Thaiscisoc การนำเสนอข่าววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม วิจัยและนวัตกรรม

www.scisoc.or.thDITP เตรียมโรดโชว์งาน American Film Market 2024 ที่ลาสเวกัสดึงคอนเทนต์ไทย หวังโกยรายได้ไม่น้อยกว่า 800 ล...
02/11/2024

www.scisoc.or.th

DITP เตรียมโรดโชว์งาน American Film Market 2024 ที่ลาสเวกัส
ดึงคอนเทนต์ไทย หวังโกยรายได้ไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้าโกยรายได้ 800 ล้านบาท นำผู้ประกอบการไทย 12 บริษัท บินลัดฟ้าเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาการค้าในงาน American Film Market 2024 ตลาดซื้อขายภาพยนตร์และคอนเทนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 5 - 10 พฤศจิกายน 2567 ณ เมืองลาสเวกัส รัฐเนวาด้า สหรัฐอเมริกา

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐของไทยมีนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจบันเทิงระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศด้วยพลังสร้างสรรค์ผ่านธุรกิจบริการศักยภาพและนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล ที่กำหนดให้ภาพยนตร์เป็น 1 ใน 11 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และนำไปสู่การยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในภาพรวมต่อไป

​​งาน American Film Market หรือ AFM ถือเป็น 1 ใน 4 งานด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในแต่ละปีมีบุคคลในธุรกิจภาพยนตร์เข้าร่วมงานกว่า 8,500 ราย จาก 80 ประเทศ และมีผู้ประกอบการ
เข้าร่วมงานกว่า 300 ราย จากทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ รวมถึง มีหน่วยงานส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมจำนวนกว่า 30 หน่วยงาน โดยภายในงานมีการจัดกิจกรรม
ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อาทิ การเจรจาการค้า การฉายภาพยนตร์ การสัมมนา
ให้ความรู้ และ Networking Reception ซึ่งกรมฯ ได้นำผู้ประกอบการไทยร่วมงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี

สำหรับปี 2024 นี้ จะเป็นปีแรกที่งาน AFM ย้ายสถานที่จัดงานจากเดิมที่เมืองซานตาโมนิก้า รัฐแคลิฟอร์เนีย
เป็นเมืองลาสเวกัส รัฐเนวาด้า ระหว่างวันที่ 5 – 10 พฤศจิกายน 2567 โดยกรมฯ ได้คัดเลือกผู้ประกอบการคอนเทนต์ไทย จำนวน 12 บริษัท เดินทางเข้าร่วมงาน และจัดกิจกรรมเจรจาการค้า (Business Matching) เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มช่องทางการค้าสู่ตลาดต่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการไทย ตลอดจนเป็นการแสดงศักยภาพและความพร้อมของอุตสาหกรรมฯ ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงาน AFM จะได้พบกับคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ บริษัทซื้อขายภาพยนตร์ รวมไปถึงนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกกว่า 1,000 ราย ซึ่งจะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยคาดการณ์ว่าภายในงานจะมีการซื้อขายและลงทุนในภาพยนตร์มากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมในปีนี้ 12 บริษัท ประกอบด้วยกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ ซีรีส์ และแอนิเมชัน (Film, TV Series, Animation Production and Distribution) จำนวน
7 บริษัท ได้แก่ บริษัท ทองคำ ฟิล์มส์ จำกัด บริษัท ที แอนด์ บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ที่ฟ้า สตูดิโอส์ จำกัด บริษัท ไนท์ เอดจ์ พิคเจอร์ส คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม ดิสทริบิวชั่น จำกัด และบริษัท เฮโล โปรดักส์ชั่น จำกัด และด้านบริษัทผู้ให้บริการเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Production and Post-Production Services) จำนวน 5 บริษัท ได้แก่ บริษัท กันตนา โพสท์ โปรดักชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท
เบนีโทน ฟิล์มส์ จำกัด บริษัท ฟิล์ม เฟรม โปรดักชั่นส์ จำกัด บริษัท ล๊อคแมน2011 จำกัด และบริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและเยี่ยมชมได้ที่คูหาหมายเลข 11-217 11-219 และ 11-224 ภายในงาน American Film Market 2024 (AFM) ณ เดอะ ปาล์มส์ คาสิโน รีสอร์ท ระหว่างวันที่ 5 - 10 พฤศจิกายน 2567

www.scisoc.or.thวช. มอบนวัตกรรม "ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับนาข้าว" เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ให้กับวิสา...
27/10/2024

www.scisoc.or.th

วช. มอบนวัตกรรม "ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับนาข้าว" เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกร ต.รางจรเข้ จ.พระนครศรีอยุธยา

