Rainbowtopia by Spectrum

  • Home
  • Rainbowtopia by Spectrum

Rainbowtopia by Spectrum Contact information, map and directions, contact form, opening hours, services, ratings, photos, videos and announcements from Rainbowtopia by Spectrum, Media/News Company, .

24/03/2023

ในงาน ‘คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อคนกรุงเทพ’ วันนี้ (24 มีนาคม 66) เศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ประกาศทำกรุงเทพฯ เป็นมหานครโลก สร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครเศรษฐกิจและวัฒนธรรม พร้อมดึงดูดนักลงทุนและอีเวนต์สำคัญทั้งดนตรี กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรมจากทั่วไป และสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งความหลากหลาย พร้อมปักธงจัด WorldPride ภายในปี ค.ศ. 2028 และสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งความเท่าเทียม ทำลายระบบเส้นสาย
“เราจะทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นสถานที่จัดงานระดับโลก ผลักดันซอฟต์เพาเวอร์ ให้ประเทศไทยเป็นที่จัดคอนเสิร์ต งานหนัง งานโฆษณา งานศิลปะและงานวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้ต่างชาติได้เห็นฝีมือคนไทยและจะผลักดันความหลากหลายทางเพศ จัดงาน WorldPride ให้ได้ภายในปี 2028” เศรษฐา ทวีสินกล่าวบนเวที
จากเป้าหมายนี้ อาจทำให้ประเทศไทยเป็นชาติแรกในเอเชียที่จัดอีเวนต์ไพรด์ระดับโลก หลังไต้หวันที่เป็นประเทศแรกที่จะได้เป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 2025 ถอนตัวไปเมื่อปลายปี ค.ศ. 2022 จากกรณีองค์กร InterPride ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ WorldPride เปลี่ยนจากชื่อไต้หวันเป็นเกาสง ซึ่งไต้หวันเชื่อว่าเป็นปัญหาการเมืองจากการกดดันของสาธารณรัฐประชาชนจีน
WorldPride เป็นลิขสิทธิ์ของ InterPride องค์กรเครือข่ายเพื่อผู้มีความหลากหลายทางเพศระดับโลก จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2000 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยครั้งล่าสุดจัดคือ Sydney WorldPride 2023 ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ - 5 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งการจัดงาน WorldPride ในแต่ละปีถือเป็นหมุดหมายของผู้มีความหลากหลายทางเพศและพันธมิตร (Ally) ทั่วโลก โดยเมืองซิดนีย์เปิดเผยว่าเวิร์ลไพรด์ครั้งที่ผ่านมาได้เพิ่มเงินหมุนเวียนในท้องถิ่นกว่า 2,500 ล้านบาท และดึงดูดผู้เข้าร่วมงานกว่า 500,000 คนจากทั่วโลก
และเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 คณะทำงาน Bangkok Pride 2023 ก็ได้ประกาศว่าจะไปประมูลงาน WorldPride 2027 ที่กรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา เพื่อแสดงความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพงานไพรด์ระดับโลก อย่างไรก็ตาม ชุมาพร แต่งเกลี้ยง ได้กล่าวในงานแถลงข่าว Bangkok Pride 2023 ว่า ประเทศไทยต้องมีกฏหมายสมรสเท่าเทียม และพรบ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศก่อน เพื่อเปิดทางให้สามารถจัด WorldPride ได้ ซึ่งปัจจุบันสมรสเท่าเทียมยังคงค้างอยู่ในสภา และ (ร่าง) พรบ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศ อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นและคาดว่าจะเข้าสภาในสมัยรัฐบาลที่จะถึง การจะจัดงาน WorldPride ได้จึงต้องมั่นใจว่าภาครัฐมีความพร้อมที่จะผลักดันสิทธิตามกฏหมายให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งนโยบายเพื่อความเสมอภาคทางเพศในด้านอื่นด้วย
แต่ก่อนจะไปถึงเป้าหมาย WorldPride 2028 ในปีนี้กรุงเทพมหานครจะมีงาน Bangkok Pride 2023 Beyond Gender ในวันที่ 4 มิถุนายน ร่วมนับถอยหลังสู่งานไพรด์ครั้งที่จะยิ่งใหญ่กว่าที่ผ่านมาได้ที่ https://bangkokpride.org/

อ้างอิง:
The Diplomat: http://bit.ly/42C1KEd
InterPride: http://bit.ly/3JJbX9b
Nation: http://bit.ly/42vg6Gi
พรรคเพื่อไทย: https://bit.ly/42ALcfQ
#พื้นที่ความคิดของทุกสีสัน
"กรุณาแสดงความเห็นอย่างสุภาพและสร้างสรรค์ ทีมงานสงวนสิทธิ์ในการลบหรือดำเนินการตามสมควร กับความเห็นที่สร้างความเกลียดชัง (hate speech) หรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น"

17/03/2023

Sydney WorldPride has officially come to an end and handed the honour of hosting over to Washington DC ahead of the 2025 celebrations.

[พื้นที่ประชาสัมพันธ์]🌈  🌈  ขอเชิญบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ อายุ 20 ปีขึ้นไปทุกท่าน ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ด้วยการ กรอก...
09/09/2022

[พื้นที่ประชาสัมพันธ์]
🌈 🌈 ขอเชิญบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ อายุ 20 ปีขึ้นไปทุกท่าน ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ด้วยการ
กรอกแบบสอบถามวิทยานิพนธ์ ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที โดยในการเสียสละเวลาของท่านครั้งนี้ จะเท่ากับท่านได้ร่วมบริจาค 10 บาท ให้กับมูลนิธิที่ทำงานด้านความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

🔴 ประสบการณ์อันมีค่าของทุกท่าน จะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนหรือปรับเปลี่ยนนโยบายให้เกิดการแก้ปัญหาด้านความไม่เท่าเทียมทางเพศได้อย่างตรงจุด และด้วยหวังว่างานชิ้นนี้จะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันให้เกิดการรับรองสิทธิทางกฎหมาย และสิทธิพลเมืองอันพึงมีพึงได้ของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

🔴จึงอยากขอเชิญเพื่อนๆ มาร่วมตอบแบบสอบถามนี้ และสามารถแชร์ หรือแบ่งปันให้กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศท่านอื่นๆ ร่วมตอบได้ด้วย
ขอขอบคุณในความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ 🙏🙏

สามารถกรอกแบบสอบถามได้ที่ link https://www.surveycan.com/survey288143?ext=A25

3 วันสุดท้าย ในการสั่งซื้อ Pride Collectable artworks สุดเอ็กคลูซีฟ 🔥งานปรินท์สุดพิเศษภายใต้ธีม “Pride” ที่ตีความและสรรส...
27/06/2022

