MommyMore เป็นแม่ต้องมากกว่า

MommyMore เป็นแม่ต้องมากกว่า MommyMore : เมนเทอร์ของคุณแม่...ผู้เชี่ยวชา?

22/12/2022

เบบี้ชาร์คหลบไป...เพลงฮิตใหม่ของวัยอนุบาลมาแล้ว

------------------------------
อย่าลืมกด Like & See first
เพื่อติดตามเรื่องราวเลี้ยงลูกดีๆ จาก MommyMore กันนะคะ

#เป็นแม่ต้องมากกว่า

มีข่าวที่เด็กติดในรถเสียชีวิตเวียนมาให้สลดใจ พ่อแม่อย่างเราก็พยายามเตรียมลูกให้พร้อมรับกับสภาวะที่อาจติดอยู่ในรถเพื่อให้...
31/08/2022

มีข่าวที่เด็กติดในรถเสียชีวิตเวียนมาให้สลดใจ พ่อแม่อย่างเราก็พยายามเตรียมลูกให้พร้อมรับกับสภาวะที่อาจติดอยู่ในรถเพื่อให้เอาตัวรอดได้ ต้องสอนอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
------------------------------
อย่าลืมกด Like & See first
เพื่อติดตามเรื่องราวเลี้ยงลูกดีๆ จาก MommyMore กันนะคะ

#เป็นแม่ต้องมากกว่า See less

สอนลูกให้เอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถ 🚗🚐
รู้หรือไม่! เด็กเสียชีวิตในรถไปเท่าไหร่แล้ว!?!
ในอเมริกาทุกปีมีเด็กเสียชีวิตจากความร้อนในรถ 37 คน ส่วนในไทย จากสถิติ 7 ปีที่ย้อนหลัง กรมควบคุมโรคเผยว่า เด็กเสียชีวิต 9 ราย ช่วยไว้ได้ทัน 17 ราย ทั้งหมดอายุ 3-7 ปี และถูกทิ้งไว้นานกว่า 6 ชม.ขึ้นไป เรามาช่วยกันป้องกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นกันดีกว่าค่ะ MommyMore ได้รวบรวมวิธีสอนให้เด็กฝึกเอาตัวรอดเมื่อต้องติดอยู่ในรถ มาฝากให้แม่ๆ ลองฝึกลูกๆ ตามนี้กันเลย
1️⃣️ บีบแตรขอความช่วยเหลือ
ฝึกให้เด็กปีนไปด้านหน้าตรงเบาะคนขับ แล้วบีบแตรเพื่อขอความช่วยเหลือ ต้องสอนให้รู้จักว่ามีแตรรถอยู่ตรงไหน กดอย่างไร สาธิตให้ดู และให้ลูกลองกด และอย่าหยุดบีบแตรจนกว่าจะเห็นคนเดินมาหาที่รถ ใช้ได้ทั้งรถยนต์ และรถตู้โรงเรียน เหมาะกับเด็กวัย 2-3 ขวบ ที่กล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรงที่จะเปิดประตูด้วยตัวเอง
2️⃣️ สอนเปิด-ปิดประตูจากด้านใน
คุณแม่ควรสอนวิธีปลดล็อกประตูให้เด็กๆ ให้เขารู้ว่าปุ่มปลดล็อกอยู่ตรงไหน ใช้งานอย่างไร ที่เปิดประตูรถอยู่ตรงไหน แล้วอย่าลืมกำชับให้เขาเปิดประตูยามฉุกเฉิน หรือรถหยุดนิ่งเท่านั้นนะคะ
3️⃣️ ติดสติ๊กเกอร์ให้เห็นชัด
สำหรับรถบางคันที่มีปุ่มกดเยอะแยะจนลายตา ยากเกินที่เด็กจะจำได้ ก็อาจเอาติ๊กเกอร์ลายโปรดของลูกมาแปะที่ปุ่มแตร หรือที่ปุ่มปลดล็อกให้โดดเด่นขึ้นก็ได้
4️⃣️ ฝึกเปิดกระจกรถ
ในกรณีที่มีการเสียบกุญแจรถหรือสตาร์ทรถทิ้งไว้ สอนลูกให้รู้จักปุ่มเปิดกระจก หรือรู้จักหมุนกระจกลงหากที่บ้านมีรถคลาสสิกที่กระจกยังแบบมือหมุนอยู่ อย่างน้อยช่วยให้อากาศจะได้ถ่ายเทได้สะดวก
และตามไปอ่านเทคนิคเตือนความจำแม่ ไม่ลืมลูกไว้ในรถ ได้ที่ http://bit.ly/2xhuxA6
------------------------------
อย่าลืมกด Like & See first
เพื่อติดตามเรื่องราวเลี้ยงลูกดีๆ จาก MommyMore กันนะคะ

#เป็นแม่ต้องมากกว่า

วันนี้เด็กน้อยเปิดเทอมกันแล้ว เห็นแม่ๆโพสต์กันเต็มหน้าFeedตื่นเต้นกันทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ เห็นถึงความพร้อมสุดๆของเด็กหลาย...
17/05/2022

วันนี้เด็กน้อยเปิดเทอมกันแล้ว เห็นแม่ๆโพสต์กันเต็มหน้าFeed
ตื่นเต้นกันทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ เห็นถึงความพร้อมสุดๆของเด็กหลายๆบ้านที่แสดงออกมาว่า "หนูอยากไปโรงเรียนแล้ว" โดยเฉพาะวัยอนุบาล-ประถม ซึ่งเป็นวัยที่ควรเรียนรู้หลากหลายมากกว่าแค่ออนไลน์!!
มีโอกาสได้ฟังเลคเชอร์จาก ดร.วรนาท รักสกุลไทย(นักการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็ก และผู้อำนวยการแผนกอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา) ถึงcovid effect ที่เกิดขึั้นกับเด็กๆ ในด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ เลยอยากสรุปแบ่งปันกับพ่อแม่เพื่อนๆ ค่ะ
เด็กๆวัยอนุบาล จะมีพัฒนาการถดถอย(Learning Loss) ไปอย่างน้อย 1-2 ปี (แต่ข้อที่พอปลอบใจได้คือ ไม่่ใช่แค่ลูกเรา แต่เด็กทุกคนที่เติบโตมาในช่วงโควิด ต่างอยู่ในภาวะถดถอยนี้เช่นกัน!!
พัฒนาการที่ถดถอย ยังรวมไปถึง Self Regulation(ความสามารถในการกำกับตนเอง การยับยั้งชั้งใจ ซึ่งสำคัญมากสำหรับวัยอนุบาลที่จะฝึกสิ่งนี้ ) เพราะในสถานการณ์ชีวิตประจำวันระหว่างสถานการณ์โควิด ผู้ปกครองเองกลับอาจไม่พร้อมที่จะรอคอยเวลาในแต่ละวันที่จะค่อยๆฝึกสิ่งเหล่านี้ให้เด็ก เช่น การเก็บที่นอนเอง เล่นของแล้วเก็บ ฯลฯ
เด็กๆจะใช้เวลากับหน้าจอเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีผลกระทบกับพัฒนาการทางภาษา การรู้สึกจดจ่อ มีเป้าหมาย และการได้เห็นผลงานที่สำเร็จของตนเอง และอื่นๆ หายไป (เพราะการไปโรงเรียน เด็กๆจะได้เรียนรู้ในบรรยากาศของแอ็กทีฟเลิร์นนิ่ง การมีส่วนร่วม การมีโจทย์ใหม่ๆ ได้ลงมือทำจนสำเร็จ ไม่จับจด หรือละทิ้งง่ายๆ)
ทักษะทางสังคมถดถอย (Social Emotional Learning) เพราะในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด เด็กๆไม่มีโอกาสได้พบปะใครนอกจากบุคคลในครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า และเป็นเซฟโซนของเด็กๆ จนแทบไม่ต้องปรับตัวกับความสัมพันธ์ใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย หรือการดิวกับคนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว การได้กลับสู่โรงเรียน(On Site Recovery)คือหนทางเดียวในการช่วยเยียวยา พัฒนาการต่างๆของเด็กได้ดีที่สุด
ดีใจกับคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ และแม้เด็กๆจะได้รับผลกระทบจากโควิดแค่ไหน ถึงวันนี้พ่อแม่อย่างเราควรมองหน้าตัวเองในกระจก และบอกตัวเองว่า ที่ผ่านมา เราทำได้สุดยอดมากแล้ว
ขอบคุณที่มาภาพ : thaipbs
--------
อย่าลืมกด Like & See first
เพื่อติดตามเรื่องราวเลี้ยงลูกดีๆ จาก MommyMore กันนะคะ
www.mommymore.com