วันที่ 26 ตุลาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายชาญณรงค์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ วช. ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อกล่าวเปิดกิจกรรม พร้อมส่งมอบนวัตกรรมและเทคโนโลยี และการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การส่งเสริมและยกระดับระบบสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับนาข้าวในพื้นที่ตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการ "การส่งเสริมการใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับนาข้าว ในพื้นที่ตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" ซึ่งมี ศาสตราจารย์.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมฯ และ นายพงศกร มงคลหมู่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ ให้การต้อนรับ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ ตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

นายชาญณรงค์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ในฐานะหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ได้สนับสนุนงบประมาณ ให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ในการพัฒนานวัตกรรม “ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับนาข้าวในพื้นที่ตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยประยุกต์ร่วมกับพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเกษตรกร และสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งของเกษตรกร จากการดำเนินกิจกรรมในครั้งจะช่วยสร้างชุมชนต้นแบบในการใช้นวัตกรรมในการบริหารทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในชุมชน ทั้งในด้านการใช้นวัตกรรมเพื่อการเกษตรและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน

ศาสตราจารย์.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา พัฒนาประเทศ และถ่ายทอดขยายผลองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น โดยกลไกบูรณาการเชิงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานพัฒนาหน่วยงานภาคปฏิบัติในพื้นที่ และหน่วยงานร่วมขยายผล สนับสนุนผลผลิตการวิจัยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ในการได้ดำเนินโครงการ “การส่งเสริมการใช้ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับนาข้าว ในพื้นที่ตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ซึ่งทางคณะอาจารย์นักวิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสม ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนจากวิสาหกิจชุมชน ตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในชุมชนด้วยวืจัยและนวัตกรรม

ทั้งนี้ วช. ได้ส่งมอบนวัตกรรมและเทคโนโลยี ระบบสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ พร้อมคู่มือการใช้งาน จำนวน 10 ชุด ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรตำบลรางจรเข้
โดยการส่งมอบครั้งนี้ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานและการดูแลรักษาระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยนวัตกรรมดังกล่าวมีเป้าหมายช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกรที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเพาะปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงจากปัญหาน้ำขาดแคลน และส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนในระยะยาว

www.scisoc.or.thKOSEN KMUTT กับการสร้างวิศวกรนักปฏิบัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)……………………………………………………...
19/10/2024

