บาร์บำบัด Therapy Bar Podcasts

บาร์บำบัด Therapy Bar Podcasts Podcast โดยนักจิตบำบัด CBT นั่งดูหนัง ดูซีรีส์ แล้วย้อนดูใจตนเองไปด้วย

23/08/2024

มาแล้วค่า.. Social So Chill ชวนคุยกันใน live talk จากจิตวิทยาสังคม จุฬาฯ เดือนนี้มาในหัวข้อ “ความพึงพอใจในชีวิต ความก้าวร้าว และความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย ในยุคโควิด 19” มาดูกันว่าโรคระบาดใกล้ตัวทำให้คนเรามองชีวิตตนเองเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือไม่ กับ ผศ.ดร. อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช อาจารย์จากแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม จุฬาฯ พบกันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2567 นี้ เวลา 12.00 น ค่าา..

23/08/2024

ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปีชมรม CBT แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 ระหว่างวันพุธที่ 30 ตุลาคม - ศุกร์ 1 พฤศจิกายน 2567
ตารางการประชุม
พุธ 30 ตุลาคม Pre-conference Workshop
Preventing Anxiety and Depression in Young People
Prof. Cecilia A. Essau
Professor of Developmental Psychopathology
School of Psychology, University of Roehampton
London, UK
พฤหัส 31 ตุลาคม
8.40-9.40 Neurodiversity & CBT
รศ.นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬา
คุณศศิภา มีนชัยนันท์ Steps Community
10.00-11.00 Keynote Lecture: Delivering CBT Across Cultures
Prof. Cecilia A. Essau, University of Roehampton
11.00-12.00 ทุกข์เพราะเป็นหนี้ – CBT และ Money Coach ช่วยคุณได้
คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ (โค้ชหนุ่ม) The Money Coach
รศ.นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬา
13.00-13.50 Applying Buddhist Philosophy to Psychotherapy
อ.ดร.พูลทรัพย์ อารีกิจ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
13.50-14.40 Music & CBT
อ.กฤษดา หุ่นเจริญ สาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยาคศิลป์
อ.วิพุธ เคหะสุวรรณ สาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยาคศิลป์
15.00-17.00 CBT และปัญหาชีวิตคู่
ผศ.นพ.ชัยชนะ นิ่มนวล คณะแพทยศาสตร์ จุฬา
ผศ.พญ.ศุภรา เชาว์ปรีชา Mind and Mood Clinic
อ.พญ.พันตรี เกิดโชค คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
อ.พลเลิศ พวงสอน CBT ดีต่อใจ (ผู้ดำเนินรายการ)
ศุกร์ 1 พฤศจิกายน
8.20-9.10 CBT for Obesity & Weight Control
รศ.ดร.นพ.วรุตม์ อุ่นจิตสกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
9.10-10.00 Schema-Informed CBT: Applying Schema Therapy Concepts to Overcome Roadblocks in CBT
ผศ.ดร.ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10.20-11.10 พลังชีวิต จิตบำบัด และศรัทธา
ผศ.พญ.ศิริรัตน์ อุฬารตินนท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
11.10-12.00 Behavioral Economics & Nudges in CBT
อ.ณภัทร สัตยุตม์ Nudge Thailand
13.00-15.00 เลี้ยงลูกแบบ CBT Therapist
พญ.ชนานันทิ์ วิจิตรแสง
คุณมานิดา ธรรมตารีย์
คุณณัฐวลัญช์ กิตติวังชัย
คุณนรเศรษฐ์ โอฬารกิจอนันต์
คุณนรพันธ์ ทองเชื่อม (ผู้ดำเนินรายการ)
สถานที่จัดประชุม - โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ (ติดกับ Miracle Grand)
อัตราค่าลงทะเบียน
1. สมัครเข้าประชุมทั้ง 3 วัน ค่าลงทะเบียน 5,900 บาท
(นักเรียน/นักศึกษา/แพทย์ประจำบ้าน/สมาชิกชมรม ลด 10% เหลือ 5,310 บาท)
2. สมัครเข้าประชุมเฉพาะ Workshop วันที่ 30 ต.ค. 67 ค่าลงทะเบียน 2,500 บาท
(นักเรียน/นักศึกษา/แพทย์ประจำบ้าน/สมาชิกชมรม ลด 10% เหลือ 2,250 บาท)
3. สมัครเข้าประชุมเฉพาะวันที่ 31 ต.ค.- 1 พ.ย. 67 ค่าลงทะเบียน 4,500 บาท
(นักเรียน/นักศึกษา/แพทย์ประจำบ้าน/สมาชิกชมรม ลด 10% เหลือ 4,050 บาท)
การชำระเงินค่าลงทะเบียน
ชำระค่าสมัครประชุมวิชาการภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2567
โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์
ชื่อบัญชี ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่บัญชี 152-459566-5
พร้อมส่งสำเนาใบโอนเงินค่าลงทะเบียนและหลักฐานส่วนลด (กรณี นักเรียน นิสิต นักศึกษา แพทย์ประจำบ้าน สมาชิกชมรม)
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เจ้าหน้าที่ประสานงาน : คุณฉันท์หทัย มหาโภชน์ (วี่)
เบอร์โทรศัพท์ 0 2218 2880 ต่อ 262 เบอร์มือถือ 084-402-6004
E-mail : [email protected]
หรือส่งข้อความมาใน inbox ของเพจ CBT Alliance of Thailand
ลิงค์ใบสมัคร
https://forms.gle/KZM28qQCRDbqvRb39
ลิงค์โครงการ
https://www.dropbox.com/scl/fi/mn1a6f71wdkymahqiqtqi/_-7.pdf?rlkey=qub2na9y9aouy3hhacap159pb&st=a4dfzie3&dl=0
ลิงค์กำหนดการประชุม
https://www.dropbox.com/scl/fi/btr9x4u329hq2csgrhc19/CAT-7_Oct2024.pdf?rlkey=80q4ewjrd83tx9hi9s193gio2&st=u0n5z6v4&dl=0
ลิงค์หนังสือเชิญ - โรงพยาบาล
https://www.dropbox.com/scl/fi/3je347dzbllrx3btqzqmd/_-..pdf?rlkey=20djjp3ghse43wqiqeatdp4ch&st=tjzae4k1&dl=0
ลิงค์หนังสือเชิญ - สถาบันการศึกษา
https://www.dropbox.com/scl/fi/dbpq5htga06ptlq0lxer0/_.pdf?rlkey=v5f2ar01ba7imf0bcoto2c8av&st=y229dz40&dl=0
โรงแรมมีเรตห้องพักพิเศษสำหรับผู้เข้าประชุม โดยสามารถติดต่อขอจองห้องได้โดยตรงกับทางโรงแรม
https://www.dropbox.com/scl/fi/5s84uays5d95v1judwedi/..pdf?rlkey=3ym1g7mwk15to7t62g4o5ksqi&st=9rr888et&dl=0
สมัครสมาชิกชมรม CBT
สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
1. ส่วนลดการอบรม CBT และการประชุมวิชาการ 10%
2. รับเสื้อที่ระลึก 1 ตัว
อัตราค่าสมาชิก 1,000 บาท ตลอดชีพ
ขั้นตอนการสมัครสมาชิก
1. ดาวน์โหลดและกรอกใบสมัคร
https://www.dropbox.com/s/42j3518ncqxbvzo/CAT%20Member%20Application%20Form_2022.pdf?dl=0
2. โอนเงินค่าสมัคร
3. ส่งใบสมัครและหลักฐานการชำระเงินที่ คุณวี่ (ฉันท์หทัย) ได้ที่ [email protected]
ติดตามข่าวสารของการประชุมของชมรมได้ทางเพจ CBT Alliance of Thailand

