City Connext Bridging past & future connecting cities communities & cultures through engaging & insightful content

Revisiting Kimyong กลับมาเยี่ยมกิมหยงอีกครั้งได้รับรางวัล CE Awards 2024 ด้าน Creative Regeneration Award29 ตุลาคม 2567 ...
01/11/2024

Revisiting Kimyong กลับมาเยี่ยมกิมหยงอีกครั้ง
ได้รับรางวัล CE Awards 2024 ด้าน Creative Regeneration Award
29 ตุลาคม 2567 - โครงการ Revisiting Kimyong - กลับมาเยี่ยมกิมหยงอีกครั้ง ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ 2023 (Pakk Taii Design Week) ได้รับรางวัล Creative Regeneration Award ในหมวด Creative City Awards จากงานประกาศรางวัล Creative Excellence Awards 2024 (CE Awards 2024) ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA
Creative Regeneration Award คือรางวัลที่มอบให้สําหรับโครงการที่มีความโดดเด่นในการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยผลงาน Revisiting Kimyong - กลับมาเยี่ยมกิมหยงอีกครั้ง มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยชักชวนให้ผู้คนหวนรำลึกถึงตลาดกิมหยง ผ่านนิทรรศการและกิจกรรมที่นำเสนอเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของแลนด์มาร์คสำคัญแห่งนี้
ในนามของ City Connext และ Hatyai Connext จึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้เพื่อขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมสร้างสรรค์โครงการนี้ให้สำเร็จ ตั้งแต่ทีมงานคนรุ่นใหม่และเยาวชนในพื้นที่ สตาฟทุกคน ไปจนถึงเหล่าดีไซน์เนอร์ 27 JUNE STUDIO สำหรับ Participation Mapping และทีม XD49 Limited กับงาน Interactive Mapping Intervention ที่ได้มาร่วมเติมเต็มพื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ทีมงานซัพพอร์ทด้านข้อมูลและกราฟิก Signage & Informative Board Mewmaiyamok & Friends + น้องแอป อีกทั้งทีม Hatyai on Earth สำหรับการร่วมจัดกิจกรรมเดินเมือง พร้อมกับวิทยากร พี่แมน พี่มล พี่ฝ่า รวมถึงสารคดี Nut Cracker ที่ฉายในนิทรรศการจากน้องวินเนอร์ Lost in Hatyai
โซนจัดแสดงภาพถ่ายของตลาดกิมหยงจากมุมมองของ พี่ศิลป์ พี่อ้วน น้องวัน ที่มาร่วมแบ่งปันชุดภาพถ่ายจัดแสดงในงาน และ Backdrop วาดมือจาก เฮียอ๊า ตำนานมือเพนต์ป้ายคัทเอาท์ยุคเฟื่องฟูของโรงหนังในหาดใหญ่ที่ยอมสละเวลามาเพนต์ให้เฉพาะในครั้งนี้
ขอขอบคุณทางตลาดกิมหยง ทีมบริหาร ไปจนถึงพี่ๆ ลุงป้าน้า อา ชาวกิมหยงกว่า 500 ชีวิตทุกท่าน สำหรับการให้ข้อมูล ความช่วยเหลือ ความอบอุ่น ความน่ารัก และการมอบความไว้วางใจให้เข้าไปทำงานในพื้นที่
สปอนเซอร์ทุกๆ ท่าน ที่ให้การสนับสนุนทุกช่องทางทั้ง Lee Gardens Plaza Hotel Central Hatyai Coca-Cola Haadthip และ Epson
ขอขอบคุณทาง CEA สำหรับแพลตฟอร์มอย่างเทศกาลฯ รวมถึงพี่ๆ ทีมกลางของเทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ทุกท่านที่เห็นคุณค่าและร่วมทำงานกับพวกเรากันอย่างใกล้ชิดตลอดโปรเจกต์ รวมทั้งพี่เอ๋ พี่เลิฟ พี่แมว พี่นอร์ท พี่ๆ งานเมืองทุกท่านที่ผลักดันพวกเรามาตลอดตั้งแต่ยังไม่เป็นกลุ่มเป็นก้อน จนถึงในวันนี้
และท้ายที่สุดต้องขอขอบคุณผู้เข้าชมงานทั้ง 10,000+ คน ชาวหาดใหญ่ ชาวสงขลา ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) จากทุกฝ่าย
นับเป็นหนึ่งก้าวที่สำคัญของทีม City Connext ที่ได้เรียนรู้ ปรับปรุง พัฒนา โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เป็นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งในการสร้างระบบนิเวศน์สร้างสรรค์ และสร้างแรงกระเพื่อมให้กับประเด็นเมืองไม่มากก็น้อย
_