www.scisoc.or.th

KOSEN KMUTT กับการสร้างวิศวกรนักปฏิบัติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….………
“อุปกรณ์ตรวจการรั่วของถุงยางอนามัย” “เครื่องบรรจุลูกเทนนิสลงกระป๋อง” “เครื่องประกอบกล่องกระดาษลูกฟูก” เหล่านี้คือบางส่วนของโมเดลชิ้นงานที่เกิดจากไอเดียของนักศึกษา KOSEN KMUTT ที่จัดแสดงขึ้นเป็นกิจกรรมโชว์เคสจากนักศึกษา KOSEN KMUTT รุ่นที่ 1-2 ในงาน “KOSEN KMUTT Opportunity Day 2024” Showing Skills, Finding Opportunity” เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า เป้าหมายหนึ่งของการจัดงานนี้ เพื่อให้นักศึกษา KOSEN KMUTT ได้พบปะพูดคุย และแลกเปลี่ยนมุมมองด้านวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับบริษัทพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของกระทรวง อว. ในการสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและสามารถต่อยอดความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งและสร้างความยั่งยืนในการพัฒนากำลังคนของประเทศ
“นักเรียนโคเซ็น มจธ. รุ่นแรก ที่เข้ามาเรียนเมื่อปี พ.ศ.2563 กำลังจะผ่านขั้นตอนสำคัญของหลักสูตร คือฝึกปฏิบัติงานจริงกับบริษัทเอกชนชั้นนำ ตลอดเทอมที่ 2 ของปีการเรียนปีที่ 5 ที่เป็นปีสุดท้ายของหลักสูตร ดังนั้น เป้าหมายของงานนี้ จึงเป็นทั้งการนำเสนอผลงานหรือโปรเจกต์ของนักศึกษา KOSEN KMUTT รุ่นที่ 1-2 รวมถึงการออกบูธของบริษัทชั้นนำกว่า 20 บริษัท ที่สนใจจะรับนักศึกษาเข้าไปฝึกงานในบริษัทของตนเอง และโอกาสในการสร้างเครือข่ายระหว่างหลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ (นานาชาติ) ภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัดกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อเกิดความร่วมมือทางการศึกษาที่หลากหลายในอนาคต”
Ms. Maki Kawamura Minister Counsellor, Representative of the Embassy of Japan in Thailand ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง KOSEN ที่หน่วยงานของไทย เพื่อพัฒนาหลักสูตรเชิงปฏิบัติการพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ สร้างประโยชน์กับสังคมได้ เปรียบได้กับการมีสถาบันเพื่อสร้าง “คุณหมอของสังคม” (Social doctor) นั่นเอง
รศ.ดร.พจน์ ตั้งงามจิตต์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. ในฐานะประธานสาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ กล่าวว่า จากจุดเด่นของหลักสูตรนี้ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ที่เขาได้รับการฝึกฝนบ่มเพาะมาตั้งแต่ชั้นปี 1 (เทียบเท่า ม.4) จนถึงปี 5 (เทียบเท่าปริญญาตรี ปี 2) ทำให้มั่นใจได้ว่าการฝึกงานของน้อง ๆ จะเป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้าน
“นอกจากจะได้โปรเจกต์ที่เข้าไปแก้ปัญหาให้กับบริษัท หรือเป็นข้อมูลใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการขั้นต่อไปของบริษัทในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ยังจะได้ไอเดียจากนักศึกษาที่เป็นคนรุ่นใหม่ในการช่วยพัฒนางานให้ได้ ส่วนตัวนักศึกษาเอง ก็จะเป็น 1 เทอมของการฝึกงานแบบ WiL (Work-integrated Learning) ที่ได้ทั้งประสบการณ์จากการทำงานหน้างานจริงๆ เรียนรู้จากคนทำงานตัวจริง อีกทั้งเป็นข้อมูลประกอบการเลือกเส้นทางอาชีพของเขาว่า จะกลับมาเรียนต่ออีก 1.5-2 ปี เพื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงานก่อนเพื่อนรุ่นเดียวกัน 2 ปี”
ด้าน นางสาวนลิน พิจิตกำเนิด หรือน้องนะโม หนึ่งในนักศึกษา KOSEN KMUTT ปี 5 ที่นำเสนอผลงานอุปกรณ์ประกอบกล่องกระดาษเพื่อใช้กับบรรจุภัณฑ์ ที่ช่วยลดการใช้แรงงานคนในงานลักษณะที่ต้องทำซ้ำๆ และมีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น กล่าวว่า หลักสูตรนี้ได้ช่วยพัฒนาตนเองในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการเรียน และการใช้ชีวิต
“ที่นี่จะมีโปรเจกต์ให้ทำตั้งแต่ปี 1 โดยเราต้องคิดเองตั้งแต่ต้นว่าจะทำอย่างไร กระบวนการจะเป็นแบบไหน ซึ่งสิ่งนี้ช่วยจัดลำดับความคิดในการทำงานของเราให้เป็นระบบมากขึ้น พร้อมกันนั้นยังเป็นการฝึกการทำงานร่วมกับคนอื่นไปพร้อมกัน และที่สำคัญคือเป็นหลักสูตรที่ทำให้ทุกคนเคารพและยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน สามารถนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนไอเดียและมุมมองกับเพื่อนๆ และอาจารย์ทุกท่านได้อย่างเต็มที่ ซึ่งสำหรับคนที่รู้ตัวเองว่าอยากเป็นวิศวกรจริง ๆ ที่นี่คือทางเลือกที่ดีมาก ๆ เพราะทั้งตัวหลักสูตร สิ่งแวดล้อม รวมถึงคนรอบตัว จะช่วยผลักดันให้เราพุ่งไปสู่เป้าหมายนั้นได้”

www.scisoc.or.thพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เปิดงาน “ในความทรงจำ” รำลึกในหลวงรัชกาลที่ 9 จุดประกายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  วันที่ ...
11/10/2024

www.scisoc.or.th

พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เปิดงาน “ในความทรงจำ” รำลึกในหลวงรัชกาลที่ 9
จุดประกายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
วันที่ 11 ตุลาคม 2567 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เปิดงานมหกรรม “ในความทรงจำ” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 8 ปีแล้วที่เสด็จสู่สวรรคาลัย ธ ยังคงสถิตอยู่ในดวงใจของทวยราษฎร์ตลอดมา งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 13 ตุลาคม 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปทุมธานี และช่องทาง Online Facebook พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “การจัดงานมหกรรม “ในความทรงจำ” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตลอดรัชสมัย 70 ปี ที่ทรงราชย์ ทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อสร้างความผาสุกร่มเย็นให้แก่ชาติบ้านเมือง การพัฒนาในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายพันโครงการ ยังคงเจริญงอกงาม ผลิดอกออกผลทั่วสารทิศ หล่อเลี้ยงทุกชีวิต ทุกสรรพสิ่งบนผืนแผ่นดินไทย แนวคิดเพื่อการพึ่งตนเอง ทฤษฎีใหม่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสที่พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ ยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ทุกฝ่ายยึดถือปฏิบัติ เป็นแนวทางสำคัญเป็นภูมิคุ้มกันให้พสกนิกรสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคง การเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 มาถึงปัจจุบันครบ 8 ปีแล้ว พสกนิกรทุกหมู่เหล่ายังล้วนคำนึงถึง ด้วยความสำนึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างไม่รู้ลืมเลือน เพื่อให้วันคล้ายวันสวรรคตเป็นวันแห่งการร่วมรำลึกและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีคุณูปการอันยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จึงได้จัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ได้มาเรียนรู้ แลกเปลี่ยน แบ่งปัน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการเกษตร จากรูปธรรมความสำเร็จกลุ่มวิสาหกิจ เกษตรกร ที่สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างเครือข่าย สามารถพึ่งตนเองได้ที่ครบห่วงโซ่แห่งทฤษฎีใหม่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งภายในงานมีทั้งวิธีคิด แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ให้ได้เรียนรู้และไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวิถีของตนเอง และที่สำคัญเป็นการร่วมสืบสาน ต่อยอด งานของกษัตริย์เกษตรผู้ยิ่งใหญ่ ”
ด้านนางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการ(ฝ่ายพัฒนา) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ภายในงานมีนิทรรศการพิเศษ “รฦก ร.9 เรื่องราวแห่งความทรงจำ”กษัตริย์เกษตรผู้ทรงมีพระวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลต่อพัฒนาภาคการเกษตรไทยมาโดยตลอด เพราะการเกษตรเป็นความเจริญ เป็นกำลังของแผ่นดิน เป็นอำนาจทางอาหาร และสร้างเศรษฐกิจไทยให้รุ่งเรือง นิทรรศการเครือข่าย “ปณิธานพ่อสู่ความพอเพียง” ที่แสดงถึงการน้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยนิทรรศการ “วิสาหกิจชุมชนสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น” “เกษตรพอเพียงสู่ผู้ประกอบการยั่งยืน”“รักษ์ป่า รักษ์น้ำ ตามรอยพ่อ” “ทฤษฎีของพ่อสู่ความยั่งยืน”และ “คำสอนสร้างคน คนสร้างสังคม” การอบรมวิชาของแผ่นดิน ในรูปแบบ Onsite และ Online จัดให้มีกิจกรรม Workshop ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง จัดแสดงและจำหน่ายสินค้า ผลผลิต และผลิตภัณฑ์ปลอดภัย เปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในอาคาร โดยไม่มีค่าใช้จ่าย กิจกรรมสร้างสีสีน
กิจกรรมพิเศษน้อมรำลึกเนื่องในวัน “นวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2567 เวลา 08.30 น. ขอเชิญประชาชนร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระภิกษุสงฆ์ 59 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และเวลา 15.52 น.เชิญชวนประชาชนพร้อมใจกันนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง รัชกาลที่ 9 ร่วมพิธีน้อมรำลึกกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ในบรรยากาศเสียงขลุ่ยบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ จาก อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ และคุณขวัญข้าว ธิดารินทร์ กิจกรรมสินค้าเกษตรคุณภาพ “ราคาเริ่มต้น 9 บาท ขาดทุนคือกำไร” ในการนี้พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม พิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร และพิพิธภัณฑ์ดินดล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 11 - 13 ตุลาคม 2567”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171, 094-649-2333 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook /Line ID : และ Youtube : พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

www.scisoc.or.thคนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียนแพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ​สถานการณ์โควิด...
10/10/2024

www.scisoc.or.th

คนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียน
แพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง

​สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่จบ กลุ่ม 608 และผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางเสี่ยงสุด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเวทีชวนแพทย์ร่วมให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 พร้อมแนะนำการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยง ย้ำชัดวัคซีนยังจำเป็นโดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการตายจากโรคได้ ตัวแทนผู้ป่วยจี้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและการเข้าถึงวัคซีน

ตัวแทนผู้ป่วยวอนภาครัฐ
วัคซีนเข็มกระตุ้นต้องมี
​นายธนพลธ์ ดอกแก้ว จากเครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มผู้ป่วย Healthy Forum และสมาคมโรคเพื่อนไตแห่งประเทศไทย หนึ่งในผู้ร่วมเวทีเสวนาครั้งนี้เน้นย้ำว่า ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโควิด-19 ด้วยวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและประชาชนกลุ่มเสี่ยง

​“กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการระมัดระวังตัวมาโดยตลอดตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นการป้องกันตนเองตามที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถทำเองได้ แต่การปกป้องตัวเองด้วยวัคซีนนั้น อยู่นอกเหนือจากความสามารถของเรา จึงอยากเรียกร้องไปถึงผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้ช่วยพิจารณาและจัดหาวัคซีนให้เพียงพอสำหรับประชาชน ถึงแม้ว่าวัคซีนอาจไม่จำเป็นสำหรับประชาชนส่วนหนึ่งแล้ว แต่ยังคงมีความจำเป็นสำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและประชาชนกลุ่มเสี่ยงอยู่” นายธนพลธ์กล่าว

​นอกจากนี้ นายธนพลธ์ยังแสดงความกังวลว่าตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน ไม่มีข้อมูลที่แท้จริงเนื่องจากขาดการติดตามและรายงานอย่างเป็นระบบต่างจากเมื่อเกิดการระบาดใหม่ ๆ “การไม่มีตัวเลขที่เก็บอย่างเป็นระบบระเบียบ เพิ่มความเสี่ยงต่อผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางเพราะเมื่อสาธารณชนไม่ทราบจำนวนผู้ติดเชื้อว่าเพิ่มขึ้นเพียงใด ทำให้ขาดการป้องกันตัวที่ดี ทำให้โรคยิ่งแพร่กระจายได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น ขณะนี้มีเพียงเพจเดียว คือ ‘ไทยรู้สู้โควิด’ ที่ยังคงให้ความสนใจและติดตามรวมทั้งนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งตัวเลขจำนวนผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยสะสม แม้ว่าตัวเลขอาจจะไม่สมบูรณ์ แต่พอจะเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางรวมทั้งคนในสังคมพอจะมองเห็นภาพของโควิด-19 ในบ้านเราได้ จึงอยากขอให้ติดตามเพจนี้ไว้ด้วย”

​แม้ในวันนี้ เราอาจจะลืมเลือนโควิด-19 กันไปแล้ว แต่โควิด-19 ยังคงไม่ลืมและจะอยู่กับเราตลอดไป ซึ่งในประเทศไทยนั้น จากข้อมูลในปีที่ผ่านมา พบว่ามีการระบาดใหญ่สองช่วง คือ เทศกาลสงกรานต์และช่วงปลายปีที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมากตามสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งการเดินทางที่เพิ่มขึ้น ทำให้คาดการณ์ได้ว่าช่วงปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า จะพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางว่าจะได้รับผลกระทบจากการระบาดครั้งนี้ ซึ่งจะทำให้อาการผู้ป่วยรุนแรง และมีความเสี่ยงต่อชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดู ติดตาม และค้นพบเนื้อหาที่กำลังติดเทรนด์เพิ่มเติม

www.scisoc.or.thคนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียนแพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ​สถานการณ์โควิด...
10/10/2024

www.scisoc.or.th

คนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียน
แพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง

​สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่จบ กลุ่ม 608 และผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางเสี่ยงสุด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเวทีชวนแพทย์ร่วมให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 พร้อมแนะนำการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยง ย้ำชัดวัคซีนยังจำเป็นโดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการตายจากโรคได้ ตัวแทนผู้ป่วยจี้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและการเข้าถึงวัคซีน

​แม้ว่าโควิด-19 จะถูกจัดให้เป็นโรคประจำถิ่นไปแล้ว อารมณ์ความรู้สึกหรือความหวาดกลัวของสังคมต่อการระบาดของโรคก็ลดลงจากช่วงแรกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ความรุนแรงของโควิด-19 กลับไม่ได้ลดลงแต่อย่างใดโดยเฉพาะต่อคนบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัว 7 กลุ่มเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ประกอบกับที่ผ่านมามีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน กระจายไปในสื่อต่าง ๆ ส่งผลให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันเปิดเวทีเสวนาเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ถกประเด็นผลกระทบของโรคและความจำเป็นในการดูแลป้องกันสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนตัวแทนกลุ่มผู้ป่วยมาแบ่งปันความคิดเห็น ประกอบด้วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ผู้แทนจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พลตำรวจตรี นายแพทย์เกษม รัตนสุมาวงศ์ นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนายธนพลธ์​ ดอกแก้ว ตัวแทนเครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มผู้ป่วย Health Forum และสมาคมโรคเพื่อนไตแห่งประเทศไทย ร่วมพูดคุย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สิระ กอไพศาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินรายการ

ไทยติดเชื้อเพียบ ตายสูงสุดในอาเซียน กลุ่ม 608 ยังเสี่ยงสูง
​รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์ของโควิด-19 และภาระโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงว่า การระบาดของโควิด-19 ยังคงมีอัตราสูง โดยตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงปัจจุบัน (16 กันยายน 2567) มีผู้ติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 7 แสนราย ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 48,000 ราย และเสียชีวิต 205 ราย ถือว่าเป็นสถิติการติดเชื้อและเสียชีวิตสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