19/08/2024

แม้ว่าในปัจจุบันบริการด้านสุขภาพจิตในประเทศไทยจะแพร่หลายและเป็นที่รู้จักมากขึ้น และการไปพบจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักจิตบำบัด ถือเป็นเรื่องปกติเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ แต่เมื่อถึงเวลาที่ใครคนหนึ่งต้องการความช่วยเหลือ ก็มีเรื่องให้ต้องไตร่ตรองพอสมควรก่อนตัดสินใจเข้ารับบริการ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะได้พบนักวิชาชีพด้านสุขภาพจิตคนใดที่มีคุณภาพ และเลือกบริการความช่วยเหลือรูปแบบใดที่เหมาะกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่

หากคุณคือผู้ที่กำลังมองหาความช่วยเหลือหรือมีคนใกล้ชิดที่จำเป็นต้องได้รับบริการด้านสุขภาพจิต ในบทความนี้ผมจะนำเสนอแนวทางการเลือกนักวิชาชีพและบริการด้านสุขภาพจิตให้ตรงกับความต้องการ โดยพิจารณาจาก 2 แนวทาง เพื่อให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นครับ

**********

1. เลือกจากนักวิชาชีพด้านสุขภาพจิต

หากคุณทราบว่าตัวเองต้องการพบนักวิชาชีพสุขภาพจิตใด เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาการปรึกษา หรือนักจิตบำบัด คุณสามารถประเมินคุณสมบัติและมาตรฐานของนักวิชาชีพเหล่านี้ได้จาก:

✅ ใบประกอบวิชาชีพ: คุณควรตรวจสอบว่านักวิชาชีพมีใบประกอบวิชาชีพที่ถูกต้อง ซึ่งแสดงว่าพวกเขาได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่มีอำนาจทางกฎหมาย วิชาชีพด้านสุขภาพจิตที่มีใบประกอบวิชาชีพในตอนนี้ ได้แก่ จิตแพทย์ (ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม) นักจิตวิทยาคลินิก (ใบประกอบโรคศิลปะ) โดยคุณสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แพทยสภา (จิตแพทย์) กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (นักจิตวิทยาคลินิก)

✅ วุฒิการศึกษาและการรับรอง: ในกรณีที่วิชาชีพนั้นยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพ เช่น นักจิตวิทยาการปรึกษา นักจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ นักจิตบำบัด คุณสามารถตรวจสอบคุณสมบัติของพวกเขาได้จากวุฒิการศึกษาที่แสดงถึงการมีความรู้พื้นฐานโดยตรงในสาขานั้น เช่น ผู้ที่เรียกตัวเองว่านักจิตวิทยาการปรึกษาต้องจบการศึกษาระดับปริญญาสาขาจิตวิทยาการปรึกษา วุฒิการศึกษาที่สูงกว่าอาจหมายถึงชั่วโมงการฝึกปฏิบัติงานที่มากกว่า นอกจากนี้ คุณสามารถตรวจสอบคุณสมบัติของนักวิชาชีพที่ยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพได้จากสมาคมวิชาชีพนั้น ๆ เช่น สมาคมนักจิตวิทยาการปรึกษาแห่งประเทศไทย (นักจิตวิทยาการปรึกษา)

✅ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ: หากคุณต้องการนักวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในปัญหาของคุณ คุณสามารถสอบถามประสบการณ์การทำงานและความเชี่ยวชาญของนักวิชาชีพได้จากองค์กรที่นักวิชาชีพสังกัด

✅ ความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ: สอบถามจากผู้ที่เคยใช้บริการมาก่อน เช่น เพื่อน คนรู้จัก หรือสอบถามจากนักวิชาชีพใกล้เคียงที่คุณเคยไปพบ เช่น หากคุณต้องการพบจิตแพทย์ ก็อาจสอบถามข้อมูลจากนักจิตวิทยาที่คุณไปพบ หรือหากคุณต้องการพบนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด ก็อาจสอบถามข้อมูลจากจิตแพทย์ที่รักษาคุณอยู่ เพื่อประเมินแนวทางการให้บริการว่าตรงกับที่คุณต้องการหรือไม่

