ตรัง 360 องศา

ตรัง 360 องศา ข่าวสารสาระ
(5)

🌟 ตอกย้ำ ปีแห่งความสำเร็จของเทศบาลนครตรัง🌟เทศบาลนครตรังคว้าอันดับ 1️⃣ ระดับจังหวัด 🏆ภายใต้การนำของ ดร. สัญญา ศรีวิเชียร ...
27/09/2024

🌟 ตอกย้ำ ปีแห่งความสำเร็จของเทศบาลนครตรัง🌟

เทศบาลนครตรังคว้าอันดับ 1️⃣ ระดับจังหวัด 🏆

ภายใต้การนำของ ดร. สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง เทศบาลนครตรัง มีความมุ่งมั่นและการทำงานอย่างหนักของทุกภาคส่วน ทำให้ได้รับคะแนนการประเมินระดับจังหวัด เป็นลำดับที่ 1
ของการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2567

สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึง
✅ การบริหารจัดการที่โปร่งใส
✅ การให้บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ
✅ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

ดร. สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง กล่าวว่า ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนชาวนครตรังทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาบ้านเกิดของเรา เทศบาลฯจะไม่หยุดยั้งในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในนครตรังต่อไป

ร่วมภาคภูมิใจไปด้วยกัน เพราะความสำเร็จนี้เป็นของพวกเราทุกคน😊

นายกเทศมนตรีนครตรัง เข้าร่วมเวทีสาธารณะ และรับโล่ประกาศเกียรติคุณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบที่มีผลงานโดดเด่นในการขั...
27/09/2024

นายกเทศมนตรีนครตรัง เข้าร่วมเวทีสาธารณะ และรับโล่ประกาศเกียรติคุณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบที่มีผลงานโดดเด่นในการขับเคลื่อนระบบรองรับสังคมสูงวัย

วันที่ 26 กันยายน 2567 ดร.สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง เข้าร่วมเวทีสาธารณะ รวมพลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขับเคลื่อนระบบรองรับสังคมสูงวัย และรับโล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ ที่มีผลงานโดดเด่นในการขับเคลื่อนระบบรองรับสังคมสูงวัย จากนายศิริพันธ์ ศรีกงศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ณ ห้องประชุมบงกชรัตน์ เอ โรงแรมรอยัลริเวอร์กรุงเทพมหานคร.

16สิงหาคม67ข่าวประชาสัมพันธ์สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.ม.อ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลและถอดบทเรียน โครงการยกระดับการข...
22/08/2024

16สิงหาคม67
ข่าวประชาสัมพันธ์
สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.ม.อ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลและถอดบทเรียน โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30 -16.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ตัวแทนจากสถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.ม.อ.) และ ทีมพี่เลี้ยงร่วมในการทบทวนรายละเอียด กิจกรรมสรุปผลถอดบทเรียน สรุปผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการและรายงานผลในที่ประชุม
สำหรับผลการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ จ.ตรัง ได้แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับตำบล 10 ท้องถิ่น และข้อมูลสถานการณ์กิจกรรมทางกายและสุขภาพระดับตำบล จำนวน 9 แห่ง เกิดพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะ PA นำร่อง จ.ตรัง จำนวน 2 แห่ง คือ
1) องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง
2) องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง
ที่ผ่านมา จนถึงการทำข้อตกลงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ “การยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย” จังหวัดตรัง
การออกแบบโครงการ คือ 1) ทำอย่างไรให้คนรับรู้ความตระหนักต่อเรื่องกิจกรรมทางกาย 2) การปรับสภาพแวดล้อม 3) ระบบกลไก ทั้งนี้ท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดตรัง ได้โครงการดำเนินกิจกรรมจำนวน 9 โครงการ ดังนี้
1) โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกาย สบายชีวา ปี 2567 โดย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
2) โครงการเด็กและเยาวชนสุขภาพดี ชีวีสดใสด้วยโนรา ตำบลหาดสำราญ จังหวัดตรัง
3) โครงการกิจกรรมทางกาย สูงวัยบ้านน้ำผุด สุขภาพดี ตำบลน้ำผุด จังหวัดตรัง
4) โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ด้วยกีฬาเปตองเพื่อสุขภาพในเด็กวัยเรียน เทศบาลตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
5) โครงการส่งเสริมเด็กเยาวชนให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นด้วยการเล่นฟุตบอล เทศบาลตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
6) โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลอง เพื่อสุขภาพ เทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
7) โครงการหนูน้อย พัฒนาการสมวัยด้วยการออกกำลังกาย อบต.ปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง"
8) โครงการอนุรักษ์ความเป็นไทย ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าของผู้สูงอายุ อบต.ปากคม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
9) โครงการ ส่งเสริมการเดิน วิ่งและใช้จักรยานในชุมชน อบต.บ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

