Live สวท.พะเยา

Live สวท.พะเยา สวท.พะเยา FM.95.25MHz. วิทยุให้ความรู้ คู่ความสุข คู่คนพะเยา รายการสวท.พะเยา

18/02/2025

รายการ อู้ข่าวจาวเหนือ โดยอ้ายแก้ว สวท.พะเยา 18 กุมภาพันธ์ 2568

17/02/2025
17/02/2025
17/02/2025
17/02/2025

รายการ ครอบครัวชาวสวนยาง วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568

สพฐ. ประกาศ 245 เขตพื้นที่การศึกษาติดตามเด็กตกหล่น-ออกนอกระบบ ครบ 100% พร้อมนำระบบ “1 โรงเรียน 3 รูปแบบ” ให้เรียนได้แบบย...
16/02/2025

สพฐ. ประกาศ 245 เขตพื้นที่การศึกษาติดตามเด็กตกหล่น-ออกนอกระบบ ครบ 100% พร้อมนำระบบ “1 โรงเรียน 3 รูปแบบ” ให้เรียนได้แบบยืดหยุ่น
บทสรุป
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) มอบเกียรติบัตรโครงการพาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง (OBEC Zero Dropout) ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกจากระบบการศึกษากลางคันได้ครบ 100% หลังมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขับเคลื่อนโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2565 นำร่อง 7 จังหวัด ในปี 2566 ขยายพื้นที่ 13 จังหวัดครอบคลุม 4 ภูมิภาค เกิดนโยบาย Thailand Zero Dropout ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการลงนาม MOU ร่วมกับ 10 หน่วยงาน จนปีนี้ สพฐ. ขยายผลครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ก่อนหน้านี้ สพฐ. ทั้ง 245 เขตทั่วประเทศสามารถค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกจากระบบได้ครบ 100% พร้อมจัดการศึกษา 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ พัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่ยืดหยุ่น เพื่อจัดการศึกษาให้เด็กและเยาวชนที่มีเงื่อนไขข้อจำกัด ยังคงอยู่ในระบบการศึกษาที่เหมาะสมและตอบโจทย์ชีวิตผู้เรียน ครอบครัว และชุมชน โดยรัฐบาลตั้งเป้าจะสนับสนุนช่วยเหลือเด็กและเยาวชนไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษาเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1.35 ล้านคน

รายละเอียด
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรโครงการพาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง *(OBEC Zero Dropout) ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกจากระบบการศึกษาได้ครบ 100% และเขตตรวจราชการดีเด่นด้านการบริหารจัดการ โดยมี นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายนิยม ไผ่โสภา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร สพฐ. เข้าร่วม
*(OBEC : Office of the Basic Education Commission สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การนำของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ได้นิ่งนอนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาเด็กตกหล่นและเด็กออกจากระบบการศึกษากลางคัน จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา “เด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา” และ “เด็กตกหล่น” ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 นำร่องดำเนินการ 7 จังหวัด และในปี พ.ศ. 2566 ขยายพื้นที่ดำเนินการเป็น 13 จังหวัด ครอบคลุม 4 ภูมิภาค จนเกิดเป็นนโยบาย Thailand Zero Dropout โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือมาตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ร่วมกับ 10 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในปี พ.ศ. 2568 กระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. ได้ต่อยอดต้นทุนการทำงานเดิม พัฒนาเป็นโครงการ “พาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง” OBEC Zero Dropout ขยายผลดำเนินการครบทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ประกาศว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่ง จำนวน 245 เขตทั่วประเทศ สามารถค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกจากระบบกลางคันได้ครบแล้ว 100% จึงได้จัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตร ให้กับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต (จำนวน 245 เขต) และผู้อำนวยการ เขตตรวจราชการดีเด่นด้านการบริหารจัดการ (จำนวน 18 เขตตรวจราชการ) เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

จัดการศึกษา 1 โรงเรียน 3 รูปแบบตอบโจทย์ข้อจำกัด
การดำเนินงานระยะต่อไป สพฐ. ได้พัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นด้วยแนวทาง
“1 โรงเรียน 3 รูปแบบ” สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัด สพฐ. เพื่อเอื้อให้สถานศึกษาได้พัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่ยืดหยุ่น เพื่อจัดการศึกษาให้เด็กและเยาวชนที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดในชีวิต ยังคงอยู่ในระบบการศึกษาที่เหมาะสมและตอบโจทย์ชีวิต ได้แก่ นวัตกรรมโรงเรียนมือถือ (Mobile School) นวัตกรรม 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ ที่ทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) อีกทั้งยังเชื่อมโยงการเรียนรู้กับชุมชน ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ เรียนผ่านการเก็บ Credit Bank ทำให้เรียนไปพร้อมมีรายได้ (Learn to Earn) ตอบโจทย์ชีวิตผู้เรียน ครอบครัว และชุมชน