3 วันสุดท้าย ในการสั่งซื้อ Pride Collectable artworks สุดเอ็กคลูซีฟ 🔥
งานปรินท์สุดพิเศษภายใต้ธีม “Pride” ที่ตีความและสรรสร้างโดยจาก 10 ศิลปิน ไม่ว่าจะเป็น Ball - Naraphat, 98mari, JARB, juli baker and summer, Nakrob Moonmanas, Pariyanart Chirat, Pauline The Beansprout, Sahred Toy, Spun Inthawong และ SUNTUR โดยยังสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง: https://bit.ly/3u3GebY
สั่งซื้อได้ถึง 30 มิถุนายนนี้เท่านั้น ช้าหมด อดตลอดไปนะ🥹

27/06/2022

งานจบ แต่เรายังไม่ยอมจบบบ!🥹🏳️‍🌈✨
ทิ้งทวนงาน Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia by SPECTRUM กันอีกแมชสุดท้าย ด้วยวิดีโอรวบรวมบรรยาศงานทั้ง 6 โซน ตลอด 3 วันของพวกเรา (17-19 มิถุนายน 2565) ที่มีทั้งบูธกิจกรรม งานศิลปะ ขายของ เสวนา เวิร์คช็อป และดนตรีมาแบบ ครบ-จบ-จุก ในคลิปเดียว
สำหรับใครที่พลาดปีงานปีนี้ไป ไม่เป็นไร! (หวังว่าจะ) เจอกันใหม่อีกทีปีหน้า กดติดตามเพจสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ที่อาจจะมีมาเรื่อย ๆ และดูบรรยากาศงานในคลิปนี้รอไว้ได้เลย! ส่วนใครที่ได้มางานแล้ว เราอยากรบกวนช่วยกรอกฟีดแบคงานเพื่อให้ทีมนำไปต่อยอดพัฒนาในกิจกรรมถัดๆ ไปหน่อยนะ ใช้เวลาแป๊ปเดียวเท่านั้นน: https://bit.ly/3xTjGLW
ทางทีม ขอขอบคุณทุกๆ ที่มีส่วนร่วมในงาน ทั้งผู้ร่วมจัด และผู้เข้าชม โดยถ้ามีอะไรผิดพลาดไปในงานไพรด์ครั้งแรกนี้ ก็ต้องขอภัยมา ณ ทีนี้ด้วย
งานปีนี้จบลงแล้วก็จริง แต่การสู้เพื่อความเท่าเทียมนั้นยังไม่จบ ซึ่งในเดือนนี้ลากยาวไปถึงเดือนหน้าก็ยังมีกิจกรรมไพรด์ โดยกลุ่มนักกิจกรรม และภาคประชาชนอีกหลายงานเลย ซึ่งจัดขึ้นทั่วประเทศไทย ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพ สามารถดูในโพสต์นี้ แล้วเลือกไปตามสะดวกได้เลย: https://bit.ly/3u2HDzl
กดติดตามเพจ Bangkok Pride: Rainbowtopia สำหรับอัพเดทกิจกรรมใหม่ๆ และเพจ SPECTRUM สำหรับข่าวสาร บทความเรื่องเพศ ความเท่าเทียม และการเรียกร้องเพื่อสิทธิต่าง ๆ

ผลงานสุดพิเศษจาก GroundControl และ 10 ศิลปิน ยังวางจำหน่ายผ่านทาง prismstuff.co จนถึง 30 มิถุนายนนี้
27/06/2022

ผลงานสุดพิเศษจาก GroundControl และ 10 ศิลปิน ยังวางจำหน่ายผ่านทาง prismstuff.co จนถึง 30 มิถุนายนนี้

🏳️‍🌈
23/06/2022

🏳️‍🌈

ชวนดูภาพ ‘S*x Worker Fashion Show’ สุดจึ้ง จัดโดย ‘ภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม’ ณ งาน  แม้ว่าจะเป็นที่รู้กันโดยถ้วนทั่ว...
22/06/2022

ชวนดูภาพ ‘S*x Worker Fashion Show’ สุดจึ้ง จัดโดย ‘ภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม’ ณ งาน
แม้ว่าจะเป็นที่รู้กันโดยถ้วนทั่ว ว่าในเมืองไทยนั้นมีผู้ที่ทำอาชีพ ‘ค้าบริการทางเพศ’ อยู่มากมาย แต่รัฐฯ กลับเลือกที่จะเพิกเฉย ปิดตา บอกว่าพวกเขานั้น ‘ไม่มีตัวตนอยู่’ ในขณะที่ก็แสวงหาผลประโยชน์จากการควบคุมผู้ทำอาชีพนี้ไปในเวลาเดียวกัน
มีรายงานหลายฉบับ และพนักงานบริการหลายคน ที่ในจำนวนนั้นแน่นอนว่ารวมไปถึงผู้หญิงข้ามเพศและ LGBT+ จำนวนมาก ที่ออกมาส่งเสียงว่าพวกเขาถูกเอาเปรียบ ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน และคุกคามโดยผู้ควบคุม ผู้ใช้บริการ หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐฯ เอง
ซึ่งนี่เป็นผลของ ‘กฎหมายเอาผิดการค้าประเวณี’ ที่ส่งผลให้ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายใด ๆ ที่สามารถช่วยเหลือ สนับสนุน และคุ้มครองการถูกละเมิดสิทธิของพวกเขาได้เลย ทั้งยังเป็นการสร้างการตีตรา มายาคติ และลดทอนสิทธิบนเรือร่างของปัจเจกบุคคลซ้ำแล้วซ้ำเล่า
‘S*x Work Fashion Show’ ที่จัดขึ้นกลางลานสยามสแควร์ Block I เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา จึงเป็นอีกหนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์ของงาน Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia ที่เราอยากให้ทุกคนได้ชม ได้เห็น และซึมซาบข้อความหลากประเด็นที่ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ค้าบริการทางเพศ ซึ่งทางภาคีได้เตรียมมาส่งเสียงบอกเล่าให้กับรัฐฯ และทุก ๆ คน บอกเลยว่าอลังการทั้งคน ทั้งธง! 🏳️‍🌈✨

#ภาคีสีรุ้ง

ปีหน้าเจอกันใหม่ ❤️🏳️‍🌈🥺
22/06/2022

ปีหน้าเจอกันใหม่ ❤️🏳️‍🌈🥺

ชวนชมภาพบรรยากาศงาน  วันสุดท้าย! 🏳️‍🌈✨ทิ้งทวนจบงานกันแบบสุดต๊าช ชุ่มฉ่ำ เต็มอิ่ม และเปียกปอน (ฝนตก)ไปกับ มินิเทศกาลหนังเ...
21/06/2022

