Itz Ap

Itz Ap แชร์แนวทางการใช้ชีวิตจ้ะ

06/06/2024

ตอบคำถามในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาอีกครั้งนะครับ ใครมีคำถามทิ้งคำถามไว้ได้เลย

19/05/2024

กินสารอาหารให้ถึง

09/05/2024
08/05/2024

วิธีแก้สะเก็ดเงินบนศีรษะมือใหม่ทำตามได้เลย ลิ้งอ่านใต้โพสต์

24/04/2024

มีนัทกับอิทมาแล้ว ลดอักเสบง่ายนิดเดียว

19/04/2024

การศึกษาคนอายุ 40-69 ปี ในญี่ปุ่น กว่าเก้าหมื่นราย ช่วงเวลา 7-11ปี
"กลุ่มที่ทานไข่น้อย มีระดับคอเลสเตอรอลที่สูงกว่ากลุ่มที่ทานไข่มากกว่า"
"กลุ่มที่ทานไข่มากเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจน้อยกว่ากลุ่มที่ทานน้อยกว่า"
จึงคัดค้านคำกล่าวที่ว่า "ทานไข่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงและทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ"

11/03/2024

Breakfast ข้าวมันไก่ไม่เอาข้าว....

low carb made easy...

11/03/2024
08/03/2024

MCT oil ไม่หลุด Ketosis ครับ...

ซ้ายมือคือก่อนกิน mct Oil

ขวามือหลังจากกิน mct Oil 3 ชม.
ซึ่งแปลว่าน่าจะถูกดูดซึมหมดแล้ว

จะเห็นว่า ไม่ส่งผลต่อระดับคีโตนในเลือด และเมื่อคำนวณค่า gki ก็ยังอยู่ในโซนของ Significant Ketosis
หรือคีโตสิสที่มีนัยยะสำคัญ

และเมื่อเอา mct Oil ไปเติมลงในกาแฟดำ ก็ได้ผลไม่แตกต่างกันครับ

แปลว่า mct Oil ไม่ทำให้เราหลุดจากภาวะคีโตสิสนะครับ... แต่

หากต้องการกระบวนการ Autophagy
อันนี้ ตามทฤษฎี น่าจะหลุด เนื่องจาก mct Oil เป็นสารที่ให้พลังงานครับ...

แต่ผมจะบอกว่า คุณไม่ต้องไปซีเรียสกับเรื่องของAutophagy อะไรขนาดนั้น กับในชีวิตปกติ หรอกครับ...

คุณต้องเข้าใจก่อนว่าเราต้องการภาวะคีโตสิสนั้นเพื่ออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

แค่คุณสามารถคงไว้ซึ่งภาวะคีโตสิสแบบนี้ มันก็โอเคกับชีวิตพอแล้วครับ

ถ้าต้องการเอฟเฟคเรื่องของ Autophagy จริง อันนั้นไปทำ
Prolong Water fasting เลยครับ...

#หมอจิรรุจน์

หายาทาสะเก็ดเงินแบบไม่มีสเตียรอยด์เชื่อถือได้และปลอดภัย
04/03/2024

หายาทาสะเก็ดเงินแบบไม่มีสเตียรอยด์เชื่อถือได้และปลอดภัย

ยาทาสะเก็ดเงินที่ไม่มีสเตียรอยด์ทางเลือกใหม่ที่คุณไม่ควรมองข้าม

29/02/2024

มาแล้วนะครับ คุยเข้มข้น พูดคุยกันเรื่องสะเก็ดเงินและแนวทางการปฏิบัติตัวเองแบบสมดุลสะเก็ดเงิน

29/02/2024

ผู้ที่ให้กำเนิด ปิรามิดโภชนาการ(food pyramid) คือ ครูคหกรรมศาสตร์ ชาวสวีเดน ( home economics teacher ) จุดประสงค์คือเพื่อสอนการจัดการกับราคาอาหาร ไม่ใด้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ

แม้เวลาจะผ่านไปนานแล้ว จนตอนนี้ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเอามาใช้ในเรื่องสุขภาพ แต่ลำดับการจัดลำดับก็ยังคล้ายเดิม

ปล.
"คหกรรมศาสตร์" (home economic)
วิชาว่าด้วยศิลปะและด้านต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาครอบครัวเพื่อความมั่นคงของสถาบันครอบครัว และประเทศชาติ

ไม่ได้แปลว่าสอนทำอาหารหรือขนมอย่างที่คนไทยทั่วไปเข้าใจกันนะครับ

#ความน่ากลัวในการดูแลสุขภาพคือการที่เชื่อโดยไม่มีความรู้
ช่องทางต่างๆในการติดตามและติดต่อหมออ้วน
https://linktr.ee/fastingfatdentist








#ร่างกายเราคือธรรมชาติไม่ใช่ยา
#เบาหวานหายได้โดยไม่ต้องใช้ยา
#หมอไหวของหมอแบบนี้

29/02/2024

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยมากชนิดหนึ่งในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์สมองเสื่อม และฝ่อลงส่งผลให้เกิดอาการหลงลืม คิดช้า พูดช้า เกิดปัญหาด้านอารมณ์ และส่งผลต่อการใช้ชีวิต แพทย์รู้ว่าปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเพิ่มความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันสาเหตุของโรคนี้ โดยล่าสุดข้อมูลพบว่าแบคทีเรียที่พบในลำไส้มนุษย์สัมพันธ์กับโรคอัลไซเมอร์
เชื้อชนิดนี้ชื่อว่า เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) หรือเอชไพโลไร คุณอาจไม่คุ้นกับชื่อนี้ แต่แบคทีเรียชนิดนี้พบได้ทั่วไป ‘ในลำไส้ของมนุษย์!’ ในช่วงที่เชื้อโรคในลำไส้สมดุล เชื้อชนิดนี้อาจไม่ได้ส่งผลเสียอะไร แต่เมื่อลำไส้เสียสมดุล อาจเกิดการติดเชื้อชนิดนี้ และทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะ และยังสัมพันธ์กับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
ซึ่งการศึกษาชิ้นนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของสมาคมอัลไซเมอร์ เขาได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการที่เกิดจากเอชไพโลไร กับความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของชาวสหราชอาณาจักรกว่า 4 ล้านคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ตั้งแต่ช่วง 1988 ถึง 2019
จากการวิเคราะห์ข้อมูล พวกเขาพบว่าคนที่มีอาการในระบบทางเดินอาหารจากการติดเชื้อชนิดนี้มีความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นราว 11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอื่น อย่างมีโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน สูบบุหรี่ หรือคนในครอบครัวมีประวัติโรคอัลไซเมอร์ก็อาจเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นไปอีก
แต่ทีมนักวิจัยยังไม่ทราบกลไกแน่ชัดว่าทำไมคนที่ติดเชื้อชนิดนี้ถึงเกิดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ตามมาด้วย ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม ในเบื้องต้น ถ้าคุณไม่อยากเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไพโลไร และโรคอัลไซเมอร์ แนะนำว่าให้ควบคุมน้ำหนัก รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และหาอาหารที่มีโพรไบโอติกส์มารับประทานเป็นประจำ หรือจะดูแลสุขภาพในด้านอื่นด้วยก็ได้

‣ อ่านบทความสุขภาพเพิ่มเติม >> https://www.beartai.com/hackforhealth
#สุขภาพ #อัลไซเมอร์ #สมองเสื่อม #แบคทีเรีย

29/02/2024

ผลไม้ปัจจุบัน...ไม่ใช่อาหารตามธรรมชาติ

เอาอีกแล้ว... ทัวร์อย่าพึ่งลง ใจเย็นๆครับ

สงสัยไหมครับ ทำไมผลไม้สารพัดอย่างในปัจจุบัน
ทำไมกินแล้วน้ำตาลพุ่ง กินมากๆแล้วระบบเผาผลาญรวน
หลายคน เลือกกินผลไม้แทนข้าว สุดท้ายไตรกลีเซอร์ไรด์พุ่ง
เบาหวานคุมไม่ได้...

สรุป ผลไม้สายพันธุ์ดั้งเดิม เขาไม่ได้มีลักษณะเหมือนปัจจุบัน
สมัยก่อนย้อนกลับไปหลายๆ 10 หรือ ร้อยปี ผลไม้ ไม่ได้มีลูกใหญ่
ไม่มีได้มีเนื้อเยอะ ไม่ได้มีความหวานมากมายขนาดนี้
เมล็ดนี่เพียบ... ก็แหง ผลไม้ คือส่วนที่เอาไว้ขยายพันธุ์ของต้นไม้นั้นๆ

การมีเมล็ดมาก ก็เพื่อให้ การันตีว่า เมื่อตกลงดินแล้ว จะงอกเป็นต้นใหม่

ไฟเบอร์ภายในปริมาณมากๆ ดึงรั้งน้ำตาลเอาไว้เพื่อให้เมล็ดมีอาหาร
เพื่อที่จะงอกเป็นต้นกล้า กว่ารากจะไชสู่พื้น กว่าใบจะสังเคราะห์แสง

เปลือกที่หนา เพื่อไม่ให้ มีสัตว์สายพันธุ์อื่น มาทำลายภารกิจสืบพันธุ์นี้

ดูรูปกล้วยนี้เป็นตัวอย่างก็ได้ หรือ ลอง ค้นหาในอากู๋ก็ได้ครับ....

ผลไม้ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ จากการผสมโดยวิธี
ที่ไม่ธรรมชาติก็มาก เพื่อให้มี เนื้อที่มาก เมล็ดที่น้อย ไฟเบอร์ที่ลดลง
ความหวานจับใจ ให้เราติดใจ ในการลิ้มรส...

ภายใต้คำบอกกล่าวที่ว่า นี่แหละแหล่งวิตามิน เกลือแร่ชั้นดี
ของธรรมชาติ ไม่อันตราย....

ถามจริงๆ นะครับ กล้วยหอม 1 ผลยาว 9 นิ้วกินแล้วน้ำตาลพุ่ง
มีคาร์บถึง 30 กรัม น้ำตาลพุ่งไปเกือบ 200 mg/dl
อันนี้ "คลีน" จริงๆ หรือครับ

กล่าวมาประมาณนี้ ไม่ได้บอกว่า ห้ามกินผลไม้

แต่ต้องเข้าใจผลไม้ให้มากขึ้น....

ถ้าจะกิน ก็กินทั้งหมด (ปอกเปลือก) หรือ Whole Fruit

อย่า คั้นน้ำ ออกมาอย่างเดียว... นั่นน่ะ Toxic จากน้ำตาลล้วนๆ

ผลไม้ที่วางขายตลอดปีได้ ไม่ธรรมชาติแล้วล่ะครับ....

