Kidslinestartv แหล่งรวม Influencer ดารา นางแบบ Blogger รีวิวคลิป/ภาพนิ่งสินค้าทุกประเภท งานดีมีคุณภาพ ราคาถูก

Terminal 21 Rama3  Idol Dance Contest 2024 รีบๆ สมัครนะค่ะ หมดเขต 31 มีนาคม 2567 ค่ะ
13/02/2024

Terminal 21 Rama3 Idol Dance Contest 2024
รีบๆ สมัครนะค่ะ หมดเขต 31 มีนาคม 2567 ค่ะ

สมัครฟรี รีบสมัครด่วน หมดเขต 14 ก.ค. นี้ นะค่ะ
11/07/2023

สมัครฟรี รีบสมัครด่วน หมดเขต 14 ก.ค. นี้ นะค่ะ

08/04/2020

⚜️ช่วงแบ่งที่สำคัญของ Consumer Journey ที่แบรนด์จะต้องวางแผนเอาชนะใจลูกค้า หรือเอาชนะเหนือคู่แข่ง แบ่งออกเป็น 3 ช่วง 💞💞💞

🔖 ช่วง “Win Mind Game”
ในแต่ละวัน ลูกค้าเจอ Message ที่เกี่ยวกับแบรนด์จำนวนมาก ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ดุเดือดที่สุดในการแข่งขัน เพื่อทำให้คน Aware สินค้า พร้อมกับชื่นชอบสินค้าของเรา รวมทั้งจดจำ Message ที่แบรนด์อยากจะบอกได้ ในช่วงนี้ใครชนะใจคนได้มากที่สุด ก็จะได้ครอบครองพื้นที่ในสมองของลูกค้า ซึ่งจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในช่วงถัดไป

🔖 ช่วง “Win Moment Game”
เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าเริ่มมีความอยาก และความต้องการ และเริ่มเข้าสู่กระบวนการหาข้อมูล เลือกสินค้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ หรือการสอบถามคนอื่นเพิ่มเติม จนไปจบที่กระบวนการซื้อ

วิธีเอาชนะในช่วง Win Moment Game ใครที่สามารถดักพฤติกรรมของคนซื้อได้ก่อนคู่แข่ง Offer หรือจูงใจได้ดีกว่าคู่แข่ง แล้วนำพาเขาไปจบกระบวนการซื้อได้ แบรนด์นั้นก็จะได้ลูกค้าไปครอง ซึ่งช่วงนี้วิธีการที่แบรนด์ส่วนใหญ่จะทำก็คือ แข่งกันหา Touch Point 🔍

คำว่า Marketing Moment เป็นสิ่งที่ Google เคยพูดถึงว่า คนเราจะมี Moment ณ ขณะนั้นในความต้องการ หรือหาข้อมูลแตกต่างกันไป บน Moment ต่างๆ แต่ละคนจะมีพฤติกรรมไม่เหมือนกัน แบรนด์มีหน้าที่ต้องไปดักผู้บริโภค เช่น ต้องรู้ว่า Key Word Search ต่างๆ ที่คนจะเสิร์ชเกี่ยวกับสินค้า อาทิ อยากจะเปรียบเทียบสินค้า อยากจะเปรียบเทียบราคา รวมถึงเว็บรีวิวต่างๆ ที่อยู่บนโลกออนไลน์ รวมถึงตัวเว็บไซต์ของแบรนด์เอง หรือคอนเทนต์ที่อยู่บนแพคเกจจิ้งทั้งหมด นับเป็น Moment ที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าหรือไม่

🔖 ช่วง “Win Experience Game”
เป็นช่วงสุดท้ายของ Consumer Journey หลังจากที่ลูกค้าสินค้าซื้อแล้ว หลายคนอาจมองว่า จบหน้าที่แล้ว แต่การเดินทางของลูกค้ายังไม่จบ เขายังต้องมีการใช้สินค้า เกิด Product Experience บางคนประสบปัญหาการใช้สินค้า รวมถึงการดูแลความพึงพอใจของลูกค้าด้วย ในช่วงนี้จะเป็นการเอาชนะในประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า

ในบางสินค้า แบรนด์ต้องมีการ Educate ลูกค้าเพิ่มเติมด้วย เช่น หม้อทอดไฟฟ้า ลูกค้าซื้อไปแล้ว แต่อาจมีปัญหาว่า จะเอาไปทำอะไรต่อได้บ้าง ในเชิงของ Content Marketing แบรนด์สามารถ Educate ลูกค้าได้ว่า เอาไปทำเป็นเมนูแบบนั้นแบบนี้ได้หลายอย่าง หรือในกรณีค่ายมือถือ ในมุมของลูกค้า อาจอยากได้คนมาคอยเตือนเวลาแพ็คเกจเน็ตใกล้หมด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็น Experience ทั้งหมด
แม้กระทั่งบางสินค้า ลูกค้าไม่มั่นใจว่าการตัดสินใจซื้อถูกต้องหรือไม่เปล่า เช่น สินค้าราคาแพงอย่างรถยนต์ เป็นต้น หน้าที่ของแบรนด์ ต้องเข้าไปคอยบอกลูกค้าว่า คุณตัดสินใจซื้อของเราถูกต้องแล้ว

แต่หน้าที่ของแบรนด์ยังไม่จบแค่นั้น! Win Experience Game ต้องทำทุกอย่างเพื่อไปถึงปลายทางที่แบรนด์อยากได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการซื้อซ้ำ ซื้อให้บ่อยขึ้น การทำ Cross Sale และการบอกต่อคนอื่น

ทั้งสามช่วงของ Consumer Journey แนวทางการสื่อสาร หรือแทคติดการสื่อสาร จะแตกต่างกันไป โดยทั้งสามช่วงจะมีเครื่องมือการตลาดที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุน และ Influencer จะเข้าไปช่วยตอบโจทย์ได้ทั้งสามช่วง ขึ้นอยู่กับการพลิกแพลง และการทำให้ราบรื่นที่สุด

ในบางจุดเองจะมีเฉพาะเครื่องมือ Influencer เท่านั้นที่ช่วยตอบโจทย์ได้ เพราะว่าเครื่องมือการตลาดอื่นๆ จะดูไม่จริงใจเท่ากับการได้เลือกร่วมงานกับ Influencer อาทิ เมื่อเกิด Crisis หรือมีข่าวลือเกี่ยวกับแบรนด์ การที่แบรนด์จะออกมาแก้ข่าวเอง อาจดูไม่น่าเชื่อถือเท่ากับมีบุคคลที่สาม หรือคนที่เป็นสาวกของแบรนด์ ออกมาช่วยปกป้องแบรนด์ เป็นต้น
ดังนั้นแนวทาง “Influencer Marketing” สามารถตอบโจทย์แผนสื่อสารการตลาด

หน้าที่ของ Influencer ที่จะมาช่วยในทั้งสามช่วงของ Consumer Journey ประกอบด้วย
✏️1. Influencer ช่วยสร้างคอนเทนต์
หลักคิดเดียวกับ Content Marketing แบรนด์สามารถร่วมงานกับ Influencer ในฐานะ “คนสร้างคอนเทนต์” โดยอาจจะเป็นคอนเทนต์ที่แบรนด์อยากจะพูดแมสเสจออกมา หรือเป็นคอนเทนต์เชิงสร้างกระแส เป็นคอนเทนต์ที่แบรนด์ไม่สามารถพูดได้จากสื่อหลัก หรือสื่อหลักมีพื้นที่จำกัด แต่แบรนด์มีสิ่งที่อยากจะพูดมากมาย ก็สามารถใช้ Influencer โดยร่วมงานกับ Influencer พูดในแมสเสจรองๆ ที่เราอยากจะพูดได้
อย่างไรก็ตามแบรนด์ต้องอย่าลืม “กฏ Economy of Trust” เพราะ Influencer ที่ทำงานได้ดี จะพูดในฐานะเป็นบุคคลที่สาม โดย Influencer จะต้องสามารถแสดงความคิดเห็นที่มีความจริงใจ และต้องไม่พูดในลักษณะ หรือสไตล์เดียวกับแบรนด์ที่พูดออกมา

✏️2. Influencer ช่วยสร้างบทสนทนา (Conversation)
แตกต่างจากข้อแรก นั่นคือ Influencer ไม่ได้ออกมาสร้างคอนเทนต์เอง แต่เป็นคนกระตุ้น ทำให้เกิด Voice หรือเกิด Conversation ที่เกี่ยวกับสินค้า (โปรเจค/แคมเปญ ฯลฯ) ของแบรนด์

หากแบรนด์ร่วมงานกับ Influencer ที่ถูกต้อง มีฐานแฟนเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน แบรนด์จะได้ยินในสิ่งที่อาจจะไม่เคยได้ยิน เพราะว่า Influencer เป็นคนกระตุ้นให้แฟนๆ ของเขาให้คอนเมนต์ โดยที่ Follower ไม่รู้สึกว่าจะต้องแคร์แบรนด์มากนัก เพราะบางทีเวลา Consumer มี feedback กับแบรนด์โดยตรง บทสนทนาจะเป็นแบบหนึ่ง แต่เมื่อพูดกับคนที่เป็นบุคคลที่สาม สิ่งที่ได้รับออกมาจะเป็นสิ่งที่จริงใจมากขึ้น ถือเป็น feedback ที่ดีต่อแบรนด์ด้วย
ที่สำคัญถ้าแบรนด์ทำได้ดี Conversation ที่เกิดขึ้น อาจจะเรียกคนที่เป็น Loyalty Customer ออกมาปรากฏตัวได้ ซึ่งแบรนด์ก็จะสามารถได้ฐานข้อมูลไปทำ CRM ต่อไป

✏️3. Influencer ปรากฏตัวออกมา (Appearance) และมีส่วนร่วมกับแบรนด์ (Participation)
นอกจาก Influencer ช่วยสร้างคอนเทนต์แล้ว แบรนด์อาจเชิญ Influencer มามีส่วนร่วมกับ Marketing Activities โดยหลักๆ เป็นการเชิญ Influencer มาร่วมงานอีเว้นต์ เช่น Influencer ปรากฏตัว และมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำพีอาร์ หรือบางแบรนด์อาจร่วมงานกับ Influencer ในฐานะเป็นพรีเซ็นเตอร์

การร่วมงานกับ Influencer มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับ Creativity ว่าแบรนด์จะร่วมงานกับ Influencer ในแง่ใด โดยอาจร่วมงานกันถึงขนาด Co-Creation ร่วมกับ Influencer เพื่อออกสินค้ารุ่นใหม่ เป็นต้น

✏️4. Influencer เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ
หลักคิดคือ Influencer ไม่ได้อยู่ในฐานะกระจายข่าว แต่ Influencer จะอยู่ใน Core Idea ของสิ่งที่แบรนด์คิด โดยเฉพาะการออกแคมเปญ เมื่อใดที่ Influencer อยู่ใน Core Idea เขาจะมีประสบการณ์ร่วมกับสิ่งที่แบรนด์ทำเยอะมาก และการส่งต่อความคิดออกไปจะมี Impact ค่อนข้างสูง แต่ถ้าแบรนด์คิดแคมเปญขึ้นมาแล้ว บอกว่าขอ Influencer เป็นส่วนหนึ่งในลักษณะมาช่วยกระจายข่าวให้ครบ IMC แบบนี้ไม่เรียกว่า Influencer เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ ซึ่งแตกต่างจากแคมเปญที่มีการคิดโดยต้องมี Influencer อยู่ในไอเดียนั้นๆ หมายความว่า ถ้าแบรนด์เอา Influencer ออกไปจากแคมเปญ ไอเดียนั้นจะอยู่ไม่ได้เลย

💞 ส่วนใหญ่กลยุทธ์เอา Influencer อยู่ในไอเดียของแคมเปญ จะพบมากในแคมเปญเพื่อสังคม และพบเห็นบ้างในต่างประเทศ ในขณะที่เมืองไทยอาจจะยังไม่ได้พบเห็นมากนัก

13/03/2020

🖋 เมื่อ Influencer ร่วมงานกับแบรนด์
แก่นของคอนเทนต์มีอยู่ 3 แบบ 💕💕💕
✨1.คอนเทนต์แบบ Tie-in
คนดูจะรู้ทันที ไม่ต่างจากรายการทีวีหรือซิทคอม เรารู้ว่าเป็น Tie-in เพราะแยกออกจากเนื้อหาหลักโดยตรง คอนเทนต์แบบนี้อยู่ในบริบทที่รู้ว่า นี่คือการรับเงินโฆษณา แม้ว่าคอนเทนต์ประเภทนี้จะอยู่ในระดับที่เบาว่าควรจะ Declare หรือไม่ และขึ้นอยู่กับตัว Influencer

✨2.Branded Content
เป็นคอนเทนต์ที่ Influencer ทำงานร่วมกับแบรนด์ โดยไอเดียของคอนเทนต์นั้นตอบโจทย์ของแบรนด์ จึงเป็นคอนเทนต์ที่บาลานซ์ตัวตนของ Influencer กับการให้สินค้าหรือแบรนด์เป็นพระเอก 📣

Branded Content แบ่งออกเป็นหลายระดับ บางคอนเทนต์มีธีมชัดเจน และคนดูส่วนใหญ่พอจะรู้ว่านี่เป็นการทำงานร่วมกับแบรนด์ ทำให้ Influencer อาจมองว่าไม่ต้อง Declare ก็ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าต่อให้ Audience ส่วนใหญ่รู้ว่าเป็นการรับจ้างจากแบรนด์ ก็จะมี Audience บางคนที่ไม่รู้ ดังนั้น Influencer ต้องพิจารณาเองว่า ควรจะ Declare หรือไม่ ในบางกรณี Branded Content มีความแนบเนียนมากๆ ไม่มีธีมอะไรกำหนด คอนเทนต์แบบนี้แนะนำให้ Declare 📢📢

✨3.Influencer Content
คอนเทนต์ที่มีแนวทางของตัว Influencer โดยผู้ติดตามจะเข้าใจว่า นี่คือคอนเทนต์ตามแบบฉบับของ Influencer คนนั้นๆ แต่หลายครั้ง Influencer Content ก็มีการนำแบรนด์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยอาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ คอนเทนต์ประเภทนี้ควรจะ Declare 📢 เพื่อสร้าง Economy of Trust ในระยะยาว เพราะฉะนั้นแล้วในมุมของ Influencer ควรแสดงจุดยืนตั้งแต่ตอนต้น เพื่อรักษาความยั่งยืน และแสดงความใส่ใจในเรื่องนี้ 💕

12/03/2020

📝 องค์ประกอบของการบรีฟงาน
(ชัดเจน – ข้อมูลเยอะ – ภาษาเข้าใจง่าย)

✨⭐️ ประกอบด้วย 6 ข้อสำคัญดังนี้ ⭐️✨
🖋1.ระบุให้เคลียร์ในบรีฟว่า “อยากให้ Influencer ทำอะไร?”
โดยระบุเจาะจงไปเลยว่า
1.1. อยากให้ Influencer คนนั้นๆ ทำอะไร?
1.2. สิ่งที่ต้องการในปลายทาง (Expected Outcome) คืออะไร❓
1.3. ต้องการ Mood & Tone แบบไหน
บรีฟที่กว้างๆ หรือไม่ชัดเจนจะทำให้เสียเวลาการทำงานสูงมาก และมีโอกาสได้งานที่ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ

🖋2.บรีฟควรจะให้ข้อมูลมากที่สุด
สินค้าและแบรนด์ ควรแชร์ข้อมูล Background เกี่ยวกับบริษัท – สินค้าให้ Influencer จะทำให้ Influencer คิดงานแบบเข้าใจในองค์กร เข้าใจในแบรนด์หรือตัวสินค้ามากขึ้น

🖋3.บรีฟที่ดีควรจะใช้คำที่อยู่นอกวงการการตลาด
สิ่งที่อยากแนะนำ คือ ควรใช้ศัพท์ที่บ้านๆ มากที่สุด หมายถึงว่า ถ้าเอาคำนี้ไปบอกใครก็แล้วแต่ เขาก็ยังเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันได้ แต่ถ้าใครไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่จะใส่คำศัพท์ทางการตลาดลงไป ก็สามารถใส่ได้ และใช้ได้กับ Influencer สาย Professional แต่ควรจะกำกับด้วยภาษาคำนอกวงการควบคู่กันไปด้วย

🖋4.บรีฟที่ดีควรเขียนให้แฟร์ แต่ยังครอบคลุมในสิ่งที่แบรนด์ต้องการ โดยปกติในบรีฟควรใส่ “Do and Don’t” หมายถึงว่า สิ่งที่ต้องทำ กับสิ่งที่ไม่ควรทำ