ชวนชมภาพบรรยากาศงาน
วันสุดท้าย! 🏳️‍🌈✨
ทิ้งทวนจบงานกันแบบสุดต๊าช ชุ่มฉ่ำ เต็มอิ่ม และเปียกปอน (ฝนตก)
ไปกับ มินิเทศกาลหนังเควียร์, S*x Workers แฟชันโชว์, คอนเสิร์ต (กลางสายฝน!) และกิจกรรมอื่น ๆ ว่าด้วยเรื่องความเท่าเทียมทางเพศอีกมากมาย ซึ่งเราได้ทุกคนมาเข้าร่วมกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง สร้างบรรยากาศให้งานของเราอบอุ่น และเป็นกันเองแบบสุด ๆ 🥺
แม้ว่างาน Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia by SPECTRUM นั้นจะจบแล้ว พร้อม ๆ กับที่ Pride Month ปีนี้ก็ใกล้จะสิ้นสุดลง แต่การต่อสู้ของพวกเรานั้นจะไม่จบแน่นอน แล้วเจอกันใหม่ จนกว่า ‘สมรสจะเท่าเทียม’ จนกว่าเรา ‘ทุกคนจะเท่ากัน’ อย่างแท้จริง
ปล.งานหลักจบไปแล้ว แต่เรายังมีกิจกรรมพิเศษฉายภาพยนตร์และเสวนา ที่ SPECTRUM จัดกับทาง Documentary Club ด้วยนะ ไปจองตั๋วกันไว้ได้เลย: https://bit.ly/3tPTO2x
สำหรับใครที่ได้ไปงานมา ช่วยฟีดแบค ข้อเสนอแนะต่างๆ ให้เราหน่อยน้า ใช้เวลาแป๊ปเดียวเท่านั้นน: https://bit.ly/3O8zhOt

ชวนผู้ปกครองและเยาวรุ่น ชมภาพยนตร์และฟังเสวนา 🎬💬🏳️‍🌈จากผู้เปี่ยมประสบการณ์การเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศในครอบครัว สังคม...
21/06/2022

ชวนผู้ปกครองและเยาวรุ่น ชมภาพยนตร์และฟังเสวนา 🎬💬🏳️‍🌈
จากผู้เปี่ยมประสบการณ์การเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศในครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมแบบไทย ๆ
พูดคุยเกี่ยวกับการเติบโตในฐานะเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ การเลี้ยงดูในกรอบสองเพศ ความยากลำบากที่ต้องเผชิญ ความรุนแรงต่อเยาวชนเพศหลากหลายที่สังคมทำให้เป็นเรื่องปกติ และในฐานะผู้ที่ถูกกดทับและต้องเก็บเสียงของตัวเองมาเนิ่นนาน พวกเขาอยากได้ยินและเห็นอะไรจากครอบครัว
แล้วจะดีแค่ไหน ถ้าครอบครัวโอบรับเราอย่างที่เราเป็นจริง ๆ
14.00 - 15.30 น. ชมภาพยนตร์เรื่อง Coming to you (너에게 가는길)
สารคดีเกาหลีใต้ เรื่องของแม่ที่รู้สึกว่าโลกพลิกผันเมื่อลูกสาวเปิดใจว่าอยากเป็นผู้ชาย และแม่อีกคนหนึ่งที่เคยเสียน้ำตาเมื่อลูกชายคนเดียวยอมรับว่าเป็นเกย์ ท่ามกลางสังคมที่ยังไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศ แม่ทั้งสองจะทำอย่างไรกับความผิดหวังจากความคาดหวังของตัวเอง และความเจ็บปวดทุกข์ใจของผู้เป็นลูก?
15.30 - 17.00 น. เสวนาหลังจบภาพยนต์ “(ยัง)ไม่ต้องเข้าใจ แต่ต้องรับฟัง” เปิดใจเยาวรุ่นเพศหลากหลายถึงครอบครัว อภิปราย โดยเยาวชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ 'พลอยมีมี่ - คู่หูข้าวจี่' และ 'พีร์ Perry’s Journey'
บัตรราคา 150 บาท
🗓 วันที่ 25 มิถุนายน 2565
⏰ เวลา 14.00 - 17.00
📍 doc club & pub. (https://goo.gl/maps/2LyYiZAxZTe5Wnpv6)
ซื้อบัตรได้ที่ https://ticket.docclubandpub.com/movie/109

20/06/2022

🥺🥺🥺🥺🥺

20/06/2022

จบกันไปแล้ว สำหรับวันสุดท้ายของงาน Bangkok Pride 2022: RAINBOWTOPIA งานไพรด์ครั้งแรกของ SPECTRUM 🏳️‍🌈✨ ที่จัดขึ้นในเดือนของเรา LGBT+ เพื่อเฉลิม ฉลอง เรียกร้อง และวาดฝันถึงโลกอันเท่าเทียมหลากหลายในอุดมคติของทุกคน
เพื่อการพัฒนาต่อยอดงานในปีหน้าๆ ให้ดียิ่งขึ้น ฝากทุกคนที่ได้มางาน ช่วยทำแบบตอบรับฟีทแบค ข้อเสนอแนะให้พวกเราหน่อยนะ สั้น ๆ ใช้เวลาแค่แป๊ปเดียว ไม่กี่นาทีเท่านั้นน🥺: https://bit.ly/3n2bggc
ขอบคุณทุกๆ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งผู้ร่วมทำงาน และผู้ที่เข้าร่วมงานที่ทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วงมาได้ และต้องขอภัยหากมีข้อผิดพลาดตรงไหน ตอนนี้ทางทีมผู้จัดขอพักร่างสักแป๊ปป แล้วจะรีบกลับมาสรุป อัพเดท ประมวลภาพกิจกรรมให้ได้ดูกันอีกทีแบบจุก แบบสับ รว้ากทุกคน 🫶
ปล. จริงๆ แล้วกิจกรรมไพรด์ของเรา ยังไม่จบแค่นี้นะ! แต่เรายังมีกิจกรรมพิเศษจัดที่ Doc Club & Pub ในวันเสาร์นี้ด้วยนะ รอติดตามได้เลย 🎬🌈

รีวิวความรู้สึกจากผู้เข้าร่วมงาน  ‘Bangkok Pride 2022 Rainbowtopiaมาชมรีวิวประสบการณ์เข้าร่วมงานเทศกาลไพรด์อีเวนต์ ‘Bang...
19/06/2022

รีวิวความรู้สึกจากผู้เข้าร่วมงาน ‘Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia
มาชมรีวิวประสบการณ์เข้าร่วมงานเทศกาลไพรด์อีเวนต์ ‘Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia’ ของผู้เข้าร่วมงานกันว่าพวกเขารู้สึกยังไงกันบ้าง และเมื่อพูดถึงโลกที่เท่าเทียม สังคมที่เปิดรับหลากหลายแล้วพวกเขาคิดยังไงกันบ้างว่าโลกเหล่านี้กันบ้างจากการร่วมจอยในอีเวนต์นี้

19/06/2022

สวัสดีทุกคนที่รับชมผ่าน Facebook Live และ Youtube Chanel

🔹️งานนี้ถูกจัดขึ้นมาโดย SPECTRUM สื่อที่ทำงานเรื่องเพศมากว่า 3 ปี
“เพื่อเฉลิมฉลอง เรียกร้อง และวาดฝันถึงโลกที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม”
โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 17-19 มิถุนายนนี้ ที่จัดขึ้นที่ BACC และสยามสแควร์ Block I



19/06/2022

สวัสดีทุกคน ที่รับชมผ่าน Facebook Live

ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่งาน Bangkok pride วันนี้จะพาทุกท่านมาเยี่ยมชมบรรยากาศของโซนกิจกรรมต่างๆภายในงาน

