อ่านยกกำลังสุข

อ่านยกกำลังสุข พื้นที่สื่อสารเพื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

22/12/2024
21/12/2024

"การอ่านคือรากฐานสำคัญของการเจริญเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องบ่มเพาะตั้งแต่ปฐมวัย เยาวชนที่ "อ่านออก เขียนได้" ย่อมรู้เท่าทันตนเอง เท่าทันผู้อื่น และเท่าทันโลก คิดเป็น รู้สึกได้ สามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมเพื่อตนเองและเพื่อสังคม เป็นพลเมืองที่มีศักยภาพในการร่วมสร้างสังคมที่ดีงาม"

ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์
ประธานคณะกรรมการบริหารแผนที่ 8 และที่ปรึกษาคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนระบบสื่อและวิธีสุขภาวะทางปัญญา สสส. สำนัก 11

#วัฒนธรรมการอ่าน
#อ่านยกกำลังสุข
#สสส

งานสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็ก เป็นงานสำคัญของบรรณาธิการ เพราะเป็นฐานพีระมิดที่แข็งแรงของการใช้การอ่านเพื่อพัฒนาการกร...
20/12/2024

งานสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็ก เป็นงานสำคัญของบรรณาธิการ เพราะเป็นฐานพีระมิดที่แข็งแรงของการใช้การอ่านเพื่อพัฒนาการกระบวนการก่อการเรียนรู้ และศักยภาพความเป็นมนุษย์

---------- สุดใจ พรหมเกิด ---------
ผู้จัดการแผนงานยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.

#วัฒนธรรมการอ่าน
#การอ่าน
#อ่านยกกำลังสุข

19/12/2024

Picture Book Decode ถอดรหัสนิทานภาพ

รายการที่จะพาทุกคนพูดคุยถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในหนังสือภาพและชวนหาคำตอบไปด้วยกัน ซึ่งปีนี้เดินทางมาจนถึง Season 3 แล้ว และได้รับการสนับสนุนจาก แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. x Mappa

เราประเดิม EP.1 ด้วย พี่แหม่ม-วีรพร นิติประภา นักเขียนซีไรต์สองสมัย และผู้ถ่ายทอดความเป็นแม่ บทบาทแม่ ความรู้สึกของแม่ได้อย่างลึกซึ้งในงาน ‘โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก’

รับฟังและรับชม Picture Book Decode #3 | EP.1 ผ่านช่องทางอื่นได้ทาง Facebook อ่านยกกำลังสุข และ YouTube อ่านสร้างสุข

#ถอดรหัสนิทานภาพ #หนังสือภาพ #อ่านยกกำลังสุข #วัฒนธรรมการอ่าน #นิทาน #เด็ก #จินตนาการ #สสส #นักวาดภาพประกอบ #วีรพรนิติประภา

19/12/2024

กติกาของบ้านเรา …. ยุ่งแค่ไหน ก็ ต้องอ่านนิทานก่อนนอนให้ลูกฟัง ก่อนนอน อย่างน้อย 1 เล่มก็ยังดี

วันนี้ แม่กำลังวุ่น กับ ตัวเล็ก เลย
ฝากพ่ออ่านนิทานให้ลูกฟัง …ลูก บอกว่า พ่ออ่านไม่สนุก
เลย เป็นภาพนี้ ต่างคน ต่างอ่าน คนละเล่ม
🤣🤣 เอ็นดูใครก่อนดี

หนังสือเรื่อง "ตุ๊กตาแห่งความทรงจำ"
19/12/2024

หนังสือเรื่อง "ตุ๊กตาแห่งความทรงจำ"

ขึ้นชื่อว่า ‘หนังสือเด็ก’ ก็มักถูกจำกัดความไปว่า คนที่อ่านต้องเป็นเด็กหรือพ่อแม่ที่เล่านิทานให้ลูกฟัง
แต่ถ้าเราลองนึกดูดีๆ แล้ว นิทานเหล่านั้นไม่ได้สอนแค่ให้หนูๆ ต้องกินผักหรือแปรงฟันเท่านั้น แต่สอนได้ทุกเรื่องไม่แพ้หนังสือของผู้ใหญ่เลยทีเดียว
พูดได้ว่า ‘นิทานเด็ก’ เปรียบเสมือนครูที่คอยสอนให้เด็กคนหนึ่งเข้าใจเรื่องราวรอบตัว แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ใหญ่อย่างเราเข้าใจธรรมชาติของเด็กมากขึ้น เพื่อสอนเขาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า
Urban Creature ชวนย้อนอ่านบทสนทนาของ ‘ณิชา พีชวณิชย์’ นักเขียนนิทานเด็กเรื่อง ตุ๊กตาแห่งความทรงจำ หนังสือที่เคยได้รับรางวัลดีเด่น หัวข้อหนังสือสำหรับเด็กอายุ 6 - 10 ปี ถึงเรื่องราวการทำงานเป็นนักเขียนนิทาน ตลอดจนความสำคัญของนิทานเด็กที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ควรรู้
อ่านบทความฉบับเต็มที่ : urbancreature.co/book-for-kids-nicha

#นิทานเด็ก

การอ่านนิทานให้เด็กฟังเป็นเรื่องจำเป็นเพราะคลังคำที่ได้จากหนังสือจะมากกว่าที่ได้จากการสนทนาในชีวิตประจำวันหลายเท่า
19/12/2024

การอ่านนิทานให้เด็กฟังเป็นเรื่องจำเป็นเพราะคลังคำที่ได้จากหนังสือจะมากกว่าที่ได้จากการสนทนาในชีวิตประจำวันหลายเท่า

พัฒนาการเด็ก 3-7 ขวบ กับ EF ของพ่อแม่
ตอนที่ 8

การอ่าน

พัฒนาการด้านภาษาของเด็กเกิดจากการพูด เด็กอ้อแอ้ (cooing) แต่มีความหมายเท่ากับทั้งประโยค เขาต้องการสื่อสารตั้งแต่แรก ถ้าพ่อแม่อยู่ให้สื่อสารด้วย พูดโต้ตอบกลับไปอย่างสม่ำเสมอ อาจจะด้วยเสียงสั้นๆแบบเด็กๆ (parentese) พัฒนาการด้านภาษาจึงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว วัตถุประสงค์คือเพื่อสื่อสาร (communicate)

เด็กๆวาดได้ก่อนเขียน เขียนได้ก่อนอ่าน เรายื่นดินสอให้เขาเมื่อ 3-4 ขวบ เขากำแล้วขีดได้เลยแม้จะจับดินสอไม่ถูกหลัก รอยขีดทุกรอยบนกระดาษทุกแผ่นมีความหมาย ลักษณะของเส้น ความหนาบาง รวมทั้งตำแหน่งบนหน้ากระดาษ มีความหมายทั้งนั้น

การพูดที่ได้สื่อสาร บวกกับการอ่านที่ช่วยให้เขาได้เห็นอักขระทุกวัน ตอนแรกเห็นได้ในหนังสือนิทาน ต่อมาเห็นได้บนสลากอาหารหรือสลากขนมในบ้าน เห็นตัวอักษรตามป้ายร้านค้าและบนถนน การพูดเพื่อการสื่อสารจะพัฒนาการวาด เขียน และอ่านขึ้นมาได้เรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเด็กสนุก เด็กจะสนุกเมื่อมีคนให้เขา “สื่อสาร” ด้วย สุดท้ายเขาก็จะอ่านได้

ดอกไม้ที่มีคนเชยชมจะเบิกบานฉันใด เด็กๆที่พยายามสื่อสารแล้วมีคนรับสารจะเติบโตอย่างชื่นบานฉันนั้น

การอ่านและคลังคำจะเป็นฐานสำคัญของการรู้คิดอย่างยืดหยุ่น (cognitive flexibility) คือ EF ในวันหน้า

การอ่านนิทานให้เด็กฟังเป็นเรื่องจำเป็นเพราะคลังคำที่ได้จากหนังสือจะมากกว่าที่ได้จากการสนทนาในชีวิตประจำวันหลายเท่า

ปัญหาคือพ่อแม่บางบ้านอ่านไม่เป็น
บางบ้านไม่มีเวลาอ่าน
ที่น่าสนใจมากกว่าคือพ่อแม่บางบ้านไม่สนใจที่จะอ่าน
และที่ไม่ค่อยมีใครสนใจคือพ่อแม่บางบ้านขาดสมาธิที่จะอ่าน

เราจะฟื้นฟูการอ่านของพ่อแม่อย่างไร?

#พัฒนาการเด็กกับEFผู้ใหญ่

ทำไมต้องอ่าน 'หนังสือภาพ' ให้เด็กฟังมีแต่ภาพ? ตัวหนังสือก็น้อย? ดูไม่คุ้ม?
18/12/2024

ทำไมต้องอ่าน 'หนังสือภาพ' ให้เด็กฟัง

มีแต่ภาพ? ตัวหนังสือก็น้อย? ดูไม่คุ้ม?

ทำไมต้องอ่าน 'หนังสือภาพ' ให้เด็กฟัง
มีแต่ภาพ? ตัวหนังสือก็น้อย? ดูไม่คุ้ม?
พ่อแม่หลายคนเริ่มเข้าใจประโยชน์ของการอ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟัง แต่ยังคงสงสัยว่าทำไมต้องเป็น 'หนังสือภาพ' เพราะผู้ใหญ่หลายคนอาจมองว่าหนังสือภาพนั้น เนื้อหาดูน้อย อ่านไม่นานก็จบ ดูไม่ค่อยมีอะไรเสียเท่าไร แบบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กจริงหรือ? 🤔
แต่สำหรับเด็กหนังสือภาพคือความสุข ไม่ใช่เครื่องมือในการสั่งสอน เพราะฉะนั้น พ่อแม่ที่เลือกหนังสือภาพให้แก่เด็ก ก็ควรให้ความสำคัญกับความสุข ความสนุกของเด็กเป็นหลัก เพราะไม่ว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นจะดีแค่ไหน ก็ย่อมไร้ประโยชน์หากเด็กไม่มีความสุขกับหนังสือเล่มนั้น 📕
หนังสือภาพนั้น เป็นโลกที่เด็กจะได้เข้าไปผจญภัย 🦸 เด็ก ๆ ย่อมสนุกกับการฟังเสียงพ่อแม่อ่านให้ฟัง พลางดูภาพแม่ไก่ที่โดนสุนัขจิ้งจอกไล่ตามไปในหนังสือนิทาน
นอกจากนี้ การที่หนังสือภาพไม่ได้มีเนื้อหาหรือตัวหนังสือที่อัดแน่น แต่เต็มไปด้วยภาพและพื้นที่โล่งกว้าง ยังเปิดพื้นที่ให้เด็ก ๆ ได้ต่อยอดจินตนาการตามได้อีกด้วย 🤯
ถึงแม้หนังสือภาพจะมีตัวหนังสือน้อย และอ่านไม่นานก็จบ แต่อย่าลืมว่าโดยธรรมชาติของเด็กชอบเสพเนื้อหาเดิมซ้ำ ๆ เพราะฉะนั้น หากหนังสือภาพเล่มนั้นเป็นหนังสือเล่มโปรดของเด็ก ๆ พี่ฮูกมั่นใจว่าน้อง ๆ จะขอให้พ่อแม่อ่านให้ฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่าแน่นอน 😋
สุดท้ายอย่าลืมว่าผู้ใหญ่อาจอ่านนิทานอย่างคนนอก ในขณะที่ผู้ใหญ่อ่าน เราอาจมองว่าหนังสือภาพนั้นดูไม่ได้มีเนื้อหาอะไรมากมาย แต่เด็กที่อ่านหนังสืออย่างคนใน เด็ก ๆ จะเอาตัวเองไปแทนที่ตัวละครขณะที่ฟังหรืออ่านหนังสือภาพ เพราะฉะนั้น เนื้อหาที่เรียบง่ายในมุมของผู้ใหญ่ อย่างการที่แม่ไก่ตัวหนึ่งโดนจิ้งจกสะกดรอยตาม ก็อาจเป็นเรื่องสุดแสนจะตื่นเต้นและชวนจินตนาการของเด็กได้ 😚
มาส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยการอ่านไปด้วยกันที่คอร์ส The Magical Power of Reading Aloud | พลังแห่งการอ่านออกเสียง ไปกับ พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี หมอแพมชวนอ่าน, นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ และ ระพีพรรณ พัฒนาเวช ได้ที่ https://hooklearning.com/course/the-magical-power-of-reading-aloud/
_______________
HOOK Learning พื้นที่เรียนรู้ออนไลน์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว พัฒนาโดยสำนักพิมพ์ Bookscape ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth

#เข้าใจเด็กเข้าใจเราเข้าใจโลก

17/12/2024

VDO The Reading อ่านสร้างสุข ชุดนิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า "เด็กปลอดพอด" เรื่อง ชัยชนะของแมวน้อย โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์

ครูปรีดา หยิบประเด็นเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าที่สามารถหาได้ง่ายในปัจจุบันนี้ในโรงเรียน การมีเพื่อนที่ชวนพาไปนอกลู่ นอกทางนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง โดยสื่อผ่านตัวละครที่เป็นสัตว์ เพื่อให้เด็กๆ สนใจหนังสือนิทานนี้เป็นพิเศษมากขึ้น เรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อ ติดตามได้ในคลิปนี้

ผู้สนใจหนังสือนิทาน "ชัยชนะของแมวน้อย" และนิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า ชุด"เด็กปลอดพอด" สามารถอ่านและดาวน์โหลดได้โดยไม่ค่าใช้จ่ายได้ที่เว็บไซต์แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. หรือคลิกลิงค์ https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=659

#วัฒนธรรมการอ่าน #การอ่าน
#อ่านยกกำลังสุข #อ่านสร้างสุข
#เด็กปลอดพอด
#ชัยชนะของแมวน้อย

ฉันเคยจินตนาการไว้เสมอว่า สวรรค์จะเป็นเหมือนห้องสมุดอีกประเภทหนึ่ง -------- Jorge Luis Borges --------ห้องสมุดที่เต็มไปด...
17/12/2024

ฉันเคยจินตนาการไว้เสมอว่า สวรรค์จะเป็นเหมือนห้องสมุดอีกประเภทหนึ่ง
-------- Jorge Luis Borges --------

ห้องสมุดที่เต็มไปด้วยหนังสือหลากหลาย คือห้องสมุดที่รวมเรื่องราวมากมายจากโลกใบนี้ และพื้นที่เล็กๆ ที่รวบรวมหลากเฉดสีเอาไว้มากมายขนาดนี้ย่อมเป็นพื้นที่แห่งความสนุกสุขสันต์แน่นอน

ชวนขบคิดไปกับเรื่องความสนุกและพลังวิเศษจากการอ่าน ด้วยภาพประกอบโดย KHAE ที่จะมาถ่ายทอดภาพจากมุมคิด และคำของหลากคนหลายมุมมอง

#แผนการอ่าน #การอ่าน #อ่านยกกำลังสุข #วัฒนธรรมการอ่าน #นิทาน #เด็ก #จินตนาการ #สสส

 #30ปีอีเล้งเค้งโค้ง
16/12/2024

#30ปีอีเล้งเค้งโค้ง

😲....ชั่วโมงมหัศจรรย์....เมื่อเด็กๆ รู้ว่าตนเองสามารถอ่านคำ ที่ถูกพิมพ์ออกมาได้ เป็นครั้งแรก--- A TREE GROWS IN BROOKLYN...
16/12/2024

😲....ชั่วโมงมหัศจรรย์....เมื่อเด็กๆ รู้ว่าตนเองสามารถอ่านคำ ที่ถูกพิมพ์ออกมาได้ เป็นครั้งแรก
--- A TREE GROWS IN BROOKLYN, 1943 ---

จำช่วงเวลาที่เราอ่านสิ่งที่อยู่บนหน้ากระดาษได้เป็นครั้งแรกๆ ได้ไหม มันทั้งตื่นเต้นและสนุก เหมือนได้เปิดประตูไปเห็นเรื่องราวใหม่ๆ ได้อย่างง่ายดายกว่าที่คิด

ชวนขบคิดไปกับเรื่องความสนุกและพลังวิเศษจากการอ่าน ด้วยภาพประกอบโดย KHAE ที่จะมาถ่ายทอดภาพจากมุมคิด และคำของหลากคนหลายมุมมอง

#แผนการอ่าน #การอ่าน #อ่านยกกำลังสุข #วัฒนธรรมการอ่าน #นิทาน #เด็ก #จินตนาการ #สสส

12/12/2024
12/12/2024

#ทักษะการอ่านเป็นช่องว่างที่ไม่มีวันตามกันทัน

#ลดความเหลื่อมล้ำทางการเรียนรู้ของเด็กได้ด้วยการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
หลายวันมานี้ มีการพูดถึงผลการสอบ PISA กันอย่างกว้างขวาง
ซึ่งน่าดีใจมากๆ ที่หลายคนได้รับรู้ถึงความอ่อนแอของระบบที่ให้การศึกษาแก่บุตรหลานของเรา และพ่อแม่หลายคนเกิดความกังวลว่าจะทำอย่างไรดี?
หมอเคยเล่าเรื่องงานวิจัยที่มาจากผลข้อมูลของ PISA หลายรอบก่อนหน้านี้
และอยากจะย้ำว่า "การใส่ใจของพ่อแม่ ส่งผลบวกเรื่องการเรียนรู้ของเด็กๆ"
สำหรับพ่อแม่ที่ลูกเล็ก
ท่านเป็นผู้โชคดี ที่สามารถช่วยกันลดความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษา
ด้วยการ "อ่านหนังสือให้ลูกฟัง"อย่างสม่ำเสมอ
หมออยากจะเล่า 3 งานวิจัยที่หมอมักจะอ้างอิงเวลาที่ไปพูดให้ผู้ปกครองฟังเรื่องการอ่าน เพราะเป็นงานวิจัยที่ตอกย้ำและอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า
การอ่านหนังสือให้ลูกฟังนั้น ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก
ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตเลยทีเดียว
❤️งานวิจัยแรก เป็นการศึกษาที่โด่งดังมาก ในอดีต (งานวิจัยในปี 1960)
เป็นที่มาของคำว่า
“ช่องว่าง 30 ล้านคำ”
ศึกษาพัฒนาการด้านภาษา
ในเด็กอายุ 2.5 ปี ใน 42 ครอบครัว
โดยแบ่งครอบครัวเป็น
ฐานะดี ฐานปานกลาง และกลุ่มยากจน
นักวิจัยจะเข้าไปประเมินพัฒนาการด้านภาษาของเด็กทุกเดือน
เก็บข้อมูลการเลี้ยงดูอย่างละเอียด
จนเด็กอายุครบ 4 ปี พบว่า
เด็กที่อยู่ในกลุ่มฐานะดี
เด็กได้ยินคำศัพท์ 46 ล้านคำ
ในกลุ่มปานกลาง ได้ยินคำ 26 ล้านคำ ในขณะที่เด็กที่อยู่ในกลุ่มฐานะยากจน มีเพียง13 ล้านคำ
และนักวิจัยยังรายงานอีกว่า 98%ของคำศัพท์ที่เด็กใช้ คือสิ่งคำที่พ่อแม่ใช้
พ่อแม่พูดคุยกับลูก
(พูดให้ตรงมากขึ้น คือ #เด็กเรียนรู้ภาษาเกือบทั้งหมดผ่านจากปากของพ่อแม่)

หลังจากที่วิจัยนี้ได้เผยแพร่ออกไป
ก็ทำให้วงการปฐมวัย สั่นสะเทือนเลยทีเดียว (ไม่ได้เว่อนะคะ🤣)เพราะนักวิจัยสนใจทำวิจัยเรื่องปฐมวัยมากขึ้น
และรัฐบาลของ US สมัยนั้น
ก็ทุ่มงบประมาณให้กับการพัฒนาด้านปฐมวัยมากขึ้นด้วย