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 ได้เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบ
1. การจัดการศึกษาในระบบ เหมือนหลักสูตรทั่วไปตามโรงเรียน
2. การศึกษานอกระบบ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาตามอัธยาศัย เรียนรู้ตามศักยภาพและความสนใจ
ความสำคัญของ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ คือการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน ที่สำคัญมีกฎหมายหลายฉบับรองรับความถูกต้อง โดยที่สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้ง 3 รูปแบบเลยก็ได้ โดยให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ ทั้งจากสถานศึกษาเดียวกัน ต่างกัน รวมทั้งการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย ฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์ทำงาน
• รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 54 ระบุว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
• พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 มาตรา 7 ระบุว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีเป้าหมาย
เพื่อจัดให้มีระบบกระตุ้น ชี้แนะ หรืออำนวยความสะดวกด้วยวิธีการใด ๆ ให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในเรื่องที่ตนสนใจหรือตามความถนัดของตัวเอง สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกประเภทได้ในเวลาใด ๆ ที่ตนสะดวกโดยไม่มีภาระค่าใช้จ่ายที่เกินสมควร และเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวาง รู้เท่าทัน พัฒนาการของโลกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปเติมเต็มชีวิตให้แก่ตนเองหรือเกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยอาจได้รับการรับรองคุณวุฒิตามความเหมาะสมด้วยก็ได้
• พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 25 ที่กำหนดว่า รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวชื่นชมและขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ “พาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง” (OBEC Zero Dropout) จนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี นับเป็นการรวมพลังกันในการสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือในการขับเคลื่อนแก้ปัญหาเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษาและ
เด็กตกหล่น ให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมในทุกพื้นที่ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้เห็นการดำเนินงานเชิงประจักษ์ในการพาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง ในพื้นที่จังหวัดของทุกท่านในระยะต่อไป เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ในภาพรวมของประเทศอย่างยั่งยืน

แนวทางการสื่อสาร
1. นำเสนอการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand Zero Dropout ของรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ดำเนินโครงการฯ ค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกจากระบบได้ครบ 100% ทั้ง 245 เขตการศึกษาทั่วประเทศ
2. นำเสนอแผนงานของ สพฐ. ในระยะต่อไป โดยเฉพาะการปรับแนวทางจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ เพื่อเอื้อให้สถานศึกษาได้พัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่ยืดหยุ่นทำให้เด็กและเยาวชนที่มีเงื่อนไขข้อจำกัดยังคงอยู่ในระบบการศึกษาที่เหมาะสมและตอบโจทย์ชีวิตผู้เรียน ครอบครัว และชุมชน
3. นำเสนอความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการขับเคลื่อนโครงการฯ จนประสบผลสำเร็จด้วยความร่วมมือของ
ทุกภาคส่วน ทำให้เด็กและเยาวชนได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมใน
ทุกพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในภาพรวมของประเทศอย่างยั่งยืน

แฮชแท็กเพื่อการสื่อสาร
#สพฐประกาศ245เขตพื้นที่การศึกษาติดตามเด็กตกหล่นออกนอกระบบครบ100%พร้อมนำระบบ1โรงเรียน3รูปแบบให้เรียนได้แบบยืดหยุ่น #กระทรวงศึกษาธิการ #สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
#กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา #นโยบายรัฐบาล20กระทรวง

นายกฯ นำทีม ครม. สัญจรภาคใต้ ครั้งแรกของปี จ.สงขลา เดินหน้าพัฒนาทุกมิติบทสรุป ในวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวแพทอง...
16/02/2025