  Addressing the Challenge of Plastic Use in Travel: From Policy Formulation to Practical ApplicationThe last seminar in...
01/10/2024

Addressing the Challenge of Plastic Use in Travel: From Policy Formulation to Practical Application
The last seminar in the series, ‘Addressing the Challenge of Plastic Use in Travel: From Policy Formulation to Practical Application’, will focus on actionable strategies to reduce plastic usage within the tourism sector pf ASEAN countries, bringing into the same orbit official policy formulation and practical, concrete applications
More details: https://www.unesco.org/.../unesco-seminar-critically...
__


UNESCO Bangkok

17/07/2024

🌿 Do you want to formulate and implement policies to reduce plastic use in tourism?
🔧 Do you want to discover practical solutions & technologies for integrating sustainable practices into tourism operations?

Join our seminar NOW!

🌿 Do you want to formulate and implement policies to reduce plastic use in tourism?🔧 Do you want to discover practical s...
10/07/2024

🌿 Do you want to formulate and implement policies to reduce plastic use in tourism?
🔧 Do you want to discover practical solutions & technologies for integrating sustainable practices into tourism operations?
Join our seminar on 17 JUL at 1.30 pm!
📍 Join on-site at Amari Don Muang Airport Hotel:
🌟 Attend and book a hotel room: https://bit.ly/3xpytBJ
🌟 Attend without booking a hotel room: https://bit.ly/3XmjIu2
🌏 Join online via Zoom: https://bit.ly/NoPlasticASEAN
More details: https://www.unesco.org/en/articles/unesco-seminar-critically-examines-use-plastics-sustainable-tourism-sector-asean?hub=66925
__


UNESCO Bangkok

   the seminar of ‘Untold Journeys: Sharing Ethnic Stories from the Rivers and the Seas’🌱 Discover how indigenous knowle...
03/07/2024

the seminar of ‘Untold Journeys: Sharing Ethnic Stories from the Rivers and the Seas’

🌱 Discover how indigenous knowledge and practices, deeply rooted in nature, are key to preserving cultural and natural heritage sites 🌱
__




The final seminar, 'Addressing Plastic Use in Travel', focuses on actionable strategies to reduce plastic in ASEAN touri...
03/07/2024

The final seminar, 'Addressing Plastic Use in Travel', focuses on actionable strategies to reduce plastic in ASEAN tourism, bridging policy and practice.
The seminar’s keynote addresses will be delivered by:
Dr Chuwit Mitrchob, Deputy Director-General of DASTA, who will speak on ‘Policy Formulation for Reducing Plastic Use in Tourism’
Noor Ahmad Hamid, CEO, Pacific Asia Travel Association (PATA), speaking on ‘Practical Applications of Sustainable Practices in the Tourism Industry’
Following keynote presentations, a panel discussion will delve into promising innovations for plastic reduction, which are being explored by the private sector and civil society. Panellists include:
Theerachai Suphametheekulwat, Qualy Design: Sharing insights on designing sustainable products and the importance of creative solutions in reducing plastic
Catherine Germier Hamel, Destination Mekong: Exploring effective plastic reduction policies and local initiatives in Cambodia, and sharing insights on how sustainable tourism can serve as a catalyst for local empowerment and development
Zinaida Fadeeva, Switch Asia: Introducing the Plastic Free Toolkit for Tour Operators and discussing its application across different scales of business
ONYX Hospitality Group: Discussing innovative sustainability initiatives implemented in their properties to reduce plastic usage, and detailing the impact of these practices on the hospitality industry
__


UNESCO Bangkok

Rethinking Plastic in ASEAN Tourism: A UNESCO-Led DialogueJoin a critical discussion on plastic's impact on sustainable ...
01/07/2024