🔹️งานนี้ถูกจัดขึ้นมาโดย SPECTRUM สื่อที่ทำงานเรื่องเพศมากว่า 3 ปี
“เพื่อเฉลิมฉลอง เรียกร้อง และวาดฝันถึงโลกที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม”
โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 17-19 มิถุนายนนี้ ที่จัดขึ้นที่ BACC และสยามสแควร์ Block I



ประมวลภาพบรรยากาศ Rainbowtopia วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2022 🏳️‍🌈✨เดินทางมาถึงครึ่งทางของเทศกาลไพรด์อีเวนต์แบบเต็มรูปแบบโ...
19/06/2022

ประมวลภาพบรรยากาศ Rainbowtopia
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2022 🏳️‍🌈✨
เดินทางมาถึงครึ่งทางของเทศกาลไพรด์อีเวนต์แบบเต็มรูปแบบโดย SPECTRUM กันแล้ว ในงานวันนี้สองนี้ นับว่าแน่นขนัดกว่าเมื่อวานไปอีก ต้องขอบคุณทุกคนที่มาร่วมรวมตัวส่งพลัง ส่งเสียง และแสดงตัวตนของพวกเราออกมาในเดือนแห่ง LGBT+ และร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยในงานให้แก่กัน
กิจกรรมของเมื่อวานยังคงคล้ายกับวันแรก คือมีทั้งบูธงานศิลปะ จากศิลปิน LGBT+ และ allies ไพรด์คอนเสิร์ต บูธหนังสือเควียร์ทำมือ บูธปรึกษาสุขภาวะทางเพศ ฯลฯ แต่กิจกรรมที่แตกต่างไปก็เช่น เสวนาประเด็นใหม่สุดเต็มอิ่ม ที่ทุกคนสามารถดูย้อนหลังได้ทางเพจงาน และเวิร์คช็อป SOGIES เรียนรู้เรื่องเพศ จัดโดย q***r riot โดยเราได้เก็บภาพทั้งหมดมาให้ดูกันแล้ว
สำหรับใครที่ยังไม่ได้มางานก็ยังไม่สายนะ ยังมีวันนี้มีอีกวัน! ซึ่งเป็นวานสุดท้ายของงานแล้ว บอกเลยว่าจัดเต็มเช่นเคยตั้งแต่ 10.00 - 21.45 น. เพิ่มเติมคือมีภาพยนต์ LGBT+ ให้ดูฟรีทั้งวัน! ตบท้ายด้วย บิ๊กเซอร์ไพรส์ตอน 16.00 แบบปัง ๆ (โปรดรอติดตาม!) แล้วเจอกันเช่นเคยที่ BACC และสยามสแควร์ block I
หวังว่าผู้ที่มางานทุกคนจะได้พบกับความสนุก สาระ คุยกันเพิ่มเติมได้ในโพสต์นี้หรือใช้ ได้เลย หรือติดตามข้อมูลหรือสอบถามเรื่องกิจกรรมที่สนใจได้ทางเพจ Bangkok Pride: Rainbowtopia หรือ สำหรับทวิตเตอร์และอินสตาแกรม

Pride Talk Session: "กฏหมายแรงงานเหยียดเพศสังเกตได้""77 % ของคนข้ามเพศถูกปฏิเสธงานเหตุเพราะอัตลักษณ์ทางเพศ""1 ใน 5 ของกล...
19/06/2022

Pride Talk Session: "กฏหมายแรงงานเหยียดเพศสังเกตได้"
"77 % ของคนข้ามเพศถูกปฏิเสธงานเหตุเพราะอัตลักษณ์ทางเพศ"
"1 ใน 5 ของกลุ่มเกย์ถูกมองข้ามเมื่อถูกพิจารณาให้เลื่อนขั้นเพราะอัตลักษณ์ทางเพศ"
"LGBT+ มีโอกาสถูกเลือกปฏิบัติ 46% มากกว่าคนที่ไม่ใช่ LGBT+ ในโลกการทำงาน"
นี่คือข้อมูลจากงานวิจัย "การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่ม LGBT+ ในประเทศไทย" โดยธนาคารโลกปี 2017 ที่สำรวจ LGBT+ 2,302 และกลุ่มคนไม่ใช่ LGBT+ 1,200 คนรวมทั้งหมดเป็น 3,502 คน ผลจากการเก็บข้อมูลในงานวิจัยนี้กำลังบอกว่าในตลาดแรงงานไทยนั้นมีการเลือกปฏิบัติและกีดกันทางเพศอย่างรุนแรง ส่งผลให้หลายคนต้องเผชิญกับประสบกับปัญหาทางอารมณ์ ความวิตกกังวล และโรคซึมเศร้า
แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายคุ้มครองเรื่องการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มหลากหลายทางเพศ หรือ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 อยู่ ทว่าสังคมก็ยังตระหนักรู้ถึงกฎหมายนี้น้อย ในแบบสอบถามจากงานวิจัยนี้ได้แสดงข้อมูลว่า LGBT+ มากกว่าครึ่ง (51%) ที่รู้จักกฎหมายนี้ ในขณะที่ผู้ที่ไม่ใช่ LGBT+ จำนวนกว่า 69% นั้นไม่รับรู้เลยว่ามีกฎหมายนี้อยู่
กระทั่งตัวกฎหมายแรงงานเฉพาะอย่าง ก็ยังมีการกีดกันและเลือกปฏิบัติอยู่ในตัวกำหนดกฎหมายเองด้วย เช่น การที่แรงงานที่มีเพศกำหนดหญิง ไม่สามารถขึ้นนั่งร้านสูงเกิน 10 ชั้นได้ และไม่สามารถทำงานขนส่งวัตถุหรือระเบิดไวไฟได้เหมือนแรงงานชาย ซึ่งเป็นการตัดโอกาสในการทำงาน และผลักให้พวกเขาต้องอยู่ตกอยู่ในสภาวะที่ถูกกดทับซ้ำซ้อนทางรายได้ยิ่งขึ้นไปอีก
เมื่อตลาดแรงงานไม่สนใจในการคุ้มครองผู้มีเพศหลากหลาย หรือแม้กระทั่งผู้มีเพศกำหนดหญิง ไม่มีการพัฒนาร่าง นโยบาย กฎหมายครอบคลุม มากพอที่จะยุติปัญหาความหลื่อมล้ำทางเพศในเมืองไทยจึงส่งผลให้แรงงานหลายคนยังประสบกับปัญหาการเหยียดเพศจากระบบและจากปัจเจกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขในเชิงโครงสร้างโดยด่วนทั้งจากภาครัฐ ทุก ๆ สถาบันและองค์กรในสังคมไทย เพื่อที่คนทุกเพศจะได้ใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม
กฎหมายแรงงานเหยียดเพศที่เหยียดเพศเป็นยังไงบ้าง?
ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อความเท่าเทียม?
โลกการทำงานแบบไหนที่เท่าเทียมสำหรับคนทุกเพศ?
ร่วมรับฟังการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและรับฟังเสวนากันได้ในทอล์ค "กฏหมายแรงงานเหยียดเพศสังเกตได้" โดย ‘ชานันท์ ยอดหงษ์’ นักวิชาการและนักการเมืองนโยบายความหลากหลายทางเพศ ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย, ‘วรรณวิภา ไม้สน’ ตัวแทนจากพรรคก้าวไกล, ‘ทวีชัย วงศ์ไพโรจน์กุล’ ตัวแทนพรรคไทยสร้างไทย และ ‘ธนพร วิจันทร์’ กรรมการกลุ่ม We Fair
อ้างอิง
Thaipublica: https://bit.ly/3GPy77K

