I body healthy รับปรึกษา ดูแลสุขภาพ ปรับโภชนาการ
ลดไขมัน

แนวคิดที่ทำให้กลับมาเห็นค่าในตัวเอง
04/09/2023

แนวคิดที่ทำให้กลับมาเห็นค่าในตัวเอง

🚩ไขมันในช่องท้อง ใช่ว่าจะดูดออกได้ ! วิธีลดพุงป่อง ๆ อย่าคิดว่าแค่ไปดูดไขมันหน้าท้องแล้วทุกอย่างที่กินมาจะหายไป เพราะรู้...
04/09/2023

🚩ไขมันในช่องท้อง ใช่ว่าจะดูดออกได้ !

วิธีลดพุงป่อง ๆ อย่าคิดว่าแค่ไปดูดไขมันหน้าท้องแล้วทุกอย่างที่กินมาจะหายไป เพราะรู้ไหมว่าไขมันในช่องท้องนั้นดื้อกว่าที่คิด !

ความอ้วนที่ได้มาจากการกินล้วน ๆ จนกลายเป็นไขมันสะสมอยู่ตามร่างกายส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะหน้าท้องของเราเอง ใครที่เข้าใจว่าไขมันที่พอกพูนผิวหนังเหล่านี้จัดการได้ง่าย ๆ แค่อาศัยเทคโนโลยีดูดไขมันก็กลับมาหุ่นดีได้แบบเดิมแล้ว ขอเคลียร์ให้เข้าใจตรงนี้เลยค่ะว่าคุณคิดผิดมหันต์ แต่จะเป็นเพราะอะไร มาดูเฉลยจากแพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือหมอผิง จากเพจ Pleasehealth Books กันค่ะ

“จริง ๆ แล้วไขมันที่เราเห็นกองกันอยู่เป็นพุงพลุ้ย ๆ ก้อนเดียวนั้น มีอยู่สองส่วน ส่วนหนึ่งคือไขมันที่ชั้นใต้ผิวหนังซึ่งเรียกว่า Subcutaneous fat เป็นไขมันที่เราใช้มือบีบผิวแล้วยกขึ้นมาเป็นก้อนได้ เห็นกันเป็นรูปธรรม

กับไขมันอีกส่วนที่อยู่ในช่องท้อง ติดอยู่กับลำไส้ จับไม่ได้ มองไม่เห็น เว้นแต่จะผ่าท้องแล้วเอาลำไส้ออกมากอง เราก็จะเห็นก้อนไขมันเหลือง ๆ เกาะกันอยู่อย่างสามัคคี ! ไขมันส่วนนี้เรียกว่า Visceral fat

การดูดไขมัน คือ การใช้เครื่องมือไปทำลายเซลล์ไขมัน ไม่ว่าจะด้วยความร้อนหรือความเย็น ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันนั้น จะกำจัดได้เฉพาะไขมันชั้นใต้ผิวหนัง สามารถทำให้หน้าท้องคุณแบนลง ใส่เสื้อผ้าสวยขึ้นได้ แต่ไม่สามารถทะลุทะลวงเข้าไปกำจัดไขมันในช่องท้อง หรือเจ้า Visceral fat ได้เลย

แต่ปัญหาคือไขมันส่วนที่อันตรายต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ไขมันพอกตับ หรือความดันโลหิตสูง คือไขมันที่อยู่ในช่องท้องนี่แหละค่ะ ส่วนไขมันที่อยู่ชั้นใต้ผิวหนังจะหนักไปทางอันตรายต่อความสวยความงามทางสายตาเสียมากกว่า

การจะลดไขมันในช่องท้องนั้น ไม่มีทางลัด ต้องอาศัยวินัยและความอดทนในการปรับอาหาร ลดน้ำตาล น้ำเชื่อมฟรุกโตส ของทอด ไขมันทรานส์ สุรา และการออกกำลังกายสม่ำเสมอเท่านั้น

ดังนั้นหากจุดประสงค์ในการลดพุงของคุณ คืออยากมีสุขภาพที่ดีขึ้นเป็นหลัก ก็ต้องเริ่มที่ปรับอาหาร ออกกำลังกาย และทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ไขมันในช่องท้องนั้น เป็นไขมันที่ดูดไม่ออกค่า”

พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง)
Twitter, Instagram:

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง) จากเฟซบุ๊ก Pleasehealth Books

🥹รู้ไหมการลดน้ำหนัก ผิดวิธี สาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้เรา  🍚งดแป้ง = ขาดสารอาหาร🍌ทานผลไม้แทน = น้ำตาลสูง🍱อดอาหารมื้อเย็น = ...
14/08/2023

🥹รู้ไหมการลดน้ำหนัก ผิดวิธี
สาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้เรา

🍚งดแป้ง = ขาดสารอาหาร
🍌ทานผลไม้แทน = น้ำตาลสูง
🍱อดอาหารมื้อเย็น = เตาเผาซ้ำ
💊ทานยาลดน้ำหนัก = หลอน
🏋️ออกกำลัวกายหนัก = เสียกล้ามเนื้อ
💉ดูดไขมัน = ติดเชื้อ

ถ้ารู้สาเหตุแล้วให้เรา
มาเรียนรู้เรื่องการเลือกทานอาหารให้เป็น
ไปด้วยกัน เพื่อสุขภาพและรูปร่างที่ดีแบบยั่งยืน

😘6 สัญญาณของภาวะขาดโปรตีนผู้ที่มีภาวะขาดโปรตีนอาจพบอาการผิดปกติบางอย่างในลักษณะต่อไปนี้1. สูญเสียมวลกล้ามเนื้อโดยปกติ เม...
06/08/2023

😘6 สัญญาณของภาวะขาดโปรตีน

ผู้ที่มีภาวะขาดโปรตีนอาจพบอาการผิดปกติบางอย่างในลักษณะต่อไปนี้

1. สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

โดยปกติ เมื่อร่างกายได้รับโปรตีนในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ร่างกายจะนำโปรตีนที่สะสมไว้ในกล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscles) มาใช้แทน การขาดโปรตีนเป็นระยะเวลานานจึงอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงวัย

2. บวมน้ำ (Edema)

บวมน้ำ เป็นภาวะที่ผิวหนังเกิดอาการบวมจากการที่เนื้อเยื่อภายในร่างกายมีของเหลวสะสมอยู่มากเกินไป มักจะพบบริเวณท้อง ขา เท้า และมือ

ผู้ที่มีภาวะขาดโปรตีนจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะบวมน้ำ โดยมักเกิดจากการที่โปรตีนอัลบูมิน โปรตีนที่พบได้ในกระแสเลือดซึ่งจะช่วยป้องกันการสะสมของของเหลวในเนื้อเยื่อของร่างกายมีปริมาณที่ลดน้อยลง

นอกจากนี้ ภาวะบวมน้ำยังเป็นภาวะที่ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากเป็นภาวะที่สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ

3. เส้นผม เล็บ และผิวหนังเกิดอาการผิดปกติ

โปรตีนถือเป็นสารอาหารที่พบได้ทั่วร่างกาย รวมถึงเส้นผม เล็บ และผิวหนังด้วย การขาดโปรตีนจึงอาจส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับเส้นผม เล็บ และผิวหนัง เช่น ผมบางลง ผมร่วง ผมขาดง่าย สีผมอ่อนลงหรือเปลี่ยนแปลงไป ผิวแห้ง ผิวลอกเป็นแผ่น เล็บเปราะ หรือเกิดเล็บเป็นคลื่นได้

4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

โปรตีนถือเป็นส่วนประกอบสำคัญหนึ่งของฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง และมีหน้าที่สำคัญในการลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย

การขาดโปรตีนจึงอาจส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมีออกซิเจนไปเลี้ยงน้อยลง ในกรณีรุนแรงอาจนำไปสู่อาการอ่อนเพลีย หายใจไม่อิ่ม หรือเกิดภาวะโลหิตจางได้

5. ป่วยบ่อย

โปรตีนถือเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของแอนติบอดี้ ซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส หรือสารพิษต่าง ๆ การขาดโปรตีนจึงอาจส่งผลให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

6. หิวบ่อย

โปรตีนถือเป็น 1 ใน 3 ของแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย ซึ่งเมื่อร่างกายขาดโปรตีน กลไกในร่างกายจะกระตุ้นให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ที่ขาดโปรตีนมักมีแนวโน้มที่จะอยากอาหารเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

18/05/2023

ติดตามไว้น้าาาา
เรากลับมาแล้ว🥳

26/01/2022

เราจะมาปั้นหุ่นไปด้วยกันนนนนน🤩

25/06/2021
24/05/2021
Day:4 วันนี้รีดเหงื่อได้เยอะมากกกก🏋️🤸⛹️✨
24/04/2021

Day:4
วันนี้รีดเหงื่อได้เยอะมากกกก🏋️🤸⛹️✨

Day:3  เย้ๆๆๆ เราต้องมีวินัย
23/04/2021

Day:3 เย้ๆๆๆ เราต้องมีวินัย

Day:2วันที่ 2แล้ววววนะ✌️😁🧘🤸⛹️🏋️ เรียกเหงื่อๆ
22/04/2021

Day:2
วันที่ 2แล้ววววนะ✌️😁🧘🤸⛹️🏋️ เรียกเหงื่อๆ

21/04/2021

Day :1 🏋️🤸⛹️🧘

เพื่อเป้าหมาย 10 กิโล #ณ วันนี้ นน.70 กก. #ฉันจะผอม🏋️🤸⛹️🧘
21/04/2021

เพื่อเป้าหมาย 10 กิโล
#ณ วันนี้ นน.70 กก.
#ฉันจะผอม🏋️🤸⛹️🧘

ที่อยู่

Ubon Ratchathani

เบอร์โทรศัพท์

+66633032662

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ I body healthyผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์