อย่างนั้นก็เถอะ
นักวิจัยรุ่นหลังก็มีข้อกังขาหลายอย่าง
เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยน้อยมาก 42 ครอบครัว สามารถเป็นตัวแทนของเด็กทั้งประเทศเลยหรือ?
การเก็บข้อมูลทำอย่างไร?
นับจำนวนศัพท์อย่างไร?
เด็กอายุแค่ 2.5-4 ขวบ
มีคนแปลกหน้าไปสัมภาษณ์ เด็กพูดน้อย ถือว่าเด็กมีศัพท์น้อย?
มีข้อสงสัย และข้อโต้แย้งมากมาย
หลังจาก งานวิจัยนี้ ก็มีงานวิจัยเรื่อง
พัฒนาการด้านภาษาในเด็กเล็กเต็มไปหมด
สำหรับตัวหมอเองในฐานะนักวิจัย ก็ต้องยอมรับว่า งานวิจัย 30 million gap มีจุดบกพร่องมากมาย
แต่ก็ต้องยกย่องงานวิจัยนี้ เพราะถือว่าเป็น viral information ในยุคนั้นเลยก็ว่าได้😁😁
ตัดมาที่ปัจจุบันเลยค่ะ
ยุคนี้ วิทยาศาสตร์สมอง
มีเทคโนโลยีทันสมัย ไม่ต้องคาดเดา
สามารถถ่ายรูปการทำงานของสมองได้แบบ real time (เอาให้เห็นกันจะจะ😂)
งานวิจัยแรกที่จะเล่าให้ฟัง เป็นงานวิจัยของ Dr. John S. Hutton
เพื่อจะตอบคำถามว่า
❤ #สื่อแบบไหนที่กระตุ้นให้สมองเด็กเกิดการเชื่อมโยงด้านภาษาได้มากที่สุด❤
โดยทำการศึกษาในเด็กอายุ 4 ขวบ
จำนวน 27 คน
ให้เด็กแต่ละคน ฟังนิทานเรื่องเดียวกัน จาก 3 สื่อ
และถ่ายภาพสมองเด็กจากเครื่อง fMRI ขณะที่ได้ฟังแต่ละสื่อ
👉นิทานเป็นแบบ animation
👉นิทานเป็นเล่มให้แม่อ่าน
👉นิทานที่มีแต่เสียง

•ผลคือ animation มีข้อมูล ภาพ เสียง การเคลื่อนไหว แค่รับข้อมูลอย่างเดียว สมองเด็กก็ต้องทำงานหนักมากแล้ว
เมื่อดูจาก fMRI สมองส่วนอื่น
ถูกกระตุ้นอย่างมาก
#แต่ส่วนที่ควบคุมด้านการเรียนรู้ภาษากลับถูกกระตุ้นน้อย เพราะสมองเอาพลังงานไปรับข้อมูลที่มากล้น รวดเร็ว จนเชื่อมโยงไม่ทัน เรียกว่า
• นิทานภาพ: สมองของตอนเด็กขณะได้ฟังนิทานภาพ สมองส่วนรับภาพรับเสียงถูกกระตุ้น และพบว่า สมองส่วนภาษาถูกกระตุ้นมากพอกัน
อธิบายได้ว่า เมื่อมีภาพ และมีเสียง ทำให้เด็กเข้าใจ เรียนรู้ และเชื่อมโยงภาษาได้ดี เรียกว่า
• audio: สมองเด็กตอนฟัง นิทานเสียงไม่มีภาพ สมองถูกกระตุ้นน้อย อาจเพราะมีเสียง แต่ศัพท์บางคำเด็กไม่เคยรู้จักมาก่อน เมื่อไม่มีภาพมาให้ดู ก็ไม่เกิดการเชื่อมโยง เรียกว่า
** การศึกษานี้ ตอกย้ำว่า ถ้าจะให้ลูกฟังนิทาน สิ่งที่ดีที่สุดคือ ฟังจากนิทานภาพ และเสียงของพ่อแม่นะคะ*

