The Durian Times

  • Home
  • The Durian Times

The Durian Times เพจศูนย์รวมทุกเรื่องของวงการทุเรียนประเทศไทย

แนวทางการเก็บตัวอย่างการเก็บตัวอย่างส่งตรวจเพื่อเฝ้าระวังแคดเมียม👉🏻 ใบ - เก็บใบที่เป็นใบปรุงอาหาร(ใบเพสลาด ไม่เอาใบอ่อน/...
09/02/2025

แนวทางการเก็บตัวอย่าง

การเก็บตัวอย่างส่งตรวจเพื่อเฝ้าระวังแคดเมียม

👉🏻 ใบ - เก็บใบที่เป็นใบปรุงอาหาร(ใบเพสลาด ไม่เอาใบอ่อน/ใบแก่) เก็บกระจายทั่วแปลงให้ได้น้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ใส่ถุงปิดสนิท

👉🏻 ดิน - กระจาย 5 จุดในสวนเป็นรูปเครื่องหมายคูณ ความลึก 15-30 cm คละกันให้ได้น้ำหนัก 3 กิโลกรัม ใส่ถุงปิดสนิท

👉🏻 น้ำ - เก็บน้ำบริเวณชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่าง รวมปริมาตร 5 ลิตร ใส่แกลลอนปิดสนิท

👉🏻 ลูกทุเรียน - ต้องอายุผล 60+ วันแล้ว จำนวน 2 ลูก

👉🏻 ปุ๋ยคอก - น้ำหนัก 5 กิโลกรัม (***ใส่ถุงหนาปิดสนิท)

👉🏻 ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด - น้ำหนัก 200-300 กรัม(2-3ขีด) (***ใส่ถุงหนาปิดสนิทที่ไม่มียี่ห้อสินค้า)

👉🏻 ปุ๋ยเคมีน้ำ - ปริมาตร 200-300 มิลลิลิตร (***แยกใส่ภาชนะปิดสนิทที่ไม่มียี่ห้อสินค้า)

เขียนชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อให้ชัดเจน

** โพสนี้เขียนโดย คนขายยา ใครไม่ชอบหรือมีอคติกับคนขายยา ให้เลื่อนผ่านไม่ต้องอ่านหรือคอมเมนต์ให้เปลืองเน็ต **มาต่อประเด็น...
09/02/2025

** โพสนี้เขียนโดย คนขายยา ใครไม่ชอบหรือมีอคติกับคนขายยา ให้เลื่อนผ่านไม่ต้องอ่านหรือคอมเมนต์ให้เปลืองเน็ต **

มาต่อประเด็นเรื่องสารกำจัดแมลงที่ทางการจีนแจ้งมาว่า งดใช้ในการผลิตไม้ผลที่จะส่งเข้ามาขายในประเทศจีน ด้วยเหตุผลคือ

1. ทางประเทศจีนจำกัดการใช้สารกำจัดแมลง 4 ตัวที่แจ้งเตือนมา

2. สารกำจัดแมลงที่จีนห้ามใช้ในลำไยและผลไม้ส่งออก

1.พิโฟรนิล

2. โอเมทโทเอท

3. คาร์โบซัลแฟน / คาร์โบฟูแรน ( 2 ตัวนี้ไม่ต่อทะเบียน )

4. อะซีเฟต ( ไม่ต่อทะเบียน )

5. แถมให้อีกตัวคือ ไดเมทโทเอท ตัวนี้สลายตัวเป็น โอเมทโทเอท

3. ตอนแรกที่ประกาศทางกรมวิชาการแจ้งว่าในลำไย แต่ถ้าดูจากรูปที่กรมวิชาการประกาศจะมีคำว่า

“ ห้ามใช้ในการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกและห้ามใช้ในการผลิตผลไม้ “ อ่านประโยคนี้ตีความได้เลยว่า อะไรที่เป็นผลไม้ ห้ามใช้สาร 4 ตัวที่ทางการจีนแจ้งมา

เพราะมีข้อกำหนดปริมาณตกค้างของสารในเนื้อผลไม้แจ้งไว้อยู่แล้ว โดยรวมมาถึง ทุเรียน แน่นอนเพราะคำว่าผลไม้ หมายความว่าอะไรที่เป็นผลไม้ ห้ามมีสาร 4 ตัวนี้ตกค้างในเนื้อเกินปริมาณที่กำหนด

มาดูต่อว่า แล้วปริมาณตกค้างของสารที่แจ้งมาห้ามเกินเท่าไหร่

โพสนี้เขียนแค่ยาที่ยังมีขายอยู่อย่างถูกกฎหมายอยู่ 2 ตัว คือ โอเมทโอเอต และ พิโพรนิล ส่วนอีก 3 ตัวคือ คาร์โบซัลแฟน คาร์โบฟูราน อะซีเฟต ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรไม่ต่อทะเบียนแล้ว ขอไม่หาข้อมูลมาเขียนแล้วกัน

1. โอเมโทเอต

ประเทศจีนอนุญาตให้มีสารโอเมทโทเอต ตกค้างได้เพียง 0.02 มิลลิกรัม / กิโลกรัม ซึ่ง สารโอเมทโทเอต เป็นสารดูดซึมและมีฤทธิ์ตกค้างได้นานมากว่า 30 วันหลังจากพ่นไป หรืออาจจะมากกว่านั้น ไดเมโทเอตและโอเมโทเอตภายใต้สภาวะ pH ที่แตกต่างกัน ไดเมโทเอตและโอเมโทเอตจะสลายตัวอย่างรวดเร็วในสารละลายน้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า half life จะอยู่ที่ประมาณ 1-2 วัน แต่มีความเสถียรสูงในสารละลายที่เป็นกรด ค่า half life จะอยู่ที่ประมาณ 1-2 วัน 9-18 วัน