นายกฯ นำทีม ครม. สัญจรภาคใต้ ครั้งแรกของปี จ.สงขลา เดินหน้าพัฒนาทุกมิติ
บทสรุป
ในวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรี จะลงพื้นที่จังหวัด พัทลุง และ สงขลา ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งแรกของปี 2568 นี้ โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงลงพื้นที่ตรวจราชการและรับฟังปัญหาของประชาชน
เพื่อผลักดันการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล ที่ครอบคลุมทุกด้านรวมถึงติดตามการฟื้นฟูอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ด้วย ขณะที่ทั้ง 5 จังหวัดกลุ่มภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาในระยะ 5 ปี
(พ.ศ. 2566 - 2570) คือ “พัฒนาการท่องเที่ยว การเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพ สู่ผลิตภัณฑ์ และบริการมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่สังคมเป็นสุข” เตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ ส่วนสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดกิจกรรม Press Tour นำคณะสื่อมวลชนกว่า 20 สำนัก เยี่ยมชม กิจกรรม ติดตามงานสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมควบคู่การประชุมคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้
รายละเอียด
(12 ก.พ. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรีเตรียมเดินทางลงพื้นที่จังหวัดพัทลุงและสงขลา ระหว่างวันจันทร์ วันอังคาร
ที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2568 โดย นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
นอกสถานที่ภาคใต้เป็นครั้งแรกของปีนี้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีทุกกระทรวง ลงพื้นที่ตรวจราชการ รับฟังปัญหา เพื่อผลักดันนโยบายของรัฐบาลในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคใต้ อาทิ การพัฒนาการเกษตรสู่เกษตรสมัยใหม่ และเกษตรมูลค่าสูง (ด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ สมุนไพร และไม้เศรษฐกิจ) รวมทั้งการท่องเที่ยว และท่องเที่ยวชุมชน สู่การท่องเที่ยวมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน การพัฒนาอุตสาหกรรม เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
(Bio-Circular-Green Economy: BCG) การค้า การลงทุน และการค้าชายแดน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดรวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งโลจิสติกส์ เครือข่ายการสื่อสาร และพลังงาน เพื่อเป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของกลุ่มจังหวัดภาคใต้เพื่อการพัฒนาสังคม สู่สังคมเป็นสุขและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน พร้อมทั้งติดตามการฟื้นฟูอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้อีกด้วย
นายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ ในวันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 โดยเวลาประมาณ 13.00 น. นายกรัฐมนตรีจะติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ที่จุดชมวิวทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งจุดนี้จะมองเห็นทะเลน้อย และทะเลสาบสงขลา เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำ เพื่อบริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนไม่ให้ได้รับผลกระทบทั้งน้ำท่วมน้ำแล้ง
อีกต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้
โครงการเสนอต่อการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ของจังหวัดพัทลุง
โดยโครงการสำคัญที่มีความพร้อมและดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี
1. โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมคลองปรางหมู่ ความยาว 360 เมตร พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์
บ้านป่ายาง หมู่ที่ 7 ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง งบประมาณ 29,600,000 บาท (หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพัทลุง)
2. โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมคลองเตราะ (ฝั่งทิศใต้) ความยาวรวม 210 เมตร พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ บ้านอ้าย หมู่ที่ 2 ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง งบประมาณ 20,400,000 บาท (หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพัทลุง)
3. โครงการกำจัดวัชพืชและพืชต่างถิ่นรุกรานในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา งบประมาณ 44,927,000 บาท (หน่วยงานรับผิดชอบ : เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย)
ต่อจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปยังบริษัท ไทยยูเนี่ยนซีฟู๊ด จำกัด ที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เพื่อพูดคุยรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ในกระบวนการผลิตและส่งออกอาหารทะเลของไทย เพื่อนำมาปรับปรุงนโยบายต่าง ๆ ของทางราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสินค้าประมงของไทยที่กำลังได้รับความนิยมจากตลาดโลก จากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปรับฟังแนวทางการสนับสนุนการท่องเที่ยวในเมืองน่าเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล ที่ชุมชนเมืองเก่าสงขลา และพูดคุยประเด็นการส่งเสริมหรือเปิดสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสงขลา ที่บริเวณเมืองเก่าสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ในวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลาประมาณ 10.00 น. นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ที่ห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จากนั้นช่วงบ่ายนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปยังด่านศุลกากรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามสถานการณ์การค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย และติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างถนนเชื่อมด่านศุลกากร สะเดาแห่งใหม่ กับด่านบูกิตกายูฮิตัม ของประเทศมาเลเซีย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นช่องทางการส่งออกและนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยไปยังมาเลเซีย ซึ่งเชื่อมต่อกับถนนมอเตอร์เวย์ของมาเลเซีย ที่เดินทางไปยังเมืองปีนัง และไปถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ต่อเนื่องไปถึงเมืองยะโฮบารู ชายแดนมาเลเซีย สิงคโปร์ ได้อีกด้วย
นายจิรายุ ระบุว่า “นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในการติดตามความคืบหน้าของโครงการพัฒนาภาคใต้
ฝั่งอ่าวไทย รวมถึงรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ เพื่อผลักดันนโยบายของรัฐบาลให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งการประชุม ครม.สัญจร ในภาคใต้ครั้งนี้ จะทำให้รัฐบาลเห็นถึงโอกาสและปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะติดขัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ที่มีศักยภาพอย่างมากในโครงการระดับประเทศและระดับโลกต่าง ๆ”
สำหรับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา ยังมีปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาด้วยเช่นกัน อาทิ ภาคเกษตรยังเผชิญกับปัญหา ประสิทธิภาพของผลผลิต เกษตรกรแบกรับภาระต้นทุนที่สูง ขณะที่การต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มมีการพัฒนาที่จำกัดเพียงการแปรรูปขั้นต้น โครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อสนับสนุนภาคการผลิตและการท่องเที่ยวที่ยังไม่ครอบคลุมและไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะอุทกภัยซ้ำซากที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ จึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาใน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) คือ “พัฒนาการท่องเที่ยว การเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพ สู่ผลิตภัณฑ์ และบริการมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่สังคมเป็นสุข”
“อนุกูล” รับทัพสื่อมวลชนลงพื้นที่สงขลา 16 ก.พ. 68 ติดตามโครงการสำคัญของรัฐบาล “ท่องเที่ยว-ด่านการค้าชายแดน” ก่อนการประชุม ครม.สัญจร อังคารนี้
(15 ก.พ. 68) นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดกิจกรรม Press Tour นำคณะสื่อมวลชนกว่า 20 สำนัก ลงพื้นที่จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมควบคู่การประชุม ครม.สัญจร ณ จังหวัดสงขลา โดยจุดแรกคณะสื่อมวลชนจะเดินทางไปยังโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงเมืองชายแดน
พุทธอุทยานเขาเล่ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจ
มีจุดชมวิว “ทะเลหมอก” ธรรมชาติที่งดงาม และมีจุดชมวิว 360 องศา คือ ยอดเขาหัวล้าน ยอดเขาเขียว เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวคนไทยไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น นักปีนเขา นักเดินป่า แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 โซน คือ
1. โซนผืนป่า ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเทศบาลเมืองสะเดา ได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เนื้อที่ 325 ไร่
2. โซนพุทธอุทยาน ได้มีการก่อสร้างองค์ “พระพุทธนิมิตพิชิตมาร” ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองสะเดาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องเร่งยกระดับในการพัฒนาการท่องเที่ยวในทุก ๆ ด้าน ซึ่งโครงการพัฒนาและปรับภูมิทัศน์พุทธอุทยานเขาเล่ ถือเป็นโครงการที่สำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว
เข้ามาในพื้นที่ สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้
จากนั้น คณะสื่อมวลชน จะเดินทางไปยังด่านปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาข้อมูลแนวทางรองรับรถไฟรางคู่ จาก ปาดังเบซาร์ – หาดใหญ่ และติดตามสถานการณ์การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียและชาติอื่น ๆ เข้าไทยโดยการท่องเที่ยวทางราง ทั้งนี้ ข้อมูลจากด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลา พบว่า มาเลเซียเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมเดินทางมายังประเทศไทยมากที่สุด โดยในปี 2567 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเดินทางเข้ามายังจังหวัดสงขลารวม 2,479,427 คน และในเดือนมกราคม 2568
มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียรวม 222,988 คน
ถัดจากนั้น คณะสื่อมวลชนจะเดินทางไปยังวัดจะทิ้งพระ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เพื่อไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้น คณะสื่อมวลชนเดินทางต่อไปยัง วัดพะโคะ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เสร็จแล้ว คณะสื่อมวลชนเดินทางต่อไปยัง ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ดินแดนลูกปัดมโนราห์ ชมความงามและแหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทางทะเลหลวง
ต่อจากนั้น คณะสื่อมวลชนจะเดินทางไปยังจังหวัดพัทลุง โดยระหว่างทางผ่านสะพานเฉลิมพระเกียรติ
80 พรรษาฯ คณะสื่อมวลชนจะแวะรับชมความงามในช่วงยามเย็นของทะเลน้อยและชมควายปลัก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาการเลี้ยงควายภายใต้ระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำ

แนวทางการสื่อสาร
1. นำเสนอกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงการดำเนินนโยบายพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยที่จะเชื่อมโยงกันทั้งเรื่องสังคม เศรษฐกิจ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
2. นำเสนอข้อเสนอของแต่ละจังหวัดในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งนี้ เพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเกิดการพัฒนาที่ตรงจุด ตรงปัญหาของพื้นที่และประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
แฮชแท็กเพื่อการสื่อสาร
#นายกฯนำทีมครมสัญจรภาคใต้ครั้งแรกของปีจสงขลาเดินหน้าพัฒนาทุกมิติ #ครมสัญจรจังหวัดสงขลา #บริหารจัดการน้ำทะเลสาบสงขลา #กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย #นโยบายรัฐบาล20กระทรวง

16/02/2025
14/02/2025

รายการ พะเยาม่วนใจ๋ ตอน พะเยาฟ้าใส ไร้มลพิษ วันที่14 กุมภาพันธ์ 2568
.5
#ฝุ่นPM2.5
#ป้องกันฝุ่นPM2.5

14/02/2025

รายการ พัฒนาฝีมือแรงงานพบคุณ
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568

14/02/2025

รายการ พะเยาม่วนใจ๋ เปิดประตูการค้าชายแดน 4 ภูมิภาค 14 กุมภาพันธ์ 2568

13/02/2025

รายการ อู้ข่าวจาวเหนือ โดยอ้ายแก้ว สวท.พะเยา 13 กุมภาพันธ์ 2568

13/02/2025

รายการ ผู้ว่าฯ พบประชาชน
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568

ครม. อนุมัติงบกลาง 190 ล้านบาท ชดเชยรถไฟฟ้า-รถเมล์ฟรี แก้วิกฤต PM2.5 และลดค่าใช้จ่ายประชาชน บทสรุป ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีม...
12/02/2025