✅ ความรู้สึกส่วนตัว: ต่อให้นักวิชาชีพที่คุณตัดสินใจไปพบมีสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณรู้สึกสบายใจและไว้ใจที่จะพูดคุยกับนักวิชาชีพคนนั้นหรือเปล่า ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจ คุณมีสิทธิที่จะเปลี่ยนนักวิชาชีพได้ เพราะการเปลี่ยนนักวิชาชีพให้ตรงกับความต้องการเป็นเรื่องปกติ

**********

2. เลือกจากบริการด้านสุขภาพจิตที่ต้องการ

หากคุณยังไม่แน่ใจว่าควรพบนักวิชาชีพใด แต่ทราบว่าต้องการบริการประเภทไหน เช่น การวินิจฉัยโรค การรักษาด้วยยา การปรึกษาเชิงจิตวิทยา จิตบำบัด หรือการประเมินทางจิตวิทยา คุณสามารถพิจารณาได้ดังนี้:

✅ การวินิจฉัยโรค: หากคุณคิดว่าตนเองมีความผิดปกติทางจิตและต้องการการวินิจฉัยโรคจากผู้เชี่ยวชาญ​ คุณต้องไปพบจิตแพทย์เท่านั้น

✅ การรักษาด้วยยาและการรักษาทางการแพทย์อื่น ๆ: หากคุณต้องการการรักษาด้วยยา หรือการรักษาทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คุณก็ต้องพบจิตแพทย์เช่นกัน

✅ การปรึกษาเชิงจิตวิทยา: หากคุณต้องการปรึกษานักวิชาชีพเพื่อทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตัวเองและหาทางแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ คุณสามารถไปพบนักจิตวิทยาการปรึกษา หรือนักจิตวิทยาคลินิก

✅ จิตบำบัด: หากคุณต้องการทำจิตบำบัดที่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจง คุณอาจพิจารณานักจิตบำบัดในแนวทางที่คุณต้องการ เช่น CBT, Satir, EMDR หรือไปพบจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก หรือนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีการฝึกอบรมเพิ่มเติม (ประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ ในประเทศไทย นักจิตบำบัดแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้ด้านสุขภาพจิตไม่เท่ากัน บางคนอาจมาเรียนโดยไม่มีพื้นฐานมาก่อน ดังนั้น การเลือกนักจิตบำบัดมีมีวุฒิการศึกษาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาหรือสุขภาพจิต จะช่วยให้คุณมั่นใจได้มากขึ้น)

✅ การประเมินทางจิตวิทยา: หากคุณต้องการประเมินสภาพจิตใจ ความสามารถทางสติปัญญา บุคลิกภาพ ฯลฯ ด้วยแบบทดสอบมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ แนะนำให้คุณไปพบนักจิตวิทยาคลินิก

**********

สิ่งสำคัญคือ

✅ คุณควรให้เวลาตัวเองในการทำความเข้าใจประเภทของนักวิชาชีพและบริการด้านสุขภาพจิตรูปแบบต่าง ๆ ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจเลือก การเลือกนักวิชาชีพและบริการด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสมกับปัญหาของคุณจะช่วยให้คุณแก้ปัญหาได้ตรงจุดและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้บริการ

✅ หากคุณศึกษาแล้วแต่ยังคงไม่เข้าใจอยู่ดี แนะนำให้ปรึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมจากนักวิชาชีพจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ นักวิชาชีพที่มีความสามารถและมีจรรยาบรรณจะอธิบายให้คุณเห็นถึงประโยชน์และข้อจำกัดของบริการต่าง ๆ และสามารถแนะนำบริการที่เหมาะสมให้คุณได้

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกนักวิชาชีพสุขภาพจิตและบริการด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสมกับคุณนะครับ

**********

สมภพ แจ่มจันทร์
#นักจิตวิทยาการปรึกษา

อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่
www.knowingmindgroup.com

16/08/2024

เป็นแม่ พยายามแค่ไหน เหนื่อยแค่ไหนก็ยังดีไม่พอ

ถ้าคุณแม่ (หรือคุณพ่อ) คนไหนที่มีความรู้สึกแบบนี้
มายด์บลูมขอชวนเข้าร่วม "Good Enough Mother Workshop" ที่อาจเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คุณแม่ทั้งหลายได้มาเรียนรู้วิธีดูแลใจตัวเองตามหลักจิตวิทยา วิธีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเองและคนในครอบครัว เติมพลังใจ ให้พร้อมสำหรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในทุกๆ วัน

🌷รายละเอียดกิจกรรม
Good Enough ‘Mother’🌿คือกิจกรรมที่ออกแบบและดำเนินโดยนักจิตวิทยาคลินิก เราจะพาทุกท่านสำรวจจิตใจและความคิดเกี่ยวกับ
ตัวตน และ บทบาทความเป็นแม่ในอุดมคติ การฝึกดูแลจิตใจด้วยการโอบกอดตัวเองและการสร้างสัมพันธ์ที่ดีผ่านการฝึกปฏิบัติ โดยกิจกรรมจะเป็นการผสมผสานระหว่างการสื่อสาร เสียงเพลง และการวาดภาพ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายและปลอดภัยให้กับทุกคน

🤱🏻สิ่งที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับ
- เรียนรู้การหาสมดุลระหว่างการเป็นตัวเองและการเป็นแม่
- มองหาคุณค่าในตัวเองกับบทบาทความเป็นแม่
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวเองและคนรอบข้าง
- เรียนรู้ทักษะการดูแลใจตัวเอง
- ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณแม่คนอื่น ๆ ที่เข้าใจและเป็นแรงบันดาลใจให้กันและกัน

🩵 Good Enough Mother Workshop
📅 วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2567 13.00-16.00 น.
📍 Location: MindBloom Clinic (MRT บางขุนนนท์)
💰 ค่าใช้จ่าย 1,650 บาท/ท่าน

(รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปบริจาค ณ มูลนิธิเด็ก บ้านทานตะวัน)
สมัครเลยที่นี่: https://forms.gle/7jaLmsEh7soDNiuN6
สอบถามเพิ่มเติม LINE:

กับชีวิตที่ต้องดูแลคนอื่นในทุกๆ วัน ขอเวลา 3 ชั่วโมงมาดูแลใจตัวเองบ้างนะคะ :)

14/08/2024

MOODY: พูดไม่ออก บอกไม่ถูก ฉันรู้สึกอะไรอยู่กันแน่ มาสำรวจ Emotion Wheels กัน!
2 สัปดาห์มานี้ ทุกคนต่างรีวิว วิเคราะห์และพูดถึง ภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘Inside Out: มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2’ ซึ่งได้เล่าเรื่องการรู้จักอารมณ์ใหม่ๆ ที่มาเยือนในศูนย์สั่งการของ ‘ไรลีย์’ สาวน้อยที่กำลังก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
แน่นอนว่า นอกจาก ลั้ลลา (Joy), เศร้าซึม (Sadness), ฉุนเฉียว (Anger), กลั๊วกลัว (Fear) และ หยะแหยง (Disgust) แล้ว ในภาคนี้ทั้งไรลีย์และผู้ชมจะได้เห็นการทำงานของอารมณ์ ว้าวุ่น (Anxiety), อิจฉา (Envy), เฉยชิล (Ennui) และ เขินอาย (Embarrassment) ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ รวมถึงนำไปสู่การกระทำสิ่งใหม่ๆ ในชีวิตของเด็กสาววัยแรกแย้ม
แต่ในชีวิตจริง อารมณ์ความรู้สึกของคนเราไม่ได้มีแค่นั้น เพราะในอารมณ์หลักยังมีอารมณ์ย่อยอีกมากมายเช่นกัน และหากไม่รู้จักคำที่บ่งบอกอารมณ์นั้นๆ หรือไม่มีความเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง เราเชื่อว่าหลายคนคงบอกไม่ได้ว่าแท้จริงแล้วกำลังรู้สึกอะไรอยู่กันแน่
ดังนั้น ความสามารถในการรับรู้และแยกแยะอารมณ์ของตัวเองได้นั้นจึงจำเป็นมากเมื่อเราต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม MOODY จึงขอหยิบ Emotion Wheels หรือ กงล้อแห่งอารมณ์ มาให้ทุกคนได้ศึกษาดูกันอีกสักครั้งเพื่อสำรวจและทำความเข้าใจตัวเองมากขึ้น
ซึ่ง Emotion Wheels นี้คิดค้นโดย ศาสตราจารย์ ดร.โรเบิร์ต พลัทชิค เขาจำแนกรากอารมณ์หลักของมนุษย์ไว้ดังนี้
เริ่มต้นจาก 4 คู่อารมณ์ ได้แก่ ความรื่นเริง (Joy) กับ ความเศร้า (Sadness), ความโกรธ (Anger) กับ ความกลัว (Fear), ความวางใจ (Trust) กับ ความรังเกียจ (Disgust) และความประหลาดใจ (Surprise) กับ ความคาดหวัง (Anticipation) แล้ว ซึ่งแตกออกเป็นอารมณ์ย่อยๆ ตามมา
แต่ในวงล้อที่นิยมใช้กัน จะเริ่มด้วยความสุข ความทุกข์ ความเศร้าเสียใจ ความกลัว ความโกรธ ความรังเกียจ และความประหลาดใจ
โดยวิธีการใช้กงล้อแห่งอารมณ์แยกความรู้สึกของเรา ให้เริ่มจากวงกลมด้านในสุดซึ่งเป็นก้อนอารมณ์ใหญ่ ก่อนจะค่อยๆ ขยายออกมายังก้อนอารมณ์ย่อยในวงนอกทีละขั้น
ทีนี้เราก็สามารถสำรวจตัวเองได้แล้วว่า ตอนนี้เรารู้สึกยังไงบ้าง หากทำบ่อยๆ หรือเป็นประจำก็จะทำให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองได้ ว่าหากรู้สึกแบบนี้ควรจัดการกับอารมณ์ของตัวเองอย่างไร
แล้วเมื่อเรามีความสามารถในการรับรู้ แยกแยะ และจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้นแล้ว แน่นอนว่ามันจะส่งผลกับการทำงานด้านเหตุผลและการคิดวิเคราะห์ให้ดีขึ้นอีกด้วย เนื่องจากสองสิ่งนี้ต่างมีอิทธิพลต่อการรับรู้และประสบการณ์ของมนุษย์ อารมณ์และเหตุผลจึงทำงานร่วมกันอยู่เสมอ
โดยหากสังเกตดูดีๆ ในการตัดสินใจบางครั้งที่เราต้องหาเหตุผลมาสนับสนุน ล้วนมาจากอารมณ์ที่เชื่อมโยงกับค่านิยม ความต้องการ และความเชื่อส่วนตัวของเรา กลับกันก่อนที่เราจะเกิดความรู้สึกใดๆ ก็ย่อมมีเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ซึ่งเป็นผลตามมา
นอกจากนี้ การรับรู้อารมณ์ในแต่ละช่วงวัยของแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันไปตามความเข้าใจหรือประสบการณ์ชีวิต โดยไม่จำเป็นต้องเหมือนกับไรลีย์ โดยเฉพาะอารมณ์ด้านลบที่ง่ายต่อการทำให้เกิดผลลัพธ์ในด้านลบ แถมยังกดทับอารมณ์ด้านบวก
ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ หากเราเข้าใจและตระหนักรู้ได้เร็วขึ้นทุกครั้งที่อารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง จะยิ่งทำให้เราสามารถรับมือและหาวิธีจัดการกับอารมณ์นั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยังไงก็ลองนำไปปรับใช้กันดูนะทุกคน


EP ใหม่ ชวนดู House of the Dragon Season 2 กับ บาร์บำบัด (และน้อนเอไอ 😂) ชวนสองตระกูลเข้าแวะห้องบำบัด
07/08/2024

EP ใหม่ ชวนดู House of the Dragon Season 2 กับ บาร์บำบัด (และน้อนเอไอ 😂) ชวนสองตระกูลเข้าแวะห้องบำบัด

พาตัวละครใน House of the Dragon season 2 มาห้องจิตบำบัดกันหน่อย #รีวิว #ซีรีส์ #บ้านมังกร0:00 Introฟังบน Spotify: https://...

EP ใหม่ ชวนดูชวนคุยเรื่อง The Bear Season 3 https://youtu.be/eT6IOxt-G4c?si=mZ9c4oVqjB2Zvey4      #รีวิว  #ซีรีส์
05/08/2024

EP ใหม่ ชวนดูชวนคุยเรื่อง The Bear Season 3 https://youtu.be/eT6IOxt-G4c?si=mZ9c4oVqjB2Zvey4 #รีวิว #ซีรีส์

คืนชีพมาในตอนใหม่มาคุยเรื่อง The Bear ซีซั่น 3 ในมุมมองนักจิตบําบัด โดยมีพิธีกรรับเชิญคนใหม่เป็นเอไอ #รีว.....

04/07/2024

🚐 เข้าเรียนไม่ได้ ให้โรงเรียนไปหา
การเดินทางครั้งแรกของ Mobile School การศึกษายืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิต
⭐️ รับสมัคร เด็กและเยาวชนที่ออกจากระบบการศึกษากลับมาเรียนต่อ ช่วงชั้นป.6 ม.ต้น และม.ปลาย

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 – 15.00 น.
ณ โดมลานกีฬาของชุมชนคลองเตยล็อก 4-5-6

⭐️ Mobile School น่าสนใจอย่างไร ?
* ห้องเรียนแนวใหม่ ตอบโจทย์ทุกเงื่อนไขชีวิต จัดการศึกษาโดย
เครือข่ายศูนย์การเรียน โดยสถาบันทางสังคม ร่วมกับแหล่งเรียนรู้มากมาย
* Learn to Earn เรียนรู้ผ่านการทำงาน
---- ประสบการณ์ และงานที่ทำอยู่ จะเทียบโอนเป็นหน่วยกิตได้อย่างไร
---- ทางเลือกงานสร้างรายได้ใหม่ๆ ได้ประโยชน์ 2 ต่อ เพิ่มรายได้และเทียบโอนความรู้ ประสบการณ์เป็นหน่วยกิต สะสมเป็นวุฒิการศึกษา

* Anywhere Anytime เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา 24 ชั่วโมง ยืดหยุ่น ตอบโจทย์ทุกเงื่อนไขชีวิต

⭐️ ในงานจะได้พบกับอะไรบ้าง?
* เปิดมุมมองมองทางเลือกอาชีพใหม่ๆ
* มุมที่ปรึกษา ช่วยกันออกแบบเส้นทางการศึกษายืดหยุ่นตอบโจทย์ชีวิต
* เลือกหลักสูตรที่สนใจ ดีไซน์แผนและตารางเรียนของตัวเอง ตามเงื่อนไขชีวิตจริง
* แบ่งปันประสบการณ์จากเพื่อน พี่ น้อง
* สมัครเรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
* ธนาคารโอกาส และศูนย์แบ่งต่อ มูลนิธิกระจกเงา สนับสนุนอุปกรณ์และสื่อเพื่อการเรียนรู้

⭐️ ริเริ่มโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เครือข่ายศูนย์การเรียนโดยสถาบันทางสังคม ตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

⭐️ สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ โดยกรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่าย ALL FOR EDUCATION ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน

ติดตามการเดินทางนำการศึกษาไปหาเด็กๆ ของ Mobile School การศึกษายืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิตได้ที่เพจ กสศ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

#กสศ
#กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
#เด็กทุกคนต้องได้เรียน
#การศึกษายืดหยุ่น

#กรุงเทพมหานคร
#เข้าเรียนไม่ได้ให้โรงเรียนไปหา

21/06/2024

**ปิดรับสมัคร***
22 มิ.ย.67

เคยมั้ย บำบัดไปแล้วไปตันตรงที่ว่า "ถ้าแฟนหนูเปลี่ยนนิสัยได้นี่หนูหายเศร้าเลยนะคะ!"

ถ้าเจอแบบนี้แล้วไม่รู้จะไปต่อยังไง ขอเชิญมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันใน...

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Introduction to Couple Therapy

ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 3 ห้อง 303 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิทยากร
1. อ.พญ.จินดา อุดมปัญญาวิทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์
2. ผศ.พญ.ธิดารัตน์ ปุรณะชัยคีรี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
3. อ.นพ. เบญทวิช สุรศาสตร์พิศาล โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์
4. อ.พญ.พันตรี เกิดโชค คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

หัวข้อการอบรม
- Systems theory
- Circular causality and vulnerability cycles
- Family/couple life cycle
- Systemic assessment & genogram
- Forming systemic hypothesis
- Emotionally focused therapy
- Gottman method couple therapy
- Working with infidelity and divorce
- Other common issues

ค่าลงทะเบียน 4,900 บาท (รวมอาหารว่าง แต่ไม่รวมอาหารกลางวัน)
นักเรียน/นักศึกษา/แพทย์ประจำบ้าน/สมาชิกชมรม ส่วนลด 10% (เหลือ 4,410 บาท)