ธรรมชาติ มี ฤดูกาล >> ฤดูกาล ก่อเกิดการ มีอยู่ หรือ หมดไป

การเอาชนะธรรมชาติ เป็นเรื่องดีทางหนึ่ง แต่เป็นผลเสียอีกทางหนึ่ง
หากไม่เข้าใจ สิ่งที่อยู่ข้างใน และที่มาของเขา

นี่ยังไม่รวม ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนเร่งสารพัด หรือ GMO อีกนะครับ

#หมอจิรรุจน์

29/02/2024

ักเสบเรื้อรังฟังทางนี้ 👨‍⚕️🩺✅
“การอักเสบเรื้อรัง (Chronic Systemic Inflammation)” เป็นต้นตอของโรคที่เกิดจากความเสื่อมต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โรคในกลุ่มโรค NCDs เช่น โรคอ้วน ไขมันคั่งในตับ โรคเบาหวาน หัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อม หรือแม้แต่ โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
ดังนั้น หากเรารู้จักและสามารถลดการเกิดการอักเสบเรื้อรังได้ ย่อมถือได้ว่าเป็นหัวใจที่สำคัญของการชะลอโรค ชะลอวัยอีกอย่างนั่นเอง
#แต่จะทำอย่างไรไม่ให้ร่างกายอักเสบมากเกินไป ?

เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยและถามกันเข้ามามาก หลังจากที่ได้เล่าเรื่องการอักเสบเรื้อรังและสาเหตุของการอักเสบเรื้องที่พบได้บ่อยให้ฟังคราวที่แล้ว
การลดระดับการอักเสบเรื้อรังนั้น เราสามารถทำได้หลายวิธีครับ โดยเริ่มที่การป้องกัน ฟื้นฟูและรักษาตามสาเหตุที่หมอเล่าให้ฟังมาแล้วในโพสต์ที่ผ่านมาทั้ง 9 ข้อ จากคราวที่แล้ว เช่น เลี่ยงการติดเชื้อ เลี่ยงกินอาหารเร่งอักเสบ เร่งแก่ (AGEs) ทานอาหารครบถ้วน หลากหลาย ไม่ผ่านการแปรรูปมาก ออกกำลังกายพอเหมาะ สม่ำเสมอ ดูแลเรื่องสุขภาพลำไส้ดี เลี่ยงรับสารพิษ สารเคมีจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เราอ้วน และ ลดความเครียด เป็นต้น
ดังนั้น ในโพสต์นี้ หมอจึงอยากเน้นมาที่ด้านโภชนาการ (Nutrition) การเลือกเสริม #สารต้านการอักเสบ (Anti-Inflammatory supplements) มาให้อ่านกันครับ เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดการอักเสบเรื้อรัง ควบคู่ไปกับการทำตามวิธีต่าง ๆ ข้างต้นได้นั่นเอง
ตัวช่วยสำคัญในการลดการอักเสบเรื้อรัง (Chronic inflammation) ในร่างกายของเราอีกหนึ่งวิธี ก็คือ #การรับประทานอาหารเสริมที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ (Anti-Inflammatory supplements) นั่นเอง
หมอเลยขอนำเรื่องราวของสารอาหารต่าง ๆ ที่พูดถึงมาบ้างแล้วมาทบทวนให้อีกครั้ง พร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลยดีกว่า
🟢 #กรดไขมันโอเมก้า3 (Omega-3 fatty acids)

โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะ Eicosapentaenoic acid (EPA) และ Docosahexaenoic acid (DHA) ที่พบมากในปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันมาก หรือ ปลาน้ำจืดบางชนิดในบ้านเรา เช่น ปลาสำลี ปลาจะละเม็ดขาว กะพงขาว ปลาดุก ปลาซ่อน เป็นต้น ในไข่แดง ถั่วเปลือกแข็งบางชนิด หรือ ในรูปแบบของน้ำมันปลา (Fish oil) นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันหาซื้อได้ง่าย และ ทานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ส่วนโอเมก้า 3 ที่ได้จากพืช เช่น แอลมอนด์ วอลนัต ถั่วเปลือกแข็งอื่น ๆ นั้น มักเป็น Alpha Linolenic Acid (ALA) ซึ่งร่างกายต้องเปลี่ยนต่อไปเพื่อให้ได้ EPA & DHA จึงขึ้นกับความสามารถของร่างกายแต่ละคนนั่นเอง
🟢 #วิตามินดี (Vitamin D)

วิตามินดี เป็นวิตามินที่ออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมน (Pro hormone) เป็นวิตามินที่สำคัญต่อทุกกระบวนการในร่างกาย โดยเฉพาะการควบคุมกระบวนการอักเสบภายในเซลล์ เนื่องจากวิตามินดี ออกฤทธิ์เป็นสารควบคุมการอักเสบ ( ) ผ่านหลายกลไก ทำให้ร่างกายไม่เกิดการอักเสบที่มากเกินไปนั่นเอง ปัจจุบัน วิตามินดีถูกพูดถึงมากขึ้นในบทบาทการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายจากการติดเชื้อ และ มีบทบาทลดความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย
🟢 #สารสกัดจากขมิ้นชัน (Curcumin)