ครม. อนุมัติงบกลาง 190 ล้านบาท ชดเชยรถไฟฟ้า-รถเมล์ฟรี แก้วิกฤต PM2.5 และ
ลดค่าใช้จ่ายประชาชน
บทสรุป
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานคร ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 190.43 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบฝุ่นละออง ขนาดเล็ก PM2.5 ระยะวิกฤต ระหว่างวันที่ 25 – 31 มกราคม 2568 โดยผลการดำเนินโครงการสามารถลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้จำนวนมาก ปริมาณการจราจรลดลง ซึ่งเปรียบเทียบกับสถิติก่อนหน้าดำเนินมาตรการ พบว่า ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (กระทรวงคมนาคม) มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 1,981,221 คน ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (กรุงเทพมหานคร) เพิ่มขึ้น 2,135,225 คน รถโดยสารสาธารณะ (ขสมก.) เพิ่มขึ้น 1,418,605 คน รถยนต์ส่วนบุคคลบนสายทางพิเศษ ลดลง 56,192 คัน และรถยนต์ส่วนบุคคลบนถนนลดลง 3,451 คัน ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการลดวิกฤต PM2.5 แล้ว ยังลดการใช้พลังงานน้ำมัน ช่วยลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาการเดินทางของประชาชนอีกด้วย
รายละเอียด
ครม.อนุมัติมาตรการลดผลกระทบฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ระยะวิกฤต ระหว่างวันที่ 25 – 31 มกราคม 2568 ภาคการคมนาคมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับดำเนินการตามมาตรการวงเงิน 190.43 ล้านบาท
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานครใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 190.43 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ระยะวิกฤต ระหว่างวันที่ 25 – 31 มกราคม 2568 ตามปริมาณผู้โดยสารที่เกิดขึ้นจริง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. กระทรวงคมนาคม โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ของภาคคมนาคม ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อลดและบรรเทาปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และได้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานสำหรับมาตรการระยะเร่งด่วน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2567 – 15 มกราคม 2568 (ช่วงวิกฤติ) ดังนี้
1.1 มาตรการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ตรวจสภาพรถของหน่วยงาน (เป็นประจำทุกเดือน) ซึ่งมีจำนวนยานพาหนะที่ผ่านการบำรุงรักษา/ตรวจสอบ ประกอบด้วยรถยนต์ของหน่วยราชการจำนวน 6,528 คัน
รถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกจำนวน 104,866 คัน เรือโดยสารสาธารณะจำนวน 35 ลำ ยานพาหนะ/เครื่องจักรผู้รับเหมา จำนวน 1,404 คัน/เครื่อง
1.2 มาตรการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ซึ่งมีระบบขนส่งสาธารณะที่เปลี่ยนมาใช้น้ำมัน B20/B10 ได้แก่ รถโดยสาร (B20) จำนวน 2,073 คัน หัวรถจักร (รถไฟ) (B20/B10) จำนวน 21 คัน
1.3 มาตรการแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ได้แก้ปัญหารถติดหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางของกรมทางหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และจัดให้มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกหน้าด่านและติดตั้งระบบ M-Flow
1.4 มาตรการลดฝุ่น ซึ่งได้ดำเนินการปล่อยละอองน้ำลดฝุ่น จำนวน 80 จุด และควบคุมฝุ่นในพื้นที่ก่อสร้างจำนวน 81 จุด
2. ต่อมาในช่วงระหว่างวันที่ 20 – 24 มกราคม 2568 ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน กระทรวงคมนาคมจึงเห็นว่าจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมเพิ่มเติมเพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองลงทันทีและกลับมาอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะและลดจำนวนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล รวมทั้งกวดขันมาตรการอื่น ๆ ดังนี้
2.1 มาตรการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนบุคคลในช่วงเวลาวิกฤติ จากข้อมูลของกรุงเทพมหานครพบว่า แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาจากรถยนต์ส่วนบุคคลที่เป็นรถยนต์สันดาปภายในถึงร้อยละ 65 (รถยนต์ที่เครื่องยนต์ใช้เชื้อเพลิง เช่น เบนซิน หรือ ดีเซล) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จึงได้ร่วมกันดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีที่ให้ใช้การยกเว้นค่าบริการ เป็นแรงจูงใจให้ประชาชนงดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะระยะเวลาดำเนินมาตรการ 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 - 31 มกราคม 2568 ประกอบด้วย
2.1.1 การยกเว้นค่าบริการรถโดยสารสาธารณะของ ขสมก. ประกอบด้วย รถโดยสารธรรมดา จำนวน 1,520 คัน และรถโดยสารปรับอากาศ จำนวน 1,364 คัน
2.1.2 การยกเว้นค่าบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สายนัคราพิพัฒน์ (สายสีเหลือง) และสายสีชมพู รถไฟชานเมืองสายนครวิถีและธานีรัถยา (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าและรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้มีมติอนุมัติแล้ว รวมทั้งรถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) และรถไฟฟ้าสายสีทอง
โดยมีสถิติปริมาณผู้โดยสารและรายได้เฉลี่ยต่อวันย้อนหลัง 7 วัน (ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2568) ที่เกิดขึ้นจริง สรุปได้ ดังนี้
โครงการ/บริการ ผู้โดยสาร
(คน/วัน) รายได้
(ล้านบาท/วัน) รายได้รวม 7 วัน
(ล้านบาท)
ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (กระทรวงคมนาคม)
1) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) 455,270 13.54 94.78
2) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) 70,444 1.03 7.21
3) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายนัคราพิพัฒน์ (สายสีเหลือง) 42,227 1.33 9.31
4) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู 58,485 1.91 13.37
5) รถไฟชานเมืองสายนครวิถี
และธานีรัถยา (สายสีแดง) 35,845 0.70 4.90
6) โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 71,040 2.09 14.63
รวม 733,311 20.60 144.20
ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (กรุงเทพมหานคร)
1) รถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) 752,880 19.01 133.07
2) รถไฟฟ้าสายสีทอง 7,168 0.11 0.77
รวม 760,048 19.12 133.84
รถโดยสารสาธารณะ (ขสมก.)
1) รถโดยสารธรรมดา 261,123 2.09 14.60
2) รถโดยสารปรับอากาศ 264,709 5.30 37.09
รวม 525,832 7.39 51.69
รวมทั้งหมด 2,019,191 47.11 329.73

2.2 มาตรการคุมเข้มตรวจค่าควันดำรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก โดยมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจวัดค่าควันดำอย่างจริงจังและครอบคลุมพื้นที่สำคัญ
2.3 มาตรการคุมเข้มพื้นที่ก่อสร้าง โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่มีพื้นที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเข้าบริหารจัดการพื้นที่ทันทีและให้ดำเนินการตามมาตรการลดฝุ่นในพื้นที่ก่อสร้างอย่างเคร่งครัด เช่น การฉีดพรมน้ำ การทำความสะอาดล้อรถที่เข้าออกพื้นที่ก่อสร้าง การกวาดล้างถนนที่เปื้อนดินจากการก่อสร้าง เป็นต้น
3. การดำเนินการตามมาตรการเพิ่มเติมตามข้อ 2 ได้รับประโยชน์ เช่น ช่วยลดปัญหาการจราจรและมลพิษที่เกิดจากการใช้รถใช้ถนน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยผู้โดยสารเข้ามาใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มขึ้น และปริมาณการจราจรลดลง ตลอดช่วงของ ขสมก. และการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ตั้งแต่วันที่ 25-31 มกราคม 2568 สรุปได้ ดังนี้
โครงการ/บริหาร/สายทาง/เส้นทาง ปริมาณผู้โดยสาร (ต่อเที่ยว) เปลี่ยนแปลง [เพิ่มขึ้น/(ลดลง)]
ก่อนดำเนินการมาตรการ ระหว่างดำเนินมาตรการ จำนวน ร้อยละ
(1) ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (กระทรวงคมนาคม) เช่น โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม
(สายสีม่วง) โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น
ที่มา: กรมการขนส่งทางราง 5,087,960 คน 7,069,181 คน +1,981,221 คน +38.94
(2) ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
(กรุงเทพมหานคร) ได้แก่ รถไฟฟ้าระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS)
และรถไฟฟ้าสายสีทอง
ที่มา: กรมการขนส่งทางราง 5,301,806 คน 7,437,031 คน +2,135,225 คน +40.27
(3) รถโดยสารสาธารณะ (ขสมก.)
ทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสาร
ปรับอากาศ
ที่มา: ขสมก.
3,589,264 คน 5,007,869 คน +1,418,605 คน +39.52
(4) รถยนต์ส่วนบุคคลบนสายทางพิเศษ เช่น สายศรีรัช สายเฉลิมมหานคร
สายกาญจนาภิเษก เป็นต้น
ที่มา: การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 11,668,280 คัน 11,612,088 คัน -56,192 คัน -0.48
(5) รถยนต์ส่วนบุคคลบนท้องถนน
เช่น ถนนพระราม 4 และถนนพหลโยธิน
ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
32,635 คัน 29,184 คัน -3,451 คัน -10.57
3.2 ลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ประหยัดเวลาในการเดินทางลดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุทางถนน และลดการใช้พลังงานน้ำมัน
3.3 กระตุ้นให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นการสร้างความคุ้นเคยและแรงจูงใจให้กับประชาชนกลุ่มที่ไม่เคยใช้ระบบขนส่งสาธารณะมาก่อน ให้เข้ามาใช้ระบบขนส่งสาธารณะในระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป
4. มาตรการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนบุคคลในช่วงเวลาวิกฤติ เป็นการยกเว้นค่าใช้บริการระบบรถไฟฟ้าและรถโดยสารประจำทางให้ประชาชนทั้งหมด ตามปริมาณผู้โดยสารที่เกิดขึ้นจริง
มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด 329.73 ล้านบาท โดยมีแหล่งที่มาจาก (1) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 190.43 ล้านบาท (สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่านายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการขอรับจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินมาตรการลดผลกระทบฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ระยะวิกฤต ระหว่างวันที่ 25-31 มกราคม 2568 ของกระทรวงคมนาคม) และ (2) รายได้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 139.30 ล้านบาท

แนวทางการสื่อสาร
1. นำเสนอมติคณะรัฐมนตรีในการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 190.43 ล้านบาท เพื่อดำเนินมาตรการลดผลกระทบฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และลดค่าใช้จ่ายแก่ประชาชน โดยการให้บริการรถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ ฟรีเป็นเวลา 7 วัน เมื่อวันที่
25-31 ม.ค. 68 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. นำเสนอผลการดำเนินมาตรการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนบุคคลในช่วงเวลาวิกฤติ ในช่วงวันที่ 25-31 ม.ค. 68 เพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 และลดค่าใช้จ่ายแก่ประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาล
โดยรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (กรุงเทพมหานคร) มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 2,135,225 คน รถโดยสารสาธารณะ (ขสมก.) เพิ่มขึ้น 1,418,605 คน

แฮชแท็กเพื่อการสื่อสาร
#ครมอนุมัติงบกลาง190ล้านบาทชดเชยรถไฟฟ้ารถเมล์ฟรีแก้วิกฤตPM2.5 #รถไฟฟ้ารถเมล์ฟรีแก้วิกฤตPM2.5
#ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลดฝุ่นPM2.5 #กระทรวงคมนาคม #นโยบายรัฐบาล20กระทรวง
-

ครม. เห็นชอบขยายผลโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ลูกหนี้กลุ่ม Non - Banks ลดยอดเหลือร้อยละ 70 พักดอกเบี้ย 3 ปีบทสรุป(11 ก.พ. 6...
12/02/2025