สมัครได้ที่ลิงค์นี้
https://forms.gle/Dg7ZZN3GqhypYhXW6

ลิงค์โครงการ
https://www.dropbox.com/scl/fi/fbi5d31mjr73hl7h419ok/Couple-Therapy.pdf?rlkey=m9zdiahettv5rl9fyo8vum8vx&st=y7fx67l7&dl=0

ลิงค์ตารางการอบรม
https://www.dropbox.com/scl/fi/6yargc6j19vhnmeir32c5/couple-therapy-workshop-2567.pdf?rlkey=gjsrpo6gg1lfcs3xqfgmtaeev&st=2fk7yj22&dl=0

ลิงค์หนังสือเชิญโรงพยาบาล
https://www.dropbox.com/scl/fi/42qlz65f9ap7ntoolgkmb/_-..pdf?rlkey=xo043fsrglwmlis31wontg07m&st=bxuz4prf&dl=0

ลิงค์หนังสือเชิญสถานศึกษา
https://www.dropbox.com/scl/fi/1ou26e2yfadsbsnsujevr/_.pdf?rlkey=vnyo7a6hw7sgtnkjuxnjepi1y&st=s1c2c025&dl=0

เจ้าหน้าที่ประสานงาน : คุณฉันท์หทัย (วี่) มหาโภชน์ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เบอร์โทรศัพท์ 084-402-6004 E-mail : [email protected]

13/06/2024

"ภายใต้การไม่ลงมือทำมีอะไรซ่อนอยู่ ?"

หลายครั้งการไม่ลงมือทำ (ทั้งที่รู้อยู่ว่าควรทำ)

มาจาก "ความกลัว...." ที่ซ่อนอยู่

- กลัวเห็นตนเองล้มเหลว
- กลัวเห็นตนเองไม่เจ๋ง ไม่เก่ง ไม่เลิศ ไม่ฉลาด
อย่างที่คิดไว้ (หรือ เคยคุยไว้)
- กลัวเห็นตนเองไม่มีความสามารถ อย่างที่เคยเข้าใจ
- กลัวความลำบาก
- กลัวทำไม่ได้
- กลัวเสียเซลฟ์ เสียความมั่นใจ
( คือ พอลงมือทำ เราไม่แจ่ม อย่างที่่เราเคยเข้าใจ หรือ เคยคุยไว้)
- กลัวเสียหน้า
- กลัวเสียใจ
- กลัวเจอความยุ่งยากลำบาก
- กลัวเจออุปสรรค
- กลัวเจอสิ่งกวนใจ
- กลัวเจอความวุ่นวาย
- กลัวเห็นตนเองว่า ที่ผ่านมาเหลวไหลเหลือเกิน
(การลงมือทำ เป็นการยอมรับว่าที่ผ่านมา ควรทำแบบนี้ตั้งนานแล้ว
แต่ด้วยความกลัว จนเกิดพฤติกรรมเหลวไหล)
- กลัวเจอสิ่งที่รู้สึกไม่โอเค
- กลัวรู้สึกแย่กับตัวเอง
- กลัวเห็นความเปราะบาง
- กลัวทำผิด
- กลัวทำได้ไม่ดี
- กลัวความผิดพลาด
- กลัวผลออกมาไม่ดี
- กลัวเจอความเจ็บปวด
- กลัวเจอความผิดหวัง
- กลัวเจอความไม่สบาย ไม่ชิล
- กลัวความไม่สนุก
- กลัวเสียเวลา
- กลัวความขัดแย้ง
- กลัวความไม่ปลอดภัย กลัวเจอสิ่งที่น่ากลัว (ซึ่งบางทีก็ยังนึกไม่ออกว่าอะไรที่น่ากลัว แต่กลัว)
- กลัวเจอปัญหา (โดยเฉพาะปัญหาที่รู้สึกไม่ถนัด)
- กลัวเจอสิ่งที่ไม่ถนัด (ไม่อยากทำสิ่งที่ไม่ถนัด มันทำให้เสียเซลฟ์)
- กลัวเหนื่อย
- กลัวอะไรไม่รู้.. แต่รู้สึกว่ามันน่ากลัวแหละ 😅
และ อีกหลายๆ กลัวที่ซ่อนอยู่
ฯลฯ

------------------------------------------

ACT
12/06/2024

ACT

“รู้สึกว่ายังไม่พร้อมที่จะทำมันเลย”
อาจเป็นประโยคที่เราเคยคิดหลายครั้งในชีวิต
ในบางสถานการณ์ที่เราไม่คุ้นชิน
หรือรู้ว่ากำลังจะต้องไปเจออะไรใดๆ ที่รู้สึกไม่คุ้นเคย

ไม่พร้อม
ไม่มั่นใจ
มีแต่อะไรๆ ที่กลั่นออกมาเป็นความกลัวและความกังวล

แต่หากเรามัวแต่กลัวอะไรที่ยังไม่เกิด
นั่นอาจทำให้เราพลาดโอกาสที่อาจเป็นก้าวสำคัญในการเติบโตในขั้นถัดๆ ไปก็ได้

“ฉันจะทำมันอยู่ดี!”
อาจลองเริ่มต้นสู้กับความกลัวและไม่กล้าด้วยประโยคนี้
(ถึงจะแอบไขว้นิ้วขณะที่กำลังให้กล่าวกับตัวเองอยู่ก็ตาม)

อย่างน้อยๆ การให้คำมั่นสัญญากับตัวเอง
ว่าถึงจะพร้อมหรือไม่พร้อมในการเผชิญโลก
แต่เราก็จะทำมันอยู่ดี

นี่แหละคือความเข้มแข็งในแบบของเราเอง
ที่สามารถก้าวต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันกับใครๆ

เรื่อง : ภาพตะวัน
ภาพ : Arunnoon

10/06/2024

มุมโอบใจ: พื้นที่ที่ให้คุณได้กลับมาทำความเข้าใจและโอบกอดตัวเอง ❤️

📢 ประชาสัมพันธ์สำหรับบุคคลทั่วไป

ศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอประชาสัมพันธ์โครงการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 18 - 60 ปี ให้บริการโดยนิสิตระดับปริญญาโท แขนงจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