ซึ่งเรื่องการแจ้งเตือนการตกค้างของสาร โอเมโทเอต เกินค่าที่กำหนดทางประเทศจีนได้แจ้งมาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว ในปี 2564 ตั้งแต่สมัย ผอ. ตู่ ชลธี นุ่มหนู ยังเป็น ผอ.สวพ.6 โดยมีการโพสเฟสแจ้งเตือนเอาไว้ที่เพจ สวพ.6 ตั้งแต่ปี 2563 และ 2564

2. ฟิโพรนิล

วันที่ 25 มีนาคม 2562 กระทรวงเกษตรและชนบทของจีน (Ministry of Agriculture and Rural Affairs: MoARA) ของจีนออกประกาศที่ 148 ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มี ส่วนผสมของสารฆ่าแมลง Fipronil ซึ่งคำสั่งห้ามนี้ตอบสนองต่อข้อกำหนดตามที่ระบุใน “กฎหมายอาหารปลอดภัย” “กฎระเบียบว่าด้วยการบริหารจัดการสารฆ่าแมลง” และ “อนุสัญญาสต็อคโฮมว่าด้วยสารมลพิษอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน” ห้ามใช้สาร Fipronil ในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทุกชนิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563

และ Codex หรือ โครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius Commission) ก็กำหนดค่าค่า MRLs (Maximum Residue Limits ) ค่าที่บ่งบอกถึง “ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่สามารถมีได้” ในผัก-ผลไม้ รวมไปถึงสินค้าเกษตรอื่นๆ มีกำหนดค่า MRLs ของสาร ฟิโพรนิล เอาไว้ต่ำมากๆ เช่น กล้วย อนุญาตให้มี ค่าการตกค่างของสาร ฟิโพรนิล 0.005 mg/Kg ข้าว 0.01 mg/Kg เป็นต้น บางประเทศถึงกับไม่อนุญาตให้มีสาร ฟิโพรนิล ตกค้างในผลผลิตอาหารเลยทีเดียว

ด้วยเหตุผลนี้จึงได้มีการแจ้งเตือนมายังประเทศไทยเพื่อแจ้งให้เกษตรกรงดใช้หรือจำกัดการใช้ของสารทั้ง 4 ตัวเพื่อไม่ให้ค่าเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด เพื่อลดการเกิดปัญหาในการส่งออกทุเรียนไทยไปยังประเทศจีน

และเข้าใจว่าเรื่องของการตรวจค่าการตกค้างของสารเคมีเป็นเรื่องปรกติของแต่ละประเทศ ไม่ใช่ว่าเฉพาะประเทศจีนแต่เพียงอย่างเดียว ข้อกำหนดแต่ละประเทศจะต่างกันไปในสารแต่ละตัว ซึ่งจากที่ติดตามมาหลายประเทศ ประเทศจีนนี่ถือว่าเข้มงวดน้อยมาก ไม่ค่อยตรวจสารเคมีตกค้างในผลผลิตเข้มงวดเท่าไหร่ ต่างจากทาง ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ที่จะเข้มงวดเรื่องสารตกค้างมากๆ ใครที่ทำผัก ผลไม้ ส่งออกไปจะเข้าใจ

ทีนี้การห้ามใช้สาร โอเมทโทเอต สำหรับชาวสวนทุเรียนหลายๆคนคิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะสารตัวนี้ชาวสวนนิยมใช้ในการกำจัด เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยนาสาร เพลี้ยไก่แจ้ เรียกได้ว่าเป็นยาสามัญประจำสวนเลยก็ว่าได้ สร้างความวิตกกังวลให้กับชาวสวนทุเรียนกันยกใหญ่

อ้าว แล้วจะมียาอะไรเหลือให้ใช้ ?

ตอบได้เลยจากคนขายยาว่า มีเพียบบบบบบบบบบ

ย้ำว่า มีเพียบบบบบบบบบบ

สารโอเมทโทเอต อยู่ในกลุ่ม ออการ์โนฟอสเฟต หรือ Code เลขคือ 1B ซึ่งยาที่ขายอยู่ในร้านปุ๋ยร้านยาทั่วๆไป สารกลุ่ม 1B คือสารกำจัดแมลงที่มีอยู่เยอะที่สุดแล้ว ในบรรดายากลุ่มอื่นๆ ที่ใช้กำจัดแมลง ถ้าไม่ให้ใช้ โอเมโทเอต แล้วจะใช้อะไรได้บ้าง ?

แนะนำให้เป็นตัวเลือกเอาไปเลือกใช้แล้วกัน

1. โพรฟีโนฟอส
2. ไตรอะโซฟอส
3. พิริมิฟอส-เมทิล
4. ไดอะซินอน
5. ไดคลอร์วอส
6. เฟนโทเอต
7. อีไทออน
8. มาลาไทออน
9. โพรไทโอฟอส

จะเห็นได้ว่ามีสารแทน โอเมโทเอท ได้หลายตัวมาก และเมื่อ 2 ปีก่อน สารโอเมโทเอต ขาดตลาดอยู่พักใหญ่ๆ แต่สุดท้ายก็หาสารอื่นมาทดแทนใช้ โอเมโทเอต ได้ ไม่ได้มีปัญหาอะไร และอีกตัวที่ไม่ควรใช้คือ ไดเมทโทเอต เพราะมันสลายตัวเป็น โอเมโทเอต ถ้าใช้อาจจะตรวจเจอสาร โอเมโทเอต ได้

หรือใช้กลุ่ม 1A คาร์บาเมท ก็เอามาใช้ทดแทนก็ยังได้

ส่วน ฟิโพรนิล อยู่ในกลุ่ม 2 มีสารในกลุ่มเดียวกันอีกตัวชื่อ อิทิโพล ซึ่งไม่ได้ใช้ในไม้ผล จะใช้ในนาข้าวมากกว่า

ถ้าให้แนะนำ สารที่ทางจีนห้าม ช่วงระยะตั้งแต่ขึ้นลูกไปจนเก็บเกี่ยว เลี่ยงได้ก็เลี่ยง เพราะสารตัวที่ใช้แทนได้มีอีกหลายตัวให้เลือกใช้ ใช้แทนได้ทั้งเป็นสารกลุ่มเดียวกัน ราคาก็พอๆกัน หรือ สารกลุ่มอื่นที่เค้าไม่ได้ห้ามก็มีให้ใช้อีกเยอะแยะ ยาราคาไม่แพง ออกฤทธิ์กับแมลงได้ดี ตกค้างไม่นานและไม่ได้มีข้อจำกัดในการใช้ยังมีอีกเยอะ

