Thai IoT Association

Thai IoT Association Official Page for Thai IoT Association

งานสัมมนาดี ๆ สำหรับสมาชิกสมาคมไทยไอโอทีและผู้สนใจครับ งานจัดวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สามารถเข้าร่วมงานได้ฟรี โดยการส...
06/01/2025

งานสัมมนาดี ๆ สำหรับสมาชิกสมาคมไทยไอโอทีและผู้สนใจครับ งานจัดวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สามารถเข้าร่วมงานได้ฟรี โดยการสแกนคิวอาร์โค๊ดด้านล่าง รีบลงทะเบียนก่อนที่นั่งจะเต็มนะครับ

ตามที่สมาคมไทยไอโอทีได้เชิญผู้บริหาร LoRa Alliance จากต่างประเทศมาร่วมบรรยายในการประชุมใหญ่ของสมาคมในวันอังคารที่ 21 มกร...
04/01/2025

ตามที่สมาคมไทยไอโอทีได้เชิญผู้บริหาร LoRa Alliance จากต่างประเทศมาร่วมบรรยายในการประชุมใหญ่ของสมาคมในวันอังคารที่ 21 มกราคม 2568 และมีผู้สนใจสอบถามมาว่า LoRaWAN คืออะไร จึงขอให้ข้อมูลเบื้องต้นดังนี้

LoRaWAN (Long Range Wide Area Network) คือโปรโตคอลการสื่อสารแบบไร้สายที่ใช้สำหรับเครือข่าย IoT (Internet of Things) ซึ่งถูกออกแบบมาให้รองรับการส่งข้อมูลในระยะไกล (Long Range) ด้วยพลังงานต่ำ (Low Power) เหมาะสำหรับอุปกรณ์ IoT ที่ต้องการการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ไม่ต้องใช้พลังงานมาก

เทคโนโลยี LoRa (Long Range): ใช้ modulation แบบ chirp spread spectrum (CSS) ซึ่งช่วยให้การสื่อสารมีความเสถียรในระยะไกลและยังทนต่อสัญญาณรบกวน
LoRaWAN: เป็นโปรโตคอลที่อยู่บนเทคโนโลยี LoRa โดยกำหนดโครงสร้างการสื่อสาร เช่น การจัดการเครือข่ายและการส่งข้อมูล

ประโยชน์ของ LoRaWAN ต่อ IoT
การใช้พลังงานต่ำ: เหมาะสำหรับอุปกรณ์ IoT ที่ใช้แบตเตอรี่ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจวัดสิ่งแวดล้อมหรือมิเตอร์น้ำ/ไฟฟ้า
ระยะการสื่อสารไกล: สามารถครอบคลุมได้ไกลถึง 10-15 กิโลเมตรในพื้นที่ชนบท และประมาณ 1-3 กิโลเมตรในเมือง
ต้นทุนต่ำ: ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดำเนินงานต่ำกว่าเทคโนโลยี 5G หรือ LTE
รองรับอุปกรณ์จำนวนมาก: สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT จำนวนมากในพื้นที่เดียวกัน
ความยืดหยุ่น: สามารถสร้างเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) หรือใช้บริการเครือข่ายสาธารณะได้

จุดเด่นของ LoRaWAN
เหมาะกับอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลไม่บ่อย: เช่น เซ็นเซอร์ที่รายงานข้อมูลทุกชั่วโมงหรือนาที
การเจาะทะลุอุปสรรคได้ดี: สัญญาณสามารถทะลุผ่านอาคารหรือพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางได้
มาตรฐานเปิด: มีการใช้งานอย่างแพร่หลายและมีชุมชนผู้พัฒนาขนาดใหญ่
จุดด้อยของ LoRaWAN
ความเร็วต่ำ: ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ (ประมาณ 0.3 kbps - 50 kbps) ไม่เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลที่มีปริมาณมาก เช่น วิดีโอ
เหมาะสำหรับข้อมูลแบบขนาดเล็ก: ไม่รองรับการส่งข้อมูลขนาดใหญ่หรือการสื่อสารแบบเรียลไทม์
ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย: ถึงแม้จะมีการเข้ารหัส (AES-128) แต่ยังต้องการมาตรการเสริมในบางกรณี
ความหนาแน่นของอุปกรณ์: หากมีอุปกรณ์จำนวนมากในพื้นที่เดียวกัน อาจเกิดปัญหาการชนกันของสัญญาณ