ขมิ้นชัน (Turmeric) เป็นสมุนไพรที่ใช้กันมาช้านานมากในบ้านเราในการทำอาหารหลายอย่าง ในขมิ้นชันมี #สารเคอร์คูมิน ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดีมากเลยทีเดียวครับ แต่ปัญหาคือ การดูดซึมสารนี้นั้น ดูดซึมได้น้อย หากต้องการสารเคอร์คูมินมากขึ้นต้องทานขมิ้นชันสกัดในขนาดที่สูงสักหน่อย ประมาณ 1,000 - 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือ อาจทานในฟอร์มใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากขึ้น เช่น phospholipid form เป็นต้น
🟢 #สารสกัดจากชาเขียว (Green tea extract)

ให้สารออกฤทธิ์สำคัญ คือ (epigallocatechin-3-gallate (EGCG)) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม กลุ่ม ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้
🟢 #สารสกัดจากเปลือกองุ่นแดง (Resveratrol)

เป็นสารประเภท polyphenols ชนิดหนึ่งที่เราได้จากการดื่มไวน์แดง คุณสมบัติเด่นอีกข้อ คือ เป็นสารที่สามารถกระตุ้นการทำงานของยีนส์ที่ทำให้อายุยืน (SIRT1 gene) ให้ทำงานเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย โดยผ่านกลไก Caloric Restriction Mimics หรือ กลไกเสมือนว่าเราจำกัดพลังงานนั่นเอง ทำให้มีผลต่อการชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย
🟢 #กรดแอลฟ่าไลโปอิค (ALA)

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญอีกตัว ที่มีคุณสมบัติละลายได้ดีทั้งในน้ำและไขมัน จึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีอีกตัวหนึ่ง นอกจากนี้ ALA ยังมีส่วนในการทำงานของอินซูลิน จึงมีข้อมูลว่าช่วยส่งเสริมการลดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินได้ เมื่อได้รับควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และ ยังสามารถกระตุ้นการสร้างสารกลูต้าไทโอนในร่างกายได้อีกด้วย
👨‍⚕️💬 สารอาหารต่าง ๆ ที่เล่าให้ฟังทั้งหมดนี้ ถือว่าเป็นตัวสำคัญ ที่มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นในร่างกายของเรา ปัจจุบันยังมีสารอีกหลายตัวที่มีคุณสมบัติลดการอักเสบได้เช่นเดียวกัน เช่น

🟠 #กรดไขมันโอเลอิค (Oleic acid) หรือ กรดไขมันโอเมก้า 9 พบมากในน้ำมันมะกอก (Olive oil) น้ำมันรำข้าว (Rice bran oil) น้ำมันคาโนล่า (Canola oil) เป็นต้น
🟠 #วิตามินต่างๆ เช่น วิตามิน C, E, B3, B5, Coenzyme Q10 เป็นต้น
เป็นต้น
🟠 #สารอาหารตัวอื่นๆ เช่น
Astaxanthin - สารสกัดจากสาหร่ายสีแดงเซลล์เดียว
Quercetin - เป็นสารในกลุ่ม Bio flavanoids
Glucosamine - กลูโคซามีน
Probiotics – โปรไบโอติกส์
และ อื่น ๆ
👨‍⚕️💬 ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อ เลือกทาน ทุกท่านควรปรึกษาแพทย์ประจำของท่านก่อนเสมอนะครับ เพราะสารอาหารบางชนิดต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายให้ตามอาการของเรา ไม่สามารถซื้อหาได้ตามร้านขายยา ขายอาหารเสริมทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อให้คุณหมอของท่าน ได้เลือกตัวที่เหมาะกับเรามากที่สุด ทั้งชนิด ขนาดรับประทาน รวมถึง ระยะเวลาในการรับประทานอีกด้วยนั่นเอง
#บทสรุป : 👨‍⚕️📝🌱🌱

การที่เราเริ่มหันมาตระหนัก และ เข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องการอักเสบเรื้อรังมากขึ้น จะทำให้เราสามารถจัดการและรับมือได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และสามารถวางแผนการใช้ชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งหมอเชื่อว่า สิ่งนี้นี่เองที่จะเป็นสิ่งกุญแจสำคัญสู่การ ชะลอทั้งโรค ชะลอทั้งวัยได้นั่นเองครับ



#หมอหล่อคอเล่า
: ข้อมูลอ้างอิง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ 👇🏻👇🏻

15/02/2024

ACV ลดระดับ Peak ระดับน้ำตาล ได้ขนาดไหน...

ACV คือ Apple Cider Vinegar หรือน้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ล

การทดลองนี้ทำโดย ให้ตัวผมกินขนมปังโฮลวีต จำนวน 3 แผ่น
คิดเป็นคาร์บ 60 กรัมโดยประมาณตามฉลากข้างถุง

วันที่ 1 (เส้นสีน้ำเงิน) - กิน ACV 20 cc+น้ำ 180 cc ก่อน 15 นาที แล้วตามด้วยขนมปัง 3 แผ่น
แล้วกิน ACV ขนาดเท่าเดิมอีกรอบ (รวม เนื้อ ACV 40 cc)

วันที่ 2 (เส้นสีแดง) - กินขนมปัง 3 แผ่น (ยี่ห้อเดิม ถุงเดิมกับเมื่อวาน) แล้วตามด้วยน้ำเปล่า 200 ซีซี

ทั้ง 2 ครั้ง เป็นการทดลองในตอนเช้า มื้อแรก หลัง Fast มา 16 ชม.
ติดตามระดับน้ำตาลด้วย CGM ซึ่งจะส่งข้อมูลต่อเนื่องทุก 5 นาที

หลัง กินทำ กิจกรรมงานบ้าน เล็กน้อยทั้ง 2 วัน

ผลการทดลอง >>

ผลที่เห็นตามภาพ Peak น้ำตาลสีแดง 198 กับ สีน้ำเงิน-กินACV 145 mg/dl
Peak ลดลงมา 26%

ระยะเวลา ที่น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 100 mg/ dl วันที่กิน ACV จะลดลง 23%
(80นาที กับ 105นาที)

ระยะเวลาที่น้ำตาล สูงเกิน 140 mg/dl ซึ่งเชื่อว่าเป็นระดับน้ำตาลที่จะกระตุ้นให้เกิด
การสร้างไขมันใหม่ (De novo lipogenesis-DNL) กิน ACV จะลดลง 72%
(23 นาที กับ 80 นาที) การที่เวลาเหนือ 140 ลดลง แปลว่ากระบวนการเอากลูโคสไปสร้างเป็นไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ก็มีแนวโน้มลดลงตามกัน

พื้นที่ใต้กราฟ(AUC) เหนือระดับ 100 mg/dl ของเส้นสีแดง มีปริมาณมากกว่าชัดเจน
แบบไม่ต้องคำนวน (คือ มองด้วยตาก็ชัดมาก) AUC น้อยกว่านั่นหมายถึง มีน้ำตาลโหลดอยู่ใน
กระแสเลือดน้อยกว่า ในวันที่กิน ACV

ผลข้างเคียงจาก การกิน ACV ในตัวผมไม่ชัดเจน ไม่มีท้องอืด ไม่มีปวดท้อง
หลังกิน2-3 ชม. ไม่มีอาการหิวเร็ว เมื่อเทียบกับวันที่ 2

สรุปผลการทดลอง: สำหรับตัวผมเอง (เพราะทดลองในคนคนเดียว)
การดื่ม ACV ขนาด 20 ซีซี ก่อนและหลัง (รวม 40 ซีซี) ร่วมกับการกินคาร์บปริมาณ 60 กรัม
สามารถลด peak และ ปริมาณน้ำตาลในเลือดได้จริง (AUC ลดลง)

กลไกลที่เชื่อว่า ACV สามารถลด Blood sugar spike คือ

1. Improve insulin sensitivity คือ เพิ่มความไวของ insulin โดยเฉพาะที่กล้ามเนื้อ ทำให้เอาน้ำตาลเข้ากล้ามเนื้อได้ดีขึ้น

2. Delaying gastric emptying คือ ยืดระยะเวลา ในการปล่อย content ที่ย่อยแล้วออกจากกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็ก อาจส่งผลให้การดูดซึมน้ำตาลทำได้ช้าลง

3. ACV ไปช่วยลด Glycemic index ของอาหารคาร์บในมื้อนั้น

ซึ่งทั้ง 3 กลไกล เชื่อว่าทำงานร่วมกันทั้งหมด ผมจึงเลือกแบ่ง ACV กิน 2 ครั้งคือก่อนกินอาหาร
ประมาณ 15 นาที (ให้ดูดซึมเข้า systemic ไปก่อน หวังผลข้อ1 และ หลังกินขนมปัง ทันที เพื่อหวังผลข้อ 2 และ 3)

ข้อจำกัดในการแปลผล : เป็นการทำการทดลองในตัวคนคนเดียว ซึ่งแต่ละคน โดยเฉพาะคนที่ดื้ออินซูลิน หรือมี เบาหวานชนิดที่ 2 ผลการทดลองอาจไม่เป็นไปตามนั้น

ผลการทดลองนี้ ก็สอดคล้องกับงานวิจัยหลายงานที่ระบุถึง ประโยชน์ของ ACV
แต่ในปี 2020 มี Meta Analysis เรื่อง Safety and side effects of apple vinegar intake and its effect on metabolic parameters and body weight: a systematic review พบว่า
แม้จะรวบรวมถึง 13 paper ที่ทำในมนุษย์ ก็ยังไม่สามารถสรุปถึงประโยชน์ได้ชัดเจน

ในความเห็นส่วนตัวผม คาร์บก็คือคาร์บ ถ้าจะลดน้ำหนัก แก้ปัญหาดื้ออินซูลิน หรือ รักษาเบาหวานชนิดที่2จริงๆ ก็ควรลดการกินคาร์บลง และกินคาร์บ ตามธรรมชาติ

ขนมปัง-ถือเป็นคาร์บแปรรูปซึ่ง GI ค่อนสูง ควรงด ซึ่งเอาจริงๆ ผมเลิกกินขนมปังมานานมาก
นับจากการทดลองในปีที่แล้ว (เรื่องค่าระดับน้ำตาลกับ ขนมปัง 3 ชนิด)

การใช้ ACV อาจเป็นตัวช่วย ในกรณีที่ท่านกินคาร์บน้อยอยู่แล้ว ให้ได้ผลดีมากขึ้น
และจริงๆ ACV ก็ยังมีประโยชน์ หรือ สรรพคุณ เรื่องอื่นด้วย

อย่ามาคาดหวังว่า กินคาร์บหนักๆแล้วไปอัด ACV เอา แบบนี้ ไม่ดีหรอกครับ

สรุปสุดท้าย : จะลดน้ำหนัก แก้ปัญหาดื้ออินซูลิน หรือ รักษาเบาหวานชนิดที่2
คาร์บคือสิ่งที่ต้องลดให้ได้ ACV คือตัวช่วยเมื่อคุณลดคาร์บลงแล้ว...

เหตุแห่งทุกข์อยู่ที่ใด พึ่งขจัดเหตุ มิใช่ ยังวิ่งหาเหตุและอาศัยสิ่งอื่นมาบรรเทาเหตุแห่งทุกข์นั้น

#หมอจิรรุจน์

14/02/2024

ตรีผลา ใช้ดื่ม กับ ดีท็อกซ์ ต่างกันยังไง?? ใช้แบบไหนดีกว่า??

12/02/2024

#โรคตับคั่งไขมัน #ปัญหาสุขภาพใหญ่ที่ใครๆมองไม่เห็น 👨‍⚕️📝 Fatty Liver คือ ภาวะที่มีไขมันแทรกอยู่ในเซลล์ตับ โดยปกติแล้ว เซลล์ตับจะมีไขมันอยู่น้อยมาก หรือ อาจไม่มีเลย เพราะตับจะเก็บสะสมพลังงานสำรองของร่างกายไว้ในรูปของไลกโคเจน (Glycogen) ไขมันที่สะสมในเซลล์ตับส่วนใหญ่แล้วเป็นไขมันชนิด ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides : TGs) หากพบว่ามีปริมาณ >5% ของเซลล์ตับแล้ว จะถือว่ามีความปกติที่เราเรียกกันว่าภาวะ Fatty Liver หรือ Liver Steatosis นั่นเอง
#ทราบได้อย่างไรว่าเรามีFattyLiver ?
(แบบที่ไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อตับมาตรวจ)

1️⃣ จากการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Abdominal Ultrasound)

2️⃣ จากการตรวจโดยเทคนิกคลื่นเสียงสะท้อน (เช่น TE : Transient Elastography)

3️⃣ รู้ได้อ้อม ๆ ว่ามีจากการมีเส้นรอบเอวที่มาก คือ >90 cm ช , >80 cm ญ หรือ ภาวะอ้วนลงพุง นั่นเอง
#อะไรคือสาเหตุหลักของการเกิดFattyLiver?

หากไม่นับปัจจัยเรื่องการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้วทำให้เกิดไขมันคั่งในตับแล้ว (เรียกว่า Alcoholic Liver Diease : ALD) ปัจจุบันนี้ พบว่า " #ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance)" เป็นสาเหตุหลักของ Fatty Liver มากที่สุด นั่นเอง ซึ่งเราเรียกชื่อว่า NAFLD หรือ Non-Alcoholic Fatty Liver Disease หรือ ชื่อใหม่ที่เริ่มมีคนพูดถึง คือ Metabolic Dysfunction Associated Fatty Liver Disease ( )
โดยส่วนใหญ่ Fatty Liver เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่ดี คือ การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป (Over Carbohydrate consumption) โดยเฉพาะกลุ่มคาร์โบไฮเดรตแปรรูป (Refined Carbohydrates or Fattening Carbohydrate) อาหาร ขนม หรือ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส (Fructose Syrup, High Fructose Corn Syrup : HFCS) มาก
นอกจากนี้ ยังรวมถึงอาหารที่ผ่านการแปรรูปต่าง ๆ (Processed Foods) ที่รับประทานมาก เป็นระยะเวลาที่นานติดต่อกันอีกด้วย + การมีพฤติกรรมเนือยเนือง สโลว์ไลฟ์ ไม่ค่อยได้ขยับตัว หรือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Sedentary Lifestyle) นั่นเอง
#กลไกการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในการเกิดFattyLiver?

การที่เรากิน ดื่ม อาหาร เครื่องดื่มเหล่านี้มากขึ้นและบ่อยนั้น จะส่งผลทำให้ #ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ถูกหลั่งออกมาจากตับอ่อน (เบต้าเซลล์) เข้ามาสู่กระแสเลือดมากขึ้น 📈📈 เมื่ออินซูลินในเลือดสูงขึ้น จะส่งผลทำให้ เพิ่มกระบวนการเร่งการสะสมสารอาหารต่าง ๆ ให้เป็นพลังงานสำรองในร่างกาย (Energay Storages) เช่น การสะสมแป้ง (Glycogen) ที่เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อลาย และ การสะสมไขมัน (Fat storage) ที่เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissues) เป็นต้น
หากระดับอินซูลินในเลือดนั้นยังสูงต่อเนื่อง 📈 สูงขึ้นอีกเรื่อย ๆ 📈📈 ซึ่งเป็นผลจากการกินของเราที่ยังคงกินคาร์บสูงอยู่ตลอด + ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย + ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งเสริมเข้ามาอีก เช่น นอนน้อย นอนดึก เครียดสะสมเรื้อรัง ก็ยิ่งส่งผลให้ร่างกายเก็บสะสมพลังงานที่มากเกินไป เช่น การเร่งกระบวนการเก็บสะสมแป้งในร่างกาย โดยเฉพาะ Glycogen ที่ตับ ให้เปลี่ยนมาเป็นการสะสมไขมันมากขึ้น หรือ ที่เราเรียกว่า Increased Lipogenesis หรือ กระบวนการ de novo Lipogenesis : DNL
ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ (Liver inflammation / Hepatitis) จนเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าเอนไซม์ตับที่สำคัญ เช่น ALT GGT AST เป็นต้น เราเรียกภาวะไขมันคั่งในตับ ร่วมกับมีตับอักเสบว่า (Non Alcoholic Steatohepatitis) นั่นเอง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดผังผืดในตับ (Liver fibrosis) และ โรคตับแข็ง (Cirrhosis) และ มะเร็งตับชนิด HCC ได้ นั่นเอง
#ไขมันในตับสู่ไขมันสะสมมากขึ้นในร่างกายได้อย่างไร?

