บทที่ ๒

บทที่ ๒ ความรู้ที่น่าสนใจทางสังคมศาสตร์ มน
(2)

บทที่ ๒ ในเล่มวิทยานิพนธ์ทางด้านสังคมศาสตร์ก็คือส่วนที่ว่าด้วยการทบทวนวรรณกรรม เพจนี้จึงนำเอา สิ่งที่จะอ้างอิงในบทที่ ๒ ได้มารวบรวมไว้ เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ มานุษยวิทยา ปรัชญา และสาขาอื่นๆ เหมือนเป็นคลังบัตรคำ ที่สามารถนำไปอ้างอิงในเรื่องที่กำลังเขียนในวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ได้
อะไรบ้างที่อยู่ในบทที่ ๒
- นิยาม คำอธิบาย เกี่ยวกับคำสำคัญ แนวคิดต่างๆ ในทางสังคมศา

สตร์
- ข้อมูลใหม่ๆ จากการวิจัย
- ความคิดเห็น ข้อสรุปของนักวิชาการต่อประเด็นต่างๆ
ทั้งนี้ บทที่ ๒ ยังต้องการอาสาสมัครร่วมลงขันจากนักวิชาการที่ท่านมีโอกาสอ่านหนังสือต่างๆ ที่จะสามารถเติมเต็มคลังแหล่งอ้างอิงบทที่ ๒ ได้ เชิญมาร่วมเป็นแอดมินกับเรา หรือหากมีข่าวสารการประชุมวิชาการที่น่าสนใจสามารถฝากแชร์ได้ ทางบทที่ ๒ มีความยินดีที่จะสร้างสังคมของการแบ่งปันในด้านวิชาการอย่างยิ่ง

หลาย ๆ ครั้งที่เห็นเพื่อนในโซเชียลที่เรียนระดับบัณฑิตศึกษาบ่นโอดครวญเมื่อจะต้องแก้เล่มธีซิส แอดก็มาคิดเสมอว่ามันเกิจากอะ...
23/10/2022

หลาย ๆ ครั้งที่เห็นเพื่อนในโซเชียลที่เรียนระดับบัณฑิตศึกษาบ่นโอดครวญเมื่อจะต้องแก้เล่มธีซิส แอดก็มาคิดเสมอว่ามันเกิจากอะไร ทำไมถึงทุขเวทนากันขนาดนั้นกับการทำธีซิส ? สำหรับแอดอยากจะขอแชร์ว่าระหว่างทำเล่มได้เกิดจุดเปลี่ยนในวิธีคิดที่สำคัญมากและทำให้หลังจากที่เปลี่ยนความคิดได้ก็ทำงานได้อย่างสบายใจ ความคิดนั้นคือ "เล่มมันเป็นของทุกคนนี่นา" ไม่ใช่ของเราคนเดียว
ทุกคนที่ว่านี้คือใคร สำคัญสุดก็คือท่านที่ปรึกษาฯ และรองลงมาก็คณะกรรมการเปิด-ปิด เล่ม จะ 2 คน 3 คน 4 คนก็ว่าไป รวม ๆ แล้วคือเล่มเป็นของพวกเราทั้งหมดนี่แหละ เราทำงานกันเป็นทีม เหมือน ที่ปรึกษาฯ เป็นหัวหน้า กรรมการเป็นกรรมการคอนซัลท์ (สมมติเป็นบริษัทเล็ก ๆ) ส่วนเรา เปลี่ยนจาก "กูผู้เป็นเจ้าของโปรเจค" มาเป็น "พนักงานผู้ดำเนินการ" ไปแทน
สำหรับแอดแล้วการโพสิชั่นตัวเองแบบนี้ถูกต้องตามลำดับอำนาจที่แท้จริงในทางปฏิบัติมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด และทำให้การทำงานไหลลื่น แถมไม่ต้องหัวร้อนเพราะก่อนนั้นพอ "ธีซิสของกู" โดนคอมเมนต์ก็พลอยเกิดความรู้สึกว่า "กูโดนคอมเมนต์" ไปด้วย ทั้ง ๆ ที่ ที่ปรึกษาและกรรมการทุกคนที่ต้องใส่ชื่อลงไปในเล่มเขาก็มีหน้าที่ต้องรักษาคุณภาพงานที่จะส่งผลไปยังชื่อเสียงของเขาเช่นกัน
ก็ลองนำไปปรับใช้ดูนะ แอดอยากอวยพรให้ นศ ป.โท ป.เอก ทุกท่านเรียนจบโดยไม่ต้องเครียดหรือมีโทสะซึ่งไม่เห็นมีข้อดีตรงไหนเลย โชดีจ่ะ

26/08/2021

ช่วงนี้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีเสวนาหัวข้อป๊อปคัลเจอร์ที่น่าสนใจออกมาเป็นชุดเลยค่ะ ลองเข้าไปติดตามดูนะคะ

ชมได้ทั้งเฟซบุ้คและซูมค่ะ https://www.facebook.com/ICHICMU/photos/a.124030476238812/232841052024420/
20/06/2021

ชมได้ทั้งเฟซบุ้คและซูมค่ะ
https://www.facebook.com/ICHICMU/photos/a.124030476238812/232841052024420/

