ประวัติ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต ๕ สุราษฎร์ธานี กรมประชาสัมพันธ์ เห็นว่า จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีชุมชนหนาแน่น มีความเจริญด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการพัฒนาในหลายๆด้านในภาคใต้ตอนบน แต่ข้อมูลข่าวสารทางวิทยุและโทรทัศน์ ประชาชนไม่สามารถรับฟังและรับชมจากที่ใดได้ จึงได้มาจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และวิทยุโทรทัศน์ ขึ้น โดยวิทยุโทรทัศน์เริ่มทดลองออกอากาศครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยใช้เครื่องส่งซึ่งเจ้าหน้าที่เทคนิคของกรมประชาสัมพันธ์ได้จัดสร้างขึ้นด้วยเงินรายได้ของ ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต ๕ สุราษฎร์ธานี ในระบบ ๕๒๕ เส้น ขาว-ดำ กำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ออกอากาศด้วยความถี่ทางช่อง ๑๑ ใช้อาคารห้องส่งและเครื่องส่งชั่วคราวร่วมกับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดภูเก็ต บนเขารัง
พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้ทำการปรับปรุงเครื่องส่งเป็นระบบ ๖๒๕ เส้น ขาว -ดำ กำลังส่งเท่าเดิมคือ ๑๐๐ วัตต์ โดยเปลี่ยนช่องความถี่เป็นช่อง ๙ ในปีนี้เองที่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดภูเก็ต ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ นับเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในที่ทำการของศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ทางกรมประชาสัมพันธ์ได้อนุมัติให้นำเครื่องส่งและอุปกรณ์ต่างๆเช่นชุดโคมไฟส่องประจำห้องแสดงจากศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต ๒ ลำปาง ซึ่งเป็นเครื่องส่งระบบสี ๖๒๕ เส้น กำลังส่ง ๑,๐๐๐ วัตต์ หรือ ๑ กิโลวัตต์ มาติดตั้งที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดภูเก็ต ทางสถานีฯ จึงเปลี่ยนจากช่อง ๙ ไปออกอากาศด้วยความถี่ช่อง ๖ ตามความถี่ของเครื่องส่ง
พ.ศ. ๒๕๒๓ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗ ได้ขยายสถานีเครือข่ายออกไปยังจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งจังหวัดภูเก็ต ด้วย ทางสถานีฯ ได้รับการขอร้องขอให้เปลี่ยนความถี่จากช่อง ๖ มาเป็นช่อง ๙ ตามเดิม เพื่อไม่ให้คลื่นสัญญาณกวนกับทางสถานีฯช่อง ๗ ทางสถานีฯ จึงต้องดัดแปลงเครื่องส่งให้กลับมาที่ช่อง ๙ อีกครั้งหนึ่ง (และต่อมาทางสถานีฯ ก็ได้ถูกร้องขอให้เปลี่ยนไปออกอากาศทางช่อง ๕ เพื่อให้ทาง อสมท. ออกอากาศทางช่อง ๙)
************* พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖ ทางสถานีฯ ได้รับงบประมาณจัดซื้อเครื่องถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ระบบไมโครเวฟ ๑ ชุด และงบประมาณให้จัดสร้างเสาอากาศสูง ๔๘ เมตร ๑ ต้น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ทางสถานีฯ ได้รับงบประมาณอย่างเป็นทางการ และได้ย้ายเครื่องส่งไปไว้บนเขาโต๊ะแซะซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓๐๐ เมตร ทำให้รัศมีการแพร่ภาพครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น
************** พ.ศ. ๒๕๒๗ ทางสถานีฯ ได้รับเครื่องส่งขยายกำลังส่งขนาด ๑๐ กิโลวัตต์ จากสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่เนื่องจากเครื่องขยายกำลังส่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องเก่า ซึ่งใช้งานมา ๑๕ ปีแล้ว จึงทำให้มีประสิทธิภาพขยายกำลังได้เพียง ๔ กิโลวัตต์
ใ**************นปี พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๓๐ สถานีฯ ได้รับงบประมาณให้จัดซื้อเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ KVA จำนวน ๑ เครื่อง เพื่อติดตั้งที่สถานีเครื่องส่งโทรทัศน์เขาโต๊ะแซะ และได้รับอนุมัติจากศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต ๕ ให้นำเงินรายได้มาจัดสร้างอาคารโรงเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าใหม่ทดแทนอาคารซึ่งมีอยู่เดิม ที่ไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากดินบนเขาบริเวณอาคารเดิมทรุดตัวพังทลายลงมา จนไม่สามารถนำเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าเข้าไปติดตั้งได้ และต่อมา ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องส่งโทรทัศน์ใหม่ขนาด ๑๐ กิโลวัตต์ พร้อมอุปกรณ์จำนวน ๑ ชุด
*************พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารที่ทำการ สทท.ภูเก็ต ชั่วคราว ๑ หลัง ณ บริเวณพื้นที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดภูเก็ต และอาคาร สทท.ภูเก็ต แบบถาวร จำนวน ๑ หลัง ณ บริเวณพื้นที่เดิมบนเขารัง ถนนคอซิมบี้ ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น จำนวน ๖๑ ล้านบาทเศษ โดยอาคารถาวรเป็นอาคาร ขนาด ๓ ชั้น ความยาวประมาณ ๕๐ เมตร กว้าง ๓๘.๕๐ เมตร เป็นอาคารสไตล์ "ชิโนโปรตุกีส” ที่ผสมผสานเอาความเป็นศิลปะตะวันตก และตะวันออกเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน สวยงาม จนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดภูเก็ต
และ
**********ในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๖ กรมประชาสัมพันธ์ได้รับงบประมาณจัดซื้ออุปกรณ์ผลิตรายการโทรทัศน์ทั้งนอกและในสถานที่เพื่อทดแทนของเดิม ในวงเงิน ๔๕ ล้านบาทเศษ ประกอบด้วยกล้องถ่ายภาพโทรทัศน์ ชนิด EFP คุณภาพสูง ระบบควบคุมสัญญาณภาพ ระบบควบคุมสัญญาณเสียง ระบบสื่อสารภายใน ระบบแสง อุปกรณ์จัดเก็บภาพ/เสียง ระบบตัดต่อ และชุด VIDEO SERVER สำหรับออกอากาศ โดยมีชุดควบคุมการนำเข้าและชุดควบคุมการออกอากาศ ชุดตัดต่อแบบ NON-LINEAR และอุปกรณ์ผลิตรายการข่าว และผลิตรายการโทรทัศน์นอกสถานที่ ประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพโทรทัศน์ชนิด ENG ที่มีการจัดเก็บภาพแบบสื่อสมัยใหม่ที่สามารถใช้งานร่วมกับชุดตัดต่อ NON-LINEAR และมีอุปกรณ์ส่วนควบเพื่ออำนวยความสะดวกในการผลิตรายการข่าว และผลิตรายการโทรทัศน์นอกสถานที่ ซึ่งนับว่าเป็นชุดอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในขณะนี้