ศรีวิชัยเรดิโอ FM97.0MHz

ศรีวิชัยเรดิโอ FM97.0MHz วิทยุศรีวิชัยเรดิโอ FM97.0MHz

จุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชนศรีวิชัยเรดิโอ
150/4 ม.1 ต.ตลาด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
โทรศัพท์ 0-7722-9000 แฟ็กซ์ 0-7722-8866
e-mail [email protected]

09/10/2024
เชิญชวนทุกท่านร่วมบริจาคโลหิต 🩸กันค่ะ20กันยายน ศาลาประชาคมอำเภอไชยา
11/09/2024

เชิญชวนทุกท่านร่วมบริจาคโลหิต 🩸
กันค่ะ
20กันยายน ศาลาประชาคมอำเภอไชยา

19/05/2024
12/03/2024
02/01/2024

ขอแสดงความยินดีกับน้องบาซิลด้วยนะคะ🎉🎉

21/11/2023

❤️❤️

แนะนำประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดการกินเค็ม ป้องกันปัญหาสุขภาพระยะยาวนางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสําน...
31/01/2023

แนะนำประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดการกินเค็ม ป้องกันปัญหาสุขภาพระยะยาว
นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนถึงพฤติกรรมการบริโภคที่มีแนวโน้มการบริโภคอาหารที่มีความเค็มเกินมาตรฐาน ซึ่งจากข้อมูลที่กรมอนามัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยได้รวบรวม พบว่าคนไทยบริโภคเกลือโซเดียมมากถึง 3,636 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน เกินเกณฑ์มาตรฐาน 2 เท่า ที่กำหนดคือ 2,000 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน
อ่านข้อมูลทั้งหมด https://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/154826
-------------------------------------------------
🎯Website : www.prd.go.th
🎯Facebook/Twitter : กรมประชาสัมพันธ์
🎯YouTube : PRD กรมประชาสัมพันธ์

💥💥กรมอนามัย เตือน อินฟูเอนเซอร์ ทำคอนเทนต์ กินของดิบเสี่ยงเป็นพยาธิ อาหารเป็นพิษ แนะนำปรุงให้สุก ปลอดภัยกว่า------------...
31/01/2023

💥💥กรมอนามัย เตือน อินฟูเอนเซอร์ ทำคอนเทนต์ กินของดิบเสี่ยงเป็นพยาธิ อาหารเป็นพิษ แนะนำปรุงให้สุก ปลอดภัยกว่า
--------------------------------------
ขณะนี้บนสื่อออนไลน์มีอินฟูเอนเซอร์จำนวนมาก นิยมทำคอนเทนต์ กินอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ หวังเพิ่มยอดผู้ติดตาม อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดหรือมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบ
ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ คลื่นไส้ อาเจียน แนะนำปรุงให้สุกก่อนกิน ปลอดภัยกว่า

▶ อ่านข้อมูลทั้งหมด https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/154818
-------------------------------------------------
🎯Website : www.prd.go.th
🎯Facebook/Twitter : กรมประชาสัมพันธ์
🎯YouTube : PRD กรมประชาสัมพันธ์

การประปาส่วนภูมิภาคสาขา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
23/12/2022

การประปาส่วนภูมิภาคสาขา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

ชมฟรี! จ้า มาเที่ยวกันจ้าวัดพระบรมธาตุไชยา 16/17/18 นี้นะจ๊ะ
14/12/2022

ชมฟรี! จ้า มาเที่ยวกันจ้าวัดพระบรมธาตุไชยา 16/17/18 นี้นะจ๊ะ

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับงานใหญ่ของประเทศอย่างการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ต้องถือว่าได้ร...
20/11/2022

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับงานใหญ่ของประเทศอย่างการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ต้องถือว่าได้รับคำชมจากรอบด้านถึงความพร้อมในการจัดประชุม และที่ขาดไปไม่ได้เลยนั้นคือ เจ้าหน้าที่จำนวนมากที่มาอำนวยความสะดวก ซึ่งด้าน รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณเจ้าที่ทุกคนที่มาอำนวยความสะดวก ดูความปลอดภัยเหล่าผู้นำเขตเศรษฐกิจ และ อำนวยความสะดวกด้านการจราจร ที่ทำได้อย่างดี ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมกองอำนวยการร่วมรักษาความปลอดภัยและการจราจร ครั้งที่ 6/65 (กอร.รปภ.จร.) โดยมี พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในฐานะรองประธาน ผบ.ที่ทำการส่วนหน้าปฏิบัติการภายใต้ กอร.รปภ.จร. ประจำสถานที่ประชุมเอเปคประจำโรงแรมที่พัก และที่ทำการส่วนหน้าปฏิบัติการเฉพาะด้าน เข้าร่วมประชุม และ กอร.รปภ.จร. สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยผ่านระบบการประชุมทางไกล ไปยัง ศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า (ศปก.สน.) และ ที่ทำการส่วนหน้าที่ปฏิบัติการประจำสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า การประชุมวันนี้ เป็นการติดตามสถานการณ์ และการปฏิบัติของหน่วยได้แก่ การประชุม ของผู้นำเขตเศรษฐกิจ และการเดินทางกลับ ของผู้นำ และคู่สมรส 12 เขตเศรษฐกิจ จึงต้องให้ความสำคัญ ในเรื่องการรักษาความปลอดภัย และการจราจร ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเน้นย้ำทุกหน่วยให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัย ในห้วงสุดท้าย ของการประชุม ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และ อำนวยการ จราจร ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และ ความประทับใจให้กับผู้นำ และ คู่สมรสที่จะเดินทางกลับประเทศตลอดห้วงระยะเวลาที่เราได้ปฏิบัติภารกิจร่วมกันมา ขอขอบคุณรมช.กลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุดผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หัวหน้าหน่วย ผู้แทนหน่วยทุกท่าน ตลอดจนฝากขอบคุณไปยังกำลังพล และเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่อันมีเกียรติ และมีความสำคัญต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่งในครั้งนี้ ขอให้มีความภาคภูมิใจร่วมกัน และขอให้เดินทางกลับที่ตั้งหน่วยโดยสวัสดิภาพทุกคน

#เขตเศรษฐกิจเอเปค

ข้อมูล: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี      66 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน...
13/11/2022

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี

66 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ ดังนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระราชหฤทัย ก่อนพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการบนท้องฟ้า กระทั่งในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก

ต่อมา ได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน

เตือน !! น้ำท่วมระวังงู ที่มา : กองป้องกันการบาดเจ็บ
23/10/2022

เตือน !! น้ำท่วมระวังงู

ที่มา : กองป้องกันการบาดเจ็บ

กอนช. เฝ้าระวังภาคใต้ฝนตกหนัก คาด สถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติช่วงกลางเดือนพ.ย.นี้     นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิ...
23/10/2022

กอนช. เฝ้าระวังภาคใต้ฝนตกหนัก คาด สถานการณ์น้ำท่วมจะเข้าสู่สภาวะปกติช่วงกลางเดือนพ.ย.นี้

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศวันนี้ (23 ต.ค.65) ว่า ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งในพื้นที่ภาคใต้ โดย 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี , กาญจนบุรี และกรุงเทพมหานคร
ขณะที่ภาพรวมปริมาณน้ำแหล่งน้ำทุกขนาด 68,448 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 83 ปัจจุบันมีพื้นที่เกิดอุทกภัยใน 29 จังหวัด คือ พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี สระบุรี ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต สตูล และนราธิวาส

ทั้งนี้ กอนช. ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขังออกจากพื้นที่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบ คาดว่า ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนี้จะเข้าสู่สภาวะปกติ โดยการสำรวจพื้นที่เสียหายจากภาพถ่ายดาวเทียมระหว่างวันที่ 1-20 ตุลาคม พบมีพื้นที่น้ำท่วมประมาณ 8.7 ล้านไร่ ส่วนการติดตามสภาพอากาศในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มปริมาณฝนลดลง
สำหรับการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย กรมชลประทาน ได้เร่งซ่อมแซมคันคลองส่งน้ำที่ถูกน้ำกัดเซาะในพื้นที่ ต.สามง่าม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณ ต.ท่าทอง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย แล้วมอบน้ำดื่มให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน ต.ปทุม อ.เมือง และต.ดอนมดแดง อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี ต.หนองทรายขาว และ ต.พุคา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2565 ดังนี้   1. ผลการดำเนินงานตามมา...
23/10/2022