[บทคัดย่อด้านล่าง] วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน นี้ ขอเชิญฟังบรรยายปาฐกถา ของงานประชุม "(ถอน)รากอาณานิคมทางความคิดในภาษา วรรณกรรม และวัฒนธรรมศึกษา" ในหัวข้อ "กาลานุวัตรเวลาอาณานิคมไทย: การถอนรากอาณานิคมในอนาคตอันเป็นอดีต" โดย รศ.ดร. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสามารถรับชมได้ที่
>> page ของ The Integrative Center for Humanities Innovation นี้ หรือ
>> ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมเพื่อฟังผ่าน zoom และร่วมวงเสวนาอื่น ๆ ของงานประชุม รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้ที่ www.cmu.to/decolonisingsymposium2021
---------
บทคัดย่อการบรรยายปาฐกถา:

ปัญหาเรื่องอาณานิคมศึกษากับประเทศไทยเป็นประเด็นถกเถียงกันมายาวนาน โดยเฉพาะในเรื่อง “ความเป็นอาณานิคม” ของไทยที่มักจะถูกปฏิเสธโดยวงการศึกษาประวัติศาสตร์กระแสหลัก อย่างไรก็ตามนักวิชาการอีกหลายสาขาในด้านไทยศึกษาก็ได้พยายามชี้ให้เห็นภาวะอาณานิคมที่ซ่อนเร้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายถึงจินตนาการด้านพื้นที่และอาณาเขตสยามของธงชัย วินิจจะกูล (1994) ที่แสดงให้เห็นถึงการต่อรองกับอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตก การวิเคราะห์ภาวะอาณานิคมสยามผ่านกรอบแนวคิดเชิงมาร์กซิสต์เรื่องภาวะกึ่งอาณานิคม (Semicolonialism) ของ Peter Jackson (2007) หรือการเปรียบเทียบสยามกับภาวะอาณานิคมแฝง (Crypto-Colonialism) ในประเทศกรีซของ Michael Herzfeld (2017) ข้อเสนอเหล่านี้ได้ชี้ให้เห็นถึงภาวะความเป็นอาณานิคมที่สยามไม่อาจอ้างได้ว่าไม่เกี่ยวข้องดังที่ประวัติศาสตร์กระแสหลักพยายามจะสถาปนาขึ้น ในทางกลับกันภาวะอาณานิคมกลับมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยในบริบทสากล ทว่ายังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ไม่ได้รับการกล่าวถึง นั่นก็คือ “มิติเวลา” ของภาวะอาณานิคมที่มีต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ด้วยความที่ไม่เคยมีการประกาศภาวะความเป็นอาณานิคมของไทยอย่างชัดแจ้งในบันทึกใดๆ จึงก่อให้เกิดปัญหาการกำกับขอบเขตของเวลา (temporal boundary) ที่จำเป็นต่อการกำหนดภาวะอาณานิคมและภาวะ “หลัง” อาณานิคม จึงทำให้ขั้นตอนต่อไปซึ่งก็คือการถอนรากอาณานิคมนั้นเป็นไปไม่ได้ไปด้วย

ในการบรรยายครั้งนี้ ผู้บรรยายจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาของมิติเวลาที่ปรากฏในเหตุการณ์สำคัญในวรรณกรรมไทยเรื่องต่างๆ โดยการอ่านแบบถอดรื้อ (deconstruction) เพื่อเผยให้เห็นร่องรอยของการเล่น (jeu) ระหว่างสัญญะต่างๆที่พยายามกดทับหรือ “ก่อนกัก” (foreclose) ความเป็นอื่นหรืออำนาจจักรวรรดินิยม และภาวะล้นเกิน (excess) ที่ปรากฏในการสมาทานสมมูลภาพทางยุคสมัย (co-evalness) โดยเฉพาะความเป็นสมัยใหม่อย่างตะวันตก ทั้งหมดนี้เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าความเป็นไปได้ของการถอนรากอาณานิคมของไทยคือการ “กาลานุวัตร” (temporalize) เวลาอาณานิคมให้มีลักษณะฆราวาส (secular) หรือดึงเหตุการณ์ในวรรณกรรม/ประวัติศาสตร์ออกจากความเวิ้งว้างของอกาล (non-time) มาจัดตำแหน่งแห่งที่ (situate) ในห้วงขณะ (moment) ที่สัมพันธ์กับความเฉพาะของเหตุการณ์อื่นๆ เช่นนี้แล้วเราจึงจะ “ถอนราก” ภาวะอันกำกวมของอาณานิคมได้ผ่านการจินตนาการถึงอนาคตผ่านอดีต (future anterior) โดยเฉพาะการหันเข้าหาการเมืองแบบกำหนดก่อน (prefigurative politics) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเข้าด้วยกันอย่างมีกลยุทธ (strategic) งานวรรณกรรมที่จะนำมาสำรวจในการบรรยายครั้งนี้ได้แก่ เทศนาเรื่องมิกาทุระ นิทานทองอิน สี่แผ่นดิน นวนิยายชุดเรื่องปริศนา นิยายรักในราชสำนักฝ่ายใน แดนดาว และพุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ บทที่ ๒ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง บทที่ ๒:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง บริษัท สื่อ


ผู้จััดพิมพ์เผยแพร่ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด