ข่าวประชาชาติ Prachachat News

  • Home
  • ข่าวประชาชาติ Prachachat News

ข่าวประชาชาติ Prachachat News Contact information, map and directions, contact form, opening hours, services, ratings, photos, videos and announcements from ข่าวประชาชาติ Prachachat News, Broadcasting & media production company, .

22/04/2023
21/04/2023
09/04/2023
09/04/2023

เลข 11 สำคัญอย่างไร?

11 พฤษภาคม วันเกิดท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา
11 เป็นบ้านเลขที่ของพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง
11 เป็นเบอร์ #พรรคประชาชาติ

09/04/2023
06/04/2023
05/04/2023
16/10/2022
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ  #พรรคประชาชาติ พร้อม ฝ่ายค้าน ยื่นป.ป.ช.เอาผิด  #ประยุทธ์  #จุรินทร์ ทุจริตต่อหน้าที่ ไม่ยั...
27/09/2022

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ #พรรคประชาชาติ พร้อม ฝ่ายค้าน ยื่นป.ป.ช.เอาผิด #ประยุทธ์ #จุรินทร์ ทุจริตต่อหน้าที่ ไม่ยับยั้งความเสียหายของรัฐ ขู่ยังมีหลักฐานเตรียมยื่นร้องอีกหลายสำนวน โดยเฉพาะประเด็น #กัญชาเสรี

🏵Facebook
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=402093252113180&id=100069375242527

🏵Twitter
https://twitter.com/partyprachachat/status/1574740056681504768?s=46&t=wQ3JJ-oHnrraUwVvR386Zg

🏵Instagram
https://www.instagram.com/p/CjAq_vSJ8FX/?igshid=NmNmNjAwNzg=

‘กูเฮง ยาวอหะซัน’ ส.ส.นราธิวาส ในฐานะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา จัดสัมมนาการท่องเที่ยววิถีชุมชนแบบมุสลิม
26/09/2022

‘กูเฮง ยาวอหะซัน’ ส.ส.นราธิวาส ในฐานะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา จัดสัมมนาการท่องเที่ยววิถีชุมชนแบบมุสลิม

25/09/2022

การแข่งขันฟุตบอล ปัตตานีเอฟซี VS นรายูไนเต็ด

25/09/2022

"ดาโต๊ะนิเดร์” ดุอาอ์ให้ “พ.ต.อ.ทวี” มีอำนาจบริหารประเทศ แก้ปัญหาภาคใต้ “ซือแม” ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สะพานกอตอ เมื่อปี 2518 เผยเลขาธิการพรรคประชาชาติจริงใจ ช่วยเหลือประชาชน

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคประชาชาติ ห่วงคนไทยพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ งานวิจัยเผยข้อมูลพบ...
19/09/2022

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคประชาชาติ ห่วงคนไทยพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ งานวิจัยเผยข้อมูลพบว่า ย้ายถิ่นฐานออกนอกพื้นที่แล้วจำนวนมาก

งานวิจัยสถานการณ์ชาวพุทธชายแดนใต้ พบมีการย้ายถิ่นฐานอย่างน่ากังวลจากผลกระทบเหตุรุนแรง “โต๊ะเด็ง สุไหงปาดี” เหลือแค่ 3 ครัวเรือน จากที่เคยมีถึง 14 ครัวเรือน หนำซ้ำมีแต่ผู้สูงอายุล้วนๆ บ้านละ 1-2 คนเท่านั้น หวั่นไม่รีบแก้ จะไม่เหลือคนพุทธในพื้นที่อีกเลย แนะรัฐเร่งฟื้นฟูเป็นวาระเร่งด่วน พร้อมจัดเวทีสร้างปฏิสัมพันธ์ชุมชนมุสลิมรอบข้าง อยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ ด้าน “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” ร่วมกับฟังปัญหา รับปากนำไปกำหนดนโยบายแก้ไข

🏵อ่านต่อ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=395634966092342&id=100069375242527
#พรรคประชาชาติ #ไทยพุทธ #ชายแดนใต้

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคประชาชาติ ห่วงคนไทยพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ งานวิจัยเผยข้อมูลพบว่า ย้ายถิ่นฐานออกนอกพื้นที่แล้วจำนวนมาก

งานวิจัยสถานการณ์ชาวพุทธชายแดนใต้ พบมีการย้ายถิ่นฐานอย่างน่ากังวลจากผลกระทบเหตุรุนแรง “โต๊ะเด็ง สุไหงปาดี” เหลือแค่ 3 ครัวเรือน จากที่เคยมีถึง 14 ครัวเรือน หนำซ้ำมีแต่ผู้สูงอายุล้วนๆ บ้านละ 1-2 คนเท่านั้น หวั่นไม่รีบแก้ จะไม่เหลือคนพุทธในพื้นที่อีกเลย แนะรัฐเร่งฟื้นฟูเป็นวาระเร่งด่วน พร้อมจัดเวทีสร้างปฏิสัมพันธ์ชุมชนมุสลิมรอบข้าง อยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ ด้าน “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” ร่วมกับฟังปัญหา รับปากนำไปกำหนดนโยบายแก้ไข

“อย่างที่โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส จากที่เคยมีคนพุทธ 14 ครัวเรือน ตอนนี้เหลือแค่ 3 แล้วใน 3 มันก็จะมีแค่ผู้สูงอายุอยู่หลังละคนสองคน ทำให้เห็นเลยว่า มันมีความถดถอยเยอะมาก และถ้าเราไม่ได้แก้ ต่อไปก็จะหมดสามจังหวัด อาจจะไม่มีคนพุทธเหลืออยู่แล้ว”

นี่คือสถานการณ์ที่น่ากังวลของชุมชนไทยพุทธในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องบอกว่า อยู่ในสภาพ “สะบักสะบอม” จากปัญหาความไม่สงบที่เกิดต่อเนื่องยาวนานเกือบ 2 ทศวรรษ โดยมีพี่น้องไทยพุทธตกเป็นเป้าหมายถูกคุกคาม ฆ่า ทำร้าย และถูกทำลายทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลนี้มาจากงานวิจัยของ ดร.สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “สถานการณ์ชาวพุทธ และมุมมองของชาวพุทธใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการพูดคุยสันติสุข”

เรื่องราวที่น่าวิตกปนเศร้านี้ ถูกเปิดเผยกลางวงสานเสวนาในโครงการฟื้นฟูชุมชนพุทธร้าง-ถดถอยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อเร็วๆ นี้ที่โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี โดยมี ดร.โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณาจารย์ ข้าราชการในพื้นที่ เข้าร่วมพูดคุยกับพี่น้องชาวพุทธ และมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ เข้าร่วมสังเกตการณ์และรับฟังปัญหา

ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า ในช่วงปี 2560-2564 มีประเด็นหลักๆ ที่ทำให้พี่น้องชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับผลกระทบ 3 ประเภท คือ

1. ผลกระทบทางกายภาพและทางจิตใจ ได้แก่ การตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางตรง ชาวพุทธเกิดความหวาดระแวงและกังวลในเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะความปลอดภัยในการเดินทางในพื้นที่

2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการหาเลี้ยงชีพ

3. ผลกระทบทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ไทย และความเป็นพุทธ คือความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้รูปแบบวิถีชีวิตพุทธดั้งเดิมนั้นเปลี่ยนแปลงไป

ในเวทีสานเสวนามีพี่น้องชาวพุทธจากหลากหลายภาคส่วนร่วมสะท้อนปัญหาทั้ง 3 ประเภทที่ตนเองต้องเผชิญ

ดร.สุภาสเมต กล่าวว่า พี่น้องชาวพุทธอยากเห็นชุมชนของพวกเขามีชีวิตชีวา หรือมีความเป็นปกติเหมือนก่อนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง พวกเขามองว่าเหตุการณ์ความรุนแรงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความถดถอย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประชากร สังคม วัฒนธรรมต่างๆ แล้วมันก็ถอยลงไปเรื่อยๆ ตอนที่เราไปคุย คือบางหมู่บ้านแทบจะเหลือแต่ผู้สูงอายุ

“อย่างที่โต๊ะเด็ง จากที่เคยมี 14 ครัวเรือน ตอนนี้เหลือแค่ 3 แล้วใน 3 มันก็จะมีแค่ผู้สูงอายุ อยู่หลังละคนสองคน ทำให้เห็นเลยว่า มันมีความถดถอยเยอะมาก และถ้าเราไม่ได้แก้ ต่อไปก็จะหมดสามจังหวัด อาจจะไม่มีคนพุทธเหลืออยู่แล้ว เลยเป็นความคาดหวังของพี่น้องพุทธที่อยากจะให้เราช่วยเป็นกระบอกเสียงด้วย”

สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นยาวนานเกือบ 2 ทศวรรษ ทำให้เด็กคนหนึ่งโตขึ้น จากวัยเรึยน สู่วัยทำงาน บางคนไปศึกษาต่อนอกพื้นที่ เมื่อเรียนจบก็อยากจะกลับบ้านเกิด แต่ปัญหาคือในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่มีอะไรให้ทำมากนั้น ดร.สุภาสเมต ค้นพบประเด็นปัญหาใน และสะท้อนเอาไว้ในงานวิจัยเช่นกัน

“อยากจะเล่าให้ฟังเลยว่าชุมชนเขาเจอปัญหาอะไร แล้วถ้าเราต้องการให้คนที่ไปทำงานนอกพื้นที่ หรือต้องการให้วัยรุ่นกลับเข้ามาอยู่ในพื้นที่ มันใช้การสร้างอาชีพแบบเดิมๆ ไม่ได้ มันต้องมีการคิดอะไรที่มันพลิกแพลงให้มันเกิดอาชีพที่ตอบโจทย์ เช่น เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร หรือว่าเป็นเรื่องท่องเที่ยว อันนี้ก็เป็นประเด็นที่เขาฝากมาว่าอยากจะเห็น”

“มันไปด้วยกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประชากร เรื่องของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พี่น้องชาวพุทธก็อยากจะให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเดิม หรือเรื่องงบประมาณต่างๆ ก็อยากจะให้จัดสรร เรื่องการฟื้นฟูชุมชนคนพุทธให้เป็นวาระเร่งด่วน เป็นวาระหลัก ไม่ใช่วาระรองๆ ที่รองบประมาณเหลือจากการจัดสรรงบประมาณประจำปี”


การฟื้นฟูชุมชนชาวพุทธ ย่อมต้องเชื่อมประสานกับชุมชนมลายูมุสลิมด้วย ดร.สุภาสเมต มองว่า ชุมชนพุทธที่สามารถเข้าไปฟื้นฟูแล้วก็อยู่ได้อย่างยั่งยืน ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนมุสลิมที่อยู่รอบข้าง โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้นำ ถ้าเกิดเขาเข้าใจพี่น้องพุทธ เข้าใจความต้องการ เขาจะเอื้อเฟื้อให้พี่น้องสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข แล้วก็เป็นปกติสุขมากกว่าชุมชนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องมุสลิม จึงเป็นที่มาว่าต่อไปก็คงจะต้องมีเวทีที่ให้พี่น้องพุทธและมุสลิมมาคุยกันเรื่องปัญหาเหล่านี้ว่าเขาจะช่วยกันแก้อย่างไร

“อีกเรื่องเป็นข้อห่วงใยของพี่น้องพุทธ คือการขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนพุทธกับเยาวชนมุสลิม ซึ่งเขาแยกกันเรียนไปแล้ว ถ้าเกิดว่าไม่มีกิจกรรมให้เขาทำร่วมกันเลย เขาก็จะกลายเป็นไม่รู้จักกัน พอไม่รู้จักกัน จะทำเข้าใจผิดกันง่าย ก็เลยอยากจะให้มีกิจกรรมที่ภาครัฐต้องกระตุ้น อาจจะเสริมไปในหลักสูตรการศึกษาเลยว่า ต้องมีการไปทำกิจกรรมร่วมกันแล้วได้เกรดได้อะไรพวกนี้มาเป็นวิชาเสริม จะได้ให้เขาทำกิจกรรม มีเพื่อนจริงๆ เขาจะห่วงใยกัน ถ้าปล่อยผ่านกันไปเรื่อยๆ ต่อไปก็จะยิ่งห่างกันไปอีก เป็นเรื่องน่ากังวล”

นักวิชาการเจ้าของงานวิจัยฯ กล่าวอีกว่า สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น เป็นสาเหตุหลักของปัญหา โดยเฉพาะช่วงปี 2548-2553 จะเป็นช่วงที่พีคมากๆ (ความร้ายแรงของสถานการณ์พุ่งถึงขีดสุด) พี่น้องพุทธตกเป็นเป้าความรุนแรงต่างๆ ทำให้เกิดการย้ายออกค่อนข้างเยอะ และช่วงนี้ถ้าเราต้องการให้พี่น้องกลับมา บางคนก็ขายที่ดินไปแล้ว หรือว่ามีความสะดวกสบายไปตั้งรกรากที่อื่นแล้ว ก็ยากที่จะกลับมา แต่จะทำอย่างไรให้คนที่ยังสามารถมีกำลังกลับมาได้ เขาเลือกที่จะตัดสินใจกลับมา ก็ต้องสร้างความปลอดภัยเป็นอันดับแรก

“มันเกิดขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่บ้านโต๊ะเด็ง ที่บอกเดิมมีอยู่ 14 ลังคาเรือน แล้วก็เหลือ 3 หลังคาเรือน และที่เราไปศึกษาล่าสุด 20 ชุมชน มี 19 ชุมชนเลยที่บอกว่ามันมาจากเหตุการณ์ความรุนแรง เพราะภายในช่วงปีนั้น บางทีครึ่งหนึ่ง ครึ่งหมู่บ้านออกไปแล้วก็ไม่กลับมาแล้ว ที่เหลืออยู่ก็ค่อยๆ ทยอยออกไป บางทีก็ไปเรียนในตัวจังหวัด แล้วก็ได้งานตรงนั้นโอกาสจะกลับมาค่อนข้างน้อย มันเกี่ยวข้องกันไปหมด ทั้งเรื่องของปากท้อง เรื่องของการตั้งถิ่นฐาน พอตรงนี้ไม่มีวัฒนธรรม สังคมก็ค่อยๆ ถดถอย คนก็ไปร่วมงานวัดอะไรก็น้อย ก็ค่อยๆ หายกันไปเรื่อยๆ”

ดร.สุภาสเมต ตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายด้วยว่า ความปลอดภัยในทัศนะของพี่น้องพุทธก็อาจจะไม่เหมือนกับพี่น้องมลายูมุสลิม เราก็เลยต้องการจะฟังว่า เขาต้องการให้สร้างความปลอดภัยอย่างไร เรื่องของการทางกายภาพ บางทีมีเสาไฟ มีซีซีทีวี (กล้องวงจรปิด) แต่มันใช้การไม่ได้ อยากให้ผู้ใหญ่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันตรวจสอบว่า มันมีใช้ได้ไหม หรือเรื่องของการจัดเวรยาม

“ช่วงนี้มีเหตุการณ์กับพี่น้องพุทธเยอะมาก ทั้งก่อนหน้านี้ คือตั้งแต่เดือน พ.ค.ก็มี และเดือน ส.ค.ที่ผ่านมาก็มี ก็เลยอยากจะให้มีการเฝ้าระวังชุมชนพุทธให้มากกว่าเดิม มีมาตรการมากกว่าเดิม และเรื่องของการนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี ก็เป็นสิ่งสำคัญที่พี่น้องพุทธอยากจะเห็นความยุติธรรม” นักวิชาการเจ้าของงานวิจัยสถานการณ์ชาวพุทธใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าว

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าวว่า ได้รับฟังปัญหาของพี่น้องในพื้นที่ ถือเป็นเวทีที่ดีที่อาจนำไปสู่การแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

#พรรคประชาชาติ #ไทยพุทธ #ชายแดนใต้

17/09/2022

‘ซูการ์โน’ ชง “จังหวัดจัดการตนเอง”เลือกตั้งผู้ว่าฯ-ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

ดูคลิปในเฟสบุ๊ค >> https://fb.watch/fAi_EA14La/

ผู้สื่อข่าวรายงานจากหอประชุมมูลนิธิมะทา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา สถาบันการเมืองประชาชาติ จัดการอบรมหลักสูตรการเมืองประชาชาติ ร...
16/09/2022

ผู้สื่อข่าวรายงานจากหอประชุมมูลนิธิมะทา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา สถาบันการเมืองประชาชาติ จัดการอบรมหลักสูตรการเมืองประชาชาติ รุ่นที่ 3 โดยมี นายวันมูหะมัตนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ, พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารพรรค และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ รวมทั้งสมาชิกพรรคประชาชาติ กว่า 400 คน จาก จังหวัดชายแดนใต้ เดินทางมาร่วมกิจกรรมตลอดทั้งวัน โดยมี นายมนตรี บุญจรัส รองโฆษกพรรคประชาชาติ ในฐานะที่ปรึกษากรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม และ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ ในหัวข้อ “ประชาชาติ กับอนาคตของเกษตรกร จังหวัดยะลา” ด้วย
นายมนตรี บุญจรัส กล่าวว่า ผมประทับใจเมืองยะลาที่อยู่ใต้สุดมีธรรมชาติที่งดงามหลากหลาย ไม่เพียงแต่คนในประเทศไทย แต่คนทั้งโลกอยากจะมาเยี่ยมชมที่นี่ เราก็มีสิ่งที่ดี ๆ ต้อนรับเขา ที่ผมจะมาช่วยพัฒนาเมืองยะลาของเรา ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมและอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ เมืองยะลา และจังหวัดภาคใต้ จะเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ ต่อด้วยวิถีท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ สินค้าและผลิตผลทางการเกษตรควรต้องได้รับการส่งเสริม ให้สามารถส่งออกไปตะวันออกกลาง หรือ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก จะได้เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้ครับ

#ประชาชนประชาชาติ

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when ข่าวประชาชาติ Prachachat News posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share