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เร่งกำกับติดตามหน่วยงานด้านน้ำบริหารจัดการน้ำเชิงรุก ระบุสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย คาดเข้าสู่สภาวะปกติช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน พร้อมย้ำเทียบปริมาณฝนกับพื้นที่น้ำท่วมไม่เท่าปี 2554 แม้ฝนตกสูงกว่าค่าปกติถึง 21% และยังคงเน้นย้ำในการบูรณาการ โดยกำกับติดตามแก้ไขปัญหาอุปสรรคให้แก่หน่วยงานปฏิบัติภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เพื่อระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วมขัง ที่ได้เร่งระดมเครื่องจักรเครื่องมือ ใช้ทุกกลไกในการบริหารจัดการน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบอยู่ขณะนี้อย่างเร่งด่วน
2. สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 23 – 25 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่
26 – 28 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนบน
ทำให้ลมตะวันออกที่พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 68,448 ล้าน ลบ.ม. (83%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่
38 แห่ง ปริมาณน้ำ 60,194 ล้าน ลบ.ม. (84%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำ 5,088 ล้าน ลบ.ม. (93%)
และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำ 3,166 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)
ปริมาณน้ำ 20,553 ล้าน ลบ.ม. (83%) โดยเขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
4. สถานการณ์น้ำท่วม
สถานการณ์อุทกภัยในชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม ปัจจุบันมี 29 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 4 จังหวัด พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และอุทัยธานี ภาคกลาง 10 จังหวัด ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสระบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก
2 จังหวัด ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา และภาคใต้ 3 จังหวัด ภูเก็ต สตูล และนราธิวาส

วันอาหารโลก ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการก่อตั้งขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food...
16/10/2022

วันอาหารโลก ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการก่อตั้งขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของอาหารให้แก่ประชาชน รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาในการจัดการและการกระจายอาหาร

FAO มีวัตถุประสงค์ที่จะยกระดับโภชนาการทั่วโลก รวมถึงเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในทุกระดับ เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรในชนบท และสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในการเปลี่ยนนโยบายทางการเกษตร และช่วยเหลือทุกภูมิภาคจากสถานการณ์ความอดอยาก และผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงอำนวยความสะดวกในสภาวะที่เป็นกลาง เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการผลิตอาหาร

จากบทบาทดังกล่าวทำให้ประเทศสมาชิกทั่วโลก ได้พร้อมใจกันกำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เช่น การอภิปราย การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมอื่น ๆ ภายใต้หัวข้อที่กำหนดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญวันอาหารโลกในแต่ละปี ซึ่งจะปรับเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในปีนี้วันอาหารโลกจะจัดขึ้นภายใต้แนวคิด สิ่งที่เราทำ คือ อนาคตของเรา # ความหิวโหยของโลกเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2030 (OUR ACTIONS ARE OUR FUTURE. A HUNGER WORLD BY 2030 IS POSSIBLE) ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนและทุกที่ทั่วทุกมุมโลก มีการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการตามที่มนุษย์ต้องการ

สำหรับประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ ฯ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2490 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 45 จากสมาชิกปัจจุบันทั้งสิ้น 190 ประเทศทั่วโลก นับตั้งแต่ได้เข้าเป็นสมาชิกแล้ว ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเร่งฟื้นฟูการเกษตรของประเทศ ในระยะแรกมีโครงการที่ประสบความสำเร็จมาก คือ โครงการประมงน้ำจืด ซึ่งทางองค์การฯ ได้ส่งนักวิชาการด้านประมงมาให้คำแนะนำแก่ชาวประมงไทยในการเลี้ยงปลาหมอเทศ และการเพาะพันธุ์ปลาสวาย

กรมควบคุมโรคเตือนประชาชนพื้นที่น้ำท่วมระวังอุบัติเหตุจมน้ำ ขอประชาชนเฝ้าระวังยึดหลัก “4 ห้าม 4 ให้” เพื่อป้องกันการจมน้ำ...
07/10/2022

กรมควบคุมโรคเตือนประชาชนพื้นที่น้ำท่วมระวังอุบัติเหตุจมน้ำ ขอประชาชนเฝ้าระวังยึดหลัก “4 ห้าม 4 ให้” เพื่อป้องกันการจมน้ำในช่วงน้ำท่วม

กรมควบคุมโรค มีความห่วงใยประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม ขอให้ระวังภัยสุขภาพที่มีสาเหตุมาจากการจมน้ำเสียชีวิต เพราะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดในช่วงมีสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา จากการเฝ้าระวังเหตุการณ์การจมน้ำในช่วงอุทกภัย ของกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค เบื้องต้นพบมีเหตุจมน้ำเกิดขึ้น 7 เหตุการณ์ เสียชีวิต 7 ราย ในจำนวนนี้มีสาเหตุจากการ ออกหาปลาช่วงน้ำท่วม สาเหตุจากเด็กชวนกันไปเล่นน้ำบริเวณฝายน้ำล้นและมีน้ำท่วม และจากสาเหตุที่น้ำเข้าท่วมสูงภายในบ้าน เกิดไฟรั่ว จนถูกไฟช็อตเสียชีวิต