#เป็นแม่ต้องมากกว่า

การคัดเด็กเล็กเข้าอนุบาลต้องขนาดนี้เลย ⁉----------------------------อย่าลืมกด Like & See firstเพื่อติดตามเรื่องราวเลี้ยง...
04/02/2022

การคัดเด็กเล็กเข้าอนุบาลต้องขนาดนี้เลย ⁉
----------------------------
อย่าลืมกด Like & See first
เพื่อติดตามเรื่องราวเลี้ยงลูกดีๆ จาก MommyMore กันนะคะ
www.mommymore.com

#เป็นแม่ต้องมากกว่า

มีผู้ใหญ่ท่านส่งมาท่านถามว่าอย่างนี้ได้ด้วยหรือ ?

ไม่ได้แน่นอนครับ
ไม่ควรทำ และไม่ควรมีใครเอาอย่างด้วย

การทดสอบ แบบhigh stake test ที่มีได้ มีตก มีคะแนน หักคะแนน เพื่อนำไปประเมินผล
#เป็นกระบวนการเชิงระบบที่ทารุณเด็ก โดยไม่เข้าใจ เห็นใจจิตใจของเด็ก

#โปรดระลึกว่าเด็กทุกคนไม่ใช่ผ้าขาว ฉะนั้น เด็กๆวัยนี้กำลังปรับตัว ปรับพื้นฐานอารมณ์ สังคม เด็กเลี้ยงง่าย เด็กเลี้ยงยาก เด็กอ่อนไหวง่าย เด็กพลังเหลือล้น เป็นธรรมชาติของเด็กวัยนี้ เขาไม่ผิด ที่จะถูกผู้ใหญ่มาสร้างกติการเปรียบเทียบ
#การสอบวัดผลใดๆในช่วงปฐมวัย ผิดหลักจิตวิทยาพัฒนาการทั้งหมด
ปฐมวัย UNESCO ให้นิยามตั้งแต่ครรภ์มารดา จนถึง 8 ปี แต่บ้านเราแรกเกิดถึงหกปี

โดยหลักจิตวิทยาพัฒนาการ ;
การประเมินพัฒนาการ นั้น ในทางจิตวิทยา เขาประเมินท่ามกลาง เด็ก ที่กำลังเล่นเพลินๆ มีความสุขกายสุขใจ

หากไม่พร้อมในการประเมิน นักจิตวิทยาก็จะหยุดไว้ก่อน แล้วค่อยนัดใหม่ ไม่มีการหักคะแนนใดๆ แต่สามารถเขียนบันทึก caution ได้

และสามารถมาเขียนเชิงพฤติกรรมได้เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนา การประมวลผลพัฒนาการ ทำในท่ามกลาง ความพร้อมของเด็ก ที่แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

ฉะนั้น การประเมินพัฒนาการ ที่หนังสือฉบับนี้ โรงเรียนแห่งนี้กำลังปฏิบัตินั้น ที่เรียกว่า ทดสอบ แล้ว บังคับการเข้าฐาน หักคะแนนเมื่อทำไม่ได้หรือร้องไห้ !!!!!
#จึงไม่สามารถอ้างว่านี่คือการประเมินพัฒนาการเพื่อประโยชน์ของเด็ก (ละเมิดสิทธิเด็ก) ยิ่งเป็นการประเมินเพื่อรับสมัครเข้าเรียน ยิ่งสะท้อนว่า นี่แหละคือ High stake test

ย้ำว่า การใช้ HighStakeTest (ระบบแพ้คัดออก) กับเด็กปฐมวัย จัดเป็น #ระบบทารุณกรรมเด็ก
ผิดหลักการตามเจตนารมณ์ของพรบ.เด็กปฐมวัย ครับ

#บันทึกหมอเดว
3/2/65

ที่อยู่

Bangkok

เบอร์โทรศัพท์

+66655546154

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ MommyMore เป็นแม่ต้องมากกว่าผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

MommyMore : เมนเทอร์ของคุณแม่

MommyMore : เมนเทอร์ของคุณแม่...ผู้เชี่ยวชาญในทุกมิติของความเป็นแม่ ก้าวสู่บทบาทใหม่อย่างมั่นใจ