Rethinking Plastic in ASEAN Tourism: A UNESCO-Led Dialogue
Join a critical discussion on plastic's impact on sustainable tourism in ASEAN, hosted by UNESCO.
This seminar will explore:
- Policy frameworks for reducing plastic consumption in the tourism sector
- Innovative solutions and technologies for sustainable tourism practices
- Case studies showcasing successful implementation of plastic reduction initiatives
- Engage with policymakers, industry leaders, and researchers to shape the future of responsible tourism in the region.
Participation Options:
- In-person: Amari Don Muang Airport Hotel, Bangkok
With accommodation: https://bit.ly/3xpytBJ
- Seminar only: https://bit.ly/3XmjIu2
- Virtual: Zoom webinar: https://bit.ly/NoPlasticASEAN
__




🛖 How can indigenous & local wisdom be integrated in tourism development?💻 Join us online on 29 MAY as we examine differ...
24/05/2024

🛖 How can indigenous & local wisdom be integrated in tourism development?
💻 Join us online on 29 MAY as we examine different case studies on how indigenous culture & stories shape ecological & cultural landscapes of waterway communities in South-East Asia!
Keynote Speech
🟤 Igor Stefanovic, UN Tourism (UNWTO) Coordinator for Accessibility, Cultural Tourism and Indigenous Peoples.
Panel Discussion
🟤 Dr. Rasmi Shoocongdej from Deputy Director Sopheap Chim of Archaeology and Development Foundation (ADF)
🟤 Eulalie Dulnuan from National Museum of the Philippines
🟤 Nutdanai Trakansuphakon from the Pgakenyaw Association for Sustainable Development
🟤 Sopheap Chim from Archaeology and Development Foundation (ADF)
⭐ Join our webinar - https://bit.ly/STWWA5ZoomR
__


UNESCO Bangkok

   the seminar of ‘Pattaya & Sustainable Festival and Event Tourism ’💡 What are the innovative strategies for promoting ...
21/05/2024

the seminar of ‘Pattaya & Sustainable Festival and Event Tourism ’

💡 What are the innovative strategies for promoting cultural heritage & preserving Pattaya's unique identity?
🌿 How can sustainable tourism practices benefit both the environment & local communities?
🌿 How can sustainable tourism practices benefit both the environment & local communities?
__





🛖 How can indigenous & local wisdom be integrated in tourism development?💻 Join us online on 29 MAY as we examine differ...
18/05/2024

🛖 How can indigenous & local wisdom be integrated in tourism development?
💻 Join us online on 29 MAY as we examine different case studies on how indigenous culture & stories shape ecological & cultural landscapes of waterway communities in South-East Asia!
Keynote Speech
🟤 Igor Stefanovic, UN Tourism (UNWTO) Coordinator for Accessibility, Cultural Tourism and Indigenous Peoples.
Panel Discussion
🟤 Dr. Rasmi Shoocongdej from Deputy Director Sopheap Chim of Archaeology and Development Foundation (ADF)
🟤 Eulalie Dulnuan from National Museum of the Philippines
🟤 Nutdanai Trakansuphakon from the Pgakenyaw Association for Sustainable Development
🟤 Sopheap Chim from Archaeology and Development Foundation (ADF)
⭐ Join our webinar - https://bit.ly/STWWA5ZoomR
__


UNESCO Bangkok

'ชุมชนคลองลัดภาชี' ชุมชนเล็กๆ ที่เรื่องขยะไม่เล็กกับเป้าหมายการปลอดขยะแบบ 100%ชุมชนคลองลัดภาชี ชุมชนเมืองที่มีสมาชิกราวๆ...
30/04/2024

'ชุมชนคลองลัดภาชี' ชุมชนเล็กๆ ที่เรื่องขยะไม่เล็ก
กับเป้าหมายการปลอดขยะแบบ 100%
ชุมชนคลองลัดภาชี ชุมชนเมืองที่มีสมาชิกราวๆ 80 หลังคาเรือน ในซอยเพชรเกษม 48 ของกรุงเทพมหานคร คือหนึ่งในต้นแบบความ Sustainable ด้วยการคว้ารางวัล ชุมชมปลอดขยะ ประจำปี 2565 มาครองด้วยความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็มของทุกคนในชุมชน
#แต่ก่อนขยะล้นตอนนี้ขยะโล่ง
ปัญหาขยะล้นชุมชนเป็นเรื่องปกติที่ไม่ควรปกติ แม้แต่กับชุมชนคลองลัดภาชีในอดีตก็ตาม หัวหน้าชุมชนและลูกบ้านก็เลยประชุมกัน และฮึดสู้กับปัญหาขยะด้วยทุกวิธีทาง เช่น ธนาคารขยะ ที่ให้คนในชุมชนนำขยะมาแลกเป็นเครดิตสะสม เพื่อเอาไว้แลกของใช้ในบ้านอีกทีหนึ่ง หรือจะเป็นการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เพื่อเอาไว้สำหรับกำจัดเศษอาหารที่ถูกรวบรวมมาทิ้งจากทุกครัวเรือนในชุมชน และมูลของหนอนก็จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อ ด้วยการทำเป็น ปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมัก เพื่อนำไปใช้กับ ตู้ปันผัก ซึ่งก็คือสวนผักส่วนกลางที่จะปลูกผักออแกร์นิกให้คนในชุมชนมาเก็บเกี่ยวเอาไปกินได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีการแยกขยะกันอย่างละเอียดถึง 20 รายการ และโฟมคือสิ่งต้องห้ามต้องชุมชนนี้อีกด้วย
#ตั้งเป้าปลอดขยะ100%
ในระยะเวลาเพียง 1 ปีกับความเอาจริงเอาจังนี้ ทำให้ชุมชนลดการสร้างขยะได้มากเกือบ 50% (ปี 64-65) จากที่เคยผลิตขยะเดือนละ 5,500 กิโลกรัม ก็เหลือเพียงแค่ 2,100 จากที่รถขยะต้องเข้าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก็เหลือเพียงแค่สัปดาห์ละ 2 ครั้งแทน โดยมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ ตามเป้าหมายของชุมชนที่ต้องการให้ปลอดขยะ 100% แบบสะอาดหมดจด ซึ่งก็ดูจะไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นสักเท่าไหร่
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาของทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของเมืองก็ล้วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ทุกคนสามารถเริ่มได้ทันทีด้วยวิธีการง่ายๆ ด้วยการแยกขยะ และแปรรูปเศษอาหาร ลองจินตนาการดูว่าถ้าวันหนึ่งทุกชุมชนเมืองสามารถทำได้เหมือนกับที่ชุมชนคลองลัดภาชีทำ จนไม่ต้องมีการมอบรางวัลชุมชนปลอดขยะอีกต่อแล้ว เมืองและสิ่งแวดล้อมจะดีได้ขนาดไหนกัน ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดตามจริงๆ
#ชุมชนคลองลัดภาชี

ร้อนแทบละลาย แถมที่หลบแดดก็แทบไม่มีมาดูกันว่าชาวโลกเขารับมือความร้อนกันยังไงบ้าง?หน้าร้อนทีไร การจะเดินเท้าในไทยก็ดูจะไม...
26/04/2024

ร้อนแทบละลาย แถมที่หลบแดดก็แทบไม่มี
มาดูกันว่าชาวโลกเขารับมือความร้อนกันยังไงบ้าง?
หน้าร้อนทีไร การจะเดินเท้าในไทยก็ดูจะไม่ดีต่อใจซะเหลือเกิน กับอุณหภูมิ 30 ปลายๆ เกือบแตะเลข 4 ที่อาจทำให้คุณวูบเพราะคลื่นความร้อนได้ การจะมองหาที่หลบแดด แอร์ฉ่ำๆ ก็ดูเป็นเรื่องยาก ถ้าใกล้เคียงสุดคงเป็นร้านสะดวกซื้อชื่อดังล่ะมั้ง เมืองอย่าง กรุงเทพมหานคร นอกจากปลูกต้นไม้แล้วการจะทำ Facility สำหรับหนีร้อนเพิ่มก็คงแอบยากเพราะด้วยปัจจัยเรื่องพื้นที่ต่างๆ แต่กับต่างจังหวัดที่พอมีพื้นที่ล่ะ พอทำได้มั้ย? แล้วสร้างพื้นที่แบบไหนได้บ้าง ลองมาดูตัวอย่างจากชาวโลกเขากัน
Public Shade
สิ่งที่สามารถทำได้โดยอาศัยปัจจัยน้อยที่สุดคือทำ ที่บังแดดเพิ่ม ยกตัวอย่างที่เมืองเซบีญ่า ประเทศสเปน ได้มีนโยบาย Policy of Shade สร้างร่มเงาทั่วเมืองด้วยตาข่ายและผ้าใบกันรังสี UV โดยการตั้งเสาสูงขึ้นมาหรือขึงกันระหว่างตึกซะเลย ทำให้ชาวเมืองมีพื้นที่หลบร้อนและทางเดินที่เดินได้โดยแทบจะไม่ต้องโดนแดดเลย
Public Water Scape
การมีลานน้ำพุในพื้นที่สาธารณะนอกจากจะช่วยลดความแห้ง เพิ่มความฉ่ำให้กับเมืองแล้ว ละอองน้ำยังทำให้อุณหภูมิรอบๆ ต่ำลงด้วย การกระจายลานน้ำพุไว้รอบๆ เมืองก็จะช่วยได้มาก อย่างที่ไต้หวัน ก็มี Tainan Spring ที่รื้อห้างเก่าให้กลายเป็นจัตุรัสน้ำกลางเมืองพร้อมที่พ่นหมอกลดอุณหภูมิ เพื่อให้ประชาชนมาเล่นน้ำ เอาเท้าจุ่มน้ำ และพักผ่อนได้ หรือที่กรุงปารีส ก็มี Cooling Space ทางเดินไอน้ำที่เชื่อม 2 พื้นที่เข้าด้วยกัน ซึ่งมีราวๆ 800 จุดทั่วเมือง ทำให้การ City Walk ดูเป็นเรื่องที่ดีต่อใจมากขึ้น
Green Walk
การทำทางเดินต้นไม้นั้นแก้ปัญหาได้หลายอย่าง ทั้งเรื่องเพิ่มโอโซน เพิ่มพื้นที่สีเขียว และกันแดด ซึ่งก็เป็นโซลูชั่นที่เมืองชั้นนำทั่วโลกเลือกใช้ และผลักดันกันมากกว่าวิธีอื่น เหมือนกับเมืองเมเดยิน (Medellín) เมืองใหญ่อันดับสองของ โคลัมเบีย ก็สร้างทางเดินรูปวงแหวนสีเขียวเชื่อมต่เส้นทางรอบเมืองราว 20 กิโลเมตร คุณสามารถเดินไปทั่วเมืองโดยไม่โดนแดดเลยก็ยังได้ แถวมีกำแพงต้นไม้ (Green Corridor) ที่กันคลื่นความร้อนจากรถบนถนนอีกด้วย
อีกหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็มีการรับมือกับอากาศร้อนเป็นของตัวเองทั้งนั้นอย่าง สิงคโปร์ก็ใช้ Data มาออกแบบผังเมืองและสิ่งก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้รับมือกับคลื่นความร้อนได้ ประเทศ กรีซ ก็มีการกระจายเชลเตอร์หลบร้อน อย่างศูนย์ชุมชน และห้องสมุดไว้ทั่วเมือง หรือล้ำหน่อยก็ UAE ที่ดีไซน์ตึกให้ผิวอาคารสามารถกางออกได้ เพื่อรับมือกับแดดที่ส่องเข้ามาในอาคาร
การสร้างที่หลบแดดเพิ่มในพื้นที่ที่แดดเผาแผดเราจนแทบจะละลายแบบประเทศไทยก็ดูจะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน ปรับให้เมืองเฟรนด์ลี่กับการเดินเท้ามากขึ้น ใส่ใจสภาพแวดล้อมของเมืองให้มากกว่าเดิมด้วยวิธีของตัวเอง ซึ่่งวิธีการปลูกต้นไม้ (โดยที่ไม่ต้องไปตัดมันจนเหลือแต่กิ่ง) ก็ดูจะเป็นทางออกที่ยั่งยืนและเหมาะสมกับแทบหลายๆ เมืองเหมือนกัน

White Sheet Pavillionศาลาหนังสือกลางสวนพื้นที่แห่งการอ่านที่ทุกคนเข้าถึงได้การอ่านทำได้ทุกที่แม้กระทั่งข้างถนน เมื่อเมือ...
24/04/2024

