07/12/2022
#ธุรกิจเครือข่าย ไม่ใช่ แชร์ลูกโซ่ และไม่ใช่ขายตรง
⚠️ #แชร์ลูกโซ่ คือกิจกรรมที่สร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนเป็นวงกว้าง และสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยพฤติการคือการยกธุรกิจหรือธุรกรรมบางอย่างเพื่่อให้คนลงทุนและชักชวนผู้อื่นเข้าร่วมลงทุน โดยจะเสนอค่าตอบแทนสูงมาก จนยากที่จะปฎิเสธได้ แต่โดยเนื้อแท้แล้วกิจกรรมหรือกิจการดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งที่ยกขึ้นมาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือเท่านั้น การสร้างรายได้ของผู้เข้าร่วมมักจะได้ค่าตอบแทนจากการชักชวนผู้คนเข้ามาร่วมลงทุนเป็นหลัก การให้ผลตอบแทนที่สูงเพื่อจูงใจให้คนเข้าร่วมมาก ๆ เมื่อผู้คนเริ่มได้รับเงินก็เกิดความเชื่อใจหรือความโลภจึงลงทุนมากขึ้น ๆ เพื่อหวังว่าจะได้ค่าตอบแทนที่เพียงพอที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อถึงจุดที่ผู้ก่อตั้งได้รับเงินมากพอก็มักจะปิดตัวลง ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมธุรกิจรายหลัง ๆ ก็จะเกิดความเสียหายต่าง ๆ ตามมา ข้อสังเกตุ ของแชร์ลูกโซ่ คือ
1.การให้ค่าตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริง โดยเฉพาะกิจกรรมที่ไม่มีสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง
2. การจ่ายผลตอบแทนจะแบ่งระยะเวลาออกไป 1-3 เดือน (จุดคืนทุน) ในกรณีที่ไม่ชักชวนผู้อื่น
3.ไม่มีกิจกรรมหรือกิจการเกี่ยวกับการสินค้าที่จับต้องได้
4.รายได้หลักของผู้เข้าร่วมคือการชักชวนผู้คนมาลงทุน ไม่ใช่มาใช้บริการหรือมาเป็นลูกค้า
⁉️ #ขายตรง คือธุรกิจประเภทหนึ่ง คือการเป็นตัวแทนจำหน่ายของเจ้าของสินค้า หรือแม้กระทั่งการเป็นแฟรนไชซ์ ก็นับว่าเป็นธุรกิจการขายตรง การจ่ายผลประโยชน์ไม่ซับซ้อน แต่การเป็นตัวแทนต้องได้รับการแต่งตั้งหรือการเป็นสมาชิก การได้ผลประโยชน์ตอบแทนก็ตรงไปตรงมา ก็คือการขายสินค้าและรับกำไรที่เป็นส่วนต่าง
โดยปกติขายตรงจะไม่มีการได้รายได้จากการแนะนำทีมงานหรือการบริหารทีม แต่ปัจจุบันมีหลายธุรกิจที่เป็นขายตรงและจ่ายค่าตอบแทนกับทีมงานหรือค่าบริหาร อาทิเช่น ธุรกิจประกันภัย ที่มีทั้งตัวแทนและผู้บริหาร ซึ่งรับค่าตอบแทนในการบริหารตัวแทนในการทำยอดธุรกิจประจำเดือน แต่ในส่วนของธุรกิจประกันภัย จะมองว่าเป็นพนักงานประจำบริษัทมากกว่า เนื่องจากจะได้รับเงินสนับสนุนในรูบแบบเงินเดือนและปันผลรวมอยู่ด้วย
ส่วนธุรกิจขายตรงบางประเภทจะสามารถสร้างตัวแทนจำหน่ายได้อีกหลายชั้นตามลำดับ แต่ก็มักจะไม่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัทขายตรง โดยวิธีการคือการที่มีนักธุรกิจสนใจเปิดบิลซื้อสินค้าจำนวนมากเพื่อให้ได้ราคาต้นทุนที่ต่ำมาก ๆ และหาตัวแทนในระดับถัดไปโดยอาศัยส่วนต่างจากราคาซื้อเปิดบิล ยกตัวอย่างเช่น สินค้าราคาจำหน่าย 300 บาท นักลงทุนเปิดบิลซื้อสินค้า 10,000 ชิ้นราคาชิ้นละ 100 บาท โดยหาตัวแทนในระดับย่อยลงไปคือ 1,000 ชิ้นจำนวน 10 คน ในราคาชิ้นละ 200 บาท โดยผู้เปิดบิลคนแรกจะได้รับส่วนต่างทันที คนละ 100,000 บาท หรือมีกำไรทันทีที่หาตัวแทนได้ 10 คน คือ 1 ล้านบาท เป็นต้น
ซึ่งรูปแบบนี้เราจะเห็นได้มากที่สุดและมักเป็นสินค้าที่ทำการตลาดผ่านดาราหรือผู้มีชื่อเสียง เนื่องจากเห็นว่าติดตลาดและจำหน่ายง่าย แต่โดยเนื้อแท้แล้ว นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่จะขาดทุนเนื่องจากสินค้าไม่สามารถขายได้นั่นเอง
❤️ #ธุรกิจเครือข่าย คือธุรกิจที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างสินทรัพย์ เพื่อมีรายได้แบบมั่นคง แต่คนส่วนมากมักไม่เข้าใจแนวคิดของการตลาดเครือข่าย บริษัทเครือข่ายมักจะมีแผนการตลาดแตกต่างกันออกไป โดยหลัก ๆ มักจะมีอยู่ 3 รูปแบบที่มักจะเห็นได้บ่อยคือ