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการจมน้ำ ขอให้ประชาชนยึดหลัก “4 ห้าม 4 ให้” คือ 4 ห้าม ได้แก่ ห้ามหาปลาบริเวณที่มีน้ำท่วมขังโดยเฉพาะช่วงน้ำไหลหลาก ห้ามดื่มสุราแล้วลงไปในน้ำ เพราะเสี่ยงเกิดตะคริวสูง หากเมาจะเสียการทรงตัว ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ห้ามเดินผ่านหรือขับรถฝ่ากระแสน้ำท่วม เพราะระดับน้ำเพียง 6 นิ้ว ก็ทำให้รถเสียหลักและล้มได้ และห้ามเด็กลงเล่นน้ำ สำหรับ 4 ให้ ได้แก่ ให้อพยพไปยังพื้นที่สูง ให้สวมเสื้อชูชีพ หรืออุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ ให้เดินทางเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือกันเวลาในฉุกเฉิน และให้ติดตามข้อมูลข่าวสารสภาพอากาศตามประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

“6 สัญญาณเตือน” ดินโคลนถล่มจากฝนตกหนักในช่วงนี้หลายพื้นที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องตามประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา สภาพ...
07/10/2022

“6 สัญญาณเตือน” ดินโคลนถล่มจากฝนตกหนัก

ในช่วงนี้หลายพื้นที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องตามประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา สภาพฝนที่ตกหนักจะทำให้ดินอุ้มน้ำไว้มากกว่าปกติ และอาจเกิดปัญหาดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ภูเขาหรือพื้นที่สูง เสี่ยงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ จึงขอให้ประชาชนระมัดระวัง โดยติดตามประกาศคำเตือนของทางราชการอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเตรียมของมีค่าที่หยิบฉวยได้ง่าย วางแผนเส้นทางอพยพไว้ล่วงหน้าเพื่อเอาชีวิตรอดเป็นอันดับแรก และให้สังเกตสัญญาณเตือนของดินโคลนถล่ม ซึ่งกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค แนะนำไว้ 6 ประการดังนี้
1. มีฝนตกหนักต่อเนื่องนานกว่า 6 ชั่วโมง หรือปริมาณฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน
2. ระดับน้ำในลำห้วยหมู่บ้านสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
3. มีเสียงดังผิดปกติ จากภูเขาหรือลำห้วย ลำธาร
4. มีน้ำท่วมในหมู่บ้าน และระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
5. ดินในพื้นที่มีสภาพชุ่มน้ำมากกว่าปกติ เนื่องจากอุ้มรับน้ำไว้มาก
6. น้ำในลำห้วยลำธารมีสีขุ่นแดงหรือสีเดียวกับดินภูเขา

ข้อแนะนำวิธีปฏิบัติ คือ
1.ให้อพยพ ไปตามเส้นทางปลอดภัยทันที เพื่อให้พ้นจากแนวการไหลของดิน หรือมีน้ำไหลเชี่ยวอย่างน้อย 2-5 กิโลเมตร และหนีขึ้นไปยังพื้นที่สูง
2.ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว เนื่องจากอาจถูกน้ำพัด เสี่ยงจมน้ำเสียชีวิตได้
3.ไม่ควรอยู่ใกล้ลำน้ำ เนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากดิน หิน ต้นไม้ที่ไหลมาพร้อมกับกระแสน้ำ
4.หากเกิดอุบัติเหตุพลัดตกน้ำ ขอให้ตั้งสติ หาจุดยึดเกาะและปีนให้พ้นน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนีโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจถูกไม้หรือหินกระแทกขณะอยู่ในน้ำเป็นอันตรายได้ ประการที่
5.ไม่ควรกลับเข้าพื้นที่ทันที เพราะอาจเกิดดินถล่มซ้ำได้ และควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เข้าใกล้พื้นที่เสี่ยง

โดยสามารถโทรขอรับความช่วยเหลือกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินที่หมายเลข 1669 หรือสายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหมายเลข 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่อยู่

Chaiya
84110

เบอร์โทรศัพท์

+6677228866

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ศรีวิชัยเรดิโอ FM97.0MHzผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ศรีวิชัยเรดิโอ FM97.0MHz:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


Chaiya บริษัท สื่ออื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด