04/10/2024
JLIT ร่วมจัด มีพี่อรรถไปร่วมเสวนา เรียนเชิญทุกท่านไปฟังได้ในงานหนังสือนะคะ จะได้อ่าน รักเร้น-เร้นรัก ได้อรรถรสเพิ่มขึ้น
❌ปิดรับลงทะเบียน เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมครบเต็มจำนวนแล้ว❌
ขอเชิญเข้าร่วมงานเสวนา “ยูริ-แซฟฟิก ยาโออิ-บอยส์เลิฟ : วรรณกรรมข้ามพรมแดนญี่ปุ่น - ไทย จากอดีต สู่ปัจจุบัน และอนาคต” ในวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567 ณ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ด้วยกระแสความนิยมในละครแนว Boys’ Love (BL) หรือที่คนไทยเรียกว่า 'ละครวาย' ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทางเศรษฐกิจเติบโตกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งยังแพร่หลายไปทั่วประเทศแถบเอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะเป็น จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ตลอดจนประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของละครและนิยายแนว Girls’ Love (GL) หรือ ยูริ-แซฟฟิก ในปัจจุบันอีกด้วย
ครั้งนี้ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ สำนักพิมพ์เจลิท และสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะขอเชิญนักอ่าน และผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานเสวนาวรรณกรรมญี่ปุ่น - ไทย
● หัวข้อ “ยูริ-แซฟฟิก ยาโออิ-บอยส์เลิฟ : วรรณกรรมข้ามพรมแดนญี่ปุ่น - ไทย จากอดีต สู่ปัจจุบัน และอนาคต”
● วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 14:00 – 16:00น.
● ณ ห้องประชุม 203 ชั้น 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ในงานนี้ผู้มีเกียรติทุกท่านจะได้ย้อนกลับไปดูเบื้องหลังพัฒนาการการเติบโตทางวัฒนธรรมของ Boys’ Love (BL) และ Girls’ Love (GL) ที่นำเสนอผ่านการ์ตูน นิยาย และวรรณกรรม ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเมื่อช่วงยุค 70 ผ่านการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ของผู้คนและสังคม ตลอดจนการแผ่อิทธิพลของวรรณกรรมเหล่านั้นสู่ผู้อ่านในสังคมไทย ก่อกำเนิดนิยายและวรรณกรรมร่วมสมัยที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น อันนำไปสู่การเป็นที่ยอมรับจากผู้อ่านในวงกว้าง จนสามารถสร้างกระแสก้าวข้ามพรมแดน ผ่านงานผลิตสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นิยายและวรรณกรรมแปล ภาพยนตร์ ซีรีส์ แฟนมีต และอื่นๆอีกมากมาย
ญี่ปุ่นในฐานะประเทศต้นทางของวัฒนธรรมการ์ตูนประเภทต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือโชโจมังงะหรือที่คนไทยเรียกว่าการ์ตูนตาหวาน ซึ่งได้มีวิวัฒนาการและแตกสาขาออกมาเป็นการ์ตูนแนวชายรักชาย จนกลายมาเป็นที่นิยมและแผ่ขยายไปทั่วภูมิภาค แต่ในทางกลับกันปัจจุบันนี้ญี่ปุ่นเองก็รับเอากระแสซีรีส์วายของไทยกลับเข้าไปในอุตสาหกรรม อะไรคือเบื้องหลังของปรากฎการณ์เหล่านี้? ร่วมกันค้นหาคำตอบว่าอะไรคือปัจจัยของความสำเร็จ รวมไปถึงแนวโน้มการเติบโตต่อไปในอนาคต ทั้งด้านความร่วมมือทางวัฒนธรรมข้ามพรมแดน และการผลิตสื่อสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ร่วมกัน
ทางหน่วยงานได้รับเกียรติอย่างสูงจาก คุณอรรถ บุนนาค และ คุณพิมพ์ชนก เจียรวัฒนกุล ผู้ที่คร่ำหวอดในแวดวงสิ่งพิมพ์ และวัฒนธรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่น รวมทั้ง รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ซึ่งได้เดินทางไปทำวิจัยเกี่ยวกับ BL และ GL ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จึงถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับนักอ่านชาวไทยที่จะได้รับฟังเรื่องราวหลากหลายแง่มุมใหม่ๆ ที่อาจไม่เคยได้รับรู้จากที่ไหนมาก่อน
📌หากนักอ่านท่านใดสนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่นี่ https://forms.gle/L8FoAL5y6DvacAqX8
※ที่นั่งมีจำนวนจำกัดไม่เกิน 100 คนเท่านั้น
📖 งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29
ตั้งแต่วันที่ 10-20 ตุลาคม 2567 เวลา 10:00-21:00น.
ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
#เจแปนฟาวน์เดชั่น #งานหนังสือ67