- แบบแรก คือ แผนการตลาดแบบขั้นบันใด คือ รูปแบบการจ่ายปันผลในการทำการตลาดให้กับบริษัทโดยนับจากยอดจำหน่ายของนักธุรกิจรวมกับทีมหรือสมาชิกผู้บริโภคประจำทีม โดยกำหนดค่าตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์ ตามระดับยอดที่นักธุรกิจสามารถทำได้ในแต่ละเดือน เช่น 6% 9% 11% 15% เป็นต้น โดยบริษัทที่่เราคุ้นเคยมากที่สุดและมีประวัติยาวนานมากที่สุดคือ บริษัทแอมเวย์ แผนการตลาดแบบนี้ทำให้นักธุรกิจมักจะต้องซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากโดยไม่จำเป็น เพื่อรับค่าการตลาดที่สูงขึ้นในลำดับถัดไป ทำให้สินค้าค้างสต็อกเป็นจำนวนมาก เมื่อไม่สามารถจำหน่ายได้ ก็มักจะเลิกทำธุรกิจไป แต่มีนักธุรกิจจำนวนมากที่สร้างเครือข่ายผู้บริโภคอย่างเป็นธรรมชาติและสามารถมีรายได้หลักแสนหลักล้านได้ ผ่านการใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
- แบบที่สอง แผนแบบยูนิเลเวล คือแผนการตลาดในรูปแบบที่ถูกพัฒนาขึ้ันเพื่อปิดช่องว่างในรูบแบบแรก คือหากมองผิวเผินคือมีความยุติธรรมในการแบ่งปันผลประโยชน์ คือมีการแบ่งผลประโยชน์เป็นชั้น ๆ ตามลำดับ อาจจะเท่ากันทุกชั้นหรือแตกต่างกัน แล้วแต่แผนการตลาดในแต่ละบริษัท สิ่งที่น่าสังเกตุก็คือมักจะมีการรักษายอดเพื่อรับรายได้ ซึ่งหากไม่มียอดส่วนตัวจะไม่ได้รับค่าการตลาดของทีมงานหรือผู้บริโภค ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ที่สร้างทีมงานหรือสร้างผู้บริโภคไม่ทัน ทำให้ค่าใช้จ่ายที่ต้องรักษายอดทุกเดือนมากกว่ารายได้ที่ได้รับ จนทำให้หลายคนเลิกไปในที่สุด
- แบบที่สาม แบบไบนารี่ หรือหลายคนคุ้นเคยที่เรียกว่าจับคู่จ่าย ซึ่งเดิมนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากนักธุรกิจเครือข่ายเพราะมองว่าเป็นธุรกิจแบบมันนี่เกมส์ แต่บริษัทที่โด่งดังจากการจับคู่จ่ายในยุคต้น ๆ ก็คือ โสมเกาหลี ทำให้มีผู้สร้างรายได้เป็นจำนวนมาก แต่แผนธุรกิจแบบไบนารี่ มีแยกย่อยออกไปอีกสองชั้นคือ การจ่ายรายได้แบบยูนิเลเวลร่วมด้วย รวมถึงค่าการจับคู่จ่ายหรือการบาลานซ์์ ทำให้นักธุรกิจมีโอกาสสร้างรายได้จากหลายรูปแบบ มีความยืดหยุ่น โดยในยุคที่ 2 จะมีเงื่อนไขการรักษายอดในทุก ๆ เดือนเพื่อรับสิทธิ์ในการรับรายได้ตามแผนธุรกิจ บางบริษัทก็รักษายอดหลักร้อย แต่หลายบริษัทก็รักษายอดหลักพันหรือหลายพัน แล้วแต่บริษัทเป็นผู้กำหนด และการเป็นสมาชิกจะเป็นแบบรายปี ต่อสมาชิกปีต่อปี ทำให้นักธุรกิจหรือผู้บริโภคส่วนใหญ่จะหายไป เมื่อไม่ได้ต่อสมาชิกก็ไม่อยากกลับเป็นสมาชิกอีกเพราะต้องเสียเงินค่าสมัครสมาชิก
ยุคที่ 3 ของธุรกิจเครือข่ายแบบไบนารี่ มีจุดเด่นคือพยายามปิดจุดอ่อนของแผนการตลาดในยุคก่อน ๆ คือเมื่อสร้างคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว นักธุรกิจไม่ต้องมีการรักษายอดส่วนตัว แต่ให้เน้นในการสร้างฐานผู้บริโภค สมัครครั้งเดียวตลอดชีพ ธุรกิจเช่นนี้กำลังเติบโตเป็นอย่างมาก เพราะเข้าใกล้คำว่าการสร้างสินทรัพย์ เพราะแม้ว่านักธุรกิจจะไม่ได้ซื้อสินค้าแต่จะยังได้รับค่าตอบแทนจากค่าการตลาดของผู้บริโภคที่ยังมีการบริโภคสินค้าอยู่นั่นเอง
สรุป ธุรกิจเครือข่ายจึงไม่ใช่แชร์ลูกโซ่และไม่ใช่ธุรกิจขายตรง ธุรกิจเครือข่ายคือธุรกิจที่ให้นักธุรกิจ ทำการตลาดเพื่อกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคและรับค่าการตลาดเป็นส่วนแบ่ง โดยนักธุรกิจสามารถรับรายได้จากการสร้างแฟรนไชส์ของตนได้อีกหลายชั้น จึงเป็นที่มาของคำที่เรียกว่า Multi Level Marketing หรือ MLM ในปัจจุบัน
การเลือกทำธุริจเครือข่าย ต้องดูอะไรบ้าง เดี๋ยวเรามาว่ากันใน บทความถัดไป
ขอให้ทุกท่านมีชัยในการเริ่มต้นธุรกิจทุกท่านครับ
-อชิตะวีร์ วชิระพิภัทร์กุล- Ashi MLM Master