งที่ตัวซีรีส์นำเสนอก็คืออัตลักษณ์ของผู้คนในชุมชนนี้ โดยถ้าตัวซีรีส์จะไม่ช่วยเรียกร้องในสิทธิ์ของคนเพศหลากหลาย แต่หากินแค่กับอัตลักษณ์ของพวกเขาไปเรื่อย ๆ ตัวผู้เสพก็มีสิทธิ์ที่จะวิพากย์วิจารณ์และเรียกร้องในจุดนี้ได้ และเป็นหน้าที่ของซีรีส์วายด้วยซ้ำ ที่ต้องเลิกสร้างอคติ และมุมมองผิด ๆ ต่อเพศหลากหลายที่ส่วนหนึ่งก็เกิดขึ้นมาจากตัวซีรีส์วายเอง
ซีรีส์วาย = ซีรีส์เกย์มั้ย? - คุณลูกกอล์ฟ ได้ตั้งคำถามเพิ่มถึงประเด็นนี้ขึ้นมา โดยส่วนใหญ่กว่า 89% นั้นตอบว่า ‘เป็น’ แต่ถ้าพิจารณาจากการถกเถียงแล้วนั้น ในฝั่งของผู้ที่ตอบว่า ‘ซีรีส์วาย ≠ ซีรีส์เกย์นั้น’ เป็นไปด้วยเหตุผลสองแง่ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ส่วนหนึ่งตอบว่า ไม่ใช่ เพราะ ‘ไม่ยอมรับ’ ในอัตลักษณ์ของเกย์ แต่อีกส่วนหนึ่งที่ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะมองว่าซีรีส์วายในไทยไม่ได้มีภาพแทนที่ถูกต้องของเกย์ และยังมีการบิดเบือนความเป็นจริง จึงไม่ควรถูกนับว่าเป็นซีรีส์เกย์ ซึ่งจะเห็นว่าการตั้งคำถามในประเด็นนี้ยังมีเส้นแบ่งที่เบลอและไม่ชัดเจนอยู่
อย่างไรก็ตามก็มีคนบางส่วนมองว่า ในบริบทของการขับเคลื่อนสิทธิของกลุ่มคนเพศหลากหลาย ซีรีส์วายยังไม่ได้ทำหน้าที่ขนาดนั้น จึงอาจพูดไม่ได้เต็มปากว่าซีรีส์เหล่านี้ได้แสดง (Represent) ถึงความเป็นเพศหลากหลายในสังคมได้อย่างแท้จริง ซึ่งก็คงต้องมีการถกเถียงและผลักดันกันต่อไปถึงความเป็นไปได้ในอนาคต
สุดท้ายแล้ว เราคงตอบไม่ได้ว่าซีรีส์วายนั้นยังควรมีอยู่ หายไป หรือจะกลายเป็นซีรีส์ที่ขับเคลื่อนสังคมได้จริง ๆ หรือไม่ แต่ทว่าในระบบของสังคมไทย ที่ยังมีอคติ ทางเพศ และมีกลุ่มคนเพศหลากหลายถูกทำร้ายและถูกกีดกันอยู่ ทางผู้จัด นักแสดง และคนในวงการ รวมทั้งผู้เสพนั้น ก็ควรตระหนักรู้ว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นคือการหากินกับอัตลักษณ์ทางเพศของคนกลุ่มหนึ่ง จนซีรีส์วายนั้นก็เหมือนกับเป็นภาพแทนหนึ่งของคนรักเพศเดียวกันในสังคมไปแล้ว และการสร้างซีรีส์โดยปราศจากความละเอียดอ่อนในประเด็นเรื่องเพศ หรือการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ นั้นสามารถสร้างปัญหากดทับต่อกลุ่มเพศหลากได้
ซึ่งเราก็หวังว่าอย่างน้อยที่สุดแล้ว ซีรีส์วาย และอุตสาหกรรมความบันเทิงอื่น ๆ ในไทย จะสามารถนำเสนอและสร้างความเข้าใจในความหลากหลาย ความรักของคนรักเพศเดียวกัน และเลิกผลิตซ้ำ และเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเพศหลากหลายได้มาบอกเล่าเรื่องราวและความเจ็บปวดของตัวเองมากขึ้น เป็นอีกแรงหนึ่งในการสร้างความเข้าใจและสนับสนุนความก้าวหน้าในสังคม
#ซีรีส์วาย

