สำนักงานวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต

สำนักงานวางแผนและพัฒนา  มหาวิทยาลัยรังสิต ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก สำนักงานวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ. พหลโยธิน ต. หลักหก อ. เมือง จ. ปทุมธานี, จ. ปทุมธานี.

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ
14/12/2023

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ"เมื่อก่อนต้อง KPI ตอนนี้ทำไมต้องเป็น OKR??"
28/09/2023

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ
"เมื่อก่อนต้อง KPI ตอนนี้ทำไมต้องเป็น OKR??"

OKR คืออะไร จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร มีอะไรใหม่ๆ ที่ …

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ"เขียนโครงการอย่างไรดีน้าา...."
28/09/2023

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ

"เขียนโครงการอย่างไรดีน้าา...."

เทคนิค #การเขียนโครงการ มีรูปแบบการเขียนนะคะ

▫️ชื่อโครงการ ควรเขียนให้ชัดเจนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการ
▫️หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ให้ระบุส่วนราชการและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
▫️ปีงบประมาณ ให้ระบุปีงบประมาณที่ดำเนินโครงการ

โดยจะมีหัวข้อการเขียนโครงการหลัก ๆ ดังนี้
1. หลักการและเหตุผล ให้เขียนที่มา ความสำคัญของโครงการ และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลากร องค์กร ประชาชน ซึ่งมีความจำเป็นต้องจัดโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงานหรือพัฒนาองค์กร
2. วัตถุประสงค์ ให้เขียนวัตถุประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ ชัดเจน สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล สามารถวัดและประเมินผลได้
3. เป้าหมาย ให้เขียนสิ่งที่จะดำเนินการหรือผลที่จะทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถวัดผลได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
4. ลักษณะโครงการ ให้ระบุ
- ประเภทโครงการ ว่าเป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ หรือโครงการตามภารกิจประจำของหน่วยงาน และเป็นโครงการใหม่หรือโครงการต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้อง/เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์หรือแผน
- รูปแบบโครงการ เช่น โครงการศึกษาวิจัย/ โครงการก่อสร้าง/โครงการประชาสัมพันธ์/โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ ฯลฯ
5. ระยะเวลาและสถานที่ ให้ระบุระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ
6. แผนปฏิบัติการ ให้ระบุขั้นตอนการดำเนินงาน ขั้นตอนการใช้งบประมาณ เพื่อที่จะให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยแสดงรายละเอียดกิจกรรมที่ต้องดำเนินการอย่างชัดเจนตามลำดับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ จนสิ้นสุดการดำเนินโครงการ
7. งบประมาณ ให้ระบุจำนวนเงินงบประมาณ แหล่งที่มาของงบประมาณทุกแหล่งงบประมาณ หมวดรายจ่ายงบประมาณ และรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่จะเสนอของบประมาณ
8. ความเสี่ยงของโครงการและแนวทางการบริหารความเสี่ยง ให้เขียนุถึงข้อจำกัดที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อโครงการและแนวทางการบริหารความเสี่ยง
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ให้เขียนถึงผลที่จะได้รับหรือผลกระทบในทางที่ดีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นกับหน่วยงานประชาชน สังคมภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพในแง่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (ไม่ใช่วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย)
10. การติดตามประเมินผล ให้ระบุ
- ตัวชี้วัดความสำเร็จ ระดับผลผลิต ระดับผลลัพธ์ และระดับผลกระทบ
- การติดตามความก้าวหน้า ระยะเวลาการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ
- การประเมินผลโครงการ วิธีการประเมินผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการเพื่อรายงานผลต่อผู้อนุมัติโครงการ

สำหรับ ผู้เสนอโครงการ จะเป็นหัวหน้าส่วนราชการผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้อนุมัติโครงการ จะเป็นหัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ นะคะ

ที่มา : รูปแบบการเขียนโครงการของกรุงเทพมหานคร.