หลังจากที่ประชุม ได้รับฟังข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในกระบวนการถอดบทเรียน และสรุปผลจากโครงการ จะนำข้อเสนอแนะไปสู่ระดับกองทุนและระดับนโยบายต่อไป

นายสมชาย ขุนอินทร์
- เครือข่ายสื่อสาธารณะ
ถ่ายภาพ

นส.พรองค์อินทร์ ธาระธนผล
-เครือข่ายสื่อสาธารณะและเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้

รายงาน

ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นำหัวหน้าส่วนราชการ พุทธศาสนิกชนจังหวัดตรัง ร่วมทำบุญตักบาตรพระบวชใหม่ ตามโครงการบรรพชาอุปสมบท เ...
18/07/2024

ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นำหัวหน้าส่วนราชการ พุทธศาสนิกชนจังหวัดตรัง ร่วมทำบุญตักบาตรพระบวชใหม่ ตามโครงการบรรพชาอุปสมบท เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

วันนี้ (18 กรกฎาคม 2567) ที่บริเวณหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ถนนอุดมลาภ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นำหัวหน้าส่วนราชการ และพุทธศาสนิกชนจังหวัดตรัง ร่วมทำบุญตักบาตรพระบวชใหม่ ตามโครงการบรรพชาอุปสมบท เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ สุดประทับใจ อิ่มบุญกันทั่ว

ทั้งนี้ จังหวัดตรังได้จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่าง วันที่ 14 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2567 เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและถวายเป็นพระราชกุศล รวมทั้งได้ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาและสามารถนำมาปรับใช้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยจังหวัดตรัง ได้กำหนดสถานที่ในการบิณฑบาต โครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ประกอบด้วย

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ถนนรักษ์จันทน์และซอยจำปี
วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 หลังจวน
วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 สามแยกโกช้อยถึงปั๊มน้ำมัน บ้านโพธิ์
วันที่ 20 กรกฎาคม 2567 วัดไร่พรุ
วันที่ 21 กรกฎาคม 2567 หัวโค้งอนุสาวรีย์ถึงวัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง
วันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ซอยสรรพากรถึงโรงพยาบาลวัฒนแพทย์ตรัง
วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ถนนสายสังขวิทย์

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดตรัง รายงาน

โครงการพัฒนาพื้นที่ตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเทศบาลนครตรัง "กิจกรรมก้าวย่างเมืองตรังแห่ง...
21/06/2024

โครงการพัฒนาพื้นที่ตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเทศบาลนครตรัง "กิจกรรมก้าวย่างเมืองตรังแห่งการเรียนรู้ที่ ทับเที่ยง ระยะที่ 2" ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

>>> เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 67
ที่ผ่านมา ดร.สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ภาคีเครือข่าย และเจ้าหน้าที่สำนักการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาพื้นที่ตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเทศบาลนครตรัง "กิจกรรมก้าวย่างเมืองตรังแห่งการเรียนรู้ที่ ทับเที่ยง ระยะที่ 2" ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ซึ่งกิจกรรมก้าวย่างเมืองตรังแห่งการเรียนรู้ที่ ทับเที่ยง ระยะที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับ เทศบาลนครตรัง และภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน จัดขึ้นภายใต้งบสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำหรับโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือในการค้นหาทรัพยากรการเรียนรู้เมืองทับเที่ยงเป็นประเด็นเรียนรู้หลัก ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประซากรทุกช่วงวัย ทั้งที่อยู่ใน
ระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาในเขตเทศบาลนครตรัง ได้มีโอกาสเรียนรู้ความเป็นเมืองทับเที่ยงในทุกมิติด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

>>> โดยในครั้งนี้ ดร.สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง ได้กล่าวชื่นชมกับการเอาใจใส่ของผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาคสถาบันการศึกษา และนักเรียนในพื้นที่ ที่เข้ามาสร้างความร่วมมือและระดมความคิดเห็น เพื่อค้นหาและขยายประเด็นการเรียนรู้ของเมือง ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ อาทิเช่น กิจกรรมเดินคลอง-เดินเมือง กิจกรรมศิลปะคลอง-ศิลปะเมือง และกิจกรรมเรียนรู้การจัดทำสื่อสารคดีเล่าเมือง

ข่าวประชาสัมพันธ์  -  สถาบันนโยบายสาธารณะ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำแผนงาน /โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามโครงการยกระด...
21/03/2024

ข่าวประชาสัมพันธ์ - สถาบันนโยบายสาธารณะ ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำแผนงาน /โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
ตามโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ...วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 08.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะ เรื่องแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตรัง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตรัง ซึ่งได้มีการเก็บข้อมูลเพื่อการทำแผนไปแล้ว
ในวันนี้สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้เชิญเจ้าหน้าที่กองทุน และคณะทำงาน หรือผู้ที่นายกฯ มอบหมายเข้าร่วมทำแผนสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเพื่อเขียนโครงการรับทุนดำเนินการ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายต่อไป

ภาพ - สมชาย ขุนอินทร์
ข่าว - พรองค์อินทร์ ธาระธนผล

เครือข่ายสื่อสุขภาวะ เขต12
เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
รายงาน

ประเพณีทำบุญข้าวเม่าความเป็นมาพิธีทำบุญข้าวเม่า หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประเพณีทำบุญปีใหม่” เป็นประเพณีที่สำคัญในรอบป...
05/02/2024

ประเพณีทำบุญข้าวเม่า

ความเป็นมา
พิธีทำบุญข้าวเม่า หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประเพณีทำบุญปีใหม่” เป็นประเพณีที่สำคัญในรอบปีของพราหมณ์พัทลุง ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี เป็นการประกอบพิธีบูชาเทวรูปและเทวดาในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อให้ความคุ้มครองสร้างความร่มเย็นและเกิดสิริมงคลแก่ผู้สืบเชื้อสายพราหมณ์ ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ความสำคัญ
ประเพณีทำบุญข้าวเม่า เป็นประเพณีทำบุญปีใหม่ของพราหมณ์พัทลุง ที่ถือปฏิบัติเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมสืบทอดมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างไปจากพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช และพราหมณ์ในกรุงเทพฯ พราหมณ์พัทลุง ถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญมากในรอบปี ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี เป็นการประกอบพิธีบูชาเทวรูปและเทวดาในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อให้ความคุ้มครองสร้างความร่มเย็นและเกิดสิริมงคลแก่ผู้สืบเชื้อสายพราหมณ์ ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

พิธีกรรม
ประเพณีทำบุญข้าวเม่าของพราหมณ์พัทลุง ในอดีตได้กำหนดสถานที่ประกอบพิธีที่ศาลาการเปรียญ วัดนิโครธาราม(วัดโคกข่อย) ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง การที่พราหมณ์ได้กำหนดใช้สถานที่วัดนิโครธาราม เนื่องจากในบริเวณนี้ เดิมเป็นสถานที่ฝังศพหรือสุสานพราหมณ์มาก่อนและเหตุผลอีกประการหนึ่งคือพระครูสถิตธรรมขันธ์(ช่วง) เจ้าอาวาสในสมัยนั้น (พ.ศ.2541) เป็นผู้สืบเชื้อสายพราหมณ์ จึงได้กำหนดสถานที่นี้เป็นที่ประกอบพิธีในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ในวันนี้พราหมณ์และผู้สืบเชื้อสายพราหมณ์จะมารวมกันประกอบพถิธี โดยในช่วงเวลาสกลางวันผู้สืบเชื้อสายพราหมณ์จะร่วมกันปรุงอาหาร เพื่อถวายเทวดาและเทวรูป อาหารสำคัญที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ได้แก่ ข้าวอวน ซึ่งทำจากข้าวเจ้าที่กำลังออกรวงแก่ แต่ยังไม่สุกนำมาขูดให้เมล็ดออกจากรวง นำไปคั่วในกระทะให้เมล็ดแตก แล้วตำในครกแยกแกลบออกให้หมด นำมาต้มหรือกวนผสมกับน้ำผึ้ง ข้าวอ้อ ทำจากข้าวเหนียวที่ออกรวงแก่แต่ยังไม่สุก วิธีทำเช่นเดียวกับการทำข้าวอวน ข้าวทั้งสองชนิดนี้ ใช้สำหรับถวายเทวดา ข้าวเม่า ทำจากข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวมาใหม่หรือข้าวที่แรกเก็บในฤดูกาลนั้นๆ นำมาคั่วจนเปลือกแตกแล้วตำให้ละเอียดแยกเอาเปลือกออก นำไปคลุกเคล้ากับมะพร้าวขูด ผสมน้ำตาลทราย ข้าวเม่าถือได้ว่าทำจากข้าวสุกใหม่ ๆ ในรอบปี จึงใช้เป็นอาหารถวายเทวรูป เพื่อให้เกิดสิริมงคล และความอุดมสมบูรณ์แก่บ้านเมือง
การประกอบพิธีจะเริ่มประมาณเวลาหนึ่งทุ่ม ภายในศาลาการเปรียญวัดนิโครธาราม โดยพราหมณ์และผู้สืบเชื้อสายพราหมณ์จะมาพร้อมกันภายในศาลาการเปรียญ วัดนิโครธาราม พราหมณ์ 4 คน เป็นผู้ประกอบพิธี โดยนำเทวรูปพระอิศวร พระนารายณ์ และพระอุมาพระพิฆเนศวร มาประดิษฐานบนแท่นที่ปูด้วยผ้าขาวหน้าพระประธานตามลำดับ
เครื่องประกอบพิธี มีดังนี้ เทียน 9 เล่ม ปักหน้าพระประธาน หมากพลู 9 คำ ถวายเทวรูป อีก 9 คำ ใส่พานไว้ มีหม้อน้ำมนต์ใส่น้ำจากน้ำบ่อ น้ำบาง และน้ำสระผสมกัน แจกันดอกไม้ประดับสองข้างแท่นบูชา ขันทองเหลืองขนาดใหญ่ 3 ใบ สำหรับรองน้ำสรงจากองค์เทวรูป เริ่มพิธีพราหมณ์ จุดธูปเทียนหน้าพระประธาน วงสายสิญจน์จากพระประธานมายังเทวรูป พราหมณ์จุดธูปเทียนหน้าเทวรูปและหม้อน้ำมนต์ แล้วเริ่มบูชาพระรัตนตรัยและบูชาเทวรูป เสร็จแล้วทำพิธีสรงน้ำเทวรูป ใช้ขันทองเหลือง 3 ใบ ใบหนึ่งใส่น้ำมนต์และใบมะกรูด พราหมณ์สวดโองการจบแล้วสรงน้ำเทวรูปครั้งละหนึ่งองค์ ขณะสรงน้ำเทวรูป พราหมณ์จะเป่าสังข์และแกว่งบัณเฑาะว์จนครบทุกองค์ หลังจากนั้นหัวหน้าพราหมณ์จะสวดโองการ แล้วนำน้ำสรงพระพุทธรูปมาทาฝ่ามือ หลังเท้า สะดือ หน้าผาก หน้า และหลังเท้าอีกครั้งหนึ่ง เสร็จแล้วพราหมณ์จะนำสายสิญจน์วนรอบเทวรูป ทุกองค์ นำอาหารใส่กระทงบูชาเทวรูป ซึ่งประกอบด้วย น้ำ น้ำผึ้งแว่นหรือน้ำตาลแว่น ข้าวเม่า ข้าวอวน ข้าวอ้อ น้ำตาลทราย และมะพร้าวขูด หัวหน้าพรามหมณ์จุดเที่ยนในพานหมากพลู สวดโองการเชิญเทวดา และเทพเจ้าพร้อมท่องคาถาเพื่อป้องกันภัย ต่อจากนั้น พราหมณ์จะสวดโองการหรือบทคาถา เพื่อถวายสิ่งของต่างๆ แด่เทวรูปตามลำดับ ดังนี้ ถวายธูปเทวรูป พราหมณ์ว่าบทคาถาหรือสวดโองการว่า "โองวานัดปัติ โยภโวเฆปานะอะปานำ อาฆเรสวาเทวานาม ปูยัมยำ ปนิกุรยะเต” (หนังสือบุดขาว พ.ศ. 2395) ถวายดอกไม้เทวรูป พราหมณ์สวดคาถาว่า "โองมาลิโกดบ่กุนสิมาลาฆาบ่ตำภาไสกสำภกำเสวันติกันติการายตรีสันทิยา รัตตะเกดสิริกตำภามานสำโภตำสูกันทิจ่มะนะทะ ภตัดควัตวัตลราชนิกำโภตำทีระ ปูสะยามิตำ" ถวายหมากพลูเทวรูปทั้ง 4 องค์ (พระอิศวร พระอุมา พระนารายณ์ และพระพิฆเนศวร) พราหมณ์สวดคาถาว่า "ปูกัดสุมภูปูกัดปูรำสิวันณวันตริโยเทสกาลาดสมานำสะตำภูรำ ปนิกุนยเต” จากนั้นพราหมณ์ถวายข้าวพระอิศวร พระนารายณ์ พระพิฆเนศวร โดยสวดคาถาว่า "โองสิราวาดครูติสำ ไกตำส่รนินิไนวศสํเยียมไรยไตยเบ้ตว้าสังสารำทรูวินาดสนำ” ถวายข้าวพระอุมา พราหมณ์สวดคาถาว่า "โองคสาดับกร่ญอเทวิสิกินนะหริวิดุบปะชาเดวะว่นามะ มักคะมุดจะรัง” การว่าหรือสวดคาถาบูชาสิ่งของเทวรูปจบลงในแต่ละองค์จะเป่าสังข์และแกว่งบัณเฑาะว์ไปด้วย พราหมณ์จะสวดโองการไปตลอดทั้งคืน ระหว่างนั้นญาติพี่น้องที่สืบเชื้อสายจากตระกูลพราหมณ์ จะนำข้าวเม่ามาเลี้ยงกันในหมู่ญาติ พร้อมกันนั้นก็เตรียมผักที่จะนำไปปรุงอาหาร เพื่อตักบาตรพราหมณ์ในวันรุ่งอรุณของวันใหม่ อาหารที่ต้องปรุงเตรียมไว้ได้แก่ แกงคั่วใส่ฟักทองที่แกะเป็นรูปดอกจันทน์หรือดอกสี่กลีบ และใส่มะพร้าวขูดผสมกับเครื่องแกงไม่ใส่กะปิ แกงส้มใส่เผือก มัน และหัวบอนที่แกะเป็นรูปดินสอ ใส่มะขามสดหรือมะขามเปียกผสมกับเครื่องแกงแต่ไม่ใส่กะปิ อาหารทั้งหมดจะไม่มีประเภทเนื้อสัตว์ เมื่อพราหมณ์ทำพิธีไปจนรุ่งอรุณก่อนพระอาทิตย์จะขึ้นสู่ขอบฟ้า พวกเชื้อสายพราหมณ์ จะทำพิธีตักบาตรบน เรียกว่าใบบัว "พิธีตักบาตรใบบัว” โดยนำอาหารที่ได้ปรุงไว้ใส่ใบบัว ระหว่างตักบาตร พราหมณ์จะสวดโองการสลับการเป่าสังข์ แกว่งบัณเฑาะว์ เสร็จแล้วจึงฉันอาหารบนในบัว เศษอาหารที่เหลือจะนำไปฝังไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ หลังจากนั้นพราหมณ์และญาติพี่น้องที่สืบเชื้อสายพราหมณ์ก็แยกย้ายกันกลับบ้าน เป็นอันเสร็จพิธีทำบุญข้าวเม่า
ปัจจุบัน การประกอบพิธีทำบุญข้าวเม่าของพราหมณ์พัทลุง ยังประกอบพิธีเป็นประจำทุกๆปี โดยได้ย้ายสถานที่ในการประกอบพิธีมาที่บ้านนายประสิทธิ์ ชายเกลี้ยง บ้านเลขที่ 235 หมู่ที่ 7 ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ผู้สืบเชื้อสายพรามหมณ์พัทลุง ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากพระครูสถิตธรรมขันธ์(ช่วง) เจ้าอาวาสวัดนิโครธารามในสมัยนั้น (พ.ศ.2541) ที่เป็นผู้สืบเชื้อสายพราหมณ์ได้สิ้นบุญไป

ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง
ประเพณีทำบุญข้าวเม่า เป็นประเพณีทำบุญปีใหม่ของพราหมณ์พัทลุง เป็นการทำอาหารถวายเทวรูป เพื่อให้เกิดสิริมงคล และความอุดมสมบูรณ์แก่บ้านเมือง และเชื่อว่าการนำเศษอาหารที่เหลือจะนำไปฝังไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ จะทำให้ต้นไม้มีผลดก ต้นไม้มีความอุดมสมบูรณ์

กิจกรรมตามประเพณี
ประเพณีทำบุญข้าวเม่า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประเพณีทำบุญปีใหม่” ของพราหมณ์พัทลุง มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. พิธีเซ่นไหว้เทวดา
2. พิธีตักบาตรใบบัว

เอกสารอ้างอิง
-"ทำบุญข้าวเม่า – ประเพณี". สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 7 . หน้า 3382 - 3383. กรุงเทพฯ.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. 2542
-วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดพัทลุง. หน้า 225- 227 : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.

รวบรวมโดย นางจำเป็น เรืองหิรัญ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ

ข่าวกิจกรรม9กย66 ที่ห้องประชุม    โรงแรมอีโค่อินน์  จ.ตรัง                                    กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างส...
09/09/2023

ข่าวกิจกรรม
9กย66 ที่ห้องประชุม
โรงแรมอีโค่อินน์ จ.ตรัง
กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการคิดเล่นให้เป็นเรื่อง ภายใต้หัวข้อ “ตัวตนคนอันดามัน”
ในระหว่างวันที่ 9-11 กันยายน ณ โรงแรม Eco Inn จังหวัดตรัง
วันเสาร์ที่ 9 กันยายนมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม พร้อมให้ความรู้เรื่องสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีคุณคฑาหัส บุษปะเกศ นายกสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ กล่าวต้อนรับ
สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการ เป็นเรื่องของการอบรมการเขียนองค์ประกอบการสร้างโครงเรื่องบทละครโทรทัศน์การหา Big idea การทำแบบฝึกหัดการบรรยายตัวละคร รวมทั้งการบรรยายเรื่องล็อคไลน์ และมีการสรุปความรู้ออกแบบปฏิบัติการ เขียนบทละครสร้าง Content platform ต่างๆในปัจจุบัน และวัฒนธรรมไทยกับซอฟพาวเวอร์ และเครื่องมือวิธีการในการใช้เก็บข้อมูลภาคสนามรวมทั้งมอบหมายส่งงาน สำหรับการจัดกิจกรรมในวันนี้มุ่งนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมอบรมนั้น ได้ฝึกในการเขียนบทละครโทรทัศน์และมีความรู้ใหม่ๆในเรื่องของ ละครโทรทัศน์ไทยกับเทคโนโลยี และจะสามารถนำท้องถิ่นไทยสู่สากลได้ด้วย

ภาพข่าว
นายสมชาย ขุนอินทร์

ข่าว –กิจกรรม  คนตรังหัวใจฟู จัดการประชุมและกิจกรรมปลูกต้นไม้ ช่วยลดและกรองฝุ่น      วันอาทิตย์ที่  3 กันยายน  2566 เวลา...
04/09/2023

