"ผลกระทบและการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำโดยการเร่งกำจัดออก และการปล่อยปลาผู้ล่าเพื่อตัดวงจรการแพร่ขยายพันธุ์"
"อธิบดีกรมประมง" มีนโยบายเร่งกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำอย่างเข้มข้น ทั้งจากแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่อเพาะเลี้ยง เนื่องจากปลาหมอคางดำ เป็นปลาที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็ว และมีระยะสืบพันธุ์ค่อนข้างสั้น ออกลูกทุกๆ 22 วัน ส่งผลให้กรมประมงมีแผนเพื่อปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน ด้วยการ
1) เปิดปฏิบัติการ Kick off โดย ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า อดีต รมว.กษ. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์-31 กรกฎาคม 2567
2) โครงการรับซื้อปลาหมอคางดำนำไปผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1-31 สิงหาคม 2567
3) โครงการรับซื้อปลาหมอคางดำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนภายใต้งบประมาณกรมประม
"แนวทางการดำเนินงานของกรมประมงตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์"
"ปลาหมอคางดำ" พบการแพร่ระบาดในปี 2555 จากการบอกเล่าของชุมชนบริเวณตำบลแพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม "กรมประมง" ได้ดำเนินการลงพื้นที่ควบคุมกำจัดประชากรปลาหมอคางดำที่แพร่ระบาดรุนแรงในปี 2560 และเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วน "กรมประมง" จึงได้เสนอ "แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567- 2570" ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ในกรอบวงเงินงบประมาณ 450 ล้าน ประกอบด้วย 7 มาตรการ 15 กิจกรรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติที่เห็นชอบในหลักการการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ และกำหนดให้เป็น "วาระแห่งชาติ"
#ปลาหมอคางดำ #กรมประมง #กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จนท.กู้ร่าง สูญเสีย ยืนยัน เสียชีวิต 6 ราย สูญหาย 1
บาดเจ็บ9ราย สะพานพระราม2 ถล่ม เจ้าหน้าที่กำลังค้นหาผู้รอดชีวิต