#ดอกบัวใต้เสาชิงช้า #ดอกบัวแชร์สาระดีดี
รวบรวมไว้ใน หนังสืองานสารบรรณ ไม่ใช่เรื่องง่าย-ไม่ใช่เรื่องยาก ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 8 ดูรายละเอียดได้ที่ https://shorturl.at/mnE69

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ
15/02/2023

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ
15/02/2023

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ

📣KPI และ OKR คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร ❓

🚩KPI Key (Performance Indicator)
คือ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของผลงาน ออกมาเป็นจำนวนหรือตัวเลขที่ชัดเจน เพื่อใช้ในการวัดและประเมินผลการทำงานของพนักงาน รวมถึงใช้วัดความก้าวหน้าขององค์กร ซึ่งนิยมใช้ในบริษัททั่วไป หรือบริษัทขนาดใหญ่

🚩OKR (Objective & Key Result)
คือ วิธีการตั้งเป้าหมายและตัววัดผลเพื่อเป็นเป้าในการบรรลุความสำเร็จ มักจะตั้งเป้าเพื่อผลักดันให้องค์กรไปถึงเป้าหมาย มากกว่าตั้งเพื่อวัดผลสำเร็จ เมื่อใดที่ OKR ตั้งเป้าหมายที่สูงมากๆ ไว้ และโอกาสสำเร็จอาจมีน้อยกว่า แต่กลับเป็นเป้าที่จะช่วยกระตุ้นให้ทุกคนมีแรงฮึดได้อย่างยอดเยี่ยม

📣KPI ต่างจาก OKR อย่างไร ❓
👉ด้านวัตถุประสงค์
KPI จะเน้นการเชื่อมโยงไปถึงการทำ Performance Management หรือ การบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงานในขณะที่ OKR เน้นเป้าหมายทางธุรกิจเป็นหลัก ตามหัวใจสำคัญของ OKR คือเป็นการตั้งเป้าหมายของบริษัท หรือทีม แต่จะไม่ได้ใช้ในการประเมินงาน และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคน

👉ด้านการกำหนดเป้าหมาย
การกำหนดเป้าหมาย OKR จะเป็นลักษณะของ Top-down และ Bottom-up คือสามารถตั้ง OKR มาจากบนลงล่าง ในขณะเดียวกันก็สามารถมี feedback จากข้างล่างที่ส่งไปถึงข้างบนเพื่อปรับกันได้ด้วย ขณะที่ KPI โดยส่วนใหญ่จะเป็นการสั่งจากข้างบนลงมาข้างล่าง อยากจะได้ตัวเลขความสำเร็จแบบไหนบ้าง ก็จะกำหนดจากข้างบนลงมา

👉ด้านการเปลี่ยนแปลง
OKR จะมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าตามบริบทหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในขณะที่ KPI โดยส่วนใหญ่จะมีความเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า สิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรที่ตั้ง KPI เอาไว้ตอนต้นปี แล้วระหว่างปีเกิดมีเรื่องที่กระทบธุรกิจ เช่นสถานการณ์เศรษฐกิจ หรือโรคระบาด องค์กรที่ยึดมั่นใน KPI ที่ตั้งไว้จะไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ และอาจทำตาม KPI เดิมไปตลอดทั้งปี (แต่บางที่ก็มีการใช้ KPI ที่ยืดหยุ่นกว่านี้ เช่น อาจจะสามารถปรับ KPI ตอนกลางปีได้ หากสถานการณ์เปลี่ยนไป)

สำหรับ OKR โดยธรรมชาติจะมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยน Business Model หรือบริบทของสถานการณ์ต่างๆ ก็สามารถปรับเปลี่ยน OKR ได้ตลอดเวลา

👉ด้านความโปร่งใส
OKR จะเน้นความโปร่งใสหรือ Transparency ค่อนข้างมากกว่า KPI ด้วยความที่มีการทำงานแบบ Cross-functional หรือทำงานข้ามฝ่ายข้ามทีมกันค่อนข้างเยอะมากกว่าองค์กรที่ใช้ KPI เป็นหลัก ดังนั้นการเห็น OKR ของคนอื่นจึงจำเป็นมากในการทำงานข้ามทีมกันเพื่อให้เกิดความสอดคล้องหรือเรื่องของ Alignment ให้ไปในทิศทางเดียวกัน

👉ด้านระยะเวลาต่อรอบเป้าหมาย
OKR จะเน้นเป้าหมายระยะสั้นมากกว่า KPI โดย OKR จะตั้งเป้าหมายเป็นรายปี และรายไตรมาส ซึ่งบาง Startup ที่เน้นความเร็วมากๆ ก็มีการซอยย่อยเป็นเป้ารายเดือน หรือแม้กระทั่งรายสัปดาห์

👉ด้านการตั้งเป้าหมาย
OKR จะเน้นตั้งเป้าหมายที่ไกล และท้าทายความสามารถ หรือ “Stretch Goal” เช่น การโตแบบ 10X หรือ ในขณะที่ KPI โดยส่วนใหญ่จะเน้นตั้งเป้าหมาย “Committed Goal” หรือเป้าหมายที่มั่นใจว่าจะไปถึงได้มากกว่า