งานวิจัยต่อไป
ที่หมออยากจะเล่าให้ฟัง
เพื่อจะตอบคำถามว่า
❤ #เด็กที่ได้อ่านต่างกันที่บ้าน_เมี่อมาฟังนิทานจากครูที่โรงเรียนสมองทำงานต่างกันหรือไม่❤
การศึกษานี้ทำในประเทศอังกฤษในเด็ก 3-5 ปี 30 ราย
นักวิจัยเก็บข้อมูล
ระดับการอ่านของที่บ้านเด็กแต่ละคน
(เวลาที่พ่อแม่อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง, จำนวน ความหลากหลาย)
และแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่มีสิ่งแวดล้อมในการอ่านที่บ้านสูง
และ กลุ่มอ่านน้อย
เมื่อถ่ายภาพสมองเด็กด้วย fMRI ตอนเด็กฟังนิทานจากครูที่โรงเรียน
พบว่าสมองของเด็กกลุ่มสิ่งแวดล้อมอ่านสูง ถูกกระตุ้นมากกว่า เด็กอีกกลุ่มอย่างชัดเจน
คิดว่าเรื่องที่เล่าวันนี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน มั่นใจในแนวทางการเลี้ยงดูลูกด้วยหนังสือมากขึ้น
และหมอคิดว่า เราสามารถส่งต่อความรู้นี้ได้เพราะวิธีการที่ลดความเหลื่อมล้ำ โดยที่พวกเราสามารถสร้างให้ลูกได้เองที่บ้าน
โดยไม่ต้องพึ่งนโยบายใดๆ คือการสร้างความเท่าเทียมให้กับสมองของลูก
ที่ต้องสร้างจากที่บ้าน เพราะถ้ารอให้ถึงอนุบาล....ก็สายไปเสียแล้วจริงๆ
ภาพถ่ายสมองก็บอกคำนี้เหมือนกันค่ะ
หมอแพม
#ส่งเสริมการอ่าน
#อ่านให้ฟัง
#มูลนิธิส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงานบุญใหญ่ต้อนรับปีใหม่ 2568 🙏ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่16 : อ่านเพื่อสติฟังปาฐกถาธรร...
11/12/2024

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงานบุญใหญ่ต้อนรับปีใหม่ 2568 🙏
ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่16 : อ่านเพื่อสติ
ฟังปาฐกถาธรรม “อ่านเพื่อสติ” โดย พระเทพวัชรญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก สวดมนต์ บทสวดบารมี 30 ทัศ
เชิญชวนพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันใส่บาตรหนังสือ ถวายคูปอง และจตุปัจจัย ให้แก่พระภิกษุและสามเณร จำนวน 50 รูป เพื่อเลือกหนังสือและสื่อการศึกษาตามอัธยาศัยได้ตรงความต้องการ ภายในศูนย์หนังสือจุฬาฯ
วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 06.00 – 09.00 น.
📍ณ Park @ Siam ด้านข้างศูนย์หนังสือจุฬา สยามสแควร์

#ใส่บาตรหนังสือ

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงานบุญใหญ่ต้อนรับปีใหม่ 2568 🙏
ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่16 : อ่านเพื่อสติ
ฟังปาฐกถาธรรม “อ่านเพื่อสติ” โดย พระเทพวัชรญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก สวดมนต์ บทสวดบารมี 30 ทัศ

เชิญชวนพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันใส่บาตรหนังสือ ถวายคูปอง และจตุปัจจัย ให้แก่พระภิกษุและสามเณร จำนวน 50 รูป เพื่อเลือกหนังสือและสื่อการศึกษาตามอัธยาศัยได้ตรงความต้องการ ภายในศูนย์หนังสือจุฬาฯ
วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 06.00 – 09.00 น.
📍ณ Park @ Siam ด้านข้างศูนย์หนังสือจุฬา สยามสแควร์

ที่อยู่

424 หมู่บ้านเงาไม้ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 67 แยก 3
Bangkok Noi
10700

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

+6624244616

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ อ่านยกกำลังสุขผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง อ่านยกกำลังสุข:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ภาคีอ่านยกกำลังสุข

ยินดีต้อนรับภาคีอ่านยกกำลังสุข