สรุป
LoRaWAN เหมาะสำหรับ: การใช้งาน IoT ที่ต้องการพลังงานต่ำ, ข้อมูลขนาดเล็ก, และระยะทางไกล เช่น การเกษตรอัจฉริยะ, การติดตามโลจิสติกส์, หรือเซ็นเซอร์ในอุตสาหกรรม
5G เหมาะสำหรับ: การใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง, การตอบสนองแบบเรียลไทม์, และการเชื่อมต่อที่มีความหนาแน่นในพื้นที่จำกัด เช่น รถยนต์ไร้คนขับ, AR/VR, หรือระบบสมาร์ทซิตี้ขั้นสูง
การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะด้านของระบบและงบประมาณในการลงทุน

Credit photo : AI

การประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีนี้ สมาคมจัดงานที่ SBAC นนทบุรี หัวข้อน่าสนใจ วิทยากรมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ รีบลงทะเบียน...
03/01/2025

การประชุมใหญ่สามัญประจำปีปีนี้ สมาคมจัดงานที่ SBAC นนทบุรี หัวข้อน่าสนใจ วิทยากรมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ รีบลงทะเบียนก่อนเต็มนะครับ ห้องประชุมเรารับได้สูงสุด 200 คนเท่านั้นครับ

สมาคมไทยไอโอทีขอสรุปการดำเนินงานของสมาคมในปี 2024 และขอขอบคุณสมาชิก พันธมิตร ทุกท่านที่ให้ความกรุณาและสนับสนุนสมาคมด้วยด...
30/12/2024

สมาคมไทยไอโอทีขอสรุปการดำเนินงานของสมาคมในปี 2024 และขอขอบคุณสมาชิก พันธมิตร ทุกท่านที่ให้ความกรุณาและสนับสนุนสมาคมด้วยดีเสมอมา ในปี 2025 นี้ขอให้ทุกท่านมีแต่ความสุข มีสุขภาพแข็งแรง และมาร่วมมือกันสร้างอุตสาหกรรม IoT ของประเทศไทยให้โตยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ

ดร.สุทัด ครองชนม์ นายกสมาคมไทยไอโอที ได้มีโอกาสปรึกษากับ รศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยา...
27/12/2024

ดร.สุทัด ครองชนม์ นายกสมาคมไทยไอโอที ได้มีโอกาสปรึกษากับ รศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผศ.ดร.นุชจรินทร์ อินต๊ะหล้า รองผู้อำนวยการโครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ ฝ่ายวิชาการ เพื่อจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยี IoT ร่วมกัน สมาชิกสมาคมที่สนใจร่วมโครงการสามารถแจ้งความประสงค์มาที่สมาคมได้ครับ

Merry Christmas and Happy New Year
24/12/2024

Merry Christmas and Happy New Year

ดร.สุทัด ครองชนม์ นายกสมาคมไทยไอโอที ให้การต้อนรับและร่วมประชุมกับผู้บริหารจาก Impact Exhibition Management เพื่อวางแผนใ...
23/12/2024

ดร.สุทัด ครองชนม์ นายกสมาคมไทยไอโอที ให้การต้อนรับและร่วมประชุมกับผู้บริหารจาก Impact Exhibition Management เพื่อวางแผนในการออกงานนิทรรศการและจัดสัมมนาในปี 2025 ซึ่งสมาคมจะร่วมให้การสนับสนุนงาน BCT Expo 2025 ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน, งาน ASEAN Light+Design Expo & Smart Living Expo ระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน และงาน DigiTech ASEAN & AI Connect 2025 ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน

17/12/24 คุณชาญศิลป์ ม้าทอง อุปนายกสมาคม คุณธีรพัฒน์ ทองสุโชติ กรรมการบริหารและเหรัญญิก สมาคมไทยไอโอที เป็นตัวแทนสมาคมเข...
17/12/2024

17/12/24 คุณชาญศิลป์ ม้าทอง อุปนายกสมาคม คุณธีรพัฒน์ ทองสุโชติ กรรมการบริหารและเหรัญญิก สมาคมไทยไอโอที เป็นตัวแทนสมาคมเข้าร่วมงาน SMC Open House 2024 จัดโดย ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) NECTEC NSTDA ณ สำนักงานใหญ่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) อ.วังจันทร์ จ.ระยอง

ดร.สุทัด ครองชนม์ นายกสมาคมไทยไอโอที เข้าร่วมประชุมระดมสมอง เพื่อพัฒนาเขตนวัตกรรมมูลค่าสูง จังหวัดปทุมธานี (รังสิต-คลองห...
13/12/2024

ดร.สุทัด ครองชนม์ นายกสมาคมไทยไอโอที เข้าร่วมประชุมระดมสมอง เพื่อพัฒนาเขตนวัตกรรมมูลค่าสูง จังหวัดปทุมธานี (รังสิต-คลองหลวง-ท่าโขลง) ขอบคุณผู้หลักผู้ใหญ่จากหลากหลายหน่วยงานที่เห็นความสำคัญของเทคโนโลยี IoT ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยของเรา

หลังจากโครงการมีการขับเคลื่อนในรายละเอียดมากขึ้น สมาคมจะขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากสมาชิกของสมาคมไทยไอโอทีในการพัฒนาประเทศไทยของเราร่วมกันครับ

พันธกิจในการสร้างบุคลากรทางด้านไอโอที"สถาบันวิทยาการไทยไอโอที (Thai IoT Academy)" ภายใต้ สมาคมไทยไอโอที🌐 ศูนย์กลางสำหรับ...
07/12/2024

พันธกิจในการสร้างบุคลากรทางด้านไอโอที

"สถาบันวิทยาการไทยไอโอที (Thai IoT Academy)" ภายใต้ สมาคมไทยไอโอที

🌐 ศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้าน Internet of Things (IoT) พร้อมเชื่อมต่อคุณสู่โลกเทคโนโลยีแห่งอนาคต!

Hands-on IoT: From Basic to Professional
หลักสูตรที่ครอบคลุมการเรียนรู้ด้าน IoT ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับมืออาชีพ พร้อมการปฏิบัติจริงในทุกขั้นตอน

Thai IoT Academy พร้อมพาคุณเรียนรู้ทุกมิติของ IoT! 🚀
#เรียนรู้IoT

ผศ.ดร.พงศ์ศรัณย์ บุญโญปกรณ์ กรรมการบริหารสมาคม (วิชาการ) เป็นตัวแทนสมาคมไทยไอโอที ร่วมเป็นวิทยากรในงานประชุม Wolrd Confe...
06/12/2024

ผศ.ดร.พงศ์ศรัณย์ บุญโญปกรณ์ กรรมการบริหารสมาคม (วิชาการ) เป็นตัวแทนสมาคมไทยไอโอที ร่วมเป็นวิทยากรในงานประชุม Wolrd Conference on Science Literacy2024 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2567

"สถาบันวิทยาการไทยไอโอที (Thai IoT Academy)"ดำเนินงานภายใต้ สมาคมไทยไอโอที🌐 ศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้าน ...
02/12/2024

"สถาบันวิทยาการไทยไอโอที (Thai IoT Academy)"
ดำเนินงานภายใต้ สมาคมไทยไอโอที

🌐 ศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้าน Internet of Things (IoT) พร้อมเชื่อมต่อคุณสู่โลกเทคโนโลยีแห่งอนาคต!

Hands-on IoT: From Basic to Professional
หลักสูตรที่ครอบคลุมการเรียนรู้ด้าน IoT ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับมืออาชีพ พร้อมการปฏิบัติจริงในทุกขั้นตอน

Thai IoT Academy พร้อมพาคุณเรียนรู้ทุกมิติของ IoT! 🚀
#เรียนรู้IoT

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จทอดพระเนตร เทคโนโลยี IoT Smart Home Solutions ที่จัดแสดงในงาน ...
30/11/2024

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จทอดพระเนตร เทคโนโลยี IoT Smart Home Solutions ที่จัดแสดงในงาน Commart 2024 โดยความร่วมมือของสมาคมไทยไอโอทีและบริษัท AiTAN Technology เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2024

งาน Commart TechXpro ปีนี้จัดระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม เวลา 10:00 - 21:00 บูธอยู่ด้านหน้าของงาน Hall EH 98-99 ไบเทค บางนา กูรูด้านสมาร์ทโฮมยินดีให้คำปรึกษากับทุกท่านครับ

ที่อยู่

96 หมู่ 1 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, Muang
Samutprakarn
12120

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

+66926909892

เว็บไซต์

http://www.thaiiot.org/

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Thai IoT Associationผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Thai IoT Association:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

วัตถุประสงค์ของสมาคมไทยไอโอที


  • เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความตระหนัก รับรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่ ผู้สนใจ นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักพัฒนา และนักประดิษฐ์ไทย ในการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์และบริการ ด้วยเทคโนโลยีไอโอที และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการใช้งานได้จริง

  • เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งในการวิจัย พัฒนา และการผลิต ของผู้ประกอบการไทย ให้สามารถวิจัย พัฒนา และผลิต ชิ้นส่วนอุปกรณ์ Hardware และ Software สำหรับรองรับเทคโนโลยี ไอโอที และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การค้า และ การบริการ ของประเทศไทย

  • เพื่อสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การค้า และ การบริการ ของประเทศไทย กับนักวิจัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