เมื่อไขมันสะสมในเซลล์ตับมากขึ้น จะถูกขนส่งนำออกจากตับสู่กระแสเลือด โดยใช้ไลโปโปรตีนชนิด VLDL ขนส่งออกมาจากตับ ล่องลอยมาในกระแสเลือด และปล่อยไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่นำมาด้วยนั้น ให้เก็บสะสมตามเซลล์ไขมันที่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เรียกว่า Ectopic fat/ lipid accumulation นั่นเอง ดังนั้น เมื่อมีภาวะดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้น จึงทำให้มีไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้อ้วนขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
#โรคไขมันคั่งในตับอาจเป็นสัญญาณบอกว่าระบบเผาผลาญร่างกายกำลังมีปัญหา🚨

การมี Fatty Liver ทั้งชนิด NAFLD หรือ NASH นั้น มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถใช้ไขมันที่สะสมในเซลล์ (Intracellular fat storages) ได้ตามปกติ เพราะความไวต่ออินซูลินนั้นลดลง
ซึ่งปกตินั้น กระบวนการเผาผลาญไขมันในเซลล์จะเกิดขึ้นที่บริเวณ #ไมโตรคอนเดรีย (Mitochondria) ของเซลล์ เรียกว่า กระบวนการ Beta Oxidation หรือ อาจจะเผาผลายไขมันได้ แต่ไม่ได้ดีเท่าที่ควรจะเป็น เราเรียกว่าเกิดภาวะ "Metabolic inflexibility หรือ #ระบบเผาผลาญพัง” นั่นเอง
ผลที่เกิดนี้ จะส่งผลให้เซลล์ไขมันโตขึ้น ๆ เรื่อย ๆ (Hypertrophy) ร่างกายมีไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ และ ไขมันที่สะสมมากขึ้น เมื่อเต็มความจุของเซลล์ไขมันในบริเวณอวัยวะดังกล่าวแล้ว ร่วมกับ เซลล์มีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น เซลล์ไขมันนั้น ก็จะสลายไขมันที่สะสมข้างในเซลล์ เช่น ไตรกลีเซอไรด์ (TGs) ออกมาในรูป #กรดไขมันอิสระ (Non-esterified fatty acids) มากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ และนำเข้าสู่กระแสเลือด ไปยังอวัยวะปลายทางต่าง ๆ เช่น เก็บสะสมที่ตับมากขึ้น ยิ่งส่งเสริมโรคตับคั่งไขมันมากขึ้นไปอีก และ สะสมในกล้ามเนื้อ (Ectopic Fat accumulation) นั่นเอง
การมีกรดไขมันชนิดนี้มากในเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อนั้น (Fatty Liver & Fatty Muscle & Fatty Pancreas) จะยิ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นไปอีก ทำให้ >> ลดการนำน้ำตาลกลูโคสสู่เซลล์ และ ส่งผลเสียต่อ #เตาเผาผลังงานในเซลล์ หรือ Mitochondria dysfunction จนเกิดเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมาได้
นอกจากนี้ เซลล์ไขมันที่ผิดปกติ เนื่องมาจากการสะสมไขมันไว้มากเกินไป ก็จะเกิดการอักเสบ ปล่อยสารก่ออักเสบต่าง ๆ ออกมามากมาย (Inflammatory cytokines) และ มีเม็ดเลือดขาวหลากหลายชนิดเข้ามาเก็บกินบริเวณนั้น ยิ่งปล่อยสารก่ออักเสบออกมามากขึ้นไปอีก ดังนั้น ในโรคอ้วน จึงมีการอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation) เกิดขึ้น นั่นเอง
ในขณะเดียวกัน หากมีภาวะดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้นแล้ว ในช่วงที่เราไม่ได้รับประทานอะไร (Fasting period) หรือ ช่วงที่ออกกำลังกาย (Exercise) พบว่า ร่างกายก็ไม่สามารถใช้น้ำตาลที่สะสมไว้ในเซลล์ (Glycogen) หรือ ดึงเอาไขมันที่เก็บสะสมไว้ (Fat storages เช่น TGs) ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย เพราะเซลล์ต่าง ๆ นั้น มีความไวต่ออินซูลินที่ลดลง นั่นเอง
#บทสรุปFattyLiver👨‍⚕️📝

Fatty Liver ที่พบมากขึ้นในยุคนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลทำให้การใช้น้ำตาลในเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายลดน้อยลง + การเผาผลาญไขมันในเซลล์ลดลง + รวมถึง การสะสมไขมันในเซลล์ตับ + เซลล์อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น และ + เกิดการอักเสบมากขึ้น ๆ จนเป็นการอักเสบเรื้อรัง (Chronic inflammation) โดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ ที่บริเวณเซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อ รวมถึง เซลล์ไขมัน ร่วมด้วย
👨‍⚕️📝 ดังนั้น #ภาวะดื้ออินซูลิน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายในวงการแพทย์และการดูแลรักษาโรคอ้วน โรคตับคั่งไขมัน (Fatty Liver) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ กลุ่มโรค NCDs ต่าง ๆ แนวทางการดูแล รักษา แก้ไข ภาวะดื้ออินซูลิน อ่านต่อในเพจ หมอหล่อคอเล่า ได้ครับ
References : JHEP Rep.2021.



#หมอหล่อคอเล่า

12/02/2024

ตรีผลาพิเภก เพิ่มอินูลิน เป็นตรีผลาแบบหมักเหมือนกรดผลไม้ (Cider Vinegar) ได้ประโยชน์หลายด้าน

พูดยากมาก
10/02/2024

พูดยากมาก

เฉลย คลื่นลูกใหญ่ Peak น้ำตาล 205 mg/dl นั่นคือ

กล้วยปิ้ง 3 ลูก ... คำนวนคาร์บ ราวๆ 43 กรัม (น้ำหนักจริง 123 กรัม)

กินเปล่าๆ ไม่จิ้ม หรือ ราดน้ำปรุงใดๆ ไม่ได้กิน ร่วมกับอย่างอื่น

ของกินชนิดนี้ เป็นของชอบของใครหลายคน ที่เคยเข้าใจว่า
ของธรรมชาติ สุขภาพดี กินได้ไม่อั้น... (ไม่มีอยู่จริงครับ)

ผมเคยกินกล้วยน้ำว้าขนาดเล็กใกล้เคียงกัน ราวๆ 3 ลูก
Peak อยู่ราวๆ 150-170 mg/dl (จากที่จดไว้)

แต่วันนี้ พอเป็น "กล้วยปิ้ง" เท่านั้นแหละ น้ำตาลพุ่งไปไกลเกินคาด
(เมื่อเทียบกับ คลื่นแรก..นั่นคือ ปลาท่องโก๋ 1 ตัว )

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น... การปิ้ง หรือ ใช้ความร้อน จะทำให้เกิดปฏิกิริยานำไปสู่

1. แป้ง ในเนื้อกล้วย จะสุก และได้เป็น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ดูดซึมได้ง่ายและเร็วขึ้น

2. การปิ้ง ทำให้ น้ำตาลซูโครส (โมเลกุลคู่) ถูกเปลี่ยนเป็น กลูโคส และ ฟรุกโตส ดูดซึมเข้าร่างกายได้รวดเร็ว

ดังนั้น "กล้วยธรรมดา" ที่อาจมีค่า Glycemic index (GI) กลาง ถึง สูง (แล้วแต่ความสุกงอม)
เมื่อถูกนำไปผ่านกระบวนการ (process) ความร้อน กลายเป็น

"กล้วยปิ้ง" ซึ่งมี ค่า GI สูง ไปเลย

ยิ่งถ้าใช้กล้วยออกสุก แล้วปิ้งจนเป็นสีน้ำตาลเยิ้มๆ (caramelized) นี่แหละ
GI สูงปรี๊ดไปเลย

(จำโพสต์ เรื่อง"มันเผา" ได้ไหมครับ... ลองกลับไปดูนะครับ มันก็ประมาณนี้แหละ
แต่ กล้วยยังกินสดได้ ส่วน หัวมัน ถ้าไม่เผา ไม่โดนความร้อนก่อน กินเข้าไปเจอไซยาไนด์ตายหยังเขียดครับ)

แต่ก็มีบางแหล่งความรู้ ระบุว่า ถ้าใช้กล้วยเขียว (ไม่สุก) มาปิ้ง อันนี้ อาจให้ผลตรงข้าม
ทำให้ค่า GI ลดลงกว่าเดิม... อันนี้ ก็แล้วแต่... แต่ แหม จะกินทั้งที ยังต้องไปถามแม่ค้า
ว่ากล้วยที่ปิ้งมาแบบไหน... มันก็จะดู งงๆ นะครับ ตกลงจะซื้อไม่ซื้อ

ดังนั้น "กล้วยปิ้ง" ถ้าจะกิน ไม่ต้องจิ้มน้ำราดหวานๆ ไม่ควรซัดกันตอนหิวๆ ท้องว่าง
มิเช่นนั้น ก็จะน้ำตาลพุ่งสูง แบบที่เห็นนี่แหละครับ

ยิ่งถ้ากินตบท้ายเป็นของหวาน... หลังกินคาร์บอื่นๆ ก่อนหน้า
ลองคิดถึง ตับอ่อน บ้างเถอะครับ islet cell ของตับอ่อนคงอยากตะโกนว่า...

"โปรด เมตตา ไว้ชีวิตข้าเถอะ"...

#หมอจิรรุจน์

เหมือนเดิม... โพสต์ นี้ไม่ได้ชวนมารังเกียจอาหาร.. แต่ ชวนมารู้เท่าทันร่างกาย
รู้เท่าทันอาหาร จะเลือกกินอย่างไร ก็ขึ้นกับวิจารณญาณ แต่ละท่านแล้วครับ

06/02/2024

กิน Ze-Oil Gold เยอะจะส่งผลเสียต่อตับและไตหรือเปล่า??? ลองดูคลิปนี้นะครับ

02/02/2024

วันนี้มาเปิดกล่อง ครีมสมุนไพร CBD กันนะครับ

31/01/2024

วิธีเลือกเนยแท้มาผสมทำ bulletproof coffee และวิธีการอ่านฉลากเบื้องต้นนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันกันได้เลย

30/01/2024

Bulletproof Coffee กาแฟ+MCT+บัตเตอร์(เนยแท้) ให้พลังงานสมอง โหลดไขมันเต็มๆ แก้วเดียวอิ่มยาวๆ

30/01/2024

มนุษย์เรามีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น แต่แน่ใจหรือว่าการมีชีวิตที่ยืนยาวเท่ากับ ‘ชีวิตที่ดี’ ถ้าอยากอยู...

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Itz Ap posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share