ข่าว –กิจกรรม คนตรังหัวใจฟู จัดการประชุมและกิจกรรมปลูกต้นไม้ ช่วยลดและกรองฝุ่น
วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น.
ที่ อาคารห้องประชุม ชั้น 1 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดมัชฌิมภูมิ เทศบาลนครตรัง เครือข่ายสถานีวิทยุคนตรังหัวใจฟู ประกอบด้วย นักจัดรายการวิทยุ อาสาสมัครประชาสัมพันธ์หมู่บ้านและชุมชน (อปมช.) เครือข่าย อสม. และจิตอาสา จัดกิจกรรมถอดบทเรียน โครงการ “คนตรังหัวใจฟู สู้ภัยฝุ่น PM 2.5 ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และพิษภัยฝุ่นจิ๋ว ที่แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีขนาดเล็กและ สามารถทะลุขนจมูกแทรกซึมสู่ระบบทางเดินหายใจทะลุผนังปอดและเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างง่ายดาย มีผลกระทบกับร่ายกายและสุขภาพอย่างมาก เครือข่ายสถานีวิทยุคนไทยหัวใจฟู เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ ได้พัฒนาความรู้และการพัฒนาการสื่อสารให้กับ เครือข่ายจิตอาสาในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสื่อสารเรื่องราวการส่งเสริมสุขภาวะสร้างคนไทยหัวใจฟูและรอบรู้สุขภาพจังหวัดตรัง
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ป้องกันตนเองจากจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก สามารถนำไปขยายผลข้อมูลความรู้สู่ชุมชน เผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เตรียมการป้องกันในชุมชน เกิดการเปลื่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 ป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม มีการจัดกิจกรรมถอดบทเรียน และร่วมปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ภายโรงเรียนเทศบาล 4 วัดมัชฌิมภูมิ เทศบาลนครตรัง เพื่อเป็นการช่วยลดฝุ่นละออง ปลูกต้นไม้ เป็น กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคม เกิดความตระหนักในปัญหาฝุ่น PM 2.5 เตรียมการป้องกันปัญหาเรื่องมลภาวะ และเพิ่มพื้นที่ของสีเขียวในเขตเมือง ซึ่งกำลังมีการขยายตัวของความเจริญและสิ่งปลูกสร้าง มีฝุ่นละอองหนาแน่น ปลูกต้นไม้ดักฝุ่นหรืออุโมงค์ต้นไม้กรองฝุ่น การเพิ่มจำนวนพื้นที่สวนแนวตั้ง จะเป็นการช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ขอขอบคุณ ดร.สัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง คณะผู้บริหารฯ สมาชิกสภาเทศบาล คุณสุคนธ์ คำจืด เลขานุการนายกเทศมนตรีนครตรัง คุณจรัญ สุดแป้น จากสวนสุดจิตตรัง ช่วยสนับสนุนต้นพวงครามและต้นแฮปปี้เนส เป็นต้นไม้ช่วยกรองฝุ่น
และขอบคุณท่าน ผอ.โรงเรียนเทศบาล 4 วัดมัชฌิมภูมิ และคณะคุณครูทุกๆท่าน
ทั้งนี้ เครือข่ายสถานีวิทยุคนไทยหัวใจฟู จิตาสาในชุมชน จะร่วมกับเทศบาลนครตรัง พยายามผลักดัน เพื่อให้เกิดพื้นที่สีเขียวในชุมชนหนองยวนและขยายออกไปในเขตพื้นที่สวนสาธารณะ เทศบาลนครตรังต่อไปอีกด้วย
นายสมชาย ขุนอินทร์ เครือข่ายสถานีวืทยุคนไทยหัวใจฟู - รายงาน

ที่อยู่

Trang
92000

เบอร์โทรศัพท์

0809472824

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ตรัง 360 องศาผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


บริษัทด้านสื่อ/ข่าวสาร อื่นๆใน Trang

แสดงผลทั้งหมด