White Sheet Pavillion
ศาลาหนังสือกลางสวนพื้นที่แห่งการอ่านที่ทุกคนเข้าถึงได้
การอ่านทำได้ทุกที่แม้กระทั่งข้างถนน เมื่อเมืองทาลลินด์ (Tallin) เมืองหลวงของเอสโตเนีย ส่ง White Sheet Reading Pavillion เข้าประกวดกับ ศาลาเล็กๆ ที่ทำหน้าที่เป็นห้องสมุดกลางแจ้งสาธารณะ กับดีไซน์สุดซิมเปิ้ล โครงสร้างแบบ Open Air ไม่มีกำแพงหนา พื้นเป็นไม้แผ่นธรรมดา หลังคาจากผ้าใบบางๆ ชั้นวางหนังสือจากไม้ที่ยึดติดกับกระจกใสอีกทีหนึ่ง คอนเซ็ปต์ดีไซน์คือการออกแบบให้เข้ากับบรรยากาศโดยรอบอย่างกลมกลืน และไม่ดูเป็นการปิดกั้นจนเกินไป เปิดโอกาสใครก็ตามที่อยากกอ่านหนังสือ สามารถแวะมาใช้งานได้
ไอเดียนี้มาจากคนพื้นที่และหน่วยงานท้องถิ่นที่เห็นพ้องต้องกันว่า อยากเปลี่ยนพื้นที่สวนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร นอกจากพาสุนัขมาเดินเล่น ให้เป็นพื้นที่ๆ ที่มีประโยชน์มากกว่าเดิมขึ้นมา ด้วยลักษณะพื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ Vibe ธรรมชาติ สุดท้ายจึงเกิดเป็นศาลาแห่งการอ่านขึ้นมา พ่วงไปด้วยความร่วมมือของ The Literary Center หรือศูนย์วรรณกรรมประจำเมือง ที่สนับสนุนในเรื่องการคัดเลือกหนังสือส่วนหนึ่งมาตั้งไว้ให้อ่านได้แบบฟรีๆ ไม่มีค่าเช่า ไม่มีค่าสมาชิก และยังช่วยประชาสัมพันธ์จนชาวเมืองนำหนังสือมาบริจาคหรือแชร์กันอ่าน จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้การอ่านเล็กๆ ของเมืองไปเลย
นี่คือโมเดลเล็กๆ ที่สร้างพื้นที่เหลือใช้ของเมืองให้มีประโยชน์ขึ้นได้โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมรอบๆ เรายังเห็นอีกว่าสิ่งนี้คือไอเดียของคนพื้นที่ที่เสนอไป และหน่วยงานท้องถิ่นได้สานต่อให้เกิดขึ้นจริง เป็นการพัฒนาเมืองร่วมกันที่ดูมีประสิทธิจนน่าเอามาทำตาม
รูปภาพ: Paco Ulman

16/04/2024

Unlocking the Past, Embracing the Future: Watch how we're blending Living Heritage and Creative City vibes to redefine Sustainable Tourism
cutting-edge workshop in which tourism professionals from Cambodia, Lao PDR, and Thailand will delve into the integration of Intangible Cultural Heritage (ICH) and the UNESCO Creative City Network (UCCN) for sustainable, community-based tourism. This workshop is a key part of the ASEAN-supported project, ‘Achieving Sustainable Tourism with Intangible Cultural Heritage and Creative City Network in Waterway Cities of ASEAN’.
__

UNESCO Bangkok


รถไฟบนฟ้า ที่เอื้อมมือคว้าไม่ได้เชียงใหม่จะมีรถไฟฟ้าใช้กี่โมง ?คำถามที่มีคนตั้งมาตลอดเกี่ยวกับตัวเลือกการเดินทาง ในเมือง...
15/04/2024

รถไฟบนฟ้า ที่เอื้อมมือคว้าไม่ได้
เชียงใหม่จะมีรถไฟฟ้าใช้กี่โมง ?

คำถามที่มีคนตั้งมาตลอดเกี่ยวกับตัวเลือกการเดินทาง ในเมืองท่องเที่ยวระดับอินเตอร์อย่าง เชียงใหม่ ถูกถามย้ำอีกครั้งด้วย “รถไฟล่องหน (Invisible Train) ผลงานศิลปะแนว Performing Art ที่เพิ่งถูกแชร์ต่อกันทางโลกอินเตอร์เน็ต กับภาพกลุ่มคนที่ทำท่าโหนปะติมากรรมที่มีรูปร่างคล้ายกับราวจับของรถไฟฟ้าเดินไปรอบเมือง เพื่อเสียดสีว่า เมื่อไหร่เชียงใหม่จะมีรถไฟฟ้าใช้แบบกรุงเทพสักที?
#โปรเจกต์รถไฟฟ้าเชียงใหม่
เป็นคำถามคาใจที่ค่อนข้างจะตอบยาก เพราะขนาดรถเมล์ที่ควรจะเป็นระบบขนส่งขั้นเบสิคยังแทบไม่ค่อยจะเจอ แล้วระบบขนส่งสเกลใหญ่อย่างรถไฟฟ้าจะเกิดขึ้นจริงตอนไหนกัน ในความจริงโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นแล้ว กับ รถไฟฟ้าในเมืองเชียงใหม่ที่จะมีถึง 3 สาย ก็คือ สายสีแดง (ศูนย์ราชการฯ - สนามบิน - แม่เหียะ) สายสีสีน้ำเงิน (สวนสัตว์เชียงใหม่ - ท่าแพ - ดอนจั่น) และสายสีเขียว (แม่โจ้ - กาดหลวง - สนามบิน) ซึ่งเคยเป็นที่ถกกันอย่างหนักว่า ควรทำเป็นรถไฟใต้ดิน เป็นรางแบบลอยฟ้า หรือเป็นรางระดับเดียวกับพื้นถนน ถึงจะเหมาะสมกับผังเมืองของเชียงใหม่
#ไม่มีวี่แวว
การที่โปรเจกต์ถูกศึกษาไว้แล้ว แต่จนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีวี่แววจะถูกสร้างจริง นั่นก็เพราะมีการคาดการณ์ว่า “อาจจะไม่คุ้มทุน” เครื่องบ่งชี้สำคัญคือคำว่า ความหนาแน่นของประชากรที่มีน้อยเกินไป ซึ่งความเป็นไปได้ว่าจะคุ้มทุนคือ ต้องมีความหนาแน่นเกิน 2,000 คนต่อตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับกรุงเทพมหานคร รวมปริมฑล และ 34 เมืองของจีนที่มีการพิจารณาสร้างรถไฟฟ้า ในขณะที่เชียงใหม่ แม้จะเป็นเมืองใหญ่ก็จริง แต่กลับมีความหนาแน่นของประชากรเพียง 486 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดูห่างไกลจากความเป็นไปได้พอสมควร
#แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
เมื่อเดือน มกราคม ที่ผ่านมาความเป็นไปได้ของโปรเจกต์รถไฟฟ้าเชียงใหม่ก็ถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่นายกกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้ออกมาหนุนการสร้างรถไฟฟ้าเชียงใหม่ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว และยังเป็นการแก้ปัญหา PM 2.5 ไปในตัวอีกด้วย
มาดูกันว่าความคืบหน้านี้จะช่วยตอบคำถามว่า เชียงใหม่มีรถไฟฟ้ากี่โมงได้หรือเปล่า หรือสุดท้ายจะต้องหาทางออกเรื่องความหนาแน่นประชาก่อนจนถึงจุดคุ้มทุนซะก่อน ถึงค่อยคิดเรื่องนี้ต่อ ก็เป็นเรื่องที่ต้องคอยติดตามกันต่อไป
อ้างอิงข้อมูลส่วนหนึ่งจาก Area.co.th
_

#เชียงใหม่

   the webinar of ‘Harnessing Digital Tools for Greater Community Involvement in the Tourism Narrative’- How can an entr...
14/04/2024

the webinar of ‘Harnessing Digital Tools for Greater Community Involvement in the Tourism Narrative’
- How can an entrepreneur in community-led tourism use digital tools for storytelling & marketing?
- How can digital technology be used to empower communities & drive positive impacts?
Topics of discussion will include the importance of storytelling in tourism, innovative technologies for sustainable tourism, digital marketing strategies for community-led tourism, and overcoming challenges in building digital capacity within tourism communities
__


UNESCO Bangkok

recap from the keynote sessions of Pattaya & Sustainable Festival and Event Tourism: Exploring Strategies for Growth and...
10/04/2024

recap from the keynote sessions of Pattaya & Sustainable Festival and Event Tourism: Exploring Strategies for Growth and Development
__





ที่อยู่

Bangkok

เบอร์โทรศัพท์

+66826641119

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ City Connextผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง City Connext:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์