​“เมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่ ที่ตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงปัจจุบัน จำนวนผู้ป่วยประมาณ 490,000 ราย และเสียชีวิต 36 รายแล้ว โควิด-19 ถือว่ามีความรุนแรงที่มากกว่า ทั้งจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิตที่มากกว่าอย่างชัดเจน โดยผู้เสียชีวิตนั้น ร้อยละ 80-90 เป็นผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงกลุ่ม 608 ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคอ้วน รวมทั้งสตรีมีครรภ์ด้วย การที่ประชากรส่วนใหญ่ห่างหายจากการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไปนาน ถึงแม้หลาย ๆ คนอาจเคยติดเชื้อไปแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันก็อยู่ไม่นาน ประกอบกับเชื้อมีการกลายพันธุ์ไป สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในวงกว้าง และส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง เกิดโรครุนแรงภาวะแทรกซ้อนได้” รศ. นพ.ภิรุญ กล่าว

​รศ. นพ.ภิรุญ เผยต่อไปว่ากลุ่มที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อป่วยเป็นโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนักสูงขึ้นประมาณ 2 ถึง 3 เท่า โอกาสเสียชีวิตสูงขึ้นประมาณ 2 ถึง 10 เท่า เมื่อเทียบกับผู้มีอายุน้อยกว่าหรือผู้ที่ไม่ได้มีโรคร่วม “ไม่เพียงแต่เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงขึ้น แต่ยังส่งผลต่อภาวะโรคที่คนไข้เป็นอยู่ เพราะโควิด-19 ไม่ใช่โรคของทางเดินหายใจเท่านั้น แต่เป็นโรคที่สามารถมีอาการแสดงได้ในหลายอวัยวะ เนื่องจากเชื้อสามารถแพร่ไปได้ทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจล้มเหลว ไตวาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น”

ดู ติดตาม และค้นพบเนื้อหาที่กำลังติดเทรนด์เพิ่มเติม

www.scisoc.or.thคนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียนแพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ​สถานการณ์โควิด...
10/10/2024

www.scisoc.or.th

คนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียน
แพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง

​สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่จบ กลุ่ม 608 และผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางเสี่ยงสุด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเวทีชวนแพทย์ร่วมให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 พร้อมแนะนำการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยง ย้ำชัดวัคซีนยังจำเป็นโดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการตายจากโรคได้ ตัวแทนผู้ป่วยจี้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและการเข้าถึงวัคซีน

​แม้ว่าโควิด-19 จะถูกจัดให้เป็นโรคประจำถิ่นไปแล้ว อารมณ์ความรู้สึกหรือความหวาดกลัวของสังคมต่อการระบาดของโรคก็ลดลงจากช่วงแรกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ความรุนแรงของโควิด-19 กลับไม่ได้ลดลงแต่อย่างใดโดยเฉพาะต่อคนบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัว 7 กลุ่มเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ประกอบกับที่ผ่านมามีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน กระจายไปในสื่อต่าง ๆ ส่งผลให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันเปิดเวทีเสวนาเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ถกประเด็นผลกระทบของโรคและความจำเป็นในการดูแลป้องกันสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนตัวแทนกลุ่มผู้ป่วยมาแบ่งปันความคิดเห็น

วัคซีน ลดความรุนแรง ลดอัตราการตายได้
​ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ผู้แทนจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบได้กับทุกอวัยวะ อาจก่อให้เกิดผลกระทบเหมือนเป็นลูกโซ่ ต่อทั้งโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาได้ในหลาย ๆ ระบบ แม้กระทั่งผู้ไม่ได้มีโรคประจำตัวมาก่อน ก็พบว่าโรคบางโรคเพิ่มสูงขึ้นหลังหายจากโควิดแล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอด โรคทางสมอง เป็นภาวะที่เกิดตามหลังโควิด-19 หรือเรียกว่าลองโควิดซึ่งพบประมาณร้อยละ 15 แต่ในกลุ่ม 608 นั้น โรคมีความรุนแรงทั้งในขณะที่ป่วยอยู่และหลังจากหายป่วยแล้ว

​ต่อคำถามว่าวัคซีนยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ ศ. พญ.ศศิโสภิณ ยืนยันว่าวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็นอยู่ “โควิด-19 มีการกลายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อไปนานแล้ว ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่อาจไม่สามารถป้องกันโรคได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง จึงมีความจำเป็นที่ต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งข้อมูลปัจจุบันประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มกระตุ้นจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60-70 ในการป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต ซึ่งถ้าพิจารณาจากความเสี่ยงของการป่วยหนักและเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าในคนกลุ่มนี้แล้ว ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัคซีนในการลดภาระโรคที่จะเกิดกับคนไข้กลุ่มนี้”

“ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป รวมถึงในแถบเอเชีย อาทิ ไต้หวัน และสิงคโปร์ ยังคงแนะนำให้ประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง รับวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต สำหรับประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ได้ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด สำหรับกลุ่ม 608 โดยแนะนำเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะถ้าเคยฉีดวัคซีนเข็มก่อนหน้ามาเกิน 1 ปี หรือติดเชื้อครั้งสุดท้ายมานานกว่า 3-6 เดือน และไม่ขึ้นกับว่าเคยได้รับวัคซีนโควิด-19 มาแล้วจำนวนเท่าใด” ศ. พญ.ศศิโสภิณ ชี้แจง

ดู ติดตาม และค้นพบเนื้อหาที่กำลังติดเทรนด์เพิ่มเติม

www.scisoc.or.thคนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียนแพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ​สถานการณ์โควิด...
10/10/2024

www.scisoc.or.th

คนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียน
แพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง

​สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่จบ กลุ่ม 608 และผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางเสี่ยงสุด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเวทีชวนแพทย์ร่วมให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 พร้อมแนะนำการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยง ย้ำชัดวัคซีนยังจำเป็นโดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการตายจากโรคได้ ตัวแทนผู้ป่วยจี้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและการเข้าถึงวัคซีน

​แม้ว่าโควิด-19 จะถูกจัดให้เป็นโรคประจำถิ่นไปแล้ว อารมณ์ความรู้สึกหรือความหวาดกลัวของสังคมต่อการระบาดของโรคก็ลดลงจากช่วงแรกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ความรุนแรงของโควิด-19 กลับไม่ได้ลดลงแต่อย่างใดโดยเฉพาะต่อคนบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัว 7 กลุ่มเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ประกอบกับที่ผ่านมามีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน กระจายไปในสื่อต่าง ๆ ส่งผลให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันเปิดเวทีเสวนาเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ถกประเด็นผลกระทบของโรคและความจำเป็นในการดูแลป้องกันสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนตัวแทนกลุ่มผู้ป่วยมาแบ่งปันความคิดเห็น ประกอบด้วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ผู้แทนจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พลตำรวจตรี นายแพทย์เกษม รัตนสุมาวงศ์ นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนายธนพลธ์​ ดอกแก้ว ตัวแทนเครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มผู้ป่วย Health Forum และสมาคมโรคเพื่อนไตแห่งประเทศไทย ร่วมพูดคุย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สิระ กอไพศาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินรายการ

ไทยติดเชื้อเพียบ ตายสูงสุดในอาเซียน กลุ่ม 608 ยังเสี่ยงสูง
​รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์ของโควิด-19 และภาระโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงว่า การระบาดของโควิด-19 ยังคงมีอัตราสูง โดยตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงปัจจุบัน (16 กันยายน 2567) มีผู้ติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 7 แสนราย ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 48,000 ราย และเสียชีวิต 205 ราย ถือว่าเป็นสถิติการติดเชื้อและเสียชีวิตสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

​“เมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่ ที่ตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงปัจจุบัน จำนวนผู้ป่วยประมาณ 490,000 ราย และเสียชีวิต 36 รายแล้ว โควิด-19 ถือว่ามีความรุนแรงที่มากกว่า ทั้งจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิตที่มากกว่าอย่างชัดเจน โดยผู้เสียชีวิตนั้น ร้อยละ 80-90 เป็นผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงกลุ่ม 608 ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคอ้วน รวมทั้งสตรีมีครรภ์ด้วย การที่ประชากรส่วนใหญ่ห่างหายจากการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไปนาน ถึงแม้หลาย ๆ คนอาจเคยติดเชื้อไปแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันก็อยู่ไม่นาน ประกอบกับเชื้อมีการกลายพันธุ์ไป สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในวงกว้าง และส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง เกิดโรครุนแรงภาวะแทรกซ้อนได้” รศ. นพ.ภิรุญ กล่าว

​รศ. นพ.ภิรุญ เผยต่อไปว่ากลุ่มที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อป่วยเป็นโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนักสูงขึ้นประมาณ 2 ถึง 3 เท่า โอกาสเสียชีวิตสูงขึ้นประมาณ 2 ถึง 10 เท่า เมื่อเทียบกับผู้มีอายุน้อยกว่าหรือผู้ที่ไม่ได้มีโรคร่วม “ไม่เพียงแต่เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงขึ้น แต่ยังส่งผลต่อภาวะโรคที่คนไข้เป็นอยู่ เพราะโควิด-19 ไม่ใช่โรคของทางเดินหายใจเท่านั้น แต่เป็นโรคที่สามารถมีอาการแสดงได้ในหลายอวัยวะ เนื่องจากเชื้อสามารถแพร่ไปได้ทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจล้มเหลว ไตวาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น”

Watch, follow, and discover more trending content.