Content by Panita S., Alexis to Your Mimi
Graphic by Napaschon
อ่านคอนเทนต์เรื่องเพศอื่นๆ: https://bit.ly/3hhRUzp
อ้างอิง
BBC: https://bbc.in/3AGOlNG
Thairath: https://bit.ly/32xiQc6
Thairath plus: https://bit.ly/33VoLs5
Marketingoops: https://bit.ly/3H2tVB1
Loukgolflg: https://bit.ly/3fXsEz9
The Matter: https://bit.ly/3rUv9HZ
The standard: https://bit.ly/3rR3YOz
"Boys' Love," Y**i, and Art Education: https://bit.ly/3tY6yVy
หนังสือ Reading Japan Cool: Patterns of Manga Literacy and Discourse
#พื้นที่ความคิดของทุกสีสัน

"กรุณาแสดงความเห็นอย่างสุภาพและสร้างสรรค์ ทีมงานสงวนสิทธิ์ในการลบหรือดำเนินการตามสมควร กับความเห็นที่สร้างความเกลียดชัง (hate speech) หรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น”

03/02/2022
03/02/2022

LGBTQ+ จงเจริญญ 🏳️‍🌈

ล่าสุด รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้ลงนามในประกาศให้นักศึกษาแต่งกายได้ตามเพศวิถี รวมถึงการรับปริญญาด้วย

ใครที่เหยียดหรือดูหมิ่น ต้องเจอโทษวินัย มีผล 9 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไปค่ะ

นับว่าเป็นอีกก้าวใหม่ เป็นเรื่องที่ดีค่ะ ชื่นชมในทัศนคติที่เปิดกว้างของท่านอธิการมาก 🙏🏻

+

03/02/2022

เราสูญเสียอะไรท่ามกลางอคติทางเพศ
ที่ผ่านมาเราเคยถูกอคติทางเพศหรือเชื้อชาติเล่นงานบ้างหรือเปล่า ถ้ายังนึกไม่ออก ลองดูข้อมูลเหล่านี้ดู
ไปสัมภาษณ์งาน แต่ไม่ได้งานในท้ายที่สุด เพียงเพราะเป็นผู้หญิง ได้รับการปฏิบัติที่ไม่ค่อยดีเท่าไร แค่เพราะนามสกุลบ่งบอกว่าเป็นคนต่างจังหวัด หรือพูดภาษาไทยไม่ค่อยชัด เลือกผู้นำที่ไม่เก่งขึ้นมาบริหารประเทศ เพราะตอนหาเสียงดูเก่ง พูดดี มีความมั่นใจ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับเรา สังคม และประเทศชาติ เพียงเพราะอคติทางเพศ มันจะเป็นไปได้ไหมที่เราจะออกแบบสังคมที่คนเท่าเทียมกันได้จริง เพื่อคืนโอกาสที่เราทุกคนควรได้รับกลับมา
อ่านบทความเต็ม ๆ ได้ที่: www.attanai.com/discovery/gender-discrimination-in-society/
#อัตนัย #บทความ #บทความการศึกษา #อคติทางเพศ #เหยียดเพศ
ติดตามช่องทางอื่น ๆ ของอัตนัยต่อได้ที่
Website : www.attanai.com
YouTube : https://bit.ly/2YJSOk8
Instagram : http://bitly.ws/jpVm
Soundcloud : http://bitly.ws/jpW6
Spotify : https://spoti.fi/3CruIIF

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Lgbtq+ Support posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share