Pride Talk Session: สอนเรื่องเพศให้ลูกอย่างไร เมื่อยุคพ่อแม่ไม่เคยมีใครสอนเมื่อปี 2018 โรงเรียนแห่งหนึ่งได้มีการจัดบรรยา...
19/06/2022

Pride Talk Session: สอนเรื่องเพศให้ลูกอย่างไร เมื่อยุคพ่อแม่ไม่เคยมีใครสอน
เมื่อปี 2018 โรงเรียนแห่งหนึ่งได้มีการจัดบรรยาย หัวข้อ "เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้เบี่ยงเบน" หลังจากที่มีโปสเตอร์หัวข้อการบรรยายครั้งนี้ออกมาทางสังคมได้ร่วมกันออกความเห็นว่า ความคิดเรื่องว่าการเบี่ยงเบนทางเพศเป็นเรื่องผิดปกตินั้นไม่ใช่ความจริง และ การเลี้ยงลูกให้มีเพศอย่างที่ครอบครัวต้องการก็ไม่ใช่สิ่งที่ครอบครัวควรคำนึกถึงแต่ครอบครัวควรคำนึกถึงการอยู่ร่วมกับลูกที่มีความหลากหลายทางเพศ สอนเรื่องเพศให้แก่ลูกอย่างไรให้ลูกมีความสุขมิใช่สอนให้ลูกอยู่ในความหวาดกลัวเรื่องเพศ
หากสถาบันครอบครัวที่เป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลชีวิตเด็ก ๆ จนกว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถดูแลตัวเองได้นั้นปฏิเสธ หวาดกลัว ปิดกั้น ใช้คำพูดรุนแรงหรือใช้กำลังรุนแรงกับลูกที่มีความหลากหลายทางเพศ เด็ก ๆ เหล่านั้นต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความหวาดกลัว มีปัญหาซึมเศร้า หรืออาจร้ายแรงไปจนถึงคิดฆ่าตัวตาย และยังไม่นับรวมไปถึงเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีผู้ปกครองเป็นเพศหลากหลายที่ต้องเผชิญกับการตีตราที่ตกถอดและฝังรากลึกอยู่
ผู้ปกครองจะทำยังไงให้ครอบครัว
เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กทุกเพศ?
ครอบครัวจะสอนเรื่องเพศและอยู่ร่วมกับลูก ๆ
ที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างไรได้บ้าง?
ครอบครัวที่มีผู้ปกครองเป็นเพศหลากหลาย
ต้องเผชิญกับการตีตราและปัญหาอะไรบ้าง?
ร่วมรับฟังเสวนานี้ได้ใน Talk Session: “สอนเรื่องเพศให้ลูกอย่างไร เมื่อยุคพ่อแม่ไม่เคยมีใครสอน” โดย ‘มัจฉา พรอินทร์’ คุณแม่นักกิจกรรมหญิงรักหญิง ผู้ที่หวังจะสร้างพื้นที่สำหรับเยาวชนในครอบครัวที่เป็น LGBTQ+ และลูกสาว ‘ศิริวรรณ พรอินทร์’ นักขับเคลื่อนรุ่นเยาวชน ‘อ๋อม สกาวใจ’ นักแสดง พิธีกรและคุณแม่ที่อยากเลี้ยงลูกให้เติบโตมาในครอบครัวที่มีความสุข
อ้างอิง
MRGOnline: https://bit.ly/3tax4cY

วันสุดท้ายก็จะไม่ยอมแผ่ววว ปักหมุดใจกลางกรุง กับรันเวย์สีรุ้ง S*x Worker Fashion Show ที่จะสาดความภาคภูมิใจให้ท่วมสยามสแ...
19/06/2022

วันสุดท้ายก็จะไม่ยอมแผ่ววว ปักหมุดใจกลางกรุง กับรันเวย์สีรุ้ง S*x Worker Fashion Show ที่จะสาดความภาคภูมิใจให้ท่วมสยามสแควร์ จากพนักงานบริการและผู้ที่สนับสนุนสิทธิพนักงานบริการ

SirisakPosh ChaitedSpice X Bangkok Pride: Rainbowtopia

🗓 วันนี้ (19 มิถุนายน 2565)
⏰ เวลา 16.00 น.
📍 ลาน Block I สยามสแควร์ (https://goo.gl/maps/Mz9HzWusY6RxKdzZ7)

*xWorkPride *xWorkerPride

18/06/2022

เจอกันวันพรุ่งนี้ วันสุดท้ายแล้ววว 🏳️‍🌈✨

ผู้ลงทะเบียน หรือยังไม่ได้ลงทะเบียนแต่เล็งไว้ว่าพรุ่งนี้จะมาดูหนัง ขอให้เตรียมอุปกรณ์การนั่ง เบาะ หมอน ผ้าห่ม แล้วมาถึงห...
18/06/2022



ผู้ลงทะเบียน หรือยังไม่ได้ลงทะเบียนแต่เล็งไว้ว่าพรุ่งนี้จะมาดูหนัง ขอให้เตรียมอุปกรณ์การนั่ง เบาะ หมอน ผ้าห่ม แล้วมาถึงห้องเอนกประสงค์ชั้น 1 bacc ให้ตรงเวลา เพราะพื้นที่มีจำกัด และมีผู้ลงทะเบียนแสดงความสนใจเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ห้องรองรับได้แค่ 50 ท่านเท่านั้น

หนังจะเริ่มฉายตั้งแต่ 10.00 น. 🏳️‍🌈
แล้วพบกันพรุ่งนี้ที่

🎥 ชวนชมฟรีภาพยนตร์เควียร์ 🏳️‍🌈
ในงาน Bangkok Pride: Rainbowtopia ✨
Rainbowtopia ร่วมกับทาง Documentary Club คัดสรรภาพยนตร์ LGBT+ ทั้งสั้นและยาวทั้งจากต่างประเทศและผลงานคนไทย มาให้ได้ชมกันถึง 8 เรื่องด้วยกัน หลากหลายแนวตั้งแต่โรแมนซ์ ดราม่า การเมือง ครอบครัว ฯลฯ ให้เลือกชม ซึมซาบเรื่องราวของชีวิตที่หลากหลาย ไปจนถึงปัญหาที่ถูกซุกซ่อนไว้ใต้พรม ซึ่งผู้มีเพศหลากหลายกลับต้องพบเจอในทุกเมื่อเชื่อวัน บอกเลยว่าหลาย ๆ เรื่องนั้นหาดูยากมาก และบางเรื่องก็ยังไม่เคยฉายให้ดูที่ไหนมาก่อนอีกด้วย
ลงทะเบียนชมภาพยนตร์ได้ที่ https://bit.ly/3xmq92W