www.scisoc.or.thคนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียนแพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ​สถานการณ์โควิด...
10/10/2024

www.scisoc.or.th

คนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียน
แพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง

​สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่จบ กลุ่ม 608 และผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางเสี่ยงสุด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเวทีชวนแพทย์ร่วมให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 พร้อมแนะนำการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยง ย้ำชัดวัคซีนยังจำเป็นโดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการตายจากโรคได้ ตัวแทนผู้ป่วยจี้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและการเข้าถึงวัคซีน

​แม้ว่าโควิด-19 จะถูกจัดให้เป็นโรคประจำถิ่นไปแล้ว อารมณ์ความรู้สึกหรือความหวาดกลัวของสังคมต่อการระบาดของโรคก็ลดลงจากช่วงแรกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ความรุนแรงของโควิด-19 กลับไม่ได้ลดลงแต่อย่างใดโดยเฉพาะต่อคนบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัว 7 กลุ่มเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ประกอบกับที่ผ่านมามีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน กระจายไปในสื่อต่าง ๆ ส่งผลให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันเปิดเวทีเสวนาเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ถกประเด็นผลกระทบของโรคและความจำเป็นในการดูแลป้องกันสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนตัวแทนกลุ่มผู้ป่วยมาแบ่งปันความคิดเห็น

ผู้ป่วยโรคหัวใจน่าเป็นห่วง โควิด-19 กระตุ้นความรุนแรงโรค
​อันตรายของโควิด-19 ที่รับรู้โดยทั่วไปคือเมื่อลงปอด จะทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง อยู่แล้ว เมื่อเชื้อลงปอดจะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติ อาจส่งผลให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวตามมาได้ ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจ พลตำรวจตรี นายแพทย์เกษม รัตนสุมาวงศ์ นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่าโควิด-19 ยังส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วย

​“ในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ เมื่อเป็นโควิด-19 ก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจ เช่น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้ เมื่อเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่แล้ว อาการจะยิ่งเลวร้ายขึ้นและอาจส่งผลให้อาการทรุดหนักจนถึงขั้นหัวใจวายได้”

Watch, follow, and discover more trending content.

www.scisoc.or.thคนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียนแพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ​สถานการณ์โควิด...
10/10/2024

www.scisoc.or.th

คนไทยติด-ตายจากโควิด-19 สูงสุดในอาเซียน
แพทย์ย้ำวัคซีนยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง

​สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่จบ กลุ่ม 608 และผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางเสี่ยงสุด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเวทีชวนแพทย์ร่วมให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโควิด-19 พร้อมแนะนำการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยง ย้ำชัดวัคซีนยังจำเป็นโดยเฉพาะกับกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการตายจากโรคได้ ตัวแทนผู้ป่วยจี้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและการเข้าถึงวัคซีน

​แม้ว่าโควิด-19 จะถูกจัดให้เป็นโรคประจำถิ่นไปแล้ว อารมณ์ความรู้สึกหรือความหวาดกลัวของสังคมต่อการระบาดของโรคก็ลดลงจากช่วงแรกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ความรุนแรงของโควิด-19 กลับไม่ได้ลดลงแต่อย่างใดโดยเฉพาะต่อคนบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัว 7 กลุ่มเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ประกอบกับที่ผ่านมามีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน กระจายไปในสื่อต่าง ๆ ส่งผลให้ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันเปิดเวทีเสวนาเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ถกประเด็นผลกระทบของโรคและความจำเป็นในการดูแลป้องกันสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนตัวแทนกลุ่มผู้ป่วยมาแบ่งปันความคิดเห็น

ผู้ป่วยโรคหัวใจน่าเป็นห่วง โควิด-19 กระตุ้นความรุนแรงโรค
​อันตรายของโควิด-19 ที่รับรู้โดยทั่วไปคือเมื่อลงปอด จะทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง อยู่แล้ว เมื่อเชื้อลงปอดจะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติ อาจส่งผลให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวตามมาได้ ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจ พลตำรวจตรี นายแพทย์เกษม รัตนสุมาวงศ์ นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่าโควิด-19 ยังส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วย

​“ในผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ เมื่อเป็นโควิด-19 ก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจ เช่น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้ เมื่อเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่แล้ว อาการจะยิ่งเลวร้ายขึ้นและอาจส่งผลให้อาการทรุดหนักจนถึงขั้นหัวใจวายได้”

ดู ติดตาม และค้นพบเนื้อหาที่กำลังติดเทรนด์เพิ่มเติม

ที่อยู่

52/11-12 อาคารLot29 ซอยอินทามระ 29 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ
10400

เบอร์โทรศัพท์

+66814466086

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Thaiscisocผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Thaiscisoc:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์