▶️ อัตราค่าบริการ 60 บาท / ครั้ง

บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถลงทะเบียนเพื่อขอนัดหมายรับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน - 30 กันยายน 2567

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
✅ Inbox ศูนย์สุขภาวะทางจิต (Center for Psychological Wellness)
✅ Line Official “มุมโอบใจ”: https://lin.ee/yhLafis ()
✅️ อีเมล: [email protected]

07/06/2024

📣 ชวนอ่าน 'เด็กและครอบครัวไทยที่ไม่ถูกมองเห็น: รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2024' โดย คิด for คิดส์ - ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว
- 👨‍👩‍👧‍👦 สถานการณ์ 4 กลุ่มเด็กเปราะบางน่าจับตา
- 📊 สถิติสำคัญด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว
📥 https://kidforkids.org/child-family-situation-report-2024/
=========================
⚠️ หมายเหตุ:
*รายงานนี้เป็นฉบับร่างสำหรับนำเสนอในงานเสวนาสาธารณะ 'เด็กและครอบครัวไทยที่ไม่ถูกมองเห็น' ในวันที่ 5 มิถุนายน 2024
**หากท่านมีความเห็นต่อรายงาน สามารถเสนอแนะได้ทางอีเมล [email protected]

29/05/2024

คนไทยป่วยจิตเวช 2.9 ล้านคน และอาจมีปัญหาแต่ไม่ได้รักษาถึง 10 ล้านคน โฆษกกรมสุขภาพจิตวิเคราะห์ปัจจัยทำแนวโน้มพุ่งสูง พร้อมเผยโรคที่ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่ง! มองคนไทยไม่พบจิตแพทย์-นักจิตฯ เหตุยังมีภาพจำไม่ค่อยดี
'ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์' โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัจจัยเชิงซ้อน ไม่ได้เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม แต่ปัจจัยที่เราเห็นว่ามีมากขึ้น จะเป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับด้านจิตใจ
ดร.นพ.วรตม์ มองว่า ความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพจิต คงไม่มีกลุ่มใดเสี่ยงเป็นพิเศษ เพราะแต่ละช่วงวัยเสี่ยงในภาพที่แตกต่างกันออกไป อย่างคนกลุ่มวัยทำงานหลายคนก็เจอกับภาวะเครียด เพราะจำเป็นต้องทำงานหนัก
ข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปี 2566 พบว่า คนวัยทำงานใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของแต่ละวันไปกับการทำงาน ซึ่งสภาพการทำงานจากการจัดอันดับของบริษัท Kisi เมื่อปี 2565 พบว่า กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับที่ 5 จาก 100 เมืองทั่วโลก ที่มีผู้คนทำงานหนักเกินไป และมีพนักงานประจำกว่าร้อยละ 15.1 ทำงานล่วงเวลามากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
รายงาน เรื่อง ภาวะสังคมไทย ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 จากสภาพัฒน์ เผยว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 2 ล้านคน แต่ผู้มีปัญหาอาจมากถึง 10 ล้านคน ทำให้สัดส่วนผู้มีปัญหาสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก สะท้อนให้เห็นว่ายังมีผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาจำนวนมาก
อ่านเพิ่มเติม : https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2789058
#สุขภาพจิต #ไทยรัฐออนไลน์

29/05/2024

“กลวิธีการเผชิญปัญหาบนพื้นฐานของการมีสติ (Mindfulness-based coping)” รอบที่ 1
🥰มาร่วมเรียนรู้และฝึกทักษะในการเผชิญปัญหาอย่างมีสติ เพื่อเพิ่มความสุขในชีวิต!!🥰
กิจกรรมที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาศักยภาพในการเผชิญกับปัญหาและท้าทายในชีวิตอย่างมีสติและมีประสิทธิภาพ เน้นการฝึกทักษะการตระหนักรู้ถึงสิ่งเร้าต่างๆ ที่เข้ามา และการเผชิญหน้ากับสภาวะการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีสติ รู้ตัว เรียนรู้เทคนิคการที่จะเสริมสร้างการมีสติในชีวิตประจำวัน และนำไปประยุกต์ใช้ในการเผชิญกับปัญหาที่เจอในชีวิตประจำวัน การพิจารณามุมมองที่มีต่อปัญหา และการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจเพื่อสร้างความสมดุลในชีวิต
วิทยากร: อ.ดร.จิรภัทร รวีภัทรกุล
⌛เปิดรับรอบที่ 1 รับสมัคร 25 ท่าน (อบรมต่อเนื่อง 3 ครั้ง) ⌛
📅 ครั้งที่ 1 : วันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567
📅 ครั้งที่ 2 : วันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2567
📅 ครั้งที่ 3 : วันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567
🕦 เวลา: 14.00 - 17.00 น.
🏛️ สถานที่: ห้อง 803 ชั้น 8 อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
💖 ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมอบรมได้ที่ >> https://forms.gle/4Y8KVisNtW7DnAEn8
(ตั้งแต่วันที่ 21 - 30 พฤษภาคม 2567 (หรือจนกว่าสิทธิ์จะเต็ม))
☎️สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น.ส.ธมลวรรณ สร้อยนาค (น้ำทิพย์) โทร. 02-2180148 E-Mail: [email protected]

29/05/2024

รายชื่อผู้โชคดี ได้รับบัตรชมภาพยนตร์ Inside Out 2 และเข้าร่วมฟังเสวนา "หนังดูหนัง ฟังเรื่องใจ" จากโครงการ

1. PornPenguin WongKitmanochai
2. Supara Chaopricha
3. Jeeradetch Ngamseesan
4. Tum Atsawin
5. Thanchanok Kampan
6. Mint Boontarika
7. Chanpha Palm
8. Kate Berry
9. Mathurin Varavudhi
10. Panumas Jitsangob

กรุณาทักแอดมินมาหลังไมค์เพื่อติดต่อรับบัตรได้ค่ะ

"ความสัมพันธ์ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องแก้ แต่เป็น paradox ที่ทุกคนต้องเรียนรู้วิธีจัดการ"Ether Perel เป็น romantic/erotic relat...
28/05/2024

"ความสัมพันธ์ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องแก้ แต่เป็น paradox ที่ทุกคนต้องเรียนรู้วิธีจัดการ"

Ether Perel เป็น romantic/erotic relationship therapist ที่เราได้ฟังทีไร เหมือนดวงตาเห็นธรรมทุกที สัมภาษณ์นี้จริงไม่เหมือนหัวข้อในชื่อคลิป จริงๆพูดถีงความสัมพันธ์ของคนสมัยใหม่ที่ผจญกับ ความก้าวหน้า งาน อิสระส่วนตัว สมาร์ทโฟน ทำไมคนไม่ยอมมีลูก ทำไมคนประสบความสำเร็จไม่โชคดีในความรัก ทำไมเราต้องมาชอบคนที่นิสัยตรงข้าม ทำไมเซ็กซ์ทำลายรัก และรักทำลายเซ็กส์​ ทำไม x y z และอื่นๆ

คนสัมภาษณ์เป็นเจ้าของช่องยูทูปชื่อดัง กำลังมั่นใจกับความสำเร็จและการทำงานหนัก จู่ๆก็ถาม Perel โดยใช้ปัญหาในความสัมพันธ์กับแฟน คำตอบแต่ละอัน ถ้าใครมีปัญหาความสัมพันธ์แต่กำลังจิตอ่อนไม่แนะนำให้ฟัง ทั้งจริงทั้งเจ็บ คนสัมภาษณ์เงียบไปหลายดอก น่ามสาน แต่ Perel บอกว่า ไม่ได้ว่านะ ถ้าพูดกับฝั่งผู้หญิงก็จะทฤษฏีเดียวกัน จะพูดเหมือนกัน เออ ก็จริง

If you enjoyed this video, I recommend you check out my conversation with dating expert Logan Ury, which you can find here: https://www.youtube.com/watch?v=o...

27/05/2024

‘อุปสรรค’ อาจดูเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่
และไม่รู้จะผ่านไปได้อย่างไร
หากเราเอาแต่กังวลไปก่อนหน้า

ลองย้อนกลับมาอยู่ที่สิ่งที่อยู่ตรงนี้ ที่นี่ เวลานี้
อยู่กับ ‘ปัจจุบัน’ และค่อยๆ ก้าวไปทีละขั้น

มันอาจช่วยทำให้เราเห็นว่า
ปัญหาที่กังวลอาจจะค่อยๆ คลี่คลายไปได้
แค่เพียงก้าวเดินไปทีละก้าว

เรื่อง : ภาพตะวัน
ภาพ : Arunnoon

18/05/2024

Workshop สำหรับบุคลากรทางจิตเวชศาสตร์ จิตวิทยา และผู้ปฎิบัติงานทางสุขภาพจิต
CBT for Eating Disorders
วิทยากร - ผศ.นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร และคณะ
วันที่ 12-14 มิถุนายน 2567 เวลา 08.30-16.30 น.
สถานที่ - อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 3 ห้อง 303 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่าลงทะเบียน 4,900 บาท (รวมอาหารว่าง แต่ไม่มีอาหารกลางวัน)
นักเรียน/นักศึกษา/แพทย์ประจำบ้าน/สมาชิกชมรม ส่วนลด 10% เหลือ 4,410 บาท
สมัครได้ตามลิงค์นี้
https://forms.gle/KeEqvH8eWafZWzf37
หรือติดต่อคุณฉันท์หทัย (วี่) มหาโภชน์ เบอร์โทรศัพท์ 084-402-6004 E-mail : [email protected]
ลิงค์โครงการ
https://www.dropbox.com/scl/fi/o5gwd0njbirqlr8lx32gr/CBT-for-eating-disorders.pdf?rlkey=s0snrkpfhesr5z47gobwm8o32&st=erbmd1sd&dl=0
ลิงค์หนังสือเชิญ - โรงพยาบาล
https://www.dropbox.com/scl/fi/1tcvpg5ei4yaf851aw6od/_-..pdf?rlkey=ztmukoz8diquaz56vo6inmv55&st=iyu5wfa2&dl=0
ลิงค์หนังสือเชิญ - สถาบันการศึกษา
https://www.dropbox.com/scl/fi/35rhzrrd39a0vhnggjfsb/_.pdf?rlkey=w34wbr3bqe69p2n134qxmti5o&st=3rlco9do&dl=0
ติดตามข่าวสารของการประชุมของชมรมได้ทางเพจ CBT Alliance of Thailand
สมัครสมาชิกชมรม CBT
สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
1. ส่วนลดการอบรม CBT และการประชุมวิชาการ 10%
2. รับเสื้อที่ระลึก 1 ตัว
อัตราค่าสมาชิก 1,000 บาท ตลอดชีพ
ขั้นตอนการสมัครสมาชิก
1. ดาวน์โหลดและกรอกใบสมัคร
https://www.dropbox.com/s/42j3518ncqxbvzo/CAT%20Member%20Application%20Form_2022.pdf?dl=0
2. โอนเงินค่าสมัคร
3. ส่งใบสมัครและหลักฐานการชำระเงินที่ คุณวี่ (ฉันท์หทัย) ได้ที่ [email protected]

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

https://open.spotify.com/show/6daRy1SUj4zB83kHjTWlqf?si=da2b3ecbc69e4c57, h

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ บาร์บำบัด Therapy Bar Podcastsผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง บาร์บำบัด Therapy Bar Podcasts:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท


พอดแคสต์ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