📣Tips
โปรแกรม HumanSoft มีฟังก์ชัน KPI ที่สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ของพนักงานได้อย่างถูกต้อง สะดวกและใช้งานง่าย สามารถประยุคให้เหมาะสมกับธุรกิจในแต่ละประเภท แต่ละขนาดได้ ทำให้การประเมินมีความยุติธรรมกับทุกฝ่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

───────────────────────────
𝗛𝘂𝗺𝗮𝗻𝗦𝗼𝗳𝘁
โปรแกรมเดียว ครบทุกคำตอบ ✨
───────────────────────────
📲 ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น
ได้ทั้งระบบ iOS และ Android
───────────────────────────
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ...
📞 : +66 88 864 7474 (Customer Center)
🌐 : www.humansoft.co.th
💬 : https://m.me/humansoft.co.th
Line : https://lin.ee/RPyI49e
───────────────────────────
#โปรแกรมคิดเงินเดือน #โปรแกรมบริหารงานHR #สำหรับเจ้าของSME #พัฒนาธุรกิจ #การคำนวณภาษี #แอปพลิเคชั่น #โปรแกรมเงินเดือน #เงินเดือน #คำนวณเงินเดือน

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ
09/02/2023

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ

PDCA to improve your Production Efficiency
Plan : ระบุจุดที่ต้องการปรับปรุง
Do: ลงมือปรับปรุงด้วยข้อมูล องค์ความรู้และเครื่องมือที่เหมาะสม
Check : วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงสถานะ จุดดี จุดด้อย สำหรับปรับปรุงแก้ไข
Act : ปรับปรุง แก้ไข หาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพ
Data Driven Productivity ดาต้าหน้างาน
Credit : https://www.facebook.com/photo/?fbid=530074239138428&set=gm.711360180305006&idorvanity=148876369886726

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ
09/02/2023

ขออนุญาตนำข้อมูล/ความรู้ดีๆ มาแชร์ให้ทุกท่านนะคะ

ใช้ “OKR” (หรือ KPI) ในบริษัท ให้เหมือน “เลี้ยงลูก”

“Objective Key Results” หรือ “OKR” เป็นระบบการตั้งเป้าหมายและวัดผล
ที่องค์กรยุคใหม่ เริ่มนำเอามาใช้แทน “KPI”
แต่จริง ๆ แล้ว สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ “ชื่อเรียก”
แต่เป็น “แก่น” และ “วิธีใช้งาน” ต่างหาก

แก่นของ OKR (หรือ KPI) คือ
1. การตั้งเป้าหมายหลัก ๆ ไม่เยอะจนเกินไป เพื่อทำให้คนทำงานโฟกัสถูก ว่าอะไรสำคัญ
2. ตั้งให้เป้าหมายมีความท้าทาย แบบที่ทำได้ 60-70% ก็ถือว่าเยี่ยมยอดแล้ว
3. โปร่งใส ทำให้ “ทุกคน” เห็นเป้าหมายของกันและกันได้
4. ไม่ใช่ “หัวหน้า” ตั้งให้พนักงานเอง แต่ “พนักงาน” มีอิสระในการตั้งเป้าหมายของตัวเอง ให้สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ขององค์กร

ศาสตราจารย์ ดร. นพดล ร่มโพธิ์ เจ้าของเพจ "Nopadol's Story"
ได้เปรียบเปรยแก่นการตั้ง "OKR" ไว้ว่าเหมือนการ “เลี้ยงลูก”
คือเมื่อลูกคุณเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
คงไม่ดีเท่าไหร่นักถ้าคุณจ้ำจี้จำไช
กำหนดสิ่งที่ลูกคุณต้องทำตลอดเวลา

คงจะดีกว่า ถ้าคุณมอบอิสระและพื้นที่ให้เขาได้ทดลอง
หาประสบการณ์ใหม่ ๆ ลงมือลงแรงกับสิ่งที่สนใจ
โดยคอยชี้แนวทางกว้าง ๆ อยู่ข้าง ๆ
เช่น ต้องเป็นคนดีของสังคม หรือ เป็นคนมีความรับผิดชอบ

ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับองค์กรแล้ว เหมือนการมีทิศทาง (direction) ให้
แต่จะทำอย่างไรนั้น ให้คนได้ค้นหาและทดลองด้วยตัวเอง
จะทำให้เขาได้คิดและเติบโต

