STRONG สกลนคร

  • Home
  • STRONG สกลนคร

STRONG สกลนคร Contact information, map and directions, contact form, opening hours, services, ratings, photos, videos and announcements from STRONG สกลนคร, News & Media Website, .

02/08/2023

คืบหน้าคดี 'ผีน้อย' อบต.อาจสามารถ! ล่าสุด สำนักงาน ป.ป.ช.ร้อยเอ็ด รับคดีสอบเป็นทางการ เผยทำหนังสือถึง ตม. ขอหลั....

https://www.facebook.com/100064734666539/posts/677380054429811/?mibextid=cr9u03
02/08/2023

https://www.facebook.com/100064734666539/posts/677380054429811/?mibextid=cr9u03

ป.ป.ช. เปิดสถิติ อปท. มหาดไทย ตำรวจ สามอันดับที่มีข้อร้องเรียนคอร์รัปชันมากที่สุด

โดย : มติชน ออนไลน์

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่นประเทศไทย เมื่อเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมไว้ว่าสถานการณ์ทรงตัว สาเหตุหลักของการทุจริตคือความคิด ค่านิยม พฤติกรรมและผลประโยชน์ โดยเฉพาะเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ส่วนสถิติการรับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาในปีงบประมาณ 2566 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565-19 กรกฎาคม 2566 มีประมาณ 4,475 เรื่อง โดยเป็นเรื่องที่ ป.ป.ช.รับไว้พิจารณาเองกว่า 2,748 เรื่อง และเรื่องที่มอบหมายให้หน่วยงานต้นสังกัดที่รับผิดชอบไปดำเนินการ 1,727 เรื่อง

ขณะที่หน่วยงานที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 1,548 เรื่อง คิดเป็น 34.59% รองลงมา กระทรวงมหาดไทย จำนวน 507 เรื่อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 409 เรื่อง ส่วนราชการอื่นๆ รวม 2,011 เรื่อง และคำกล่าวหายอดฮิตที่มีการร้องเรียนมากสุดสองอันดับคือ คำกล่าวหาประเภทการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 เช่น ละเลย เพิกเฉย ปฏิบัติเกินอำนาจหน้าที่ การอนุมัติ อนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และกล่าวหาประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง ของแพง TOR ไม่ถูกต้อง อนุมัติไม่ชอบ รวมทั้งพฤติกรรมการฮั้ว ร่วมกันกีดกันพูดเสนอราคารายอื่นในการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ

สำหรับวงเงินงบประมาณที่มีการกล่าวหามายัง ป.ป.ช. จำนวน 2,784 เรื่อง มูลค่ารวมของโครงการต่างๆ 13,430,226,237 ล้านบาท (โดยเคยมียอดสูงสุดถึงกว่า 4 แสนล้านบาท) แบ่งเป็นกรณีกล่าวหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบมูลค่า 9,996 ล้านบาท กรณีกล่าวหาการจัดซื้อจัดจ้างมูลค่า 2,092 ล้านบาท และกรณีกล่าวหาการใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบมูลค่า 1,049 ล้านบาท ส่งให้หน่วยงานต่างๆ ไปดำเนินการ 427,314,494 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าความเสียหายกรณีปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ 394 ล้านบาท กรณียักยอก เบียดเบียนทรัพย์สินของราชการ 15 ล้านบาท และกรณีใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ 6.7 ล้านบาท เมื่อเทียบงบประมาณตามคำกล่าวหาที่ ป.ป.ช.ดำเนินการเอง 13,430 ล้านบาท หน่วยงานอื่นรับไปดำเนินการ 427 ล้านบาทนั้น ถือว่าเป็นภารกิจหนักของ ป.ป.ช.ที่ดำเนินการในโครงการที่มีความเสียหายมูลค่าสูง

นายนิวัติไชยกล่าวว่า เมื่อดูจากสถิติเปรียบเทียบเกี่ยวกับการกระทำความผิดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ ป.ป.ช.รับเรื่องร้องเรียนไว้ดำเนินการเอง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2565 นั้น เกินปีละ 150 เรื่อง แต่ในปี 2566 มี 247 เรื่อง ซึ่งเรื่องอาจจะเกิดนานแล้วแต่มีการมาร้องเรียนในปีนั้นๆ พร้อมยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะตอบว่าปีนี้มีสถิติการคอร์รัปชั่นสูงหรือไม่ โดยเฉพาะตัวชี้วัด อย่างเช่นค่า CPI ซึ่งตนก็ไม่ค่อยเชื่อถือ เพราะตัวชี้วัดที่ใช้วัดจากความรู้สึก ส่วนการเปรียบเทียบนั้นหากจะให้ความยุติธรรมต้องเปรียบเทียบจากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจเหมือนกัน ประเทศที่มีจำนวนประชากรเท่ากัน โดยนักธุรกิจส่วนใหญ่จะใช้ค่าชี้วัดนี้ในการตัดสินใจลงทุนในประเทศนั้นๆ แต่เราก็ต้องกลับไปดูค่า CPI และดำเนินการปรับแก้ไข นอกจากนี้ ป.ป.ช.ยังได้เปิดให้สื่อมวลชนและภาคีเครือข่ายได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทุจริต ชี้ช่องทางการทุจริตเพื่อให้การทำงานของ ป.ป.ช.มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอบคุณข่าวจาก : https://www.matichon.co.th/politics/news_4100717

สร้างถนนทับที่หนองหารหรือไม่ ช่วยกันดูครับ คนสกล 👇 #ขอใช้ที่สาธารณะ #วอนชี้แจงประชาชน
27/07/2023

สร้างถนนทับที่หนองหารหรือไม่

ช่วยกันดูครับ คนสกล 👇
#ขอใช้ที่สาธารณะ #วอนชี้แจงประชาชน

https://www.facebook.com/100076291060692/posts/310111171541916/?mibextid=cr9u03
25/07/2023

https://www.facebook.com/100076291060692/posts/310111171541916/?mibextid=cr9u03

ป.ป.ช.ลงมติเอกฉันท์ให้แจ้งข้อกล่าวหา 'พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีต ผบ.ตร.-พวก 3 ราย' คดีจัดซื้อไบโอเมตริกซ์ 2,100 ล....

24/07/2023

สยบข่าวลือ ! ยืนยัน “งบกลางฉุกเฉิน” มีเพียงพอ รัฐดำเนินภารกิจได้ปกติ
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงข้อห่วงใยที่หลายฝ่ายกังวลว่า วงเงินการใช้จ่ายงบประมาณกลางคงเหลือ จะไม่เพียงพอให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการ โดยยืนยันว่า ระบบการเงินการคลังของไทยมีเสถียรภาพเข้มแข็งพอ หน่วยงานรัฐยังสามารถดำเนินการตามภารกิจ โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 3.185 ล้านล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนประเทศได้ และหากมีกรณีฉุกเฉินจำเป็น เช่น ภัยพิบัติ ไม่ว่ารัฐบาลชุดใด ก็ยังสามารถเบิกจ่ายจากงบกลางได้
กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น ภัยพิบัติ หรือ ภารกิจจำเป็นเร่งด่วน มี งบกลาง หมวดเฉพาะ สำหรับสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ของปี 2566 ตั้งไว้ 92,400 ล้านบาท ณ วันที่ 16 ก.ค.66 มีการอนุมัติแล้ว 5 หมื่นกว่าล้าน เพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัยฤดูฝน และเป็นส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้า ปัจจุบันยังมีมากเพียงพอที่จะใช้ได้ในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ 66 ประมาณ 2 เดือนเศษ (ถึง ก.ย.66)
ส่วนที่มีการรายงานวงเงินคงเหลือ 18,000 ล้านบาท นั้น เป็นคนละส่วนกับงบกลางฉุกเฉิน โดย เป็นเงิน ม.28 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ส่วนนี้รัฐบาลมอบหมาย หน่วยงานของรัฐให้ดำเนินโครงการโดยใช้เงินทุนของตนเองไปก่อน แล้วรัฐบาลชดเชยให้ภายหลัง ส่วนใหญ่เป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้มีรายได้น้อยในช่วงวิกฤติต่าง ๆ มีการกำหนดกรอบยอดคงค้างที่รัฐต้องชดเชยไว้ไม่เกิน 32% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่กำหนด
อ่านเพิ่มเติม คลิก >> https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/70574
#ไทยคู่ฟ้า #สื่อสารรัฐบาลไทย
-------------------
👍Website : www.thaigov.go.th
👍Facebook/Twitter : ไทยคู่ฟ้า
👍YouTube : ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
👍LINE/TikTok : ไทยคู่ฟ้า ()

24/07/2023
24/07/2023

(ร้อยเอ็ด) วันที่ 22 ก.ค.66 ป.ป.ช.ร้อยเอ็ด ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณี จนท สาวรายหนึ่ง อบต.อาจสารมารถ ลาหยุดงานไปทำงานเกาหลี (ผีน้อย) นาน 3 เดือน โดยยังได้รับเงินตามปกติ หลังเป็นข่าวเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์

อนุชา เปิดเผยว่า จากกรณีดังกล่าว ป.ป.ช.ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และขอข้อมูลหลักฐานการเข้า-ออก การทำงาน การลา และเอกสารเกี่ยวกับการขออนุญาตการลาภายในระยะเวลาที่ปรากฏในข่าวไว้ เพื่อรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานไว้ตรวจสอบ

หากตรวจสอบและพบการกระทำความผิดจริง ก็จะมีการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ต่อไป

#ป.ป.ช.ร้อยเอ็ด #อบต.อาจสามารถ #ผีน้อย #ร้อยเอ็ด

24/07/2023
ปีกว่า โผล่มาที่โพนนาแก้ว 👇👇
24/07/2023

ปีกว่า โผล่มาที่โพนนาแก้ว 👇👇

17/07/2023
17/07/2023

เหลือคุก 3 ปี 4 ด.! แก้โทษ อดีตผอ.สำนักจัดการป่าไม้ กระบี่ เอื้อปย.ปลูกป่า 200 ไร่

เผยแพร่ความคืบหน้าคดีกล่าวหา 'บุญสืบ สมัครราช' อดีตผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 กระบี่ เอื้อประโยชน์เอกชนซื้อจ้างปลูกป่า 200 ไร่ โดยมิชอบ ล่าสุด ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ ลดโทษจำคุกจาก 5 ปี เหลือ 3 ปี 4 เดือน -ป.ป.ช. ไม่ฎีกาสู้ต่อ

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่ความคืบหน้าผลคดีกล่าวหา นายบุญสืบ สมัครราช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 สาขากระบี่ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการสอบราคาจ้างปลูกป่าทั่วไป จำนวน 200 ไร่ ของ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 สาขากระบี่ด้วยวิธีการสอบราคา โดยไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนตามที่ระเบียบกฎหมายกำหนด เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่ง ให้ได้เข้าเป็นคู่สัญญากับสำนักจัดการทรัพยากรป่า ไม้ที่ 12 สาขากระบี่ โดยมิชอบ ซึ่งถูกคณะกรรมการ​ ป.ป.ช.​ลงมติชี้มูลความผิดทางอาญา ตาม​ ป.อ.​มาตรา 151 มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) มาตรา 12 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา

ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาแก้คำคำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 8

จากเดิมที่พิพากษาว่า นายบุญสืบ สมัครราช จำเลย มีความผิดตามมาตรา 151 และยังมีความผิดตาม มาตรา 12 พ.ร.บ.ฮั้ว

การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าหน้าที่กระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่อเอื้ออำนวยแก่ ผู้เข้าทำการเสนอราคาราย ใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของ รัฐ

จำคุก 5 ปี

แก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 151 และมีความผิดตามมาตรา 12 พ.ร.บ.ฮั้ว ให้ลงโทษตามมาตรา 12 พ.ร.บ.ฮั้ว จำคุก 5 ปี

แต่ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78

คงจำคุก 3 ปี 4 เดือน

นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ทั้งนี้ คดียังไม่สิ้นสุด จำเลย มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้

เบื้องต้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีการประชุมเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบตามที่อัยการสูงสุด (อสส.) หารือไม่ฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เห็นควรไม่ฎีกาคำพิพากษา

สำหรับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 12 ระบุว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ มีความผิดฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

ทั้งนี้ คดียังไม่สิ้นสุด จำเลย มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้
cr.https://www.isranews.org/article/isranews/120245-inves09-545-32.html

#สู่สังคมไม่ยอมรับคนโกง

สมาชิกสามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

พบเห็นการทุจริตฯ​ สะกิด​ STRONG
เข้าร่วมกลุ่ม​โอเพนแชท ได้ที่..
STRONG​ภาคตะวันออก
https://bit.ly/2V4hjmF
STRONGภาคอีสาน
https://bit.ly/36boBvd
STRONG​ภาคเหนือ
https://bit.ly/3nVHYOE
STRONG​ภาคกลาง
https://bit.ly/3fIvoQe
STRONG​ภาคใต้
https://bit.ly/2JdysYD
STRONG​ภาคตะวันตก
https://bit.ly/33ipUGz
STRONG​ ประเทศไทย
https://bit.ly/39gB9TX
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สื่อสารองค์กร สำนักงาน ป․ป․ท․
ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคเหนือ
ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคใต้
ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคตะวันออก
ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคตะวันตก
ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคกลาง
ชมรมSTRONGต้านทุจริตภาคอีสาน
ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน
สำนักข่าวอิศรา
ต้องแฉ
จิตอาสาต้านโกง
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

17/07/2023

คุกคนละ 5 ปี! อดีตสรรพากรสมุทรปราการ 3 บางพลี-พวก ทุจริตเรียกเงินค่าขอคืนภาษี

โดย : สำนักข่าวอิศรา

ป.ป.ช.เผยแพร่ความคืบหน้าผลคดีกล่าวหา 'สุวรรณี ศรีรัศมี' อดีตสรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 3 อำเภอบางพลี -พวก ทุจริตเรียกรับเงินค่าดำเนินการขอคืนภาษี ล่าสุด ศาลอาญาคดีทุจริตประพฤติมิชอบภาค 1 พิพากษาลงโทษจำคุกคนละ 5 ปี -รายหนึ่ง รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือ 2 ปี 6 เดือน

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่ผลความคืบหน้าคดีกล่าวหา นางสาวสุวรรณี ศรีรัศมี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 3 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กับพวก คือ นางสาววรดาภัค หรือพัชรินทร์ อรัญมะโน นายอาคม คงพันธ์ ทุจริตเรียกรับเงินค่าดำเนินการในการขอคืนภาษีอากร ซึ่งถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และ 157 ประกอบมาตรา 83 และ พ.ร.ป.ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 123/1 ประกอบ พ.ร.ป. ป.ป.ช. พ.ศ.2561 มาตรา 192 ประกอบ ป.อ.มาตรา 83 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา

ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 มีคำพิพากษาดังนี้

1. นางสาวสุวรรณี ศรีรัศมี จำเลยที่ 1 นางสาววรดาภัค หรือพัชรินทร์ อรัญมะโน จำเลยที่ 2 นายอาคม คงพันธ์ จำเลยที่ 3 มีความผิดตามมาตรา 149 (เดิม), พ.ร.บ.ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83

การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 149 (เดิม) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

จำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 5 ปี

2. นายอาคม คงพันธ์ จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 2 ปี 6 เดือน

ทั้งนี้ คดีนี้ ยังไม่สิ้นสุด จำเลยทั้งหมด มีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นศาลที่สูงกว่านี้อีกได้

เบื้องต้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีการประชุมเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบในการที่อัยการสูงสุด (อสส.) จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว

สำหรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ระบุว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต

Cr.https://www.isranews.org/article/isranews-news/120150-inves09999-12.html

07/07/2023

ฉบับเต็ม! คำสั่ง สพฐ.ไล่ออกราชการ อดีต ผอ.รร. คดีทุจริตเบิกงบสร้างห้องน้ำ

โดย : สำนักข่าวอิศรา

"...อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ (ที่ทำการแทน ก.ค.ศ.) พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของ นางลภาภัทร พลสิทธิ์ ที่ได้อนุมัติให้ดำเนินการจ้างสร้างห้องน้ำนักเรียน จำนวน 10 ห้อง และอนุมัติเบิกจ่ายเงินตังกล่าวโดยทราบดีอยู่แล้วว่าไม่มีการก่อสร้างห้องน้ำนักเรียนแต่อย่างใด และนำเงินดังกล่าวไปชำระค่าอุปกรณ์กับร้านโกัวัสดุและร้านรัตนอุปกรณ์ทั้งหมด จึงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง..."

กรณี คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดทางวินัยและสั่งดำเนินคดีอาญา 'นางลภาภัทร พลสิทธิ์' รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 3 กรณี เบิกงบก่อสร้างห้องน้ำซ้ำซ้อน ทั้ง ๆ ที่ได้รับบริจาคมาจากภาคเอกชนอยู่แล้ว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อ อ.วังน้ำเขียวจ.นครราชสีมา โดยอัยการได้มีคำสั่งฟ้องในความผิดฐาน 'เป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์' ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งหลังจากถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดทางวินัยแล้ว นางลภาภัทร ได้ยื่นอุทธรณ์ให้ทบทวนมติอีกครั้ง ก่อนที่ ป.ป.ช. มีมติไม่ทบทวนมติเดิม และแจ้งผลไปที่ถึงเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการตามขั้นตอนทางวินัยนั้น

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานไปแล้วว่า เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทำหนังสือถึง ป.ป.ช. แจ้งเรื่องวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรณี นางลภาภัทร พลสิทธิ์ ว่า ได้พิจารณาและมีมติลงโทษไล่นางลภาภัทร พลสิทธิ์ ออกจากราชการ เป็นไปแล้ว

ทั้งนี้ เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรณีมากขึ้น

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา นำรายละเอียดในคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงโทษไล่ออกจากราชการ นางลภาภัทร พลสิทธิ์ มานำเสนอ ณ ที่นี้

ด้วยนางลภาภัทร พลสิทธิ์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับเงินเดือนในอันดับ คศ.3 (คศ.4) อัตราเงินเดือน 60,300 บาท ได้กระทำผิดวินัยในเรื่อง คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด นางลภาภัทร พลสิทธิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 ว่า เมื่อประมาณต้นปี 2561 นางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ หรือ คุณไก่ ห้างปืนวังบูรพา ได้ติดต่อประสานโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อ ขอก่อสร้างห้องน้ำนักเรียน จำนวน 10 ห้อง พร้อมอุปกรณ์ในโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อ โดยในการก่อสร้างห้องน้ำดังกล่าวได้มีการประเมินราคาที่จะใช้ในการก่อสร้าง เป็นเงินทั้งสิ้น 255,157 บาท

แบ่งเป็น (1) ค่าอุปกรณ์ก่อสร้างเป็นเงิน 151,582 บาท (2) ค่าแรง 94,340 บาท (3) งานไฟฟ้า 9,250 บาท ในการก่อสร้างห้องน้ำนักเรียน จำนวน 10 ห้อง

นางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ ตกลงจะเป็นผู้หาเงินมาชำระทั้งหมด โดยจะนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาวังน้ำเขียว ชื่อบัญชี นายพินิจ ทองคำ และนางลภาภัทร พลสิทธิ์ ซึ่งเปิดบัญชีขึ้นใหม่ ตามความประสงค์ของนางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ ซึ่งในการดังกล่าว นางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ ได้นำเงินเข้าบัญชี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 249,500 บาท

ในการก่อสร้างห้องน้ำนักเรียน จำนวน 10 ห้อง พร้อมอุปกรณ์ นางลภาภัทร พลสิทธิ์ จะดำเนินการในฐานะตัวแทนของนางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ และได้ตกลงว่าจ้างให้ร้านพลอยรับเหมาก่อสร้าง (ร้านพลอยศรีนาค) หรือนางสาวพลอย ศรีนาค ซึ่งมีนายชัยยงค์ มุตตา เป็นช่างผู้ดำเนินงาน เป็นผู้รับเหมา เฉพาะส่วนของค่าแรงเป็นเงินจำนวน 94,340 บาท แบ่งชำระเป็น 4 งวด กำหนดแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ส่วนการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างและงานไฟฟ้า ทางโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อจะเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งงานไฟฟ้าเอง

วันที่ 25 พฤษภาคม 2561 นางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ และคณะ ได้เดินทางไปยังโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อ โดยโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อได้จัดงานต้อนรับพร้อมทำป้ายรับมอบห้องน้ำนักเรียนจำนวน 10 ห้อง จากห้างปีนวังบูรพา

นอกจากนี้ ในวันดังกล่าวบริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเดินทางมากับคณะของนางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ ยังได้มอบคอมพิวเตอร์ จำนวน 6 เครื่อง ให้แก่โรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อ โดยนางลภาภัทร พลสิทธิ์ นางประคอง ธนูปกรณ์ นางสาวสายสุณีย์ แสงก่ำ และนายยุทธนา เปาอินทร์ ได้เข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย

ในการก่อสร้างห้องน้ำนักเรียนดังกล่าว ขณะนั้นได้มีการเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นจำนวน 199,000 บาท แต่ยังไม่ได้จ่ายค่าแรง จำนวน 94,340 บาท ให้กับร้านพลอยรับเหมาก่อสร้าง และยังค้างค่าวัสดุอุปกรณ์ที่สั่งซื้อจากร้านโก้วัสดุและร้านรัตนอุปกรณ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 129,300 บาท

หลังจากในช่วงต้นปีงบประมาณ 2562 ปรากฏว่า นางลภาภัทร พลสิทธิ์ ได้อนุมัติให้ดำเนินการจ้างสร้างห้องน้ำนักเรียน จำนวน 10 ห้อง เป็นเงินจำนวน 129,300 บาท และอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินดังกล่าว โดยมีนางประคอง ธนูปกรณ์ ในฐานะหัวหน้างานงบประมาณและเจ้าหน้าที่การเงิน นางสาวสายสุณีย์ แสงก่ำ ในฐานะเจ้าหน้าที่พัสดุ ได้จัดทำบันทึกข้อความที่ 17/2561 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2561 เรื่องรายงานการขอซื้อขอจ้างสร้างห้องน้ำนักเรียนจำนวน 10 ห้อง เป็นเงินจำนวน 129,300 บาท โดยวิธีเฉพาะเจาะจง และขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุประกอบด้วย 1.นายยุทธนา เปาอินทร์ ประธานกรรมการ 2.นางวีระวรรณ กอบัว ประธานกรรมการ 3.นางมนทิรา พัวอมรพงศ์ กรรมการ

ผู้ควบคุมงาน 1.นางวีระวรรณ กอบัว ประธานกรรมการ 2.นายมงคล กินกิ่ง กรรมการ

เสนอนางลภาภัทร พลสิทธิ์ และได้ลงนามอนุมัติพร้อมทั้งได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ตามคำสั่งโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อ ที่ 98/2561 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2561

ต่อมานางลภาภัทร พลสิทธิ์ ได้จัดทำบันทึกข้อความ ที่ 18/2563 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2561 รายงานการพิจารณาและขออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างถึงตนเอง และได้แจ้งให้ร้านพลอยรับเหมาก่อสร้างมาลงนามในสัญญา เพื่อจัดทำใบสั่งซื้อ/สั่งจ่ายห้องน้ำนักเรียน จำนวน 10 ห้อง ราคา 129,300 บาท ระหว่างโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อ กับร้านพลอยรับเหมาก่อสร้าง ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2561

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 นางสาวสายสุณีย์ แสงก่ำ ได้จัดทำใบส่งมอบงานสร้างห้องน้ำนักเรียน โดยนำเอาภาพถ่ายการก่อสร้างห้องน้ำนักเรียนที่ได้รับบริจาคมาจากนางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์และคณะ มาประกอบการส่งมอบงานเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าที่ได้รับบริจาค เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 และแจ้งให้นายยุทธนา เปาอินทร์ ประธานกรรมการตรวจรับงานจ้าง เพื่อให้ทำการตรวจรับงาน โดยมีนางลภาภัทร พลสิทธิ์ รับทราบและเป็นผู้อนุมัติ ซึ่งในใบตรวจรับการจัดการซื้อ/จัดจ้างงานดังกล่าว ปรากฏว่ามีเพียง นายยุทธนา เปาอินทร์ ที่ลงลายมือชื่อรับรองว่างานครบถ้วนตามสัญญา ส่วนกรรมการอีก 2 คน คือนางวีระวรรณ กอบัว และนางมนทิรา พัวอมรพงค์ ไม่ลงลายมือชื่อตรวจรับงาน

หลังจากนั้นนางสาวสายสุณีย์ แสงก่ำ ในฐานะเจ้าหน้าที่พัสดุ ได้จัดทำบันทึกข้อความ ที่ 19/2561 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เพื่อขอทราบผลการตรวจรับงานจ้าง และขออนุมัติเบิกจ่าย ถึงนางลภาภัทร พลสิทธิ์ โดยนางประคอง ธนูปกรณ์ ในฐานะเจ้าหน้าที่การเงิน ได้ทำความเห็นว่า ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้ว มีเอกสารครบถ้วน เห็นควรอนุมัติเงินจำนวน 129,300 บาท ให้แก่ร้านพลอยรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งนางลภาภัทร พลสิทธิ์ ได้รับทราบและ อนุมัติตามเสนอในวันเดียวกันนั้น

หลังจากนั้นนางลภาภัทร พลสิทธิ์ ได้ลงลายมือชื่อร่วมกับนางประคอง ธนูปกรณ์ เบิกถอนเงิน พร้อมมอบฉันทะให้กับนางประคอง ธนูปกรณ์ ไปดำเนินการเบิกถอนเงินสดจำนวน 129,300 บาท จากบัญชีดังกล่าว แล้วนำเงินดังกล่าวไปให้ร้านโก้วัสดุและร้านรัตนอุปกรณ์ทั้งหมด โดยที่โรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องชำระหนี้ให้กับร้านโก้วัสดุและร้านรัตนอุปกรณ์แต่อย่างใด

วันที่ 10 มกราคม 2562 นางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ ได้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี นายพินิจ ทองคำ และนางลภาภัทร พลสิทธิ์ จำนวน 49,500 บาท และนางลภาภัทร พลสิทธิ์ กับนายพินิจ ทองคำ ได้เบิกถอนในวันที่ 14 มกราคม 2562 จำนวน 50,529.82 บาท และปิดบัญชีในวันเดียวกัน ซึ่งนางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ ให้ถ้อยคำว่า เนื่องจาก นางลภาภัทร พลสิทธิ์ ยังไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดการใช้เงิน จำนวน 200,000 บาท ให้นางลมัยมาลย์ หิรัญประดิษฐ์ ทราบว่าขาดเหลือเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ จึงไม่ทราบว่าทางโรงเรียนบ้านศาลเจ้าพ่อ ยังค้างชำระค่าแรงช่าง

ต่อมาได้โทรศัพท์สอบถามถึงเรื่องดังกล่าว นางลภาภัทร พลสิทธิ์ จึงได้แจ้งรายละเอียดและแจ้งว่า ในการก่อสร้างห้องน้ำดังกล่าวใช้เงินทั้งหมด จำนวน 249,500 บาท จึงได้โอนเงินฝากระบบแอพพลิเคชั่น KPLUS เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 จำนวน 49,500 บาท ในวันดังกล่าว นางลภาภัทร ได้โอนเงินค่าจ้างให้กับร้านพลอยรับเหมาก่อสร้าง บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี นางสาวพลอย ศรีนาค จำนวน 40,000 บาท และวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 นางลภาภัทร พลสิทธิ์ ได้โอนเงินจำนวน 64,000 บาทให้กับร้านพลอยรับเหมาก่อสร้าง

การกระทำของนางลภาภัทร พลสิทธิ์ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้น ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการรับรองเป็นหลักฐานว่า ตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือว่าการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้น มุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 มาตรา 151 มาตรา 157 และมาตรา 162 (1) (4)

และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษามติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาลเลินเล่อ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และฐานกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 84 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง และมาดรา 94 วรรคสอง

อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ (ที่ทำการแทน ก.ค.ศ.)ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของนางลภาภัทร พลสิทธิ์ ที่ได้อนุมัติให้ดำเนินการจ้างสร้างห้องน้ำนักเรียน จำนวน 10 ห้อง และอนุมัติเบิกจ่ายเงินดังกล่าวโดยทราบดีอยู่แล้วว่าไม่มีการก่อสร้างห้องน้ำนักเรียนแต่อย่างใด และนำเงินดังกล่าวไปชำระค่าอุปกรณ์กับร้านโกัวัสดุและร้านรัตนอุปกรณ์ทั้งหมด จึงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

กรณีปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมีชอบเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ กรณีปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล ประมาทเลินเล่อ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และกรณีกระทำการอื่นใด อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 84 วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง และมาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

จึงมีมติลงโทษไล่นางลภาภัทร พลสิทธิ์ ออกจากราชการ

ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 98 ประกอบมาตรา 91 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พศ. 2561 มาตรา 98 มาตรา 100 วรรคสี่และวรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2548 จึงให้ลงโทษไล่ นางลภาภัทร พลสิทธิ์ ออกจากราชการ

อนึ่ง ถ้าผู้ถูกลงโทษประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งนี้ ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ตามกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์ พ.ศ. 2550 หรือจะฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ถูกลงโทษโดยไม่ต้องอุทธรณ์ ตามมาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปรานปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

ปัจจุบันยังไม่มีรายงานข่าวยืนยันว่า นางลภาภัทร พลสิทธิ์ ได้ยื่นเรื่องขออุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. ไปแล้วหรือไม่? ผลเป็นอย่างไร?

แต่คดีนี้ นับเป็นอีกหนึ่งกรณีตัวอย่างสำคัญ ไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐข้าราชการไทย เดินย้ำซ้ำรอยทำผิดตาม ทั้งในปัจจุบันและอนาคตสืบไป

Cr.https://isranews.org/article/isranews/119874-isranews-337.html

07/07/2023

ผู้ว่าฯลงสอบ แก้ตัวไม่ตรงกัน

ปัญหาอาหารกลางวัน รร.เทพนรรัตน์ จ.สมุทรสาคร ที่เด็กไม่อิ่มไม่ให้เติม ให้ไปซื้อขนมกับแม่ครัวกินแทน เรื่องนี้เคยร้องเรียนแต่ก็เหมือนเดิม เก้าโมงเช้าวันเสาร์ที่ 23 มิ.ย. 2566 ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ศึกษาธิการจังหวัด และ ผอ.เขต ลงพื้นที่เรียกประชุม นางสุกัญญา ผอ.โรงเรียน คณะคุณครู และแม่ครัว โดยมีสื่อสมุทรสาครเข้าร่วมด้วย

แรกเริ่มก่อนประชุม ผู้ว่าฯ แจ้งว่า ยังไม่ปักใจเชื่อให้ตรวจสอบหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อพูดคุยสักพัก ศึกษาธิการจังหวัดสอบถามพบพิรุธข้อมูลที่พูดไม่ตรงกันสักคน โดยตัว ผอ.สุกัญญาและแม่ครัว พยายามพูดเบี่ยงอ้างเรื่องเศษอาหารที่เหลือ บอกว่าได้ทำตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง

ส่วนทาง ผอ.เขต ก็ได้แก้ตัวกับผู้ว่าฯ ว่าเรื่องนี้เกิดจากปัญหาภายในโรงเรียนจนทำให้มีรูปที่เป็นข่าว จึงโดนผู้ว่าฯ ตอกกลับว่า “คิดแบบนี้ไม่ได้มันผิด ปัญหาของผู้ใหญ่จะเอาไปลงกับเด็กได้อย่างไร” และมีผลสรุปให้สืบหาข้อเท็จจริงอย่างเร่งด่วนที่สุด

จัดให้ตามโภชนาการ ไม่อิ่มให้ไปซื้อขนมแม่ครัว :: bit.ly/42Qgqi3

#กัดไม่ปล่อย #โรงเรียนเทพนรรัตน์ #สมุทรสาคร #อาหารกลางวัน #ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน 66-06-012
-------------------------------------------
แจ้งเบาะแสการทุจริต คลิก :: m.me/Watchdog.ACT
ติดตาม Line@ Twitter และ IG หมาเฝ้าบ้าน: .ACT

07/07/2023

ศาลฎีกาฯ สั่งปรับ 1.2 แสน! 'จารุพงศ์' อดีต รมว.มหาดไทย คดีรับตั๋วเครื่องบินอีสท์วอเตอร์

โดย : สำนักข่าวอิศรา

ศาลฎีกานักการเมือง พิพากษาปรับ 'จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ' อดีต รมว.มหาดไทยและหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จำนวน 120,000 บาท คดีรับตั๋วเครื่องบินอีสท์วอเตอร์เดินทางไปเรื่องส่วนตัวที่จีน-มาเลเซีย วงเงินเกิน 3,000 บาท ทั้งที่ไม่ใช่บอร์ดบริษัทฯ

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2566 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.14/2565 หมายเลขแดงที่ อม.19/2566 ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ จำเลย โดยโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 18 ส.ค. 65 ระบุทำนองว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย จำเลยรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จาก บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (บริษัทจัดการฯ) ซึ่งมิใช่ญาติ โดยรับ ตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

อันอาจคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 39,300 บาท และรับตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย อันอาจคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 20,780 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีราคาเกินกว่าสามพันบาทอันมิใช่ทรัพย์สิน และประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย ทั้งมิใช่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาตามประกาศ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดย ธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543 ข้อ 5 ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 103, 122 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4, 128, 169, 194

จําเลยไม่มาศาล จึงพิจารณาคดีโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจําเลย จําเลยแต่งตั้งทนายความมาดำเนินการแทน และให้การปฏิเสธ

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว เห็นว่า ทางไต่สวน นาย ช. กรรมการบริหารและการลงทุนบริษัทจัดการฯ ขณะเกิดเหตุ เบิกความขัดแย้งแตกต่างกันรับฟังไม่ได้แน่ชัดว่า จำเลย ทีมงานของจำเลย หรือบุตรชายของจำเลยเป็นผู้นำเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินไปมอบให้พยาน ไม่อาจรับฟังเป็นความจริงได้ ทั้งคำเบิกความยังขัดแย้งกับคำให้การจำเลยที่ว่า จำเลยให้ทีมงานของจำเลยไปจัดซื้อ ตั๋วโดยสารเครื่องบินด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน หรือให้ทีมงานของจำเลยไปจัดซื้อ

เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของการออกตั๋วโดยสารเครื่องบินและการชำระเงิน ได้ความว่า กรรมการบริหารและการลงทุนบริษัทจัดการฯ เป็นผู้ดำเนินการออกตั๋วโดยสาร เครื่องบิน โดยให้บริษัท อ. และบริษัท ร. เป็นผู้จองและออกตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเรียกเก็บเงินค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบินจากบริษัทจัดการฯ ซึ่งต่อมาบริษัทจัดการฯ อนุมัติให้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินดังกล่าวจาก เงินค่ารับรองกรรมการ (ตั๋วเครื่องบินรับรองลูกค้าบริษัท) แล้ว

พยานหลักฐานที่ไต่สวนจึงรับฟังเป็นความจริง ได้ว่า บริษัทจัดการฯ เป็นผู้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริษัทจัดการฯ ชำระเงิน ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินหลังจากที่จำเลยใช้ตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางก็ตาม แต่เหตุดังกล่าวเป็นผล สืบเนื่องมาจากการดำเนินการของบริษัทจัดการฯ ในการเบิกเงินค่ารับรองกรรมการเพื่อชำระเงินค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบินเท่านั้น ส่วนที่บริษัท อ. และบริษัท ร. คืนเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินให้แก่บริษัทจัดการฯ นั้น ก็เป็น การกระทำที่เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทจัดการฯ ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้ว กรณีจึงไม่มีผลทำให้บริษัท จัดการฯ มิใช่เป็นผู้ที่ไม่ได้ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน เมื่อขณะเกิดเหตุจำเลยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการฯ และตามรายละเอียดแนวทางการใช้จ่ายค่า รับรองของคณะกรรมการบริษัท

บริษัทจัดการฯ ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินค่ารับรองในนามคณะกรรมการบริษัท ให้จำเลยได้ ประกอบกับตามหนังสือของกระทรวงมหาดไทยยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุในระบบสารบัญของ สำนักรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ไม่พบว่ามีการขออนุญาตเดินทางไปราชการต่างประเทศของจำเลย ทำให้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยไม่ได้เดินทางไปราชการที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศมาเลเซีย แต่เป็นการเดินทางไปส่วนตัวแล้ว ทั้งทางไต่สวนได้ความจากคำเบิกความของนาย ช. กรรมการบริหารและการ ลงทุนบริษัทจัดการฯ

ขณะเกิดเหตุว่า บุตรชายของจำเลยให้ดูแลจำเลยในการเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศมาเลเซีย กับเดินทางไปพร้อมจำเลยด้วย จึงเชื่อว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าบริษัทจัดการฯ เป็นผู้ซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินให้จำเลยโดยกรรมการบริษัทเป็นผู้ขออนุมัติเบิกเงินจากเงินค่ารับรองกรรมการ ชำระเงินค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน และการที่จำเลยใช้ตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปกลับ บ่งชี้ได้ว่าจำเลยมีเจตนารับตั๋วโดยสารเครื่องบินนั้น เมื่อตั๋วโดยสารเครื่องบินมีราคาเกินกว่า 3,000 บาท ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยรับตั๋วโดยสารเครื่องบินเดินทางไปกลับระหว่างกรุงเทพฯ-ปักกิ่ง และกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีราคาหรือมูลค่าเกิน 3,000 บาท จากบริษัทจัดการฯ ซึ่งมิใช่ญาติ จึงเป็นความผิดตามฟ้อง

พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 122 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากให้ลงโทษปรับกระทงละ 60,000 บาท รวม 2 กระทง เป็นปรับ 120,000 บาท หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30

Cr.https://www.isranews.org/article/isranews-news/119878-isranews-1000-967.html

https://m.facebook.com/photo.php?fbid=765069098742980&id=100057196910314&set=a.424755022774391&source=57&__tn__=EH-R
29/06/2023

https://m.facebook.com/photo.php?fbid=765069098742980&id=100057196910314&set=a.424755022774391&source=57&__tn__=EH-R