ยาที่ใช้ในสวนทุเรียนไม่ได้มีแค่ โอเมโทเอต ครับ ไม่ต้องตกใจไปจ้า

และทิ้งท้ายคนที่บอกว่าห้ามใช้ คาร์เบนดาซิม เบโนมิล ไทโอฟาเนต-เมทิล สารกำจัดเชื้อราในกลุ่ม 1 ณ ตอนนี้ยังไม่เห็นข้อมูลที่มีการจำกัดการใช้มาจากทางประเทศจีน ยังคงใช้กันได้ปรกติ

สุดท้าย ควรงดพ่นสารเคมีทุกชนิดเข้าลูกทุเรียนก่อนเก็บเกี่ยว 15-20 วัน เพื่อลดการตกค้างของสารเคมีครับ อันนี้สำคัญมากๆ เพราะต่อไปการเข้มงวดของเรื่องสารเคมีในทุเรียนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สบายใจกันได้ ปรับตัวกันรอได้เลย

เขียนโดย ราดำหนามจีบ

*** ใคร Copy เอาไปโพส ใส่เครดิตให้จะขอบคุณมาก เพราะโพสเขียนเอง หาข้อมูลเอง ไม่ได้ใช้ Ai หรือ ป้อนคำถามให้ chat gpt แล้วหาคำตอบให้

** โพสนี้เขียนโดย คนขายปุ๋ย ใครไม่ชอบหรือมีอคติกับคนขายปุ๋ย ให้เลื่อนผ่านไม่ต้องอ่านหรือคอมเมนต์ให้เปลืองเน็ต **ค่าแคดเม...
09/02/2025

** โพสนี้เขียนโดย คนขายปุ๋ย ใครไม่ชอบหรือมีอคติกับคนขายปุ๋ย ให้เลื่อนผ่านไม่ต้องอ่านหรือคอมเมนต์ให้เปลืองเน็ต **

ค่าแคดเมียมในปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ มีมาตรฐานอยู่ที่เท่าไหร่ ที่ปนเปื้อนมาในปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้ ?

กระแส แคดเมียม ที่เจอการตกค้างในทุเรียน เรียกได้ว่ามาทำให้เกิดการวิตกกังวลในการใช้ปุ๋ยกันเลยทีเดียว เพราะนอกจาก แคดเมียม จะมีอยู่ในดินแล้ว

ปัจจัยการผลิตอย่างปุ๋ยก็ต้องยอมรับว่ามันมีโอกาสที่ แคดเมียม จะปนเปื้อนมาได้อยู่แล้วไม่ใช่เพราะบริษัทเติมเข้ามา แต่กลุ่มโลหะหนัก เช่น แคดเมียม ปรอท สารหนู ตะกั่ว โครเมียม ทองแดง มันมีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว แต่โดยสากลก็มีการกำหนดค่าปริมาณโลหะหนักว่าไม่ควรเกินเท่าไหร่ต่อกิโลกรัมจึงปลอดภัยต่อการจะเจอปริมาณโลหะหนักเกินจนเสี่ยงอันตรายที่พืชจะดูดขึ้นไปสะสมในส่วนต่างๆของต้น

โพสนี้ขอคุยแค่เรื่อง แคดเมียม ตัวเดียวละกันเพราะมีประเด็นแค่ตัวนี้ในทุเรียน

ทำความเข้าใจกันไว้เลยและไม่ต้องวิตกจริตว่า

“แคดเมียม “ ปนเปื้อนมาในปุ๋ยได้โดยต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด

โดยจะแยกเป็นปุ๋ยอินทรีย์และเคมีนะ

หลักเกณฑ์การพิจารณาปัจจัยการผลิตพืชอินทรีย์ที่ขอขึ้นทะเบียนเพื่อการค้า (ฉบับปรับปรุง ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2566)

มีข้อกำหนดว่า ใครที่จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้า ต้องมาขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ด ชนิดผง หรือชนิดอัดเม็ด

ปริมาณ “ แคดเมียม (Cadmium) “ ต้องไม่เกิน 5 มิลลิกรัม / กิโลกรัม

ยกตัวอย่าง ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา ควายดำหรรม 9 นิ้ว ไปตรวจปริมาณแคดเมียม แล้วตรวจวิเคราะห์เจอ แคดเมียม ปนเปื้อนมา 0.110 มิลลิกรัม / กิโลกรัม

แบบนี้จะเป็นยังไง ?

คำตอบคือ ชาวสวนทุเรียนต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา ควายดำหรรม 9 นิ้ว ประมาณเกือบ 40 กิโลกรัม / ต้น ต้นทุเรียนต้นนั้นถึงจะมีโอกาสปนเปื้อนแคดเมียมเกินมาตรฐาน

ซึ่งเอาความจริง ชาวสวนใส่ปุ๋ยอินทรีย์กันเยอะขนาดนี้ไหม ก็น่าจะเป็นไปได้ยาก

เพราะฉะนั้นเวลาที่บริษัทที่ขายปุ๋ยอินทรีย์ที่เค้าตรวจเจอแคดเมียมปนเปื้นมาในค่าที่ไม่เกินกำหนดของกรมวิชาการเกษตร อันนี้ไม่ต้องไปกังวล เอาไปใช้กันได้เลย

ส่วนใครที่ชอบไปซื้อขี้ไก่ตามฟาร์ม ตามโรงเลี้ยงไก่ แล้วเอามาใส่เองก็เอาไปตรวจหาแคดเมียมกันก่อนก็จะดี จะได้ปลอดภัยเวลาใส่ไปในทุเรียน

มาต่อที่ปุ๋ยเคมี.....

ปุ๋ยเคมีที่ขึ้นทะเบียนของกรมวิชาการเกษตร ถ้าเรื่องปนเปื้อนแคดเมียม หาข้อมูลไม่เจอว่าอนุญาตให้ปนเปื้อนได้ในปริมาณเท่าไหร่ ( พี่ๆ กรมวิชาการเกษตร มีข้อมูลแจ้งมาเพิ่มเติมได้ครับ เพราะค้นแล้วหาไม่เจอ )

ที่หาเจอในข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมีของกรมวิชาการเกษตร ปริมาณสารหนู (Arsenic) ในปุ๋ยฟอสเฟต คือ

1. ปุ๋ยเคมีซูเปอร์ฟอสเฟต ต้องมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในรูปของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักและมีลักษณะเป็นเม็ดหรือผงโดยไม่มีการเติมสีและมี ปริมาณสารหนู (Arsenic) ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของน้ำหนัก

2. ปุ๋ยเคมีดับเบิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต ต้องมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในรูปของฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ (P2O5) ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 40 ของน้ําหนัก มีลักษณะเป็นเม็ดหรือผง โดยไม่มีการเติมสี และมีปริมาณสารหนู (Arsenic) ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของน้ำหนัก

3. ปุ๋ยเคมีทริบเปิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต ต้องมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในรูปของฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ (P2O5) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 45 ของน้ำหนัก มีลักษณะเป็นเม็ดหรือผง โดยไม่มีการเติมสี และมีปริมาณสารหนู (Arsenic) ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของน้ำหนัก

ซึ่งสารหนูจัดอยู่ในกลุ่มโลหะหนักเช่นเดียวกับ แคดเมียม ก็พอจะใช้อ้างอิงกันได้ คิดว่านะครับ

ส่วนในต่างประเทศ สหภาพยุโรป มีข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณ แคดเมียม ในปุ๋ยฟอสฟอรัสกำหนดไว้ที่

" 60 มก. / กก. "

(The European Union adopted Regulation (EU) 2019/1009)

ซึ่งทาง Food and Agriculture Organization หรือ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นองค์การชํานาญพิเศษที่ใหญ่ที่สุดองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ เพื่อพัฒนามาตรฐานอาหารและสารอาหาร รวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการ อาหาร การเกษตร ป่าไม้และประมง ให้ประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายการเกษตร

ก็ใช้มาตรฐานนี้ในการกำหนดค่าของ แคดเมียม ที่ปนเปื้อนมาในปุ๋ยฟอสเฟต ก็ใช้ค่านี้ได้ในการตรวจหาการปนเปื้อนของแคดเมียมในปุ๋ยฟอสเฟต คือ ไม่เกิน 60 มก. / กก.

ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตรเสมอ 8-24-24 12-12-17 ถ้ามีการตรวจเจอแคดเมียมปนเปื้อนได้ไม่เกินค่ามาตรฐาน ก็ไม่ต้องกลัวในการใช้ เพียงแต่ใช้ให้พอดี ไม่ใส่เยอะจนเกินไป

และตอนนี้บริษัทที่ขายปัจจัยการผลิตทั้ง ปุ๋ย ยา นั่งไม่ติดกันแน่นอน หลายๆบริษัทเท่าที่ทราบเริ่มส่งปุ๋ยที่ฟอสฟอรัสสูง ไปตรวจหาค่าแคดเมียมกันแล้ว เพราะอย่าลืมว่าทุเรียนเป็นพืชที่มีการใช้ปุ๋ยกันตลอดทั้งปี บริษัทเค้าไม่นิ่งนอนใจแน่นอน

และชาวสวนก็ต้องทำความเข้าใจเรื่องการปนเปื้อนของแคดเมียมว่ามันต้องมีอยู่บ้างในปุ๋ย เพียงแต่แค่ไม่ให้เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ปลอดภัยใช้ได้ไม่ต้องกังวลใจ และวิตกจนเห็น แคดเมียม ไม่ได้เลย หวาดกลัวกันหมดไม่กล้าใส่ปุ๋ย

และอีกข้อคือ ทางประเทศจีน ไม่ได้บอกว่า แคดเมียม ที่ปนเปื้อนในทุเรียนต้องเป็น 0 เลย เพราะตามข้อกำหนดของจีน กําหนดให้ปริมาณแคดเมียมในเนื้อทุเรียนต้องไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

การลดการดูดซับแคดเมียม เบื้องต้นแนะนำให้วัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ที่ 5.5-6.5 ไม่ควรให้ดินกรดจัด เพราะดินกรดจัดจะละลายแคดเมียมออกมาให้รากพืชดูดซับเข้าไปได้เยอะขึ้น รวมไปถึงละลายแคดเมียมที่ปนเปื้อนในปุ๋ย

ใครใช้ยี่ห้อไหนถ้าไม่สบายใจสอบถามไปกับบริษัทที่ซื้อได้เลย เพราะตอนนี้คิดว่าทุกบริษัทที่ขายปุ๋ยในเขตทุเรียนน่าจะกำลังส่งตรวจหาแคดเมียมกันหมด เพราะชาวสวนวิตกจนกลัวการใช้ปุ๋ยกันไปหมดแล้ว

น่าจะประมาณนี้เรื่องของการปนเปื้อนแคดเมียมในปุ๋ยทั้งปุ๋ยอินทรีย์ และ เคมี

เขียนโดย ราดำหนามจีบ

*** ใคร Copy เอาไปโพส ใส่เครดิตให้จะขอบคุณมาก เพราะโพสเขียนเอง หาข้อมูลเอง ไม่ได้ใช้ Ai หรือ ป้อนคำถามให้ chat gpt แล้วหาคำตอบให้

ขอบคุณข้อมูล :: https://www.doa.go.th
https://operaresearch.eu

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 นายถาวร ทันใจ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและหารือร่วมกับนายเว้ยซูเจียน เลข...
09/02/2025

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 นายถาวร ทันใจ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและหารือร่วมกับนายเว้ยซูเจียน เลขาธิพรรคคอมมิวนิสต์และประธานกลุ่มบริษัทโซ่วเหิง และนายหมี่ย่าหลิน ประธานตลาดเกาเป่ยเตี้ยน โดยมี นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ และนายชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เข้าร่วม ณ ตลาดเกาเป่ยเตี้ย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าเกษตรของไทย

สำหรับตลาดเกาเป่ยเตี้ยดำเนินการโดยบริษัทโซ่วเหิง (Sunhula Group) ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากรัฐบาล ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 9,500 เอเคอร์ หรือประมาณ 24,000 ไร่ แบ่งเป็น โซนผักผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ และสินค้าแช่แข็ง โดยเป็นศูนย์กลางการค้าส่งสินค้าเกษตรที่สำคัญในภาคเหนือของจีน เชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ใน 5 มณฑลของจีน มีทั้งสินค้าเกษตรในประเทศและนำเข้ากว่า 60 ประเทศทั่วโลก ในปี 2024 ตลาดมีปริมาณการนำเข้าผักและผลไม้ 19 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 140,000 ล้านหยวน และมีการนำเข้าทุเรียนไทย มากกว่า 5 แสนตันต่อปี รวมถึงมีการนำเข้าลำไยและมังคุดจากไทยผ่านเส้นทางการขนส่งทางบกเป็นหลัก ผ่านทางด่านโม่หาน มณฑลยูนาน และด่านผิงเสียง เขตกว่างซีจ้วง และมะพร้าวอ่อนขนส่งทางเรือไปยังท่าเรือเซินเจิ้น โดยใช้เวลา 5 วัน จากไทยถึงตลาดเกาเป่ยเตี้ยน ซึ่งการนำเข้าทุเรียนของบริษัทฯ จะพิจารณาจากต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งเป็นหลัก เนื่องจากเก็บรักษาได้ไม่นาน ส่วนลำไยและมะพร้าวอ่อนจะพิจารณาจากต้นทุนเป็นหลัก ทั้งนี้ บริษัทฯ วางแผนเปิดตลาดที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ทางภาคตะวันตก และเมืองเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้พัฒนานิคมโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นอัจฉริยะที่มีศักยภาพสูง สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างแม่นยำ และสามารถเก็บรักษาสินค้าได้มากกว่า 5 แสนตัน ครอบคลุมสินค้าหลากหลายกว่า 3,000 รายการ เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ และอาหารทะเล ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของประชากรประมาณ 500 ล้านคนในพื้นที่ 13 แห่ง ทั้งระดับเขต เมือง และมณฑล โดยลดขั้นตอนในกระบวนการจัดส่ง ทำให้สามารถจัดส่งวัตถุดิบจากแหล่งผลิตตรงไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และต้องการสร้างความร่วมมือกับฝ่ายไทยในการนำผลไม้ไทยไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นต้น

ทั้งนี้ สินค้าเกษตรของไทย โดยเฉพาะทุเรียนยังเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดจีน โดยคณะผู้บริหารได้เน้นย้ำถึงคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเกษตรของไทย และความพร้อมที่จะส่งสินค้าเกษตรมายังจีนอย่างต่อเนื่อง

ที่มา :: https://www.moac.go.th/news-preview-471991791448?fbclid=IwY2xjawIU_tNleHRuA2FlbQIxMAABHdzTvElPMJwZgLKNPAQxq2GqG3FDBZhCehCqNhIo4lD_mqDjW_ctEd3LQw_aem_MR5Uyun_-uOr4nqmt1MDfw

รองปลัดเกษตรฯ 'ถาวร' พร้อมผู้บริหาร กษ. เยี่ยมชมตลาดเกาเป่ยเตี้ยน หวังสร้างความเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าเกษตรของไทย
09/02/2025

รองปลัดเกษตรฯ 'ถาวร' พร้อมผู้บริหาร กษ. เยี่ยมชมตลาดเกาเป่ยเตี้ยน หวังสร้างความเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าเกษตรของไทย

🇹🇭🤝🇨🇳农业部长 Prof.Dr. Narumon Pinyosinwat 带领高管团队与海关总署洽谈,增强对泰国农产品的信心🙏🙏🙏☺️2025年2月8日,泰国农业与合作社部部长尼润蒙·皮亚诺斯瓦特博士率领由农业部常务副秘书塔瓦·坦猜、农...
09/02/2025

🇹🇭🤝🇨🇳

农业部长 Prof.Dr. Narumon Pinyosinwat 带领高管团队与海关总署洽谈,增强对泰国农产品的信心🙏🙏🙏☺️

2025年2月8日,泰国农业与合作社部部长尼润蒙·皮亚诺斯瓦特博士率领由农业部常务副秘书塔瓦·坦猜、农业厅厅长拉佩帕·詹塔西里旺、畜牧厅厅长颂猜·拉塔纳曼卡拉农、渔业厅厅长班查·苏克凯以及国家农产品与食品标准办公室主任猜瓦·约塔克隆组成的高级代表团,与中国海关总署(GACC)署长孙梅君博士及相关官员举行会谈。中方代表团成员包括动植物检疫司司长王毅、进出口食品安全局局长李金松以及国际合作司司长郭雪艳等。

在此次会晤中,双方就促进、扩大和便利农产品贸易的多项议题交换了政策与愿景,包括通过增加贸易路线(如曼谷-廊开-中国“一带一路”高铁线路)来共同构建粮食安全,以及农产品市场开放和植物检疫合作机制等议题。自2004年以来,泰国农业部和GACC在这些领域的合作已取得显著成果。

尼润蒙博士表示,泰国与中国在各级别关系密切,从国家领导人、政府到民众,情同手足。中国是泰国农产品和食品的最大出口市场,其中水果出口占比最高,尤其是榴莲、山竹和芒果。因此,泰国农业部致力于实施严格的政策和措施,确保中国消费者对泰国水果及其他农产品的质量和安全充满信心,并完全符合中国标准。

GACC署长孙梅君对泰国农业部的努力表示赞赏,特别是在泰国产品不符合中国要求时,迅速采取行动并覆盖从农民、加工厂到出口商的各个环节。泰国水果在中国进口水果市场中占比超过58%,进口量达87万吨,其中泰国榴莲在中国榴莲市场的份额超过50%,占泰国对华农产品出口总量的35%。

此外,此次市场开放讨论取得了令人满意的进展。在植物产品方面,GACC正在进行进口风险分析,而泰国申请向中国出口蛇皮果和椰枣的请求已进入下一阶段,GACC计划于今年6月至7月派员赴泰国果园和包装厂进行检查评估,随后确定出口条件并签署中泰议定书。

在畜牧产品方面,中方表示已收到泰国通过湄公河向关累港出口活牛的补充文件,并将进一步征求相关部门意见,加快推进相关工作。

关于中国向泰国出口蓝莓的事宜,泰方请中方放心,此举不会影响原有出口。泰国已启动风险评估程序,并将与中方密切合作。

双方强调合作的重要性,并重视产品质量和标准。中方愿与泰方合作,便利贸易,确保两国消费者获得高质量、符合标准的产品。泰方期待在多个领域深化合作,并有望在今年签署相关议定书。

ขอบคุณบทแปลภาษาจีนจาก :: Linlabhat Tongsobha

09/02/2025

ปุ๋ยเคมี -ปุ๋ยอินทรีย์
จะมีค่ากำหนดว่ามีแคดเมียมปนเปื้อนได้ไม่เกินกี่ มิลลิกรัม/กิโลกรัม
เดี๋ยวมาเขียนให้อ่านจะได้ไม่ต้องกลัวการใส่ปุ๋ยจนจิตตกครับ

08/02/2025

จีนห้ามใช้ยาแมลงแค่ 4 ตัวไม่ต้องตื่นตระหนกกลัวว่าจะไม่มียาใช้ ยาในบ้านเรามีอีกเป็นสิบๆ ตัวเลือกใช้กันได้อีกบานตะทัยเลยจ้า

รมว.นฤมล นำทีมผู้บริหาร หารือ GACC สร้างความเชื่อมั่นสินค้าเกษตรไทยวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐม...
08/02/2025

รมว.นฤมล นำทีมผู้บริหาร หารือ GACC สร้างความเชื่อมั่นสินค้าเกษตรไทย

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย นายถาวร ทันใจ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง และนายชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ประชุมหารือกับ ดร. ซุน เหมยจุน รัฐมนตรีว่าการสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) พร้อมด้วย นายหวัง อี้หยู อธิบดีกรมกักกันพืชและสัตว์ นายหลี่ จิ้นซง อธิบดีกรมความปลอดภัยอาหารนำเข้าและส่งออก และ นางกัว ซั่วเยี่ยน อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ในระหว่างการพบปะและหารือร่วมกันของทั้งสองฝ่ายครั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ GACC ได้แลกเปลี่ยนนโยบายและวิสัยทัศน์ ที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งเสริม ขยายโอกาส และอำนวยความสะดวกค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันในหลายประเด็น ซึ่งรวมไปถึง ความมุ่งหวังที่จะรวมกันร่วมกันสร้างความมั่นคงทางอาหารผ่านการเพิ่มเส้นทางการค้า เพื่อขนส่งสินค้าเกษตรระหว่างการโดยใช้รถไฟความเร็วสูง (เส้นทาง กรุงเทพฯ - หนองคาย - และเชื่อมต่อเส้นทาง one belt one road ของจีน) และประเด็นการเปิดตลาดสินค้าเกษตร และกลไกคณะทำงานร่วมด้านสุขอนามัยสุขอนามัยพืช ซึ่งกระทรวงฯ และ GACC ได้ประชุมและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547

ศ. ดร. นฤมล กล่าวว่า ไทยและจีนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้นำประเทศ รัฐบาล รวมถึงประชาชน ดังเช่นพี่น้องกัน ทั้งนี้ จีนนับเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเป็นอันดับ 1 ของไทย และสินค้าผลไม้มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในสินค้าเกษตรจากไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุเรียน มังคุด และมะม่วง

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงมุ่งหวังและตั้งใจว่าจะดำเนินนโยบายและมาตรการที่เข้มงวด เพื่อให้ผู้บริโภคชาวจีน มั่นใจได้ว่าสินค้าผลไม้และสินค้าเกษตรอื่นๆ จากไทย มีคุณภาพความปลอดภัยและได้มาตรฐานตามที่ฝ่ายจีนกำหนดไว้ทุกประการ

ทั้งนี้ รัฐมนตรี GACC ได้กล่าวแสดงความชื่นชมในความมุ่งมั่นดำเนินงานของกระทรวงฯ โดยเฉพาะการเร่งดำเนินการที่รวดเร็ว และครอบคลุมทุกระดับทั้งระดับเกษตรกรผู้ผลิตโรงคัดบรรจุ และผู้ส่งออก ในกรณีสินค้าไทยตรวจพบปัญหาไม่คล้องกับข้อกำหนดของจีน

สำหรับผลไม้ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดจีนกว่าร้อยละ 58 ของปริมาณการนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยปริมาณการนำเข้ากว่า 870,000 ตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียนไทยที่ครองส่วนแบ่งตลาดทุเรียนในจีนกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป และคิดเป็นร้อยละ 35 ของปริมาณการส่งออกออกสินค้าเกษตรไทยมายังจีน

นอกจากนี้ การหารือในด้านการเปิดตลาดสินค้าครั้งนี้ นับว่ามีความก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจ โดยในส่วนของสินค้าพืช GACC อยู่ระหว่างทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการนำเข้า ในขณะที่ การยื่นขอเปิดตลาดส่งออกสละและอินทผลัมมายังจีนอยู่ในขั้นตอนที่ GACC เตรียมส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุที่ประเทศไทยในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมนี้ ก่อนที่จะกำหนดเงื่อนไขการส่งออก และลงนามในพิธีสารไทย-จีนต่อไป

สำหรับสินค้าปศุสัตว์ ฝ่ายจีนแจ้งว่า ได้รับเอกสารเพิ่มเติมการขอส่งออกโคเนื้อมีชีวิตไทยมาจีนผ่านเส้นทางแม่น้ำโขงมายังท่าเรือกวนเล่ยแล้ว และจะต้องรับข้อพิจารณาเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย และจะเร่งดำเนินการให้มีความคืบหน้าต่อไป

ในประเด็นฝ่ายจีน กรณีการส่งออกบลูเบอรี่จากจีนมาไทย ขอให้ฝ่ายจีนคลายความกังวลว่าจะไม่กระทบต่อการส่งออกเดิม โดยไทยได้เข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง และจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำถึงความร่วมมือ และให้ความสำคัญในด้านคุณภาพและมาตรฐาน โดยฝ่ายจีนพร้อมร่วมมือกับไทยในการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อให้ผู้บริโภคของทั้งสองฝ่ายได้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตรฐาน และฝ่ายไทยหวังว่าจะมีความร่วมมือในด้านต่าง ๆ รวมทั้งพิธีสารที่คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในปีนี้

#กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ #รมว. #นฤมล #นำทีม #ผู้บริหาร #หารือ #สร้างความเชื่อมั่น #สินค้าเกษตรไทย

วันนี้แอดมิน ราดำหนามจีบ ไปบรรยาย “เจาะลึกสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงการทำผลผลิต ระยะลูก เพื่อลดปัญหาการตกค้างของสารเค...
08/02/2025

วันนี้แอดมิน ราดำหนามจีบ ไปบรรยาย

“เจาะลึกสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงการทำผลผลิต ระยะลูก เพื่อลดปัญหาการตกค้างของสารเคมี และการตกค้างของคราบสีที่มีผลต่อการส่งออกทุเรียน“

งาน ”Talk เดินหน้าทุเรียนไทย“ ที่ทางสมาคมผู้ผลิตทุเรียนไทยจัดขึ้นที่ โรงแรม มณีจันทร์ อ.เมือง จ.จันทบุรี

ขอบคุณผู้จัดงานและทุกท่านหวังว่าวันนี้คงจะได้ข้อมูลเรื่องสารเคมีเรื่องการจัดการแปลงเอาไปจัดการแปลงเพื่อลดการปนเปื้อนของแคดเมี่ยม และเรื่องสี เอาไว้ใช้เพื่อเตรียมตัวในการทำทุเรียนในฤดูกาลนี้กันครับ

ขอบคุณทุกท่านมากครับ 

รายงานงานวิจัย BMI คาดดีมานด์ทุเรียนตลาดจีนพุ่ง ดันส่งออก ‘ทุเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ เติบโตรายงานการวิจัยความเสี่ยง...
07/02/2025

รายงานงานวิจัย BMI คาดดีมานด์ทุเรียนตลาดจีนพุ่ง ดันส่งออก ‘ทุเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ เติบโต

รายงานการวิจัยความเสี่ยงของประเทศและอุตสาหกรรมของบีเอ็มไอ (BMI Country Risk and Industry Research) หน่วยงานในเครือสถาบันวิจัยฟิทช์ (Fitch) คาดการณ์ว่าความต้องการทุเรียนที่เพิ่มมากขึ้นในจีนจะผลักดันการส่งออกทุเรียนของผู้ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เติบโต

สถาบันฯ คาดว่าการแข่งขันในตลาดทุเรียนจะดุเดือดมากขึ้น โดยการส่งออกจากเวียดนามและมาเลเซียจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งน่าจะท้าทายสถานะของไทยในการเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลกมากยิ่งขึ้น

สถาบันฯ มองว่ามาเลเซียจะกลายเป็นผู้ส่งออกทุเรียนสดป้อนตลาดจีนที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากข้อตกลงเมื่อปี 2024 ที่รัฐบาลจีนบรรลุข้อตกลงกับมาเลเซียในการอนุญาตการส่งออกทุเรียนสดเข้าสู่จีน โดยในช่วงเวลานั้นมาเลเซียได้ส่งออกทุเรียนแช่แข็งทั้งเปลือกและเนื้อทุเรียนแช่แข็งไปยังจีนอยู่แล้ว

ส่วนการผลิตและการส่งออกทุเรียนของเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยหลักบางประการที่ผลักดันการเติบโต ส่วนใหญ่คือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยในไทยที่กระทบการส่งออก และข้อตกลงที่กระทรวงเกษตรของเวียดนามและสำนักบริหารศุลกากรทั่วไปจีนบรรลุร่วมกันในปี 2022 ซึ่งอนุญาตการส่งออกทุเรียนสดไปยังจีน

นอกจากนี้ เวียดนามยังได้รับประโยชน์จากการมีพรมแดนทางบกติดกับจีน และการผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล สิ่งนี้เป็นพัฒนาการสำคัญที่จะเพิ่มรายได้จากการส่งออกของเวียดนาม ควบคู่กับการเพิ่มการแปรรูปและลดแรงกดดันในการเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล

ด้านรัฐบาลอินโดนีเซียกำลังเร่งทำงานเพื่อให้สามารถส่งออกทุเรียนสดไปยังจีน ขณะที่ลาวเป็นอีกประเทศหนึ่งที่สถาบันฯ คาดว่าจะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในห่วงโซ่อุปทานทุเรียน

สถาบันวิจัยฟิทช์เผยว่าจีนนำเข้าทุเรียนสดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงสิบปีมานี้ พร้อมคาดการณ์ว่าความต้องการทุเรียนจากจีนจะแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยคาดว่าในระยะสั้นถึงระยะกลางจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในภาคส่วนนี้