นอกจากนี้ การตั้ง OKR ในองค์กรจะเป็นตัวสะท้อนวัฒนธรรมองค์กรและแบรนด์
ว่าทีมของคุณ มีความฝันที่ยิ่งใหญ่ และพร้อมร่วมมือทำมันให้เป็นจริง
หรือยินดีที่จะทำตามแบบเดิม ๆ ที่เคยทำมา และต่างคนต่างทำเพียงหน้าที่ของตัวเองให้ดี
ซึ่งไม่ผิดอะไร แค่มันจะเป็นตัวบ่งบอกว่าองค์กรคุณเป็นอย่างไร

ทีนี้ ขึ้นอยู่กับคุณแล้ว
ว่าอยากเป็น “พ่อแม่” ที่มี “ลูก” แบบไหน

#แปดบรรทัดครึ่ง (EP.349)

-----------
👂ฟัง - อาหารสมองทุกวันผ่าน Podcast แปดบรรทัดครึ่ง คลิกเลย: https://soundcloud.com/user-643868388
🚀ติดตาม - อาหารสมองสั้นๆ ผ่าน Line OA เพียงคลิก: https://line.me/R/ti/p/%40qkm0507r
📒อ่าน - บทความย้อนหลัง จัดหมวดหมู่ให้ใช้งานง่าย ที่ www.eighthalf.biz

05/05/2022

เรียน ผู้เข้าร่วมสัมมนาที่เคารพ

ตามที่ สำนักงานงบประมาณและสำนักงานวางแผนและพัฒนา จัดสัมมนาเรื่อง “การกรอกข้อมูลรายจ่ายประจำและข้อมูลโครงการพัฒนา สำหรับการขออนุมัติงบประมาณ ประจำปีการศึกษา 2565” ซึ่ง กำหนดจัดสัมมนาในวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.30-16.00 น. ตามที่เคยแจ้งไว้ "ท่านสามารถเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาได้ที่ เพจ Facebook สำนักงานวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิตได้" แล้วนั้น

ทาง สำนักงานวางแผนและพัฒนา ขออนุญาตปิดการรับชมสัมมาผ่านเพจ Facebook โดยขอให้ท่านเข้าร่วมสัมมนาผ่านระบบ Zoom Meeting ได้ช่องทางเดียว ตาม Link ที่แนบไปทางอีเมล

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

สำนักงานวางแผนและพัฒนา

01/04/2021

ขอขอบพระคุณ คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565-2569 ทุกท่านนะคะ

ขณะนี้ สำนักงานวางแผนและพัฒนาได้เปิดระบบ Plan Online เพื่อให้ท่านกรอกรายงานผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการ (Action pl...
16/10/2020

ขณะนี้ สำนักงานวางแผนและพัฒนาได้เปิดระบบ Plan Online เพื่อให้ท่านกรอกรายงานผลการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการ (Action plan) ประจำปีการศึกษา 2563 ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว พร้อมอัพโหลดไฟล์ PDCA ผ่านระบบ (http://plan.rsu.ac.th/planOnline/) ให้ครบถ้วน โดยในปีการศึกษา 2563 สำนักงานวางแผนและพัฒนาจะประเมินผลโครงการตามแบบฟอร์ม PDCA ของปีการศึกษา 2563 เท่านั้น ดังสิ่งที่ส่งมาด้วย หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มดังกล่าว ได้จากเมนูเอกสารงานนโยบายและแผนของระบบ plan online
ทั้งนี้ท่านสามารถรายงาน ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564 จากนั้น สำนักงานวางแผนและพัฒนาจะประมวลผลเสนอต่อคณะกรรมการบริหารและใช้เป็นข้อมูลประกอบการประกันคุณภาพศึกษาต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการ จักเป็นพระคุณยิ่ง

16/10/2020
16/10/2020
11/01/2017
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดแผนพัฒนาฯ และแผนปฏิบัติการประจำปี (ภาคบ่าย ระดับคณะ)
22/12/2016

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดแผนพัฒนาฯ และแผนปฏิบัติการประจำปี (ภาคบ่าย ระดับคณะ)

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดแผนพัฒนาฯ และแผนปฏิบัติการประจำปี (ภาคเช้า ระดับฝ่าย/หน่วยงาน)
22/12/2016

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดแผนพัฒนาฯ และแผนปฏิบัติการประจำปี (ภาคเช้า ระดับฝ่าย/หน่วยงาน)

ที่อยู่

มหาวิทยาลัยรังสิต เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ. พหลโยธิน ต. หลักหก อ. เมือง จ. ปทุมธานี
จ. ปทุมธานี
12000

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สำนักงานวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิตผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์