[ แนวทางแก้ไขปัญหา #ตรวจรถทิพย์ แหล่งหากินกับประชาชน ปีละไม่ต่ำกว่า 2 พันล้าน แถมเอื้อประโยชน์ให้กับขบวนการขโมยรถ ]
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ปัจจุบัน ประชาชนที่ออกรถใหม่ ไม่ว่าจะซื้อรถป้ายแดง หรือซื้อรถมือสองจากเต๊นท์รถ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถกระบะ หรือรถจักรยานยนต์
ค่าออกรถใหม่ที่ไฟแนนซ์แจ้งมา ถ้าเป็นรถยนต์ ก็ประมาณ 3,500-4,000 บาท ถ้าเป็นรถจักรยานยนต์ก็ประมาณ 1,500-2,000 บาท
จากข้อมูลของรองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (https://www.khaosod.co.th/politics/news_7736477) ระบุไว้ว่า ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนรถใหม่ ประกอบไปด้วย 1.ค่าคำขอ คำขอละ 5 บาท 2.ค่าตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ครั้งละ 10 บาท ค่าตรวจสภาพรถยนต์และรถอื่น ครั้งละ 50 บาท 3.ค่าใบคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท 4.ค่าแผ่นป้ายทะเบียนรถ แผ่นละ 100 บาท 5. ค่าภาษีประจำปี
ถ้าเป็นรถยนต์ Ecocar ก็น่าจะมีค่าใช้จ่ายรวมๆ แล้วน่าจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 2,000 บาท ถ้าเป็นรถจักรยานยนต์ ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 400 บาท
เข้าใจว่าน่าตัวแทนที่ให้บริการเดินงานทะเบียนให้ น่าจะมีค่าบริการอยู่ที่ประมาณ 400-500 บาท
แล้วเงินก้อนที่เหลือประมาณ 1,500 บาท สำหรับกรณีรถยนต์ และประมาณ 1,000 บาท สำหรับกรณีรถจักรยานยนต์ นั้นไปอยู่ที่กระเป๋าใคร
สำหรับกรณีที่ผ่อนชำระค่างวดรถหมดแล้ว หากเป็นการโอนปิดบัญชีจากสถาบันทางการเงินมายังผู้เช่าซื้อ จะได้รับการยกเว้นการตรวจสภาพ โดยผู้เช่าซื้อชำระเพียงค่าธรรมเนียมคำขอ 5 บาท และค่าธรรมเนียมการโอน 100 บาท รวมเป็นเงิน 105 บาท
ก็เลยเกิดคำถามว่า แล้วทำไมไฟแนนซ์ถึงคิดค่าดำเนินการโอนถึง 2,000-3,000 บาท ลำพังค่าบริการที่จ่ายให้กับตัวแทนในการเดินงานทะเบียน ก็น่าจะอยู่ที่ 300-500 บาท เท่านั้น แล้วเงินที่เหลือ 1,500-2,500 บาท ที่ไม่มีใบเสร็จ ไปอยู่ที่กระเป๋าใคร
ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จดทะเบียนเพิ่มขึ้น 487,262 คัน รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้น 455,326 คัน ถ้าเงินที่หายไปนั้นเกิดเป็นส่วยขึ้นมา ส่วยก้อนนี้ นี่ไม่น่าจะต่ำกว่าปีละ 2 พันล้านบาท เชียวนะครับ
มีเบาะแสมาว่า ส่วยก้อนมหาศาลก้อนนี้ อยู่ในมือของช่างตรวจสภาพรถยนต์บางกลุ่ม และเจ้าหน้าที่งานทะเบียนบางคน เดือนๆ หนึ่งมีรายได้สูงถึง 500,000-800,000 บาท บางคนมีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ มีบ้านคฤหาสต์ตกแต่งโอ่อ่า มีรถหรู มีอพาร์ทเม็นท์ให้เช่าหลายแห่ง บางคนถึงกับมีเครื่องบินเล็กส่วนตัว
นอกจากพัวพันกับการรีดไถเอารัดเอาเปรียบ โดยที่ประชาชนไม่รู้ตัวแล้ว ยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับขบวนการโจรกรรมรถยนต์อีกด้วย
ถ้าหากการซื้อรถมือสองจากเต๊นท์ ไม่มีการตรวจสภาพรถจริง มีแต่การตรวจทิพย์ ก็จะเป็นการเอื้อประโยชน์ ให้กับขบวนการโจรกรรมรถยนต์ ให้ซื้อซากรถ ที่ประสบอุบัติเหตุจากบริษัทประกันภัย แล้วตัดต่อเลขตัวถัง มาสวมให้กับรถที่ขโมยมา แล้วก็นำไปจดทะเบียน ยิ่งการตรวจรถทิพย์มีเพิ่มขึ้น รถของประชาชนก็เสี่ยงที่จะหายเพิ่มขึ้น
ต้นตอของปัญหาต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากกฎระเบียบที่ไม่ทันสมัย ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง จนทำให้เจ้าหน้าที่บางคน ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียกรับผลประโยชน์ แนวทางการแก้ไข ก็ไม่ได้ซับซ้อนมากนัก หลักๆ มีอยู่ 2 มาตรการ ด้วยกันคือ
1. ปัจจุบันด้วยระบบการจดทะเบียน ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน หากวางระบบในการทำงานดีๆ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมี "ป้ายแดง" ไว้ใช้สำรอง ระหว่างการจดทะเบียนอีกอีกต่อไป และรถใหม่ที่เพิ่งผลิตจากโรงงาน ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจสภาพรถเลย จึงควรพิจารณายกเลิกการตรวจสภาพรถใหม่ แล้วให้ศูนย์ผู้จำหน่ายรถยนต์ เป็นผู้บันทึกข้อมูลทะเบียนรถ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากแก้ปัญหาส่วยตรวจรถทิพย์ได้แล้ว ยังทำให้กระบวนการจดทะเบียนรถยนต์รวดเร็วขึ้นอีกด้วย
2. สำหรับการซื้อขายรถยนต์มือสองตามเต๊นท์ต่างๆ ก็มีความจำเป็นต้องปรับปรุงกฎระเบียบ"การตรวจสภาพรถยนต์นอกสถานที่" ให้มีการตรวจจริง มีการบันทึกภาพการตรวจลงในระบบฐานข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน และพิจารณาเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชน โดยอนุญาตให้สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) สามารถให้บริการตรวจสภาพรถในกรณีนี้ได้ ซึ่งหากการซื้อขายรถยนต์มือสอง ไม่มีการตรวจรถทิพย์ รถที่ขโมยมาก็จะไม่สามารถนำมาสวมทะเบียนได้ ซึ่งจะทำให้การโจรกรรมรถยนต์ ลดลงไปโดยปริยาย
ปัจจุบัน มีประชาชนเข้ามาให้เบาะแส และส่งมอบหลักฐานต่างๆ เป็นจำนวนมาก และกรมการขนส่งทางบก ก็น่าจะรู้ปัญหา "การตรวจนอก" และ "การตรวจรถทิพย์" ดีอยู่แล้ว เพราะการส่งส่วยในลักษณะนี้ไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมาแล้วเป็นหลายสิบปีแล้ว ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กรมการขนส่งทางบก จะเร่งสืบสวนสอบสวน และขยายผล พร้อมทั้งเร่งแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือในการเรียกรับผลประโยชน์ ของช่างตรวจสภาพรถยนต์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายจดทะเบียนบางคน โดยเร็วที่สุด

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when STRONG สกลนคร posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share