ครม. เห็นชอบขยายผลโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ลูกหนี้กลุ่ม Non - Banks ลดยอดเหลือร้อยละ 70 พักดอกเบี้ย 3 ปี
บทสรุป
(11 ก.พ. 68) คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย กลุ่ม *Non – Banks ภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” และหลักเกณฑ์ เงื่อนไข กระบวนการเบิกจ่ายโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ Soft loan สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจกลุ่ม Non – Banks ของธนาคารออมสิน ใน 2 มาตรการ 1.มาตรการจ่ายตรงคงทรัพย์ ลดหนี้ให้เหลือร้อยละ 70 ลดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ตลอด 3 ปี หากสามารถทำตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ (จำนวน 1.7 ล้านบัญชี ยอดคงค้างรวม 50,000 ล้านบาท) และ 2.มาตรการจ่ายปิดจบ (บุคคลธรรมดา) มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาท ลดหนี้ให้ร้อยละ 90 จ่ายเพียงร้อยละ 10 (จำนวน 31,000 บัญชี ยอดคงค้างรวม 120 ล้านบาท) โดยรัฐบาลจะให้กลุ่ม Non - Banks สามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ Soft Loan ยิ่งช่วยลูกหนี้มากเท่าไหร่ ก็สามารถขอสินเชื่อได้มากเท่านั้น มีวงเงินการช่วยอุดหนุน 50,000 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้ของ Non - Banks สมัครเข้าร่วมได้ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo หรือติดต่อเจ้าหนี้ได้ถึง 30 เมษายน 2568 ในส่วนผู้ประกอบการธุรกิจ Non – Banks ของธนาคารออมสินมีการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไข ได้แก่ วงเงินสินเชื่อต่อรายสูงสุดไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ยื่นขอสินเชื่อถึง 30 มิถุนายน 2568 (* Non – Banks คือ ผู้ให้บริการทางการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน)
รายละเอียด
(11 ก.พ. 68) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย กลุ่ม Non – Banks ภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” และหลักเกณฑ์เงื่อนไข กระบวนการเบิกจ่ายโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ Soft Loan สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจกลุ่ม Non – Banks ของธนาคารออมสิน เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้กลุ่ม Non – Banks ให้สามารถฟื้นตัวกลับมาชำระหนี้
ด้าน นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบขยายผลโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ให้ลูกหนี้รายย่อยของกลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ Non - Banks ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับโครงการเดิม แบ่งเป็น ดังนี้
• มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ ช่วยเหลือลูกหนี้ ช่วยลูกหนี้ค้างชำระตั้งแต่ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ของ Non - Banks ในสินเชื่อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ โดยจะช่วยลดหนี้ให้เหลือร้อยละ 70 ลดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ตลอด 3 ปี หากสามารถทำตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ ที่เหลือรัฐบาลจะเป็นผู้อุดหนุนให้
• มาตรการจ่ายปิดจบ สำหรับบุคคลธรรมดาผู้มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาท ลดหนี้ให้ร้อยละ 90 ประชาชนจ่ายเพียงร้อยละ 10 โดยรัฐบาลจะเป็นผู้อุดหนุนในส่วนที่เหลือ
ทั้งนี้ รัฐบาลจะให้สถาบันการเงินกลุ่ม Non - Banks สามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) จากธนาคารออมสินได้ ซึ่งยิ่ง Non - Banks มีการช่วยลูกหนี้มากเท่าไหร่ ก็สามารขอสินเชื่อ soft loan ได้มากเท่านั้น
• วงเงินการช่วยอุดหนุน 50,000 ล้านบาท ธนาคารออมสินจะเป็นผู้ออกเงินเองทั้งหมด
• สำหรับลูกหนี้ของ Non - Banks ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/khunsoo หรือหรือติดต่อสถาบันการเงินที่ท่านเป็นลูกค้าได้ ตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 เมษายน 2568

เปิดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของ Non – Banks ภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย”
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของผู้ประกอบการธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non – Banks) ภายใต้โครงการคุณสู้ เราช่วย และหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และกระบวนการเบิกจ่ายโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ Non – Banks ของธนาคารออมสิน ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ ดังนี้
1. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non - Banks) ภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ซึ่งประกอบด้วย
(1) มาตรการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระดอกเบี้ยโดยการเน้นตัดต้นเงิน โดยลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเป็นร้อยละ 70 ของค่างวดก่อนเข้าร่วมมาตรการ และลดอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 10 ทั้งนี้ คาดว่ามีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายการได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 1.7 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 50,000 ล้านบาท
(2) มาตรการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็น NPLs ที่มียอดหนี้ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท) โดยให้ลูกหนี้จ่ายชำระหนี้ ร้อยละ 10 ของภาระหนี้คงค้าง เพื่อเป็นการชำระหนี้ปิดบัญชี ทั้งนี้ คาดว่ามีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายการได้รับการช่วยเหลือจำนวน 31,000 บัญชี คิดเป็นยอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 120 ล้านบาท โดย Non - Banks จะใช้วงเงินสินเชื่อที่ได้รับจากโครงการดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) (โครงการ Soft Loan) สำหรับ ผู้ประกอบธุรกิจ Non - Banks ของธนาคารออมสิน เพื่อบริหารสภาพคล่องของธุรกิจและชดเชยการสูญเสียต้นทุนเงินจากการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการดังกล่าว
2. หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และกระบวนการเบิกจ่ายโครงการ Soft Loan สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ Non - Banks ของธนาคารออมสิน โดยเป็นการปรับปรุงรายละเอียดบางประการให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้กรอบหลักการโครงการ Soft Loan เดิมที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 (ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติไว้ จำนวน 3,000 ล้านบาท) ซึ่งได้มีการหารือร่วมกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง และธนาคารออมสิน เรียบร้อยแล้ว เช่น
(1) วิธีการคำนวณวงเงินสินเชื่อที่ Non – Banks จะได้รับ (เดิมไม่ได้กำหนด)
(2) วงเงินสินเชื่อของ Non – Banks ต่อรายสูงสุดไม่เกิน 5,000 ล้านบาท (เดิมไม่ได้กำหนด)
(3) ระยะเวลายื่นขอสินเชื่อ จากเดิม ภายใน 30 ธันวาคม 2568 เป็น 30 มิถุนายน 2568
(4) เงื่อนไขอื่น ๆ เพื่อกำกับดูแลการให้สินเชื่อ Soft Loan ของ Non - Banks เช่น ธนาคารออมสิน จะติดตามผลการให้ความช่วยเหลือเพื่อทบทวนจำนวนวงเงินกู้เป็นประจำปีละครั้ง โดยธนาคารออมสินสามารถกำหนดเงื่อนไขให้ Non - Banks ชำระหนี้คืน เพื่อลดภาระหนี้คงเหลือให้เท่ากับวงเงินลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ และกรณีที่ ธปท. ตรวจสอบพบว่า Non - Banks ไม่ได้ช่วยเหลือลูกหนี้มาตรการ Non - Banks จะต้องแจ้งผลการตรวจสอบของ ธปท. ให้ธนาคารออมสินทราบด้วย โดย Non - Banks ต้องชำระคืนเงินกู้ในส่วนที่ไม่ได้ช่วยเหลือลูกหนี้ภายในระยะเวลา 30 วัน
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมีลักษณะเดียวกับการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 (ตามข้อ 2) โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่แตกต่างกันบางประการ สรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย
ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
(มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567) Non – Banks
(ขอเสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้)
(1) มาตรการ
ปรับโครงสร้างหนี้
แบบลดภาระดอกเบี้ย
โดยการเน้นตัดต้นเงิน









- ลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ชำระค่างวด ร้อยละ 50 70 และ 90 ตามลำดับ และดอกเบี้ยจะพักการชำระไว้ในช่วงระยะเวลามาตรการ หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอด 3 ปี สถาบันการเงินจะยกเว้นดอกเบี้ยที่พักไว้ให้ลูกหนี้
- ดอกเบี้ยที่ยกเว้นให้ลูกหนี้ข้างต้น ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะรับภาระร้อยละ 50
ส่วนอีกร้อยละ 50 มาจากการลดอัตราที่ธนาคารพาณิชย์นำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ FIDF (Financial Institutions Development Fund )
(กรณีธนาคารพาณิชย์) และเงินงบประมาณตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อชดเชย (กรณีสถาบันการเงินเฉพาะกิจ) - ลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเป็นร้อยละ 70 ของค่างวดก่อนเข้าร่วมมาตรการ และลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 จากอัตราดอกเบี้ยก่อนเข้าร่วมมาตรการ เป็นระยะเวลา 3 ปีโดยดอกเบี้ยส่วนที่ลดจะพักชำระไว้ทั้งหมดหากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้
- ต้นทุนทางการเงินของดอกเบี้ยที่พักชำระไว้ Non - Banks รับภาระเองร้อยละ 10 และส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 90 ภาครัฐอุดหนุนผ่านโครงการ Soft Loan สำหรับ
ผู้ประกอบธุรกิจ Non - Banks ของธนาคารออมสิน


(2) มาตรการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้น เป็น NPLs ที่มียอดหนี้ ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท

การปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน โดยลดภาระให้ลูกหนี้จ่ายชำระหนี้ร้อยละ 10 ของภาระหนี้
คงค้าง เพื่อเป็นการชำระหนี้ปิดบัญชี ส่วนที่เหลือให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรับภาระร้อยละ 45 และอีกร้อยละ 45 ให้ใช้จ่ายจากการลดอัตราที่ธนาคารพาณิชย์นำส่งเงินเข้ากองทุน FIDF (กรณีธนาคารพาณิชย์) และเงินงบประมาณตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อชดเชย (กรณีสถาบันการเงินเฉพาะกิจ) การปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน โดยลดภาระให้ลูกหนี้จ่ายชำระหนี้ร้อยละ 10 ของภาระหนี้คงค้าง เพื่อเป็นการชำระหนี้ปิดบัญชี ส่วนที่เหลือให้ Non - Banks รับภาระเอง ร้อยละ 9 ของภาระหนี้คงค้าง และภาครัฐอุดหนุนผ่านโครงการ Soft Loan สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ Non - Banks ของธนาคารออมสิน ร้อยละ 81 ของภาระหนี้
คงค้าง

แหล่งเงินที่ใช้ในการดำเนินมาตรการ (1) และ (2)
(1) เงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF ของธนาคารพาณิชย์ (ที่ได้รับการละเว้นจากการปรับลดอัตรานำส่งเงินเข้ากองทุนดังกล่าว) จำนวน 39,000 ล้านบาท
(2) เงินงบประมาณตามมาตรา 28 แห่งพระราช บัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
เพื่อชดเชยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่ง จำนวน 38,920 ล้านบาท โครงการ Soft Loan สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ Non - Banks ของธนาคารออมสิน วงเงิน 50,000 ล้านบาท (โดยภาครัฐจะใช้เงินงบประมาณตามมาตรา 28 แห่งพระราช บัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อชดเชยต้นทุนเงินให้ธนาคารออมสิน
จำนวน 3,000 ล้านบาท)

3. กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ ธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการ/ไม่ขัดข้อง/ไม่ขัดข้องในหลักการ โดย กระทรวงมหาดไทย มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 อย่างเคร่งครัดและรอบคอบ ในขณะที่ สศช. เห็นควรให้ กระทรวงการคลังกำกับและติดตามการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจ Non - Banks ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อย่างเคร่งครัดและ สงป. ขอให้ธนาคารออมสินจัดทำเเผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและตามผลการดำเนินงานจริง

แนวทางการสื่อสาร
นำเสนอมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย กลุ่ม Non – Banks ภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” โดยมีการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไข ทั้งลูกหนี้ (จำนวนกว่า 1.7 ล้านบัญชี) และกระบวนการเบิกจ่ายโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจกลุ่ม Non – Bank ของธนาคารออมสิน เช่น ลดอัตราการผ่อนชำระ ลดดอกเบี้ย วงเงิน และระยะเวลาการยื่นขอสินเชื่อ

แฮชแท็กเพื่อการสื่อสาร
#ครมเห็นชอบขยายผลโครงการคุณสู้เราช่วยลูกหนี้กลุ่มNonBanksลดยอดเหลือร้อยละ70พักดอกเบี้ย3ปี
#กระทรวงการคลัง #ธนาคารออมสิน #ธนาคารแห่งประเทศไทย #นโยบายรัฐบาล20กระทรวง

ที่อยู่

507 หมู่1
Phayao
56000

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 16:30
อังคาร 08:00 - 16:30
พุธ 08:00 - 16:30
พฤหัสบดี 08:00 - 16:30
ศุกร์ 08:00 - 21:30

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Live สวท.พะเยาผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์