บีเอ็มไอคาดว่าการเติบโตจะดำเนินต่อไปในระยะกลางถึงยาว เนื่องจากตลาดยังคงห่างจากช่วงอิ่มตัว และผลไม้ชนิดนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งนี้ ทุเรียนเป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีราคาแพงที่สุด และมักถูกมองว่าเป็นสินค้าแปลกใหม่ที่มักรับประทานในโอกาสพิเศษ บีเอ็มไอจึงเชื่อว่าทุเรียนเป็นสินค้าที่จะมีศักยภาพทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงในแง่อำนาจซื้อของผู้บริโภค

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว(Xinhua)

#ตลาดจีน #ทุเรียน #ทุเรียนไทย #นำเข้าทุเรียน #มาเลเซีย #ส่งออกทุเรียน #อาเซียน #อินโดนีเซีย #เวียดนาม #เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พรุ่งนี้พบกับแอดมินได้ในงานนี้เลยครับ “เจาะลึกสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงการทำผลผลิต ระยะลูก เพื่อลดปัญหาการตกค้างของส...
07/02/2025

พรุ่งนี้พบกับแอดมินได้ในงานนี้เลยครับ

“เจาะลึกสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงการทำผลผลิต ระยะลูก เพื่อลดปัญหาการตกค้างของสารเคมี และการตกค้างของคราบสีที่มีผลต่อการส่งออกทุเรียน“

บรรยายโดย คุณสุเมธ ภูดารัตน์

แอดมินเพจควายดำทำเกษตร และ The Durian Times

แล้วพบกันที่งาน ”Talk เดินหน้าทุเรียนไทย“

8 ก.พ. 2568

จ.จันทบุรี ประชุมแก้ปัญหาส่งออกทุเรียนจันทบุรี ครั้งที่ 2/2568 เน้นแก้ปัญหา BY2 และแคดเมียมวันนี้ (6ก.พ.68) ที่ ห้องประช...
06/02/2025

จ.จันทบุรี ประชุมแก้ปัญหาส่งออกทุเรียนจันทบุรี ครั้งที่ 2/2568 เน้นแก้ปัญหา BY2 และแคดเมียม

วันนี้ (6ก.พ.68) ที่ ห้องประชุมสามศร ชั้น 8 (อาคาร 36) มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ประธานในการประชุม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการร่วมประชุม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดีให้การต้อนรับ

จังหวัดจันทบุรีจัดการประชุมแก้ปัญหาการส่งออกทุเรียนครั้งที่ 2/2568 โดยเชิญหน่วยงานราชการและผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น เพื่อเปิดพื้นที่พูดคุยอย่างครอบคลุม มุ่งเน้นแก้ปัญหาการตรวจสารตกค้าง BY2 และแคดเมียม ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีน เน้นเร่งผลตรวจ - ตั้งศูนย์ตรวจในจันทบุรี

นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่าการประชุมครั้งนี้เน้นพูดคุยในประเด็นปัญหาหลักคือ BY2 และแคดเมียม เบื้องต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการบางส่วน โดยเฉพาะเรื่องทุเรียนจากล้งที่ส่งไปจีน โดยพยายาม เร่งรัดผลตรวจให้รวดเร็วขึ้น พร้อมเสนอให้มี ศูนย์ตรวจในจังหวัดจันทบุรี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบเสนอเปิดศูนย์ตรวจแคดเมียมและ BY2 ที่ ม.รำไพฯ

ดร.เดือนรุ่ง นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เสนอ 3 แนวทางสำคัญ ได้แก่
1. คัดกรองแคดเมียม โดยเฝ้าระวังในดิน น้ำ ใบ ลูก และปัจจัยอื่น ๆ ตัวอย่างละ 600 บาท พร้อมดำเนินการขอรับรองมาตรฐาน
2. คัดกรอง BY2 โดยนำเข้าสารตัวอย่างมาทดลองกับทุเรียน เพื่อหาวิธีการตรวจวัดที่แม่นยำ โดยจะร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยบูรพา ในการใช้เทคนิค LC-MSMS ตรวจสอบ BY2
3. ประสานงาน Central Lab เพื่อให้มหาวิทยาลัยรำไพฯ เป็นศูนย์กลางรวบรวมตัวอย่างทุเรียนไปตรวจสอบ และออกใบรับรองจาก Central Lab

ตัวแทนจาก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 6 (สวพ.6) ระบุว่า กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการตรวจสอบตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม และจัดงบประมาณสำหรับตรวจแคดเมียมทั่วประเทศ โดยภาคตะวันออกดำเนินการไปแล้วกว่า 200 shipment อย่างไรก็ตาม เครื่องมือตรวจ BY2 ในห้องแล็บหลัก ไม่สามารถดัดแปลงเป็นหน่วยตรวจเคลื่อนที่ได้ ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ต้องหาแนวทางแก้ไข

ฝ่ายด่านตรวจเผยว่า กระบวนการตรวจสอบ shipment ในฝั่งไทยทั้งหมด สามารถดำเนินการได้ภายใน 5 วัน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรองรับการส่งออกได้

ภาคเอกชน เสนอแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว
• สมาคมนำเข้าส่งออกสินค้าเกษตรไทย-จีน ยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐ แต่ต้องการ ความแน่นอนจากกรมวิชาการเกษตร เกี่ยวกับมาตรฐานการส่งออก
• หอการค้าจังหวัดจันทบุรี สนับสนุนการตรวจแคดเมียมของมหาวิทยาลัย และเตรียมจัด งานทุเรียนอีเวนต์ทั่วประเทศ ในช่วงปลายมีนาคม - ต้นพฤษภาคม เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับทุเรียนไทย
• ตัวแทนล้ง เสนอให้ภาควิจัย คิดค้นน้ำยาชุบที่ปลอดภัย และผ่านมาตรฐานตรวจสอบ เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพและสามารถส่งออกได้

การประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย และถือเป็นแนวทางที่ดีในการจัดการปัญหา หากสามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ จะช่วยลดปัญหาการส่งออกในช่วงกลางฤดูกาล โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

#สปชสจบ #ประชาสัมพันธ์จังหวัดจันทบุรี #ทุเรียนปลอดสารพิษ

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when The Durian Times posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to The Durian Times:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Media Company?

Share