(สามารถ Walk-in วันงานได้ แต่แนะนำให้ลงทะเบียนมาก่อนเพื่อความสะดวก)
วันที่อาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565
เวลา 10.00 - 16.15 น.
📍ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 BACC
ตางรางภาพยนตร์
Tangerine, 2015 (ผู้กำกับ - Sean Baker)
10.00 - 11.30 น.
เรื่องราวการผจญภัยสุดจัดจ้านตลอดหนึ่งวันเต็มผ่านภาพที่ถ่ายด้วย iPhone 5s ของ ซินดี (กีตานา กีกี รอดริเกซ) สาวข้ามเพศคนหนึ่งผู้ซึ่งพ้­นการจำคุก 28 วัน ได้ไปพบเพื่อนของเธอ อเล็กซานดร้า (มายา เทย์เลอร์) ที่ร้านโดนัทในฮอลลีวูด เมื่อวันคริสมาสอีฟ อเล็กซานดร้า พยายามจะแสดงให้ ซินดี เห็นว่าแฟนหนุ่มของเธอกำลังนอกใจ งานนี้จะวุ่นวายไปมากขนาดไหน!!
ดูตัวอย่าง: https://bit.ly/38Rt1eK
In the name of love ในนามของความรัก, 2021 (ผู้กำกับ - ธนวินท์ พัฒนา)
11.30 - 12.00 น.
เด็กสาวสองคนย้ายมาอยู่ด้วยกัน เจ้าของบ้านเป็นนักเคลื่อนไหว และผู้ย้ายเข้ามาคือเด็กสาวรุ่นน้อง ทั้งคู่วางแผนจะอยู่ด้วยกัน จนวันหนึ่งคนรักของเธอหายไปอาจเพราะถูกบังคับสูญหาย เธอพยายามมีชีวิตต่อ จนแม่ของคนรักมาเอาบ้านคืน
อนินทรีย์แดง, 2020 (ผู้กำกับ - รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค)
12.00 - 12.30 น.
อังค์ หญิงข้ามเพศที่มีอาชีพขายบริการ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจพิเศษในฐานะสายลับนอกเครื่องแบบ เธอต้องปลอมตัวแต่เป็นผู้ชายโดยใช้ชื่อ อิน เพื่อเข้าไปล้วงความลับทางการเมืองจาก จิตร หนุ่มนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวผู้ถูกรัฐบาลเพ่งเล็ง (เรื่องย่อจาก Time out)
ดูตัวอย่าง: https://bit.ly/3xcOdny
ภาพติดตา, 2015 (ผู้กำกับ - พัฒนะ จิระวงศ์)
12.30 - 13.00 น.
เรื่องราวของพร้อม ชายสูงอายุที่มาทวงสัญญาที่ถนอม เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยได้เคยให้ไว้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว พร้อมกำลังจะตาย 'ถนอม' คือความรักที่เขาไม่อาจครอบครอง ตอนนี้ถนอมไปขุดหาไดโนเสาร์อยู่ในชนบท มาสิเขาจะพาพร้อมไปเที่ยว ทั้งคู่จึงใช้จ่ายเวลากันค่ำคืนหนึ่งใต้แสงดาว กลาเป็นสิ่งซึ่งติดตัวคนทั้งคู่ไปตลอดการ
เด็กสาวสองคนในสนามแบดมินตัน, 2012 (ผู้กำกับ - จิรัศยา วงษ์สุทิน)
15.00 - 15.15 น.
เด็กสาวสองคนกลับจากโรงเรียน พวกเธอลงไปสนามแบต แล้วเริ่มเล่นกัน คนหนึ่งเก่งกว่า อีกคนเพิ่งหัดใหม่ เธอสัญญาว่าจะหัดให้เพื่อนจนกว่าจะเก่ง แต่นี่อาจจะเป็นการเล่นด้วยกันครั้งท้ายๆ ของพวกเธอ
The Queens of Chern ssap, 2022 (ผู้กำกับ - ญาณิน ผลพยุง)
15.15 - 15.30 น.
สารคดีเกี่ยวกับแดร็กควีนชาวไทยกลุ่มนึงที่ทำงานในร้านอาหารอีสานชื่อครัวเชิญแซ่บ สารคดีนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อโอบรับ เฉลิมฉลอง และส่งเสริมชุมชนแดร็กโดยให้กลุ่มแดร็กควีนไทยที่ทำงานในร้านส้มตำย่านสีลมได้มีโอกาสแสดงตนและบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาต่อสังคมไทย นอกจากนี้เพื่อให้ผู้คนได้รู้ข้อเท็จจริง และเรื่องราวที่ไม่รู้จักเกี่ยวกับแดร็กควีนของไทยซึ่งหวังว่าจะสามารถขยายวิสัยทัศน์และเปิดโอกาสให้แดร็กไทยมีบทบาทในสังคมมากขึ้น
.
Concrete Wall, 2020 (ผู้กำกับ - เพชรรัตน์ กลิ่นเทศ)
15.30 - 15.45 น.
‘หมิง’ เด็กต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ โดยอาศัยอยู่ในห้องเช่ากับน้าที่ทํางานกะกลางคืน การเข้ามาในเมืองในช่วงวัยที่กําลังค้นหาตัวตนของตัวเองนั้นทําให้เขาโดดเดี่ยว ไร้ที่พึ่งทางจิตใจ และยังไม่ชินกับการใช้ชีวิตในเมือง เขาได้พบกับ ‘เอก’ คนที่เจอจากแอพหาคู่ที่เข้ามาช่วยทําให้หมิงค่อยๆ ซึมซับความเป็นคนเมือง
i'm glaad, 2022 (ผู้กำกับ - ปานไพลิน อายุบวร)
15.45 - 16.15 น.
การต้องกดเก็บความเป็นตัวเอง ครอบครัวที่ตึงเครียด ชีวิตที่ต้องพิสูจน์ตัวอยู่เสมอ นี่หรอชีวิตเดียวที่ 'พระพาย' เกิดมา แล้วถ้ามีโอกาสไปอยู่ในโลกคู่ขนานที่ทุกคนเท่าเทียมกันจริง ๆ ล่ะ ชีวิตของเราจะเป็นยังไง?
แล้วเจอกันที่ในงาน Bangkok Pride: Rainbowtopia ณ Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร วันที่ 17-19 มิถุนายนนี้ กดติดตามเพจ สำหรับอัปเดตและข้อมูลเพิ่มเติม

Pride Talk Session: กฏหมายไทย ทําไมไปได้ไกลแค่พรบ.คู่ชีวิต? และ LGBT+ ต้องได้สิทธิอะไรอีกประเทศไทยเป็นประเทศอันดับ 60 ที...
18/06/2022

Pride Talk Session: กฏหมายไทย ทําไมไปได้ไกลแค่พรบ.คู่ชีวิต?
และ LGBT+ ต้องได้สิทธิอะไรอีก
ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับ 60 ที่ได้รับคะแนน C- จากการจัดอันดับประเทศที่ปลอดภัยสำหรับการท่องเที่ยว LGBT+ ในปี 2022 โดย 'Asher & Lyric Fergusson' โดยการจัดอันดับนี้มีเกณฑ์พิจารณาคะแนนจากการที่ประเทศนั้น ๆ มีกฎหมายสิทธิสมรสเท่าเทียม พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศหรือไม่ อัตราอาชญกรรมความรุนแรงทางเพศเป็นอย่างไร มีกฎหมายการรับบุตรบุญธรรมไหม มีกฎหมายต่อต้านความสัมพันธ์เพศเดียวกันหรือไม่ ประเทศรับรองกฎหมายอัตลักษณ์ของคนข้ามเพศหรือยัง
ข้อมูลในการจัดอันดับนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยที่ ‘เคลม’ ว่าเป็นประเทศที่เปิดกว้าง ประเทศ ‘สรวงสวรรค์’ ของ LGBT+ ประเทศที่ซีรี่ส์วายเฟื่องฟู ที่หลายคนอาจมองว่น่าอยู่สำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้น แท้จริงแล้วในเชิงโครงสร้างและกฎหมายนั้นยังปิดกั้นและมีอคติทางเรื่องเพศอยู่มาก ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น พรบ.สมรสเท่าเทียม ที่เพิ่งถูกเลื่อนการพิจารณาออกไปอีกเป็นเมื่อสองวันที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเลื่อนครั้งครั้งที่เท่าไรก็สุดที่จะจำ
กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องเพศที่ประเทศไทยในตอนนี้ที่มีก็คือ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558
แต่กฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายอนุมัติให้คู่รักเพศเดียวกันรับบุตรบุญธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ สิทธิ สวัสดิการทางเพศอื่นๆ นั้นแถบไม่ปรากฎให้เห็นเลย
เมื่อไหร่กันที่ LGBT+ จะได้รับกฎหมายที่มองเห็นชีวิตของพวกเขา?
กฎหมายไทยต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อที่จะโอบรับความเท่าเทียมทางเพศ?
ความเท่าเทียมแก่ชีวิต LGBT+ นอกจากสมรสเท่าเทียมยังมีอะไรอีกบ้าง?
ร่วมเสวนาและรับฟังเสียงของความหลากหลายได้ในทอล์ค "Talk Session: กฏหมายไทย ทําไมไปได้ไกลแค่พรบ.คู่ชีวิต LGBT+ Community ต้องการอะไรอีก?" โดย 'คิว คณาสิต พ่วงอําไพ' นักกิจกรรมกลุ่มนอน-ไบนารีไทยแลนด์ และ ‘แตงโม บุณยนุช มัทธุจักร’ (iLaw)
อ้างอิง
AsherFergusson: https://bit.ly/3tf2XRC

Pride Talk Session: ร่างจำแลงความรุนแรงทางเพศในไทย“ในประเทศไทยมีผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศไม่น้อยกว่า 7 คนในหนึ่...
18/06/2022

Pride Talk Session: ร่างจำแลงความรุนแรงทางเพศในไทย
“ในประเทศไทยมีผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศไม่น้อยกว่า 7 คนในหนึ่งวันและมีเคสผู้หญิงที่กำลังเยียวยา ร้องทุกข์จากคดีความรุนแรงเหล่านี้กว่า 30,000 เคสต่อปี”
“นักเรียน LGBT+ 1 ใน 3 คนเคยมีประสบการณ์ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ”
“อัตราการถูกกระทำความรุนแรงทางเพศก็เพิ่มขึ้นทุกๆปีสำหรับทุกเพศ”
ถึงเวลาแล้วที่ความรุนแรงทางเพศในเมืองไทยต้องยุติลง ข้อมูลเหล่านี้กำลังบอกเราว่ายิ่งเวลาผ่านไปมากเท่าไรความรุนแรงทางเพศมากมายที่แฝงตัวอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิ่งแรกที่พวกเราทุกคนสามารถร่วมมือกันเพื่อยุติความรุนแรงทางเพศและป้องกันตัวเองจากมันได้คือเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความรุนแรงเหล่านี้มีลักษณะอย่างไร
ถ้าหากต้องเผชิญกับความรุนแรงทางเพศในกระบวนการยุติธรรมจะเตรียมตัวอย่างไร?
ความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศหน้าตาเป็นยังไง?
ต้นตอของความรุนแรงเหล่านี้เกิดจากอะไร?
ผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศจะเยียวยาบาดแผลทางใจได้อย่างไร?
รับฟังเสวนา Talk Session: ร่างจำแลงความรุนแรงทางเพศในไทย โดย ‘นาดา ไชยจิต’ ที่ปรึกษางานรณรงค์มูลนิธิมานุษยะ และนักสิทธิมนุษยชนเพื่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อคน Intersex และ LGBT+ ที่มีประสบการณ์ต่อสู้เพื่อยุติความรุนแรงทางเพศในเมืองไทยมาอย่างยาวนาน และ ‘กฤตนัน ดิษฐบรรจง’ อดีต S*x Worker ผู้ออกมาต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางเพศ และปัจจุบันบรรณาธิการอำนวยการ MODERNIST
อ้างอิง
Thaihealth: https://bit.ly/3Gy3Eec
iLaw: https://bit.ly/3Na7TPU
WayMagazine: https://bit.ly/3NhnyNs

18/06/2022

🔹️งานนี้ถูกจัดขึ้นมาโดย SPECTRUM สื่อที่ทำงานเรื่องเพศมากว่า 3 ปี
“เพื่อเฉลิมฉลอง เรียกร้อง และวาดฝันถึงโลกที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม”
โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 17-19 มิถุนายนนี้ ที่จัดขึ้นที่ BACC และสยามสแควร์ Block I

*****ฝากทุกคนกดไลค์กด Share เพื่อจะเป็นประโยชน์กับทุกๆคนและทุกๆเพศ / หรือสามารถรับชมย้อนหลังได้ทั้ง 2 ช่อง
(โดยประกอบด้วยสปีกเกอร์หลากหลายอาชีพ คนดัง ศิลปินดารา บล๊อกเกอร์)
••••••••••••••••••••••••••••••••••
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของอีกหลายกิจกรรมในงานทั้ง 6 โซน ไม่ว่าจะเป็น บูธลงชื่อผลักดันสมรสเท่าเทียมฉบับประชาชน งานศิลปะจากศิลปินหลากหลายเพศ บูธปรึกษาสุขภาวทางเพศ นิทรรศกีขนาดย่อม คอนเสิร์ตโดย ศิลปิน LGBT+ & Allies(อไล) และอื่นๆ อีกมากมาย
•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

Take Session จะมีทอล์คทั้งหมด 9 หัวข้อด้วยกัน ที่ว่าด้วยเรื่องเพศ และความเสมอภาคเท่าเทียม โดยสปีกเกอร์หลากหลาย

****โดยทุก Session จะมีล่าภาษามือ****

18/06/2022
ประมวลภาพบรรยากาศ Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia วันแรก วันที่ 17 มิถุนายน 2022 🏳️‍🌈✨ เทศกาลไพรด์อีเวนต์แบบจัดเต็มวันแร...
18/06/2022

ประมวลภาพบรรยากาศ Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia
วันแรก วันที่ 17 มิถุนายน 2022 🏳️‍🌈✨
เทศกาลไพรด์อีเวนต์แบบจัดเต็มวันแรกที่ BACC การเฉลิมฉลอง กิจกรรม เสวนา และความสนุกสนาน คอนเสิร์ต ทั้งหมด สามารถรับชมได้ในอัลบั้มนี้เลย และที่ขาดไม่ได้ ต้องขอบคุณผู้เข้าร่วม ผู้สนับสนุน ทุกบูธ ทุกกิจกรรม ที่มีส่วนร่วมในงานไพรด์วันแรกของเรา 💖
เพื่อน ๆ ที่มาร่วมงานมีความประทับใจแรกอะไรในงานกันบ้าง ชอบกิจกรรมไหน สามารถมาคอมเมนท์แลกเปลี่ยนกันได้ในโพสต์นี้หรือใช้ ได้เลย
ถ้ามาวันแรกไม่ทัน ก็ยังไม่สายนะเพราะเทศกาลของเรายังมีจัดเต็มทั้งอีกวันที่ 18-19 มิถุนายนนี้ หรือถ้าใครติดใจแล้วอยากจะมาซ้ำก็ได้เสมอ แล้วพบกันที่ BACC และลาน Block I สยามสแควร์

ชวนเวิร์กช็อปทำผ้าอนามัยใช้เอง 🧵🪡ดีต่อจัย ดีต่ออวัยวะภายใน (ที่บอบบาง) และดีต่อโลก📍 ชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหาน...
18/06/2022

ชวนเวิร์กช็อปทำผ้าอนามัยใช้เอง 🧵🪡
ดีต่อจัย ดีต่ออวัยวะภายใน (ที่บอบบาง) และดีต่อโลก

📍 ชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (bacc)

เปิดไฮไลต์โซนชั้น L เดินลงบันไดไปนิดเดียวก็เจอแล้ว บูธที่พร้อมต้อนรับทุกคนให้มาเรียนรู้และทำความเข้าใจประเด็นประจำเดือนกับผู้มีประจำเดือนที่ละเอียดอ่อนแต่ไม่ยากและซับซ้อนเกินความเข้าใจ กับ ‘Sunnycotton’ แบรนด์ผ้าอนามัยซักได้ที่ขนผ้าอนามัยหลากสีสัน ขนาดมาจำหน่าย และยังมาพร้อมกับเวิร์กช็อปเย็บผ้าอนามัยใช้เอง ที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้แบบจอยๆ พร้อมเปิดบทสนทนาเรื่องประจำเดือน เพื่อให้เรื่องเพศเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้และสบายใจสำหรับทุก ๆ คน

SunnyCotton - menstrual pad ผ้าอนามัยซักง่าย

🗓 17 - 19 มิถุนายนนี้
📍 ชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (bacc)
⏰ 10.00 - 19.00 น.


เนื่องจากศิลปินตรวจพบเชื้อโควิด-19 ทีมผู้จัดงาน Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia จึงขอประกาศยกเลิกโชว์มัดชิบาริ โดย Yada....
18/06/2022

เนื่องจากศิลปินตรวจพบเชื้อโควิด-19 ทีมผู้จัดงาน Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia จึงขอประกาศยกเลิกโชว์มัดชิบาริ โดย Yada.Kinbaku ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน เวลา 17.00 - 19.00 น. โดยจะมีการประกาศแจ้งไปยังอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้อีกครั้ง
ผู้ที่สนใจโชว์จากศิลปินมัดเชือก สามารถติดตามได้ที่ Yada.kinbaku เพื่อรับชมโชว์จากศิลปินในโอกาสหน้า ทีมผู้จัดงานและศิลปินขอแสดงความขอบคุณต่อทุกท่านที่สนใจการแสดงมา ณ ที่นี้

Pride Talk Session: ทำไมเราถึงต้องการ LGBT+ มากขึ้นในสื่อ‘LGBT+ สร้างสีสัน เป็นตัวตลก’‘LGBT+ อาภัพรักและไม่มีอนาคตที่มั่...
17/06/2022

Pride Talk Session: ทำไมเราถึงต้องการ LGBT+ มากขึ้นในสื่อ
‘LGBT+ สร้างสีสัน เป็นตัวตลก’
‘LGBT+ อาภัพรักและไม่มีอนาคตที่มั่นคง’
‘LGBT+ บ้ากาม’
คือส่วนหนึ่งภาพสะท้อนจากสื่อไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันบางส่วนที่ถ่ายทอดชีวิต LGBT+ ผ่านการผลิตซ้ำเนื้อหาที่มีอคติทางเพศและเหมารวมแบบผิด ๆ ซึ่งส่งผลให้สังคมมีทัศนคติที่บิดเบี้ยวต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ การล้อเลียนเหยียดเพศ และความรุนแรงในชีวิตจริง ซ้ำยังไม่มีภาพสะท้อนของเพศหลากหลายในเสปกตรัมอื่น ๆ ที่มากไปกว่า เกย์ กะเทย หรือ ทอม ทำให้ LGBT+ หลายคนคนต้องเผชิญกับความรู้สึกแปลกแยกอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่เคยมีตัวตนอยู่ในสื่อกระแสหลักของสังคม
เมื่อเสียงของ LGBT+ หลายเสียงถูกทำให้หายไป ถูกแปะป้ายให้พวกเขามีชีวิตตามกรอบบรรทัดฐานเพศชายหญิงและมายาคติทางเพศของเสตรท และถูกนำเสนอเรื่องราวใต้กรอบอคติทางเพศโดยสื่อไทย ก็ส่งผลสังคมเกิดการยอมรับ LGBT+ แบบ ‘มีเงื่อนไข’ บางอย่างด้วย ไม่ว่าจะเป็น “เป็นเกย์ต้องหน้าตาดีนะ ถ้าออกสาวก็ต้องเป็นแม่ ถ้าเป็นเลสเบี้ยนต้องทำตัวเหมือนผู้ชายเพราะชอบผู้หญิง เป็นกะเทยต้องตลก”
เราจึงอยากชวน ทุก ๆ คนมาร่วมส่งเสียงซัพพอร์ท แลกเปลี่ยนประสบกาณณ์และฟังทอล์ค Talk Session: “ทำไมเราถึงต้องการ LGBT+ มากขึ้นในสื่อ” ร่วมสนทนาโดย นุชชี่ อนุชา บุญยวรรธนะ ผู้กำกับภาพยนตร์และซีรี่ส์ LGBT+ อย่าง Not me the series และ อาจารย์ ดร.เชนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำภาควิชา สื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงาน Bangkok Pride Rainbowtopia ที่ BACC

Address


Telephone

+66870785577

Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Rainbowtopia by Spectrum posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to Rainbowtopia by Spectrum:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share