✅ “สิ่งที่ต้องทำ” หรือ “Do” ควรจะน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เพื่อเปิดอิสระให้กับ Influencer ส่วนใหญ่ที่จะอยู่ใน Do หลักๆ จะเป็น Message ที่แบรนด์อยากจะพูดถึง แต่คงไม่ไปจำกัดกรอบ หรือไปบอกว่า Influencer จะต้องทำเหมือนกับการเซ็ทฉากแบบที่แบรนด์ต้องการ เพราะจะทำให้ Influencer ทำงานเหมือน Production House

❌ “สิ่งที่ไม่ควรทำ” หรือ “Don’t” อยากให้มีเยอะๆ ในบรีฟ
เพราะช่วยให้ Influencer ประหยัดเวลา เนื่องจาก “Don’t” เปรียบเสมือน Check list บางแบรนด์ หรือบางบริษัท อาจมีข้อจำกัดอยู่มาก ซึ่งเกิดจากนโยบายกลางของบริษัท หรือนโยบายด้านการตลาดของบริษัท

ดังนั้น หากมีอะไรที่เป็น “ข้อห้าม” แนะนำว่าให้อยู่ใน “Don’t” เยอะๆ เนื่องจาก Influencer ส่วนใหญ่ต้องมีการ Shooting 🎬 ออกกอง หรือทำโปรดักชั่นอยู่แล้ว 🎥 หากแบรนด์ไม่ระบุไปตั้งแต่แรก แล้วมาขอแก้ไขที่หลัง สิ่งที่ตามมาคือ เกิดข้อขัดแย้งขึ้นทันที 😵 เพราะทาง Influencer ก็จะบอกว่าไม่ได้ถูกระบุอยู่ในบรีฟ เขาจะมีสิทธิ์ไม่แก้งานให้กับแบรนด์
ขณะเดียวกันสำหรับนักการตลาด บางอย่างที่ Influencer ทำมาแล้ว แต่ปล่อยผ่านไม่ได้จริงๆ เพราะผิดนโยบายบริษัท สิ่งเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นคือ แบรนด์ต้องยอมจ่ายเงินให้กับ Influencer แต่โพสต์นั้นไม่ได้ขึ้นงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น!

นอกจากนี้ “Don’t” ❌ หรือ Check list มีไว้เพื่อปกป้องตัว “Influencer” เองเสียด้วยซ้ำ เพราะไม่มีใครอยากเสียเวลา เมื่อใดที่บรีฟมีมาก ตัวเช็คลิสต์ หรือ Don’t อาจจะเพิ่มขึ้น ทางแบรนด์ก็จะรู้เองว่า เมื่อเยอะจนถึงระดับหนึ่งแล้ว Influencer รู้สึกว่ามากเกินไป ⁉️ โอกาสปฏิเสธงานก็จะมีสูง ถึงจุดนี้ แบรนด์จะรู้ได้เองว่า ทำอย่างไรถึงจะลดทอน Check list ตัดสิ่งที่เรียกว่า nice to have ออกไป เหลือแต่ must have นั่นคือกระบวนการเรียนรู้

🖋5.บรีฟควรจะเขียนข้อตกลงการร่วมงานให้รัดกุม
โดยปกติแล้ว ข้อตกลงในการร่วมงานจะมีการระบุข้อมูลในหลายๆอย่าง เช่น
5.1 ไทม์ไลน์ในการทำงานเป็นอย่างไร 📋📋
5.2 รูปแบบในการชำระเงินเป็นอย่างไร 💰💰💰
5.3 นโยบายการแก้งานมีจำนวนกี่ครั้ง 📖📚
5.4 ขั้นตอนการ approve งานเป็นแบบไหน ✅✅✅

รวมถึงข้อตกลงอื่นๆ เช่น การซื้อสื่อ รายงานที่ต้องการ วัตถุดิบที่เอามาใช้ได้-ข้อมูลเหล่านี้ควรระบุให้ชัดเจนและละเอียดที่สุด จนไม่มีข้อคำถามใดๆ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดข้อพิพาทในภายหลัง แม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในบรีฟ ก็ควรจะใช้ภาษาที่รัดกุม แต่ไม่ถึงกับเป็นภาษากฏหมาย เนื่องจากการที่ใช้ภาษาที่รัดกุมจะทำให้ Influencer รู้ทันทีว่า จะไม่มีข้อตุกติกใดๆ ที่แบรนด์ตั้งใจจะให้เกิดขึ้น 🌺

🖋6.ควรแยกบรีฟให้ตรงกับ Influencer ในแต่ละกลุ่ม
ในกรณีที่แคมเปญของแบรนด์ใช้ Influencer หลายกลุ่มในเวลาเดียวกัน แบรนด์ไม่ควรที่จะใช้บรีฟเดียวกันส่งให้กับ Influencer แต่ละกลุ่ม เพราะว่าบรีฟที่ต้องส่งให้ Influencer แต่ละกลุ่ม บางทีอาจมี requirement ไม่เหมือนกัน

ดังนั้น พยายามอย่าส่งเป็น One size fits all brief ยิ่งข้อมูลเยอะ จะยิ่งทำให้ Influencer เกิดความสับสน
ในการทำงานจริง แบรนด์อาจเขียน Master Brief ขึ้นมาหนึ่งชิ้น พอถึงเวลาต้องส่งให้กับ Influencer ก็ตัดทอนเฉพาะสิ่งที่จำเป็น และส่งให้กับ Influencer แต่ละกลุ่มเท่านั้น ✨⭐️

12/03/2020

Influencer Thailand
ที่ปรึกษาและจัดหา Influencer ดารา นางแบบ Blogger และ Celeb ทั่วประเทศไทย เพื่อรับรีวิวคลิป/ภาพนิ่ง สินค้าและบริการทุกประเภท งานดีมีคุณภาพ ราคาถูก ลูกค้า/แบรนด์สามารถบรีฟงานและเลือก Influencer/นางแบบได้ค่ะ

05/03/2020
22/11/2018

ลอยกระทงที่ตลาดหัวมุมกันค่ะ

น่ารักสดใสกันทุกคนจริงๆ สัมภาษณ์สด เด็กอัจฉริยะ ท้าประลอง The Kids Are All Right  ในรายการบ้านพระราม4  นอกจากจะเก่งแล้วย...
13/10/2015

น่ารักสดใสกันทุกคนจริงๆ สัมภาษณ์สด เด็กอัจฉริยะ ท้าประลอง The Kids Are All Right ในรายการบ้านพระราม4 นอกจากจะเก่งแล้วยังหน้าตาดี มารู้จักและให้กำลังใจน้องๆดูย้อนที่ช่อง3SD ได้เลยค่ะ แล้วอย่าลืมทุกวันอาทิตย์ 09.30 น.ทางช่อง3 สนุกแบบได้สาระลุ้นเชียร์ให้กำลังใจน้องๆกันนะคะ

ตอบด่วนๆรายการเด็กอัจฉริยะท้าประลอง ออกอากาศช่องอะไรบ้าง เวลาไหน รีรันช่องอะไรเวลากี่โมงด้วย ที่รายการบ้านพระรา4 ช่อง28 ...
13/10/2015

ตอบด่วนๆรายการเด็กอัจฉริยะท้าประลอง ออกอากาศช่องอะไรบ้าง เวลาไหน รีรันช่องอะไรเวลากี่โมงด้วย ที่รายการบ้านพระรา4 ช่อง28 ช่อง3SD ให้กำลังใจน้องๆกันด้วยนะคะ

แจกรางวัลกันไป 310,000บาทหนุ่มหล่อกดเร็วจริงๆเด็กอัจฉริยะกดไม่ทันเสียดายจัง ในรายการ The Kids Are All Right อาทิตย์นี้พบ...
11/10/2015

แจกรางวัลกันไป 310,000บาทหนุ่มหล่อกดเร็วจริงๆเด็กอัจฉริยะกดไม่ทันเสียดายจัง ในรายการ The Kids Are All Right อาทิตย์นี้พบกับน้องนาเนียร์ จ๊ะจ๋า แมททิว ข้าวปุ้น ออย ซอนย่า โดนัท ตอนนี้เลย เป็นกำลังใจให้น้องๆกันด้วยนะคะ อาทิตย์หน้าจะน้องๆคนไหนติดตามเชียร์กันทุกวันอาทิตย์ืเวลา 09.30 น.

ที่อยู่

55/68 ซ. ประดิษฐ์มนูธรรม 15 แขวง/เขต ลาดพร้าว
Bangkok
10230

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Kidslinestartvผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Kidslinestartv:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์